วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ใหญ่ในสระโบกขรณีนั้น และทรงนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุม
แม้นั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุม
นี้ แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี. ภิกษุนั้นแลดูดอกปทุมนั้นบ่อย ๆ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงให้ดอกปทุมนั้นเหี่ยว. ดอกปทุมนั้น เมื่อภิกษุนั้นแลดูอยู่

นั่นแหละได้เหี่ยวเปลี่ยนสีไป. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น กลีบของดอกปทุมนั้นก็
ร่วงไปตั้งแต่รอบนอก ได้ร่วงไปหมดโดยครู่เดียว. แต่นั้น เกสรก็ร่วงไป
เหลืออยู่แต่ฝักบัว. ภิกษุนั้นเห็นอยู่ดังนั้นจึงคิดว่า ดอกปทุมนี้ได้งดงามน่าดู
อยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น สีของมันก็แปรไป กลีบและเกสรร่วงไป คงอยู่
แต่เพียงฝักบัวเท่านั้น ความชราถึงแก่ดอกปทุมชื่อเห็นปานนี้ อย่างไรจักไม่

ถึงร่างกายของเรา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ จึงเริ่มเจริญวิปัสสนา พระ-
ศาสดาทรงทราบว่า จิตของภิกษุนั้นขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว ประทับอยู่ในพระ
คันธุฎีนั่นแล ทรงเปล่งโอภาสแสงสว่างไป แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย เหมือนคน
ตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล เธอจงพอกพูนทาง
แห่งความสงบ เพราะพระนิพพาน ตถาคตแสดงไว้
แล้ว.

ในเวลาจบคาถา ภิกษุนั้นบรรลุพระอรหัตแล้วคิดว่า เราเป็นผู้พ้น
แล้วหนอจากภพทั้งปวง จึงเปล่งอุทานด้วยคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า
เรานั้นมีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว มีฉันทะ
ในใจบริบูรณ์แล้ว มีอาสวะสิ้นไปแล้ว ทรงไว้ซึ่ง
ร่างกายครั้งสุดท้าย มีศีลบริสุทธิ์ มีอินทรีย์ตั้งมั่น
ด้วยดี หลุดพ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์พ้นจากปาก
ของราหูฉะนั้น เราบรรเทามลทินทั้งปวงอันกระทำ
ความมืด ซึ่งมืดมนอนธการเพราะโมหะได้เด็ดขาด
เหมือนพระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน ผู้สร้างแสงสว่าง ทำ
ความโชติช่วงด้วยแสงสว่างในท้องฟ้าฉะนั้น.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็แหละครั้นเปล่งอุทานแล้ว จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเถระ
ก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วได้พาสัทธิวิหาริกของตนไป. ข่าวนี้เกิดปรากฏ
ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาพระคุณของพระทศพลอยู่
ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระสารีบุตรเถระไม่รู้อัธยาศัยของ
สัทธิวิหาริกของตน เพราะไม่มีอาสยานุสยญาณ แต่พระศาสดาทรงทราบ ได้

ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่ภิกษุนั้น โดยวันเดียวเท่านั้น โอ !
ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีอานุภาพมาก พระศาสดาเสด็จมาแล้วประทับ
นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่นหามิได้ แต่นั่งสนทนากันด้วยเรื่อง

พระญาณ เครื่องรู้อัธยาศัยและอนุสัยแห่งสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี
เฉพาะของพระองค์เท่านั้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่
น่าอัศจรรย์ บัดนี้ เรานั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมรู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น
แม้ในกาลก่อน เราก็รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทาน
มา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์อนุศาสน์อรรถและธรรมกะพระราชาพระองค์นั้น. ใน
กาลนั้น พวกคนเลี้ยงม้าให้ม้ากระจอกขาเขยกอาบก่อนกว่าม้าอื่น ณ ท่าที่ม้า
มงคลของพระราชาอาบ. ม้ามงคลถูกให้ลงท่าที่ม้ากระจอกอาบ จึงเกลียดไม่
ปรารถนาจะลง คนเลี้ยงม้ามากราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ม้า
มงคลไม่ปรารถนาจะลงท่านํ้า พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปว่า

ดูก่อนบัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะเหตุไร ม้าถูกเขาให้ลงท่านํ้าจึงไม่
ลง. พระโพธิสัตว์ทูลรับพระบัญชาแล้วไปยังฝั่งแม่นํ้า ตรวจดูม้าก็รู้ว่าม้าไม่มี
โรค จึงใคร่ครวญว่า เพราะเหตุไรหนอ ม้านี้จึงไม่ลงท่านี้ จึงคิดว่า ม้าอื่น
จักถูกอาบที่ท่านี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น ม้านั้นเห็นจะรังเกียจจึงไม่ลงท่า แล้วถาม
พวกคนเลี้ยงม้าว่า ท่านผู้เจริญ ที่ท่านี้ท่านทั้งหลายให้ม้าอะไรอาบก่อน. พวก

คนเลี้ยงม้ากล่าวว่า ข้าแต่นาย ให้ม้ากระจอกอาบก่อนกว่าม้าอื่น. พระโพธิสัตว์
รู้อัธยาศัยของม้านั้นว่า ม้านี้รังเกียจจึงไม่ปรารถนาจะอาบที่ท่านี้ เพราะตน
เป็นสัตว์มี (คุณ) สมบัติ การให้ม้านี้อาบในท่าอื่น จึงจะควร จึงกล่าวว่า
ท่านผู้เลี้ยงม้าผู้เจริญ แม้ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส นํ้าผึ้ง และนํ้าอ้อย

เมื่อบุคคลบริโภคบ่อย ๆ ก่อน ย่อมมีความเบื่อ ม้านี้อาบที่ท่านี้หลายครั้ง
เบื้องต้นพวกท่านจงให้ม้านั้นลงยังท่าแม้อื่น แล้วให้อาบและดื่ม จึงกล่าวคาถา
นี้ว่า

ดูก่อนนายสารถี ท่านจงยังม้าให้อาบและดื่มที่
ท่าโน้นท่านี้บ้าง แม้ข้าวปายาสที่บริโภคบ่อยครั้ง คน
ก็ย่อมอิ่มได้.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺมญฺเหิ แยกศัพท์ออกเป็น
อญฺเหิ อญฺเหิ แปลว่า อื่น ๆ. บทว่า ปาเยหิ (แปลว่าจงให้ดื่ม) นี้
เป็นหัวข้อเทศนา อธิบายว่า จงให้อาบและให้ดื่ม. บทว่า อจฺจาสนสฺส นี้
เป็นฉัฏฐีวิภัติใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ อธิบายว่า กินยิ่ง คือบริโภคยิ่ง.
บทว่า ปายาสสฺสปิ ตปฺปติ ความว่า ย่อมอิ่มคือเป็นผู้อิ่ม เป็นผู้ที่เขา
เลี้ยงดูอิ่มแล้ว แม้ด้วยข้าวมธุปายาสที่ปรุงด้วยเนยใสเป็นต้น ย่อมไม่ถึงความ
เป็นผู้ต้องการบริโภคอีก เพราะฉะนั้นม้าแม้นี้ก็จักถึงความพอ เพราะการอาบ
ประจำที่ท่านี้ ท่านจงให้อาบที่ท่าอื่นเถิด.

คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงให้ม้าลงท่า
อื่น ให้ดื่มและให้อาบ ในเวลาที่ม้าดื่มนํ้าแล้วอาบ พระโพธิสัตว์ได้มายัง
สำนักของพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ ม้าอาบและดื่มแล้วหรือ
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า
ทีแรก เพราะเหตุไร ม้าจึงไม่ปรารถนา ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ เพราะเหตุชื่อแม้นี้ แล้วกราบทูลเหตุทั้งปวง พระราชาตรัสว่า โอ !
ท่านบัณฑิตย่อมรู้อัธยาศัยชื่อแม้ของสัตว์เดียรัจฉานเห็นปานนี้ แล้วประทาน
ยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์ ในเวลาสิ้นอายุ. ได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว ฝ่าย
พระโพธิสัตว์ก็ไปตามยถากรรมเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรารู้อัธยาศัยของภิกษุนี้ใน
บัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็รู้เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม
เทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว. จึงทรงประชุมชาดกว่า ม้ามงคลในกาลนั้น
ได้เป็นภิกษุรูปนี้ พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วน
อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคตแล.
จบติฏฐชาดกที่ ๕


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๖. อรรถกถามหิลามุขชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โปราณโจราน วโจ นิสมฺม
ดังนี้

ความพิศดารว่า พระเทวทัตทำให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสแล้ว ยัง
ลาภสักการะให้เกิดขึ้น อชาตศัตรูกุมารให้สร้างวิหารที่ตำบลคยาสีสะเพื่อพระ-
เทวทัต แล้วนำไปเฉพาะโภชนะข้าวสาลีมีกลิ่นหอมซึ่งเก็บไว้ ๓ ปี วันละ ๕๐๐
สำรับ โดยรสเลิศต่าง ๆ เพราะอาศัยลาภสักการะ บริวารของพระเทวทัตจึง
ใหญ่ขึ้น พระเทวทัตพร้อมทั้งบริวารอยู่ในวิหารนั่นแหละ. สมัยนั้นมีสหาย ๒
คนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระ-

ศาสดา คนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมเห็นกัน
และกันแม้ในที่นั้น ๆ แม้ไปวิหารก็ยังเห็นกัน อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นนิสิต
ของพระเทวทัตกล่าวกะภิกษุนอกนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านจะเที่ยวบิณฑบาตมีเหงื่อ
ไหลอยู่ทุกวัน ๆ ทำไม ท่านนั่งในวิหารที่ตำบลคยาสีสะเท่านั้น จะได้บริโภค
โภชนะดีด้วยรสเลิศต่าง ๆ ข้าวปายาสเห็นปานนี้ไม่มีในวิหารนี้ ท่านจะมัวเสวย

ทุกข์อยู่ทำไม ประโยชน์อะไรแก่ท่าน การมายังคยาสีสะแต่เช้าตรู่แล้วดื่มข้าวยาคู
พร้อมด้วยแกงอ่อม เคี้ยวของควรเคี้ยว ๑๘ ชนิด แล้วบริโภคโภชนะดีด้วย
รสเลิศต่าง ๆ ไม่ควรหรือ ภิกษุนั้นถูกพูดบ่อย ๆ เป็นผู้ประสงค์จะไป จำเดิม
แต่นั้นจึงไปยังคยาสีสะบริโภคแล้วก็มายังพระเวฬุวันต่อเมื่อเวลาสาย ภิกษุนั้น
ไม่อาจปกปิดไว้ได้ตลอดไป ไม่ช้านัก ข่าวก็ปรากฏว่า ภิกษุนั้นไปคยาสีสะ

บริโภคภัตที่เขาอุปัฏฐากพระเทวทัต. ลำดับนั้น สหายทั้งหลายพากันถามภิกษุ
นั้นว่า ผู้มีอายุ ได้ยินว่า ท่านบริโภคภัตที่เขาอุปัฏฐากแก่พระเทวทัตจริงหรือ ?
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ใครกล่าวอย่างนี้. สหายเหล่านั้นกล่าวว่า คนโน้นและคน
โน้นกล่าว ภิกษุนั้นกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไปยังคยาสีสะบริโภคจริง
แต่พระเทวทัตไม่ได้ให้ภัตแก่ผม คนอื่น ๆ ให้. ภิกษุผู้สหายกล่าวว่า ผู้มีอายุ

พระเทวทัตเป็นเสี้ยนหนามต่อพระพุทธเจ้า เป็นผู้ทุศีล ยังพระเจ้าอชาตศัตรู
ให้เลื่อมใส แล้วยังลาภสักการะให้เกิดแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม ท่านบวชใน
ศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ แล้วบริโภคโภชนะอันเกิดขึ้น
แก่พระเทวทัตโดยไม่ชอบธรรมเลย มาเถอะ เราทั้งหลายจักนำท่านไปยัง
สำนักของพระศาสดา แล้วพาภิกษุนั้นมายังโรงธรรมสภา พระศาสดาพอทรง

เห็นภิกษุนั้นเท่านั้นจึงตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุนี้ ผู้ไม่
ปรารถนา มาแล้วหรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุนี้บวชในสำนักของพระองค์ แล้วบริโภคโภชนะอันเกิดขึ้นแก่
พระเทวทัต โดยไม่ชอบธรรม พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า
เธอบริโภคโภชนะอันเกิดแก่พระเทวทัต โดยไม่ชอบธรรมจริงหรือ ? ภิกษุนั้น

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัต ไม่ได้ให้ภัตแก่ข้าพระองค์
คนอื่น ๆ ให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จึงบริโภคภัตนั้น พระศาสดาตรัสว่า
ภิกษุ เธออย่ากระทำการหลีกเลี่ยงในเรื่องนี้ พระเทวทัตเป็นผู้ไม่มีอาจาระ
เป็นผู้ทุศีล เธอบวชในศาสนานี้แล้ว คบหาศาสนาของเราอยู่นั่นแล ยังบริโภค
ภัตของพระเทวทัตได้อย่างไรเล่า เธอมีปกติคบหาอยู่แม้เป็นนิตยกาล ก็ยังคบ
หาพวกคนที่เห็นแล้ว ๆ ครั้นตรัสแล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ในกาลนั้น ช้างมงคล
ของพระเจ้าพรหมทัตชื่อว่ามหิลามุข เป็นช้างมีศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระมารยาท
ไม่เบียดเบียนใคร ๆ อยู่มาวันหนึ่ง โจรทั้งหลายมา ณ ที่ใกล้โรงช้างนั้น ใน
ลำดับกาลอันเป็นส่วนราตรี นั่งปรึกษาการลักอยู่ในที่ไม่ไกลช้างนั้นว่าต้อง

ทำลายอุโมงค์อย่างนี้ ต้องกระทำการตัดช่องย่องเบาอย่างนี้ การกระทำอุโมงค์
และการตัดช่องย่องเบาให้ปราศจากรกชัฏ ให้ปราศจากพุ่มไม้ เช่นกับหนทาง
เช่นกับท่านํ้า แล้วลักเอาสิ่งของไปจึงจะควร บุคคลผู้เมื่อจะลัก ต้องฆ่า และ
ต้องประหารแล้วจึงลัก เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะลุกขึ้น (ต่อสู้)
จักไม่มี อันธรรมดาว่า โจรต้องเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยศีลและอาจาระ ต้องเป็น

คนกักขฬะ หยาบช้า ป่าเถื่อน ครั้นปรึกษากันอย่างนี้แล้ว จึงให้กันและกัน
เรียนเอาแล้วได้พากันไป พวกโจรพากันมาปรึกษาในที่นั้นโดยนัยนี้นั่นแหละ
หลายวัน คือ แม้ในวันรุ่งขึ้น แม้ในวันรุ่งขึ้น. ช้างได้ฟังคำของโจรเหล่านั้น
สำคัญว่า ให้เราสำเหนียก จึงคิดว่าบัดนี้ เราต้องเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า
ป่าเถื่อน จึงได้เป็นผู้เห็นปานนั้น เอางวงจับคนเลี้ยงช้างผู้มาแต่เช้าตรู่ฟาดที่

พื้นดินให้ตาย ฆ่าคนที่มาแล้ว ๆ คือ แม้คนหนึ่ง ๆ พวกราชบุรุษจึงกราบทูล
แด่พระราชาว่า ช้างมหิลามุขเป็นบ้า ฆ่าคนที่พบเห็นแล้ว ๆ พระเจ้าข้า. พระ-
ราชาทรงส่งพระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เธอจงไป จงรู้
ว่า ช้างนั้นดุร้าย เพราะเหตุไร. พระโพธิสัตว์ไปแล้วรู้ว่าช้างนั้นไม่มีโรคใน
ร่างกายจึงคิดว่า เพราะเหตุไรหนอ ช้างนี้จึงเกิดเป็นช้างดุร้าย เมื่อใคร่ครวญ

ไปจึงสันนิษฐานว่า ช้างนี้ได้ฟังคำของใคร ๆ ในที่ไม่ไกล สำคัญว่าคนเหล่านี้
ให้เราสำเหนียก จึงเป็นช้างดุร้ายแน่นอน จึงถามพวกคนเลี้ยงช้างว่าคนบางพวก
เคยกล่าวคำอะไรในตอนกลางคืน ณ ที่ใกล้ช้าง มีอยู่หรือหนอ ? พวกคนเลี้ยง
ช้างกล่าวว่า ขอรับ นาย พวกโจรพากันมากล่าว. พระโพธิสัตว์จึงไปกราบทูล
แด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ความพิการไม่มีในร่างกายแห่งช้างของหลวง

ช้างนั้นเกิดเป็นช้างดุร้าย เพราะได้ฟังถ้อยคำของพวกโจรพะย่ะค่ะ. พระราชา
ตรัสถามว่า บัดนี้ควรจะทำอย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า นิมนต์สมณ-
พราหมณ์ผู้มีศีลให้นั่งในโรงช้างแล้วกล่าวถึงศีลและอาจาระ จึงจะควรพะย่ะค่ะ
พระราชาตรัสว่า จงกระทำอย่างนั้นเถิด พ่อ. พระโพธิสัตว์จึงนิมนต์สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลให้นั่งในโรงช้างแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

ทั้งหลายจงกล่าวศีลกถาว่าด้วยเรื่องศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นนั่งในที่ไม่ไกล
ช้าง พากันกล่าวศีลกถาว่า ไม่พึงปรามาสจับต้อง ไม่พึงด่าใคร ๆ ควรเป็น
ผู้เพียบพร้อมด้วยศีลและอาจาระ เป็นผู้ประกอบด้วยขันติ เมตตา และความ
เอ็นดู ช้างนั้นได้ฟังดังนั้นคิดว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ให้เราศึกษาสำเหนียก
จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรเป็นผู้มีศีล แล้วได้เป็นผู้มีศีลแล้วหรือ ? พระโพธิ-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สัตว์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชาตรัสว่า ช้างดุร้ายชื่อ
เห็นปานนี้ อาศัยบัณฑิตทั้งหลายจึงตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นของเก่าได้ แล้วได้
กล่าวคาถานี้ว่า

พระยาช้างชื่อมหิลามุขได้เที่ยวทุบตีคนเพราะ
ได้ฟังคำของพวกโจรมาก่อน พระยาช้างผู้อุดมตั้งอยู่
ในคุณทั้งปวงก็เพราะได้ฟังคำของท่านผู้สำรวมดีแล้ว.

ก็เพราะได้ฟังคำของท่านผู้สำรวมดีแล้ว บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
โปราณโจรานํ ได้แก่พวกโจรรุ่นเก่าก่อน. บทว่า นิสมฺม ได้แก่ เพราะ
ฟัง อธิบายว่า เพราะได้ฟังคำของพวกโจรมาก่อน.บทว่า มหิลามุโข
แปลว่า มีหน้าเช่นกับหน้าช้างพัง อีกอย่างหนึ่ง ช้างพังเมื่อแลดูข้างหน้าจึง
จะงาม แลดูข้างหลังไม่งามฉันใด ช้างแม้นั้นก็ฉันนั้น เมื่อแลดูข้างหน้า

จึงจะงาม เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อช้างนั้นว่า มหิลามุข. บทว่า
โปถยมานุจารี ความว่า เที่ยวติดตามโบยอยู่ คือ ฆ่าอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
พระบาลีก็อย่างนี้แหละ. บทว่า สุสญฺตานํ ได้แก่ ผู้สำรวมด้วยดี คือ
มีศีล. บทว่า คชุตฺตโม ได้แก่ ช้างอุดม คือ ช้างมงคล. บทว่า
สพฺพคุเณสุ อฏฺ€ ได้แก่ ตั้งอยู่เฉพาะในคุณเก่าทั้งปวง.

พระราชาทรงพระดำริว่า พระโพธิสัตว์รู้อัธยาศัยแม้ของสัตว์เดียรัจ-
ฉานทั้งหลาย จึงได้พระราชทานยศใหญ่ให้ พระราชานั้นทรงดำรงอยู่ตราบชั่ว
พระชนมายุ ได้ไปตามยถากรรมพร้อมกับพระโพธิสัตว์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อน เธอก็คบหาคนที่พบ
เห็นแล้ว ๆ เหมือนกัน เพราะได้ฟังถ้อยคำของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
จึงได้คบหาท่านผู้ตั้งอยู่ในธรรม ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่อ
อนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ช้างมหิลามุขในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุ
ผู้ซ่องเสพฝ่ายตรงข้ามในบัดนี้ พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-
อานนท์ ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราคือพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าแล.
จบมหิลามุขชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภอุบาสกคน
หนึ่งกับพระเถระแก่ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาลํ กพลํ
ปทาตเว ดังนี้.

ได้ยินว่า ในนครสาวัตถีมีสหาย ๒ คน บรรดาสหายทั้งสองนั้น
คนหนึ่งบวชแล้วได้ ไปยังเรือนของสหายนอกนี้ทุกวัน สหายนั้นได้ถวายภิกษา
แก่ภิกษุผู้สหายนั้น แม้ตนเองก็บริโภคแล้ว ได้ไปวิหารพร้อมกับภิกษุผู้สหาย
นั้นนั่นแหละ นั่งสนทนาปราศัยอยู่จนพระอาทิตย์อัสดง จึงกลับเข้าเมือง.
ฝ่ายภิกษุผู้สหายนอกนี้ก็ตามสหายนั้นไปจนถึงประตูเมืองแล้วก็กลับ. ความ

คุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้นเกิดปรากฏในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายนั่งกล่าวถึงความคุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้นในโรงธรรมสภา.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยกถาเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยกถาเรื่องชื่อนี้
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สหายทั้งสองนี้เป็นผู้คุ้นเคยกัน

แต่ในบัดนี้ เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน
แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. ในกาลนั้น
สุนัขตัวหนึ่งไปยังโรงช้างมงคลกินเมล็ดข้าวสุกแห่งภัตที่ตกอยู่ในที่ที่ช้างมงคล
บริโภค สุนัขนั้นเติบโตด้วยโภชนะนั้นนั่นแล จึงเกิดความคุ้นเคยกับช้างมงคล
บริโภคอยู่ในสำนักของช้างมงคลนั่นเอง. สัตว์แม้ทั้งสองไม่อาจเป็นไปเว้นจาก

กัน. ช้างนั้นเอางวงจับสุนัขนั้นไสไปไสมาเล่น ยกขึ้นวางบนกระพองบ้าง.
อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ชาวบ้านคนหนึ่งให้มูลค่าแก่คนเลี้ยงช้าง แล้วได้พาเอา
สุนัขนั้นไปบ้านของตน ตั้งแต่นั้น ช้างนั้นเมื่อไม่เห็นสุนัขก็ไม่กิน ไม่ดื่ม
ไม่อาบ พวกคนเลี้ยงช้างจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชาทรงสั่ง
พระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า บัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะเหตุไร

ช้างจึงกระทำอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ไปยังโรงช้างรู้ว่าช้างเสียใจ คิดว่า
โรคไม่ปรากฏในร่างกายของช้างนี้ ก็ความสนิทสนมฐานมิตรกับใคร ๆ จะพึงมี
แก่ช้างนั้น ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นมิตรนั้น จึงถูกความโศกครอบงำ ครั้นคิด
แล้ว จึงถามพวกคนเลี้ยงช้างว่า ความคุ้นเคยกับใคร ๆ ของช้างนี้ มีอยู่หรือ ?

พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า มีจ้ะนาย ช้างนี้ถึงความคุ้นเคยกันมากกับสุนัขตัวหนึ่ง
พระโพธิสัตว์ถามว่า บัดนี้ สุนัขตัวนั้นอยู่ที่ไหน ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า
ถูกมนุษย์คนหนึ่งนำไป พระโพธิสัตว์ถามว่า ก็ที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์คน
นั้น พวกท่านรู้จักไหม ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ไม่รู้จักดอกนาย. พระ-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
โพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาพาธ
ไร ๆ ของช้างไม่มี แต่ช้างนั้นมีความคุ้นเคยอย่างแรงกล้ากับสุนัขตัวหนึ่ง
ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นสุนัขนั้นจึงไม่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่
สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า
ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทมาสำคัญว่า พระยา
ช้างตัวประเสริฐได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้
เห็นกันเนือง ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่สามารถ. บทว่า
กพลํ ได้แก่ คำข้าวที่ให้เฉพาะทีแรก ในเวลาบริโภค. บทว่า ปทาตเว
แปลว่า เพื่อรับเอา. พึงทราบการลบ อา อักษร เนื่องด้วยวิธีสนธิการเชื่อม
ศัพท์. อธิบายว่า เพื่อถือเอา. บทว่า น ปิณฺฑํ ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อ
รับเอาแม้ก้อนภัตที่เขาปั้นให้. บทว่า น กุเส ได้แก่ ไม่สามารถรับเอาแม้

หญ้าทั้งหลายที่เขาให้กิน. บทว่า น ฆํสิตุํ ความว่า ให้อาบอยู่ก็ไม่สามารถ
จะขัดสีแม้ร่างกาย. พระโพธิสัตว์กราบทูลแด่พระราชาถึงเหตุทั้งปวงที่ช้างนั้น
ไม่สามารถจะกระทำ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกราบทูลถึงเหตุที่ตนกำหนด ใน
เพราะช้างนั้นไม่สามารถ จึงกราบทูลคำมีอาทิว่า มญฺามิ ข้าพระบาท
สำคัญว่า ดังนี้.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า ดูก่อน
บัณฑิต บัดนี้ควรกระทำอย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ได้ยินว่า มนุษย์ผู้หนึ่งพาเอาสุนัขผู้เป็นสหายของช้างมงคลแห่งข้าพระบาท
ทั้งหลายไป ขอพระองค์จงให้คนเที่ยวตีกลองประกาศว่า ชนทั้งหลายแม้
เห็นสุนัขนั้นในเรือนของคนใด คนนั้นจะมีสินไหมชื่อนี้ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชาทรงให้กระทำอย่างนั้น. บุรุษนั่นได้สดับข่าวนั้นจึงปล่อยสุนัข สุนัข
นั้นรีบไป ได้ไปยังสำนักของช้างทีเดียว. ช้างเอางวงจับสุนัขนั้นวางบนกระพอง
ร้องไห้รํ่าไรแล้วเอาลงจากกระพอง เมื่อสุนัขนั้นบริโภค ตนจึงบริโภคภายหลัง
พระราชาทรงพระดำริว่า พระโพธิสัตว์รู้อัธยาศัยของสัตว์เดียรัจฉาน จึงได้
ประทานยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้คุ้นเคย
กันในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันมาแล้ว ครั้น
ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงเปลี่ยนแสดงด้วยกถาว่าด้วยสัจจะ ๔
ทรงสืบอนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดก. ชื่อว่าการเปลี่ยนมาแสดงกถาว่าด้วย

สัจจะ ๔ นี้ ย่อมมีแม้ทุกชาดกทีเดียว แต่เราทั้งหลายจักแสดงการเปลี่ยนกลับ
มาแสดงกถาว่าด้วยอริยสัจ ๔ เฉพาะในชาดกที่ปรากฏอานิสงส์แก่บุคคลนั้น
เท่านั้นแล. สุนัขในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสกในบัดนี้ ช้างในกาลนั้น
ได้เป็นพระเถระแก่ในบัดนี้ พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
ในบัดนี้ ส่วนบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ได้เป็นเราแล.
จบอภิณหชาดกที่ ๗


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการพูด
เสียดแทงให้เจ็บใจ ของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อกระทำการทะเลาะ
ย่อมขู่ ย่อมตะเพิด ย่อมทิ่มแทง ย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้
เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์มาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอ

กระทำการทะเลาะจริงหรือ ? เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า จริง พระเจ้า
ข้า จึงทรงติเตียนแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าวาจาหยาบกระทำ
แต่ความฉิบหายให้ ไม่เป็นที่พอใจแม้แห่งสัตว์เดียรัจฉาน แม้ในกาลก่อน
สัตว์เดียรัจฉานตัวหนึ่ง ย่อมยังคนผู้ร้องเรียกตนด้วยคำหยาบให้พ่ายแพ้ด้วย
ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่าคันธาระ ครองราชสมบัติอยู่ใน
เมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิด โค. ครั้งในกาล
ที่พระโพธิสัตว์เป็นลูกโคหนุ่มนั่นเอง พราหมณ์คนหนึ่งได้พระโพธิสัตว์นั้น
จากสำนักของทายกผู้ให้ทักษิณา ตั้งชื่อว่านันทิวิสาล แล้วตั้งไว้ในฐานะบุตร

รักใคร่มาก ให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นบำรุงเลี้ยงแล้ว. พระโพธิสัตว์เจริญวัย
แล้ว คิดว่า พราหมณ์นี้ปรนนิบัติเราได้โดยยาก ชื่อว่าโคอื่นผู้มีธุระเสมอ
เช่นกับเรา ย่อมไม่มีในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถ้ากระไร เราพึงแสดงกำลังของตน
แล้วพึงให้ค่าเลี้ยงดูแก่พราหมณ์. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะพราหมณ์

ว่า พราหมณ์ท่านจงไป จงเข้าไปหาโควินทกเศรษฐีนั่น แล้วกล่าวว่า โค
พลิพัทของเรายังเกวียนร้อยเล่มซึ่งผูกติด ๆ กันให้เคลื่อนไปได้ ท่านจง
กระทำการเดิมพันด้วยทรัพย์พันกหาปณะ พราหมณ์นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐี
สั่งสนทนาขึ้นว่า ในนครนี้โคของใครเพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรง. ลำดับนั้น

เศรษฐีจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ของคนโน้นและของคนโน้น แล้วกล่าวว่า
ก็ทั่วทั้งนครโคชื่อว่าเช่นกับด้วยโคทั้งหลายของเรา ย่อมไม่มี. พราหมณ์กล่าว
ว่า โคของเราตัวหนึ่งสามารถให้เกวียนร้อยเล่มผูกติด ๆ กันเคลื่อนไปได้ มี
อยู่. เศรษฐีกล่าวว่า คฤหบดี โคเห็นปานนี้จะมีแต่ไหน. พราหมณ์กล่าวว่า
มีอยู่ในเรือนของเรา . เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกระทำเดิมพัน.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พราหมณ์กล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจะทำ แล้วได้กระทำเดิมพันด้วยทรัพย์พัน
กหาปณะ พราหมณ์นั้นยังเกวียนร้อยเล่มให้เต็มด้วยทราย กรวด และหินเป็นต้น
แล้วจอดไว้ตามลำดับกัน แล้วผูกเกวียนทุกเล่มเข้าด้วยกันด้วยเชือกสำหรับผูก
เพลาแล้วให้โคนันทิวิสาลอาบนํ้าแล้วเจิมด้วยของหอม ประดับพวงมาลาที่คอ
แล้วเทียมเฉพาะตัวเท่านั้นที่ทูบเกวียนเล่มแรก ตนเองนั่งที่ทูบเกวียน เงื้อปฏัก

ขึ้นแล้วกล่าวว่า เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง จงนำไป. พระโพธิสัตว์คิด
ว่า พราหมณ์นี้ร้องเรียกเราผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโกง จึงได้ยืนทำเท้าทั้ง ๔
ให้นิ่ง เหมือนเสา. ทันใดนั้น เศรษฐีจึงให้พราหมณ์นำทรัพย์พันกหาปณะมา.
พราหมณ์แพ้ (พนัน) ด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จึงปลดโคแล้วไปเรือน ถูกความ
โศกครอบงำ จึงได้นอน. โคนันทิวิสาลเที่ยวไปแล้วกลับมา เห็นพราหมณ์
ุุ
ถูกความโศกครอบงำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านนอนหลับหรือ.
พราหมณ์กล่าวว่า เราแพ้พนันด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จะมีความหลับมาแต่ไหน.
โคนันทิวิสาลกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ฉันอยู่ในเรือนของท่านมาตลอดกาลมี
ประมาณเท่านี้ เคยทำภาชนะอะไร ๆ แตก เคยเหยียบใคร ๆ หรือเคยถ่าย
อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่อันไม่ควร มีอยู่หรือ. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่มีดอกพ่อ.

ลำดับนั้น โคนันทิวิสาลกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงเรียก
ฉันด้วยวาทะว่าโคโกง นั้นเป็นโทษของท่านเท่านั้นโทษของฉันไม่มี ท่านจงไป
จงทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีนั้น ขออย่างเดียวท่านอย่า
เรียกฉันผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโคโกง พราหมณ์ได้ฟังคำของโคนันทิวิสาลนั้น
แล้ว ปกระทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแล้วผูกเกวียนร้อยเล่มติดกัน

โดยนัยอันมีแล้วในก่อน ประดับโคนันทิวิสาลแล้วเทียมเกวียนเล่มแรกเข้าที่
ทูบเกวียน. ถามว่า เทียมอย่างไร ? ตอบว่า พราหมณ์ผูกแอกให้แน่นที่ทูบ
เกวียนแล้วเทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่ปลายแอกข้างหนึ่งแล้วเอาเชือกที่ทูบเกวียน
พันปลายแอกข้างหนึ่งแล้วใส่ไม้คํ้ายันปลายแอก เพลา และเชิงเกวียนเอาเชือก

นั้นผูกให้แน่นแล้วจอดไว้ ก็เมื่อกระทำอย่างนี้ แอกย่อมไม่เคลื่อนไปทางโน้น
ทางนี้ โคตัวเดียวเท่านั้น อาจลากไปได้ ลำดับนั้น พราหมณ์นั่งบนทูบเกวียน
ลูบหลังโคนันทิวิสาลนั้นพลางกล่าวว่า โคผู้เจริญ พ่อจงไป โคผู้เจริญ พ่อจง
ลากไป. พระโพธิสัตว์ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน ด้วยกำลังแรงครั้งเดียว

เท่านั้น ให้เกวียนเล่มที่ตั้งอยู่ข้างหลังไปตั้งอยู่ในที่ของเกวียนซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้า
โควินทกเศรษฐีแพ้แล้วได้ให้ทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแก่พราหมณ์ มนุษย์แม้
อื่น ๆ ก็ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ทรัพย์ทั้งหมดนั้นได้เป็นของ
พราหมณ์ทั้งนั้น พราหมณ์นั้นอาศัยพระโพธิสัตว์จึงได้ทรัพย์เป็นอันมากด้วย
ประการอย่างนี้.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าคำหยาบไม่เป็นที่ชอบใจ
ของใคร ๆ แล้วทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท เป็น
พระผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่พึง
กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ในกาลไหน ๆ เมื่อพราหมณ์
กล่าวคำที่น่าพอใจโคนันทิวิสาลได้ลากเอาภาระหนัก
ไปได้ ทำพราหมณ์ผู้นั้นให้ได้ทรัพย์ด้วย ตนเองก็
เป็นผู้ปลื้มใจเพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ความว่า บุคคล
เมื่อจะกล่าวกับคนอื่น พึงกล่าวเฉพาะปิยวาจาอันอ่อนหวานอ่อนโยนเป็นที่
น่าพอใจไพเราะเว้นจากโทษ ๔ ประการ. บทว่า ครุภารํ อุททฺธริ ความว่า
โคนันทิวิสาล เมื่อพราหมณ์กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่ลากภาระ เมื่อพราหมณ์
กล่าวคำเป็นที่รัก น่าพอใจในภายหลัง จึงลากภาระหนักไปให้ถึง. ก็ ท อักษร
ในบทว่า อุททฺธริ นั้นในคาถานี้ เป็นอักษรทำการเชื่อมบท โดยการเชื่อม
พยัญชนะแล.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย
มาด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในกาลนั้น ได้
เป็นพระอานนท์ ส่วนโคนันทิวิสาล ได้เป็นเราคือพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าแล.
จบนันทิวิสาลชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๙. อรรถกถากัณหชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภยมกปาฏิ-
หาริย์จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยโต ยโต ครุ ธุรํ ดังนี้.

ยมกปาฏิหาริย์นั้นพร้อมกับการเสด็จลงจากเทวโลก จักมีแจ้งใน
สรภังคชาดก เตรสนิบาต. ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกระทำยมก-
ปาฏิหาริย์แล้วเสด็จอยู่ในเทวโลก ในวันมหาปวารณา เสด็จลงที่ประตูเมือง
สังกัสสะ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหารพร้อมด้วยบริวารใหญ่ ภิกษุ
ทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมสภานั่งกล่าวถึงพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ชื่อว่าพระตถาคต มีธุระไม่มีผู้เสมอ คนอื่นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะนำ
เอาธุระที่พระตถาคตนำไปแล้ว ย่อมไม่มี ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า พวกเราเท่านั้น
จักกระทำปาฏิหาริย์ พวกเราเท่านั้นจักกระทำปาฏิหาริย์ แม้ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
ก็ไม่ได้ทำ น่าอัศจรรย์ พระศาสดาทรงมีธุระไม่มีผู้เสมอ พระศาสดาเสด็จมา
แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่น หามิได้ นั่งสนทนากันด้วยเรื่องพระคุณเฉพาะของ
พระองค์ชื่อเห็นปานนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จักนำ
ไปซึ่งธุระที่เรานำไปแล้ว ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เราแม้
บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็ไม่ได้ใคร ๆ ผู้มีธุระเสมอกับตนแล้วทรงนำอดีต
นิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดโค ครั้นในเวลาที่ยังเป็นลูกโคหนุ่มนั่นแล
เจ้าของทั้งหลายอยู่ในเรือนของหญิงแก่คนหนึ่ง กำหนดค่าเช่าที่อยู่อาศัยจึงได้
ให้ลูกโคนั้น หญิงแก่นั้นปฏิบัติลูกโคหนุ่มนั้นด้วยข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ตั้ง
ไว้ในฐานะบุตรให้เติบโตแล้ว ลูกโคนั้นปรากฏชื่อว่า อัยยิกากาฬกะ. ก็โค

นั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีสีเหมือนดอกอัญชัน เที่ยวไปกับโคบ้าน ได้เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ พวกเด็กชาวบ้านจับที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง
โหนบ้าง จับที่หางเล่นบ้าง ดึงมาบ้าง นั่งบนหลังบ้าง. วันหนึ่ง โคนั้นคิดว่า
มารดาของเรายากจน ตั้งเราไว้ในฐานเป็นบุตร เลี้ยงดูมาโดยลำบาก ถ้ากระไร
เราทำการรับจ้าง ปลดเปลื้องมารดานี้ ให้พ้นจากความยากจน จำเดิมแต่นั้น
โคนั้นเที่ยวทำการรับจ้าง.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อยู่มาวันหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนหนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่มไปประจวบ
เอาท่าที่ไม่ราบเรียบ โคทั้งหลายของพ่อค้าเกวียนนั้น ไม่สามารถจะยังเกวียนทั้ง
หลายให้ข้ามขึ้นได้ โคทั้งหลายในเกวียน ๕๐๐ เล่ม ที่เจ้าของเอาแอกมาเทียม
ต่อ ๆ กัน ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะให้เกวียนแม้เล่มเดียวข้ามขึ้นไปได้ ฝ่ายพระ-
โพธิสัตว์กับพวกโคชาวบ้าน เที่ยวไป ณ ที่ใกล้ท่า. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน ก็
เป็นผู้รู้สูตรโค ? เขาใคร่ครวญอยู่ว่า ในระหว่างโคเหล่านี้ โคอุสภอาชาไนย

ผู้สามารถยังเกวียนเหล่านี้ให้ข้ามพ้น มีอยู่หรือหนอ. ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้ว
คิดว่า นี้โคอาชาไนยจักอาจยังเกวียนทั้งหลายของเราให้ข้ามพ้นได้ ใครหนอ
เป็นเจ้าของโคตัวนี้ จึงถามพวกคนเลี้ยงโคว่า ท่านผู้เจริญ ใครหนอเป็น
เจ้าของโคตัวนี้ เราจักเทียมโคนี้ในเกวียนทั้งหลาย เมื่อเกวียนทั้งหลายอัน
โคนี้ให้ข้ามขึ้นได้ จักให้ค่าจ้าง. พวกคนเลี้ยงโคเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

จงจับมันเทียมเถิด เจ้าของโคตัวนี้ ในที่นี้ ไม่มี. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงเอา
เชือกผูกพระโพธิสัตว์นั้นที่จมูกแล้วดึง ไม่ได้อาจแม้จะให้เคลื่อนไหวได้. ได้ยิน
ว่าพระโพธิสัตว์ไม่ได้ไปด้วยคิดว่า เมื่อบอกค่าจ้างเราจักไป. บุตรพ่อค้าเกวียน
รู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า นาย เมื่อท่านให้เกวียน ๕๐๐
เล่ม ข้ามขึ้นแล้ว เราจักเก็บเกวียนละ ๒ กหาปณะให้เป็นค่าจ้าง แล้วจักให้

๑,๐๐๐ กหาปณะ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เดินไปเองทีเดียว ลำดับนั้น
บุรุษทั้งหลายจึงเทียมพระโพธิสัตว์นั้นที่เกวียนทั้งหลาย. ทีนั้น พระโพธิสัตว์
ยกเกวียนนั้นขึ้นโดยกำลังแรงครั้งเดียวเท่านั้นให้เกวียนไปตั้งอยู่บนบก ยัง
เกวียนทั้งหมดให้ข้ามขึ้นโดยอุบายนี้ บุตรพ่อค้าเกวียนเก็บกหาปณะหนึ่งต่อ
เกวียนเล่มหนึ่ง ๆ กระทำทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะให้เป็นห่อมีภัณฑะแล้วผูกที่คอ

ของพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า บุตรพ่อค้าเกวียนนี้ไม่ให้ค่าจ้าง
แก่เราตามที่กำหนดไว้ บัดนี้ เราจักไม่ให้บุตรพ่อเกวียนนั้นไป จึงได้ไปยืน
ขวางทางข้างหน้าเกวียนเล่มแรกสุด คนทั้งหลายแม้จะพยายามเพื่อให้หลีกไป
ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะให้พระโพธิสัตว์นั้นหลีกไป. บุตรพ่อค้าเกวียนคิดว่า โคนี้
เห็นจะรู้ว่าค่าจ้างของตนหย่อนไป จึงเก็บ ๒ กหาปณะในเกวียนเล่มหนึ่ง ๆ ผูก

ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะให้เป็นห่อมีภัณฑะแล้วคล้องที่คอ โดยกล่าวว่า นี้เป็น
ค่าจ้างในการยังเกวียนให้ข้ามขึ้นของท่าน. พระโพธิสัตว์นั้นพาเอาห่อทรัพย์พัน
หนึ่งได้ไปยังสำนักของมารดา พวกเด็กชาวบ้านได้ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์
ด้วยคิดกันว่า นี่ชื่ออะไร ที่คอของโคอัยยิกากาฬกะ. พระโพธิสัตว์นั้นถูกเด็กชาว
บ้านติดตาม จึงหนีไปไกลได้ไปยังสำนักของมารดา. ก็เพราะให้เกวียน ๕๐๐

เล่มข้ามขึ้น จึงปรากฏเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยมีตาทั้งสองข้างแดง. ยายเห็นถุงทรัพย์
๑,๐๐๐ ที่คอของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า พ่อ นี้ เจ้าได้มา ณ ที่ไหน แล้ว
ถามพวกเด็กชาวบ้าน ได้ฟังเนื้อความนั้นแล้วจึงกล่าวว่า พ่อ เราต้องการ

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เลี้ยงชีวิตด้วยค่าจ้างที่เจ้าได้มาหรือ เพราะเหตุไร เจ้าจึงเสวยทุกข์เห็นปานนี้
จึงให้พระโพธิสัตว์อาบนํ้าอุ่น เอานํ้ามันทาทั่วร่างกาย ให้ดื่มนํ้า ให้บริโภค
โภชนะอันเป็นสัปปายะ ในเวลาสิ้นชีวิต ได้ไปตามยถากรรมพร้อมกับพระ-
โพธิสัตว์

ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีธุระไม่
สมํ่าเสมอ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้มีธุระไม่สมํ่าเสมอ
เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบต่ออนุสนธิ เป็น
พระผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดมีร่องทางลุ่มลึก
ในกาลนั้น ชนทั้งหลายย่อมเทียมโคดำทีเดียว โคดำ
นั้นก็นำเอาธุระนั้นไปได้โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ยโต ครุ ธุรํ ความว่า ในที่
ใด ๆ มีธุระหนัก คือหยาบ โคพลิพัทอื่น ๆ ไม่อาจยกขึ้นได้. บทว่า
ยโต คมฺภีรวตฺตนี ความว่า ชื่อว่า วตฺตนิ ทาง เพราะเป็นที่ไปของคน
คำว่า วัตตนิ นี้ เป็นชื่อของหนทาง. อธิบายว่า ในที่ใดมีหนทาง ชื่อว่าลึก
เพราะมีนํ้าและโคลนมาก หรือเพราะความเป็นทางขรุขระและชัน. ศัพท์ว่า

อสฺสุ. ในบทว่า ตทาสฺสุ กณฺหํ ยุญฺชนฺติ นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบาย
ว่า ในกาลนั้น ย่อมเทียมโคดำ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ในกาลใดมีธุระ
หนัก และมีหนทางลึก ในกาลนั้น ชนทั้งหลายจึงเอาโคพลิพัทตัวอื่นออก
ไปแล้วเทียมโคดำเท่านั้น. ศัพท์ว่า อสฺสุ แม้ในบทว่า สฺวาสฺสุ ตํ วหเต
ธุรํ นี้ ก็เป็นศัพท์นิบาตเหมือนกัน. อธิบายว่า โคดำนั้นย่อมนำธุระนั้นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น
โคดำเท่านั้นนำธุระนั้นไป ดังนี้ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิ
ประชุมชาดกว่า หญิงแก่ในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา ส่วนโค
อัยยิกากาฬกะได้เป็นเราแล.
จบกัณหชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron