วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภมตกภัตจึง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุํ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลาย ฆ่าแพะเป็นต้น เป็น
อันมาก ให้มตกภัตอุทิศญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายเห็นมนุษย์
เหล่านั้นกระทำอย่างนั้น จึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้

มนุษย์ทั้งหลายทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วให้ชื่อว่า
มตกภัต ความเจริญในการให้มตกภัตนี้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความเจริญอะไร ๆ ในปาณาติบาต แม้ที่เขากระทำ
ด้วยคิดว่า พวกเราจักให้มตกภัต ดังนี้ ย่อมไม่มี แม้ในกาลก่อน บัณฑิต
ทั้งหลายนั่งในอากาศ แสดงธรรมกล่าวโทษในการทำปาณาติบาตนี้ ให้ชนชาว

ชมพูทวีปทั้งสิ้นละกรรมนั่น แต่บัดนี้ กรรมนั่นกลับปรากฏขึ้นอีก เพราะสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้อยู่ในสังเขปแห่งภพ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อ
ไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้สำเร็จไตรเพทคนหนึ่ง คิดว่าจักให้มตกภัต จึงให้จับ
แพะมาตัวหนึ่ง กล่าวกะอันเตวาสิกทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงนำ
แพะตัวนี้ไปยังแม่นํ้า เอาระเบียบดอกไม้สวมคอ เจิมประดับประดาแล้วนำมา
อันเตวาสิกทั้งหลายรับคำแล้ว พาแพะนั้นไปยังแม่นํ้า ให้อาบนํ้า ประดับแล้ว

พักไว้ที่ฝั่งแม่นํ้า แพะนั้นเห็นกรรมเก่าของตนเกิดความโสมนัสว่า เราจักพ้น
จากทุกข์ชื่อเห็นปานนี้ ในวันนี้ จึงหัวเราะลั่นประดุจต่อยหม้อดิน กลับคิดว่า
พราหมณ์นี้ฆ่าเราแล้วจักได้ความทุกข์ที่เราได้แล้ว เกิดความกรุณาพราหมณ์
จึงร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นจึงถามแพะนั้นว่า ดูก่อน
แพะผู้สหาย ท่านหัวเราะและร้องไห้เสียงดังลั่น เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง

หัวเราะ และเพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ ? แพะกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงถาม
เหตุนี้กะเรา ในสำนักแห่งอาจารย์ของท่าน. มาณพเหล่านั้นจึงพาแพะนั้นไป
แล้วบอกเหตุนี้แก่อาจารย์ อาจารย์ได้ฟังคำของมาณพเหล่านั้นแล้วถามแพะว่า
ดูก่อนแพะ เพราะเหตุไร ท่านจึงหัวเราะ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้ ? แพะ
หวนระลึกถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยญาณเครื่องระลึกชาติได้กล่าวแก่พราหมณ์ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์เช่นท่านนั่นแหละ
คิดว่าจักให้มตกภัต จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วให้มตกภัต เพราะเราฆ่าแพะตัว
หนึ่ง เรานั้นจึงถึงการถูกตัดศีรษะใน ๔๙๙ อัตภาพ นี้เป็นอัตภาพที่ ๕๐๐ ของ
เราซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด เรานั้นเกิดความโสมนัสว่า วันนี้ เราจักพ้นจากทุกข์เห็น

ปานนี้ ด้วยเหตุนี้จึงหัวเราะ แต่เราเมื่อร้องไห้ ได้ร้องไห้เพราะความกรุณา
ท่าน ด้วยคิดว่า เบื้องต้น เราฆ่าแพะตัวหนึ่ง ถึงความทุกข์คือการถูกตัดศีรษะ
ถึง ๕๐๐ ชาติ จักพ้นจากทุกข์นั้น ในวันนี้ ส่วนพราหมณ์ฆ่าเราแล้วจักได้
ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ เหมือนเรา. พราหมณ์กล่าวว่า ดูก่อนแพะ
ท่านอย่ากลัวเลย เราจักไม่ฆ่าท่าน. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านพูดอะไร

เมื่อท่านจะฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดี วันนี้เราไม่อาจพ้นจากความตายไปได้. พราหมณ์
กล่าวว่า ดูก่อนแพะ ท่านอย่ากลัว เราจักถือการอารักขาท่าน เที่ยวไปกับท่าน
เท่านั้น. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ อารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปที่
เรากระทำมีกำลังมาก. พราหมณ์ให้ปล่อยแพะแล้วกล่าวว่า เราจักไม่ให้แม้

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ใคร ๆ ฆ่าแพะตัวนี้ จึงพาพวกอันเตวาสิกเที่ยวไปกับแพะนั่นแหละ แพะพอ
เขาปล่อยเท่านั้น ก็ชะเง้อคอเริ่มจะกินใบไม้ ซึ่งอาศัยหลังแผ่นหินแห่งหนึ่ง
เกิดอยู่ ทันใดนั้นเอง ฟ้าก็ผ่าลงที่หลังแผ่นหินนั้น เสก็ดหินชิ้นหนึ่งแตกตก
ลงที่คอแพะซึ่งชะเง้ออยู่ ตัดศีรษะขาดไป มหาชนประชุมกัน ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อมหาชนเห็น
อยู่นั่นแล นั่งขัดสมาธิในอากาศด้วยเทวานุภาพกล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นรู้ผล
ของบาปอยู่อย่างนี้ชื่อแม้ไฉนไม่ควรกระทำปาณาติบาต เมื่อจะแสดงธรรมด้วย
เสียงอันไพเราะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็น
ทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมเศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยํ ความว่า
สัตว์เหล่านี้ พึงรู้อย่างนี้. พึงรู้อย่างไร ? พึงรู้ว่า ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์
อธิบายว่า ถ้าว่า พึงรู้ว่าความเกิดในภพนั้น ๆ และความสมภพกล่าวคือความ
เจริญของผู้ที่เกิดโดยลำดับนี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์
ทั้งหลายมีชรา พยาธิ มรณะ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความพลัด

พรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นต้น. บทว่า น ปาโณ
ปาณินํ หญฺเ ความว่า สัตว์ไร ๆ รู้อยู่ว่าชาติสมภพชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ว่า ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ
เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ย่อมได้รับการเบียดเบียนดังนี้ จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น
อธิบายว่า สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์เพราะเหตุไร ? เพราะผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้า

โศก อธิบายว่า เพราะบุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ด้วยการเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของ
สัตว์อื่น ด้วยประโยคอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาประโยคทั้ง ๖ มีสาหัตถิก-
ประโยคเป็นต้น เสวยมหันตทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ นี้ คือในมหานรก ๘ ขุม ใน
อุสสทนรก ๑๖ ขุม ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานมีประการต่าง ๆ ในเปรตวิสัย
และในอสุรกาย ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกอันมีความเผาไหม้ใน

ภายในเป็นลักษณะ ตลอดกาลนาน อีกอย่างหนึ่ง สัตว์รู้ว่า แพะนี้เศร้าโศก
แล้ว เพราะมรณภัย ฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน แม้
ฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ควรฆ่าสัตว์ อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่ควรกระทำกรรมคือ
ปาณาติบาต ก็บุคคลผู้หลงเพราะโมหะ เมื่ออวิชชากระทำให้เป็นคนบอดแล้ว
ไม่เห็นโทษนี้ย่อมกระทำปาณาติบาต.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมโดยเอาภัยในนรกมาขู่ด้วยประการอย่างนี้.
มนุษย์ทั้งหลายฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว กลัวภัยในนรก พากันงดเว้นจาก
ปาณาติบาต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแล้ว ยังมหาชนให้ตั้งอยู่ใน
เบญจศีลแล้วไปตามยถากรรม ฝ่ายมหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์
กระทำบุญมีทานเป็นต้น ทำเทพนครให้เต็มแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิ
ทรงประชุมชาดกว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
จบมตกภัตตชาดกที่ ๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพลีกรรม
อ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้มนว่า สเจ มุญฺเจ
ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะไปค้าขาย ได้ฆ่าสัตว์ทำพลี
กรรมแก่เทวดาทั้งหลาย อ้อนวอนว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงความสำเร็จประโยชน์
โดยไม่ขัดข้องมาแล้ว จักกระทำพลีกรรมแก่ท่านทั้งหลายอีก ดังนี้แล้ว จึงพา
กันไป. ในกาลนั้น พวกมนุษย์ได้ถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่มีอันตรายมา
แล้ว สำคัญว่า ผลนี้เกิดด้วยอานุภาพของเทวดา จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากกระทำ
พลีกรรมเพื่อปลดเปลื้องการอ้อนวอน ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้นจึงทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ในการอ้อนวอนนี้มีอยู่
หรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล มีกุฏุมพีคนหนึ่งในบ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี ปฏิญญา
การพลีกรรมแก่เทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นไทรซึ่งตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้าน แล้วกลับมา
โดยไม่มีอันตราย จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากแล้วไปยังโคนต้นไทรด้วยตั้งใจว่า
จักเปลื้องการอ้อนวอน รุกขเทวดายืนอยู่ที่ค่าคบของต้นไม้กล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่านละ
โลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้
กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน
ด้วยอาการอย่างนี้ไม่ การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง
ติดของคนพาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ มุญฺเจ เปจฺจ มุญฺเจ ความว่า
ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถ้าท่านจะเปลื้องตน คือท่านปรารถนาจะเปลื้องตน ท่าน
ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ คือจงพ้นโดยประการที่ติดพันโลกหน้า. บทว่า
มุจฺจมาโน หิ พชฺฌสิ ความว่า ก็ท่านเมื่อปลดเปลื้องโดยประการที่ปรารถนา
เพื่อฆ่าสัตว์ปลดเปลื้อง ชื่อว่ายังติดพันด้วยกรรมอันลามก เพราะเหตุไร ?

เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย หาได้เปลื้องตนด้วยอาการอย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ก็
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ย่อมไม่ปลดเปลื้องตนด้วยคำมั่นสัญญาอย่างนี้
เพราะเหตุไร ? เพราะการเปลื้องตนเห็นปานนี้ เป็นเหตุติดพันของคนพาล
คือธรรมดาการเปลื้องตนเพราะกระทำปาณาติบาตนี้ ย่อมเป็นเหตุติดหนักของ
คนพาล. รุกขเทวดาแสดงธรรมด้วยประการดังกล่าวนี้.

ตั้งแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายงดเว้นจากกรรมคือปาณาติบาตเห็นปานนั้น
พากันประพฤติธรรม ยังเทพนครให้เต็มแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
จบอายาจิตชาดกที่ ๙


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท ถึงบ้าน นฬกปานคาม
ประทับอยู่ในเกตกวัน ใกล้นฬกปานโบกขรณี ทรงปรารภท่อนไม้อ้อทั้งหลาย
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอาบนํ้าในสระโบกขรณีชื่อว่า
นฬกปานะ แล้วให้พวกสามเณรเอาท่อนไม้อ้อมาเพื่อต้องการทำกล่องเข็ม
เห็นท่อนไม้อ้อเหล่านั้นทะลุตลอด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ให้ถือเอาท่อนไม้อ้อทั้งหลายมา เพื่อ
ต้องการทำกล่องเข็ม ท่อนไม้อ้อเหล่านั้นเป็นรูทะลุตลอด ตั้งแต่โคนจนถึง
ปลาย นี่เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นการอธิษฐานเดิมของเรา แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในอดีตกาลแม้ในกาลก่อน ป่าชัฏนั้นเป็นป่า มีผีเสื้อนํ้า
ตนหนึ่งเคี้ยวกินคนผู้ลงไป ๆ ในสระโบกขรณีแม้นั้น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์
เป็นพระยากระบี่มีขนาดเท่าเนื้อละมั่ง แวดล้อมด้วยหมู่วานรแปดหมื่นตัว บริหาร
ฝูงอยู่ในป่านั้น พระยากระบี่นั้นได้ให้โอวาทแก่หมู่วานรว่า พ่อทั้งหลาย ในป่า
นี้มีต้นไม้พิษบ้าง สระโบกขรณีที่เกิดเองอันอมนุษย์หวงแหนบ้าง มีอยู่ในป่า

นั้นนั่นแหละ ท่านทั้งหลายเมื่อจะเคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ที่ยังไม่เคยเคี้ยวกิน
หรือเมื่อจะดื่มนํ้าที่ยังไม่เคยดื่ม ต้องสอบถามเราก่อน หมู่วานรเหล่านั้นรับ
คำแล้ว วันหนึ่งไปถึงที่ที่ไม่เคยไป เที่ยวไปในที่นั้นหลายวันทีเดียวเมื่อจะ
แสวงหานํ้าดื่มเห็นสระโบกขรณีสระหนึ่ง ยังไม่ดื่มนํ้า นั่งคอยการมาของพระ-
โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มาถึงแล้วจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ดื่ม

นํ้า พวกวานรกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าคอยการมาของท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
พ่อทั้งหลาย พวกท่านทำดีแล้ว จึงเดินวนเวียนสระโบกขรณีนั้น กำหนด
รอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าลงไม่เห็นรอยเท้าขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า สระ
โบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแหนโดยไม่ต้องสงสัยจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายไม่ดื่มนํ้า ทำดีแล้ว สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแล้ว. ฝ่ายผีเสื้อนํ้ารู้ว่า

วานรเหล่านั้นไม่ลง จึงแปลงเป็นผู้มีท้องเขียว หน้าเหลือง มือเท้าแดงเข็ม รูป
ร่างน่ากลัว ดูน่าเกลียด แยกนํ้าออกมากล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึง
นั่งอยู่ จงลงสระโบกขรณีนี้ดื่มนํ้าเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามผีเสื้อนํ้า
นั้นว่า ท่านเป็นผีเสื้อนํ้าเกิดอยู่ในสระนี้หรือ ? ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เออ เราเป็น
ผู้เกิดแล้ว พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้คนที่ลงไป ๆ ยังสระโบกขรณีหรือ ?

ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เออ เราได้ เราไม่ปล่อยใคร ๆ จนชั้นที่สุดนกที่ลงในสระ
โบกขรณีนี้ แม้ท่านทั้งหมดเราก็จักกิน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกเราจักไม่
ให้ท่านกินตัวเรา. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ก็ท่านทั้งหลายจักดื่มนํ้ามิใช่หรือ ? พระ-
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เออ พวกเราจักดื่มนํ้า และจักไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่าน
ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจักดื่มนํ้าอย่างไร พระโพธิสัตว์

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กล่าวว่า ก็ท่านย่อมสำคัญหรือว่า จักลงไปดื่ม ด้วยว่าพวกเราจะไม่ลงไป เป็น
วานรทั้งแปดหมื่น ถือท่อนไม้อ้อคนละท่อน จักดื่มนํ้าในสระโบกขรณีของ
ท่านเหมือนดื่มนํ้าด้วยก้านบัว เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจักไม่อาจกินพวกเรา.
พระศาสดาครั้นทรงรู้แจ้งความนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่ง
ได้ตรัส ๒ บทแรกแห่งคาถานี้ว่า

พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า
ลง จึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มนํ้าด้วยไม้อ้อ ท่านจัก
ฆ่าเราไม่ได้.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยา
กระบี่นั้นเป็นมหาบุรุษไม่ได้เห็นรอยเท้าขึ้นแม้แต่รอยเดียวในสระโบกขรณีนั้น
ได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้น ครั้นเห็นอย่างนั้นคือไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่
รอยเท้าลง จึงรู้ว่า สระโบกขรณีนี้ อมนุษย์หวงแหนแน่แท้ เมื่อจะเจรจากับ
ผีเสื้อนํ้านั้นจึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มนํ้าด้วยไม้อ้อ อธิบายความของคำนั้นว่า
พวกเราจักดื่มนํ้าในสระโบกขรณีของท่านด้วยไม้อ้อ พระมหาสัตว์กล่าวสืบไป
ว่า ท่านจักฆ่าเราไม่ได้ อธิบายว่า เราพร้อมทั้งบริษัทดื่มนํ้าด้วยไม้อ้ออย่างนี้
แม้ท่านก็จักฆ่าไม่ได้.

ก็พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงให้นำท่อนไม้อ้อมาท่อนหนึ่ง
รำพึงถึงบารมีทั้งหลายแล้วกระทำสัจกิริยาเอาปากเป่า ไม้อ้อได้เป็นโพรงตลอด
ไป ไม่เหลือปล้องอะไร ๆ ไว้ภายใน พระโพธิสัตว์ให้นำท่อนไม้อ้อแม้ท่อน
อื่นมาแล้วได้เป่าให้ไปโดยทำนองนี้ ก็เมื่อเป็นดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่อาจให้เสร็จ
ลงได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรเชื่ออย่างนั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานว่า

ไม้อ้อแม้ทั้งหมดที่เกิดรอบสระโบกขรณีนี้ จงเป็นรูตลอด ก็เพราะอุปจารแห่ง
ประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพยิ่งใหญ่ การอธิษฐานย่อมสำเร็จ
ตั้งแต่นั้นมา ไม้อ้อที่เกิดรอบสระโบกขรณีแม้ทุกต้นเกิดเป็นรูเดียวตลอด.

จริงอยู่ ในกัปนี้ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ตลอดกัปมี ๔ ประการเป็น
ไฉน ? เครื่องหมายกระต่ายบนดวงจันทร์จักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ที่ที่ไฟดับ
ในวัฏฏกชาดกไฟจักไม่ไหม้ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ สถานที่เป็นที่อยู่ของฆฏีการ
ช่างหม้อ ฝนไม่รั่วรดจักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ไม้อ้อที่ตั้งอยู่รอบสระ
โบกขรณีนี้จักเป็นรูเดียว (ไม่มีข้อ) ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อัน
ตั้งอยู่ชั่วกัป ๔ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงนั่งถือไม้อ้อลำหนึ่ง ฝ่าย
วานรแปดหมื่นตัวแม้เหล่านั้น ก็ถือไม้อ้อลำหนึ่ง ๆ นั่งล้อมสระโบกขรณี
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เอาไม้อ้อสูบนํ้ามาดื่ม วานรแม้เหล่านั้น ทั้งหมดนั่งอยู่
ที่ฝั่งนั่นแหละดื่มนํ้าแล้ว เมื่อวานรเหล่านั้นดื่มนํ้าอย่างนี้ ผีเสื้อนํ้าไม่ได้วานร
ตัวไร ๆ ก็เสียใจ จึงไปยังนิเวศน์ของตนนั่นเอง ฝ่ายพระโพธิสัตว์พร้อมทั้ง
บริวารก็เข้าป่าไปเหมือนกัน.

ส่วนพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความที่ไม้อ้อทั้ง
หลายเหล่านี้เป็นไม้มีรูเดียวนั่น เป็นการอธิษฐานอันมีในกาลก่อนของเราเอง
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
ผีเสื้อนํ้าในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ในบัดนี้วานรแปดหมื่นใน
ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระยากระบี่ผู้ฉลาดใน
อุบายในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบนฬปานชาดกที่ ๑๐
จบศีลวรรคที่ ๒


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๑. อรรถกถากุรุงคมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ คำเริ่มต้นว่า าตเมตํ กุรุงฺคสฺส ดังนี้

ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา
นั่งกล่าวโทษของพระเทวทัตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตประกอบ
นายขมังธนู เพื่อต้องการปลงพระชนม์พระตถาคตกลิ้งศิลา ปล่อยช้างธนปาลกะ
ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระทศพล แม้ในกาลทั้งปวง. พระ-
ศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องการกล่าว
โทษของพระเทวทัตว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระ-
องค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่า
เราในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ก็แต่ว่าไม่
สามารถจะฆ่าเราได้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี
เป็นกวางเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในคราวหนึ่ง กวางนั้นกิน
ผลมะรื่นที่ต้นมะรื่นอันมีผลสะพรั่ง. ลำดับนั้น มีพรานนั่งห้างชาวบ้านคนหนึ่ง
พิจารณารอยเท้าเนื้อทั้งหลายแล้ว จึงผูกห้างบนต้นไม้แล้วนั่งบนห้างนั้น เอา

หอกแทงพวกเนื้อที่มากินผลไม้ แล้วขายเนื้อของเนื้อเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต วันหนึ่ง
พรานนั้นเห็นรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ที่โคนต้นไม้นั้น จึงผูกห้างบนต้นมะรื่น
นั้นแล้วบริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ แล้วถือหอกเข้าป่าขึ้นไปยังต้นไม้นั้นแล้วนั่ง
ห้าง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ออกจากที่อยู่แต่เช้าตรู่มาด้วยหวังว่าจักกินผลมะรื่นแต่

ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นไม้นั้น คิดว่า บางคราวพวกพรานนั่งห้างจะผูก
ห้างบนต้นไม้ อันตรายเห็นปานนี้ มีไหมหนอ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่แต่ภายนอก
ฝ่ายนายพรานรู้ว่าพระโพธิสัตว์ไม่มา นั่งอยู่บนห้างนั่นแหละ โยนผลมะรื่นให้
ตกลงข้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์คิดว่า ผลเหล่านี้มาตกลงข้างหน้า
เรา เบื้องบนต้นไม้นั้น มีนายพรานหรือหนอ เมื่อแลดูบ่อย ๆ ก็เห็นนายพราน

แต่ทำเป็นไม่เห็นพูดว่า ต้นไม้ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านให้ผลไม้ทั้งหลายตกลง
ตรง ๆ เหมือนเขย่าผลที่ห้อยอยู่ฉะนั้น บัดนี้ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เมื่อ
ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียอย่างนี้ เราจักเข้าไปยังโคนต้นไม้แม้ต้นอื่น แสวงหา
อาหารของเรา แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
แน่ะไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลไม้ให้กลิ้งมา
นั้น เราผู้เป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้มะรื่นต้นอื่น
เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าตํ ได้แก่ ปรากฏ คือเกิดแล้ว.
บทว่า เอตํ โยคว่า กรรมนี้. บทว่า กุรุงฺคสฺส แปลว่า เนื้อชนิดกวาง.
บทว่า ยํ ตฺวํ เสปณฺณิ เสยฺยสิ ความว่า ดูก่อนต้นไม้มะรื่นผู้เจริญ
การที่ท่านปล่อยให้ผลกลิ้งตกลงข้างหน้า คือได้เป็นผู้มีผลกระจายมานั้น ทั้ง
หมดเกิดเป็นสิ่งลามกสำหรับเนื้อกวาง. ด้วยบทว่า น เม เต รุจฺจเต นี้
กวางกล่าวว่า เราไม่ชอบใจผลของท่านผู้ให้ผลอยู่อย่างนี้ ท่านจงหยุดเถิด
เราจักไปที่อื่น ดังนี้ ได้ไปแล้ว.

ลำดับนั้น นายพรานทั้งที่นั่งอยู่บนห้างนั่นแล พุ่งหอกไปเพื่อพระ-
โพธิสัตว์นั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเถิด บัดนี้เราเป็นคนผิดหวังท่าน. พระ-
โพธิสัตว์หันกลับมายืนกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ แม้บัดนี้ท่านผิดหวังเราก็จริง แต่
ถึงกระนั้นท่านจะไม่ผิดหวังมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และกรรมกรณ์
ทั้งหลายมีการจองจำ ๕ประการเป็นต้น ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้ไป
ตามชอบใจ ฝ่ายนายพรานลงมาแล้วไปตามความชอบใจ.

แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อ
จะฆ่าเราในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายแล้วเหมือน
กัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบอนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า นาย
พรานนั่งห้างในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต ส่วนกวางในครั้งนั้นได้เป็น
เราแล.
จบกุรุงคมิคชาดกที่ ๑


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการประพฤติ
ประโยชน์แก่พระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย กุกฺกุรา
ดังนี้ การประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก
ทวาทสนิบาต. ก็พระศาสดาทรงตั้งเรื่องนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยกรรมเห็นปานนั้น บังเกิดในกำเนิดสุนัข ห้อมล้อมด้วย
สุนัขมิใช่น้อยอยู่ในสุสานใหญ่. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถเทียม
ม้าสินธพขาว ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เสด็จไปยังพระอุทยาน
ทรงเล่นในพระอุทยานนั้นตลอดส่วนภาคกลางวัน เมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึง

เสด็จเข้าพระนคร ราชบุรุษทั้งหลายวางสายเชือกหนังรถนั้นตามที่ผูกไว้นั้น
แหละที่พระลานหลวง เมื่อฝนตกตอนกลางคืน รถนั้นก็เปียกฝน. พวกสุนัข
ที่เลี้ยงไว้ในราชตระกูลลงจากปราสาทชั้นบน กัดกินหนังและชะเนาะาของรถนั้น.
วันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สุนัขทั้งหลาย
เข้าไปทางท่อนํ้า กัดกินหนังและชะเนาะของรถนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรง

กริ้วสุนัข จึงตรัสว่า พวกท่านจงฆ่าพวกสุนัขในที่ที่ได้เห็นแล้ว ๆ. ตั้งแต่นั้นมา
ความพินาศใหญ่หลวงจึงเกิดขึ้นแก่พวกสุนัข. สุนัขเหล่านั้นเมื่อถูกฆ่าในที่ที่พบ
เห็นจึงหนีไปป่าช้า ได้พากันไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ถาม
ว่า ท่านทั้งหลายเป็นอันมากพากันมาประชุม เหตุอะไรหนอ ? สุนัขเหล่านั้น
กล่าวว่า พระราชาทรงกริ้วว่า นัยว่า สุนัขกินหนังและชะเนาะของรถภายใน

พระราชวัง จึงทรงสั่งให้ฆ่าสุนัข สุนัขเป็นอันมากพินาศ มหาภัยเกิดขึ้นแล้ว.
พระโพธิสัตว์คิดว่า ในที่ที่มีการอารักขา สุนัขทั้งหลายในภายนอก ย่อมไม่
มีโอกาส กรรมนี้จักเป็นกรรมของพวกสุนัขเลี้ยงในภายในพระราชนิเวศน์นั่น
เอง ก็ภัยอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่พวกโจร ส่วนพวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย
ถ้ากระไร เราจะแสดงพวกโจรแก่พระราชาแล้วให้ทานชีวิตแก่หมู่ญาติ. พระ-

โพธิสัตว์นั้น ปลอบโยนญาติทั้งหลายให้เบาใจแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่า
กลัว เราจักนำความไม่มีภัยมาให้แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงอยู่ที่นี้แหละจน
กว่าเราจะได้เฝ้าพระราชา แล้วรำพึงถึงบารมี กระทำเมตตาภาวนาให้เป็น
ปุเรจาริกไปในเบื้องหน้าแล้วอธิษฐานว่า ใคร ๆ อย่าได้สามารถขว้างก้อนดิน
หรือไม้ค้อนเบื้องบนเรา ผู้เดียวเท่านั้นเข้าไปภายในพระนคร. ครั้งนั้น แม้

สัตว์ตัวหนึ่งเห็นพระโพธิสัตว์แล้วชื่อว่า โกรธแล้วแลดู มิได้มี. ฝ่ายพระราชา
ทรงสั่งฆ่าสุนัขแล้วประทับนั่งในที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระโพธิสัตว์ไปใน
ที่วินิจฉัยนั้นนั่นแล แล้ววิ่งเข้าไปภายใต้อาสน์ของพระราชา. ลำดับนั้น พวก
ราชบุรุษเริ่มเพื่อจะนำพระโพธิสัตว์นั้นออกมา แต่พระราชาทรงห้ามไว้

พระโพธิสัตว์นั้นพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วออกจากภายใต้อาสน์ ถวายบังคมพระ
ราชาแล้วทูลถามว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขจริงหรือพระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า เออ เราให้ฆ่า พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระจอมคน
สุนัขเหล่านั้นมีความผิดอะไร ? พระราชาตรัสว่า สุนัขทั้งหลายมันกินหนังหุ้ม
และชะเนาะแห่งรถของเรา พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า พระองค์ทรงรู้จักสุนัขตัว

ที่กินแล้วหรือ. พระราชาตรัสว่า ไม่รู้ พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
การไม่ทรงทราบโดยถ่องแท้ว่า โจรที่กินหนังชื่อนี้ แล้วทรงให้ฆ่าในที่ที่ได้พบ
เห็นทันที ไม่สมควร พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกิน
หนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่านจงฆ่าสุนัขที่ได้พบเห็นทั้งหมดเลย.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์ทูลว่า ก็มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นฆ่าสุนัขทั้งหมดทีเดียวหรือ หรือว่า
สุนัขแม้ไม่ได้ความตายก็มีอยู่. พระราชาตรัสว่ามี. สุนัขเลี้ยงในตำหนักของเรา
ไม่ได้การถูกฆ่าตาย. พระมหาสัตว์ทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ได้ตรัสในบัดนี้
ทีเดียวว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกินหนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่าน
จงฆ่าสุนัขทุกตัวที่ได้พบเห็น แต่บัดนี้พระองค์ตรัสว่า สุนัขเลี้ยงในตำหนัก
ของเราไม่ได้การถูกฆ่าตาย เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ย่อมลุอคติเช่นฉันทาคติ

เป็นต้น. ก็ชื่อว่าการลุอคติไม่สมควร และไม่เป็น (ทศพิธ) ราชธรรม ธรรมดา
พระราชาผู้แสวงหาเหตุและมิใช่เหตุ เป็นเช่นกับตาชั่งจึงจะควร. บัดนี้
สุนัขเลี้ยงในราชสกุลไม่ได้การตาย สุนัขที่ทุรพลเท่านั้นจึงจะได้ เมื่อเป็นเช่น
นั้น อันนี้ไม่เป็นการฆ่าสุนัขทุกตัว แต่อันนี้ชื่อว่าเป็นการฆ่าสุนัขที่ทุรพล
ก็แหละครั้นทูลอย่างนี้แล้ว จึงเปล่งเสียงอันไพเราะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้นไม่เป็นธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึง
กล่าวคาถานี้ว่า

สุนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุลเจริญ
ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้
นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่าโดยไม่แปลกกัน หา
มิได้ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลายที่ทุรพล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย กุกฺกุรา ได้แก่ สุนัขเหล่าใด.
เหมือนอย่างว่า ปัสสาวะแม้ยังมีนํ้าอุ่นก็เรียกว่ามูตรเน่า สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดใน
วันนั้นก็เรียกว่า สุนัขจิ้งจอกแก่ เถาหัวด้วนแม้ยังอ่อนก็เรียกว่าเถาหัวเน่า กาย
แม้จะมีสีเหมือนทองก็เรียกว่ากายเปื่อยเน่า ฉันใด สุนัขแม้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็
เรียกว่า กุกกุระ ลูกสุนัข ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สุนัขเหล่านั้น

แก่แต่สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ก็เรียกว่า กุกกุระเหมือนกัน. บทว่า วฑฺฒา
แปลว่า เจริญเติบโต. บทว่า โกเลยฺยกา ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว เจริญ
แล้วในราชสกุล. บทว่า วณฺณพลูปปนฺนา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีร่างกาย
และกำลังกาย. บทว่า เตเม น วชฺฌา ความว่า สุนัขเหล่านี้นั้นมีเจ้าของ

มีการอารักขา จึงไม่ถูกฆ่า. บทว่า มยมสฺส วชฺฌา ความว่า เราทั้งหลาย
ไม่มีเจ้าของไม่มีการอารักขา เป็นสุนัขที่ถูกฆ่า. บทว่า นายํ สฆจฺจา ความ
ว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น อันนี้ย่อมไม่ชื่อว่ามีการฆ่าโดยไม่แปลกกัน. บทว่า
ทุพฺพลฆาติกายํ ความว่า ส่วนอันนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการฆ่าอันทุรพล เพราะ

ฆ่าเฉพาะสุนัขทุรพลทั้งหลาย. อธิบายว่า ธรรมดาพระราชาทั้งหลายควรข่ม
พวกโจร พวกที่ไม่เป็นโจรไม่ควรข่ม แต่ในเหตุการณ์นี้ โทษอะไร ๆ ไม่มี
แก่พวกโจร พวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย โอ ! ในโลกนี้ สิ่งที่ไม่ควร
ย่อมเป็นไป โอ ! อธรรมย่อมเป็นไป.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชาได้ทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต
ก็ท่านรู้หรือว่า สุนัขชื่อโน้นกินหนังหุ้มรถ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า รู้พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า สุนัขพวกไหนกิน. พระโพธิสัตว์ทูลว่า พวกสุนัขเลี้ยงที่อยู่
ในตำหนักของพระองค์กิน พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านต้อง (พิสูจน์)
รู้ว่า สุนัขเหล่านั้นกินอย่างไร. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าพระบาทจักแสดงความที่

สุนัขเหล่านั้นกิน. พระราชาตรัสว่า จงแสดงเถิด บัณฑิต. พระโพธิสัตว์ทูลว่า
พระองค์จงให้นำพวกสุนัขเลี้ยงในตำหนักของพระองค์มา แล้วให้นำเปรียง
และหญ้าแพรกมาหน่อยหนึ่ง. พระราชาได้ทรงกระทำอย่างนั้น. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์ให้ขยำหญ้ากับเปรียงแล้วทูลกะพระราชานั้นว่า ขอพระองค์จงให้สุนัข
เหล่านี้ดื่ม พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้นแล้วให้ดื่ม สุนัขทั้งหลายที่ดื่มแล้ว ๆ ก็

ถ่ายออกมาพร้อมกับหนังทั้งหลาย พระราชาทรงดีพระทัยว่าเหมือนพยากรณ์
ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จึงได้ทรงทำการบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยเศวตฉัตร
พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยคาถาว่าด้วยการประพฤติธรรม
๑๐ ประการ อันมาในเตสกุณชาดก มีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชผู้บรมกษัตริย์
พระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกและชนนี ดังนี้ แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช

จำเดิมแต่นี้ไป พระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท แล้วให้พระราชาดำรงอยู่ในศีล ๕
จึงได้ถวายคืนเศวตฉัตรแด่พระราชา. พระราชาได้ทรงสดับธรรมกถาของพระ-
มหาสัตว์แล้วทรงให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงเริ่มตั้งนิตยภัตเช่นกับโภชนะของ
พระองค์แก่สุนัขทั้งปวงมีพระโพธิสัตว์เป็นต้น ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิ-
สัตว์ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นตลอดชั่วพระชนมายุ สวรรคตแล้วเสด็จอุบัติ

ในเทวโลก กุกกุโรวาทได้ดำเนินไปถึงหมื่นปี ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำรงอยู่
ตราบชั่วอายุแล้วได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติประโยชน์
แก่พระญาติทั้งหลาย ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ประพฤติ
แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ บริษัทที่
เหลือนอกนี้ ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนกุกกุรบัณฑิตคือเราแล.
จบกุกกุรชาดกที่ ๒


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ
ความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ ปส ฺเสน
เสมาโน ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยนั้น พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายแม้ในกาลก่อน ได้กระทำความเพียรแม้ในที่อัน
มิใช่ที่อยู่ แม้ได้รับบาดเจ็บก็ไม่ละความเพียร ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต
นิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพชื่อ โภชาชานียะ สมบูรณ์ด้วยอาการ
ทั้งปวง ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพาราณสี พระโพธิสัตว์นั้นบริโภคโภชนะ
ข้าวสาลีมีกลิ่นหอมอันเก็บไว้ ๓ ปี ถึงพร้อมด้วยรสเลิศต่าง ๆ ในถาดทองอันมี
ราคาแสนหนึ่ง ยืนอยู่ในภาคพื้นอันไล้ทาด้วยของหอมมีกำเนิด ๔ ประการ

เท่านั้น สถานที่ยืนนั้นวงด้วยม่านผ้ากัมพลแดง เบื้องบนดาดเพดานผ้าอัน
วิจิตรด้วยดาวทอง ห้อยพวงของหอมและพวงดอกไม้ ตามประทีปนํ้าหอม ก็
ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาราชสมบัติในนครพาราณสี ย่อมไม่มี
คราวหนึ่ง พระราชา ๗ พระองค์พากันล้อมนครพาราณสี ทรงส่งหนังสือแก่
พระเจ้าพาราณสีว่า จะให้ราชสมบัติแก่เราทั้งหลายหรือจะรบ. พระเจ้าพาราณสี
ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสบอกข่าวนั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเราจะกระทำอย่างไร ? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ เบื้องต้นพระองค์ยังไม่ต้องออกรบก่อน พระองค์จงส่งทหารม้าชื่อ
โน้นให้กระทำการรบ เมื่อทหารม้านั้นไม่สามารถข้าพระบาททั้งหลายจักรู้ใน
ภายหลัง. พระราชารับสั่งให้เรียกทหารม้านั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เธอ
จักอาจกระทำการรบกับพระราชา ๗ องค์หรือไม่. นายทหารม้ากราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าข้าพระบาทได้ม้าสินธพชื่อโภชาชานียะไซร้ พระราชา ๗
พระองค์จงยกไว้ ข้าพระบาทจักอาจรบกับพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีป. พระราชา
ตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ม้าสินธพโภชาชานียะ หรือม้าอื่นก็ช่างเถิด. นายทหารม้านั้น
รับพระดำรัสแล้ว ถวายบังคมพระราชาลงจากปราสาท ให้นำม้าสินธพโภชา-
ชานียะมา แม้ตนก็ผูกสอดเกราะทุกอย่าง เหน็บพระขรรค์ ขึ้นหลังม้าสินธพ

ตัวประเสริฐ ออกจากพระนครไปประดุจฟ้าแลบ ทำลายกองพลที่ ๑ จับเป็น
พระราชาได้องค์หนึ่ง พามามอบให้แก่พลในนครแล้วกลับไปอีก ทำลาย
กองพลที่ ๒ กองพลที่ ๓ ก็เหมือนกัน จับเป็นพระราชาได้ ๕ องค์ อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้ แล้วทำลายกองพลที่ ๖ ในคราวจับพระราชาองค์ที่ ๖ ม้า
สินธพโภชาชานียะได้รับบาดเจ็ด เลือดไหล เวทนากล้าเป็นไป นายทหารม้า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นั้นรู้ว่าม้าสินธพนั้นได้รับบาดเจ็บ จึงให้ม้าสินธพโภชาชานียะนอนที่ประตู
พระราชวัง เริ่มทำเกราะให้หลวมเพื่อจะผูกเกราะม้าตัวอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งที่
นอนทางข้างที่มีความผาสุกมาก ลืมตาขึ้นเห็นนายทหารม้า (ทำอย่างนั้น) จึง
คิดว่า นายทหารม้านี้จะหุ้มเกราะม้าตัวอื่น และม้าตัวนี้จักไม่สามารถทำลาย
กองพลที่ ๗ จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ และกรรมที่เราทำไว้แล้วจักพินาศหมด

แม้นายทหารม้าซึ่งไม่มีผู้เปรียบก็จักพินาศ แม้พระราชาก็จักตกอยู่ในเงื้อมมือ
ของพระราชาอื่น เว้นเราเสียม้าอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้ว
จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่นั่นแล ให้เรียกนายทหาร
ม้ามาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนนายทหารม้าผู้สหาย เว้นเราเสีย ชื่อว่าม้าอื่นผู้สามารถ
เพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้วจับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี เราจักไม่ทำ
กรรมที่เรากระทำแล้วให้เสียหาย ท่านจงให้เราแลลุกขึ้นแล้วผูกเกราะเถิด ครั้น
กล่าวแล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ม้าสินธพอาชาไนยถูกลูกศรแทงแล้ว แม้นอน
ตะแคงอยู่ข้างเดียว ก็ยังประเสริฐกว่าม้ากระจอก ดู
ก่อนนายสารถี ท่านจงประกอบฉันออกรบเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ปสฺเสน เสมาโน ได้แก่ แม้
นอนโดยข้าง ๆ เดียว. บทว่า สลฺเลภิ สลฺลลีกโต ความว่า เป็นผู้แม้ถูก
ศรทั้งหลายแล้ว. บทว่า เสยฺโยว วฬวา โภชฺโฌ ความว่า ม้ากระจอก
ซึ่งไม่ได้เกิดในตระกูลม้า ม้าสินธพ ชื่อว่า วฬวะ ม้าโภชาชานียสินธพ
ชื่อว่า โภชฌะ ดังนั้น ม้าโภชาชานียสินธพนั่นแหละ แม้ถูกลูกศรแทงแล้ว

ก็ยังประเสริฐคือเลิศ อุดม กว่าม้ากระจอกนั่น. ด้วยบทว่า ยุญฺช มญฺเว
สารถี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพราะเหตุที่เราแล แม้จะไปด้วยอาการ
อย่างนี้ก็ยังประเสริฐกว่า ฉะนั้น ท่านจงประกอบเราเถิด อย่าประกอบม้า
ตัวอื่นเลย.

นายทหารม้าพยุงพระโพธิสัตว์ให้ลุกขึ้น พันแผลแล้วผูกสอดเรียบร้อย
นั่งบนหลังของพระโพธิสัตว์นั้น ทำลายกองพลทับที่ ๗ จับเป็นพระราชาองค์ที่ ๗
แล้วมอบให้แก่พลของพระราชา คนทั้งหลายนำแม้พระโพธิสัตว์มายังประตู
พระราชวัง พระราชาเสด็จออกเพื่อทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์นั้น พระมหา-
สัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงฆ่าพระราชาทั้ง ๗ เลย

จงให้กระทำสบถแล้วปล่อยไป พระองค์จงประทานยศที่จะพึงประทานแก่ข้า-
พระบาทและนายทหารม้า ให้เฉพาะแก่นายทหารม้าเท่านั้น การจับพระราชา
๗ องค์ได้แล้ว ทำทหารผู้กระทำการรบ ให้พินาศ ย่อมไม่ควร แม้พระองค์ก็จง
ทรงบำเพ็ญทาน รักษาศีล ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม เมื่อพระโพธิสัตว์ให้
โอวาทแก่พระราชาอย่างนี้แล้ว คนทั้งหลายจึงถอดเกราะของพระโพธิสัตว์ออก

เมื่อเกราะสักว่าถูกถอดออกเท่านั้น พระโพธิสัตว์นั้นดับไปแล้ว. พระราชาทรง
ให้ทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ได้ประทานยศใหญ่แก่นายทหารม้า
ทรงให้พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ ทรงกระทำสบถเพื่อไม่ประทุษร้ายพระองค์อีก
แล้วทรงส่งไปยังที่ของตน ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยสมํ่าเสมอ ใน
เวลาสุดสิ้นพระชนมายุ ได้เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน
ได้กระทำความเพียรแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิดอย่างนี้ แม้ได้รับบาดเจ็บเห็น
ปานนี้ ก็ไม่ละความเพียร ส่วนเธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจาก
ทุกข์เห็นปานนี้ เพราะเหตุไร จึงละความเพียรเสีย แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ฝ่ายพระศาสดาครั้น

ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระ-
ราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ นายทหารม้าในครั้งนั้น ได้
เป็นพระสารีบุตร ส่วนโภชาชานียสินธพในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบโภชาชานียชาดกที่ ๓


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ
ความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา ยทา
ดังนี้.

ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิต
ทั้งหลายในปางก่อน เป็นผู้แม้ได้การประหารทั้งในที่อันมิใช่บ่อเกิด ก็ได้
กระทำความเพียร แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระราชา ๗ องค์พากันล้อมพระนครไว้ โดยนัยมีในเรื่องก่อนนั่นแหละ.
ลำดับนั้น นักรบประจำรถคันหนึ่ง เทียมรถมีม้าสินธพพี่น้อง ๒ ตัวออกจาก
พระนคร ทำลายกองพล ๖ กองพล ได้จับพระราชา ๖ องค์ไว้. ขณะนั้น
ม้าผู้พี่ได้รับบาดเจ็บ. สารถีจึงส่งรถมายังประตูพระราชวัง ปลดม้าผู้พี่ชายออก

จากรถ ทำเกราะให้หลวม แล้วให้นอนตะแคงข้างหนึ่ง เริ่มจะสวมเกราะม้า
ตัวอื่น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น จึงคิดโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแหละ แล้วให้
เรียกสารถีมา ทั้งที่นอนอยู่นั่นแลได้กล่าวคาถานี้ว่า

ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใด ๆ ณ เวลา
ใด ๆ ม้าอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอกย่อม
ถอยหนี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ยทา ได้แก่ ในกาลใด ๆ ใน
บรรดาเวลาเช้าเป็นต้น. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในที่ใด คือในหนทาง หรือ
ในสนามรบ. บทว่า ยทา คือ ในขณะใด. บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ได้แก่
ในสนามรบเป็นอันมาก เช่นกองพล ๗ กอง. บทว่า ยทา ยทา ได้แก่
ในกาลใด ๆ คือ ในกาลที่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ได้รับ. บทว่า อาชญฺโ

กุรุเต เวคํ ความว่า ม้าอาชาไนย คือ ม้าสินธพตัวประเสริฐ ผู้มีสภาวะรู้
ทั่วถึงเหตุที่จิตของสารถีชอบ ใช้กำลังความเร็ว คือพยายาม ปรารภความเพียร.
บทว่า หายนฺติ ตตฺถ วาฬวา ความว่า เมื่อม้าอาชาไนยนั้นใช้กำลังความ
เร็ว ม้ากระจอกกล่าวคือม้าตัวเมียนอกนี้ย่อมถอยหนี คือ ย่อมล่าถอยไป
เพราะฉะนั้น ท่านจงเทียมเฉพาะเราเท่านั้นในรถคันนี้.

สารถีประคองพระโพธิสัตว์ให้ลุกขึ้น เทียมแล้วทำลายกองพลที่ ๗ พา
เอาพระราชาองค์ที่ ๗ มา. ขับรถมายังประตูพระราชวังแล้วปลดม้าสินธพ. พระ-
โพธิสัตว์นอนตะแคงข้างหนึ่ง ถวายโอวาทแก่พระราชาโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแล
แล้วดับไป. พระราชารับสั่งให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น แล้ว
กระทำสัมมานะแก่สารถีประจำรถ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยเสมอ
เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดาทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์เถระ สารถีได้
เป็นพระสารีบุตร ส่วนม้าได้เป็นเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.
จบอาชัญญชาดกที่ ๔


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 12:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ที่นำมาลงผ่านๆมาผมอ่านผ่านแล้วครับ ท่านใดอ่านพระบาลีไม่
ได้ก็ให้ข้ามไปอ่านตรงที่ท่านอธิบายเป็นภาษาไทย์ไว้ก็แล้วกัน
นะครับ หรือท่านใดที่อ่านได้ก็อนุโมทนา บุญด้วยนะครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๕. อรรถกถาติฏฐชาดก๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้เคย
เป็นช่างทองรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อญฺมญฺเหิ ติฏฺเ€หิ ดังนี้.

ก็อาสยานุสยญาณย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่
คนอื่น เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีจึงไม่รู้อาสยะคืออัธยาศัย และอนุสัย
คือกิเลสอันเนื่องอยู่ในสันดานของสัทธิวิหาริก เพราะความที่ตนไม่มีอาสยานุ-
สยญาณ จึงบอกเฉพาะอสุภกรรมฐานเท่านั้น อสุภกรรมฐานนั้นไม่เป็นสัปปายะ
แก่สัทธิวิหาริกนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระธรรม

เสนาบดีนั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของช่างทองเท่านั้น ถึง ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็น
เช่นนั้น อสุภกรรมฐานจึงไม่เป็นสัปปายะแก่สัทธิวิหาริกนั้น เพราะเป็นผู้เคย
ชินต่อการเห็นทองคำบริสุทธิ์เท่านั้น เป็นเวลานาน สัทธิวิหาริกนั้นไม่อาจทำ
แม้มาตรว่านิมิตให้เกิดขึ้นในกรรมฐานนั้น ให้เวลาสิ้นไป ๔ เดือน. พระธรรม
เสนาบดีเมื่อไม่อาจให้พระอรหัตแก่สัทธิวิหาริกของตน จึงคิดว่า ภิกษุนี้

จักเป็นพุทธเวไนยแน่นอน เราจักนำไปยังสำนักของพระตถาคต จึงพาสัทธิ-
วิหาริกนั้นไปยังสำนักของพระศาสดาด้วยตนเอง แต่เช้าตรู่. พระศาสดาตรัส
ถามว่า สารีบุตร เธอพาภิกษุรูปหนึ่งมาหรือหนอ. พระสารีบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุนี้ แต่ภิกษุนี้ไม่อาจ
ทำแม้มาตรว่านิมิตให้เกิดขึ้น โดยเวลา ๔ เดือน ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ภิกษุ

นี้จักเป็นพุทธเวไนยผู้ที่พระพุทธเจ้าจะพึงทรงแนะนำ จึงได้พามายังสำนักของ
พระองค์ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอให้กรรมฐาน
ชนิดไหนแก่สัทธิวิหาริกของเธอ ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ให้อสุภกรรมฐาน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
สารีบุตร เธอไม่มีญาณเครื่องรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เธอไป

ก่อนเถิด เวลาเย็นเธอมา พึงพาสัทธิวิหาริกของเธอมาด้วย. พระศาสดา
ทรงส่งพระเถระไปอย่างนี้แล้ว ได้ให้ผ้านุ่งและจีวรอันน่าชอบใจแก่ภิกษุนั้น
แล้วทรงพาภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ให้ของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่กลับมายังพระวิหารอีก ทรงยังเวลาส่วนกลางวัน
ให้สิ้นไปในพระคันธกุฎี พอเวลาเย็น ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร
แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน แล้วทรงนิรมิตกอปทุม

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร