วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 17:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




14492493_968400806622884_8306769577153214351_n.jpg
14492493_968400806622884_8306769577153214351_n.jpg [ 64.99 KiB | เปิดดู 6995 ครั้ง ]
อกุศลสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๙ หมวด คือ

๑. อาสวะ ๒. โอฆะ ๓. โยคะ ๔. คันถะ ๕. อุปาทาน ๖. นีวรณ์ ๗. อนุสัย ๘. สังโยชน์ ๙. กิเลส

อาสวะ มี ๔ คือ
๑. กามาสวะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องไหลอยู่ในกามคุณอารมณ์
อธ.ได้แก่ โลภะเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
๒. ภวาสวะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องไหลอยู่รูปภพ อรูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน
อธ. ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐาสวะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องไหลอยู่ในความเห็นผิด อธ. ได้แก่
ทิฏฐิเจตสิกที่ใน โลภทิฎฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชชาสวะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องไหลอยู่ในความหลง ความโง่
อธ. ได้แก่ โมหะเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
(อธ. องค์ธรรม)

อาสวนฺติ จิรํ ปริวสนฺตีติ อาสวา ฯ สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ

อาสว =อา(วัฏฏทุกข์ที่ยาวนาน หากำหนดมิได้)+สว(เจริญรุ่งเรือง) = ธรรม ที่ทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนาน
ไม่มีกำหนดนั้น เจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด

อายตํ สงฺสารทุกฺขํ สวนฺติ ปสวนฺติ วฑฺเฒนฺตีติ อาสวา ฯ ธรรมเหล่าใด ทำให้วัฏฏทุกข์ที่ยาวนานนั้นเจริญรุ่งเรือง
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

ภวโต อาภวคฺคา ธมฺมโต อาโคตฺรภุมฺหา สวนฺติ อารมฺมณกรณวเสน ปวตฺตนฺตีติ อาสวา ฯ ธรรมเหล่าใดไหลไปถึงหรือเกิดได้ถึง
ว่าโดยภูมิถึงภวัคคภูมิ ว่าโดยธรรมถึงโคตรภู ด้วยอำนาจกระทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

อาสว = อา(มีขอบเขตถึงภวัคคภูมิ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หรือมี ขอบเขตถึงโคตรภู) + สว(เกิดได้ไหลไปได้)

กิเลสนี่แหละ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ก็เคยชิน เลยสะสมจมดองอยู่ในจิตตสันดาน ครั้นจิตประสบกับอารมณ์ใด
ด้วยความเคยชินของกิเลสที่หมักหมมจมดองอยู่ ก็ขึ้น มาปรุงแต่งจิตให้น้อมไปตามกิเลสนั้น ๆ
อาการที่หมักหมมจมดองอยู่เช่นนี้ จึงเรียก ว่า อาสวะ เมื่อยังมีอาสวะอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยังต้องวนเวียนอยู่ใน สังสารวัฏฏ

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ (อัฏฐสาลินี)

แปลความว่า ลำดับของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอยู่โดยไม่ขาดสายนั้น เรียกว่า สังสาระ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6940.jpg
Image-6940.jpg [ 52.19 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
โอฆะ มี ๔ คือ
๑. กาโมฆะ ธรรมชาติที่เป็น ห้วงแห่งกาม พาให้สัตว์จมอยู่ในกามคุณอารมณ์ทั้ง ๕
อธ. ได้แก่ โลภะเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
๒. ภโวฆะ ธรรมชาติที่เป็น ห้วงแห่งภพพาให้สัตว์จมอยู่ในความยินดีในอัตตภาพของตน ตลอดจนอยากได้ถึง
รูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน อธ. ได้แก่ โลภะเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏโฐฆะ ธรรมชาติที่เป็น ห้วงแห่งความเห็นผิดพาให้สัตว์จมอยู่ในความเห็นผิด จากความเป็นจริงของสภาวธรรม
อธ. ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใทฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชโชฆะ ธรรมชาติที่เป็น ห้วงแห่งความหลง พาให้สัตว์ลุ่มหลงจมอยู่ในความไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง
คือโง่ จึงได้ โลภ โกรธ หลง อธ. ได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุศลจิต ๑๒

รวมโอฆะมี ๔ แต่ องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฎฐิเจตสิก โมหเจตสิก (เท่ากับ อธ.ของอาสวะ)

อวตฺถริตฺวา หนนฺตีติ โอฆา ฯ ธรรมชาติใดย่อมทับเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นชื่อว่าโอฆะ คือ ห้วงน้ำ
อวหนนฺติ โอสีทาเปนฺตีติ โอฆา ฯ ธรรมชาติใดทำให้สัตว์จมลง ธรรมชาตินั้ชื่อว่า โอฆะ
โอฆะ มีความหมายว่า เป็นอ่าวหรือเป็นห่วงน้ำ และเป็นห้วงน้ำที่ไหลวน มีลักษณะที่ดูดสัตว์ใหจมลงสู่ที่ต่ำ
กล่าวโดยภูมิและกล่าวโดยจิตก้เป็นไปในทำนองเดียวกับอาสวะ กล่าวคือ จมอยู่ในระหว่างอบายถึงพรหม
จนกว่าจะแหวกว่ายไปจนถึงโคตรภูญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (48).png
unnamed (48).png [ 50.96 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
โยคะ มี ๔ คือ
๑. กามโยคะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
อธ. ได้แก่ โลภะเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘
๒. ภโยคะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่งประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในความยินดีใน
อัตตภาพของตน ตลอดจนอยากได้ถึง
รูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน อธ. ได้แก่ โลภะเจตสิก
ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐิโยคะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในความเห็นผิด
จากความเป็นจริงของสภาวธรรม
อธ. ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใทฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชาโยคะ ธรรมชาติที่เป็นเครืองประกอบสัตว์ติดอยู่ในความหลง
ความโง่ ไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง
อธ. ได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุศลจิต ๑๒

รวมโอฆะมี ๔ แต่ องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฎฐิเจตสิก
โมหเจตสิก (เท่ากับ อธ.ของอาสวะและ โยคะ)

วฏฺฏสฺมึ สตฺเต โยเชนฺตีติ โยคา ฯ ธรรมที่ประกอบกับสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ (คือภพต่างๆ) นั้นชื่อว่าโยคะ

โยคะ หมายความว่า เครื่องประกอบ ทำหน้าที่ประกอบสัตวทั้งหลายไว้ในสังสารทุกข์ เหมือตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้

อีกนัยหนึ่งหมายความว่า ประกอบให้ติดแน่นใสงสารวัฏฏ์เหมือนติดไว้ด้วย
กาว ยากแก่การที่จะถอนให้หลุดพ้จากวัฏฏสังสาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




c (1).gif
c (1).gif [ 12.5 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
คันถะ มี ๔ คือ

๑. อภิชฌากายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกาย ไว้โดยอาการผูกพันผูกมัดอยู่กับความยินดี
ชอบใจ อยากได้ อยู่ในกามคุณอารมณ์ อธ. ได้แก่โลภะเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
อภิชฌา ที่เป็นคันถะนี้แตกต่างกับอภิชฌาที่เป็มโนทุจจริต คือ อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริตนั้นเป็นโภะอย่างหยาบ
มีสภาพอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่เป็นธรรม
ส่วนอภิชฌาที่เป็นคันถะนี้ เป็นโลภะอย่างหยาบและอย่างละอียดทั้งหมด ที่เกี่ยวกับความอยากได้
ความชอบใจในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นหรือแม้แต่ของตนเอง จะโดยชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม จัดเป็นอภิชฌากายคันถะทั้งสิ้น
๒. พยาปาทกายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกาย ไว้โดยความโกรธ จะถึงความปองร้ายหรือไม่ก็ตาม อธ. ได้แก่ โทสะเจตสิก ที่ในโทสะมูลจิต ๒ ดวง
พยาปาทที่เป็นคันถะนี้ แตกต่างกับพยาปาทที่เป็นมโนทุจริต คือ พยาปาทที่เป็นมโนทุจริต
ได้แก่โทสะอย่างหยาบ เกี่ยวกับการปองร้ายผู้อื่น ตลอดจนการนึกคิดให้เขามีความลำบาก เสียหายต่างๆ
หรือนึกแช่งผู้อื่นที่เราไม่ชอบใจนั้นให้ถึงแก่ความตาย
ส่วน พยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ได้แก่โทสะอย่างละเอียด อย่างหยาบก็ตาม คือ ความไม่ชอบใจ โกรธ เกลียด กลุ้มใจ เสียใจ ตลอดไปจนถึงการทำปาณาติบาต ผรุสวาท เหล่านี้ จัดเป็นพยาปาทกายคันถะทั้งสิ้น
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกาย ไว้โดยอาการยึดถือในการปฏิบัติผิด
ว่าปฏิบัติอย่างนี้แหละเป็นหนทางพ้นทุกข์ โดยเข้าใจว่าเป็นการถูกต้องแล้วชอบแล้ว แต่หากว่ามีผู้รู้แนะนำสั่งสอนทางถูกต้องให้
ก็สามารถกลับใจได้ จึงเปรียบไว้ว่าเป็นทิฎฐิชั้นลูกศิษยพอที่จะแก้ไขให้ถูกได้ อธ. ได้แก่ทิฎฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อิทังสัจจาภิเวสกายคันถะ ธรรมชาติที่เกี่ยวคล้องนามกาย รูปกาย ไว้โดยอาการยึดมั่นในความเห็นผิดว่าของตนถูก ความเห็นของคนอื่นผิด นอกจากนั้นยังหมิ่นและเหยียบย่ำทับถมวาทะหรือมติของผู้อื่นด้วย
ถึงแม้จะมีผู้รู้มาชี้แจงแสดงเหตุผลในทางที่ถูกที่ชอบประการใดๆ ก็ไม่ย่อมกลับใจได้เลย จึงข้อเปรียบไว้เป็นทิฏฐิชั้นอาจารย์ เพราะไม่สามารถที่จะแก้มาเป็นในทางที่ชอบได้ อธ. ได้แก่ทิฎฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

คันถะ มีความหมายว่า ผูกมัดหรือทำให้เป็นปม อีกนัยหนึ่งหมายความว่า เป็นที่ร้อยรัดไว้
ในระหว่าง จุติ-ปฏิสนธิ ให้เกิดต่อเองกันไม่ให้พ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




dolphin_PNG9132.png
dolphin_PNG9132.png [ 89.17 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
อุปาทาน = (มั่น)+อทาน(ยึด) = ยึดมั่น
อุปาทียนฺตีติ อุปาทานานิฯ ธรรมชาติใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คยฺหนฺตีติ อุปาทานานิฯ ธรรมเหล่าใดยึดถืออย่างแรงกล้า(คือถือไว้ไม่ปล่อย) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอุปาทาน
ตัณหา คือความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้
อุปาทาน คือความยึดมั่นในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้วโดยไม่ยอมปล่อย
หรืออีกนัยหนึ่ง
ตัณหา คือความชอบใจต้องการอารมณ์ที่ตนได้มาครั้งแรก
อุปาทาน คือความติดใจในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หายครุ่นคิดถึงเสมอ

ตัณหา เปรียบดังต้นไม้ที่เล็กอยู่ ถอนได้ง่าย
อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่โตแล้ว ถอนยาก เพราะรากแก้วลงลึกเสียแล้ว
อุปาทาน มี ๔ คือ
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น อธ. ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ และทิฏฐิ ๖๒ (ที่นอกจาก สีลัพพตทิฎฐิ และสักกายทิฏฐิซึ่งกล่าวต่อไปในข้อ ๓ และข้อ ๔)
อธ. ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโคและสุนัขเป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติที่นอกจาก มัชฌิมาปฏิปทา
การปฏิบัติผิดเช่นนี้ บางทีก็เรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ อธ. ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนหรือว่ามีตัวตนอยู่ในขันธ์ ๕ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฎฐิ่นเอง
อธ. ได้แก่ ทิฎฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
รวมอุปาทานมี ๔ แต่องค์ธรรมมี ๒ เท่านั้นคือ โลภเจตสิก และทิฏฐิเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




0_7a56e_4b769dc4_M.png
0_7a56e_4b769dc4_M.png [ 58.43 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
ฌานาทิกํ นิวาเรนฺตีติ นิวรณานิ ฯ ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุศลธรรม มีฌานเป็นต้น ไม่ให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นซื่อว่านิวรณ์
นิวรณ เป็นเครื่องกั้นขัดขวางเครื่องหห้ามในการกระทำความดี ห้าม ฌาน มรรค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้
นิวรณ นั้นมี ๖ ประการ
๑. กามฉันทนิวรณ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความพอใจในกามคุณอารมณ์
เมื่อชอบใจในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะกระทำความดีมี ฌาน มรรค เป็นต้น
อธ. ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. พยาปาทนิวรณ ธรรมชาติขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์
เมื่อจิตใจมีความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว ก็ย่อมขาดปิติความอิ่มใจในการกระทำความดีมี ฌาน เป็นต้น
๓. ถีนมิทธนิวรณ ธรรมชาติที่ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์
เมื่อจิตหดหู่ท้อถอยเสียแล้ว ก็ย่อมขากวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะกระทำความดี
อธ.ได้แก่ ถีนะเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุศลสสังขาริกจิต ๕
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องขัดขวางไว้เพราะความคิดฟุ้งซ่าน
รำคาญใจเมื่อจิตใจเป็นดังนี้แล้ว ก็ย่อมขาดความสุขใจในอันที่จะกระทำความดี
อธ.ได้แก่ อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องขัดขวางความสงสัย ลังเลใจ ขาดความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
เมื่อจิตใจเกิดความลังเลสงสัยเสียแล้ว ก็ย่อมขาการพิจารณากระทำความดี
อธ.ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑
๖. อวิชชานิวรณ์ ธรรมชาติขัดขวางไว้ไม่ให้รู้ มีการกระทำให้หลงลืมขาดสติ
ไม่ให้ระลึกถึงความดีที่ตนจะกระทำ อธ.ได้แก่ โมหะเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

รวมนิวรณ์มี ๖ แต่องค์ธรรม มี ๘ คือ
โลภเจตสิก โทสเจตสิก ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก โมหเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




20170816_175254.png
20170816_175254.png [ 124.32 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
อนุสัย มี ๗ คือ
๑. กามราคาสัย สันดานที่ชอบใจใกมคุณอารมณ์ อธ.ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในอัตตภาพของตนและชอบใจในรูปภพ อรูปภพ อธ.ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฎฐิคตวิปปยุตจิต ๔
๓. ปฏิฆานุสัย สันดานที่โกรธเคือง ไม่ชอบใจในอารมณ์ อธ.ได้เเก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๔. มานานุสัย สันดานที่ทะนงตน ถือตัว ไม่ยอมลงให้แก่ใคร อธ.ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฎฐานุสัย สันดานที่มีความเห็นผิด อธ.ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉานุสัย สันดานที่มีความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ อธ.ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปปยุตตจิต ๑
๗. อวิชชานุสัย สันดานที่มีความลุ่มหลงเมามัว เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง อธ.ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
รวมอนุสัยมี ๗ แต่ อธ.มีเพียง ๖ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฎฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก และ โมหเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2016, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




crow_8_by_peroni68-d3ima8y.png
crow_8_by_peroni68-d3ima8y.png [ 126.33 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
สํโยเชนฺ พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน์
คำว่า สังโยชน์ หมายถึง ธรรมชาติที่ผูกสัตว์ทั้งหลายไว้
ไม่ให้ออกไปจากวัฏฏทุกข์ได้ เหมือนเชือกที่ผูกสัตว์ หรือสิ่งของไว้ไม่ให้หลุดไป
ตามธรรมดาในสันดานของปุถุชนเหล่านั้น ย่อมมีธรรมชาติชนิดหนึ่ง
ที่เปรียบเสมือนเส้นเชือกใหญ่ ๑๐ เส้นด้วยกัน ซึ่งทำการผูกมัดสัตว์ทั้งหลายไว้
ไม่ให้หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้ เชือก ๑๐ เส้นนี้ ได้แก่ สังโยชน์นั่นเอง
และในบรรดาเชือกคือสังโยชน์ ๑๐ เส้นเส้นเหล่านี้ ถ้าหากเส้นหนึ่งเส้นใดมีอาการตึงแล้ว
สังโยชน์เส้นนั้นก็จะนำสัตว์นั้น ให้ไปเกิดในภูมิที่เกี่ยวกับสังโยชน์นั้น ๆ โดยอาศัยกรรมที่สัตว์นั้น ๆ กระทำขึ้น

การจำแนกสังโยชน์ ๑๐ ตามสุตตันตนัย โดย โอรัมภาคิย และอุทธัมภาคิยะ
๑. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ได้แก่ กามภูมิ มี ๕ คือ
๑. กามราคาสังโยชน์ ๒. ปฏิฆาสังโยชน์ ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ ๔. สีลัพพตสังโยชน์ ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๒. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องสูง ได้แก่ รูปภูม อรูปภูมิ มี ๕ คือ
๑. รูปราคสังโยชน์ ๒. อรูปราคสังโยช์ ๓. มานสังโยชน์ ๔ อุทธัจจสังโยชน์ ๕. อวิชชาสังโยชน์

จำแนกสังโยชน์ ๑๐ ตามอภิธรรมนัย โดย โอรัมภาคิย และ อุทธัมภาคิยะ
๑. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปใส่วนเบื้องต่ำ มี ๗ คือ
๑. กามราคาสังโยชน์ ๒. ปฏิฆาสังโยชน์ ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ ๔. สีลัพพตสังโยชน์
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๖. อิสสาสังโยชน์ ๗. มัจฉริยสังโยชน์
๒. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องสูง มี ๓ คือ
๑. ภวราคสังโยชน์ ๒. มานสังโยชน์ ๓. อวิชชาสังโยชน์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2016, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




1-UNYLDczYa_tZdQLqyS45Iw.gif
1-UNYLDczYa_tZdQLqyS45Iw.gif [ 27.64 KiB | เปิดดู 6583 ครั้ง ]
ในอกุศลสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๙ หมวด คือ

๑. อาสวะ ๒.โอฆะ ๓. โยคะ ๔. คันถะ ๕. อุปาทาน ๖. นีวรณ์ ๗. อนุสัย ๘. สังโยชน์ ๙. กิเลส

กิเลสมี ๑๐ ประการคือ
๑. โลภกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ อธ. ได้แก่ โลภะเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. โทสกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖ อธ. ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๓. โมหกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะความเมามัวลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัชญะ อธ. ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในโมหมูลจิต ๑๒
๔. มานกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว อธ. ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฏฐิกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตามความเป็นจริง อธ. ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฎฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉากิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะความลังเลสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นต้น อธ. ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร อธ. ได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุศลจิตสสังขาริกจิต ๕
๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะเกิดความฟุ้งซ่าน ไปในอารมณ์ต่างๆ อธ. อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำต่อบาป อธ. ได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทำบาป อธ. ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

โสดาปัตติมรรค ประหาร ทิฎฐิ และ วิจิกิจฉา
อนาคามมิมรรค ประหร โทสะ
อรหันตมรรค ประหารกิเลสที่เหลือ คือ โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร