วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 15:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ศึกษาถึงวิธีการ ยกองค์ฌานที่ได้จากการเจริญอานาปานสติ ขึ้นสู่วิปัสสนา ได้ที่

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273




http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#อานาปานบรรพ

อานาปานบรรพ
คำว่า ภิกษุไปป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปยังเรือนว่างก็ดี นี้เป็นเครื่องแสดงการกำหนดเอาเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุนั้น. เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นมานาน ย่อมไม่ประสงค์จะลงสู่วิถีแห่งกัมมัฏฐาน คอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยโคโกงฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จะเจริญสติปัฏฐานนี้ ประสงค์จะทรมานจิตที่ร้าย ที่เจริญมาด้วยการดื่มรส มีรูปารมณ์เป็นต้นมานาน พึงพรากออกจากอารมณ์ เช่นรูปารมณ์เป็นต้น แล้วเข้าไปป่าก็ได้ โคนไม้ก็ได้ เรือนว่างก็ได้ แล้วเอาเชือก คือสติผูกเข้าไว้ที่หลัก คืออารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น จิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปทางนั้นทางนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่คุ้นเคยมาก่อน ไม่อาจตัดเชือก คือสติให้ขาดแล้วหนีไปได้ ก็จะแอบแนบสนิทเฉพาะอารมณ์นั้นอย่างเดียว ด้วยอำนาจเป็นอุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา
เหมือนอย่างคนเลี้ยงโค ต้องการจะทรมานลูกโคโกงที่ดื่มนมแม่โคตัวโกงจนเติบโต พึงพรากมันไปเสียจากแม่โค แล้วปักหลักใหญ่ไว้หลักหนึ่ง เอาเชือกผูกไว้ที่หลักนั้น ครั้งนั้น ลูกโคของเขานั้นก็จะดิ้นไปทางโน้นทางนี้ เมื่อไม่อาจหนีไปได้ ก็หมอบหรือนอนแนบหลักนั้นนั่นแล ฉะนั้น.
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
ยถา ถมฺเภ นิพนฺเธยฺย วจฺฉํ ทมํ นโร อิธ
พนฺเธยฺเยวํ สกํ จิตฺตํ สติยารมฺมเณ ทฬฺหํ
นรชนในพระศาสนานี้ พึงผูกจิตของตน
ไว้ในอารมณ์ให้มั่นด้วยสติ เหมือนคนเลี้ยงโค
เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกมันไว้ที่หลักฉะนั้น.

เสนาสนะนี้ ย่อมเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานนั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำนี้เป็นเครื่องแสดงการกำหนดเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุนั้นดังนี้.

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิเห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้ว ใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้ว ก็ชี้ว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างนครตรงนี้ เมื่อเขาสร้างนครเสร็จ โดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับลาภสักการะอย่างใหญ่จากราชสกุล ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ฉันนั้น ทรงใคร่ครวญถึงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วทรงชี้ว่า เสนาสนะตรงนี้ พระโยคาวจรควรประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆ ต่อแต่นั้น พระโยคีเจริญกัมมัฏฐานเนืองๆ ในเสนาสนะนั้น ได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับ ย่อมทรงได้รับสักการะอย่างใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จริงหนอ.
ก็ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นเดียวกับเสือเหลือง. เหมือนอย่างพระยาเสือเหลืองขนาดใหญ่อาศัยพงหญ้าป่าชัฏ หรือเทือกเขาในป่า ซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤคมีกระบือป่า ละมัง หมูป่าเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ผู้มีเพียรประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐานในป่าเป็นต้น ย่อมถือเอาซึ่งมรรค ๔ และอริยผล ๔ ได้ตามลำดับ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า.
ยถาปิ ทีปิโก นาม นิลียิตฺวา คณฺหตี มิเค
ตเถวายํ พุทฺธปุตฺโต ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก
อรญฺญํ ปวิสิตฺวาน คณฺหติ ผลมุตฺตมํ
อันเสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤค ฉันใด
ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปสู่
ป่าแล้ว ประกอบความเพียร เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง
(เจริญวิปัสสนา) ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอันสูงสุดได้.


----------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ดิฉันนั่งหันหน้าเข้าหาทีวี ห่างจากทีวีประมาณ 1 เมตร ลูกนั่งอยู่บนเก้าอี้ด้านหลัง และก่อนนั่งสมาธิไม่ได้เปิดทีวี หลังจากสมาธิ 2 สัปดาห์แรกรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรทำให้เกิดความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจ เห็นอะไรไม่ปรุงแต่ง


คุณ กษมมาตา การนั่งสมาธิให้ได้ฌาน นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องอาศัยเสนาสนะ ที่เงียบสงบ เป็นที่สัปปายะจริง ๆ สิ่งที่คุณเห็นผมว่าไม่ใช่ฌานแล้วละครับ ลองศึกษาจาก พระอาจารย์, พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก อีกครั้งครับ

อย่าพึ่งไปทำตาม แนวมโนมยิทธิ หรือ ธรรมกาย นะครับ ไม่งั้น จะไปยึดเอานิมิตว่าเป็นพระนิพพาน


ผมเข้าไปที่เหลิมศาลาโกหกมาทำให้คิดถึงร้านรับซื่อของเก่าอย่างไหงอย่างนั้น

มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง

เมื่อยี่สิบกว่าปีผ่ามาแล้ว

มีสำนักหนึ่งตั้งขึ้นแล้วใช้ชื่อว่าสำนักอภิธรรม

เจ้าสำนักโฆษณาว่าตนเองเป็นผู้บรรลุธรรมสามารถไปสวรรค์นรกได้ตามใจตน

อภิธรรมที่ใช้ตั้งชื่อชักจะไม่ใช่อภิธัมมัตถะเสียแล้วเป็นอภิธรรมชาติ

ปรากฎว่ามีคนแห่กันมาที่สำนักนี้มากมายเหมือนวักธรรมกายปัจจุบันก็คงมีการหลอกให้ทำบุญกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ

ปรากฎว่าสำนักนี้ร่ำรวยเงินทองมาก

กิจกรรมที่สำนักนี้จัดเป็นกิจวัตร์คือ

พาเทียวสวรรค์ทัวร์นรก

ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ก็มีท่านคึกฤทธิ์ ท่านสัญญา อาจารย์เสฐียรพงษ์ และแน่นอนท่านพุทธทาสออกมา

เตือนสติชาวพุทธให้ใช้วิจารณญาณ ส้างความโกรธแค้นกับเจ้าสำนักเป็นอย่างยิ่งที่ตัดทางทำมาหากิน

กันดื้อๆอย่างนี้

สมัยที่สำนักนี้รุ่งเรืองสุดขีดถึงกับคิดโอหังแก้พระไตรปิฎกทีเดียว

สือมวลชนสมัยนั้นก็เห็นจะมีหนังสือพิมพิ์ที่ทรงอิทธิพลมาก

ฉบับที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างไม่ปล่อยคือเดลินิวล์

จึงมีการท้าพิสุจน์กันเกิดขึ้น

วิธีการคือนักข่าวที่เข้าพิสุจน์จะไปนั่งกัมมฐานที่สำนักอภิธรรมแล้วเจ้าสำนักจะเข้าสมาธิพาไปเที่ยว

สวรรค์ทัวร์นรก

ปรากฎไม่สมารถทำได้ตามที่โอ้อวด

มีการอ้างเหตุผลสารพัด

หนังสือพิมพิ์ในยุคนั้นออกมาแฉพฤติกรรมหลอกลวงของสำนักนี้ทุกฉบร้อนถึงเถระสมาคมต้องออกมาประกาศว่าสำนักนี้ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ทางตำรวจจะเอาเรื่องหลอกลวงประชาชน

สำนักนี้พยายามใช้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว

แต่ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม

มวลชนที่ศรัทธาหลงไหลน้อยลงทุกวัน

มหาเถระสมาคมออกแถลงการณ์ว่าสำนักอภิธรรมไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา

เป็นสำนักเถื่อน


สำนักนี้จึงหาทางออกด้วยการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ


เหลือสาวกอยู่ไม่กี่คนกับลูกหลานในวงศ์ตระกูล

หนึ่งในนั้นคือ เฉลิมศักดิ์ ศาลาโกหก

เนื่องจากท่านพุทธทาสออกมาแสดงธรรมเปิดเผยถึงธรรมที่แท้ทำให้ผู้ถูกหลอกตาสว่าง

สาวกสำนักนี้จึงแค้น

และตามชำระหนี้แค้นท่านพุทธทาส

เหลิมคือกากเดนของการหลอกลวงจึงมีนิสัยเป็นพวกนักต้มตุ่น

เจอใครก็สาธุแสดงอาการผู้ดีจอมปลอม

เบืองหลังกักขฬะน่าขยักแขยง


เดี๋ยวนี้เปิดเวป

เฉลิมศักดิ์ศาลาโกหก

สำหรับคนโง่งมงาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 07:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คุณ กษมมาตา การนั่งสมาธิให้ได้ฌาน นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องอาศัยเสนาสนะ ที่เงียบสงบ เป็นที่สัปปายะจริง ๆ สิ่งที่คุณเห็นผมว่าไม่ใช่ฌานแล้วละครับ ลองศึกษาจาก พระอาจารย์, พระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก อีกครั้งครับ



อย่างที่คุณเจโตฯว่านั้นแหละครับ..ทำไม่ได้ก็อย่าตอบเลย..คนใหม่เขาจะงงเปล่า ๆ ครับ
:b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 09 ส.ค. 2010, 07:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)





นิมิต
1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,
ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
ดู เทวทูต

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บทธรรมบรรยาย ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ - ๒๓ วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา (๗)
Posted by times , ผู้อ่าน : 165 , 16:12:09 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้



วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา

(12) วิธีเจริญวินีลกอสุภกรรมฐาน

วินีลกอสุภะนั้นคือซากศพกำลังพองเขียว

วิธีปฏิบัติทั้งปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะ

แปลกแต่คำบริกรรมว่า วินีลกํ ปฏิกูลํ อสุภะขึ้นพองเขียวน่าเกลียดดังนี้

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏมีสีต่างๆ แปลกกัน

ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นสีแดง ขาว เขียว เจือกัน


(13) วิธีเจริญวิบุพพกอสุภกรรมฐาน

วิบุพพกอสุภะนี้ คือซากศพมีน้ำหนองไหล

วิธีปฏิบัติเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะทุกประการ

แปลกแคำบริกรรมว่า วิปุพพกํ ปฏิกูลํ ซากศพมีน้ำหนองไหลน่าเกลียดดังนี้เท่านั้น

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏเหมือนมีน้ำหนอง น้ำเหลืองไหลอยู่มิขาด

ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเหมือนดั่งร่างอสุภะสงบนิ่งอยู่มิได้หวั่นไหว


(14) วิธีเจริญวิฉิททกอสุภกรรมฐาน อสุภะนี้

ได้แก่ซากศพที่ถุกตัดออกเป็นท่อนๆ ทั้งอยู่ในที่มีสนามรบหรือป่าช้าเป็นต้น

วิธีปฏิบัติทั้งปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะ

แปลกแต่คำบริกรรมว่า วิฉิททกํ ปฏิกูลํ

ซากศพขาดเป็นท่อนๆ น่าเกลียดดังนี้เท่านั้น

อุคคหนิมิตปรากฏเป็นซากอสุภะขาดเป็นท่อนๆ

ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนมีอวัยวะครบบริบูรณ์

มิเป็นช่องขาดเหมือนอย่างอุคคหนิมิต


(15) วิธีเจริญวิขายิตกอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพอันสัตว์

มีแร้ง กา และสุนัขเป็นต้น กัดกินแล้วอวัยวะขาดไปต่างๆ

บริกรรมว่า วิขายิตกํ ปฏิกูลํ

ซากศพที่สัตว์กัดกินอวัยวะต่างๆ เป็นของน่าเกลียด

ดังนี้ร่ำไปกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต

ก็อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏเหมือนซากอสุภะ อันสัตว์กัดกินกลิ้งอยู่ในที่นั้นๆ

ปฏิภาคนิมิตปรากฏบริบูรณ์สิ้นทั้งกาย จะปรากฏเหมือนที่สัตว์กัดกินนั้นมิได้


(16) วิธีเจริญวิขิตตกอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจร พึงนำมาเองหรือให้ผู้อื่นนำมาซึ่งซากอสุภะที่ตกเรี่ยรายอยู่ในที่ต่างๆ

แล้วมากองไว้ในที่เดียวกัน แล้วกำหนดพิจารณา

บริกรรมว่า วิขิตตกํ ปฏิกูลํ

ซากศพอันซัดไปในที่ต่างๆ เป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป

จนกว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ เหมือนร่างอสุภะนั้นเอง

ปฏิภาคนิมิตปรากกเหมือนกายบริบูรณ์จะมีช่องมีระยะหามิได้ฯ



(17) วิธีเจริญหตวิขิตตอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจรพึงนำเอามาหรือให้ผู้อื่นนำเอามา

ซึ่งซากอสุภะที่คนเป็นข้าศึก สับฟันกันเป็นท่อนท่อนใหญ่ทิ้งไว้ในที่ต่างๆ

ลำดับเข้าให้ห่างกันประมาณนิ้วมือหนึ่ง

แล้วกำหนดพิจารณาบริกรรมว่า หตวิขิตตกํ ปฏิกูลํ

ซากศพขาดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ เป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป

จนกว่าจะได้อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏดุจรอยปากแผลอันบุคคลประหาร

ปฏิภาคนิมิตปรากฏดังเต็มบริบูรณ์ทั้งกาย มิได้เป็นช่องเป็นระยะฯ


(18) วิธีเจริญโลหิตกอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพที่คนประหารสับฟันในอวัยวะ

มีมือแล เท้าเป็นต้น มีโลหิตไหลออกอยู่และทิ้งไว้ในที่ทั้งหลายมีสนามรบเป็นต้น

หรือพิจารณาอสุภะที่มีโลหิตไหลออกจากแผล มีแผลฝีเป็นต้นก็ได้

บริกรรมว่า โลหิตกํ ปฏิกูลํ อสุภะนี้โลหิตไหลเปรอะเปื้อนเป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป

กว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏดุจจะผ้าแดงอันต้องลมแล้วแลไหวๆ อยู่

ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นอันดีจะได้ไหวหามิได้



(19) วิธีเจริญปุฬุวกอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพของมนุษย์หรือสัตว์ มีสุนัขเป็นต้น

ที่มีหนอนคลานคร่ำอยู่ บริกรรมว่า ปุฬุวกํ ปฏิกูลํ

อสุภะที่หนอนคลานคร่ำอยู่ เป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป

กว่าจะได้อุคคหนิมิต แลปฏิภาคนิมิต

อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏมีอาการหวั่นไหว ดั่งหมู่หนอนอันสัญจรคลานอยู่

ปฏิภาคนิมิตปรากฏมีอาการอันสงบเป็นอันดีดุจกองข้าวสาลีอันขาวฉะนั้นฯ



(20) วิธีเจริญอัฏฐิกอสุภกรรมฐาน

ให้โยคาวจรพิจารณาซึ่งซากศพที่เหลือแต่กระดูกอย่างเดียว

จะพิจารณาร่างกระดูกที่ติดกันอยู่ทั้งหมดยังไม่เคลื่อนหลุดไปจากกันเลยก็ได้

จะพิจารณาร่างกระดูกที่เคลื่อนหลุดไปจากกันแล้วโดยมากยังติดกันอยู่บ้างก็ได้

จะพิจารณาท่อนกระดูกอันเดียวก็ได้ ตามแต่จะเลือกพิจารณา

แล้วพึงบริกรรมว่า อฏฐิกํ ปฏิกูลํ กระดูกเป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่ำไป

กว่าจะสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

ถ้าโยคาวจรพิจารณาแต่ท่อนกระดูกอันเดียว

อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นอย่างเดียวกัน

ถ้าโยคาวจรพิจารณากระดูกที่ยังติดกันอยู่ทั้งสิ้น

อุคคหนิมิตปรากฏปรากฏเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ

ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นร่างกายอสุภะบริบูรณ์สิ้นทั้งนั้นฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คติธรรมคำสอน หลวงปู่ทวด - พิจารณาตัวเอง
Posted by times , ผู้อ่าน : 180 , 21:23:41 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้




คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี

ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร

ให้นั่งเฉยๆ

คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร

คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง

คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น

เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้

มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด ในป่ากว้าง ในบ้าน ก็ต้องเรียนรู้จาก นครกายา และ จิตตามหานคร สองแห่งนี้เท่านั้น ไม่ใช่หรือค่ะ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.



พระอภิธัมมัตถสังคหะ

สัปปายะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm
สัปปายะ แผลงมาเป็น สปายะ คือ สบาย นั่นเอง หมายถึงธรรมอันเป็นที่สบายที่เหมาะสมแก่การเจริญกัมมัฏฐาน อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งอุปการะให้มีความสงบระงับ ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย สปายธรรมมีหลายประการ จำแนกเป็น ๔ บ้าง เป็น ๕ บ้าง ในที่นี้ขอกล่าวว่ามี ๗ ประการ คือ

๑. ที่อยู่อันเป็นที่สบาย ไม่ใกล้ทางสัญจรไปมา ไม่ใกล้บ่อน้ำ อันจะเกิดความรำคาญจากผู้คนไปมาจอแจพูดจากันจ้อกแจ้กไม่ขาดสาย แต่ควรเป็นสถานที่ที่วิเวก สงัดจากสิ่งที่รบกวนความสงบ และมีรั้วรอบขอบชิด ไม่ต้องห่วงเรื่องคนร้าย

๒. ทางเดินอันเป็นที่สบาย หมายถึงทางที่จะเดินจงกรม ก็สะดวกสบาย ไม่ถูกแดดมากนัก ทางไปบิณฑบาตทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ก็ไม่ต้องเดินทวนตะวันให้แดดส่องหน้าแสงเข้าตา เพราะการถูกแดดมาก ก็จะทำให้เกิดทุกขเวทนา อันเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ

๓. การฟังการพูดอันเป็นที่สบาย หมายความว่า ควรฟังหรือควรพูดในเรื่องที่จะโน้มน้าวจิตใจให้เกิด สัทธา วิริยะ และความสงบระงับ อันจะเป็นคุณแก่การเจริญกัมมัฏฐาน ให้เว้นการฟังการพูดที่ไม่เป็นสปายะนั้นเสีย

๔. บุคคลเป็นผู้ที่สบาย หมายถึงบุคคลที่จะติดต่อคบหา ควรเป็นผู้ที่มั่นในสีลธรรมชักจูงแนะนำไปในทางที่ให้เกิดความมักน้อย ความเพียร ความสงบระงับ ยิ่งเป็นผู้ที่เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นคุณมาก ให้เว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่านและมากไปในทางกามารมณ์ ในทางโลกียสุข

๕. ฤดูอันเป็นที่สบาย หมายถึง ความร้อนความเย็นของอากาศตามฤดูกาล เช่น บางฤดูก็ร้อนจัดมาก บางฤดูก็หนาวเสียเหลือเกิน หรือ กลางวันร้อนจัด แต่กลางคืนก็เย็นมากจนถึงกับหนาว อย่างนี้คงไม่สบายแน่ อาจเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย จำต้องเลือกให้เหมาะสมแก่ความเคยชินของตนที่พอจะทนได้

๖. อาหารอันเป็นที่สบาย หมายถึงว่า ควรบริโภคแต่อาหารที่จะเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ร่างกายเป็นประมาณโดยไม่ต้องคำนึงถึงรสของอาหาร แม้รสจะดีแต่ว่าเสาะท้องหรือทำให้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ก็ควรงดเสีย เฉพาะภิกษุควรพิจารณาด้วยว่าตำบลนั้น อัตคัดขาดแคลนจนถึงกับบิณฑบาตได้ไม่พอขบฉันหรือไม่ด้วย ส่วนผู้ที่มีผู้ส่งเสียอาหาร ก็ให้ทำความเข้าใจว่าอาหาร ที่เป็นชิ้นใหญ่ก็ให้หั่นให้เล็กพอควร ที่เป็นผักก็ตัดหรือม้วนให้พอดีคำที่มีกระดูกหรือก้างก็ให้จัดการเอาออกเสียให้หมดด้วย

๗. อิริยาบถอันเป็นที่สบาย หมายถึง อิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน อิริยาบถใดทำให้จิตคิดพล่านไป ไม่สงบ ก็แสดงว่าอิริยาบถนั้นไม่เป็นที่สบาย จึงไม่ควรใช้อิริยาบถนั้น แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้แต่น้อย มีข้อที่ควรระวังในอิริยาบถนอนอยู่ว่า นอนเพื่อกำหนด หรือเพราะร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่ใช่นอนด้วยอำนาจแห่งโกสัชชะ เพราะหน่ายจากความเพียร

------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด ในป่ากว้าง ในบ้าน ก็ต้องเรียนรู้จาก นครกายา และ จิตตามหานคร สองแห่งนี้เท่านั้น ไม่ใช่หรือค่ะ?
:b44: ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด ในป่ากว้าง ในบ้าน ก็ต้องเรียนรู้จาก นครกายา และ จิตตามหานคร สองแห่งนี้เท่านั้น ไม่ใช่หรือค่ะ?


การจะนั่งสมาธิ ให้จิตเกิดความแน่วแน่ จดจ่อกับบัญญัติอารมณ์ต่าง ๆ จะเกิดฌานได้ สถานที่ต้องสัปปายะมาก ๆ ครับ

แต่การเจริญวิปัสสนาแนว วิปัสสนายิกะ อาศัยขณิกะสมาธิ พิจารณา รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.



พระอภิธัมมัตถสังคหะ

สัปปายะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm
สัปปายะ แผลงมาเป็น สปายะ คือ สบาย นั่นเอง หมายถึงธรรมอันเป็นที่สบายที่เหมาะสมแก่การเจริญกัมมัฏฐาน อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งอุปการะให้มีความสงบระงับ ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย สปายธรรมมีหลายประการ จำแนกเป็น ๔ บ้าง เป็น ๕ บ้าง ในที่นี้ขอกล่าวว่ามี ๗ ประการ คือ

๑. ที่อยู่อันเป็นที่สบาย ไม่ใกล้ทางสัญจรไปมา ไม่ใกล้บ่อน้ำ อันจะเกิดความรำคาญจากผู้คนไปมาจอแจพูดจากันจ้อกแจ้กไม่ขาดสาย แต่ควรเป็นสถานที่ที่วิเวก สงัดจากสิ่งที่รบกวนความสงบ และมีรั้วรอบขอบชิด ไม่ต้องห่วงเรื่องคนร้าย

๒. ทางเดินอันเป็นที่สบาย หมายถึงทางที่จะเดินจงกรม ก็สะดวกสบาย ไม่ถูกแดดมากนัก ทางไปบิณฑบาตทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ก็ไม่ต้องเดินทวนตะวันให้แดดส่องหน้าแสงเข้าตา เพราะการถูกแดดมาก ก็จะทำให้เกิดทุกขเวทนา อันเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ

๓. การฟังการพูดอันเป็นที่สบาย หมายความว่า ควรฟังหรือควรพูดในเรื่องที่จะโน้มน้าวจิตใจให้เกิด สัทธา วิริยะ และความสงบระงับ อันจะเป็นคุณแก่การเจริญกัมมัฏฐาน ให้เว้นการฟังการพูดที่ไม่เป็นสปายะนั้นเสีย

๔. บุคคลเป็นผู้ที่สบาย หมายถึงบุคคลที่จะติดต่อคบหา ควรเป็นผู้ที่มั่นในสีลธรรมชักจูงแนะนำไปในทางที่ให้เกิดความมักน้อย ความเพียร ความสงบระงับ ยิ่งเป็นผู้ที่เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นคุณมาก ให้เว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่านและมากไปในทางกามารมณ์ ในทางโลกียสุข

๕. ฤดูอันเป็นที่สบาย หมายถึง ความร้อนความเย็นของอากาศตามฤดูกาล เช่น บางฤดูก็ร้อนจัดมาก บางฤดูก็หนาวเสียเหลือเกิน หรือ กลางวันร้อนจัด แต่กลางคืนก็เย็นมากจนถึงกับหนาว อย่างนี้คงไม่สบายแน่ อาจเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย จำต้องเลือกให้เหมาะสมแก่ความเคยชินของตนที่พอจะทนได้

๖. อาหารอันเป็นที่สบาย หมายถึงว่า ควรบริโภคแต่อาหารที่จะเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ร่างกายเป็นประมาณโดยไม่ต้องคำนึงถึงรสของอาหาร แม้รสจะดีแต่ว่าเสาะท้องหรือทำให้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ก็ควรงดเสีย เฉพาะภิกษุควรพิจารณาด้วยว่าตำบลนั้น อัตคัดขาดแคลนจนถึงกับบิณฑบาตได้ไม่พอขบฉันหรือไม่ด้วย ส่วนผู้ที่มีผู้ส่งเสียอาหาร ก็ให้ทำความเข้าใจว่าอาหาร ที่เป็นชิ้นใหญ่ก็ให้หั่นให้เล็กพอควร ที่เป็นผักก็ตัดหรือม้วนให้พอดีคำที่มีกระดูกหรือก้างก็ให้จัดการเอาออกเสียให้หมดด้วย

๗. อิริยาบถอันเป็นที่สบาย หมายถึง อิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน อิริยาบถใดทำให้จิตคิดพล่านไป ไม่สงบ ก็แสดงว่าอิริยาบถนั้นไม่เป็นที่สบาย จึงไม่ควรใช้อิริยาบถนั้น แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้แต่น้อย มีข้อที่ควรระวังในอิริยาบถนอนอยู่ว่า นอนเพื่อกำหนด หรือเพราะร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่ใช่นอนด้วยอำนาจแห่งโกสัชชะ เพราะหน่ายจากความเพียร

------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด ในป่ากว้าง ในบ้าน ก็ต้องเรียนรู้จาก นครกายา และ จิตตามหานคร สองแห่งนี้เท่านั้น ไม่ใช่หรือค่ะ?
:b44: ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด ในป่ากว้าง ในบ้าน ก็ต้องเรียนรู้จาก นครกายา และ จิตตามหานคร สองแห่งนี้เท่านั้น ไม่ใช่หรือค่ะ?


การจะนั่งสมาธิ ให้จิตเกิดความแน่วแน่ จดจ่อกับบัญญัติอารมณ์ต่าง ๆ จะเกิดฌานได้ สถานที่ต้องสัปปายะมาก ๆ ครับ

แต่การเจริญวิปัสสนาแนว วิปัสสนายิกะ อาศัยขณิกะสมาธิ พิจารณา รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์


การอ้างอภิธัมมัตถสังหะและอรรถกถาต้องตรวจสอบกับพระสูตรพระวินับเสียก่อน

มิเช่นนั้นอาจผิดพลาดได้ทำให้หลงในการปฏิบัติ

การจะเชื่อใครแนะนำต้องดูที่เจตนา

ถ้าแม้แต่ลายเซ็นต์ยังหลอกลวง

จงอย่าเชื่อ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องขอเพิ่มเติมอีกนิด ผมไม่ได้ตำหนิ หรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่านหนึ่งผมยอมรับในพระไตรปิฎก เชื่อในพระไตรปิฏกแต่ก็ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเรียบเรียงเอง แต่มีการเรียบเรียงขึ้นจากคำบอกเล่าของพระอรหันต์ทั้งหลาย และมีการสังคยนาหลายครั้ง ฉะนั้นสิ่งที่ผมเรียนคือจากพระไตรปิฏกแปลเป็นภาษาไทย และปฏิบัติตามนั้นผมไม่อยากรู้เยอะเพราะไม่ชอบเป็นบ้าหอบฟาง ตอนไหนพูดถึงอิทธิฤทธิ์ เช่นเหาะข้ามทะเล ถูเขา เหาะทะลุกำแพงผมก็จะอ่านข้ามไป อย่ามาถามว่าผมเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ผมถือว่ามันไม่ใชทางผมต้องการรู้น้อยเอาแค่แก่นของมัน ไม่ต้องการหอบอะไรเยอะแยะ อีกอย่างพระพุทธองค์ก็ได้พยากรณ์ไว้แล้วว่าหลังกึ่งพุทธกาล พระสงฆ์จะเลิกอยู่ ป่า อาศัยถ้ำหรือโคนไม้ใหญ่ จะเข้ามาอยู่ในเมือง สวมแพรพรรณที่สวยงาม แข่งขันกันที่ความยิ่งใหญ่และงดงามของอาราม สิ่งนี่ถ้าใครติดตามมาตลอดก็ต้องยอมรับว่าเป็นความจริง พวกปฏิบัติสายเจโตวิมุติก็เหมือนกัน ชอบไปกล่าวตู่สายปัญญาวิมุติ ว่าที่ทำกันอยู่นั่นไม่ใช่วิปัสนา แต่มันเป็นวิปัสนึกผมได้ยินบ่อยไป ทำให้การปฏิบัติจึงแบ่งกันเป็นสายอาจารย์นั่นอาจารย์นี่ แล้วที่สุดใครพูดไม่ตรงกับอาจารย์(ของกู)ก็ไม่ชอบกัน
......ขอจบสั้นแคนี้ พูดมากยิ่งตีความกันออกไปเจตนาอาจไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อ/ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ขณิกสมาธิ" แค่ไหนเท่าใด ดูที่นี่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 12#msg1912

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


K.กษมมาตา ปฏิบัติได้โอเคแล้วครับ ผมว่ามาถูกทาง เพราะแสงสีม่วงที่เห็น เป็นแสงที่เกิดการที่
จิตแน่วแน่ตั้งมั่นอย่างใดอย่างหนึ่ง... ถ้าบอกว่าจะทำให้ชำนาญสมควรทำเป็นอย่างยิ่งเพราะคุณเข้า
สมาธิง่าย แต่ไม่รู้วิธีการบริหารสมาธิ ผมจำได้ว่าวสีภาวะคือชำนาญในการเข้าออกฌาน จะมี
การเข้าฌานง่าย ทรงในอารมณ์ฌานได้ ถอยจิตออกฌานได้ง่าย ที่สำคัญคืออธิษฐานจิตหลังจาก
ออกจากฌานมาแล้วแล้วน้อมจิตไปเหนหรือรู้ในสิ่งตัวเองสงสัยได้ง่าย :b40:

และเมื่อจิตพัฒนามากขึ้นแสงสีม่วงจะไม่ใช่แล้ว แสงสีเหนจะไม่มีสี จะเป็นแสงสว่างสีนวลสบายตา
แล้วแผ่กระจายไปทั่วห้อง ยิ่งสว่างสไวไปได้มากปกคลุมมากไม่มีขีดจำกัดยิ่งดี ความสว่างที่ว่านี้
คือแสงของจิตแท้จริงที่เป็นธรรมชาติมีความสว่างและปัญญาอยู่ในเพียงแต่มีนิวรณ์และกิเลสสามกองบดบังไว้ เลยไม่เหนแสงสว่างของจิตนี้ ตอนนี้หากน้อมจิตอยากร้อะไรว่ากันว่าจะรู้และได้เหนสิ่งที่ไม่รู้
ร้ในสิ่งที่สงสัยได้ และจะดีกว่านี้หากก้าวข้ามแสงสว่างที่ว่านี้ไปอีก ตอนนั้นจะเข้าใกล้ความเป็นพุทธะมากแล้ว ถ้าหากหยิบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมาพิจาณรณาตอนนั้นจะรู้แจ้งแทงตลอดแล้วจะเห้น
การเกิดดับแห่งไตรลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ณ ตอนนี้พลังของปัญญาและพลังงานของสมาธิจะเต็มตัวและ
สามารถจะเริ่มถอดถอนกิเลสได้บ้างแล้วครับอย่างนอ้ยก้นิวรณ์ห้านี่แน่นอน :b40:

ที่ผมเล่าถือว่าผมได้อ่านได้ฟังมา เลยภูมิในการปฏิบัติของผมอย่างมาก แต่อยากคุณกษมาตา(ชื่อเรียกยากจังไม่รู้แปลว่าไร) ได้เกิดความเข้าใจขึ้นมากกว่า เพราะเห็นเข้าใจด้วยการปฏิบัติมากกว่า สดับตรับฟัง(หรือมากว่าสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญานั่นเอง) :b40:

ผมอนุโมทนาด้วยครับ แต่ถ้าสงสัยก้ควรจะถามผู้รู้ในนี้บ้างก็ดี....เป็นแชร์ความรู้ในด้านภาวนาให้ผู้อื่นรับ
ทราบ ส่วนจะเหนด้วยหรือไม่เหนด้วยก้เปนเรื่องปกติ คงไม่ผลอะไรมากนัก เป็นปัจจัตตังที่แล้วแต่มุมมอง
แต่ละคน :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ไม่ทราบว่าท่านที่เข้ามาในกระทู้นี้ เคยอ่านหนังสือชื่อ "แนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต" ซึ่งรวบรวมโดย แสง อรุณกุศล บ้างหรือไม่
ดิฉันไปที่ร้านหนังสือเปิดอ่านดู สิ่งที่เขาสอนในหนังสือเล่มนี้ คล้ายกับประสบการณ์ที่ดิฉันได้ทำแล้วในการนั่งสมาธิตามที่เล่ามา ดิฉันจึงซื้อมาพยายามอ่านและทำความเข้าใจ เทียบเคียงกับสิ่งที่ตนเองประสบมา นั่นเป็นหนังสือด้านพระพุทธศาสนาเล่มแรกของดิฉันที่ซื้อมา เมื่อก่อนสนใจแค่ทำบุญทำทานธรรมดา ไม่ค่อยสนใจ ธรรมะด้านการปฏิบัติเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีธรรมกาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/

http://b2b2.tripod.com/tmk/tmk14.txt

นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131) เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)
1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า
" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)
" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)

พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า
"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)

นี้เป็นตัวอย่างหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่พระเถระในอดีตได้ถือปฏิบัติในการดำรงรักษาพระธรรมวินัยสืบกันมา ซึ่งแสดงให้เห็นทั้งประสบการณ์ในการทำงาน และจิตใจที่ให้ความสำคัญแก่พระธรรมวินัยนั้นอย่างมั่นคงยิ่งในหลักการ ท่านจึงรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่่ยืนนานมาถึงเราได้ ชนิดที่ว่าแม้พวกเราในปัจจุบันจะไม่เอาใจใส่ แต่ก็มีโอกาสให้คนยุคต่อไปที่ตื่นตัวขึ้นสามารถเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้อีก

--------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ไม่ทราบว่าท่านที่เข้ามาในกระทู้นี้ เคยอ่านหนังสือชื่อ "แนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต" ซึ่งรวบรวมโดย แสง อรุณกุศล บ้างหรือไม่
ดิฉันไปที่ร้านหนังสือเปิดอ่านดู สิ่งที่เขาสอนในหนังสือเล่มนี้ คล้ายกับประสบการณ์ที่ดิฉันได้ทำแล้วในการนั่งสมาธิตามที่เล่ามา ดิฉันจึงซื้อมาพยายามอ่านและทำความเข้าใจ เทียบเคียงกับสิ่งที่ตนเองประสบมา นั่นเป็นหนังสือด้านพระพุทธศาสนาเล่มแรกของดิฉันที่ซื้อมา เมื่อก่อนสนใจแค่ทำบุญทำทานธรรมดา ไม่ค่อยสนใจ ธรรมะด้านการปฏิบัติเลย


คุ้น ๆ ครับ ท่านใดสนใจเชิญอ่านที่

สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต
http://board.palungjit.com/f132/%E0%B8% ... 32661.html

อ่านดูคร่าว ๆ แล้วเหมือนการฝึกโยคะ เพื่อรักษาโรค

เป็นแนวทางการปฏิบัติ ที่อ้างเป็นอัตตโนมติ สืบทอดกันมา ไม่มีการอ้างอิงพระไตรปิฏก อรรถกถา แต่อย่างใด

ผมว่าลองศึกษา จากท่านวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก จะดีกว่าครับ

อ้างคำพูด:
Re: ควรทำอย่างไรดี ไม่เอาฌาน ทำแต่วิปัสสนาดีไหม


ดีครับ เพราะวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน เป็นหนทางเพื่อละ อภิชฌา โทมนัส เป็นการกำหนดทุกข์ เพื่อความพ้นทุกข์

แต่ สิ่งที่คุณเห็นอาจจะไม่ใช่ ฌาน ก็ได้ และคุณจะปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไร

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://chalermsakm.blogspot.com/2009_11_01_archive.html
มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า



ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา


ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา


ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง



การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ควรทำอย่างไร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติในหนทางของ “เอกายนมรรค” ซึ่งแปลว่า ทางที่ไปอันเอก ทั้งนี้เพราะ เอกายนมรรคนั้น หมายถึง


- ทางที่ไปของบุคคลผู้เดียว คือต้องไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ จะต้องหลีกเร้นสงัดอยู่แต่ผู้เดียว


- ทางยอดเยี่ยมทางเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ


- ทางยอดเยี่ยมที่จะดำเนินไปนี้มีอยู่ในพระธรรมวินัยที่เดียวเท่านั้น


- ทางที่ไปสู่ที่แห่งเดียว คือไปสู่พระนิพพานเท่านั้น



ดังนั้นผู้ใดต้องการปฏิบัติสติปัฏฐานจะต้องศึกษาให้รู้จักหนทางเสียก่อนที่จะเดินทาง นั่นคือจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในปริยัติก่อนลงมือปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้




๑. ขั้นเตรียม


สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ


๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้


๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์


- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป


- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า


ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์


๓. ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือสภาวธรรม ไม่มีบุคคล ตัวตน คน สัตว์ ชาย หญิง มีแต่ความจริงคือรูปธรรม และนามธรรม แม้แต่การปฏิบัติก็มีเพียงตัวกรรมฐาน (ผู้ถูกเพ่ง) ได้แก่ “สติปัฎฐาน ๔” กับ ผู้เจริญกรรมฐาน (ผู้เพ่ง) ที่เรียกว่า “โยคาวจร” ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ


๑) สติมา คือมีสติตั้งมั่นอยู่ที่ฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยเท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น


๒) สัมปชาโณ คือมีสัมปชัญญะ รู้ตัวเสมอว่ากำลังกำหนดอะไร ดูอะไร สิ่งที่กำหนดอยู่นั้นเป็นรูปอะไร นามอะไร


๓) อาตาปี คือต้องมีความเพียรประคองจิต ๔ ประการ คือ


เพียรละ บาปเก่าๆ ไม่ให้เกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงการถ่ายถอนทิฏฐานุสัย (ทิฏฐิ) อันเป็นบาปเก่าๆ ที่หลงเข้าใจผิดว่าชีวิตเป็น ฉัน เรา เขา ให้เอาออกไปให้ได้ ด้วยการกำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นรูป เป็นนาม


เพียรระวัง ไม่ให้ความชั่วใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยการระวังป้องกันกิเลสใหม่ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการเพียรสำรวมอินทรีย์ คือขณะเห็น ขณะได้ยิน เป็นต้น จะต้องกำหนดได้ถูกต้องว่าเป็นรูปอะไร นามอะไร


เพียรสร้าง วิปัสสนากุศลให้เกิดขึ้น ด้วยการศึกษาทำความเข้าใจ และเพียรฝึกหัดกำหนดรูปนามให้เกิดขึ้นได้เท่าทันในอารมณ์ปัจจุบัน


เพียรรักษา วิปัสสนากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพอกพูนให้มีมากขึ้น ด้วยการหมั่นระลึกรูปนามที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบันอยู่เนืองๆ


เพราะ อารมณ์ปัจจุบัน เป็นปัจจัยแก่ การทำลาย อภิชฌา โทมนัสและ อารมณ์ปัจจุบัน จะเป็นปัจจัยทำให้เกิด วิปัสสนาปัญญา

----------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ควรทำอย่างไรดี ไม่เอาฌาน ทำแต่วิปัสสนาดีไหม


ดีครับ หากได้ ฌานจริง ก็ออกจากฌาน มาพิจารณา รูป นาม ตามหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา (ลายเซ็นต์)

หากยังไม่ได้ ฌาน ก็อาศัย ขณิกะสมาธิ พิจารณา รูป นาม ตามหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา

ทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่ แสงสีต่าง ๆ ที่เห็น ไม่ได้อยู่ที่อะไรแปลก จึงไม่ใช่วิปัสสนา

ว่ากันว่า วิปัสสนา ไม่ได้ไปดูอะไรแปลก ๆ แต่กำหนดดูสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาตินี้แหละ ที่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้าอาศัย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b8: :b8: ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกๆท่านนะคะ

ปัจจุบันดิฉันได้ศึกษาแนวการปฏิบัติของพระอาจารย์ด้านกรรมฐานทั้งหลาย เช่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธ และท่านอื่นๆ และก็ได้ฝึกการเจริญวิปัสสนาจากพระอาจารย์สอนวิปัสสนาในยุคปัจจุบัน เช่น พระอาจารย์มานพ อุปสโม พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ และท่านอื่นๆ
รวมทั้งฟังเทปเกี่ยวกับการดูจิตของพระอาจารย์ปราโมทย์ เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้
เหมาะสม กับเวลา
ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นั่งสมาธิ เมื่อจิตสงบพิจารณาร่างกายแยกธาตุ 4 พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์เพื่อจะลดอุปาทานความมีตัวตนให้มันน้อยลง เกิดเวทนาทางกายก็กำหนดรู้ พิจารณากิเลส ตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทางใจทั้งหลายว่ามีอะไรยังหลงเหลืออยู่บ้างมากน้อยประมาณไหน
ช่วงเวลาทำงานก็สังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกาย เวลาเดิน เวลาทำงานก็ทำงานอย่างมีสติมีสมาธิ ผัสสะใดเกิดก็สังเกตการปรุงแต่งของสังขาร
แม้ว่าจะลงมือภาคปฏิบัติมาได้ประมาณ 1 ปีกับอีกไม่กี่เดือนก็รู้สึกว่าทำได้ดีพอสมควร
ปัจจุบันสุขภาพจิตดีมาก ทำให้สุขภาพกายดีมากตามไปด้วยเช่นกัน
เมื่อก่อนเคยคิดว่าการอยู่คนเดียวคงจะทำให้ตนเองเหงามากๆ เหงาลึกๆในใจ เพราะลูกต้องไปเรียนต่อที่อื่น ส่วนสามีก็หย่ากันเพราะเขาเป็นคนเจ้าชู้มาก แต่ปัจจุบันกลับไม่รู้สึกเหงาเลย กลับมีความสุขเพิ่มมากขึ้นๆๆ ทุกวัน เพราะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมนี่เอง แถมยังนึกขอบคุณอดีตสามีที่ทำให้มีวันนี้
ดิฉันรู้สึกว่าตนเองหลุดพ้นจากความรักความใคร่แบบนี้แล้วโดยสิ้นเชิง แม้ว่าเขามาขอคืนดีทุกวันนี้บอกเขาว่าดิฉันเป็นได้แค่เพื่อนที่ดีคนหนึ่งเท่านั้น ทุกวันนี้ยังนึกสงสัยอยู่ว่ามันหลุดพ้นได้อย่างไร เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมายังเจ็บปวดทรมานแบบสุดๆๆ เหงาสุดๆๆ เคยคิดแม้แต่จะฆ่าตัวตาย (นึกย้อนไปรู้สึกเสียดายชีวิตที่ผ่านมา เราไม่น่าโง่ได้ขนาดนี้เลย) ความรักความใคร่ ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกัน

:b44: :b23: :b23:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร