วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็ในพระสูตรนี้ตรัสธรรม ๓ ประการ อปัณณกปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติ
ไม่ผิดนี้ ย่อมใช้ได้จนกระทั่งอรหัตผลทีเดียว. ในอปัณณกปฏิปทานั้น แม้
อรหัตผลก็ย่อมชื่อว่าเป็นปฏิปทาแก่การอยู่ด้วยผลสมาบัติ และแก่ปรินิพพาน
ที่ไม่มีขันธ์ ๕ เหลือ. บทว่า เอเก ได้แก่ คนผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง. แม้ใน
บทว่า เอเก นั้น ไม่มีการกำหนดลงไปอย่างแน่นอนว่า คนชื่อโน้น ก็

จริง แต่ถึงกระนั้น คำว่า เอเก ที่แปลว่า พวกหนึ่งนี้ พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะพระโพธิสัตว์พร้อมทั้งบริษัท. บทว่า
ทุติยํ ที่สอง ในบทว่า ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา นักเดากล่าวว่าเป็นฐานะ
ที่สอง นี้ ได้แก่ เหตุแห่งการยึดถือเอาโดยการเดา คือเหตุอันไม่เป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ ว่าเป็นที่สอง จากฐานะอันไม่ผิดที่หนึ่ง คือ จากเหตุอัน
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.

ก็ในบทว่า อาหุ ตกฺกิกา นี้ มีการประกอบความกับบทแรก ดัง
ต่อไปนี้:- คนที่เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง มีพระโพธิสัตว์เป็นประธาน ถือเอา
ฐานะที่ไม่ผิด คือ เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นอน ได้แก่เหตุอันไม่ผิด เหตุ
อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ส่วนนักคาดคะเน มีบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลา

เป็นประธานนั้น กล่าวคือ ได้ถือเอาฐานะที่เป็นไปโดยไม่แน่นอน คือ เหตุ
ที่ผิด ได้แก่ เหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ซึ่งมีโทษ ว่าเป็นที่สอง
บรรดาชนทั้งสองพวกนั้น ชนที่ถือฐานะอันไม่ผิดนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว
ส่วนชนที่ถือเหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ กล่าวคือการยึดถือโดยคาด

คะเนเอาว่า ข้างหน้ามีนํ้า ว่าเป็นที่สองนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาดำ. ในปฏิปทา
สองอย่างนั้น ปฏิปทาขาว เป็นปฏิปทาไม่เสื่อม ส่วนปฏิปทาดำ เป็นปฏิปทา
เสื่อม เพราะฉะนั้น ชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว เป็นผู้ไม่เสื่อม ถึงแก่ความ
สวัสดี ส่วนชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาดำ เป็นผู้เสื่อม ถึงแก่ความพินาศฉิบหาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงเนื้อความดังพรรณนามา
นี้แล้ว ตรัสพระดำรัสนี้ให้ยิ่งขึ้นว่า คนมีปัญญา รู้ฐานะ และมิใช่ฐานะนี้แล้ว
ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เมธาวี ความว่า กุลบุตร
ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันหมดจด สูงสุด ซึ่งได้นามว่า เมธา รู้คุณและโทษ
ความเจริญและความเสื่อม ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ฐานะและมิใช่ฐานะ
ในฐานะทั้งหลายกล่าวคือการยึดถือฐานะไม่ผิด และการยึดถือโดยการคาดคะเน
ทั้งสอง คือ ในฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิด นี้.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า ตํ คณฺเห ยทปณฺณกํ ความว่า ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิด
คือที่เป็นไปโดยแน่นอน เป็นปฏิปทาขาว เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์
กล่าวคือปฏิปทาอันไม่เสื่อมนั้นนั่นแหละไว้. เพราะเหตุไร ? เพราะภาวะมี
ความเป็นไปแน่นอนเป็นต้น. ส่วนนอกนี้ไม่ควรถือเอา. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ภาวะมีความเป็นไปไม่แน่นอน. จริงอยู่ ชื่อว่าอปัณณกปฏิปทานี้ เป็นปฏิปทา

ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรทั้งปวงแล. ก็พระพุทธ-
เจ้าทั้งปวง ตั้งอยู่เฉพาะในอปัณณกปฏิปทาบำเพ็ญบารมีทั้งหลายด้วยความเพียร
มั่น ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ลานต้นโพธิ. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ยังปัจเจก-
โพธิญาณให้เกิดขึ้น แม้พุทธบุตรทั้งหลายก็ตรัสรู้เฉพาะสาวกบารมีญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงประทานกุศลสมบัติทั้ง ๓ กามาวจรสวรรค์
๖ และสมบัติในพรหมโลก แก่อุบาสกเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้ ในที่สุดทรง
แสดงอปัณณกปฏิปทานี้ว่า ชื่อว่าปฏิปทาที่ไม่ผิด ให้อรหัตผล. ชื่อว่าปฏิปทา
ที่ผิด ให้การบังเกิดในอบาย ๔ และในตระกูลตํ่า ๕ แล้วทรงประกาศอริยสัจ
๔ โดยอาการ ๑๖ ให้ยิ่งขึ้นไป. ในเวลาจบอริยสัจ ๔ อุบาสก ๕๐๐ คน
แม้ทั้งหมดนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงแสดงเรื่อง
๒ เรื่องสืบอนุสนธิกัน แล้วทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบ
ลงว่า บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้
แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้
บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทใน
บัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ตรัสพระธรรม
เทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อกิลาสุโน ดังนี้. ถามว่า ทรงปรารภใคร ? ตอบ
ว่า ทรงปรารภภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง.

ดังได้สดับมา เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในนครสาวัตถี มีกุลบุตร
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ไปพระเชตวันวิหาร สดับพระธรรมเทศนาในสำนัก
ของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส เห็นโทษในกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม
จึงบวช อุปสมบทได้ ๕ พรรษา เรียนได้มาติกา ๒ บท ศึกษาการประพฤติ
วิปัสสนา รับพระกรรมฐานที่จิตของตนชอบ ในสำนักของพระศาสดาเข้าไป

ยังป่าแห่งหนึ่ง จำพรรษา พยายามอยู่ตลอดไตรมาสไม่อาจทำสักว่าโอภาสหรือ
นิมิตให้เกิดขึ้น. ลำดับนั้นภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสดาตรัสบุคคล
๔ จำพวก ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น เราคงจะเป็นปทปรมะ เราเห็นจะไม่มี

มรรคหรือผลในอัตภาพนี้ เราจักกระทำอะไรด้วยการอยู่ป่า เราจักไปยังสำนัก
ของพระศาสดา แลดูพระรูปของพระพุทธเจ้าอันถึงความงามแห่งพระรูปอย่าง
ยิ่ง ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะอยู่ (จะดีกว่า) ครั้นคิดแล้วก็กลับมายัง
พระเชตวันวิหารนั่นแลอีก.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนเห็นและคบกัน กล่าวกะภิกษุนั้น
ว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านเรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปด้วยหวัง
ใจว่า จักกระทำสมณธรรม แต่บัดนี้มาเที่ยวรื่นรมย์ด้วยการคลุกคลีอยู่ กิจแห่ง
บรรพชิตของท่านถึงที่สุดแล้วหรือหนอ ท่านจะเป็นผู้ไม่มีปฏิสนธิแลหรือ.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่ได้มรรคหรือผล จึงคิดว่าเราน่า
จะเป็นอภัพพบุคคล จึงได้สละความเพียรแล้วมาเสีย. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า
ดูก่อนอาวุโส ท่านบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรมั่นแล้ว
ละความเพียรเสีย กระทำสิ่งอันมิใช่เหตุแล้ว มาเถิดท่าน พวกเราจักแสดง
ท่านแด่พระตถาคต. ครั้นกล่าวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้พาภิกษุนั้นไปยังสำนัก
ของพระศาสดา.

พระศาสดาพอทรงเห็นภิกษุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนารูปนี้มาแล้ว ภิกษุนี้ทำอะไร. ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนี้บวชในพระศาสนาอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ไม่อาจกระทำสมณธรรม ละความเพียรเสีย
มาแล้ว. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอละ
ความเพียรจริงหรือ. ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำ
ออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ทำไมจึงไม่ให้เขารู้จักตนอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย
หรือว่า เป็นผู้สันโดษหรือว่าเป็นผู้สงัด หรือว่าเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือว่าเป็น
ผู้ปรารภความเพียร ให้เขารู้จักว่า เป็นภิกษุผู้ละความเพียร เมื่อครั้งก่อน

เธอได้เป็นผู้มีความเพียรมิใช่หรือ เมื่อเกวียน ๕๐๐เล่ม ไปในทางกันดาร
เพราะทราย พวกมนุษย์และโคทั้งหลายได้นํ้าดื่มมีความสุข เพราะอาศัยความ
เพียรซึ่งเธอผู้เดียวกระทำแล้ว เพราะเหตุไร บัดนี้ เธอจึงละความเพียรเสีย.
ภิกษุนั้นได้กำลังใจด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความที่ความเพียรอันภิกษุนี้สละแล้ว ปรากฏแก่
ข้าพระองค์ทั้งหลายในบัดนี้แล้ว ก็ในกาลก่อน ความที่โคและมนุษย์ทั้งหลาย
ได้นํ้าดื่มมีความสุขในทางกันดารเพราะทราย เหตุอาศัยความเพียรที่ภิกษุนี้
กระทำ ยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรากฏแก่พระองค์ผู้ทรงบรรลุ

พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น ขอพระองค์จงตรัสเหตุนี้แม้แก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังการเกิดสติให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
แล้วได้ทรงกระทำเหตุการณ์อันระหว่างแห่งภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน. พระโพธิสัตว์นั้น
เจริญวัยแล้ว เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. พระโพธิสัตว์นั้นเดิน
ทางกันดารเพราะทรายแห่งหนึ่งมีระยะประมาณ ๖๐ โยชน์. ก็ในทางกันดารนั้น
ทรายละเอียดกำมือไว้ยังติดอยู่ในมือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นมีความร้อน เหมือน

กองถ่านเพลิง ไม่อาจข้ามไปได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อดำเนิน
ทางกันดารนั้นจึงเอาเกวียนบรรทุกฟืน นํ้า นํ้ามัน และข้าวสารเป็นต้น ไป
เฉพาะกลางคืน ในเวลาอรุณขึ้นกระทำเกวียนให้เป็นวงแล้ว ให้ทำปะรำไว้เบื้อง
บนทำกิจในเรื่องอาหารให้เสร็จแต่เช้าตรู่แล้วนั่งในร่มเงาจนหมดวัน เมื่อพระ-
อาทิตย์อัสดงแล้ว บริโภคอาหารเย็น เมื่อพื้นดินเกิดความเย็น จึงเทียม

เกวียนเดินทางไป การไปเหมือนกับการไปในทะเลนั่นแหละ ย่อมจะมีในทาง
กันดารนั้น. ธรรมดาผู้กำหนดบท๑ ควรจะมี เพราะเหตุนั้น พระโพธิสัตว์นั้น
จึงให้กระทำการประกอบการไปของหมู่เกวียนตามสัญญาของดวงดาว ในกาลนั้น
พ่อค้าเกวียนแม้นั้น เมื่อจะไปยังทางกันดารนั้น ตามทำนองนี้นั่นแล จึงไปได้
๕๙ โยชน์ คิดว่า บัดนี้ โดยราตรีเดียวเท่านั้น จักออกจากทางกันดารเพราะ

ทรายจึงบริโภคอาหารเย็น ใช้ฟืนและนํ้าทั้งปวงให้หมดสิ้นแล้วจึงเทียมเกวียน
๑. คนนำทาง เช่นเดียวกับคนนำร่องในทางนํ้า

ไป คนนำทางให้ลาดอาสนะในเกวียนเล่มแรก นอนดูดาวในท้องฟ้าบอกว่า
จงขับไปข้างนี้ จงขับไปข้างโน้น คนนำทางนั้นเหน็ดเหนื่อยเพราะไม่ได้หลับ
เป็นระยะกาลนาน จึงหลับไป เมื่อโคหวนกลับเข้าเส้นทางที่มาเดิม ก็ไม่รู้สึก
โคทั้งหลายได้เดินทางไปตลอดคืนยังรุ่ง. คนนำทางตื่นขึ้นในเวลาอรุณขึ้น

มองดูดาวนักษัตรแล้วกล่าวว่าจงกลับเกวียน จงกลับเกวียน และเมื่อคนทั้ง
หลายพากันกลับเกวียนทำไว้ตามลำดับ ๆ นั่นแล อรุณขึ้นไปแล้ว. มนุษย์ทั้ง
หลายพากันกล่าวว่า นี่เป็นที่ตั้งค่ายที่พวกเราอยู่เมื่อวานนี้ แม้ฟืนและนํ้าของ
พวกเราก็หมดแล้ว บัดนี้พวกเราฉิบหายแล้ว จึงปลดเกวียนพักไว้โดยเป็นวง
กลมแล้วทำปะรำไว้เบื้องบน นอนเศร้าโศกอยู่ภายใต้เกวียนของตน ๆ พระ-

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
โพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราละความเพียรเสีย คนทั้งหมดนั้นจักพากันฉิบหาย พอ
เวลาเช้า จึงเที่ยวไปในเวลาที่ยังมีความเย็น เห็นกอหญ้าแพรกกอหนึ่งจึงคิดว่า
หญ้าเหล่านี้จักเกิดขึ้น เพราะความเย็นของนํ้าข้างล่าง จึงให้คนถือจอบมา ให้
ขุดลงยังที่นั้น คนเหล่านั้นขุดที่ (ลึกลงไป) ได้ ๖๐ ศอก. เมื่อคนทั้งหลาย
ขุดไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ จอบได้กระทบหินข้างล่าง. พอจอบกระทบหิน

คนทั้งปวงก็พากันละความเพียรเสีย ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่า ภายใต้หินนี้จะพึง
มีนํ้า จึงลงไปยืนที่พื้นหิน ก้มลงเงี่ยหูฟังเสียง ได้ยินเสียงนํ้าเบื้องล่าง จึง
ขึ้นมาบอกกะคนรับใช้ว่า ดูก่อนพ่อ เมื่อเธอละความเพียรเสีย พวกเราจัก
ฉิบหาย เธออย่าละความเพียร จงถือเอาค้อนเหล็กนี้ลงไปยังหลุม ทุบที่หินนี้
คนรับใช้นั้นรับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ไม่ละความเพียรในเมื่อคนทั้งปวง

ละความเพียรยืนอยู่จึงลงไปทุบหิน. หินแตก ๒ ซีกตกลงไปข้างล่างได้ตั้งขวาง
กระแสนํ้าอยู่. เกลียวนํ้าประมาณเท่าลำตาลพุ่งขึ้น. คนทั้งปวงพากันดื่มกิน
แล้วอาบ ผ่าเพลาและแอกเป็นต้นที่เหลือเพื่อหุงข้าวยาคูและภัตบริโภคและให้
โคกิน และเมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึงผูกธงใกล้บ่อนํ้า แล้วได้พากันไปยัง
ที่ที่ปรารถนาแล้ว ๆ. คนเหล่านั้นขายสินค้าในที่นั้นแล้วได้ลาภ ๒ เท่า ๓ เท่า

จึงได้พากันไปเฉพาะที่อยู่ของตน ๆ. คนเหล่านั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนชั่ว
อายุแล้วไปตามยถากรรม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไป
ตามยถากรรมเหมือนกัน.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัส
รู้ยิ่งเองเทียว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นที่ทาง
ทราย ได้พบนํ้าในทางทรายนั้น ณ ที่ลานกลางแจ้ง
ฉันใด มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้
ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกิลาสุโน ได้แก่ ไม่เกียจคร้าน คือ
ปรารถนาความเพียร. บทว่า วณฺณุปเถ ความว่า ทราย ท่านเรียกว่า
วัณณะ ในทางทราย. บทว่า ขณนฺตา แปลว่า ขุดภาคพื้น. ศัพท์ว่า
อุท ในบทว่า อุทงฺคเณ นี้ เป็นนิบาต อธิบายว่า ในที่ลานกลางแจ้ง.
อธิบายว่า ในที่เป็นที่สัญจรไปของพวกมนุษย์ คือ ในภูมิภาคอันไม่ปิดกั้น.

บทว่า ตตฺถ ความว่า ในทางทรายนั้น. บทว่า ปปํ อวินฺทํ แปลว่า ได้
นํ้า. จริงอยู่ นํ้าท่านเรียกว่า ปปา เพราะเป็นเครื่องดื่ม อีกอย่างหนึ่ง
นํ้าที่ไหลเข้าไป ชื่อว่า ปปา อธิบายว่า นํ้ามาก. บทว่า เอวํ เป็นบททำความ
อุปมาให้สำเร็จ. บทว่า มุนี ความว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ อีกอย่าง

หนึ่ง โมเนยยะอย่างใดอย่างหนึ่งในกายโมเนยยะ เป็นต้น ท่านเรียกว่า โมนะ
บุคคลที่เรียกว่า มุนี เพราะประกอบด้วยโมนะนั้น. ก็มุนีนี้นั้นมีหลายอย่างคือ
อาคาริยมุนี อนาคาริยมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี และมุนิมุนี.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดามุนีเหล่านั้น คฤหัสถ์ผู้บรรลุผลรู้แจ้งศาสนา ชื่อว่า อาคาริยมุนี.
บรรพชิตเห็นปานนั้นแล ชื่อว่า อนาคาริยมุนี. พระเสขะ๗จำพวก ชื่อว่า
เสขมุนี. พระขีณาสพ ชื่อว่า อเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ปัจเจกมุนี.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี. ก็ในอรรถนี้ เมื่อว่าโดยรวมยอด บุคคล
ผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือพึงทราบว่ามุนี. บทว่า วิริยพลูปปนฺโน

ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเพียร และกำลังกายกับกำลังญาณ. บทว่า อกิลาสุ
ความว่า ผู้ไม่เกียจคร้าน คือ ชื่อว่า ผู้ไม่เกียจไม่คร้าน เพราะประกอบ
ด้วยความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
เนื้อและเลือดในร่างกายของเรานี้ทั้งหมด จง
เหือดแห้งไป จะเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูก ก็
ตามที.

บทว่า วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ ความว่า ย่อมประสพ คือ ได้เฉพาะ
อริยธรรม กล่าวคือฌาน วิปัสสนา อภิญญา และอรหัตมรรคญาณ อัน
ถึงการนับว่า สันติ เพราะกระทำความเย็นทั้งจิต และหทัยรูป. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าสังวรรณนาการอยู่เป็นทุกข์ของคนผู้เกียจคร้าน และการอยู่
เป็นสุขของคนผู้ปรารภความเพียร ด้วยพระสูตรทั้งหลายมิใช่น้อย อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เกียจคร้านเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามก
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ และทำประโยชน์ตนอันยิ่งใหญ่ให้เสื่อมไป ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียรสงัดจากอกุศลธรรมอันลามก ย่อมอยู่
เป็นสุข และทำประโยชน์ตนอันยิ่งใหญ่ให้บริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การบรรลุประโยชน์ย่อมไม่มีด้วยความเพียรอันเลว. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

การอยู่เป็นสุขนั้นนั่นแหละที่บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้ไม่ทำความยึดมั่น
ผู้เห็นแจ้ง จะพึงบรรลุได้ด้วยกำลังและความเพียร จึงตรัสว่า มุนีผู้ประกอบ
ด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.
ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า พ่อค้าเหล่านั้นไม่เกียจคร้าน ขุดอยู่ในทางทราย
ย่อมได้นํ้า ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน

พากเพียรอยู่ ย่อมได้ความสงบใจอันต่างด้วยปฐมฌานเป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ
ในกาลก่อน เธอนั้นกระทำความเพียรเพื่อต้องการทางนํ้า บัดนี้ เพราะเหตุไร
เธอจึงละความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่
มรรคผลเห็นปานนี้.

พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้แล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะ ๔. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัต
อันเป็นผลอันเลิศ. แม้พระศาสดาก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน ทรงประชุม
ชาดกแสดงว่า คนรับใช้ผู้ไม่ละความเพียร ต่อยหินให้นํ้าแก่มหาชน ในสมัย

นั้น ได้เป็นภิกษุผู้ละความเพียรรูปนี้ ในบัดนี้ บริษัทที่เหลือในสมัยนั้น
เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนได้เป็นเรา ดังนี้ ได้ให้
พระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว.
จบ วัณณุปถชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ
รูปหนึ่งผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิธ เจ หิ นํ วิราเธสิ ดังนี้. ก็พระศาสดาทรงเห็นภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย
นำมาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันให้

มรรคผลเห็นปานนี้ เมื่อละความเพียรเสีย จักเศร้าโศกตลอดกาลนาน เหมือน
เสรีววาณิชเสื่อมจากถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่งฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงเรื่องนั้น ให้เเจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงการทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏ.

ในอดีตกาล ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพ่อค้าเร่
ชื่อว่า เสรีวะ ในแคว้นเสริวรัฐ. เสรีววาณิชนั้น เมื่อไปเพื่อต้องการค้าขาย
กับพ่อค้าเร่ผู้โลเลคนหนึ่ง ชื่อว่า เสรีวะ ข้ามแม่น้ำชื่อว่า นีลพาหะ แล้ว
เข้าไปยังพระนครชื่อว่า อริฏฐปุระ แบ่งถนนในนคร (ไปคนละทาง) กันแล้ว
เที่ยวขายสินค้าในถนนที่ประจวบกับตน. ฝ่ายวาณิชนอกนี้ยึดเอาถนนที่ประจวบ

เข้ากับตนเท่านั้น. ก็ในนครนั้น ได้มีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง เป็นตระกูล
เก่าแก่. บุตร พี่น้อง และทรัพย์สินทั้งปวง ได้หมดสิ้นไป. ได้มีเด็กหญิง
คนหนึ่งเหลืออยู่กับยาย. ยายหลานแม้ทั้งสองนั้น กระทำการรับจ้างคนอื่น
เลี้ยงชีวิต. ก็ในเรือน ได้มีถาดทองที่มหาเศรษฐีของยายกับหลานนั้นเคยใช้สอย
ถูกเก็บไว้กับภาชนะอื่น ๆ เมื่อไม่ได้ใช้สอยมานาน เขม่าก็จับ. ยายและหลาน
เหล่านั้นย่อมไม่รู้แม้ความที่ถาดนั้นเป็นถาดทอง.

สมัยนั้น วาณิชโลเลคนนั้น เที่ยวร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่อง
ประดับ จงถือเอาเครื่องประดับ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้น. กุมาริกานั้นเห็นวาณิช
นั้นจึงกล่าวกะยายว่า ยาย ขอยายจงซื้อเครื่องประดับอย่างหนึ่งให้หนู. ยายกล่าว
ว่าหนูเอ๋ย เราเป็นคนจน จักเอาอะไรไปซื้อ. กุมาริกากล่าวว่า พวกเรามี
ถาดใบนี้อยู่ และถาดใบนี้ไม่เป็นอุปการะเกื้อกูลแก่พวกเรา จงให้ถาดใบนี้แล้ว

ถือเอา (เครื่องประดับ). ยายจึงให้เรียกนายวาณิชมาแล้วให้นั่งบนอาสนะ
ให้ถาดใบนั้นแล้วกล่าวว่า เจ้านาย ท่านจงถือเอาถาดนี้ แล้วให้เครื่องประดับ
อะไร ๆ ก็ได้แก่หลานสาวของท่าน. นายวาณิชเอามือจับถาดนั่นแล คิดว่าจัก
เป็นถาดทอง จึงพลิกเอาเข็มขีดที่หลังถาด รู้ว่าเป็นทอง จึงคิดว่า เราจักไม่

ให้อะไร ๆ แก่คนเหล่านี้ จักนำเอาถาดนี้ไป แล้วกล่าวว่า ถาดใบนี้จะมีราคา
อะไร ราคาของถาดใบนี้แม้กึ่งมาสกก็ยังไม่ถึง จึงโยนไปที่ภาคพื้นแล้วลุก
จากอาสนะหลีกไป.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์คิดว่า คนอื่นย่อมได้เพื่อจะเข้าไปยังถนนที่นายวาณิชนั้น
เข้าไปแล้วออกไป จึงเข้าไปยังถนนนั้นร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่องประดับ
ดังนี้ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้นนั่นแหละ. กุมาริกานั้นกล่าวกะยายเหมือนอย่าง
นั้นแหละอีก. ลำดับนั้น ยายได้กล่าวกะกุมาริกานั้นว่า หลานเอ๋ย นายวาณิช
ผู้มายังเรือนนี้ โยนถาดนั้นลงบนภาคพื้นไปแล้ว บัดนี้ เราจักให้อะไรแล้ว

ถือเอาเครื่องประดับ. กุมาริกากล่าวว่า ยาย นายวาณิชคนนั้นพูดจาหยาบคาย
ส่วนนายวาณิชคนนี้ น่ารัก พูดจาอ่อนโยน คงจะรับเอา ยายกล่าวว่า ถ้า
อย่างนั้นจงเรียกเขามา กุมาริกานั้นจึงเรียกนายวาณิชนั้นมา. ลำดับนั้น ยาย
และหลานได้ให้ถาดใบนั้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ผู้เข้าไปยังเรือนแล้วนั่ง พระ
โพธิสัตว์นั้นรู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทอง จึงกล่าวว่า แม่ ถาดใบนี้มีค่าตั้งแสน
สินค้าอันมีค่าเท่าถาด ไม่มีในมือของเรา. ยายและหลานจึงกล่าวว่า เจ้านาย

นายวาณิชผู้มาก่อนพูดว่า ถาดใบนี้มีค่าไม่ถึงแม้กึ่งมาสก แล้วเหวี่ยงถาดลงพื้น
ไป แต่ถาดใบนี้จักเกิดเป็นถาดทอง เพราะบุญของท่าน พวกเราให้ถาดใบนี้
แก่ท่าน ท่านให้อะไร ๆ ก็ได้แก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดใบนี้ไปเถิด. ขณะนั้น
พระโพธิสัตว์จึงให้กหาปณะ ๕๐๐ ซึ่งมีอยู่ในมือ และสินค้าซึ่งมีราคา ๕๐๐
กหาปณะ ทั้งหมด แล้วขอเอาไว้เพียงเท่านี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ตาชั่งนี้กับ

ถุง และกหาปณะ ๘ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า แล้วถือเอาถาดนั้นหลีกไป.
พระโพธิสัตว์นั้นรีบไปยังฝั่งแม่นํ้า ให้นายเรือ ๘ กหาปณะ แล้วขึ้น
เรือไป. ฝ่ายนายวาณิชพาล หวนกลับไปเรือนนั้นอีก แล้วกล่าวว่า ท่านจง
นำถาดใบนั้นมา เราจักให้อะไร ๆ บางอย่างแก่ท่าน. หญิงนั้นบริภาษนาย
วาณิชพาลคนนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านได้กระทำถาดทองอันมีค่าตั้งแสนของพวกเรา

ให้มีค่าเพียงกึ่งมาสก แต่นายวาณิชผู้มีธรรมคนหนึ่งเหมือนกับนายท่านนั่นแหละ
ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดทองนั้นไปแล้ว. นายวาณิชพาล
ได้ฟังดังนั้น คิดว่า เราเป็นผู้เสื่อมจากถาดทองอันมีค่าตั้งแสน วาณิชคนนี้
ทำความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแก่เราหนอ เกิดความโศกมีกำลัง ไม่อาจดำรง
สติไว้ได้ จึงสลบไป (พอฟื้น) ได้โปรยกหาปณะที่อยู่ในมือ และสิ่งของไว้

ที่ประตูเรือนนั่นแหละ ทิ้งผ้านุ่งผ้าห่ม ถือคันชั่งทำเป็นไม้ค้อน. หลีกไปตาม
รอยเท้าของพระโพธิสัตว์ ไปถึงฝั่งแม่นํ้านั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปอยู่
จึงกล่าวว่า นายเรือผู้เจริญ ท่านจงกลับเรือ พระโพธิสัตว์ห้ามว่า อย่ากลับ.

เมื่อนายวาณิชพาล แม้นอกนี้ เห็นพระโพธิสัตว์ไปอยู่นั่นแล เกิด
ความโศกมีกำลัง หทัยร้อน เลือดพุ่งออกจากปาก หทัยแตก เหมือนโคลน
ในบึงฉะนั้น. วาณิชพาลนั้นผูกอาฆาตพระโพธิสัตว์ ถึงความสิ้นชีวิตลง ณ
ที่นั้นนั่นเอง. นี้เป็นการผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัตเป็นครั้งแรก.
พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไปตามยถากรรม.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอน
แห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจ
ในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสรีวะ
ผู้นี้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เจ นํ วิราเธสิ สทฺธมฺมสฺส
นิยามกํ ความว่า หากท่านพลาด คือ ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรคกล่าว
คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมอย่างนี้ ในศาสนานี้ อธิบายว่า ท่านเมื่อ
ละความเพียร จะไม่บรรลุคือไม่ได้. บทว่า จิรํ ตุวํ อนุตปฺเปสิ ความว่า
เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านเมื่อเศร้าโศกคือรํ่าไรอยู่ตลอดกาลนาน ชื่อว่าจักเดือด

ร้อนใจภายหลัง ในกาลทุกเมื่อ อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่าน
เกิดในนรกเป็นต้น เสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ ตลอดกาลนาน ชื่อว่าจักเดือด
ร้อนใจภายหลัง คือชื่อว่าจักลำบาก เพราะความเป็นผู้ละความเพียร คือ
เพราะความเป็นผู้พลาดอริยมรรค. ถามว่า จักเดือดร้อนภายหลังอย่างไร ?
ตอบว่า จักเดือดร้อนภายหลัง เหมือนนายวาณิชชื่อว่าเสรีวะผู้นี้ อธิบายว่า

เหมือนนายวาณิชผู้นี้ อันมีชื่ออย่างนี้ว่า เสรีวะ. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า
เมื่อก่อน วาณิชชื่อเสรีวะ ได้ถาดทองมีค่าหนึ่งแสน ไม่ทำความเพียรเพื่อจะ
ถือเอาถาดทองนั้น จึงเสื่อมจากถาดทองนั้น เดือดร้อนใจในภายหลัง ฉันใด
แม้เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่บรรลุอริยมรรคอันเช่นกับถาดทองที่เขาจัด

เตรียมให้ ในศาสนานี้ เพราะละความเพียรเสีย เป็นผู้เสื่อมรอบจากอริยมรรค
นั้นจักเดือดร้อนใจภายหลัง ตลอดกาลนาน ก็ถ้าจักไม่ละความเพียรไซร้ จัก
ได้โลกุตรธรรมแม้ทั้ง ๔ ในศาสนาของเรา เหมือนนายวาณิชผู้เป็นบัณฑิต
ได้เฉพาะถาดทองฉะนั้น.

พระศาสดาทรงถือเอายอดด้วยพระหัต ทรงแสดงพระธรรม-
เทศนานี้ แก่ภิกษุนี้อย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔. ในเวลาจบสัจจะ
ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ. แม้พระศาสดาก็ทรง
ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า วาณิชพาลในกาลนั้น
ได้เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ นายวาณิชผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเรา
เอง ทรงให้เทศนาจบลงแล้ว.
จบ เสรีวาณิชชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน
ชีวกัมพวัน ทรงปรารภ พระจุลลปันถกเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อปฺปเกนปิ เมธาวี ดังนี้. เบื้องต้น พึงกล่าวการเกิดขึ้น
และการบรรพชาของพระจุลลปันถกในอัมพวันนั้นก่อน. มีกถาตามลำดับดังต่อ
ไปนี้

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์มีธิดาของเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ได้ทำความ
เชยชิดกับทาสของตนเองกลัวว่า แม้คนอื่นจะรู้กรรมนี้ของเรา จึงกล่าวอย่างนี้
ถ้าบิดามารดาของเราจักรู้โทษนี้ จักกระทำไห้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ พวก
เราจักไปอยู่ต่างประเทศ จึงถือของสำคัญที่จะถือไปได้ ออกทางประตูลับ
แม้ทั้งสองคนได้พากันไปด้วยคิดว่า จักไปยังที่ที่คนอื่นไม่รู้จัก แล้วอยู่ ณ ที่ใด

ที่หนึ่ง. เมื่อผัวเมียทั้งสองนั้นอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกัน
ธิดาเศรษฐีก็ตั้งครรภ์. ธิดาเศรษฐีนั้นอาศัยครรภ์แก่ จึงปรึกษากับสามีแล้ว
กล่าวว่า ครรภ์ของเราแก่แล้ว ชื่อว่าการคลอดบุตรในที่ที่ห่างเหินจากญาติและ
พวกพ้อง ย่อมเป็นทุกข์แท้สำหรับเราทั้งสอง พวกเราจักไปเฉพาะยังเรือนของ
ตระกูล. สามีนั้นคิดว่า ถ้าเราจักไปบัดนี้ ชีวิตของเราจะไม่มี จึงผัดวันอยู่ว่า
จะไปวันนี้ จะไปวันพรุ่งนี้ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า สามีนี้เป็นคนโง่ไม่อุตสาหะ

ที่จะไป เพราะโทษของตนมีมาก ธรรมดาว่าบิดามารดามีประโยชน์เกื้อกูลโดย
ส่วนเดียวในบุตรธิดา สามีนี้จะไปหรือไม่ก็ตาม เราควรจะไป เมื่อสามีนั้นออก
จากเรือน นางจึงเก็บงำบริขารในเรือน บอกถึงความที่ตนไปเรือนของตระกูล
แก่ชาวบ้านใกล้เคียง แล้วเดินทาง.

ลำดับนั้น บุรุษนั้นมาเรือนไม่เห็นนางจึงถามคนที่คุ้นเคย ได้ฟังว่า
ไปเรือนตระกูล จึงรีบตามไปทันในระหว่างทาง. ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นก็ได้คลอด
บุตรในระหว่างทางนั้นนั่นเอง สามีนั้นถามว่า นางผู้เจริญ นี่อะไร. ฝ่ายธิดา
เศรษฐีนั้นกล่าวว่า บุตรคนหนึ่งเกิดแล้ว สามีกล่าวว่า บัดนี้ พวกเราจักทำ
อย่างไร. ธิดาเศรษฐีกล่าวว่า พวกเราจะไปเรือนของตระกูล เพื่อประโยชน์

แก่กรรมใด กรรมนั้นได้สำเร็จแล้วในระหว่างทาง พวกเราจักไปที่นั้นทำอะไร
พวกเราจักกลับ แม้ทั้งสองคนเป็นผู้มีความคิดเป็นอันเดียวกันกลับแล้ว. ก็
เพราะทารกนั้นเกิดในระหว่างทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า ปันถก ไม่นาน
เท่าไรนัก นางก็ตั้งครรภ์อื่นอีก เรื่องราวทั้งปวงพึงให้พิศดารโดยนัยก่อนนั่น
แหละ. ก็เพราะทารกแม้คนนั้นก็เกิดในหนทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อบุตรผู้เกิด

ทีแรกว่า มหาปันถก ตั้งชื่อบุตรคนที่สองว่า จุลลปันถก สามีภรรยานั้น
พาทารกแม้ทั้งสองคนมายังที่อยู่ของตนนั่นแล.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เมื่อสามีภรรยาทั้งสองนั้น อยู่ในที่นั้น มหาปันถกทารกได้ฟังคนอื่น ๆ
พูดว่าอา ว่าปู่ ว่าย่า จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า พวกเด็กอื่น ๆ พูดว่าปู่
พูดว่าย่า ญาติของเราไม่มีหรือ. มารดากล่าวว่า จ้ะพ่อ ในที่นี้ ญาติของ
พวกเราไม่มี แต่ในพระนครราชคฤห์ พวกเรามีตาชื่อว่ามหาธนเศรษฐี ญาติของ
พวกเรามีอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นมาก มหาปันถกกล่าวว่า เพราะเหตุไร พวก

เราจึงไม่ไปที่เมืองราชคฤห์นั้นละแม่. นางไม่บอกเหตุที่ตนมาแก่บุตร เมื่อบุตร
ทั้งสองรบเร้าถามอยู่ จึงกล่าวกะสามีว่า เด็กเหล่านี้ทำเราให้ลำบากเหลือเกิน
บิดามารดาเห็นพวกเราแล้วจักกินเนื้อเทียวหรือ มาเถิดพวกเราจักแสดงตระกูล
ของตาแก่เด็กทั้งหลาย. สามีกล่าวว่า เราจักไม่อาจไปประจัญหน้า แต่เราจัก
นำไป ภรรยากล่าวว่า ดีแล้ว พวกเด็ก ๆ ควรจะเห็นตระกูลของตานั่นแล

โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง. ชนแม้ทั้งสองนั้นพาทารกทั้งสองไปถึงเมืองราชคฤห์
โดยลำดับ แล้วพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูเมือง แล้วให้บอกบิดามารดา
ถึงความที่มารดาของทารกพาเอาทารก ๒ คนมา. ตายายเหล่านั้นได้ฟังข่าวนั้น
แล้วกล่าวว่า คนชื่อว่าไม่ใช่บุตร ไม่ใช่ธิดา ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายผู้เที่ยว
อยู่ในสังสารวัฏ คนเหล่านั้นมีความผิดมากแก่พวกเรา คนเหล่านั้นไม่อาจเพื่อ

จะดำรงอยู่ในคลองจักษุของพวกเรา ชนแม้ทั้งสองจงถือเอาทรัพย์ชื่อมีประมาณ
เท่านี้ไปยังที่ที่ผาสุกเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด แต่จงส่งทารกทั้งสองคนมาไว้ที่นี้. ธิดา
เศรษฐีถือเอาทรัพย์ที่บิดามารดาส่งมา แล้วส่งทารกทั้งสองให้ไปในมือของพวก
ทูตที่มานั่นแหละ. ทารกทั้งสองเจริญเติบโตอยู่ในตระกูลของตา.

บรรดาทารกทั้งสองนั้น จุลลปันถกยังเยาว์เกินไป ส่วนมหาปันถก
ไปฟังธรรมกถาของพระทศพลกับตา เมื่อมหาปันถกนั้นฟังธรรมในที่พร้อม
พระพักตร์ของพระศาสดาเป็นนิตย์ จิตก็น้อมไปเพื่อบรรพชา. เขาจึงกล่าวกะ
ตาว่า ถ้าท่านยอมรับ กระผมจะบวช. ตากล่าวว่า เจ้าพูดอะไร พ่อ เจ้าเป็น
ที่รักของตา การบรรพชาเฉพาะของเจ้าเท่านั้น ดีกว่าการบรรพชา แม้ของ

ชาวโลกทั้งสิ้น ถ้าเจ้าอาจ จงบวชเถอะพ่อ. ครั้นรับคำแล้วจึงไปยังสำนักของ
พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ท่านมหาเศรษฐี ท่านได้ทารกนี้มาหรือ.
มหาเศรษฐีกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทารกนี้เป็นหลาน
ของข้าพระองค์ เขาพูดว่า จะบวชในสำนักของพระองค์. พระศาสดาจึงทรง

สั่งภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวช. พระเถระบอก
ตจปัญจกกรรมฐาน แก่มหาปันถกนั่นแล้วให้บวช มหาปันถกนั้นเรียนพุทธ-
วจนะเป็นอันมาก มีพรรษาครบบริบูรณ์แล้ว ได้อุปสมบทเป็นอุปสัมบัน
กระทำกรรมฐานโดยโยนิโสมนสิการ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระมหาปันถกนั้นยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌานและความสุขในมรรค
จึงคิดว่า เราอาจไหมหนอเพื่อจะให้สุขนี้แก่จุลลปันถก ลำดับนั้น ท่านมหา-
ปันถกจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตากล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าท่าน
ยินยอม อาตมภาพจักให้จุลลปันถกบวช. มหาเศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิด
่ท่านผู้เจริญ. พระเถระให้จุลลปันถกทารกบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐.
สามเณรจุลลปันถก พอบวชแล้วเท่านั้น ได้เป็นคนเขลา สมดังที่ท่านกล่าวว่า
โดยเวลา ๔ เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวนี้ว่า

ดอกบัวโกกนุทมีกลิ่นหอม ไม่ปราศจากกลิ่น
หอม พึงบานแต่เช้าฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรสผู้
ไพโรจน์ เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสงจ้าในอากาศ
ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระจุลลปันถกนั้นบวชในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
ผู้มีปัญญา ได้ทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาที่ภิกษุผู้เขลารูปหนึ่งเรียนอุเทศ.
ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้นหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย.
เพราะกรรมนั้น พระจุลลปันถกนี้ พอบวชเท่านั้นจึงเกิดเป็นคนเขลา เมื่อ

ท่านเรียนบทเหนือ ๆ ขึ้นไป บทที่เรียนแล้ว ๆ ก็เลือนหายไป เมื่อท่าน
จุลลปันถกนั้นพยายามเรียนคาถานี้เท่านั้น ๔ เดือนล่วงไปแล้ว ลำดับนั้น
พระมหาปันถกจึงคร่าพระจุลลปันถกนั้นออกจากวิหารโดยกล่าวว่า จุลลปันถก
เธอเป็นผู้อาภัพในพระศาสนานี้ โดย ๔ เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวได้ ก็เธอจัก
ทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร จงออกไปจากวิหาร. พระจุลลปันถก
ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความรักในพระพุทธศาสนา.

ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต. หมอ
ชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปยังอัมพวันของตน บูชา
พระศาสดาฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหา
พระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ-

มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ รูป. หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน
นิเวศน์ของผม. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก ชื่อว่าพระจุลลปันถกเป็นผู้เขลามี
ธรรมไม่งอกงาม อาตมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือยกเว้นพระจุลลปันถกนั้น.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระจุลลปันถกได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า พระเถระพี่ชายของเราเมื่อรับนิมนต์ เพื่อ
ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ก็รับ กันเราไว้ภายนอก พี่ชายของเราจักผิดใจ
ในเราโดยไม่ต้องสงสัย บัดนี้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยพระศาสนานี้ เราจัก
เป็นคฤหัสถ์กระทำบุญมีทานเป็นต้นเลี้ยงชีวิต. วันรุ่งขึ้น พระจุลลปันถกนั้น
ไปแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า จักเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจ
โลก ได้ทรงเห็นเหตุนั้นนั่นแล จึงเสด็จไปก่อนล่วงหน้า ได้ประทับยืนจง
กรมอยู่ที่ซุ้มประตู ใกล้ทางที่พระจุลลปันถกจะไป. พระจุลลปันถกเมื่อจะเดิน
ไปสู่เรือน เห็นพระศาสดาจึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระจุลลปันถกนั้นว่า จุลลปันถก ก็
เธอจะไปไหนในเวลานี้ พระจุลลปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจัก
เป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถก ชื่อว่าการบรรพชาของเธอใน

สำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนัก
ของเรา มาเถิด เธอจะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอจักอยู่ใน
สำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกไป ให้พระจุลลปันถกนั้นนั่งที่หน้ามุข
พระคันธกุฏี ตรัสว่า จุลลปันถก เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่
ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ผ้าเป็นเครื่อง

นำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรง
ปรุงแต่งด้วยฤทธิ์ เมื่อเขากราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) ให้ทรงทราบ จึงแวด
ล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังนิเวศน์ของหมอชีวกประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปู
ลาดแล้ว ฝ่ายพระจุลลปันถกมองดูพระอาทิตย์นั่งลูบท่อนผ้าเก่านั้นว่า รโชหรณํ
รโชหรณํ เมื่อพระจุลลปันถกนั้น ลูบท่อนผ้าเก่านั้นอยู่ ผ้าได้เศร้าหมองไป

แต่นั้นพระจุลลปันถกจึงคิดว่า ท่อนผ้าเก่าผืนนั้นบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แต่เพราะ
อาศัยอัตภาพนี้ จึงละปรกติเกิดเศร้าหมองอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
จึงเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมเจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงทราบว่า
จิตของจุลลปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถก เธออย่ากระทำ

ความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั่นเท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่
ููธุลีคือราคะเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้นไป
เสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏ เหมือนประทับนั่งอยู่เบื้อง
หน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี
คำว่า ธุลีนี้เป็นชื่อของราคะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละ
ธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้
ปราศจากธุลี โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียก
ว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของ
พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่น
ละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้วย่อมอยู่ใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในเวลาจบคาถา พระจุลลปันถกบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ปิฎกทั้งสามมาถึงแก่พระจุลลปันถกนั้นพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายเทียว.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระจุลลปันถกนั้นเป็นพระราชากำลังทำ
ประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าสาฎกบริสุทธิ์
เช็ดพระนลาต ผ้าสาฎกได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญา
ความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าสาฎกอันบริสุทธิ์เห็นปานนี้ ละปรกติเดิมเกิดเศร้า
หมองเพราะอาศัยร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าเป็น
เครื่องนำธุลีออกไปเท่านั้น เกิดเป็นปัจจัยแก่พระจุลลปันถกนั้น.

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจน้อมนำนํ้าทักษิโณทกเข้าไปถวายพระทศพล
พระศาสดาเอาพระหัตถ์ปิดบาตรโดยตรัสว่า ชีวก ในวิหารมีภิกษุอยู่มิใช่หรือ
พระมหาปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารไม่มีภิกษุมิใช่หรือ
พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ชีวก มีภิกษุ. หมอชีวกจึงส่งบุรุษไปโดยสั่งว่า
พนาย ถ้าอย่างนั้นท่านจงไป อนึ่ง จงรู้ว่าในวิหารมีภิกษุหรือไม่มี ขณะนั้น

พระจุลลปันถกคิดว่า พี่ชายของเราพูดว่า ในวิหารไม่มีภิกษุ เราจักประกาศ
ความที่ภิกษุทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร แก่พี่ชายของเรานั้น แล้วบันดาลให้อัมพวัน
ทั้งสิ้นเต็มไปด้วยภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ภิกษุพวกหนึ่งทำการจีวรกรรม ภิกษุพวก
หนึ่งทำกรรมคือย้อมจีวร ภิกษุพวกหนึ่งทำการสาธยาย ท่านนิรมิตภิกษุ
๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเหมือนกันและกันอย่างนี้ บุรุษนั้นเห็นภิกษุมากมายในวิหาร

จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ข้าแต่นาย อัมพวันทั้งสิ้นเต็มด้วยภิกษุทั้งหลาย ณ ที่
นั้นแหละ แม้พระเถระ

ก็นิรมิตอัตภาพตั้งพัน [ล้วนเป็น] พระปันถก
นั่งอยู่ในอัมพวันอันรื่นรมย์จนกระทั่งประกาศเวลา
[ภัต] ให้ทราบกาล.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะบุรุษนั้นว่า ท่านจงไปวิหาร กล่าวว่า
พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุชื่อว่า จุลลปันถก เมื่อบุรุษนั้นไปกล่าวอย่างนั้นแล้ว
ปากตั้งพันก็ตั้งขึ้นว่า อาตมะชื่อจุลลปันถก อาตมะชื่อจุลลปันถก บุรุษไป
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่าภิกษุแม้ทั้งหมด ชื่อจุลลปันถกทั้งนั้น.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปจับมือภิกษุผู้พูดก่อนว่า อาตมะชื่อ

จุลลปันถก ภิกษุที่เหลือจะอันตรธานไป บุรุษนั้นได้กระทำอย่างนั้น ทันใด
นั้นเอง ภิกษุประมาณพันรูปได้อันตรธานหายไป พระเถระได้ไปกับบุรุษนั้น
ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมาว่า ชีวก ท่านจงรับ
บาตรของพระจุลลปันถก พระจุลลปันถกนี้จักกระทำอนุโมทนาแก่ท่าน. หมอ
ชีวกได้กระทำอย่างนั้น พระเถระบันลือสีหนาท ดุจราชสีห์หนุ่มยังปิฎกทั้ง ๓

ให้กำเริบ กระทำอนุโมทนา พระศาสดาเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ มีภิกษุสงฆ์
เป็นบริวารเสด็จไปยังพระวิหาร เมื่อภิกษุทั้งหลายแสดงวัตรแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานโอวาทของพระสุคตแก่
ภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสบอกพระกรรมฐาน ทรงส่งภิกษุสงฆ์ไปแล้วเสด็จเข้าพระ-
คันธกุฎี อันอบด้วยของหอมอันมีกลิ่นหอม ทรงเข้าสีหไสยา โดยพระปรัศว์
เบื้องขวา

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันรอบด้านในโรงธรรมสภา
นั่งเหมือนวงม่านผ้ากัมพลแดง ปรารภเรื่องพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระมหาปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถา
เดียวโดยเวลา ๔ เดือน ฉุดออกจากวิหาร โดยกล่าวว่า จุลลปันถกนี้โง่เขลา

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระ-
จุลลปันถกนั้น ในระหว่างภัตคราวเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรม
ราชาผู้ยอดเยี่ยม ปิฎกทั้งสามมาพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทีเดียว น่าอัศจรรย์ ชื่อว่า
พุทธพลังใหญ่หลวง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของ

เรื่องนี้ในโรงธรรมสภา ทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรไป จึงเสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธไสยา ทรงนุ่งผ้าสองชั้นอันแดงดี ทรงผูกรัดประคดประดุจสายฟ้าแลบ
ทรงห่มมหาจีวรขนาดพระสุคตเช่นกับผ้ากัมพลแดง เสด็จออกจากพระคันธกุฎี
อันมีกลิ่นหอม เสด็จไปยังโรงธรรมสภา ด้วยความงามอันเยื้องกรายดุจช้าง
ตัวประเสริฐอันซับมันและดุจราชสีห์ และด้วยพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ เสด็จ

ขึ้นบวรพุทธอาสน์ที่ลาดไว้ ทรงเปล่งพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการเสมือนทรงยัง
ท้องทะเลให้กระเพื่อม ประดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ เหนือยอดเขายุคนธร
ฉะนั้น ประทับนั่งท่ามกลางอาสนะ ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอสักว่าเสด็จ
มา ภิกษุสงฆ์ได้งดการพูดจานิ่งอยู่แล้ว พระศาสดาทรงแลดูบริษัทด้วยพระ-

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร