วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 17:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็คงจะบ้า..เพราะเคยได้ยินแต่..ขันธ์ 5 บังคับบัญชาไม่ได้
:b11: :b11: :b11:


ขันธ์ 5 = รูป + นาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็น สนทนากัน เรื่อง


สติในขั้นฝึกฝน ที่ ยังคงมีความตั้งใจเจริญอยู่

กับ

สติระดับอัตโนมัติ ที่ เป็นเองแม้นไม่ตั้งใจ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม(คนล่ะอย่างกับ การเกิดสติขึ้นลอยๆโดยปราศจากเหตุปัจจัย)


อย่างไหนถูก อย่างไหนผิด ???



เลยย้อนไปค้นเอา คำสอนของพระสุปฏิปันโน ที่เคยกล่าวในเรื่องนี้มาประกอบกระทู้




สติปัฏฐาน ๔


พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา



และ


คำถาม โดย : ศิษย์ชาวพุทธ ถามเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2546


http://www.luangta.c...?cgiForumID=408


ศาสนาเซนเป็นภาคปฏิบัติขั้นสติปัญญาอัตโนมัติของพุทธศาสนา


ฝากทีมงานกราบอนุโมทนาสาธุการ ที่หลวงตาเมตตาเปิดเรื่องพระพุทธศาสนาให้ลูกหลานได้เข้าใจ และปฏิบัติถูกตามแนวทาง หลวงตาเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน ไว้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ศาสนาเซนก็คือภาคปฏิบัติ เป็นขั้นสติปัญญาอัตโนมัติ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจและเป็นพระคุณอันหาประมาณมิได้ที่หลวงตาเปิดธรรมนี้ให้ลูกหลานได้เข้าใจและน้อมรับมาปฏิบัติตาม (ศิษย์)





คำตอบ

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2546

เรียนคุณใช้นาม ศิษย์ชาวพุทธ
หลวงตาได้เมตตาแสดงธรรมตอบคุณเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน
เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้

โยม : คนที่ ๔ บอกมาว่า ที่หลวงตาเมตตาในเรื่องพุทธศาสนาให้ลูกหลานได้เข้าใจ และปฏิบัติถูกต้องตามแนวทาง หลวงตาเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาสนาเซนเป็นภาคปฏิบัติเป็นขั้นสติปัญญาอัตโนมัติ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจ

หลวงตา : สติปัญญาอัตโนมัติของพุทธศาสนาเข้าใจไหม

โยม : ครับ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจ และเป็นพระคุณอันหาประมาณไม่ได้ที่หลวงตาได้เปิดธรรมะนี้ให้ลูกหลานได้เข้าใจ และน้อมรับมาปฏิบัติ เขาก็แบบว่ากราบขอบพระคุณหลวงตามาที่หลวงตาได้เมตตา

หลวงตา : เออ เอาละ ก็ไม่ผิด

ถ้าใครก้าวเข้าถึงขั้นอันนี้จะว่าเซนก็ได้ จะว่าพุทธเต็มเหนี่ยวก็ได้

เราก็เคยพูดแล้วว่าเซนนี้ออกจากพุทธ คือเซนนี่ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา จิตใจผ่านได้ด้วยพิจารณาทางด้านปัญญา

ทีนี้พวกที่มาตามหลังก็เลยเอาเรื่องปัญญานี้มาเป็นศาสนาเซนเสียเลย
ไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้หลุดพ้นมาจากแง่ไหน ๆ ของพุทธศาสนา ความจริงเป็นกิ่งก้านของพุทธศาสนาตอนปลาย คือตอนละเอียดเกี่ยวกับวิปัสสนา แล้วก็เลยเอานี้เป็นศาสนาเลย ใครมาปฏิบัติตามศาสนาเซนต้องใช้ปัญญาๆ แล้วผิดไปเลย

อันนี้ผิด เข้าใจเหรอ


พิสูจน์ดังที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นี้ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล เป็นเครื่องอบรมจิตใจให้อบอุ่นไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะเหตุที่ว่าตนทำศีลให้ด่างพร้อยหรือขาดทะลุไป จิตก็ไม่เป็นกังวลเพราะจิตของเราบริสุทธิ์ เวลาเข้าสมาธิจิตก็รวมได้ง่าย เพราะมันไม่วอกแวกไปหาสิ่งระแคะระคายที่เจ้าของทำศีลด่างพร้อย

นี้พิจารณาทางสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิจิตมีกำลังเต็มเหนี่ยว เรียกว่า จิตในสมาธินี้เป็นจิตที่พอกับอารมณ์ทั้งหลาย ไม่อยากดู ไม่อยากเห็นไม่อยากได้ยินได้ฟัง ไม่หิวโหยในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะจิตเป็นสมาธิมีความสงบตัว ความสงบตัวนี้เป็นอาหารของจิต จิตจึงไม่ไปหาคืบคลานกับอาหารภายนอกซึ่งเป็นฟืนเป็นไฟเผาตัวเอง ทีนี้เวลาจิตเข้าสู่ความสงบนี้จิตก็มีกำลังไม่หิวโหยกับอารมณ์

พาพิจารณาทางด้านปัญญา เอ้า ทำงานนี้ก็ทำ ทำงานนี้ก็ทำตามสั่ง สั่งให้ทำอะไรก็ทำ เพราะจิตไม่เถลไถลไปหาอารมณ์นั้นนี้ เพราะความหิวโหยในอารมณ์ จิตมันอิ่มอารมณ์แล้วไม่ไป สั่งทำงานอะไรก็ทำ ทีนี้ก็ทำเรื่อยเป็นวิปัสสนาไปเรื่อย นี่ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญาให้เดินได้อย่างคล่องตัว ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตเมื่อปัญญาได้ซักฟอกแล้วย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ นั่น ๓ ขั้น ถ้าพูดตามบาลีไปเลยก็ว่า สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส ศีลเป็นเครื่องอบรมสมาธิให้มีความแน่นหนามั่นคงมากขึ้น ๆ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องอบรมปัญญาให้เดินได้คล่องตัว

คือ ทีแรกศีลอบรมสมาธิให้มีความสงบเย็นได้เร็ว
สมาธิมีกำลังแล้วหนุนปัญญาให้เดินได้คล่องตัว
ทีนี้ปัญญาเป็นเครื่องอบรมจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ
ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้

นี่ละท่านสอน สอนพระทุกองค์ เวลาบวชแล้วสอนธรรมข้อนี้

หลวงตา : เรื่องศาสนาพระพุทธเจ้ามีมาก่อนแล้ว

เรื่องผู้ที่บรรลุพวก ขิปปาภิญญา มีแต่พวกปัญญารวดเร็วผ่านออก ๆ จากพุทธศาสนา ผ่านออก ๆ

ผู้ที่ไม่รวดเร็วก็หนุนกันไปตั้งแต่ ศีล สมาธิ ไปเรื่อย ๆ

ผ่านออก ๆ นี่เรียกว่า ศาสนาที่สมบูรณ์แบบคือพุทธศาสนา

มีทั้ง ก.ไก่ ก.กา มีทั้งประถมมีทั้งมัธยมตลอดดอกเตอร์เข้าใจไหม

นี่ขึ้นเป็นขั้น ๆ ทีนี้ไปทางโน้นไปหาขั้นดอกเตอร์เลย ผู้ที่ควรแก่ขั้นนั้นมันก็ไปได้

ผู้ไม่ควรแก่นั้น ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ได้มันจะไปเอาดอกเตอร์มาจากไหน เข้าใจไหม

นี่ละศาสนาเซนเป็นขั้นดอกเตอร์ของพุทธศาสนา เป็นขั้นที่จะหลุดจะพ้นด้วยปัญญาอยู่แล้ว ก็เท่านั้นละ

(ทีมงานขออนุโมทนาพร้อมระลึกในพระคุณของหลวงตาและพระพุทธศาสนาเช่นกัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
อ้าวมาได้ไงเนี่ยท่านอาจารย์ชาติ ไอ้ที่อยากให้ตอบไม่ตอบแถมานี่ กลับไปตอบกระทู้ที่ผมถามไว้ดีกว่า

ก็อย่าพาดพิงสิ

ผมไม่ให้คุณสรุปคำพูดผมนะ คนอย่างคุณสรุปคำพูดใครไม่ได้หรอก
สรุปของเขาเพี้ยนหมด


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
อันนี้เขาว่าเป็นบัณทึกของหลวงปู่

โดยปกติการสอบอารมณ์เขาจะไม่ทำกันเป็นหมู่ขณะต่อหน้า ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน หรือมหาชน อย่างที่ทำกันเพื่อโชว์เพาว์ เหมือนปัจจุบัน เพราะมันจะมีการจดจำสภาวะกันไปมั่วกันไปหมด ผมก็ไม่ทราบได้ว่าทำไมหลวงปู่กล่าวเช่นนี้ แล้วผมก็ไม่คิดว่าหลวงปู่ผิดด้วยถ้าหลวงปู่กล่าว ถ้าในกรณีที่ท่านอาจกล่าว อาจจะกล่าวกับพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นเฉพาะ ไม่น่าจะเป็นกรณีทั่วๆ ไป แต่ก็อนิจจาใครจะรู้ว่าคำสอนของหลวงปู่นั้นโดดใส่ไข่แล้วเอามาหากินมากเท่าใด ถ้าเป็นไปได้มีไฟล์เสียงหลวงปู่อันนี้บ่ ช่วยไปหามาให้ทีซิ เทศน์ที่ไหน เมื่อไร เพราะธรรมมะนั้นตัดมาเป็นท่อนๆ อาจความหมายผิดเพี้ยนได้ ขนาดพระไตรปิฏกเขายังยกมาเป็นพระสูตรเลย
ถ้าเอามาเป็นท่อนเช่น ฆ่าสัตว์ก็ดี ลักทรัพย์ก็ดี ฯลฯ ก็จะเข้าใจผิดไปอีกแบบ ยังไงขอเวอร์ชั่นเสียงด้วยมีบ่


คนมันจะโง่ ห้ามไม่ได้
พระพุทธเจ้าและพระไตรปิฏกส่วนใหญ่ ก็เป็๋นการที่พระองค์ตรัสกับผู้หนึ่งผู้ใด
สังเกตุตอนขั้นต้นพระสูตรได้ จะพูดว่า "ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้...."

จากที่คุณกล่าวมา
แสดงว่าคำพูดพระพุทธเจ้าและำพระำไตรปิฏก ไม่อยู่ในฐานที่คุณยอมรับ
เทปก็ไม่มี ใครจดมาก็ไม่รู้ พูดในบริบทไหนก็ไม่ทราบ



คนนั้นก็เพิ้ยน คนนี้ก็ไม่ถูก อะไรๆก็ผิดหมด
ยกเว้นที่คุณยอมรับ ถึงว่าไม่ผิด
ปัญญาเท่าหางอึ่ง ฟังหลวงปู่ยังไม่ได้หรอก

ธรรมะแม้จะเป้นสากล แต่ไม่ใช่ของสามัญที่ใครๆก็หยิบไปใช้ได้
พอตัวเองไม่เข้าใจก็หาว่าเขาผิด กระทั่งหลวงปู่ดูลย์ยังไม่ผ่าน QC ของคุณอายะ
มากไปหน่ิอยแล้ว

อวดโง่ไม่รู้จบ


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
[เพราะการปฏิบัติ ขณะจิตฟุ้งด้วยกำลังแรงกล้า ก็จะไม่บังเกิดผลเพราะใจที่ซัดส่ายและเพราะขาดความชำนาญ หรือขาดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในขั้นต้น ดังนั้นเมื่อไม่เห็นผลได้ด้วยตนเองก็ย่อมเกิดความท้อแท้ หรือวิจิกิจฉาว่าไม่ถูกต้อง อันย่อมบั่นทอนความเชื่อความเข้าใจไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติครั้งต่อๆไป]
อันนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน เหอะๆ ไม่ต้องไปสนใจ เพราะไม่ใช่หลวงปู่


คุณนี่ช่วยไปศึกษาหน่อยนะ ว่าผู้บันทึกคำของหลวงปู่เป็นใคร
คนที่ควรไปดูแคลนความเห็นแล้วหัวเราะใส่ เหอะๆน่ะ
หนังสือนี้ชื่อ "หลวงปู่ฝากไว้"


อายะ เขียน:
ธรรรมะของพระอริยะเจ้านั้นไม่ผิดเพี้ยนแน่นอน แต่ธรรมมะของผู้ที่อ้างหลวงปู่หลวงตา แล้วใส่ความเห็นตัวเองลงไปนี่ซิจะเชื่อได้ก่า พอใครจะถามก็บอกว่านี่ของหลวงปู่นะ หลวงปู่ก็ไม่อยู่แล้วซะด้วย ซะบายแฮละครับญาติโยม เดี๋ยวนี้หนังสือธรรมมะที่บอกว่า เป็นคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ บัณทึกหลวงปู่ นั้นผมไม่กล้าอ่านแล้วเพราะว่าโดนใส่ไข่ ตัดแปะ ใส่ความเห็น สารพัดจะทำ ไม่รู้อันไหนถูกผิด เวรกรรมแท้หนอ


พูดไปพูดมา ก้วัวพันหลัก สองมาตรฐาน

หลวงปู่เป้นครูบาอาจารย์ที่มีปัญญามากที่สุดองค์หนึ่งของยุค
ท่านสอนตามปัญญาผู้เรียน

ท่านสอน ปอ.1 ท่านก็สอนอย่างนึง
ท่านสอง ม.6 ท่านก็สอนอย่างหนึ่ง
สอนตามสมรรถนะผู้เรียน
ท่านจึงสอนบุคคลแตกต่างกัน

หลวงพ่อเรียนมายังไง ท่านก้ว่าไปตามที่เรียน ตามที่หลวงปู่สอนท่าน
แล้วกรุณาไปอ่านคำนำของหนังสือด้วย ว่าผู้เขียนพูดอะไรในคำนำ


เข้าใจไหม พลศักดิ์น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 01:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ศาสนาที่สมบูรณ์แบบคือพุทธศาสนา

มีทั้ง ก.ไก่ ก.กา มีทั้งประถมมีทั้งมัธยมตลอดดอกเตอร์เข้าใจไหม

นี่ขึ้นเป็นขั้น ๆ ทีนี้ไปทางโน้นไปหาขั้นดอกเตอร์เลย ผู้ที่ควรแก่ขั้นนั้นมันก็ไปได้

ผู้ไม่ควรแก่นั้น ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ได้มันจะไปเอาดอกเตอร์มาจากไหน เข้าใจไหม

นี่ละศาสนาเซนเป็นขั้นดอกเตอร์ของพุทธศาสนา เป็นขั้นที่จะหลุดจะพ้นด้วยปัญญาอยู่แล้ว ก็เท่านั้นละ

(ทีมงานขออนุโมทนาพร้อมระลึกในพระคุณของหลวงตาและพระพุทธศาสนาเช่นกัน)[/color]


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 07:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุ..กับคุณตรงประเด็น

ได้ยกคำหลวงตา..มาให้ได้อ่าน

ได้อ่านแล้วก็อบอุ่นใจ..

สาธุ...

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อายะ เขียน:
อ้าวมาได้ไงเนี่ยท่านอาจารย์ชาติ ไอ้ที่อยากให้ตอบไม่ตอบแถมานี่ กลับไปตอบกระทู้ที่ผมถามไว้ดีกว่า

ก็อย่าพาดพิงสิ

ผมไม่ให้คุณสรุปคำพูดผมนะ คนอย่างคุณสรุปคำพูดใครไม่ได้หรอก
สรุปของเขาเพี้ยนหมด


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
อันนี้เขาว่าเป็นบัณทึกของหลวงปู่

โดยปกติการสอบอารมณ์เขาจะไม่ทำกันเป็นหมู่ขณะต่อหน้า ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน หรือมหาชน อย่างที่ทำกันเพื่อโชว์เพาว์ เหมือนปัจจุบัน เพราะมันจะมีการจดจำสภาวะกันไปมั่วกันไปหมด ผมก็ไม่ทราบได้ว่าทำไมหลวงปู่กล่าวเช่นนี้ แล้วผมก็ไม่คิดว่าหลวงปู่ผิดด้วยถ้าหลวงปู่กล่าว ถ้าในกรณีที่ท่านอาจกล่าว อาจจะกล่าวกับพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นเฉพาะ ไม่น่าจะเป็นกรณีทั่วๆ ไป แต่ก็อนิจจาใครจะรู้ว่าคำสอนของหลวงปู่นั้นโดดใส่ไข่แล้วเอามาหากินมากเท่าใด ถ้าเป็นไปได้มีไฟล์เสียงหลวงปู่อันนี้บ่ ช่วยไปหามาให้ทีซิ เทศน์ที่ไหน เมื่อไร เพราะธรรมมะนั้นตัดมาเป็นท่อนๆ อาจความหมายผิดเพี้ยนได้ ขนาดพระไตรปิฏกเขายังยกมาเป็นพระสูตรเลย
ถ้าเอามาเป็นท่อนเช่น ฆ่าสัตว์ก็ดี ลักทรัพย์ก็ดี ฯลฯ ก็จะเข้าใจผิดไปอีกแบบ ยังไงขอเวอร์ชั่นเสียงด้วยมีบ่


คนมันจะโง่ ห้ามไม่ได้
พระพุทธเจ้าและพระไตรปิฏกส่วนใหญ่ ก็เป็๋นการที่พระองค์ตรัสกับผู้หนึ่งผู้ใด
สังเกตุตอนขั้นต้นพระสูตรได้ จะพูดว่า "ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้...."

จากที่คุณกล่าวมา
แสดงว่าคำพูดพระพุทธเจ้าและำพระำไตรปิฏก ไม่อยู่ในฐานที่คุณยอมรับ
เทปก็ไม่มี ใครจดมาก็ไม่รู้ พูดในบริบทไหนก็ไม่ทราบ



คนนั้นก็เพิ้ยน คนนี้ก็ไม่ถูก อะไรๆก็ผิดหมด
ยกเว้นที่คุณยอมรับ ถึงว่าไม่ผิด
ปัญญาเท่าหางอึ่ง ฟังหลวงปู่ยังไม่ได้หรอก

ธรรมะแม้จะเป้นสากล แต่ไม่ใช่ของสามัญที่ใครๆก็หยิบไปใช้ได้
พอตัวเองไม่เข้าใจก็หาว่าเขาผิด กระทั่งหลวงปู่ดูลย์ยังไม่ผ่าน QC ของคุณอายะ
มากไปหน่ิอยแล้ว

อวดโง่ไม่รู้จบ


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
[เพราะการปฏิบัติ ขณะจิตฟุ้งด้วยกำลังแรงกล้า ก็จะไม่บังเกิดผลเพราะใจที่ซัดส่ายและเพราะขาดความชำนาญ หรือขาดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในขั้นต้น ดังนั้นเมื่อไม่เห็นผลได้ด้วยตนเองก็ย่อมเกิดความท้อแท้ หรือวิจิกิจฉาว่าไม่ถูกต้อง อันย่อมบั่นทอนความเชื่อความเข้าใจไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติครั้งต่อๆไป]
อันนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน เหอะๆ ไม่ต้องไปสนใจ เพราะไม่ใช่หลวงปู่


คุณนี่ช่วยไปศึกษาหน่อยนะ ว่าผู้บันทึกคำของหลวงปู่เป็นใคร
คนที่ควรไปดูแคลนความเห็นแล้วหัวเราะใส่ เหอะๆน่ะ
หนังสือนี้ชื่อ "หลวงปู่ฝากไว้"


อายะ เขียน:
ธรรรมะของพระอริยะเจ้านั้นไม่ผิดเพี้ยนแน่นอน แต่ธรรมมะของผู้ที่อ้างหลวงปู่หลวงตา แล้วใส่ความเห็นตัวเองลงไปนี่ซิจะเชื่อได้ก่า พอใครจะถามก็บอกว่านี่ของหลวงปู่นะ หลวงปู่ก็ไม่อยู่แล้วซะด้วย ซะบายแฮละครับญาติโยม เดี๋ยวนี้หนังสือธรรมมะที่บอกว่า เป็นคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ บัณทึกหลวงปู่ นั้นผมไม่กล้าอ่านแล้วเพราะว่าโดนใส่ไข่ ตัดแปะ ใส่ความเห็น สารพัดจะทำ ไม่รู้อันไหนถูกผิด เวรกรรมแท้หนอ


พูดไปพูดมา ก้วัวพันหลัก สองมาตรฐาน

หลวงปู่เป้นครูบาอาจารย์ที่มีปัญญามากที่สุดองค์หนึ่งของยุค
ท่านสอนตามปัญญาผู้เรียน

ท่านสอน ปอ.1 ท่านก็สอนอย่างนึง
ท่านสอง ม.6 ท่านก็สอนอย่างหนึ่ง
สอนตามสมรรถนะผู้เรียน
ท่านจึงสอนบุคคลแตกต่างกัน

หลวงพ่อเรียนมายังไง ท่านก้ว่าไปตามที่เรียน ตามที่หลวงปู่สอนท่าน
แล้วกรุณาไปอ่านคำนำของหนังสือด้วย ว่าผู้เขียนพูดอะไรในคำนำ


เข้าใจไหม พลศักดิ์น้อย



พระไตรปิฏกนะผมเชื่อ เพราะมีครูบาอาจารย์คอยตรวจสอบอยู่แล้ว หลวงปู่ดูลย์ผมก็เชื่อ แต่คำสอนนั้นเทศน์ต่างกรรมต่างวาระ ก็ไม่รู้ว่าไปเทศน์เจาะจงพระรูปใด งั้น ก็บอกมาซิท่านเทศน์ที่ไหนเมื่อไหร่ เอาของเต็มนะ ไม่เอาแบบตัดแปะ ถ้าเป็นไปได้ขอไฟล์เสียง เอแปลกอยู่อย่างนึงนะทำไมคำสอนของนักดูจิตไม่อ้างคำสอนของหลวงตาบ้างเลย หรือมีข่าวไปกราบหลวงตาก็บ่เคย อ้างแต่พระอริยะที่ไม่สามารถตอบโต้ได้ เหอะๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
พระไตรปิฏกนะผมเชื่อ เพราะมีครูบาอาจารย์คอยตรวจสอบอยู่แล้ว หลวงปู่ดูลย์ผมก็เชื่อ แต่คำสอนนั้นเทศน์ต่างกรรมต่างวาระ ก็ไม่รู้ว่าไปเทศน์เจาะจงพระรูปใด งั้น ก็บอกมาซิท่านเทศน์ที่ไหนเมื่อไหร่ เอาของเต็มนะ ไม่เอาแบบตัดแปะ ถ้าเป็นไปได้ขอไฟล์เสียง เอแปลกอยู่อย่างนึงนะทำไมคำสอนของนักดูจิตไม่อ้างคำสอนของหลวงตาบ้างเลย หรือมีข่าวไปกราบหลวงตาก็บ่เคย อ้างแต่พระอริยะที่ไม่สามารถตอบโต้ได้ เหอะๆ



ทำกลบเกลื่อน แถไปเรื่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง การห้ามไม่ให้ทำอย่างใดเลย นอกเหนือจาก การรู้อย่างเดียว ...



ห้าม เพ่ง (เพ่งปุ๊บ ผิดปั๊บ)

ห้ามกำหนด (ลองอ่าน ตัวอย่างข้างล่าง กรณีคำสอนของหลวงปู่มั่น ที่ ท่านก็สอนให้กำหนด)

ห้ามแม้นกระทั่ง ไม่ให้เพียรตั้งใจเจริญสติในเบื้องต้น... ให้ สติมันเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้ตั้งใจ จะได้เป็นสติตัวจริง???



ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ที่เห็นไม่ตรงกัน




ตัวอย่างจากกระทู้

"ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง" ในสมัยที่ควร


http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry666994

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry667051

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry667055



การรู้อย่างเดียว โดยไม่ต้องทำอะไร ในบางสมัย ตรงกับ การวางเฉยต่อจิตในสมัยที่ควร-สีติสูตร และ ครูบาอาจารย์พระป่าในอดีตท่านก็สอนเช่นกันครับ

แต่ การรู้อย่างเดียว โดยต้องไม่ทำอะไร ในทุกสมัย (ห้ามทำอะไร นอกเหนือจากการรู้) ไม่น่าจะใช่พระพุทธพจน์.... เพราะ ในบางครั้ง นอกเหนือจากการรู้(มีสติ)แล้ว ก็อาจจะจำเป็นต้องปฏิบัติต่อจิตในลักษณะต่างๆ ตาม พระพุทธพจน์ในสีติสูตรด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 25 ก.พ. 2010, 11:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ประเด็น เรื่อง การห้ามไม่ให้ทำอย่างใดเลย นอกเหนือจาก การรู้อย่างเดียว ...
ห้าม เพ่ง (เพ่งปุ๊บ ผิดปั๊บ)
ห้ามกำหนด (ลองอ่าน ตัวอย่างข้างล่าง กรณีคำสอนของหลวงปู่มั่น ที่ ท่านก็สอนให้กำหนด)
ห้ามแม้นกระทั่ง ไม่ให้เพียรตั้งใจเจริญสติในเบื้องต้น... ให้ สติมันเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้ตั้งใจ จะได้เป็นสติตัวจริง???
ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ที่เห็นไม่ตรงกัน
ตัวอย่างจากกระทู้
"ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง" ในสมัยที่ควร

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry666994
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry667051
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry667055
การรู้อย่างเดียว โดยไม่ต้องทำอะไร ในบางสมัย ตรงกับ การวางเฉยต่อจิตในสมัยที่ควร-สีติสูตร และ ครูบาอาจารย์พระป่าในอดีตท่านก็สอนเช่นกันครับ
แต่ การรู้อย่างเดียว โดยต้องไม่ทำอะไร ในทุกสมัย (ห้าม ทำอะไร นอกเหนือจากการรู้) ไม่น่าจะใช่พระพุทธพจน์.... เพราะ ในบางครั้ง นอกเหนือจากการรู้(มีสติ)แล้ว ก็อาจจะจำเป็นต้องปฏิบัติต่อจิตในลักษณะต่างๆ ตาม พระพุทธพจน์ในสีติสูตรด้วย
ประเด็น เรื่อง การห้ามไม่ให้ทำอย่างใดเลย นอกเหนือจาก การรู้อย่างเดียว ...
ห้าม เพ่ง (เพ่งปุ๊บ ผิดปั๊บ)
ห้ามกำหนด (ลองอ่าน ตัวอย่างข้างล่าง กรณีคำสอนของหลวงปู่มั่น ที่ ท่านก็สอนให้กำหนด)
ห้าม แม้นกระทั่ง ไม่ให้เพียรตั้งใจเจริญสติในเบื้องต้น... ให้ สติมันเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้ตั้งใจ จะได้เป็นสติตัวจริง???
ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ที่เห็นไม่ตรงกัน


ท่านตรงเตรียมเจอชุดใหญ่ได้เลยครับ ตอนนี้ท่านชาติแกฟาดหัวฟาดหางแล้ว
:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
ท่านตรงเตรียมเจอชุดใหญ่ได้เลยครับ ตอนนี้ท่านชาติแกฟาดหัวฟาดหางแล้ว
:b4: :b4: :b4:


พวกอ่านหนังสือไม่แตก เลยชอบสร้างความเดือดร้อน
ทำเสี้ยมให้คนทะเลาะกัน
นิสัยแบบนี้มีหน้าจะมาคัดแยกพระอริยะ หาความละอายไม่ได้


คุณตรงประเด็นเขาไม่ทะเลาะกับใครหรอก
อยากรู้ว่าบัณฑิตมีปฏิปทายังไง ให้ดูปฏิปทาคุณตรงประเด็นเอาไว้

สิ่งที่คุณตรงประเด็นพูดน่ะ ผมเข้าใจแจ่มแจ้ง ไม่มีสิ่งใดขัดกัน
รวมความแล้วกล่าวได้ว่า "จิตแต่ละวาระ มีหน้าที่แตกต่างกัน"
วาระทำสมถะคือทำสมถะ วาระทำวิปัสนาคือทำวิปัสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b24: :b24: :b24:

http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=272

:b14: :b14: :b14:
:b21: :b21: :b21:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็น คำสอนของ หลวงปู่ดลุย์ ที่น่าสนใจมาเสนอเพิ่ม


จาก กระทู้

viewtopic.php?f=1&t=29764


จาก โอวาท หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

"จิต ที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย"


มาสู่ประเด็น ปัญหาของกระทู้

อ้างคำพูด:
จิตเป็นสมุทัย หรือ กริยาของจิตเป็นสมุทัย



ประกอบกับ คห. ของ ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งที่แสดงไว้ว่า

"“จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย” นั้น น่าจะคลาดเคลื่อนจากสภาวธรรมที่หลวงปู่ดูลย์สอน

เพราะ จิตจะเป็นตัวสมุทัยไปไม่ได้
จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในกองทุกข์ ไม่ใช่ตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย

หากจะให้ตรงกับสภาวธรรม จะต้องใช้คำว่า “ความส่งออกนอกของจิต เป็นสมุทัย ผลแห่งความส่งออกนอกของจิต เป็นทุกข์” เพราะ ความส่งออกนอกของจิตก็คือความทะยานอยากหรือตัณหา อันเป็นตัวสมุทัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง "





ระลึกขึ้นมาได้ว่า อาจจะเป็นไปได้ ที่เข้าใจ

1.ขอบเขตของความหมายแห่ง คำว่า "สมุทัย"

และ

2.ขอบเขตของความหมายแห่งคำว่า"จิต" ....

ไม่เท่ากัน


>>>>>>>>>>


1.ขอบเขตของความหมายแห่ง คำว่า "สมุทัย"

ถ้าใครมี หนังสือ พุทธธรรม ฉบับมหาจุฬาๆ(เล่มใหญ่)
ลองอ่าน หน้า 683 ที่ท่านอธิบายเรื่องอริยสัจจ์สี่ ตรง ขั้นที่2 สมุทัย

"...ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้น หรือ ยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ควบคู่กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับตัวแสดงหน้าโรงคือ ตัณหา .... และ ระดับเต็มกระบวนเต็มโรง คือ การสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท..."

อ้างอิงด้านล่าง

"....2. แสดง กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทเป็นทุกขสมุทัย เช่น องฺ ติก.20/501/227 และ พระพุทธพจน์แสดงหลักปฏิจจสมุปบาททุกแห่ง ซึ่งลงท้ายว่า เอวเมตํสฺส ทุกฺขขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ...."


คือ ผมมองว่า

หลวงปู่ดุลย์ ท่านกำลังกล่าวคำว่า "สมุทัย" ในแบบที่" มีความหมายกว้างมากไปกว่า คำว่าตัณหา"...

เป็น สมุทัยในความหมายแห่ง สมุทัยวารในปฏิจจสมุปบาท

กล่าวคือ หลวงปู่ท่านกำลังกล่าวถึง "จิตที่ส่งออกนอก" จาก จิตเดิม ไปเป็น วิญญาณขันธ์แห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด .

ท่านกำลังกล่าวถึง ในขั้นวิญญาณ ซึ่ง มาก่อนขั้นตัณหา ใน11ปัจจัย-12องค์ธรรมแห่งปฏิจจสมุปบาท.



2.ขอบเขตของความหมายแห่งคำว่า"จิต" ....


ที่ ท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ได้กล่าวเอาไว้ว่า

จิต จะเป็นตัวสมุทัย ไปไม่ได้

จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในกองทุกข์



"จิตเป็นวิญญาณขันธ์" ...ผมเห็นด้วยครับ
แต่ ก็มีจิตที่ไม่นับว่าจัดอยู่ในวิญญาณขันธ์แห่งปฏิจจสมุปบาทด้วย... นั้นคือ จิตเดิม หรือ ใจ(มโน)


ทีนี้ "จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในกองทุกข์"... ผมก็เห็นด้วยอีก
แต่ ก็มีจิตในปฏิจจสมุปบาทที่นอกเหนือไปจากอุปาทานขํนธ์๕(ซึ่งเป็นทุกข์) ด้วย

ที่ สำคัญก็คือ ขั้นวิญญาณในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีสังขารเป็นปัจจัย....

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี



วิญญาณในขั้นนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยวิญญาณทางหกช่องทางนั้นเอง... และนี่ก็คือ จิตในmodeวิญญาณ ที่ส่งออกมา ด้วยแรงขับดันแห่งสังขาร

ซึ่ง จิตเดิม ที่ส่งออกนอก และ เป็นเหตุแห่งทุกข์ ก็ผ่านขั้นตอนแห่งวิญญาณ นี้ ....



ดังนั้น จิต ในกระแสปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะขั้นทุกข์(อุปาทานขันธ์๕)เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง

ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ

ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว

อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และ ให้จิตภาวนาเอาเอง


ท่านตรงคับ ขอเสอนความเห็นหน่อยนะ
ก่อนที่จะไปวิเคราะห์ จิตอยู่ในจิต และ ให้จิตภาวนาเอาเอง นั้นต้องผ่านกระบวนการทำให้จิตมันสงบระงับก่อน เช็คจากเวทนาทางกายดูก็ได้ซึ่งต้องเกิดจากการฝึกอย่างต่อเนื่องคือให้เข้าสมาธิได้อย่างรวดเร็ว สังเกตจากความรู้สึกทางกายสงบระงับจนกระทั่งเหลือแต่ความรู้สึกทางจิตอย่างเดียว นั่นก็หมายถึงว่าจะไม่รู้สึกถึงเวทนาทางกาย ต้องผ่านกระบวนการนี้ก่อนนะครับ แล้วค่อยไปว่ากันเรื่องจิตอยู่ในจิต และให้มันภาวนาไปเอง โดยส่วนมากเมื่อภาวนาไปเวทนาทางกายเกิดก็ทนไม่ไหวไม่ยอมเพียรภาวนาต่อ แล้วก็ติดอยู่แค่นั้น ผมว่าน่าจะลองทำตรงนี้ดูก่อนนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอนำองค์ธรรม จาก พระอภิธรรม จากพระอาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก มาแสดงดังนี้


-----------------------------------------------------------
อริยะสัจจ์ ๔ โดย อาจารย์วิชิต ธรรมรังษี
http://www.abhidhamonline.org/boss_file ... ariyas.htm
(งานสัปดาห์วิสาขบูชา วันที่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๔๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ท้องสนามหลวง)


ชุด หัวข้อที่ควรกำหนดในอริยสัจ ๔


๑. ความเบื้องต้นที่ควรทราบ

๒. ความหมายของอริยสัจ ๔ --- มีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?

๓. องค์ธรรมของอริยสัจ ๔ --- แยกประเภทได้กี่อย่าง ?

๔. กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ?

๕. อรรถคือความหมายของอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ

๖. ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ มีอาการ ๑๒
-------------------------------------------------------
๒.๑ อริยสัจ มีกี่อย่าง อะไรบ้าง
อริยสัจ มี ๔ อย่าง คือ

๑. ทุกขอริยสัจ สภาวะที่ทนได้ยาก เกิด แก่ ตาย โศก ร้องไห้ร่ำไรรำพัน ทุกข์ใจ คับแค้น
ใจ พบสิ่งไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมก็คือ ยึดมั่นในขันธ์ ๕


๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจ เหตุให้เกิดทุกข์ คือความทะยานอยาก ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความยินดีในอารมณ์ต่างๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่มีเหลือตัณหา ความสละตัณหา
ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น


๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดชอบ ทำชอบ
เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ



-----------------------------------------------

๓. องค์ธรรมของอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง


๑.ทุกขอริยสัจ องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต๘๑ เจตสิก ๕๑(เว้นโลภเจตสิก) รูป ๒๘

๒.สมุทัยอริยสัจ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ๑

๓.นิโรธอริยสัจ องค์ธรรมได้แก่ พระนิพพาน

๔.มัคคอริยสัจ องค์ธรรมได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ในมรรคจิตตุปบาททั้ง ๔


นอกนั้นเป็นสัจจวิมุติ ที่เว้น เพราะไม่ได้อยู่ในกิจของอริยสัจ ๔ นั่นเอง
----------------------------------------------------------------------

๔. ธรรมที่เป็นกิจ และไม่เป็นกิจ ในอริยสัจ



๑. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นกิจในอริยสัจ

๒. มัคคจิตตุปปาท และผลจิตตุปปาท (นอกจากองค์มรรค ๘) ไม่เป็นกิจในอริยสัจ
คือกิจจวิมุตติ



จัดกิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔

๑. ทุกขอริยสัจ จัดเป็นปริญญาตัพพกิจ กิจที่ควรกำหนดรู้

๒. สมุทัยอริยสัจ จัดเป็นปหาตัพพกิจ กิจที่ควรประหาณ

๓. นิโรธอริยสัจ จัดเป็นสัจฉิกาตัพพกิจ กิจที่ควรทำให้แจ้ง

๔. มรรคอริยสัจ จัดเป็นภาเวตัพพกิจ กิจที่ควรเจริญ

ในอรรถกถา อัฏฐมสูตร ในปฐมวรรค และอรรถกถา สัจจวิภังค์ กล่าวไว้ว่า

การรู้อริยสัจนั้น มีการรู้แจ้งด้วยญาณดวงเดียว คือ ในขณะเดียวกัน
(ในมงคลสูตร นิพพานกถาบาลี หน้า ๔๐๘)


ในตติยสัจจสังยุต พระองค์ตรัสว่า เพราะเราและเธอ ไม่รู้แจ้งอริยสัจ จึงทำให้สงสารของเราและเธอ ต้องยาวไกล เนิ่นนาน แล่นไป ร่อนเร่ รอนแรมไป ในภพน้อยภพใหญ่ แต่เมื่อเราและเธอได้ตรัสรู้อริยสัจแล้ว สงสารของเราและเธอจึงขาดสะบั้นลง ไม่ต้องยาวไกล เนิ่นนาน แล่น ร่อนเร่ รอนแรมไป

--------------------------------------------------------

สำหรับแนวทางในการ เจริญสติปัฏฐาน เพื่อ พิจารณาสภาพธรรมของ จิต หรือ นามนั้น ปรากฏหลักฐานในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ดังนี้

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p7/029.htm
-----------------------------------------------------------------
แนวคิดเรื่องจิต
http://www.abhidhamonline.org/thesis/th ... hesis2.htm

โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน

สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้ ส่วนความสันทัดในทางชั่ว เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร