วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
แสดงว่าจิตต้องมีการเกิดดับนะครับ

แสดงว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต

ไม่ใช่จิตเกิดดับ แต่เป็นอาการของจิตที่สนองตอบต่ออารมณ์เหล่านั้น

เกิดดับตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นนั่นเอง

ถ้าจิตเกิดดับแล้ว เราจะเรียกจิตว่าธาตุรู้ไม่ได้ ต้องเรียกว่าธาตุรู้บ้างไม่รู้บ้างใข่มั้ย???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอมตะหรือครับ :b10:
จิตเที่ยงแท้จิตถาวร???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
อันนี้เขาเรียกว่า จับพลังครับ

แต่ที่อยากรู้คือ พวกกุมารทองนี้แหละครับ ว่า ธาตุรู้ จะไปเข้าสถิตในตัวกุมาร ปั้นหล่อได้หรือไม่ครับ :b10:

เป็นการใช้พลังจิตในการอันเชิญวิญญาณให้เข้าไปสถิตในวตถุสิ่งของครับ

:b39:

แสดงว่า ธาตุรู้เข้าไปสถิตในตัวกุมารทองได้ โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยซึ่งคืออะไรก็ไม่รู้ เช่นปลุกธาตุ เรียกขันธ์ ตั้งธาตุ ๆลๆ :b10:
และจากสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองก็กลายมาเป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง :b10:

คุณเข้าใจผิดครับ ขณะที่เป็นวิญญาณอยู่นั้นได้ปฏิสนธิไปอยู่ในรูปละเอียดนั้นแล้ว

เรื่องพวกนี้ผมขอยกไว้ก็แล้วกัน เพราะยังไม่เคยทดลองกับตนเอง

เคยทดลองแล้วไม่สำเร็จ อาจเพราะจิตใจไม่ยอมรับก็เป็นไปได้

เมื่อก่อนนี้ที่เห็นบ่อยมาก ก็ที่อภิธรรมมูลนิธิ มีการทรงเจ้าพ่อเสือทุกอาทิตย์

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
อันนี้เขาเรียกว่า จับพลังครับ

แต่ที่อยากรู้คือ พวกกุมารทองนี้แหละครับ ว่า ธาตุรู้ จะไปเข้าสถิตในตัวกุมาร ปั้นหล่อได้หรือไม่ครับ :b10:

เป็นการใช้พลังจิตในการอันเชิญวิญญาณให้เข้าไปสถิตในวตถุสิ่งของครับ

:b39:

แสดงว่า ธาตุรู้เข้าไปสถิตในตัวกุมารทองได้ โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยซึ่งคืออะไรก็ไม่รู้ เช่นปลุกธาตุ เรียกขันธ์ ตั้งธาตุ ๆลๆ :b10:
และจากสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองก็กลายมาเป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง :b10:

คุณเข้าใจผิดครับ ขณะที่เป็นวิญญาณอยู่นั้นได้ปฏิสนธิไปอยู่ในรูปละเอียดนั้นแล้ว

เรื่องพวกนี้ผมขอยกไว้ก็แล้วกัน เพราะยังไม่เคยทดลองกับตนเอง

เคยทดลองแล้วไม่สำเร็จ อาจเพราะจิตใจไม่ยอมรับก็เป็นไปได้

เมื่อก่อนนี้ที่เห็นบ่อยมาก ก็ที่อภิธรรมมูลนิธิ มีการทรงเจ้าพ่อเสือทุกอาทิตย์

:b39:


ยังไงครับ มูลนิธิอภิธรรมทรงเจ้าพ่อเสือ :b14: :b5: :b10: :b10: smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
จิตอมตะหรือครับ :b10:
จิตเที่ยงแท้จิตถาวร???

พระพุทธองค์ทรงออกค้นหา อมตะธาตุ อมตะธรรมใช่มั้ย???

แล้วอะไรหละที่หยั่งลงสู่ความอมตะ???

โลกุตรจิต เที่ยงแท้ต่อพระนิพพานใช่มั้ย???

เรื่องพวนนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อเข้าถึง

เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะหายสงสัยไปเอง ดีกว่าเชื่อโดยทั้งที่มีความสงสัยอยู่

มีพระพุทธพจน์รับรองไว้นะครับว่า จิตนั้นมีก่อนมานานแล้ว

แม้แต่ผู้มีปัญญาก็ยังไม่รู้เลยว่า เริ่มต้นมาจากไหน และสิ้นที่ไหน

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ปสาทสูตร

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรม ก็ดี อสังขตธรรม ก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความกระหาย
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม เหล่านั้น"

๑.จากพระพุทธพจน์นี้ เราจะเห็น ๓ ข้อธรรม คือ
สังขตธรรม อสังขตธรรม วิราคธรรม(นิพพาน)

๒.ถ้า อสังขตธรรม ตามที่เล่าเรียนกันมาว่า หมายถึง พระนิพพาน เท่านั้น
ความที่ว่า สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคธรรม(นิพพาน) เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม เหล่านั้น

ก็จะเทียบเคียงได้ว่า
สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรม(นิพพาน)ก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคธรรม(นิพพาน) เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม(นิพพาน)

ซึ่งจะขัดแย้งกันเองในประโยค!!!
ธรรมะของพระพุทธองค์ย่อมไม่ทรงขัดแย้งกันเองมิใช่หรือ???
ซึ่งคงไม่ใช่พุทธปัญญาแน่นอน ถ้าจะทรงกล่าวขัดแย้งกันเองในประโยค...โปรดพิจารณา

๓. และถ้า อสังขตธรรม หมายถึง นิพพาน เท่านั้น
จะกล่าวว่า สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด เยี่ยงนี้หรือ???

เพราะคำว่า มีประมาณเท่าใด นั้น
บ่งบอกให้เห็นว่า อสังขตธรรม ที่ทรงกล่าวถึง เป็น พหูพจน์ มีมากกว่าหนึ่ง
ไม่ใช่ นิพพาน ซึ่งมีแค่ หนึ่งเดียว เท่านั้น...โปรดพิจารณา

ที่มา ธรรมทั้งหลายหาได้หมายรวมพระนิพพานไม่

http://luangpu.exteen.com/20090830/entry


ตามลิงค์ ที่ท่านส่งมา และท่านธรรมภูต ใช้การแสดงความเห็นตามวาทะ ของท่านหลวงปู่เปรม เปมงฺกโร ซึ่งเป็นความเห็นผิดของท่านหลวงปู่ ดังนี้ ทำให้ท่านธรรมภูต เห็นว่า นิพพาน คือจิตนิพพานเพียงหนึ่งเดียว และ วิราคธรรม คือจิตนิพพาน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 00:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะอธิบาย เกี่ยวกับ ลิงค์ตามนั้น ก็จะถูกแบน
จะขอ นำพระสูตร มาให้อ่านกัน เพื่อประเทืองปัญญา ดีกว่า

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑
.....พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะ
และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ....


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค วิราคกถา

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ

ในขณะโสดาปัตติมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี
นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่
เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย

......

[๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร

ในขณะโสดาปัตติผล

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ
จากสรรพนิมิตภายนอก

วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ

วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล


สังขตมีประมาณเท่าใด อสังขตะก็มีประมาณเท่านั้น
วิราคะธรรม เป็นวิปัสสนาเพื่อความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ โดยหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ นั่นก็คือ การเจริญอริยมรรค นั่นเอง

ดังนั้น นิพพาน เป็นความดับ ความสิ้นไป แห่งราคะทั้งหลาย แห่งโทสะทั้งหลาย แห่งโมหะทั้งหลาย พร้อมด้วยธรรมอันสัมปยุตต์กับเหตุนั้น อันสหรคตกับปัจจัยนั้น ไม่ใช่นิพพานมีเพียงหนึ่ง ดังที่ท่านธรรมภูตเข้าใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ ผมไม่แปลกใจที่คุณเข้าใจเช่นนั้น
เพราะคนส่วนใหญ่ก็คิดเช่นเดียวกับคุณ เพราะเลือกจะเชื่อจากตำราโดยไม่เคยนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง

ถ้าพระนิพพานเป็นอสังขตธรรมเพียงเดียวแล้ว และสิ่งที่เข้าถึงพระนิพพานหละเป็นอสังขตธรรมด้วยมั้ย?
พระนิพพานมีอยู่เดิมนะใช่ ถ้าไม่มีสิ่งที่เข้าถึงพระนิพพานแล้ว จะบอกได้มั้ยว่าพระนิพพานมีอยู่จริง
แล้วของที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้นั้น ต้องมีคุณลักษณ์ที่เป็นของมีอยู่เดิม ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้มีใช่มั้ย???
อย่าลืมความจริงสิว่า พระนิพพานเป็นคุณลักษณะของอะไรสักอย่างหนึ่งใช่มั้ย???
พระนิพพานคือความสิ้นไปแห่งโลภะ โทสะ โหละ แสดงคุณลักษณะของพระนิพพานว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ
ผมถามว่าอะไรหละที่ว่างจากโลภะ โทสะ โมหะ ???
ในปฐมพระพุทธพจน์ก็ชัดเจนอยู่แล้วนะว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"


ทีท่านแสดงมาก็เป็นสิ่งที่ท่านเข้าใจผิด อีกเช่นกัน

ตามที่ไ้ด้ยกมา นั้น อสังขตะ หรือนิพพาน คือ ความสิ้นไป ความดับแห่งโลภะ ความดับแห่งโทสะ ความดับความสิ้นไปแห่งโมหะ

ไม่มีการแสดงว่า ความดับจิต คือนิพพาน
ไม่มีการแสดงว่านิพพานแล้วขันธ์แตกสลาย

การบรรลุนิพพาน จึงบรรลุด้วยสังขตธรรม คืออริยมรรคมีองค์8 ซึ่งหน่วงเอาอสังขตะเป็นอารมณ์
นั่นก็คือ จิตซึ่งเป็นสังขตะธรรม หน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ เพื่อบรรลุนิพพาน ไม่ใช่การทำจิตให้เป็นอสังขตะ
แต่จิต เมื่อจิตนั้นดับรอบเฉพาะ การดับรอบเฉพาะ ย่อมดับการปรุงแต่งเพื่อปฏิสนธิคือดับตัณหา ย่อมไม่ปฏิสนธิในภพไหนๆ ซึ่งก็คือไม่อาจจะอธิบายต่อไปได้อีกแล้วด้วยถ้อยคำว่าจิตไปไหนหรือไม่ไปไหน ตั้งอยู่หรือไม่ตั้งอยู่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย หลวงปู่เปรม เปมงฺกโร เขียน:
กำเนิดสังขตธรรม
ได้พูดแล้วว่า สังขตธรรม ถ้าไม่มี อสังขตธรรม ก็ย่อมมีไม่ได้
สังขตธรรม ต้องมี อสังขตธรรม เป็นแดนเกิด


ยังมีสัทธรรมปฏิรูปอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งคือ ยาพิษ

คงต้องจบการสนทนากับท่านธรรมภูต เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่ท่านธรรมภูตแสดงมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบล้วนอิง มาจากคำสอนของขรัวตาท่านนี้ แล้วนำเอาพระไตรปิฎกไปสวมเพื่อรับรองความถูกต้อง

Onion_L

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 01:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
ปสาทสูตร

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรม ก็ดี อสังขตธรรม ก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความกระหาย
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม เหล่านั้น"

๑.จากพระพุทธพจน์นี้ เราจะเห็น ๓ ข้อธรรม คือ
สังขตธรรม อสังขตธรรม วิราคธรรม(นิพพาน)

๒.ถ้า อสังขตธรรม ตามที่เล่าเรียนกันมาว่า หมายถึง พระนิพพาน เท่านั้น
ความที่ว่า สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคธรรม(นิพพาน) เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม เหล่านั้น

ก็จะเทียบเคียงได้ว่า
สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรม(นิพพาน)ก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคธรรม(นิพพาน) เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม(นิพพาน)

ซึ่งจะขัดแย้งกันเองในประโยค!!!
ธรรมะของพระพุทธองค์ย่อมไม่ทรงขัดแย้งกันเองมิใช่หรือ???
ซึ่งคงไม่ใช่พุทธปัญญาแน่นอน ถ้าจะทรงกล่าวขัดแย้งกันเองในประโยค...โปรดพิจารณา

๓. และถ้า อสังขตธรรม หมายถึง นิพพาน เท่านั้น
จะกล่าวว่า สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด เยี่ยงนี้หรือ???

เพราะคำว่า มีประมาณเท่าใด นั้น
บ่งบอกให้เห็นว่า อสังขตธรรม ที่ทรงกล่าวถึง เป็น พหูพจน์ มีมากกว่าหนึ่ง
ไม่ใช่ นิพพาน ซึ่งมีแค่ หนึ่งเดียว เท่านั้น...โปรดพิจารณา

ที่มา ธรรมทั้งหลายหาได้หมายรวมพระนิพพานไม่

http://luangpu.exteen.com/20090830/entry


ตามลิงค์ ที่ท่านส่งมา และท่านธรรมภูต ใช้การแสดงความเห็นตามวาทะ ของท่านหลวงปู่เปรม เปมงฺกโร ซึ่งเป็นความเห็นผิดของท่านหลวงปู่ ดังนี้ ทำให้ท่านธรรมภูต เห็นว่า นิพพาน คือจิตนิพพานเพียงหนึ่งเดียว และ วิราคธรรม คือจิตนิพพาน

คุณเช่นนั้น ขอเถอะครับ นักปฏิบัติที่ดีนั้น ไม่ควรกล่าวร้ายใครโดยเฉพาะตัวบุคคล เพราะท่านไม่อาจมาแก้ต่างๆได้

เราควรมาว่ากันที่เนื้อธรรมว่าใครเป็นผู้มีความเห็นผิดกันแน่? ผู้มีความเห็นผิดอาจจะเป็นคุณก็ได้นะ

ควรชี้ที่เนื้อธรรมลงไปว่า ที่ผิดๆตรงไหน และแสดงของถูกมาเป็นคู่เทียบด้วยจึงจะถูกต้อง

เช่นคุณพูดมั่วเองว่า จิตนิพพานเพียงหนึ่งเดียวนั้น คุณพูดเองมั่วขึ้นมาเองชัดๆ

จิตไม่ใช่พระนิพพาน และพระนิพพานก็ไม่ไช่จิต แต่พระนิพพานเป็นคุณลักษณะของจิตที่บริสุทธิ์ต่างหากครับ

วิราคธรรมคือ ธรรมที่แยกแล้วจากความมัวเมาในอารมณ์หรืออุปกิเลสทั้งหลาย

อะไรหละที่แยกแล้วจากสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาถ้าไม่ใช่จิต? ส่วนคุณลักษณะคือผลที่ปรากฏให้ประจักษ์ครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ถ้าจะอธิบาย เกี่ยวกับ ลิงค์ตามนั้น ก็จะถูกแบน
จะขอ นำพระสูตร มาให้อ่านกัน เพื่อประเทืองปัญญา ดีกว่า

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑
.....พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะ
และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ....


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค วิราคกถา

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ

ในขณะโสดาปัตติมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี
นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่
เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย

......

[๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร

ในขณะโสดาปัตติผล

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ
จากสรรพนิมิตภายนอก

วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ

วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล


สังขตมีประมาณเท่าใด อสังขตะก็มีประมาณเท่านั้น
วิราคะธรรม เป็นวิปัสสนาเพื่อความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ โดยหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ นั่นก็คือ การเจริญอริยมรรค นั่นเอง

ดังนั้น นิพพาน เป็นความดับ ความสิ้นไป แห่งราคะทั้งหลาย แห่งโทสะทั้งหลาย แห่งโมหะทั้งหลาย พร้อมด้วยธรรมอันสัมปยุตต์กับเหตุนั้น อันสหรคตกับปัจจัยนั้น ไม่ใช่นิพพานมีเพียงหนึ่ง ดังที่ท่านธรรมภูตเข้าใจ

คุณเช่นนั้นครับ คุณก็พยายามมั่วไม่เลิกเลยนะ

พระสูตรที่ถูกต้องกล่าวไว้ดังนี้"ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะก็ดี อสังขตะก็ดี มีประมาณเท่าใด"

คุณพูดมาเองชัดๆว่าอสังขตธรรมนั้นมีเพียงพระนิพพานหนึ่งเดียวใช่มั้ย??????

และที่คุณยกมานั้น ขัดกันเองมั้ย??? "อสังขตะก็มีประมาณเท่านั้น"

คำว่ามีประมาณเท่าใด ก็เป็นการบอกชัดๆอยู่แล้วนะว่าเป็นพหูพจน์ อย่าทำให้พระสัทธรรมปฏิรูปสิ

คุณพูดว่าไม่ใช่นิพพานมีเพียงหนึ่ง คุณใช้สมองส่วนไหนคิดขึ้นมาพูด

คนที่เรียนธรรมะมา ย่อมรู้ดีทุกๆคนว่า พระนิพพานนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวคือวิราคธรรมใช่มั้ย???

ตอนท้ายพระสูตรพระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า

"วิราคธรรมเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย" (ธรรมทั้งหลาย)


ผมขอถามว่า ถ้าพระนิพพานไม่มีเพียงหนึ่งเดียวแล้ว ก็แสดงว่าคุณกล่าวตู่พระบรมครูสิ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ ผมไม่แปลกใจที่คุณเข้าใจเช่นนั้น
เพราะคนส่วนใหญ่ก็คิดเช่นเดียวกับคุณ เพราะเลือกจะเชื่อจากตำราโดยไม่เคยนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง

ถ้าพระนิพพานเป็นอสังขตธรรมเพียงเดียวแล้ว และสิ่งที่เข้าถึงพระนิพพานหละเป็นอสังขตธรรมด้วยมั้ย?
พระนิพพานมีอยู่เดิมนะใช่ ถ้าไม่มีสิ่งที่เข้าถึงพระนิพพานแล้ว จะบอกได้มั้ยว่าพระนิพพานมีอยู่จริง
แล้วของที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้นั้น ต้องมีคุณลักษณ์ที่เป็นของมีอยู่เดิม ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้มีใช่มั้ย???
อย่าลืมความจริงสิว่า พระนิพพานเป็นคุณลักษณะของอะไรสักอย่างหนึ่งใช่มั้ย???
พระนิพพานคือความสิ้นไปแห่งโลภะ โทสะ โหละ แสดงคุณลักษณะของพระนิพพานว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ
ผมถามว่าอะไรหละที่ว่างจากโลภะ โทสะ โมหะ ???
ในปฐมพระพุทธพจน์ก็ชัดเจนอยู่แล้วนะว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"


ทีท่านแสดงมาก็เป็นสิ่งที่ท่านเข้าใจผิด อีกเช่นกัน

ตามที่ไ้ด้ยกมา นั้น อสังขตะ หรือนิพพาน คือ ความสิ้นไป ความดับแห่งโลภะ ความดับแห่งโทสะ ความดับความสิ้นไปแห่งโมหะ

ไม่มีการแสดงว่า ความดับจิต คือนิพพาน
ไม่มีการแสดงว่านิพพานแล้วขันธ์แตกสลาย

การบรรลุนิพพาน จึงบรรลุด้วยสังขตธรรม คืออริยมรรคมีองค์8 ซึ่งหน่วงเอาอสังขตะเป็นอารมณ์
นั่นก็คือ จิตซึ่งเป็นสังขตะธรรม หน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ เพื่อบรรลุนิพพาน ไม่ใช่การทำจิตให้เป็นอสังขตะ
แต่จิต เมื่อจิตนั้นดับรอบเฉพาะ การดับรอบเฉพาะ ย่อมดับการปรุงแต่งเพื่อปฏิสนธิคือดับตัณหา ย่อมไม่ปฏิสนธิในภพไหนๆ ซึ่งก็คือไม่อาจจะอธิบายต่อไปได้อีกแล้วด้วยถ้อยคำว่าจิตไปไหนหรือไม่ไปไหน ตั้งอยู่หรือไม่ตั้งอยู่

คุณอย่าใช้วิธีพูดเองเออเองสิ

ผมพูดที่ไหนหละว่าความดับจิตคือพระนิพพาน อย่ามั่วสิครับ

ผมมักพูดเสมอๆว่า อุปกิเลสทั้งหลายทั้งปวงดับไปจากจิต ไม่ใช่จิตดับ(คนตาย)

จนกระทั่งจิตได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

จิตหลุดพ้นจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์๕ นั่นแหละจิตเข้าถึงสภาวะพระนิพพาน

คือความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ หรือวิราคธรรมนั่นเอง

มรรคเป็นเพียงทางเดินของจิต เพื่อให้เข้าถึงพระนิพพาน เป็นเพียงตัวเชื่อมเท่านั้น

คุณจะเอาตัวทางเดินเข้าถึงพระนิพพานด้วย โดยไม่มีผู้เดินเป็นไปได้หรือ???

อย่าบอกนะว่า มีแต่ทางเดิน ผู้เดินหามีไม่ พูดแบบนี้พวกนัตถิกทิฐิชัดๆ

ถ้าจิตเป็นสังขตะแล้ว อะไรหละที่เป็นปัจจัยสร้างสรรให้จิตเกิดขึ้นมา ก็ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์สิ

ถ้าอะไรที่อธิบายด้วยถ้อยคำไม่ได้ ก็แสดงว่าพูดมั่วๆขึ้นมาเอาเองสิ

การที่จิตดับ(กิเลส)รอบ๓อาการ๑๒ ได้แล้ว จิตรู้มั้ย??? รู้ จิตบรรลุพระนิพพาน จิตรู้มั้ย??? รู้

คุณกำลังจะบอกอะไร ให้ชัดเจนหน่อย

ที่คุณพูดหนะ จิตไปไหนหรือไม่ไปไหน ตั้งอยู่หรือไม่ตั้งอยู่

เป็นสภาวะพระนิพพานชัดๆอยู่แล้วยังไม่รู้ตัวอีกหรือ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
หนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย หลวงปู่เปรม เปมงฺกโร เขียน:
กำเนิดสังขตธรรม
ได้พูดแล้วว่า สังขตธรรม ถ้าไม่มี อสังขตธรรม ก็ย่อมมีไม่ได้
สังขตธรรม ต้องมี อสังขตธรรม เป็นแดนเกิด


ยังมีสัทธรรมปฏิรูปอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งคือ ยาพิษ

คงต้องจบการสนทนากับท่านธรรมภูต เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่ท่านธรรมภูตแสดงมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบล้วนอิง มาจากคำสอนของขรัวตาท่านนี้ แล้วนำเอาพระไตรปิฎกไปสวมเพื่อรับรองความถูกต้อง

Onion_L

คุณเช่นนั้น คุณอย่าใช้นิสัยถาวร ในการชอบกล่าวร้ายบุคคลอื่นให้เสียหายแล้วหลบลี้หนีหน้าสิครับ

เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนที่มีจิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความจริงและขาดเหตุผล

การที่คุณกล่าวร้ายคนอื่นว่าสัทธรรมปฏิรูป โดยที่คุณไม่สามารถยกเหตุผลขึ้นมาชี้แจงได้นั้น

แสดงถึงความเป็นคนไม่ได้เรื่อง ไม่รับผิดชอบในการกระทำ

คุณกล้ากล่าวร้ายถึงขนาดนี้ คุณควรแสดงถึงสปิริตของคนที่มีธรรมในหัวใจหน่อย

ใครกันแน่ที่กำลังเสพยาพิษอยู่ทุกวัน โดยยังไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเสพยาพิษ

และกำลังเผยแพร่ยาพิษออกไปให้คนอื่นเสพ โดยที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำบาปอยู่

ถ้าคิดจะสนทนากันแล้ว ควรว่ากันที่เนื้อธรรมล้วนๆ เอาเหตุเอาผลเข้าว่า

ไม่ใช่เอาแต่กล่าวร้ายคนอื่นไว้ก่อน มันไม่งาม จำเอาไว้นะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะโลกุตรมรรค…

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณ
ในขณะโลกุตรมรรค ฯ

[๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างไร ฯ

ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งญาณ
จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น
และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธเป็นโคจร
ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างนี้ ฯ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล.


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๓๖ - ๒๒๓. หน้าที่ ๖ - ๑๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 มิ.ย. 2010, 07:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร