วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 06:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๕. ดั่งแท้เห็นจริง

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ "
" ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด กายลักษณะที่พระตถาคตได้ตรัส ไม่ใช่กายลักษณะ "

พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า " ลักษณะทั้งหลายล้วนเป็นมายา หากเห็นลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต " :b41:

:b42: ๖. ศรัทธาเที่ยงตรงยากจะมี

สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังจะมีเวไนยสัตว์ที่สดับพระธรรมบรรยายบทนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาอันเที่ยงแท้หรือไม่ "

พระพุทธองค์ตรัสตอบสุภูติว่า " อย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลย หลังจากตถาคตดับขันธ์ปรินิพพาน หลัง ๕๐๐ ปี มีผู้ถือศีลบำเพ็ญบุญที่อาศัยธรรมนี้ จนสามารถเกิดใจศรัทธา และถือสิ่งนี้เป็นจริง ควรรู้ว่าคนๆนี้ ไม่เพียงแต่ปลูกฝังกุศลมูลเฉพาะ ๑ พุทธะ, ๒ พุทธะ, ๓, ๔, ๕ พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เขาได้ปลูกฝังกุศลมูลต่อพระพุทธะ อันมิอาจประมาณได้เลย และเมื่อเขาได้สดับพระธรรมดังกล่าวกระทั่งเกิดศรัทธาบริสุทธิ์ สุภูติ ! ตถาคตนั้นรู้หมด เห็นหมด คือ เหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ จักได้รับบุญวาสนาอันไร้ขอบเขต เพราะเหตุใดอ"

" เป็นเพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้จะไม่กลับไปมี อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ไร้ธรรมลักษณะ อีกทั้งไร้อธรรมลักษณะ เพราะเหตุใด "

" เพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ หากใจเกิดติดในลักษณะ ก็คือ ยึดติดใน อาตมะ บุคคะ สัตวะ และชีวะลักษณะ หากติดในธรรมลักษณะ ก็คือยึดติดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด หากติดในอธรรมลักษณะ ก็คือยึดติดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ ฉะนั้นจึงไม่ควรยึดติดในธรรม ไม่ควรยึดติดในอธรรม ด้วยความหมายเช่นนี้ ตถาคตมักกล่าวเป็นเสมอว่า

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงรู้ว่าธรรมที่เราแสดง อุปมาดั่งแพ แม้แต่ธรรมยังต้องละ จึงนับประสาอะไรกับอธรรมเล่า "
:b41:


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 27 เม.ย. 2011, 19:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตั้งสัจจะอธิษฐานว่าจะมาลงให้ทุกวันจนครบ ๓๒ บทนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน Flame เขียน:
ขอตั้งสัจจะอธิษฐานว่าจะมาลงให้ทุกวันจนครบ ๓๒ บทนะครับ :b8: :b8: :b8:


:b8: :b4: :b8: :b4:

สาธุ อนุโมทนาบุญค่า
จะคอยติดตามอ่านนะคะ smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2011, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๗. ไร้รับ ไร้วาจา

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ตถาคตได้แสดงธรรมฤา "

สุภูติตอบว่า " ตามที่ข้าพพระองค์เข้าใจในความหมายที่พระองค์ตรัสนั้นคือ ไม่มีธรรมที่แน่นอน ที่ชื่อว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิ และไม่มีธรรมที่แน่นอนที่ตถาคตได้แสดง เพราะเหตุใด "

" ธรรมที่พระตถาคตแสดง ล้วนมิอาจยึด มิอาจกล่าวมิใช่ธรรม มิใช่อธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุใด เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรมและเกิดความแตกต่าง " :b41:

:b42: ๘. อาศัยธรรมก่อเกิด

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร หากบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ เพื่อใช้บริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับของบุคคลนี้นับว่ามากมายหรือไม่ "

สุภูติทูลตอบว่า " มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด "

" บุญวาสนานี้ แท้จริงไร้แก่นแท้ของบุญวาสนา ดังนั้น พระตถาคตจึงกล่าวว่าบุญวาสนามากมาย "

" แต่หากได้มีบุคคลสมาทานในพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโศลก ๔ บาท และประกาศสาธยายแก่ผู้อื่น บุญนี้ยังมากมายเหนือกว่าบุญชนิดแรกเพราะเหตุใด "

" สุภูติ ! พระพุทธะทั้งปวง อีกทั้งเหล่าพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดจากพระสูตรนี้ สุภูติ ! สิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรมนั้น แท้จริงไม่ใช่พุทธธรรม "
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2011, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๙. ไร้แม้หนึ่งลักษณะ

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระโสดาบันจะมนสิการว่า ตนได้บรรลุโสดาปัตติผลได้ฤา "
สุภูติทูลตอบว่า " ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด
พระโสดาบันนามว่าเข้าสู่กระแส แต่มิได้มีการเข้า
การไม่เข้าสู่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงได้ชื่อว่าพระโสดาบัน "

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระสกิทาคามี จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุสกทาคามีผลได้ฤา "
สุภูติทูลตอบว่า " ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด
พระสกทาคามีมีนามว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยความจริงไม่มีการไปมาหนึ่งครั้ง จึงได้ชื่อว่าพระสกทาคามี "

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระอนาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอนาคามีผลได้ฤา "
สุภูติทูลตอบว่า " ไม่แลข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด
พระอนาคามีมีนามว่าไม่มา แต่โดยความจริงไม่มีการไม่มาจึงได้ชื่อว่าพระอนาคามี "

" สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระอรหันต์จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตมรรคได้ฤา "
สุภูติทูลตอบว่า " ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด
โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมที่เรียกว่าอรหันต์ ข้าแต่พระสุคต หากพระอรหันต์ได้มนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรค ก็คือยึดติดใน อาตมะ บุคคล สัตวะ ชีวะลักษณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอารัณยิกสมาธิ เป็นที่หนึ่งในกลุ่มคน เป็นพระอรหันต์องค์แรกที่ได้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ข้าพระองค์ไม่มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ก็คือพระอรหันต์ผู้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระสุคต หากข้าพระองค์ได้มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตตมรรค พระองค์ก็จะไม่ตรัสว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา แต่เนื่องด้วยความจริงแล้ว สุภูติไร้ซึ่งปฏิปทา จึงได้ชื่อว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา "
:b41:


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 02 ก.ค. 2011, 11:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2011, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีทุกท่านครับ สบายดีบ้างไหมครับ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว รู้สึกอย่างไรกันบ้าง
หรือบางท่านอ่านพระสูตรนี้จบหลายรอบแล้ว
อนุโมทนาด้วยนะครับ smiley

ป.ล. ในบทที่เก้านี้
สังเกตว่า พระองค์ใช้โสดาปัตติผล สกทาคามีผล และอนาคามีผล
แต่ในเรื่องของอรหันต์พระองค์ใช้อรหัตตมรรค
ตอนนี้ตัวผมก็ยังไม่เข้าใจเหตุผลเช่นกันครับ
วานผู้รู้ช่วยบอกด้วยนะครับ

ธรรมรักษา :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2011, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๐. อลังการ วิสุทธิเกษตร

พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า " ในความหมายนี้เป็นเช่นไร
สมัยตถาคตประทับอยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีต มีธรรมที่ได้อันใดฤา "

" ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตประทับอยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ความจริงไร้ธรรมที่ได้ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระโพธิสัตว์ได้ตบแต่งอลังการพุทธเกษตรหรือไม่ "
" ไม่แลข้าแต่พระสุคต เพราะเหตุใด อันว่าตบแต่งอลังการพุทธเกษตร คือมิใช่อลังการเป็นเพียงนามว่าอลังการ "


" เพราะฉะนั้นแลสุภูติ ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงบังเกิดจิตบริสุทธิ์เช่นนั้น ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรจะไร้สิ่งดำรงและบังเกิดจิตต่างหาก "

" สุภูติ อุปมาว่ามีบุคคล กายดุจเจ้าแห่งขุนเขาพระสุเมรุ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร กายนี้ถือว่ามโหฬารหรือไม่ "

สุภูติทูลตอบว่า " ช่างมโหฬารยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุใด พระพุทธองค์ตรัสว่ามิใช่กายเพียงนามว่ากายมโหฬาร "
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2011, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


" เพราะฉะนั้นแลสุภูติ ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงบังเกิดจิตบริสุทธิ์เช่นนั้น ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรจะไร้สิ่งดำรงและบังเกิดจิตต่างหาก " :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2011, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๑. อสังขตบุญเหลือคณา

" สุภูติ อุปมาดั่งจำนวนเม็ดทรายทั้งหมดในคงคานที จำนวนเม็ดทรายเหล่านี้ ให้เปรียบเทียบเป็นแม่น้ำคงคาอีกที ในความหมายนี้เป็นเช่นไร เหล่าเม็ดทรายในคงคานทีนี้ นับว่ามากมายหรือไม่ "

สุภูติทูลตอบว่า " มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพียงแค่คงคานทีเหล่านี้ ก็เป็นจำนวนที่มิอาจนับได้แล้ว จึงนับประสาอะไรกับเม็ดทรายที่ได้เทียบเท่า "

" สุภูติ วันนี้เราขอกล่าวความจริงต่อเธอ หากมีกุลบุตร กุลธิดา อาศัยสัปตรัตนะปูเต็มจำนวนมหาตรีสหัสโลกธาตุ อันได้มีจำนวนเทียบเท่าเม็ดทรายในคงคานทีที่เปรียบดังกล่าวเพื่อใช้บริจาคทาน บุคคลนี้ได้รับบุญมากหรือไม่ "

สุภูติทูลตอบว่า " มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า "

พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า " หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้สมาทานตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเป็นเพียงคำโศลก ๔ บาทและประกาศกล่าวแก่บุคคลอื่น บุญวาสนานี้ ยังจะเหนือยิ่งกว่าบุญวาสนาอย่างแรก " :b41:

:b42: ๑๒. บูชา ศาสตร์แท้

" อนึ่งสุภูติ ณ ที่ใดที่ได้กล่าวพระสูตรนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่ คำโศลก ๔ บาท ควรรู้ว่า ณ สถานที่นี้ เหล่าเทพ มนุษย์ อสูรทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนจะกระทำสักการะดุจพระพุทธสถูปวิหาร จึงนับประสาอะไรกับการที่มีบุคคลล้วนสามารถสมาทานสวดท่อง"

" สุภูติ ควรรู้ว่าบุคคลนี้ได้ยังความสำเร็จแล้วในสุดยอดแห่งธรรมอันเป็นที่หนึ่งที่หาได้โดยยาก หากว่าพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่แห่งนั้นก็จะมีพระพุทธเจ้าดั่งที่สาวกควรจะเคารพ " :b41:

:b42: ๑๓. สมาทานในธรรม

สมัยนั้นแล สุภูติได้กราบทูลถามพระองค์ว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อันพระสูตรนี้ควรมีนามว่าอะไร ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงรับปฏิบัติเช่นนั้น"

พระองค์ตรัสแก่สุภูติว่า " พระสูตรนี้มีนามว่าวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร อาศัยนามนี้ เธอพึงรับไปปฏิบัติ เพราะเหตุใด สุภูติ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าปรัชญาปารมิตา มิใช่ปรัชญาปารมิตา เป็นเพียงนามว่าปรัชญาปารมิตา สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตได้แสดงธรรมฤา "

สุภูติทูลตอบว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตมิได้แสดงพระธรรมอันใดเลย "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ฝุ่นละอองทั้งหมดในมหาตรีสหัสโลกธาตุ จำนวนถือว่ามากหรือไม่ "

สุภูติทูลตอบว่า " มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า "

" สุภูติ ฝุ่นละอองทั้งหลายเหล่านี้ ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ฝุ่นละออง เป็นเพียงนามว่าฝุ่นละออง ตถาคตกล่าวว่าโลกธาตุ มิใช่โลกธาตุเป็นเพียงนามว่าโลกธาตุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ไม่สามารถอาศัยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด
ตถาคตตรัสว่ามหาปุริสลักษณะ ๓๒ มิใช่ลักษณะเป็นเพียงนามว่ามหาปุริสลักษณะ ๓๒ "

" สุภูติ หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้ใช้ชีวิตเปรียบเท่าจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน แต่หากได้มีบุคคล ได้สมาทานตามพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโศลก ๔ บาทมาประกาศสาธยายแก่ผู้อื่นบุญวาสนาดังกล่าวจะมากมายยิ่งกว่านัก " :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2011, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๔. ห่างลักษณ์ นิรวัณ

ครั้งนั้นแล สุภูติได้สดับพระสูตรนี้ ได้เกิดความซาบซึ้งแจ่มชัดในอรรถจนสะอื้นไห้ จึงกราบทูลพระสุคตว่า " หาได้ยากหนักหนาข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรอันลุ่มลึกเช่นนี้ ตั้งแต่อดีตที่ข้าพระองค์ได้ปัญญาจักษุเป็นต้นมา ยังมิเคยได้สดับพระสูตรเช่นนี้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากได้มีบุคคลสดับพระสูตรนี้ จนเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ เช่นนี้ก็จะบังเกิดปรมัตถ์ขึ้น ควรรู้ว่าบุคคลนี้ ได้บรรลุในบุญกุศลอันยอดเยี่ยมที่หาได้ยากโดยหนักหนา "

" ข้าแต่พระสุคต อันว่าปรมัตถ์ มิใช่ลักษณะ ฉะนั้นพระตถาคตจึงตรัสนามว่าปรมัตถ์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ข้าพระองค์ได้สดับพระสูตรนี้ เกิดความกระจ่างเชื่อมั่นและนำปฏิบัติยังไม่นับว่ายาก แต่หากในอนาคตกาล หลัง ๕๐๐ ปี มีเวไนยสัตว์ที่ได้สดับพระสูตรฉบับนี้จนเกิดความกระจ่างเชื่อมั่นและนำปฏิบัติบุคคลนี้นับว่ายอดเยี่ยมชนิดหาได้โดยยากทีเดียว เพราะเหตุใด บุคคลนี้ไร้อาตมลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ทั้งนี้เพราะเหตุใด อาตมะลักษณะก็คือมิใช่ลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ก็คือมิใช่ลักษณะ จึงจะได้ชื่อว่าพระพุทธะทั้งหลายแล "

พระสัมพุทธเจ้าตรัสแก่สุภูติว่า " สาธุ สาธุ หากมีบุคคลได้สดับพระสูตรนี้ โดยไม่วิตก ไม่หวั่น ไม่กลัว ควรรู้ว่าบุคคลนี้ หาได้ยากหนักหนา เพราะเหตุใด สุภูติ ตถาคตกล่าวว่า บารมีอันยอดเยี่ยม มิใช่บารมีอันยอดเยี่ยม เป็นเพียงนามว่าบารมีอันยอดเยี่ยม "

" สุภูติ ขันติบารมี ตถาคตกล่าวว่ามิใช่ขันติบารมี เป็นเพียงนามว่าขันติบารมี เพราะเหตุใด สุภูติ ดั่งที่เราในอดีตได้ถูก
กลิราชาห้ำหั่นกายา เราในขณะนั้น ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด ขณะที่เราในอดีตได้ถูกห้ำหั่นเป็นชิ้น ๆ หากได้มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะแล้ว ควรเกิดความโกรธพยาบาท สุภูติ หวนระลึกกลับไป ๕๐๐ ชาติก่อน สมัยเมื่อเราเป็นกษานติวาทีดาบส ขณะอยู่ในชาตินั้น ไร้อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ "

" ด้วยเหตุนี้ สุภูติ พระโพธิสัตว์ ควรห่างจากลักษณะทั้งปวง และบังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรบังเกิดจิตที่ไร้สิ่งดำรง หากใจมีการดำรง ก็คือมิใช่ดำรง ดังนั้น พระสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่าจิตของพระโพธิสัตว์ ไม่ควรดำรงรูปบริจาคทาน สุภูติ พระโพธิสัตว์เพื่อยังประโยชน์สุขแก่เหล่าเวไนยสัตว์พึงบริจาคทานด้วยประการเช่นนี้ "

" ตถาคตกล่าวว่าลักษณะทั้งปวง มิใช่ลักษณะ และกล่าวว่าเวไนยสัตว์ทั้งปวง มิใช่เวไนยสัตว์ สุภูติ ตถาคตคือผู้กล่าว
สัจจวาจา ภูตวาจา ตถาวาจา อวิตถวาจา อนัญญถวาจา สุภูติ ธรรมที่ตถาคตได้รับ ธรรมนี้ไร้ความเต็มเปี่ยม ไร้ความว่างสูญ "

" สุภูติ หากใจของพระโพธิสัตว์ดำรงในธรรมและบริจาคทานก็จะเปรียบดั่งคนสู่ที่มืดที่จะไร้การมองเห็นอย่างสิ้นเชิง แต่หากใจของพระโพธิสัตว์ไม่ดำรงในธรรมและบริจาค เปรียบดั่งคนมีดวงตา ครั้นแสงสุรีย์สาดส่องก็จะเห็นสรรพสีสันนานา "

" สุภูติ ในอนาคตกาล หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา สามารถสมาทานสวดท่องในพระสูตรนี้ ก็คือพระตถาคต ด้วยพุทธปัญญา เราล้วนรู้บุคคลนี้ เราล้วนเห็นบุคคลนี้ ต่างจักได้บรรลุในบุญกุศลอันไร้ขอบเขตที่มิอาจประเมินปริมาณได้ "
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2011, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๕. บุญกุศลของการถือสูตร

" สุภูติ หากได้มีกุลบุตร กุลธิดาในยามเช้า ได้ใช้กายาเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน ในยามเที่ยงได้ใช้กายาเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน ในยามเย็น ก็ได้ใช้กายาเปรียบดั่งจำนวนเม็ดทรายในคงคานทีบริจาคทาน และได้กระทำเช่นนี้นับร้อยพันหมื่น กระทั่งร้อยล้านกัปจนไม่อาจประมาณได้ แต่หากได้มีบุคคลสดับพระสูตรนี้ จนบังเกิดจิตศรัทธา ไม่คัดค้าน บุญที่ได้รับยังจะเหนือยิ่งกว่าบุญประการแรก จึงมิไยต้องกล่าวถึงการได้คัดเขียนสมาทานสวดท่อง และประกาศสาธยายแก่บุคคลอื่นเลย

" สุภูติ โดยสรุปความสำคัญแล้ว พระสูตรนี้มีบุญกุศลอันมิอาจจินตนาการ มิอาจประมาณ และไร้ขอบเขต ซึ่งตถาคตจะกล่าวแก่ผู้มุ่งในมหายาน จะกล่าวแก่ผู้มุ่งในอนุตตรยาน และหากมีบุคคลได้สมาทานสวดท่อง ทั้งประกาศสาธยายแก่ผู้คนอย่างกว้างขวางตถาคตล้วนรู้บุคคลนี้ ต่างได้สำเร็จในบุญกุศลที่มิอาจคะเน มิอาจประมาณ ไร้ขอบเขตและมิอาจจินตนาการ บุคคลดั่งนี้เป็นต้น ก็จะเป็นผู้แบกรับอนุตตรสัมมาสัมโพธิแห่งพระตถาคต เพราะเหตุใด "

" สุภูติ หากบุคคลใดเป็นผู้ยินดีในธรรมอันคับแคบ ยึดติดในอาตมะทัศนะ บุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ ก็จะมิอาจสดับ รับสวดท่องในพระสูตรนี้ ทั้งไม่สามารถเจริญสาธยายแก่บุคคลอื่น "

" สุภูติ ในทุกสถานที่ หากมีพระสูตรนี้ เหล่าเทพมนุษย์อสูรในโลกล้วนต้องบูชาสักการะ ควรรู้ว่าสถานที่นี้ ก็คือสถูปเจดีย์ ล้วนควรเคารพนบไหว้ กระทำประทักษิณ และนำบุปผชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา " :b41:

:b42: ๑๖. สามารถชำระอุปสรรคแห่งกรรม

" อนึ่ง สุภูติ หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้สมาทานสวดท่องพระสูตรฉบับนี้ แต่ยังถูกบุคคลอื่นหมิ่นประมาทอีก อันบาปกรรมของบุคคลนี้แต่ชาติอดีต ควรต้องตกสู่ทุคติภูมิ แต่ด้วยเหตุที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากผู้คนในชาตินี้ อันบาปกรรมในอดีตชาติก็จะดับสูญไป และจะได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ "

" สุภูติ เราได้ย้อนระลึกไปในอดีตนับด้วยอสงไขยกัปที่มิอาจประมาณได้ อันเป็นกาลก่อนสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า เราได้เฝ้าปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้านับหลายพันล้านโกฎิอายุตะองค์โดยมิได้ว่างเว้น แต่หากมีบุคคลอื่น ในยุคปลายแห่งอนาคตที่สามารถสมาทานสวดท่องพระสูตรนี้ บุญกุศลที่ได้รับ จักมากมายยิ่งกว่าบุญกุศลุที่เราได้บูชาพระพุทธเจ้า แม้เป็นหนึ่งในร้อยก็มิอาจได้ หรือกระทั่งเป็นหนึ่งในพันหมื่นร้อยล้านก็ยังมิอาจเทียม จนกระทั่งเป็นสิ่งที่จำนวนตัวเลขมิอาจกล่าวบรรยายได้เลย "

" สุภูติ หากมีกุลบุตร กุลธิดาในยุคปลายแห่งอนาคต ได้มีการสมาทานสวดท่องพระสูตรฉบับนี้ บุญกุศลที่ได้รับ หากเราจะกล่าวให้กระจ่าง และมีบุคคลใดได้สดับ ก็จะบังเกิดความวุ่นวายแห่งจิต มีวิจิกิจฉาไม่เชื่อถือเลย "

" สุภูติ ควรรู้ความหมายของพระสูตรนี้มิอาจจินตนาการผลานิสงส์ก็มิอาจจินตนาการด้วยเช่นกัน " :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2011, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๗. ที่สุดคือไร้อาตมะ

โดยสมัยนั้นแล สุภูติได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตร กุลธิดาเมื่อได้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงจิตอย่างไร และควรจะสยบจิตอย่างไร "

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่สุภูติว่า " กุลบุตร กุลธิดา ผู้ได้บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต ควรบังเกิดจิตใจดั่งนี้ว่า เราจังโปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวง ครั้นได้โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวงแล้ว ก็หาได้มีเวไนยสัตว์แม้นเพียงหนึ่งที่ได้รับการโปรดไม่ เพราะเหตุ สุภูติ หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ก็จะไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ทั้งนี้เพราะเหตุใด สุภูติ ความจริงไม่มีธรรมที่บังเกิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิจิตเลย "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นใด ตถาคตประทับอยู่ ณ สำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ได้มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา "

" ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตามที่ข้าพระองค์เข้าใจในความหมายแห่งธรรมอรรถของพระพุทธองค์นั้น ขณะพระองค์ประทับอยู๋ ณ สำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ไม่มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย "

พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า " สาธุ สาธุ สุภูติ ความจริง ไม่มีธรรมที่ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ หากมีธรรมที่ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ พระทีปังกรพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงประทานพรแก่เราว่า เราใจอนาคตกาล จักได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระศากยมุนี ก็เพราะไม่มีธรรมที่ได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ฉะนั้น พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงได้ประทานพรแก่เรา และตรัสดังนี้ว่า เราในอนาคตกาลจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระศากยมุนี เพราะเหตุใด อันว่าตถาคตนั้น ก็คือ ปวงธรรมดั่งความหมายแห่งตถาตา "

" หากมีบุคคลกล่าวว่า ตถาคตได้รับอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ แท้จริงไร้ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ อนุตตรสัมมาสัมโพธิที่ตถาคตได้รับ ในความจริงไร้ความเต็มเปี่ยม ไร้ความว่างสูญ ด้วยเช่นนี้ ธรรมทั้งปวงที่ตถาคตกล่าว ล้วนเป็นพุทธธรรม "

" สุภูติ ธรรมทั้งปวงที่ได้กล่าวมิใช่ธรรมทั้งปวง เป็นเพียงนามว่าธรรมทั้งปวงเท่านั้น สุภูติ อุปมาดั่งคนที่มีกายใหญ่โต "

สุภูติทูลว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตตรัสว่าคนที่มีกายใหญ่โต มิใช่กายใหญ่ เป็นเพียงนามว่ากายใหญ่โตเท่านั้น "

" สุภูติ พระโพธิสัตว์ก็ควรเป็นเช่นนี้ หากกล่าวกันเช่นนี้ว่า เราจักโปรดเวไนยสัตว์อันไม่อาจคะเนนี้แล้ว ก็จะมิใช่นามว่าพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุใด สุภูติ แท้จริงไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์ ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงกล่าวว่าธรรมทั้งปวง
ไร้อาตมะ ไร้บุคคละ ไร้สัตวะ ไร้ชีวะ "

" สุภูติ หากพระโพธิสัตว์กล่าวเช่นนี้ว่า เราจักตบแต่งอลังการพุทธเกษตร ก็จะมิใช่นามว่าพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุใด ตถาคตกล่าวว่าตบแต่งอลังการพุทธเกษตร มิใช่อลังการ เป็นเพียงนามว่าอลังการเท่านั้น "

" สุภูติ หากพระโพธิสัตว์แจ่มแจ้งในธรรมอันไร้อาตมะแล้ว ตถาคตจึงจะกล่าวว่าเป็นนามพระโพธิสัตว์จริง "
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ๑๘. หนึ่งเดียว สมทัศน์

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตมีมังสจักษุ "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตมีมังสจักษุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตมีทิพยจักษุหรือ "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตมีทิพยจักษุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตมีปัญญาจักษุหรือ "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตถาคตมีปัญญาจักษุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตมีธรรมจักษุหรือ "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตมีธรรมจักษุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถคาคตมีพุทธจักษุหรือ "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตมีพุทธจักษุ "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร อุปมาดั่งเม็ดทรายทั้งหมดในคงคานที ตถาคตกล่าวว่าทรายฤา "
" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตตรัสว่าเป็นทราย "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร อุปมาให้เม็ดทรายทั้งหมดในหนึ่งสายคงคานที เปรียบให้เป็นคงคานทีอีกที และให้จำนวนเม็ดทรายในคงคานทีเหล่านั้น คือ พุทธโลกธาตุ ด้วยจำนวนนี้ถือว่ามากหรือไม่ "

" มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า "

พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า " ในอาณาเขตดินแดนของเธอ ปวงเวไนยสัตว์ทั้งหลาย มีใจประเภทต่าง ๆ กัน ตถาคตล้วนแจ่มแจ้งในใจต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะเหตุใด ตถาคตกล่าวว่าใจเหล่านั้นล้วนมีใช่ใจ เป็นเพียงนามว่าใจ ทั้งนี้เพราะเหตุใด สุภูติ ใจอดีตไม่ควรมี ใจปัจจุบันไม่ควรมี ใจอนาคตไม่ควรมี " :b41:

:b42: ๑๙. แจ้งในความแปรแห่งธรรมธาตุ

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร หากมีบุคคลนำสัปตรัตนะที่มีปริมาณเปี่ยมมหาตรีสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน บุคคลนี้ด้วยเหตุเช่นนี้ ได้รับบุญมากมายหรือไม่ "

" สาธุ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลนี้ด้วยเหตุปัจจัยเช่นนี้ ได้รับบุญมากมายยิ่งนัก "

" สาธุ สุภูติ หากบุญวาสนามีจริง ตถาคตจะไม่กล่าวว่าได้รับบุญวาสนามากมาย แต่เนื่องด้วยบุญวาสนาไม่มี ตถาคตจึงกล่าวว่าได้รับบุญวาสนามากมาย " :b41:

:b42: ๒๐. ห่างรูป ห่างลักษณ์

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร พระพุทธเจ้าสามารถเห็นได้ด้วยรูปกายที่พร้อมมูลหรือไม่ "
" ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตไม่ควรเห็นได้ด้วยรูปกายที่พร้อมมูล เพราะเหตุใด ตถาคตตรัสว่ารูปกายที่พร้อมมูล มิใช่รูปกายที่พร้อมมูล เป็นเพียงนามว่ารูปกายที่พร้อมมูล "

" สุภูติ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ตถาคตสามารถเห็นได้ด้วยเหล่าลักษณะที่พร้อมมูลหรือไม่ "
" ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตไม่ควรเห็นได้ด้วยเหล่าลักษณะที่พร้อมมูล เพราะเหตุใด ตถาคตตรัสว่าเหล่าลักษณะพร้อมมูล มิใช่พร้อมมูล เป็นเพียงนามว่าเหล่าลักษณะพร้อมมูล "
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน Flame เขียน:
ธรรมสวัสดีทุกท่านครับ สบายดีบ้างไหมครับ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว รู้สึกอย่างไรกันบ้าง
หรือบางท่านอ่านพระสูตรนี้จบหลายรอบแล้ว
อนุโมทนาด้วยนะครับ smiley

ป.ล. ในบทที่เก้านี้
สังเกตว่า พระองค์ใช้โสดาปัตติผล สกทาคามีผล และอนาคามีผล
แต่ในเรื่องของอรหันต์พระองค์ใช้อรหัตตมรรค
ตอนนี้ตัวผมก็ยังไม่เข้าใจเหตุผลเช่นกันครับ
วานผู้รู้ช่วยบอกด้วยนะครับ

ธรรมรักษา :b47:


tongue ข้าพเจ้าสบายดี ติดตามอ่านอยู่ทุกวัน
ในความเห็นของข้าพเจ้า (ไม่ใช่ความรู้ และไม่ใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้ศึกษา ผิดถูกขออภัย เข้าใจว่า.... :b8:

เหตุผลคือ...

ทางคือจุดหมาย จุดหมายคือทาง

เพราะเป็นอิสระจากกิเลสตัณหา อวิชชาและมายาสิ่งสมมุติทั้งปวงแล้ว...


ดังเช่นที่...

พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า " ลักษณะทั้งหลายล้วนเป็นมายา หากเห็นลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต "

" ธรรมที่พระตถาคตแสดง ล้วนมิอาจยึด มิอาจกล่าวมิใช่ธรรม มิใช่อธรรม
ทั้งนี้เพราะเหตุใด เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรมและเกิดความแตกต่าง "
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 03:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณมัท ที่ช่วยอธิบายครับ แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี
สงสัยตัวเองนี่จะโง่เขลา เลยยังไม่เข้าใจ

ทำไมถึงใช้อรหัตตมรรค ไม่ใช้อรหัตตผล :b6:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร