วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส



อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. แม้ญาณพึงประสงค์เอากัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ อภิญญาญาณ สมาปัตติญาณ. แม้ศีลพึงประสงค์เอาปาติโมกขสังวรศีล. แม้
วัตรพึงประสงค์เอาธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์
เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถ-
*ติกังคธุดงค์.
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย
ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ ความว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุ
ถึงความสงบภายในด้วยธรรมสักว่าสัมมาทิฏฐิก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าการฟังก็หามิได้ ด้วยธรรม
สักว่าญาณก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าศีลก็หามิได้ ด้วยธรรมสักว่าพรตก็หามิได้ ย่อมบรรลุถึง
ความสงบภายในเว้นจากธรรมเหล่านี้ก็หามิได้ ก็เพราะธรรมเหล่านี้เป็นองค์เครื่องอุดหนุนเพื่อถึง
บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งความสงบภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบ
ภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความ
ไม่มีพรต ก็หามิได้.
[๓๓๘] คำว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น ความว่า การละโดยความ
กำจัดธรรมฝ่ายดำ ด้วยธรรมเหล่านั้น จำต้องปรารถนา. ความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายส่วน
กุศลอันมีในไตรธาตุ จำต้องปรารถนา. ธรรมฝ่ายดำเป็นธรรมอันบุคคลละได้แล้ว ด้วยการละ
โดยความกำจัด มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีภายหลัง
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา และความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายส่วนกุศลอันมีใน
ไตรธาตุ ย่อมมีได้โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมฝ่ายดำเหล่านั้น บุคคลไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น.
ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นกิเลสชาติอันบุคคลละได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว
ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่
ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้น
แล้วไม่ถือมั่น.
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพอันบุคคลละได้แล้ว
มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิด
ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น.
[๓๓๙] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ ความว่า
ชื่อว่าสงบ เข้าไปสงบ ดับ ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ
ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง
ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความมัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
เป็นกิเลสสงบ ถึงความสงบ เข้าไปสงบ ไหม้แล้ว ดับหายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงสงบ
แล้ว.
นิสัย ในคำว่า ไม่อาศัยแล้ว มี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. บุคคลละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัยเสียแล้ว ไม่อาศัย
ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
(ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ
อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต
ปัจจุบัน ธรรมที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ทราบ ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบแล้ว
ไม่อาศัยแล้ว. คำว่า ไม่พึงหวังภพ คือ ไม่พึงหวัง ไม่พึงประสงค์ ไม่พึงปรารถนา ซึ่งกามภพ
รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่หวังภพ. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยพราหมณ์) บัณฑิตไม่กล่าวความ
หมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความ
หมดจดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล
ย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย
ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ บุคคล
สละธรรมเหล่านั้นแล้วไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบแล้ว ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึง
หวังภพ.
[๓๔๐] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า) ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้
ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจด
แม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคลย่อม
ถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วย
ความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้
ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้
เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ.
[๓๔๑] คำว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความ
หมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ ความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก
ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความ
ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ ... แม้ด้วยสุตะ ... แม้ด้วยทิฏฐิและ
สุตะ ... แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย
ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ.
บทว่า อิติ ในที่ประชุมบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ บทว่า อิติ นี้
เป็นลำดับบท. ศัพท์ว่า มาคนฺทิโย เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นที่หมายรู้ เป็นเครื่องเรียก
ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย.
[๓๔๒] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต ความว่า บัณฑิตไม่
กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ
ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีล ... แม้ด้วยพรต ...
แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์



ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณอันสมควรแก่การ
หยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่าน
ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล (ผลญาณ)
[๘๗๓] บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ.
บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้นมีนิเทศว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ.
[๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย
ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดย
ความเป็นภัย.
บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ.
บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว นั้น มีนิเทศว่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศล
บาปธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อ
ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.
[๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่า ความพอใจยิ่งๆ
ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความเป็นผู้กระทำโดย
เคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน
ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระการเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความ
เจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
[๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณอันตามระลึกชาติหนหลังได้
(ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายแล้ว (จุตูปปาตญาณ)
วิชชาคือญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)
บทว่า วิมุติ นั้น มีนิเทศว่า วิมุติ ๒ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘) และนิพพาน.
[๘๗๗] บทว่า ขเย ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค.
บทว่า อนุปปาเท ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล.
นิกเขปกัณฑ์ จบ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์



[๗๙๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโล-
*มิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิญาณ ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกข-
*นิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา
อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา ธรรมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ
สัมมติญาณ อาจยโนอปจยปัญญา อปจยโนอาจยปัญญา อาจยอปจยปัญญา
เนวาจยโนอปจยปัญญา นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา
นิพพิทาปฏิเวธปัญญา เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา หานภาคินีปัญญา ฐิติภาคินี-
*ปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธภาคินีปัญญา ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔ ชรามรณญาณ ชรามรณสมุทยญาณ ชรามรณนิโรธญาณ ชรามรณ-
*นิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ชาติญาณ ฯลฯ ภวญาณ ฯลฯ อุปาทานญาณ ฯลฯ
ตัณหาญาณ ฯลฯ เวทนาญาณ ฯลฯ ผัสสญาณ ฯลฯ สฬายตนญาณ ฯลฯ
นามรูปญาณ ฯลฯ วิญญาณญาณ ฯลฯ สังขารญาณ สังขารสมุทยญาณ
สังขารนิโรธญาณ สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ญาณวัตถุ หมวดละ ๔ ย่อม
มี ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 18:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์



ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
[๘๐๕] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
สีลมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
[๘๐๖] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา
อธิจิตปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ นี้
เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา
[๘๐๗] อายโกศล เป็นไฉน
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล
อปายโกศล เป็นไฉน
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า
อปายโกศล
ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบาย แก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น
เรียกว่า อุปายโกศล
[๘๐๘] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญาใน
กุศลธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพยากตธรรม
ในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา
[๘๐๙] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทิน-
*นุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิย-
*ปัญญา
[๘๑๐] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา
[๘๑๑] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า
อุเปกขาสหคตปัญญา
[๘๑๒] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔
ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา
[๘๑๓] ปัญญาในมรรค ๔ ในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓
ในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวเสกขนา-
*เสกขปัญญา
[๘๑๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
ปริตตปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม อรูปาวจร-
*กุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา
[๘๑๕] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา
มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา
อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภ
อัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา
[๘๑๖] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ชื่อมัคคเหตุกปัญญา
มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา
[๘๑๗] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินี
ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยา-
*กตธรรมในภูมิ ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปปาทินี
[๘๑๘] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอดีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญา
ก็มี เป็นปัจจุปันนปัญญาก็มี
[๘๑๙] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา
อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณปัญญา
ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา
[๘๒๐] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธาปัญญา
ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี
[๘๒๑] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณปัญญา
พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณปัญญา
อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธา-
*รัมมณปัญญา
ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์



[๘๒๒] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัยมีผล โลก
นี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ สมณ-
*พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสส-
*กตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็นสาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
ธัมมนิชฌาน ขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า
เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงดังนี้บ้าง
ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ
[๘๒๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้แม้ในทุกข์นี้ ความรู้แม้ใน
ทุกขสมุทัยนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ทุกขญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขญาณ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ-
*ทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๘๒๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
รูปาวจรปัญญา ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา
[๘๒๕] ธัมมญาณเป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและอนาคต
ด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว
ทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว
ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแล้ว สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข-
*สมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้
ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการ
ส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ
ปริจจญาณ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต
(ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิต
เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็น
มหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระก็รู้ชัดว่า จิต
เป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิต
หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์
เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด นี้เรียกว่า ปริจจญาณ
ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า
สัมมติญาณ
[๘๒๖] อาจย โนอปจยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจย โนอปจยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา
ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยอปจย-
*ปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา
[๘๒๗] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน
บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย ด้วยปัญญาใด แต่ไม่ได้
แทงตลอดอภิญญาและสัจจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายนั้นแล ได้แทงตลอด
อภิญญา ด้วยปัญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิเวธ-
*โนนิพพิทาปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา
ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
[๘๒๘] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคล ผู้ได้
ปฐมฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้นชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรม
นั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยฌานที่ไม่มี
วิตกซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา-
*ญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติย-
*ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาซ่านไป
ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบ
ด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติย-
*ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ
ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญาชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยสุข ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถ-
*ฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตน-
*ฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา-
*ญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูป ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสา-
*นัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี สติอันสมควร
แก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญาชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี สัญญามนสิการอันสห-
*รคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไปยังโยคา-
*วจรบุคคลผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หาน-
*ภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามน-
*สิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป ปัญญา
ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ยังโยคา-
*วจรบุคคลผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หาน-
*ภาคินี สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี สัญญามน-
*สิการอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสส-
*ภาคินี สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ ซ่านไป
ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี
[๘๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน
ธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ๔
[๘๓๐] ปฏิปทาปัญญา ๔ เป็นไฉน
ปฏิปทาปัญญา ๔ คือ
๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
ในปฏิปทาปัญญา ๔ นั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก รู้ฐานะ
นั้นก็ช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก แต่รู้ฐานะ
นั้นเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากลำบาก แต่
รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้
ฐานะนั้นก็เร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิปทาปัญญา
[๘๓๑] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน
อารัมมณปัญญา ๔ คือ
๑. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
๒. ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา
๓. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา
๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา
ในอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา
อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
เล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา
อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
หาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา
เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔
[๘๓๒] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชรามรณะนี้ ญาณแม้
ในชรามรณสมุทัยนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธคา-
*มินีปฏิปทานี้
ชรามรณญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณญาณ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณสมุทยญาณ ฯลฯ
ปรารภชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภชรา-
*มรณนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชาตินี้ ฯลฯ ญาณแม้ในภพนี้
ฯลฯ ญาณแม้ในอุปาทานนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในตัณหานี้ ฯลฯ ญาณแม้ใน
เวทนานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในผัสสะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสฬายตนะนี้ ฯลฯ
ญาณแม้ในนามรูปนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในวิญญาณนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสังขารนี้
ญาณแม้ในสังขารนี้สมุทัยนี้ ญาณแม้ในสังขารนี้โรธนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธ-
*คามินีปฏิปทานี้
ในญาณเหล่านั้น สังขารญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารญาณ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภสังขารสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ
สังขารนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธคามินี
ปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ญาณวัตถุ หมวดละ ๔ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก
[๖๕๙] พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
มากแก่การทรงจำธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
แก่การฟังธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
ไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



เป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต พระโยคาวจร
ย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา
ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม เป็นอธิ
ศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้ง เป็นอธิปัญญา
สิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็น
เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร
ไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควร
เจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง ฯ
[๙๑] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การ
ละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละ
วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความ
ปราโมทย์ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละ
ปีติด้วยตติยฌาน การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละ
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตน-
*สัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญา
นาสัญญายตนสมาบัติ การละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุข
สัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิ
ด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วย
นิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา การละฆนสัญญาด้วย
ขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละ
อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา
การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีน-
*วานุปัสนา การละอัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วย
วิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละ
กิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค
การละกิเลสทั้งปวงด้วยอหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล ...
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้
เป็นสีลมยญาณ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ก๊อป ทั้งพระสูตร และพระอภิธรรม เล่ม 35 มาซะยาว

ญาณ มีหลากหลาย ปัญญาให้สำเร็จก็หลากหลายเช่นกัน

จัดกลุ่มญาณ หรือจัดให้เป็นกลุ่มขององค์ความรู้ ก็เรียกว่า จัดกลุ่มด้วยวัตถุ คือญาณวัตถุ

เป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม 4 หรือกลุ่ม5 ก็ให้เหมาะสมแก่การศึกษา และการปฏิบัติ

ดีครับ อนุโมทนาด้วยที่ ได้อ่านพระไตรปิฏก จนจบ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณ
ทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์
ภาวนาธิษฐานชีวิต ฯ
คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะ
ด้วยเนกขัมมะผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
พ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า
มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชา-
*วิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา
เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่า
วิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลส
ทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯ
[๗๓๘] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺา ความว่า เนกขัมมะ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น
ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็น
อธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่พยาบาท
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น
ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตต-
*สิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ฯ
[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ
ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส
ทั้งปวง ฯ
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด
ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น
เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท
ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่า
ฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน
เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ
[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ
เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม
พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย
อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท
ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา
เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์
เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด
เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ
ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย
อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกากถา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ
นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 3
ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 3
วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญญา ความรู้ทั่ว,
ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล,
ความรู้เข้าใจชัดเจน,
ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ,
ความรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง;
(ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 15
ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ข้อ ๘ ในกถาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 15
ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น
ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัวเป็นต้น
(ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 15
ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา;
เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ
(ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 15
ปัญญาภาวนา ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 15
ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 15
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป;
เทียบ เจโตวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 15
ปัญญาสมวาร วันที่ ๕๐, วันที่ครบ ๕๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 15
ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา
(ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 10 / 15
ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา,
ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 11 / 15
โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 12 / 15
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 13 / 15
วุฑฒิ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม
๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม,
เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง,
ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 14 / 15
เสนาสนปัญญาปกะ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ
หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดแจงแต่งตั้งดูแลความเรียบร้อยแห่งเสนาสนะ สำหรับภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าพักอาศัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 15 / 15
อธิปัญญาสิกขา การศึกษาในอธิปัญญา,
ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์
(ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมก๊อปมาเสียยาว

เพราะต้องการจะเรียนแสดงให้ท่านเช่นนั้นเห็นว่า

สิ่งที่ผมนำมาเป็นความรู้ครับ

ยังไม่ใช่ปัญญาเสียทีเดียวครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาที่นำไปสู่ความหลุดพ้นหรือวิมุติ

คือปัญญาที่ผุดขึ้นท่ามกลางสมาธิเท่านั้นครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ต้องค่อยๆ อ่านที่ก๊อปมา
และ เชื่อมโยง กันให้ได้
จากนั้น ก็จะแยก แยะได้ชัดเจน
ว่า ญาณ และปัญญา มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณเช่นนั้นที่ร่วมสนทนาครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร