วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ :b8: :b8:
สำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ค่ะ

Supareak Mulpong- ก็อย่าลืมนะ จะช่วยคนตกน้ำ ก็ต้องหัดว่ายน้ำให้แข็งก่อน ไม่งั้นจมน้ำตายทั้งคู่ เมตตาก็เป็นความดี แต่ถ้าช่วยแบบเตี้ยอุ้มค่อม มันไม่เข้าท่า แต่ถ้าหนักแน่นเหมือนหัวจักรรถไฟ ลากโบ้ได้เป็นสิบๆโบกี้
ใช่เลยค่ะ เวลาที่ตัวเองจัดการกับเรื่องต่างๆ แล้วก็เรียบร้อยดี ก็คิดว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คงไม่มีอะไรมากระทบ ให้เรารู้สึกทุกข์ได้ คิดว่าตัวเองหนักแน่นดีในระดับหนึ่ง พอเอาเข้าจริง ก็อย่างที่เห็นล่ะคะ
เกิดปรากฎการณ์ เตี้ยอุ้มค่อมขึ้นมาจริงๆด้วย....

ยังไงก็จะพยายามนะคะ วันนึงคงจะนิ่งได้มากกว่านี้ เผื่อจะเป็นหัวจักรรถไฟขึ้นมาได้บ้าง :b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า แสดงแต่ความจริง พระพุทธคุณ คือ พลังแห่งความจริง ที่ชนะได้ทั้ง ๔ โลก คือ มนุษโลก เทวโลก พรหมโลก มารโลก

ความจริงคือขุมทรัพย์แห่งปัญญา พุทธจึงเป็นศาสนาแห่งปัญญา ซึ่งได้มากจากการฝึกและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้ไม่เรียน ก็ไม่รู้ ไม่ฝึกฝนก็ไม่ได้ผล ไม่พูดคุยแลกเปลี่ยนกับไครเลย ก็มืดตื้อ เวลามีไครมาสอนอะไร ให้ถามกลับไปว่าเอามาจากใหน ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ถ้าใช่ อยู่สูตรใหนตอนใหน เอาให้แน่ เพราะปัจจุบัน มีความเห็นปะปนกับคำสอนในพุทธศาสนาจนผู้ที่ไม่มีภูมิธรรมมากพอเข้าใจว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเอาไปสอนต่อๆ ไปอีก คือ กำลังทำกรรมหนัก ทำลายพุทธศาสนาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว นึกว่ากำลังทำธรรมทาน

ผู้ฉลาดในพุทธศาสนา จึงเป็นผู้ฉลาดในธาตุและเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะและเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑ เป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] และเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้]

พยายามศึกษาธรรมะ คือพยายามศึกษาความจริงให้มากๆ เอาธรรมะหรือความจริงเข้าหาตัว อย่าหยุดตรงแค่ความเห็น หรือเขาว่า เราชาวพุทธต้องเอาพระพุทธเจ้าว่า หากไม่ศึกษาไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ก็คือการทำไปโดยไม่รู้ คำสอนของพระพุทธองค์อยู่ในพระไตรปิฎก หากต้องการศึกษาความจริง ไม่มีความเห็นปะปน ต้องศึกษาจากพระไตรปิฎกโดยตรง ไม่ต่างจากการได้ฟังธรรมจากพระโอฐษ์ ... :b12:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 มี.ค. 2010, 00:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มเติมให้ 2 เรื่องคือ กรรม และ วาสนา
1 กรรม สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ที่มีลูกหลาน บริวาร หรือญาติ ที่พา นำพาไปในสิ่งดีแล้วไม่มีการซึมซับ ปรับเปลี่ยน นั้นบ่งบอกถึงกรรมของเขาเองที่ยังบัง บังคุณงามความดี บังสิ่งดีงาม โดยมากแล้วที่เข่นไม่ขึ้นจะมีกรรมที่เกี่ยวกับคุณเบื้องสูงเป็นสำคัญประการแรก คือเคยมีกรรมในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ที่มีเกี่ยวข้องด้วย กาย วาจา ใจ ต่อคุณ พุทธะ ธรรมะ อริยะสังฆะ พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือผู้ให้อุปการะทั้งหลาย เมื่อกรรมไม่ดีต่อสิ่งมีคุณเหล่านี้โดยมากแล้วจะมีเสื่อม ไม่เจริญทั้งหน้าที่การงาน ในทางโลก และคุณธรรม สติปัญญา ในทางธรรม หากมีกรรมในส่วนนี้ท่านให้แก้ด้วยการขอขมาอโหสิกรรม ที่มาจากการสำนึกแล้วจริงๆ ในเรื่องกรรมนี้จึงควรบอกกล่าวเตือนลูกหลาน บริวาร ญาติ ลูกศิษย์ อยูบ่อยๆ ให้จักโทษ เป็นสิ่งที่ไม่ควรล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจเลย และให้รู้จักพาขอขมาอโหสิกรรมเมื่อผิดพลาดไปแล้ว
2 วาสนา การจะเป็นผู้ชี้นำ ผู้นำ กล่าวธรรมะ เป็นผู้สอนผู้อื่นให้รู้ตาม สิ่งเหล่ามาจากการเสียสละ เคยสัมผัสสัมพันธ์กันมา หลายภพชาติ หรือว่าเคยเป็นครูบาอาจารย์กันมาก่อน การบอกการสอนจึงเป็นแบบสอนง่าย เชื่อฟังโดยดี แต่หากไม่เคยเสียสละ ไม่เคยเป็นครูบาอาจารย์ จะไปบอกไปสอนโดยมีแค่ความหวังดี ปราถณาดีแล้วเข้าไปบอกกล่าวนั้นนี้โดยมากแล้วจะไม่มีใครรับฟัง หรือฟังแล้วไม่ใส่ใจ ใยดีต่อสิ่งที่กล่าวที่ว่าไปนั้น
ที่สำคัญเป็นภาวะอารมณ์ของผู้ศึกษาธรรมเอง เมื่อเข้าใจธรรมะใหม่ๆก็มีแต่ปรุงแต่ง ธรรมะเรื่องนั้น เรื่องนี้ แล้วไปเที่ยวสอนใครต่อใครให้รู้ธรรมะ แล้วมักบ่นว่าเขาเหล่านั้น ไม่ฟัง ไม่เชื่อ เป็นต้น ที่ไม่เกี่ยวกับวาสนาเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ
เข้ามาในนี้ แล้วเหมือนได้ เรียนรู้ธรรมะมากขึ้น
ที่ผ่านมานั้นฟังธรรม ก็เพียงเก็บเกี่ยวสำหรับมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่เคยได้ศึกษาจริงจัง เกี่ยวกับพระไตรปิฎก
เพราะฉะนั้นเรื่องพระสูตรต่างๆ .........ไม่ทราบเลยค่ะ
:b17: :b17:

เคยฟังเกี่ยวกับปฏิจสมุปบาท กฏอิทัปปัจจัยตา มาบ้าง ก็พอเข้าใจ
แต่ก็เข้าใจแบบที่บอกล่ะคะ คือ รู้ปฏิจสมุปบาท แต่ไม่เห็นปฏิจสมุปบาท
ทีนี้พอผัสสะเกิด เลยรู้ไม่ทันผัสสะ ทุกข์ก็เกิด วนเวียนไม่รู้จบ


ก่อนนี้....คิดเพียง....ว่า ธรรมะ คือหน้าที่
ใครมีหน้าที่อย่างไร ก็ทำไปอย่างนั้น ทำให้ดีที่สุดในหน้าที่นั้นๆ
เช่น....
เป็นลูก ก็มีหน้าที่ทำให้พ่อ แม่ชื่นใจ สบายใจ ตอบแทนดูแลพ่อแม่ ตามสมควร
เป็นพ่อ แม่ก็มีหน้าที่ต่อลูก อบรมสั่งสอน สนับสนุนให้ลูกทำในสิ่งทีถูกที่ควร
เป็นเพื่อน ก็คอยช่วยเหลือ ตักเตือน ให้กำลังใจกัน
เป็นภรรยาก็ เป็นภรรยาที่ดีของสามี ทำให้ครอบครัวมีความเย็นอกเย็นใจได้
เป็นลูกน้องก็ทำงานที่รับมอบหมายไป ทำดีแล้วมีคนเห็นหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของคนอื่น เราไปกำหนดไม่ได้อยู่แล้ว
เป็นพุทธบริษัท อย่างน้อย ศีล 5 อย่าได้พร่อง
เป็นต้น...
...
แล้วเวลาท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะอะไรต่างๆ บอกตรงๆค่ะ ว่าไม่เคยจะได้ถามเลยว่า มาจากไหน พระสูตรอะไร
ใช่คำสอนของพระพุทธองค์ไหม เพราะถึงแม้เขาบอกแล้ว ก็คงไม่รู้อยู่ดี :b17: :b17: :b17:

ที่ผ่านมา...จึงคิดเอาง่ายๆ เองว่า รับฟังเอาไว้ เมื่อพิจารณาแล้ว คำแนะนำอันไหนมีประโยชน์ และเป็นที่พึ่งได้ ก็คิดว่าควรเชื่อดีกว่าไม่เชื่อ



เหมือนกับข้อเตือนสติ ทุกๆท่านในที่นี้ เมื่อได้รับฟังแล้วเกิดสติ จากที่ความทุกข์ที่เผาลน
เปลี่ยนเป็น แม้ทุกข์ยังอยู่ แต่ไม่เผาลนให้รุ่มร้อนอีกต่อไป
เมื่อผลเป็นแบบนี้ ก็คิดว่าเชื่อไว้ดีกว่า
:b16: :b16: :b16:


หมายมั่น...สักวันจะลองอ่านพระไตรปิฎกให้เข้าใจดูบ้าง
:b8: :b16: :b8: :b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. :b39:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้. :b39:


กาม ถูกเห็นแล้ว อย่างนี้ น่ากลัวจะอายม้วนกลับไปเลยหรือเปล่านะ :b16: :b17: :b16: :b17:

ช่วยอธิบายธรรมะข้อนี้ เหมือนกับอธิบายให้กับเด็ก ป.5 ฟัง ได้ไหมคะ... แฮ่ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขุททกนิกาย มหานิทเทส
กามสุตตนิทเทสที่ ๑

เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้น
สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.


[๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุ-กาม ๑ กิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็น ปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม. สมจริงดังคำว่า

ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะ
ความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้.


กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มีความว่า เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อปรารถนากามอยู่.

[๓] คำว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์. คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม. คำว่า ย่อมสำเร็จ มีความว่า ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดยชอบ ได้ ได้เฉพาะ ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น.

[๔] คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย ส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าว ไม่เป็นสองส่วน เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวไม่รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า แน่นอนนี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕. คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัยบัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ. ใจนี้สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความอิ่มนี้. คำว่า ย่อมเป็น ผู้อิ่มใจ คือเป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.

[๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า คำว่า ได้ คือ ได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ ตามปรารถนา ยินดี ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้กามตาม ปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น
สัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.


ฯลฯ

บทนี้จริงๆ สอนเรื่องกามคุณ ๕ แต่พอจะอณุโลมใช้กับความวิตกกังวล รำพึงรำพันหวนหาได้ :b1:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 18 มี.ค. 2010, 16:36, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเป็นกำลังใจครับ ให้กับคุณผู้มีพรหมวิหารอยู่ในตัวอยู่แล้ว
ถึงจะยังไม่มีเหตุให้มุทิตา แล้วก็ยังวางอุเบกขาไม่ค่อยได้ก็ตาม

ความเมตตากรุณานั้นคุณทำดีแล้วครับ ทำในสิ่งที่เราพอจะทำได้แล้วไม่เดือดร้อนตนเอง
แต่สิ่งที่เดือดร้อนอยู่คือวางอุเบกขาไม่ค่อยได้ อันนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำกันได้ง่ายๆด้วย
ต้องอาศัยการฝึก สติปัญญา ความทุกข์ที่ไม่สามารถปล่อยวางได้ก็เกิดจากความคิดของเรา
การเจริญสติจะทำให้คิดฟุ้งซ่านได้น้อยลงและมีสติในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้มากขึ้น

การที่มีพรหมวิหารจึงควรควบคู่ไปกับการเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา ใจจะรับมือได้กับปัญหามากขึ้น
พยายามมีสติรู้กับปัจจุบันขณะของกายและอารมณ์ ไม่สนใจความคิดที่ปรุงแต่ง
ขณะนั้นจะสามารถหยุดความคิดฟุ้งซ่านได้บ้าง
จะเห็นสภาวะของกายและใจตามความเป็นจริง จะเกิดปัญญาในการเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงต่างๆนั้น

ฝึกสติรู้กายใจแบบนี้บ่อยๆ จะลดความฟุ้งซ่าน และการวางอุเบกขาก็จะง่ายขึ้น
การมีเมตตา กรุณาก็มีไปเหมือนเดิมแต่มีสติกับปัจจุบันให้มากขึ้น
ปัญหาใดเกิดขึ้นแล้วเกินวิสัยของเราที่จะช่วยแล้ว ก็น้อมสติมาที่กายและอารมณ์ในปัจจุบัน เลิกคิดทันที
นี่จะเป็นการค่อยฝึกปล่อยวางได้ทีละนิด
พรหมวิหารของคุณก็จะค่อยๆสมบูรณ์ขึ้น เป็นความรักที่ไม่เบียนเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง
ผลที่ได้นั้นคุณจะสามารถมุทิตาให้กับตัวเองแล้วจะวางอุเบกขาต่อผู้อื่นได้ครับ

คำแนะนำนี้อาจจะเป็นประโยชน์ได้บ้างนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พงพัน เขียน:
มาเป็นกำลังใจครับ ให้กับคุณผู้มีพรหมวิหารอยู่ในตัวอยู่แล้ว
ถึงจะยังไม่มีเหตุให้มุทิตา แล้วก็ยังวางอุเบกขาไม่ค่อยได้ก็ตาม

ความเมตตากรุณานั้นคุณทำดีแล้วครับ ทำในสิ่งที่เราพอจะทำได้แล้วไม่เดือดร้อนตนเอง
แต่สิ่งที่เดือดร้อนอยู่คือวางอุเบกขาไม่ค่อยได้ อันนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำกันได้ง่ายๆด้วย
ต้องอาศัยการฝึก สติปัญญา ความทุกข์ที่ไม่สามารถปล่อยวางได้ก็เกิดจากความคิดของเรา
การเจริญสติจะทำให้คิดฟุ้งซ่านได้น้อยลงและมีสติในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้มากขึ้น

การที่มีพรหมวิหารจึงควรควบคู่ไปกับการเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา ใจจะรับมือได้กับปัญหามากขึ้น
พยายามมีสติรู้กับปัจจุบันขณะของกายและอารมณ์ ไม่สนใจความคิดที่ปรุงแต่ง
ขณะนั้นจะสามารถหยุดความคิดฟุ้งซ่านได้บ้าง
จะเห็นสภาวะของกายและใจตามความเป็นจริง จะเกิดปัญญาในการเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงต่างๆนั้น

ฝึกสติรู้กายใจแบบนี้บ่อยๆ จะลดความฟุ้งซ่าน และการวางอุเบกขาก็จะง่ายขึ้น
การมีเมตตา กรุณาก็มีไปเหมือนเดิมแต่มีสติกับปัจจุบันให้มากขึ้น
ปัญหาใดเกิดขึ้นแล้วเกินวิสัยของเราที่จะช่วยแล้ว ก็น้อมสติมาที่กายและอารมณ์ในปัจจุบัน เลิกคิดทันที
นี่จะเป็นการค่อยฝึกปล่อยวางได้ทีละนิด
พรหมวิหารของคุณก็จะค่อยๆสมบูรณ์ขึ้น เป็นความรักที่ไม่เบียนเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง
ผลที่ได้นั้นคุณจะสามารถมุทิตาให้กับตัวเองแล้วจะวางอุเบกขาต่อผู้อื่นได้ครับ

คำแนะนำนี้อาจจะเป็นประโยชน์ได้บ้างนะครับ


ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ เป็นประโยชน์มากที่สุดค่ะ คุณพงพัน

...ล่าสุดหลานสาวกลับมาบ้าน สองสามวัน แล้วก็กลับไปค่ะ

ตอนนี้ก็ไม่คาดหวังอะไรแล้วค่ะ ความสุขของแต่ละคนอาจอยู่กันคนละที่

แต่ก่อนพบหน้ากัน รู้สึกผิดหวัง จนไม่อยากคุยกับเขาอีกแล้ว ( คุยมาเยอะ )

ตอนนี้ ไม่แล้วค่ะ คุยกับเขาปกติ เรามีหน้าที่จะต้องเมตตาเขา เราก็ต้องทำต่อไปใช่มั้ยคะ ไม่ห้ามแล้ว

เขาจะไป ก็ไปส่งด้วย ก็บอกนะคะว่า อะไรที่คิดว่าทำแล้วมีความสุขก็ทำเถอะ

ทุกข์มากเมื่อไหร่ก็กลับบ้าน...

:b16: :b16: :b16:

......สำหรับการเจริญสติ

สวดมนต์ นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่หวังมรรคผลนิพพานอันเกินเอื้อมในตอนนี้เลยค่ะ

เพียงอาศัยธรรมโอสถ รักษาจิตให้สงบในปัจจุบันขณะอย่างแท้จริงเท่านั้นเอง

เพราะเคยฟุ้งซ่าน จนนอนไม่หลับเพราะเรื่องนี้มาแล้ว....ไม่ฉลาดเลยจริงๆนะคะ

ตอนนี้สติมาแล้ว คิดว่าพอไหวนะคะ :b16: :b16: :b16:

ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจดีๆ

tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุข ความคลายกังวล ที่เกิดกับคุณนี้ ก็เพราะได้ศึกษาความจริงของโลกและชีวิตเบื้องต้น คือ ชาติ ภพ บุญ บาป และได้กำหนดรู้ในทุกข์ แต่เพียงเท่านั้นเอง พระพุทธองค์ยังได้ตรัสสอนสิ่งที่ประเสริฐกว่า ปราณีตกว่า อย่าได้เพิ่งพอใจแต่สุขเพียงเล็กน้อยเท่านี้เลย

ก็จะขอแสดงธรรมสุขที่ปรานีตกว่า เพื่อความสิ้นไปของทุกข์โดยลำดับ เพื่อให้ชาวพุทธอยู่ได้อย่างมีความสุข เพื่อทรัพย์ ทั้งทรัพย์ทางโลกและทรัพย์ที่เป็นอริยะ

ทุกข์ที่เกิดกับเรานี้ มีเพียง ๒ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น และทุกข์ที่เกิดจากเราสร้างขึ้นมาเอง คือ ความโศกเศร้า รำพึงรำพัน หวลหา ไม่สบายอกสบายใจ ฯ (โดยย่อ อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์)

เหตุของทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติ ก็คือทุกข์ที่เราสร้างขึ้นเอง ดังนั้น ดับทุกข์ที่เราสร้างขึ้นเองได้ ก็ดับชาติ ดับภพได้

พระพทุธองค์ตรัสว่า ทุกข์เกิดที่ใหน ดับที่นั่น ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดกับเรา เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น นอกนั้นไม่มีทุกข์ ดับทุกข์ จึงต้องดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ครบทุกทาง

เช่น ใจไปนึกคิดถึงวิบากกรรมของหลาน จนไม่สบายใจ ทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้น เพราะคุณไปยึดมั่น ถือมั่น ปรุ่งแต่งความคิดที่เกิดขึ้น เกิดเป็นความไม่สบายใจ (โทมนัส) เพราะฉะนั้น ดับการนึกคิดได้ ก็ดับทุกข์ทางใจได้

หูได้ยินเสียงด่า ไปยึดมั่น ปรุงแต่งเสียงด่า เกิดเป็นความโกรธ ก็เป็นทุกข์

เจอกระเป๋าสวยงาม อยากได้ ราคาแพง ซื้อไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ฯ

จะเอาอะไรไปดับการยึดมั่นถือมั่น และการปรุงแต่ง ที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พระพุทธองค์ตรัสว่า การยึดมั่นถือมั่นและการปรุงแต่งเป็นความเห็น ต้องเอาความจริงไปดับความเห็น ดับทุกให้ครบทุกข์ทาง

ความจริงเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ที่จะนำไปดับทุกข์ได้ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน มีความแปรปวนไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้น คงอยู่ และต้องดับไป สรุปเป้นคำเดียวสั้นๆ ว่า ไม่เที่ยง

ความจริงอีกอย่างหนึ่งคือ สรรพสิ่งในโลก เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ว่ามนโลกนี้หรือในโลกใหนๆ ไม่มีคำว่าบังเอิญสำหรับชาวพุทธ มีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด มีเหตุปัจจัยให้อยู่ก็อยู่ มีเหตุปัจจัยให้แตกสลายก็แตกสลาย บังคับบัญชาไม่ได้ ควบคุมไม่ได้


ไม่มีอะไรในธรรมชาติ ที่จะพ้นกฎธรรมชาติ ๒ กฏนี้ ทั้งรูป นาม คือ วัตถุ ความรู้สึก ความจำ ความคิด ความรู้ ฯ

วิธีการปฏิบัติ

เมื่อตาเห็นรูป ให้พิจารณาสิ่งที่เห็นว่า รูปที่เห็นไม่เที่ยง วัตถุที่เห็น ใหม่ เก่า และต้องแตกสลาย หากสามารถพิจารณาได้ตามนี้ ความอยากได้ ความไม่ชอบใจดับทันที คือ ดับทุกข์ได้ทันที ทดลองดูได้

หูได้ยินเสียง เพราะ ไม่เพราะ พอใจ ไม่พพอใจ ก็ให้พิจารณาว่า เสียงที่ได้ยินก็ไม่เที่ยง ดับความพอใจ ไม่พอใจที่เกิดจากเสียงได้ทันที โดยเฉพาะเสียงด่า ให้พิจารณาทันทีที่ได้ยินเสียงด่า คนด่าก็ด่าไป คนถูกด่ายิ้มรับได้หน้าตาเฉย

จมูกได้กลิ่น … ลิ้นได้รับรส … กายสัมผัส … ใจคิดนึก ให้พิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสโดยความไม่เที่ยง ฯ เพียงเท่านี้ ชีวติก็จะประสบแต่ความสุข มีกำลังกายกำลังใจไปคิดไปทำอะไรได้เยอะแยะ

ตัวเราเองก็ไม่เที่ยง เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีอะไรก็พิจารณาตัวเองแบบนี้

หากสามารถทำได้เป็นปรกติในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัย ชีวิตนี้จะไม่ตกต่ำ จะพบแต่ความสุข ความเจริญ :b42:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25610


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 18 มี.ค. 2010, 20:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเป็นอย่างสูง ในความกรุณาค่ะ

Supareak Mulpong เขียน:
วิธีการปฏิบัติ

เมื่อตาเห็นรูป ให้พิจารณาสิ่งที่เห็นว่า รูปที่เห็นไม่เที่ยง วัตถุที่เห็น ใหม่ เก่า และต้องแตกสลาย หากสามารถพิจารณาได้ตามนี้ ความอยากได้ ความไม่ชอบใจดับทันที คือ ดับทุกข์ได้ทันที ทดลองดูได้

หูได้ยินเสียง เพราะ ไม่เพราะ พอใจ ไม่พพอใจ ก็ให้พิจารณาว่า เสียงที่ได้ยินก็ไม่เที่ยง ดับความพอใจ ไม่พอใจที่เกิดจากเสียงได้ทันที โดยเฉพาะเสียงด่า ให้พิจารณาทันทีที่ได้ยินเสียงด่า คนด่าก็ด่าไป คนถูกด่ายิ้มรับได้หน้าตาเฉย

จมูกได้กลิ่น … ลิ้นได้รับรส … กายสัมผัส … ใจคิดนึก ให้พิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสโดยความไม่เที่ยง ฯ เพียงเท่านี้ ชีวติก็จะประสบแต่ความสุข มีกำลังกายกำลังใจไปคิดไปทำอะไรได้เยอะแยะ

ตัวเราเองก็ไม่เที่ยง เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีอะไรก็พิจารณาตัวเองแบบนี้

หากสามารถทำได้เป็นปรกติในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัย ชีวิตนี้จะไม่ตกต่ำ จะพบแต่ความสุข ความเจริญ :b42:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25610



อธิบายอย่างนี้ เด็ก ป.5 เริ่ม get ค่ะ :b12:
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือที่เรียกว่า กามคุณ 5 ใช่มั้ยคะ คือทั้งหลายทั้งปวงที่เราหลงยึดอยู่

:b48: :b48: :b48:

การพิจารณา ถ้าเข้าใจตามนี้คิดว่า ไม่ยากจนเกินไปค่ะ เพราะพื้นนิสัย ไม่ใช่คนที่อยากได้ อยากมี หรือยึดวัตถุ อะไรมากมาย ( ถ้ายึดคน ล่ะยังมากอยู่ โดยเฉพาะครอบครัว...ว้า)


แต่สำหรับครอบครัวแล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่เคยแตะต้องธรรมะ เคยถามตัวเองบ่อยๆ ว่าถ้าพ่อหรือแม่ต้องตาย เราจะเป็นอย่างไร คำตอบคือ รับไม่ได้ค่ะ

แต่ตอนนี้ หรือก่อนหน้านี้สักเล็กน้อย ในคำถามเดียวกัน ตอบได้เลยว่า ไม่เป็นไร เรื่องตายเป็นเรื่องธรรมดา รับได้อยู่แล้ว ( มั่นใจมากค่ะ ) คิด ซ้อมรับมือไว้ตลอดเลยค่ะ

:b16: :b16: :b16:

เรื่องการพิจารณารส หลายหนที่ต้องรับประทานยาที่ขมๆเช่น ฟ้าทะลายโจรชง มีประโยชน์มากที่สุด เมื่อก่อนทานแทบไม่ได้ ได้กลิ่นต้องขออาเจียนก่อน แต่ตอนนี้สบายมากค่ะ เพียงคิดว่า กายขมใจไม่ขม แม้ขม เดี๋ยวก็หาย ไม่มีอะไรตั้งอยู่ตลอดไป มันก็ขมอยู่แค่สักครึ่งชั่วโมง ก็สบายแล้ว อาการเจ็บป่วยก็หาย

:b12: :b12: :b12:

ส่วนสิ่งอื่นๆที่มากระทบ ไม่ว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ ใดๆ ไม่ค่อยมีความหมาย ที่จะทำให้ทุกข์หรือสุขสักเท่าไหร่ เพราะรู้แล้วว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ของพึงยึดพึงอยากได้ มีก็เท่านั้น ไม่มีก็เท่านั้น

:b1: :b1: :b1:

แต่เรื่องที่คิดว่าถ้าเกิดแล้ว จะค่อนข้างยากอีกอย่าง ( เพียงแค่คิดไว้น่ะค่ะ ) เรื่องพลัดพลากจากสามีน่ะค่ะเพราะปัจจุบัน ความสัมพันธ์เราค่อนข้างมั่นคง (อนาคตไม่สามารถทราบได้ ) ไม่มีลูก เมื่อก่อนคิดอยากมี เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยแล้วค่ะ คงเข็ดจากหลานสาวล่ะค่ะ ที่คิดว่ายากคือ เราอยู่กันสองคน เมื่อต้องจากกัน ไม่ว่าจากเป็นหรือจากตาย( ในวันหนึ่งแน่นอน ) คนที่เหลืออยู่ คงไม่ง่ายที่จะรักษาจิตใจไว้ให้มั่นคงได้...ตอนนี้ก็ซ้อมๆไว้บ้างเหมือนกัน...(วิตกจริตไป ป่ะคะเนี่ย) :b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ถ้าไม่พอใจ ก็เป็นทุกข์

รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ถ้าพอใจ ก็เป็นสุขจาก กามคุณ ๕ อย่างนี้ พอหมดไป หายไป ก็กลับเป็นทุกข์อีก "ของเราหนอ เมื่อก่อนเคยเป็นของเราหนอ เดี๋ยวนี้หมดไปหายไปแล้วหนอ..."

เมื่อจัดการฆ่าทุกข์ได้ ก็เหลือแต่สุข ต่อมาสุขก็ต้องฆ่า ก็จะเหลือไม่ทุกข์ไม่สุข ท้ายสุด ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ต้องฆ่า จึงจะพบกับความสุขสงบที่ยั่งยืนถาวรได้จริงๆ :b39: ตอนนี้เอาแค่ฆ่าทุกข์กับฆ่าสุขชั่วคราวก่อน

สวดมนต์ สมาธิ ไม่ต้องไปทำ อะไรที่ทำแล้วดับทุกข์ไม่ได้ทันที ไม่ได้ปัญญา เป็นการหลบทุกข์ขั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่คำสอนพระพุทธเจ้า

สวดมนต์ให้สวดสั้นๆ ก็พอ อย่าสวดนาน บทสวดอะไรที่แปลแล้วเป็นการอ้อนวอน เอาทิ้งให้หมด ศาสนาพุทธไม่มีการอ้อนวอน การอ้อนวอนเป็นลัทธิเทวนิยม พุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติแล้วย่อมรู้ได้เฉพาะตน

สมาธิ จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อุบาสกอุบาสิกาไปนั่งสมาธิ พระพุทธองค์สอนพระอริยสงฆ์ ปุถุชนยังไม่มีปัญญาชั้นโลกุตระประกอบ จะไปนั่งสมาธิ ก็จะได้ผลเป็นมิจฉาสมาธิอย่างเดียว ไม่มีทางเป็นสัมมาสมาธิได้

สัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ ก็คือ การตั้งใจทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ได้ให้ไปนั่งสมาธิิอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกัน

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความหลงใหญ่ ไม่เท่าทันความพอใจไม่พอใจที่มากระทบสัมผัส) เป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม (สภาวะความเลวร้าย) เกิดร่วม กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้การเกิดของทุกข์ ไม่รู้การดับของทุกข์ ไม่รู้วิธีการดับทุกข์) ประกอบ ด้วยอวิชชา ความดำริผิด (มิจฉาสังกัปปะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด (มิจฉสทิฏฐิ) เจรจาผิด (มิจฉาวาจา) ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิด (มิจฉากัมมันตะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิด (มิจฉาอาชีวะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิด (มิจฉาวายามะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิด (มิจฉาสติ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิด (มิจฉาสมาธิ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา (ความเท่าทันความพอใจไม่พอใจที่มากระทบสัมผัส) เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรม (สภาวะความดี) ให้ถึงพร้อม เกิด ร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง (รู้ทุกข์ รู้การเกิดของทุกข์ รู้การดับของทุกข์ รู้วิธีการดับทุกข์) ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพ (สัมมาอาชีวะ) ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบ (สัมมาสมาธิ) ย่อมเกิด มีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.


มรรคมีองค์ ๘ ก็คือ การดำเนินชีวิตปกติของคนเรา ถ้าเริ่มที่เห็นผิด ที่เหลือก็ผิดหมด ถ้าเริ่มที่เห็นถูก ที่เหลือก็ถูกหมด จึงเรียกว่า ทางสายกลาง ปฏิบัติได้ไม่กระทบชีวิตประจำวัน สิ่งที่ให้ืำฝึกพิจารณา ก็คือ การสร้างสัมมาทิฏฐิ แปลว่า ให้เดินตามมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธเจ้าโคตมะ :b42:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 03:38
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สวดมนต์ สมาธิ ไม่ต้องไปทำ อะไรที่ทำแล้วดับทุกข์ไม่ได้ทันที ไม่ได้ปัญญา เป็นการหลบทุกข์ขั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่คำสอนพระพุทธเจ้า

สวดมนต์ให้สวดสั้นๆ ก็พอ อย่าสวดนาน บทสวดอะไรที่แปลแล้วเป็นการอ้อนวอน เอาทิ้งให้หมด ศาสนาพุทธไม่มีการอ้อนวอน การอ้อนวอนเป็นลัทธิเทวนิยม พุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติแล้วย่อมรู้ได้เฉพาะตน

b42:


เรียนถามอย่างนี้ค่ะว่า
การทำวัตรสวดมนต์ เช้า เย็นแล้วนั่งสมาธิ แผ่ส่วนกุศล ที่ทำในแต่ละวัน
ไม่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ ไม่ควรทำ และไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์
ด้วยไหมคะ
:b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สวดมนต์เป็นเรื่องของพระ จริงๆ ก็คือ การทบทวนคำสอน ทบทวนวินัย ฆารวาสระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็พอ

สมาธิ เป็นเรื่องของพระอริยะ กับพวกนอกศาสนา คือ พราหมณ์ โยคี ฤาษี การที่เราฝึกพิจารณา ผลก็คือ จิตหยุดการปรุงแต่ง พอไม่ปรุงแต่ง ก็ไม่ฟุ้งซ่าน จิตสงบทันที ไม่ต้องไปนั่งหลังขดหลังแข็งทรมานตัวเอง

การแผ่เมตตา ทำได้ตลอด ด้วยตั้งจิตอธิฐาน ไม่ใช่ด้วยการสวดภาษาที่เราไม่เข้าใจความหมาย

ภาวนาแปลว่าฝึก ไม่ได้แปลว่าสวดมนต์

จาคะ แปลว่า การเสียสละ คือ สละกิเกส ไม่ได้แปลว่าบริจาค

ทาน แปลว่า การให้เพื่อชำระจิตใจ ให้เพื่อตัวเราเอง

บาลี เป็นภาษากลางของพระ เพื่อให้สื่อสารได้เข้าใจกันทั่วโลก พระต้องใช้ภาษาพื้นบ้าน หรือภาษาที่ชาวบ้านฟังรู้เรื่อง ชาวบ้านถึงจะได้ปัญญา

ถือศีล ก็เป็นพราหมณ์

ถือศีลบริสุทธิ์ เป็นฤาษี

พุทธต้องศึกษาเรื่องชาติภพ บาปบุญ ดีชั่ว ให้ศีลเกิดขึ้นเอง เรียกว่ามีศีล หรือเป็นผู้ที่ประกอบด้วยศีล คือ มีปัญญารู้ดีรู้ชั่วแล้ว ก็ไม่คิดไปทำบาป



ดับทุกข์ที่ถูกต้อง คือ ดับที่เหตุของการเกิดทุกข์ นอกจากนั้น เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ถือเป็นการหลบทุกข์ทั้งหมด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 17:14
โพสต์: 84

แนวปฏิบัติ: ตามดูจิต
งานอดิเรก: เลี้ยงแมว/ดูหนัง/เล่นเนต
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณคาเนชั่น

"ทุกข์ใดไหนเล่า จะเท่ากับทุกข์คนใกล้ตัว"

ครั้งหนึ่ง ดิฉันก็เคยคิดเหมือนคุณ คิดแต่จะพยายามทำยังไงให้พวกเขาหลุดพ้นจากความคิดเช่นนั้น
ดิฉันพยายามทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างไม่ย้อท้อ
จนกระทั่งลืมมองไปว่า ตอนนี้เราก็ได้กระโดดไปอยู่ในกองทุกข์ร่วมกับพวกเขาเสียแล้ว
ก็เลยกลายเป็น ร่วมทุกข์ ไร้สุข ด้วยกัน
พอมองเห็นเช่นนั้น ก็มานั่งตั้งสติสักพัก
ทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมา ว่าเราทำอะไรไม่ถูกหรือเปล่า
ทำไมทำตั้งขนาดนี้แล้วก็ยังช่วยเขาไม่ไ้ด้

จนได้พบความจริงที่ว่า
ของแบบนี้มันเป็นเรื่องเฉพาะตนจริงๆ โดยเฉพาะถ้าเขามี มิจฉาทิฐิ ด้วยแล้ว
ความคิด ความเห็น ความเชื่อของเขา มันจะนำพาให้ไปสู่ทางแห่งอบายได้ทั้งสิ้น
เรื่องเหล่านี้ อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่เขาจะ ตระหนัก และ สำนึกได้ด้วยตัวของเขาเอง
เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ต่อให้พยายามทำจนสุดหล้าฟ้าเขียวอย่างไร เขาก็ไม่มีทางเห็น
คนเหล่านี้ จึงมักต้องประสบชะตากรรม ที่จะต้อง ล้มเหลว ผิดหวัง ผิดพลาด ไม่สำเร็จดังใจนึก
แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเองจึงต้องมาเจอเรื่องเหล่านี้

ดิฉันก็เลย คิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การที่เรา ตั้งหน้าตั้งตาฝึกบำเพ็ญเพียร ภาวนา สวดมนต์ไหว้พระ แล้วก็แผ่เมตตาไปให้เขา ตั้งจิตอธิฐานให้เขาเหล่านั้น ได้มีสติปัญญาเกิดขึ้น อย่าได้เห็นผิดเป็นชอบ

ถามว่าทำแล้วได้ผลไหม ก็ต้องตอบตามสิ่งที่ตนประสบคือ เป็นได้เช่นนั้นจริงๆ
ซึ่งมันอาจจะเป็นเพราะว่า ทั้งเขาและเราคงยังมีบุญอยู่บ้าง ที่ยังพบทางสว่างได้เร็ว
ดิฉันจึงคิดว่า อะไรๆ ก็ไม่เท่ากับบุญและจิต ที่ส่งไปให้เขาอย่างปารถนาดี ซึ่งนั้นน่าจะเป็นวิธีที่คุณยังทำได้ และทำได้เสมอๆ ไม่มีข้อจำกัด

และอีกอย่างที่ต้องไม่ลืม ก็คือเรื่องของการปล่อยวาง
เพราะถึงแม้ว่าถ้าเรามีความตั้งใจที่จะปารถนาดีต่อเขาแล้วก็ตาม
แต่ถ้าใจเรายังไม่ปล่อยวาง มองให้เป็นเรื่องของวิบากกรรมของแต่ละคนให้ได้
เราก็มักจะต้องเจอเรื่องทุกข์อยู่ได้เรื่อยๆ เพราะคนที่มีมิจฉาทิฐิเยอะๆนั้น
มักจะสามารถสร้างปัญหาได้อยู่เสมอ โดยที่เขาไม่รู้สึกอะไร
ซึงมันไม่เป็นประโยชน์กับตัวเราที่จะต้องเอาชีวิตและความรู้สึกไปผูกติดอยู่กับเรื่องเหล่านี้

ดังนั้น การมองเห็นสภาวะการณ์ที่เป็น อย่างเข้าใจในเหตุและปัจจจัยของมันอย่างท่องแท้
ผนวกกับการปล่อยละวางในความยึดมั่นถือมั่นใน ห่วงและ หวง นั้นๆ
ก็ย่อมจะช่วยบรรเทาความทุกข์ที่ไม่ได้เกิดจากตนเอง ได้ค่ะ

โชคดีค่ะ

.....................................................
จงขอบคุณเมื่อความทุกข์เกิด เพราะมันคือบทเรียนให้เราก้าวหน้า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร