วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 00:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




รูปภาพ

ว่า " ความเข้าใจจิต "

เป็นชื่อของปัญญาที่รู้จิตตามความเป็นจริง

จิตเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา

จิตเป็นปรมัตถธรรม ชื่อว่าจิตตปรมัตถ์

จิตไม่ใช่เจตสิก

จิตไม่ใช่รูป

จิตไม่ใช่พระนิพพาน

จิตมีหลายประเภท

บางครั้งจิตเกิดเป็นอกุศลจิต

บางครั้งจิตเกิดเป็นกุศลจิต

บางครั้งจิตเกิดเป็นวิบากจิต

บางครั้งจิตเกิดเป็นกิริยาจิต

จิตไม่เที่ยง

จิตเป็นทุกข์

จิตเป็นอนัตตา

ความรู้อย่างที่ว่ามานี้ชื่อว่า เข้าใจจิต รู้จักจิตตามความเป็นจริง.

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 03:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ต้องพิจารณา

ความเข้าใจ เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เพื่อ

ที่จะให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน

แม้ในขั้นของการฟัง

แม้ในขั้นของการที่จะเกิดกุศลขั้นต่างๆ

เพื่อที่จะได้เกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น

และน้อมศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนาเป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดนั้น สัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิก ก็ตรึก คือ จรดในลักษณะ

ของอารมณ์ที่กำลังปรากฏ และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่

ปรากฏทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าความรู้จะเพิ่มขึ้น ความรู้จะเกิดขึ้น และเจริญขึ้นได้จากการ

พิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปรากฏ ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น

ขณะนี้ สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามธรรม หรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู

ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางหนึ่งทางใดก็ได้ ทีละลักษณะ พิจารณาศึกษารู้

ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้น รู้ชัดในลักษณะที่

ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ในที่สุดก็จะชินกับสภาพของนามธรรมและรูปธรรมมาก

ขึ้น เมื่อชินแล้ว ความรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็เพิ่มขึ้นอีก ไม่ว่านามธรรมใด

รูปธรรมใดจะเกิด ณ สถานที่ใด สติและปัญญาก็สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม

นั้นๆ ในขณะนั้น ได้ตามปรกติตามความเป็นจริง

การเจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ความรู้ใดที่ได้อบรมให้เกิดขึ้น

แล้ว ความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น และละคลายความไม่รู้ให้ลดน้อยลงไปด้วย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 03:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ



โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)

ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อธิจิตตสิกขาคือการฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้นจึงหมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพที่ดีที่สุด จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนกันหมด
4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย

ไวพจน์ที่แสดงความของสมาธิคำหนึ่งคือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรกคือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ) คำว่า อัคคะในที่นี้ท่านให้แปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยจิตเป็นสมาธิก็คือ จิตที่มียอดหรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆ ไปได้ง่าย

จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกจารย์เรียกว่า “ จิตประกอบด้วยองค์ 8 ” องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ
1 ตั้งมั่น 2 บริสุทธิ์ 3 ผ่องใส 4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา 5 ปราศจากสิ่งมัวหมอง 6 นุ่มนวล 7 ควรแก่งาน 8 อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว

ท่านว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

ตามที่กล่าวมานี้มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิ ด้วยก็คือความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ ทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริงและโดยนัยนี้จึงควร ย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

“ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ห้าประการกล่าวคือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง แล้วจักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ”

“ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ เปรียบเสมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชี่ยวพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้... ”

สังคารวพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

พระพุทธเจ้าตอบตรัสว่า : ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใดบุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิด ขึ้นแล้ว ในเวลานั้นเขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนานก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

(บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาก็เช่นเดียวกัน ทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำดังต่อไปนี้)
1. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าน สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันไว้ คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
2. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพุ่ง คนตาดีมองเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
3. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
4. (จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกลมพัดไหล กระเพื่อมเป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
5. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว
“ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งทอง 5 อย่างต่อไปนี้ ทองเปื้อนปนเข้าด้วยกันแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อ่อน ไม่ควรแก่งาน ไม่สุกปลั่ง เปราะ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ; ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ เหล็ก โลหะอื่น ดีบุก ตะกั่ว และเงิน...เมื่อใดทองพันจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อน ควรแก่งาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ได้ดี ”

“ กล่าวคือ ช่างทองต้องการทำเครื่องประดับชนิดใดๆ จะเป็นแหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ย่อมสำเร็จผลที่ต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต 5 อย่างต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา... ”

“ เมื่อจิตพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณีธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่... ”

มีพุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า “ ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้งห้า และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว ”

ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์สม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมันผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจายเหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วแน่มั่นคง

เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดงม ติดไฟสงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดงม ติดไฟสงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี


เทียนติดไฟ ความสว่างก็มาแทนที่ความมืดคร๊าบบ

แล้วเทียนก็หมดลงคร๋าบ ไฟก็ดับ คร๊าบบบ
เมือไฟดับ ความมืด ก็มาเยือนนะคร๊าบ

แต่ความว่าง ก็ยังไม่ได้หายไปไหนคร๊าบบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ความรู้ใดที่ได้อบรมให้เกิดขึ้น

แล้ว ความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น และละคลายความไม่รู้ให้ลดน้อยลงไปด้วย



ความรู้ เพิ่มได้ ความไม่รู้ ลดได้
สิ่งที่เพิ่มลด เป็นไตรรลักษณ์คร๊าบบ

จิตเป็นธาตุรู้คร๋าบบ
ธาตุรู้ คงเดิม เท่าเดิม ไม่เพิ่มไม่ลดคร๋าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ธรรมบุตร"ครับ


" ความเข้าใจจิต " ของคุณคลาดเคลือนจากความเป็นจริงมาก

จิตเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา ...... นั่นคือ จิต(สังขาร) หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท หรือจิตอนัตตา มันไม่ใช่เรา เพราะมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

จิตเป็นปรมัตถธรรม ชื่อว่าจิตตปรมัตถ์.....นี่คือจิตที่ใช่เรา จิตที่ใช่เรา = จิตบริสุทธิ์ เรียกว่า อัตตา(ที่พึ่ง)

จิตไม่ใช่พระนิพพาน......แล้วเอาอะไรรับความสุขอันยิ่งยวดล่ะ แล้วทำไมพระพุทธองค์เรียกว่า "จิตพ้นวิเศษ จิตหลุดพ้น และนิพพานจิตล่ะ"

ถ้าหากเราปฏิเสธอมตธรรม ที่เป็นจิตอัตตา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระนิพพาน ทิ้งเสียแล้ว ด้วยคำว่า อนัตตา และไม่มีอะไรที่ใช่เราเลย ในโลกนี้ก็ย่อมไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้เลย นอกจากนี้ ธรรมะข้ออื่น หรือสิ่งอื่นในพระศาสนานี้ ที่จะนับว่ามีแก่นสารเป็นที่พึ่ง ก็ย่อมไม่มีเช่นกัน

จิตที่เป็นอนัตตาไม่ใช่เรา จิตที่เป็นอัตตา ที่เรียกว่านิพพานจิต เป็นสิ่งที่ใช่เรา และเป็นที่พึ่งของเรา ตนเป็นที่พึงแห่งตน = พึ่งจิตนิพพานแห่งตน


แก้ไขล่าสุดโดย คนดีที่โลกลืม เมื่อ 08 พ.ค. 2010, 11:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ละได้ย่อมสงบ...


รูปภาพ



ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น
ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ


คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ หลวงปู่ทวด

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยครับ ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์

ดับจิตทิ้งซะ แล้วจะพ้นทุกข์ได้มั้ยครับ?

ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์แล้ว ในกรณีจิตที่ติดสุขหละ? จะว่ายังไง

:b34:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
สงสัยครับ ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์

ดับจิตทิ้งซะ แล้วจะพ้นทุกข์ได้มั้ยครับ?

ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์แล้ว ในกรณีจิตที่ติดสุขหละ? จะว่ายังไง

:b34:



อิอิ

จิตติดสุข
ก็รอไปยุคพระศรีอารีย์ไง ค่อยฟังธรรมใหม่คร๊าบ

เฮ้ออ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:


ว่า " ความเข้าใจจิต "

เป็นชื่อของปัญญาที่รู้จิตตามความเป็นจริง



ปัญญาที่รู้จัก "ความเข้าใจจิต" ตามความเป็นจริงมีรึป่าวคะ ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


innocent เขียน:
ปัญญาที่รู้จัก "ความเข้าใจจิต" ตามความเป็นจริงมีรึป่าวคะ ??


ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ ต้องประกอบสัมมาสมาธิครับ

จึงจะเกิดปัญญา รู้เห็นอริยสัจ ๔ (ความเข้าใจจิต) ตามความเป็นจริงครับ

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
innocent เขียน:
ปัญญาที่รู้จัก "ความเข้าใจจิต" ตามความเป็นจริงมีรึป่าวคะ ??


ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ ต้องประกอบสัมมาสมาธิครับ

จึงจะเกิดปัญญา รู้เห็นอริยสัจ ๔ (ความเข้าใจจิต) ตามความเป็นจริงครับ

ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ เป็นปัญญาที่ปรุงแต่งขึ้นมารึป่าวคะ ????

ปัญญาที่เป็นหนึ่งไม่เกิดเพราะความประกอบ มีรึป่าวคะ ????

:b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


innocent เขียน:
ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ เป็นปัญญาที่ปรุงแต่งขึ้นมารึป่าวคะ ????

ปัญญาที่เป็นหนึ่งไม่เกิดเพราะความประกอบ มีรึป่าวคะ ????

:b10: :b10: :b10:

ปัญญาที่เกิดจากการปรุงแต่งไม่มีหรอกครับอันนั้นเรียกว่าสัญญา(ปัญญาทางโลก)

ส่วนปัญญาทางธรรมนั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากการปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จครับ

ปัญญาที่เป็นหนึ่งนั้น ล้วนต้องเกิดจากการประกอบภาวนานุโยค

เพื่อให้จิตเกิดปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตทางอายตนะทั้ง๖

ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:28
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ปัญญาที่เกิดจากการปรุงแต่งไม่มีหรอกครับอันนั้นเรียกว่าสัญญา(ปัญญาทางโลก)

ส่วนปัญญาทางธรรมนั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากการปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จครับ

ปัญญาที่เป็นหนึ่งนั้น ล้วนต้องเกิดจากการประกอบภาวนานุโยค

เพื่อให้จิตเกิดปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตทางอายตนะทั้ง๖

ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

:b39:


ปัญญาทางธรรมที่ปล่อยวางอารมณ์ได้สำเร็จแล้วหมายความว่าต้องไปจับอารมณ์ก่อนแล้วค่อยปล่อยวางทีหลังรึป่าวคะ ?
ปัญญาที่เกิดจากการประกอบจะเป็นปัญญาที่เป็นหนึ่งอย่างแท้จริงได้อย่างไรคะ ?
สิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาก็เป็นขันธ์ ปัญญาขันธ์ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใช่ป่าวคะ ?

อ้างคำพูด:
ผมขอถามหน่อยนะครับว่า สติและปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนครับ?

รู้แต่ว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดับไป ใช่ป่าวคะ ?

:b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร