วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2018, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญญา ๑ ว่าโดยลักษณะมีอย่างเดียว คือ มีการรู้แจ้งสภาวะแห่งธรรม

ปัญญา ๒ อย่าง มี ๕ ทุกะ
๑. โลกียปัญญา และ โลกุตรปัญญา (ปัญญาที่ประกอบด้วยโลกียมัค และโลกุตรมัค)
๒. สาสวปัญญา และอนาสวปัญญา (ปัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ)
๓. นามววัฏฐานปัญญา และรูปวัฏฐานปัญญา(ปัญญที่พิจารณานาม และปัญญาที่พิจารณารูป)
๔. โสมนัสสหคตปัญญา และ อุเบกขาสหคตปัญญา
๕.ทัสสนภูมิปัญญา(ปฐมมัค) และภาวนาภูมิปัญญา(มัคที่เหลือ ๓)

ปัญญา ๓ มี ๔ ติกะ
๑.จินตามยปัญญา, สุตมยปัญญา, และภาวนามยปัญญา
๒. ปริตตารัมมณปัญญา, มหัคคตารัมมณปัญญา, อัปปมาณารัมมปัญญา
๓. อายโกศล, อปายโกศล, และอุปายโกศล,
๔. อัชฌัตตาภินิเวสปัญญา, พหิทธาภินิเวสปัญญา, อัชฌัตตพหิทธาภินิเวสปัญญา,

ปัญญา ๔ มี ๒ จตุกะ
๑. ญาณในอริยสัจ ๔ คือ
ปัญญารู้ทุกข์, และ ปัญญารู้ทุกขสมุทัย,
ปัญญานู้ทุกขนิโรธ และปัญญรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
๒. ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
ธัมมปฏิสัมภิทา และ อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุติปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2018, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
[๘๐๕] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
สีลมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
[๘๐๖] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา
อธิจิตปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ นี้
เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา
[๘๐๗] อายโกศล เป็นไฉน
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล
อปายโกศล เป็นไฉน
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือเมื่อเรา
พิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิยโยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า
อปายโกศล
ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบาย แก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น
เรียกว่า อุปายโกศล
[๘๐๘] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญาใน
กุศลธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพยากตธรรม
ในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา
[๘๐๙] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทิน-
*นุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิย-
*ปัญญา
[๘๑๐] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา
ปัญญาอันปราศจากวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา
[๘๑๑] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า
อุเปกขาสหคตปัญญา
[๘๑๒] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔
ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา
[๘๑๓] ปัญญาในมรรค ๔ ในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓
ในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวเสกขนา-
*เสกขปัญญา
[๘๑๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า
ปริตตปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม อรูปาวจร-
*กุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา
[๘๑๕] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา
มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา
อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด ปรารภ
อัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา
[๘๑๖] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญาในมรรค ๔
ชื่อมัคคเหตุกปัญญา
มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา
[๘๑๗] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทินี
ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยา-
*กตธรรมในภูมิ ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปปาทินี
[๘๑๘] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอดีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญา
ก็มี เป็นปัจจุปันนปัญญาก็มี
[๘๑๙] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา
อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณปัญญา
ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา
[๘๒๐] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธาปัญญา
ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี
[๘๒๑] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณปัญญา
พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณปัญญา
อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธา-
*รัมมณปัญญา
ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 29&Z=11146

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2018, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๒๒] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัยมีผล โลก
นี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ สมณ-
*พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสส-
*กตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็นสาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
ธัมมนิชฌาน ขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า
เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงดังนี้บ้าง
ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ

http://www.84000.org/tipitaka/read/?35/822/443

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร