วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมข้อมูล จากกระทู้เก่าครับ

21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ

viewtopic.php?f=2&t=21062


ตามนัยแห่งอรรถกถา ท่านได้กล่าวไว้เป็น ๒ พวกด้วยกัน คือ
ผู้ที่บำเพ็ญเพียรวิปัสสนา ถ้ได้ฌานมาแล้วเอาฌานนั้นแหละเป็นบาทเรียกว่า สมถยานิก และผู้บำเพ็ญไม่ได้ฌานมาก่อน เริ่มวิปัสสนาที่เดียวเรียกว่า วิปัสสนายานิก ในสองอย่างนั้น นัยแรก ออกจากฌานแล้ว กำหนดองค์ฌาน ๕ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เกิดพร้อมกับองค์ฌานนั้น แล้วใคร่ครวญพิจารณาดูว่าธรรมเหล่านี้เป็นนามธรรม เพราะน้อมไป จากนั้นก็พิจารณาที่อาศัยของนามธรรม เห็นว่าหทัยรูปเป็นที่อาศัยของธรรม มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป เป็นรูปธรรม เพราะเป็นของฉิบหายไปด้วยสิ่งที่เป็นข้าศึกมีความร้อน และเย็นเป็นต้น นี้เรียกว่า สมถยานิก
สำหรับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิก เมื่อเจริญวิปัสสนาก็กำหนดนามธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรือรูปนาม ทั้งนี้เพราะนามและรูปนี้ อาศัยกันและกันท่องเที่ยวไปในสงสารสาครเหมือนมนุษย์กับเรือ ต่างก็อาศัยกันแล่นไปในมหาสมุทร ฉะนั้น อย่างนี้เป็นต้นปราศจากอัตตา ไม่เป็นคน เป็นสัตว์ ซึ่งจัดเป็นตัววิปัสสนาที่หนึ่ง เรียกว่า นามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น เรียกว่า วิปัสสนายานิก




ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง

คำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึงรูป รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ในนัยแห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงว่า

ฌานนฺติ ทุวิธํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ = คำว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง
ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌานยนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา = ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าในอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = แต่ว่าวิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน
ตตฺถ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = ในญาณทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น
วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโค ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = มัคคญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชญาณ เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณ สำเร็จลง
ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = ส่วนผลญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจะ

ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒

กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์
กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

ผู้บรรลุ ๒ พวก
ผู้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง
สุกขวิปัสสกบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญวิปัสสนาญาณ จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ไม่ได้บำเพ็ญสมาธิจนบรรลุฌานมาก่อน
ฌานลาภีบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้ฌาน แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคล มีวิธีเจริญวิปัสสนา ๓ วิธี คือ
๑. ปาทกฌานวาท
๒. สัมมสิตฌานวาท
๓. ปุคคลัชฌาสยวาท

๑. ปาทกฌานวาท คือ ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น เข้าฌานก่อนฌานใดฌานหนึ่งแล้วแต่อัธยาศัย ทั้งนี้เพื่อให้สมาธิมีกำลัง ฌานที่เข้าก่อนนี้เรียกว่า ปาทกฌาน เมื่อออกจากฌานแล้วก็พิจารณาที่เป็นนามรูปที่เป็นองค์ฌานนั้นโดยความเป็นไตรลักษณ์ก็ได้ หรือจะพิจารณาสังขารธรรม นามรูปที่นอกจากองค์ฌานโดยความเป็นไตรลักษณ์ก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลโดยถือฌานเป็นบาท ถ้าเข้าปฐมฌานเป็นบาท มัคคจิต ผลจิต ที่เกิดขึ้นครั้งแรกนี้เรียกว่า ปฐมฌานโสดาปัตติมรรค ปฐมฌานโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นปฐมฌานโสดาบันบุคคล ถ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌานเป็นบาท มรรคจิตที่เกิดขึ้นเป็นปฐมมรรคก็เรียกชื่อตามขั้นของฌาน เช่น ทุติยฌานโสดาปัตติมรรค ตติยฌานโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ทำนองเดียวกับปฐมฌานโสดาปัตติมรรคนั่นแหละ แม้มรรคที่สูง คือ สกทาคามิมรรค-ผล อนาคามิมรรค-ผล ก็นัยนี้เหมือนกัน

๒. สัมมสิตฌานวาท คือ ฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนานั้น ถือการพิจารณาฌานที่ตนเคยได้มาแล้ว จะเป็นขั้นใดก็ตามพิจารณาองค์ฌานนั้นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จะเข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่เข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่ถือการเข้าฌานเป็นสำคัญ ถือการพิจารณาเป็นสำคัญ เช่น เข้าปัญจมฌาน แต่เวลาพิจารณากลับมาพิจารณาองค์ฌานของปฐมฌานก็ได้ ทุติยฌานเป็นต้นก็ได้ มรรคที่เกิดขึ้นครั้งแรกก็เป็นปฐมฌานโสดาปัตติมรรค หรือทุติยฌานโสดาปัตติมรรค ตามที่บรรลุนั้นหาใช่เป็นปัญจมฌานโสดาปัตติมรรคไม่

๓. ปุคคลัชฌาสยวาท นี้ ท่านมุ่งถึงอัธยาศัยของฌานลาภีบุคคล ผู้เจริญวิปัสสนาเป็นใหญ่ เช่น ปรารถ ตติยฌานมัคคจิตก็ต้องเจริญภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ คือ เข้าตติยฌานตรงตามความประสงค์ของตน เมื่อออกจากตติยฌานแล้วพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรม โดยความเป็นไตรลักษณ์ หรือไม่เข้าฌานก็ได้ แต่ต้องพิจารณาองค์ฌานของตติยฌานโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนมรรคจิตเกิด มรรคจิตนั้นก็เป็นตติยฌานมัคคจิต

อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน
พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว



อ้างคำพูด:
ทำไม พระอริยะเจ้าบางองค์ไม่ได้ฌานก่อน แก้ไข ให้สมบูรณ์ยิ่ง


พระอริยะเจ้าแบบปัญญาวิมุติ หรือ สุกขวิปัสสกบุคคลนั้น ท่านสมบูรณ์แล้วด้วย องค์ปฐมฌาน

หากในภายหลัง ท่านจะเจริญ สมถกรรมฐาน ให้เกิดฌานสูงขึ้นไปก็ย่อมได้

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655


วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ วิปสฺสนํ ปุพฺพงฺคมํ ปุเรจาริกํ กตฺวา สมถํ ภาเวติ, ปกติยา วิปสฺสนาลาภี วิปสฺสนาย ฐตฺวา สมาธึ อุปฺปาเทตีติ อตฺโถ

ความว่า

พระบาลีข้อที่ "วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมนฺติ" ความว่า โยคีบุคคลทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือ ให้เป็นตัวนำแล้วจึงเจริญสมถะตามปกติ ผู้ที่ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนาแล้ว จึงทำสมาธิให้เกิดขึ้นฯ

ฎีกาแก้ขยายความตอนที่ ๒

วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวตีติ อทํ ปน วิปสฺสนายานิกสฺส วเสน วุตตํ. โส ตํ วุตฺตปฺปการํ สมถํ อสมฺปาเทตฺวา ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธ อนิจฺจาทีหิ วิปสฺสติ.

ความว่า

ส่วนพระบาลีข้อที่ว่า "เจริญสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น" นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจของพระวิปัสสนายานิก คือ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ เธอยังมิได้ทำสมถะที่มีประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นให้สมบูรณ์เลย ก็พิจารณาเบญจขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปทานโดยความเป็นอนิจจะเป็นต้น

ตรงตอนที่ ๒ นี้ก็หมายความว่า ท่านเจริญเฉพาะวิปัสสนาล้วนๆ มาก่อน ...ยังมิทันที่เธอจะทำสมถะให้สมบูรณ์เลย ก็ใช้ปัญญาพิจารณาถึงเบญจขันธ์โดยความเป็นไตรลักษณ์เสียแล้ว...นี่เป็นคำอธิบายตามนัยของฎีกา

ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ [/color]





โสดา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศิล
สกทาคา กิเลสเบาบางลงไปจากโสดา เป็นผู้มีสติสมบูรณ์กว่าโสดา
อนาคามี ผู้มีสมาธิเป็นยอด อนาคามีต้องได้ฌานแล้วนะคะ ไม่ใช่แค่อาศัยขณิกสมาธิ
อรหันต์ ผู้เลิศด้วยปัญญา

การศึกษาสภาวะก็สำคัญนะคะ สำคัญพอๆกับบัญญัติ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกันค่ะ

ฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า อาคามีและอรหันต์ แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ
หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อันนี้ใช่หรือคะ?

ขอนุญาติแย้งข้อคิดเห็นนะคะ
ถ้าคุณเฉลิมศักดิ์พอมีหลักฐานนำมาอ้างอิงที่ชัดเจน
โดยไม่ต้องอนุมานหรือคาดเดาเอา
ช่วยนำข้อมูลมาแบ่งปันความรู้กันบ้างนะคะ



เหมือนเรื่อง สัมมาสมาธิ ว่าทำไมต้องเป็นจตุตถฌาน
เพราะในจตุตถฌาน ไม่ได้มีแค่ สมาธิเป็นองค์ประกอบอย่างเดียว
แต่มีสติเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย

ฌานทุกๆฌาน ล้วนมีสติเป็นองค์ประกอบอยู่
เพียงแต่จตุตถฌานจะมีสติประกอบอยู่มากกว่าทุกๆฌาน




ตรงนี้ขออภัยคุณเฉลิมศักดิ์ด้วยค่ะ กับ คำกล่าวที่เรากล่าวไปว่า คุณกล่าวผิด
เราท่านทั้งหลาย ล้วนขึ้นชื่อว่า ศึกษาอยู่ ย่อมกล่าวตามที่ตัวเองรู้
ไม่มีใครถูกหรือผิดค่ะ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 ม.ค. 2010, 18:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

การศึกษาสภาวะก็สำคัญนะคะ สำคัญพอๆกับบัญญัติ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกันค่ะ

ฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า อาคามีและอรหันต์ แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ
หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อันนี้นำมากล่าวไม่ถูกต้องนะคะ



บางครั้ง..มันจำเป็น..ท่านก็ต้องมาทำเพิ่มของท่านนะครับ..คุณ walaiporn..

ความจำเป็น..ไม่ใช่ว่าท่าน..คิดเอง..ว่าจำเป็น..แต่ท่านรู้ว่า..มันจำเป็น..
ไม่ใช่..อยาก..แบบกามราคะ..แต่ปรารถณา..แบบเมตตา..นะครับ

ตัวอย่างเช่น...จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบความเป็นครูของอุบาสก..อุบาสิกา..บริวานของท่าน

เห็นเป็นประจำครับ..ชอบฤทธิ์..ชอบญาณ..แค่ท่านแสดงถึงการรู้จิตรู้ใจของผู้มาปฏิบัติธรรม..ศรัทธาของผู้มาก็กล้า..มาปฏิบัติธรรมไม่ขาด..

นี้เป็นมุมมองของผมนะ..ผิดถูก..ก็ต้องขออภัย :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:

การศึกษาสภาวะก็สำคัญนะคะ สำคัญพอๆกับบัญญัติ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกันค่ะ

ฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า อาคามีและอรหันต์ แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ
หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อันนี้นำมากล่าวไม่ถูกต้องนะคะ



บางครั้ง..มันจำเป็น..ท่านก็ต้องมาทำเพิ่มของท่านนะครับ..คุณ walaiporn..

ความจำเป็น..ไม่ใช่ว่าท่าน..คิดเอง..ว่าจำเป็น..แต่ท่านรู้ว่า..มันจำเป็น..
ไม่ใช่..อยาก..แบบกามราคะ..แต่ปรารถณา..แบบเมตตา..นะครับ

ตัวอย่างเช่น...จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบความเป็นครูของอุบาสก..อุบาสิกา..บริวานของท่าน

เห็นเป็นประจำครับ..ชอบฤทธิ์..ชอบญาณ..แค่ท่านแสดงถึงการรู้จิตรู้ใจของผู้มาปฏิบัติธรรม..ศรัทธาของผู้มาก็กล้า..มาปฏิบัติธรรมไม่ขาด..

นี้เป็นมุมมองของผมนะ..ผิดถูก..ก็ต้องขออภัย :b8:




ตรงที่คุณกบนำมากล่าวนั้นเข้าใจค่ะ
แต่ตรงที่เราโพสไปน่ะ เราไม่ได้หมายถึงสิ่งที่คุณกบนำมากล่าว
เราหมายถึงเรื่องของ สิ่งที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมากล่าวน่ะค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน

อนาคามี ผู้มีสมาธิเป็นยอด อนาคามีต้องได้ฌานแล้วนะคะ ไม่ใช่แค่อาศัยขณิกสมาธิ
อรหันต์ ผู้เลิศด้วยปัญญา



หมายถึงตรงนี้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3797 ครั้ง ]
walaiporn เขียน:


ตรงที่คุณกบนำมากล่าวนั้นเข้าใจค่ะ
แต่ตรงที่เราโพสไปน่ะ เราไม่ได้หมายถึงสิ่งที่คุณกบนำมากล่าว
เราหมายถึงเรื่องของ สิ่งที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมากล่าวน่ะค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน


อนาคามี ผู้มีสมาธิเป็นยอด อนาคามีต้องได้ฌานแล้วนะคะ ไม่ใช่แค่อาศัยขณิกสมาธิ
อรหันต์ ผู้เลิศด้วยปัญญา



หมายถึงตรงนี้ค่ะ


wink s006
สงสัยค่ะ....

ท่านบรรลุภูมิ 3 ภูมิ 4 นี่นะคะ ยังมีความต้องการได้ฌานอีกหรือคะ
หรือใช้ภาษาผิดคะ เพื่อให้ตรงกับชื่อกระทู้ที่แก้แล้ว s006




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอบ: 09 ม.ค.2010, 5:47 am


อ้าว ... คุณเฉลิมศักดิ์มาแอบอยู่นี่เอง กรัชกายรอคำตอบอยู่ที่นี่

viewtopic.php?f=2&t=22506&p=167585#p167585

มาๆ เราไปคุยกันเรื่องเฉพาะหน้าดีกว่าครับ เรื่องชานหรือฌานเนี่ย ให้ลงมือทำลงมือปฏิบัติก่อนค่อยพูดกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
กราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ

เอาว่า ผมขอสรุปความเชื่อของผมง่าย ๆ นะครับ

ยกบาลีมามากพะรุงพะรัง


๑.จะบรรลุเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ต้องบำเพ็ญฌานมาก่อนก็บรรลุได้

๒.ในขณะบรรลุ มัคจิต ผลจิต จะมีสภาวะที่ประกอบด้วยองค์ฌานอย่างน้อยปฐมฌาน เกิดขึ้นด้วยโดยอัตโนมัติ


แบบนี้เขาเรียก สุกขวิปัสสกะ

ทำวิปัสสนาจนบรรลุธรรมครับ



ทั้งหมดที่ว่ามา มีแค่นี้นะครับ

เพียงแค่อยากติงวาทะของบางท่าน ที่ว่า

"ต้องเจริญฌานก่อน จึงจะบรรลุเป็นพระอริยะเจ้าได้"

กลัวคนคิดว่า ทำฌานก่อน เท่านั้น ค่อยไปทำ วิปัสสนา


สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

:b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ

ว่ายังงี้แต่แรก ก็เข้าใจแล้ว

ท่านหนอนตำรา

ถ้าว่ายังงี้

ท่านมีหางปะ

ไม่มี ก็สมมุติว่ามีก็แล้วกัน

ขอยกหางท่านนะ ขอแบกหาง ๆ

ใครจะช่วยยก ต่อแถว ๆ


:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

หลวงจีนงมงาย


:b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทสรุปทั้งโลก ธรรม กรรม ปฏิบัติ บารมีทุกบารมี ทั้งหลายประมวลง ความไม่ยึดติด ไม่ถือเอา วาง ว่าง สุญญตาจึงจะจบกิจ ทั้งหมด หากยังเป็นเนื้อหาที่ต้อง มี เจริญ ดำเนิน ทำกิจ สิ่งไหนก็ตามที่ นั้นหมายถึง มี เอา เฝ้า ทรงอยู่ ดำรงอยู่แล้วหรือต่อภพชาติ ส่วนหนึ่งส่วนใดอย่างแน่นอน เป็นภพชาติต่อไปเรื่อยๆยังไม่จบง่ายๆเป็นแน่แท้
ยิ่งสาธยายสิ่งที่ไม่มีตัวตน สิ่งเกินความคาดเดาย่อมมีการคาดเคลื่อนได้ ปถุชนย่อมไม่รู้ภาวะ เนื้อหาอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป โสดาบันย่อมไม่รู้ภาวะ เนื้อหา ของสกิทาคาขึ้นไป สกิทาคาย่อมไม่รู้ภาวะ เนื้อหา ของอนาคามีขึ้นไป อนาคมีย่อมไม่รู้ภาวะ เนื้อหาของอรหันต์ขึ้นไป อรหันต์ ย่อมไม่รู้เนื้อหาของ มหาอรหัต์ และองค์พุทธะ สิ่งที่เหมือนกันคือความไม่ยึดติด สิ่งที่แตกต่างคือเนื้อหาบารมีที่แตกต่างกัน
ความที่ไม่รู้นี้ ไม่สามารถคาดเอาได้ เกินกว่ากำลัง เกินกว่าคาด เรียกว่า เป็นอจินไตย สำหรับผู้ยังมีธุลี ในญาณทัศนะนั้นเอง ที่เป็นไปตามลำดับที่ว่ามานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



การศึกษาเป็นสิ่งที่ดีนะคะ เราท่านทั้งหลายล้วนยังขึ้นชื่อว่าศึกษากันอยู่
เราท่านทั้งหลาย เพียงรู้แตกต่างกันไป แล้วนำรู้นั้นๆที่เราท่านทั้งหลายคิดว่า " รู้ "
จะรู้ด้วยจากเหตุอันใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์นะคะ

แล้วเรานำมาแลกเปลี่ยนในการสนทนากัน เรามองว่าเป็นสิ่งที่ดีนะคะ
ใครมีข้อโต้แย้งหรือสงสัยตรงไหน ต่างคนต่างนำมาแสดงหรือนำมาเสริมให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดขึ้น

อย่างตรงที่สนทนากันนี่ อย่างน้อย คุณที่ใช้นามว่า ไวโรจนมุเนนทระ เข้าใจตรงนี้มากขึ้น
เรามองว่าเป็นสิ่งที่ดีนะคะ มีแต่ผู้ได้ประโยชน์ที่รู้จักหาประโยชน์ด้านปริยัติ
ดีกว่านั่งหายใจทิ้งไปวันๆ ....

ครูบาฯทั้งหลายน่ะ ท่านถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติของท่านทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง
อย่างเราๆท่านๆได้ศึกษากัน นับว่าเป็นกุศลของเรานะคะ

อย่าไปยึดติดกับคำสอนของท่านใดท่านหนึ่งเลยค่ะ
เราทำเพื่อละค่ะ ละกิเลสในใจ ไม่ใช่ทำเพื่อยึด ยึดจนมองไม่เห็นกิเลสในใจที่ยึดติดกับบัญญัติอยู่
เมื่อเรารู้แล้วเราก็วาง จะมาแบกมาหามไว้ทำไมล่ะคะ จริงมั๊ยคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:
walaiporn เขียน:


ตรงที่คุณกบนำมากล่าวนั้นเข้าใจค่ะ
แต่ตรงที่เราโพสไปน่ะ เราไม่ได้หมายถึงสิ่งที่คุณกบนำมากล่าว
เราหมายถึงเรื่องของ สิ่งที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมากล่าวน่ะค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน


อนาคามี ผู้มีสมาธิเป็นยอด อนาคามีต้องได้ฌานแล้วนะคะ ไม่ใช่แค่อาศัยขณิกสมาธิ
อรหันต์ ผู้เลิศด้วยปัญญา



หมายถึงตรงนี้ค่ะ


wink s006
สงสัยค่ะ....

ท่านบรรลุภูมิ 3 ภูมิ 4 นี่นะคะ ยังมีความต้องการได้ฌานอีกหรือคะ
หรือใช้ภาษาผิดคะ เพื่อให้ตรงกับชื่อกระทู้ที่แก้แล้ว s006




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:




คงต้องรออ่านข้อคิดเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน


ตรงนี้เป็นคำกล่าวของคุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.



เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




007414.jpg
007414.jpg [ 22.16 KiB | เปิดดู 3706 ครั้ง ]
walaiporn เขียน:
กระบี่ไร้เงา เขียน:
walaiporn เขียน:


ตรงที่คุณกบนำมากล่าวนั้นเข้าใจค่ะ
แต่ตรงที่เราโพสไปน่ะ เราไม่ได้หมายถึงสิ่งที่คุณกบนำมากล่าว
เราหมายถึงเรื่องของ สิ่งที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมากล่าวน่ะค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน


อนาคามี ผู้มีสมาธิเป็นยอด อนาคามีต้องได้ฌานแล้วนะคะ ไม่ใช่แค่อาศัยขณิกสมาธิ
อรหันต์ ผู้เลิศด้วยปัญญา



หมายถึงตรงนี้ค่ะ


wink s006
สงสัยค่ะ....

ท่านบรรลุภูมิ 3 ภูมิ 4 นี่นะคะ ยังมีความต้องการได้ฌานอีกหรือคะ
หรือใช้ภาษาผิดคะ เพื่อให้ตรงกับชื่อกระทู้ที่แก้แล้ว s006




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:




คงต้องรออ่านข้อคิดเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ



อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน


ตรงนี้เป็นคำกล่าวของคุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ




สาธุค่ะ .... รออ่านค่ะ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im38.jpg
guan-im38.jpg [ 25.03 KiB | เปิดดู 3695 ครั้ง ]
เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.



เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด




เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว
สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด



รูปภาพ สาธุ....เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลงอนิจจัง ก็ บรรลุ แล้วใช่ไหมครับ :b10: :b23: งั้นก็ไม่ต้องฝึกสมาธิกันแล้ว เสียเวลา
เรามา เป็นนักคิด นักรู้ นักพิจารณา กันเถิด อย่าไปทำความเพียรเลย เสียเวลา :b13: :b6: แค่ทำใจร่มๆ ก็คือ นิพพาน :b30: :b30: :b30:



ปล ลาม แล้วจริงๆ สวรรค์ นรกไม่มี พรหม อันเป้นทิพย์ ไม่มี ไม่เชื่อ ตอนนี้ ฌาณ ไม่จำเป็น!!! ไม่มีประโยชน์ :b32: :b32: :b32: เวรกรรม :b22:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 09 ม.ค. 2010, 20:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร