วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้า
ประโลมของภรรยาเก่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น มํ สีตํ
น มํ อุณฺหํ ดังนี้.

ความพิศดารว่า ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร
เธอจึงเป็นผู้กระสันจะสึก ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภรรยา
เก่าของข้าพระองค์เป็นผู้มีรสมืออร่อย ข้าพระองค์ไม่อาจละนาง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนั่นเป็นผู้กระทำ
ความฉิบหายแก่เธอ แม้ในกาลก่อน เธอเมื่อจะถึงความตายก็เพราะอาศัยหญิง
นั่น แต่พ้นจากความตายเพราะอาศัยเรา แล้วทรงนำเรื่องอดีตนิทานมา ดัง
ต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ในกาลนั้น พวกชาว
ประมงได้ทอดแหอยู่ในแม่นํ้า ครั้งนั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งมาเล่นอยู่กับนางปลา
ของตนด้วยความยินดี. นางปลานั้นว่ายไปข้างหน้าของปลาใหญ่นั้น ได้กลิ่น
แห จึงเลี่ยงแหไป. ส่วนปลาใหญ่นั้นติดในกามเป็นปลาโลเล ได้เข้าไปยัง

ท้องแหนั่นเอง. พวกชาวประมงรู้ว่าปลาใหญ่นั้นเข้าไปติดแห จึงยกแหขึ้นจับ
เอาปลา ไม่ฆ่า โยนไปบนหลังทราย คิดว่าจักปิ้งปลานั้นกิน จึงก่อไฟถ่าน
เสี้ยมไม้แหลม ปลาครํ่าครวญอยู่ว่า การย่างบนถ่านไฟหรือการเสียบด้วยไม้
แหลมนั้น ก็หรือทุกข้ออย่างอื่น จะไม่ทำให้เราลำบาก แต่ข้อที่นางปลานั้น

ถึงความโทมนัสในเราว่า ปลาใหญ่นั้นได้ไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี
เป็นแน่นั้นเท่านั้น เบียดเบียนเรา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ในแห
ไม่ได้เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์เลย แต่ข้อที่นางปลา
สำคัญว่า เราไปหลงนางปลาตัวอื่นนั่นแหละ เบียด-
เบียนเราให้ได้รับทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มํ สีตํ น มํ อุณฺหํ ความว่า
ปลาทั้งหลายย่อมมีความหนาว ในเวลาถูกนำออกไปจากนํ้า เมื่อความหนาวนั้น
ปราศจากไป ความร้อนย่อมมี. ปลาหมายเอาความหนาวและความร้อนแม้ทั้ง
สองนั้น จึงครํ่าครวญว่า ความหนาว ความร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนเรา.
ปลาหมายเอาความทุกข์ซึ่งมีการปิ้งบนถ่านไฟที่จักมีขึ้นแม้นั้น จึงครํ่าครวญว่า

ความร้อนจะไม่เบียดเบียนเรา. ด้วยบทว่า น มํ ชาลสฺมิ พาธนํ นี้ ปลา
ย่อมครํ่าครวญว่า การที่ได้ติดอยู่ในแหแม้นั้น ก็ไม่เบียดเบียนเรา. ในบทว่า
ยญฺจ มํ ดังนี้เป็นต้นไป มีประมวลความดังต่อไปนี้:- นางปลานั้นไม่รู้ว่า
เราผู้ติดอยู่ในแหถูกพวกประมงเหล่านี้จับเอาไป เมื่อไม่เห็นเราก็จะคิดว่า บัดนี้

ปลาใหญ่นั้นจักติดนางปลาตัวอื่นด้วยความยินดีในกาม การที่นางปลานั้นผู้ถึง
ความโทมนัสคิดดังนั้น ย่อมเบียดเบียนเรา เพราะเหตุนั้น ปลาใหญ่นั้นจึง
นอนครํ่าครวญอยู่บนหลังทราย.

สมัยนั้น ปุโรหิตอันทาสแวดล้อมมายังฝั่งแม่นํ้าเพื่อจะอาบนํ้า ก็
ปุโรหิตนั้นเป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ปุโรหิตนั้นได้ฟังปลา
ครํ่าครวญจึงคิดว่า ปลานี้ครํ่าครวญเพราะกิเลส ก็ปลานี้มีจิตกระสับกระส่าย
อย่างนี้ ตายไป จักบังเกิดในนรกเท่านั้น เราจักเป็นที่พึ่งอาศัยของปลานี้.

ปุโรหิตนั้นจึงไปหาพวกชาวประมงแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่าน
ไม่ให้ปลาเราเพื่อทำกับข้าว แม้สักวัน. ชาวประมงทั้งหลายกล่าวว่า นาย
ท่านพูดอะไร ท่านจงเลือกเอาปลาที่ท่านชอบใจไปเถิด. ปุโรหิตกล่าวว่า เรา
ไม่มีการงานกับผู้อื่น พวกท่านจงให้เฉพาะปลาตัวนี้เท่านั้น. พวกชาวประมง
กล่าวว่า เอาไปเถอะนาย. พระโพธิสัตว์เอามือทั้งสองจับปลานั้นไปนั่งที่ฝั่ง

แม่นํ้ากล่าวสอนว่า ปลาผู้เจริญ วันนี้ ถ้าเราไม่เห็นเจ้า เจ้าจะต้องถึงแก่ความ
ตาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าอย่าได้ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสเลย แล้วปล่อยไปใน
นํ้า ตนเองเข้าไปยังนคร.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ฝ่าย
พระศาสดาได้ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็น
ภรรยาเก่าในบัดนี้ ปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันในบัดนี้
ส่วนปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราเองแล.
จบมัจฉชาดกที่ ๔


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ทรงปรารภ
การดับไฟป่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ ปกฺขา ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธ
ชนบททั้งหลาย ได้เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวมคธแห่งหนึ่ง เสด็จ
กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต อันหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จดำเนินสู่ทาง.
สมัยนั้น ไฟป่าเป็นอันมากตั้งขึ้น ภิกษุเป็นอันมากเห็นทั้งข้างหน้าและข้างหลัง.
ไฟแม้นั้นแล มีควันเป็นกลุ่มเดียว มีเปลวเป็นกลุ่มเดียว กำลังลุกลามมาอยู่

ทีเดียว บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุปุถุชนพวกหนึ่งกลัวต่อมรณภัย กล่าวว่า
พวกเราจะจุดไฟตัดทางไฟ ไฟที่ไหม้มาจักไม่ไหม้ท่วมทับที่ที่ไฟนั้นไหม้แล้ว
จึงนำหินเหล็กไฟออกมาจุดไฟ. ภิกษุอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พวก
ท่านกระทำกรรมชื่ออะไร พวกท่านไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคล
ผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้เสด็จไปพร้อมกับตนนั่นเอง เหมือนคนไม่เห็น

ดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า ไม่เห็นดวงอาทิตย์ประดับด้วยรัศมีตั้งพันกำลัง
ขึ้นจากโลกธาตุด้านทิศตะวันออก เหมือนคนยืนอยู่ที่ริมฝั่งทะเลไม่เห็นทะเล
เหมือนคนยืนพิงเขาสิเนรุไม่เห็นเขาสิเนรุฉะนั้น พากันพูดว่า จะจุดไฟตัดทางไฟ
ชื่อว่า พระกำลังของพระพุทธเจ้า พวกท่านไม่รู้ มาเถิดท่าน พวกเราจักไปยัง
สำนักของพระศาสดา. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไปทั้งข้างหน้าและข้างหลัง แม้ทั้งหมด

ได้รวมกันไปยังสำนักของพระทศพล พระศาสดามีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร
ได้ประทับยืนอยู่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง ไฟป่าไหม้เสียงดังมาเหมือนจะท่วมทับ
ครั้นมาถึงที่ที่พระตถาคตประทับยืน พอถึงที่ประมาณ ๑๖ กรีส รอบประเทศ
นั้นก็ดับไป เหมือนคบไฟที่เขาจุ่มลงในนํ้าฉะนั้น ไม่อาจท่วมทับที่ประมาณ
๓๒ กรีส โดยการแลบเข้าไป. ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวคุณของพระศาสดาว่า

น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ไฟนี้ไม่มีจิตใจ
ยังไม่อาจท่วมทับที่ที่พระพุทธเจ้าประทับยืน ย่อมดับไป เหมือนคบเพลิงหญ้า
ดับด้วยนํ้าฉะนั้น น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระ
ศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ไฟนี้ถึงภูมิประเทศนี้แล้วดับไป เป็นกำลังของเราในบัดนี้เท่านั้น หามิได้
ก็ข้อนี้เป็นกำลังแห่งสัจจะอันมีในก่อนของเรา ด้วยว่าในประเทศที่นี้ ไฟจัก
ไม่ลุกโพลงตลอดกัปนี้ แม้ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่าปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป. ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น เพื่อต้องการเป็นที่ประทับนั่งของพระ-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ศาสดา พระศาสดาประทับนั่งขัดสมาธิ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็ถวายบังคมพระตถาคต
แล้วนั่งแวดล้อมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาอันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ปรากฏแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายก่อน ส่วน
เรื่องอดีตยังลี้ลับ ขอพระองค์โปรดกระทำเรื่องอดีตนั้นให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย จึงทรงนำเรื่องอดีตมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในประเทศนั้นนั่นแหละในแคว้นมคธ พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ่ม เกิดจากท้องมารดา ในเวลาทำลายกะเปาะฟอง
ไข่ออกมา ได้เป็นลูกนกคุ่มมีตัวประมาณเท่าดุมเกวียนบรรทุกสินค้าขนาด
ใหญ่. ลำดับนั้น บิดามารดาให้พระโพธิสัตว์นั้นนอนในรัง แล้วนำอาหาร

มาเลี้ยงดูด้วยจะงอยปาก. พระโพธิสัตว์นั้นไม่มีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไป
ในอากาศ หรือไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนที่ดอน และไฟป่าย่อมไหม้
ประเทศนั้นทุกปี ๆ. สมัยแม้นั้น ไฟป่านั้นก็ไหม้ประเทศนั้นเสียงดังลั่น.
หมู่นกพากันออกจากรังของตน ๆ ต่างกลัวต่อมรณภัยส่งเสียงร้องหนีไป. บิดา
มารดาแม้ของพระโพธิสัตว์ก็กลัวต่อมรณภัย จึงทิ้งพระโพธิสัตว์หนีไป พระ-

โพธิสัตว์นอนอยู่ในรังนั่นเอง ชะเง้อคอแลเห็นไฟป่ากำลังไหม้ตลบมา จึงคิด
ว่า ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศไซร้ เราก็จะพึงโบย
บินไปที่อื่น ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนบกได้ไซร้ เราก็จะย่างเท้า
ไปที่อื่นเสีย ฝ่ายบิดามารดาของเราก็กลัวแต่มรณภัย ทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียว เมื่อ
จะป้องกันตน จึงได้หนีไป. บัดนี้ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราไม่มีที่ต้านทาน

ไม่มีที่พึ่ง วันนี้ เราจะทำอย่างไรหนอ จึงจะควร. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ชื่อว่าคุณแห่งศีล ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ ชื่อว่าคุณ
แห่งสัจจะก็ย่อมมี ในอดีตกาล ชื่อว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรง
บำเพ็ญบารมีทั้งหลายประทับนั่งที่พื้นต้นโพธิ ได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งแล้ว ทรง
เพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ทรง

ประกอบด้วยสัจจะ ความเอ็นดู ความกรุณา และขันติ ย่อมมีอยู่ และคุณ
ของพระธรรมทั้งหลายที่พระสัพพัญญพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ทรงรู้แจ้งแล้ว
ย่อมมีอยู่ เออก็ความสัจอย่างหนึ่งย่อมมีอยู่ในเราแท้ สภาวธรรมอย่างหนึ่งย่อม
มีปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น เราจะรำลึกถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และคุณ
ทั้งหลายที่อดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้นรู้แจ้งแล้ว ถือเอาสภาวธรรมคือสัจจะซึ่ง
มีอยู่ในเรา กระทำสัจกิริยาให้ไฟถอยกลับไป กระทำความปลอดภัยแก่ตน
และหมู่นกที่เหลือในวันนี้ ย่อมควร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตว์ ความสะอาด
และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก ด้วยความสัจนั้น
ข้าพเจ้าจักทำสัจกิริยาอันยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าพิจารณา
กำลังแห่งธรรม ระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปาง
ก่อน อาศัยกำลังสัจจะ ขอทำสัจกิริยา.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้ปรินิพพานไปแล้วในอดีต แล้วปรารภสภาวะคือสัจจะซึ่งมีอยู่ในตน
เมื่อจะทำสัจกิริยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ปีกของเรามีอยู่ แต่ก็บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของ
เรามีอยู่ แต่ก็เดินไม่ได้ มารดาและบิดาของเรา ออก
ไปหาอาหาร ดูก่อนไฟ ท่านจงถอยกลับไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปกฺขา อปตนา ความว่า ชื่อว่า
ปีกทั้งสองของเรามีอยู่ คือ เกิดมีอยู่แต่ไม่อาจบิน คือไปทางอากาศด้วยปีก
เหล่านั้นได้ เหตุนั้น จึงชื่อว่าบินไม่ได้. บทว่า สนฺติ ปาทา อวญฺจนา
ความว่า แม้เท้าทั้งสองของเราก็มีอยู่แต่ไม่อาจเดิน คือไปโดยการย่างเท้าไป
ด้วยเท้าทั้งสองนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเดินไม่ได้. บทว่า มาตา ปิตา

จ นิกฺขนฺตา ความว่า อนึ่ง แม้มารดาบิดาผู้จะนำเราไปที่อื่นแม้นั้นก็ออกไป
แล้วเพราะกลัวตาย พระโพธิสัตว์เรียกไฟว่า ชาตเวทะ. จริงอยู่ ไฟนั้น พอ
เกิดก็รู้ คือปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชาตเวทะ เกิดก็รู้. ด้วยบทว่า
ปฏิกฺกม นี้ พระโพธิสัตว์สั่งไฟว่า จงถอยไป คือจงกลับไป. ดังนั้น
พระมหาสัตว์นอนอยู่ในรังนั่นแหละได้ทำสัจกิริยาว่า ถ้าความที่ปีกทั้งสองของ
เรามี ๑ ภาวะคือการเหยียดปีกทั้งสองบินไปทางอากาศไม่ได้ ๑ ความที่เท้า

ทั้งสองมี ๑ ภาวะคือการยกเท้าทั้งสองนั้นเดินไปไม่ได้ ๑ ความที่มารดาบิดาทิ้ง
เราไว้ในรังนั่นแหละแล้วหนีไป ๑ ทั้งหมดเป็นตัวสภาวะทั้งนั้น ดูก่อนไฟ
ด้วยคำสัจนี้ ท่านจงกลับไปจากที่นี้.

พร้อมกับสัจกิริยาของพระโพธิสัตว์นั้น ไฟได้ถอยกลับไปในที่ประมาณ
๑๖ กรีส ก็แหละเมื่อจะถอยไปก็ไหม้ไปยังที่อื่นในป่า ทั้งดับแล้วในที่นั้นเอง
เหมือนคบเพลิงอันบุคคลให้จมลงในนํ้าฉะนั้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเราทำสัจจะ เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่หลีกไป
๑๖ กรีสพร้อมด้วยคำสัตย์ ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึง

นํ้าก็ดับไปฉะนั้น สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี
นี้เป็นสัจบารมี ของเรา ดังนี้.

ก็สถานที่นี้นั้นเกิดเป็นปาฏิหาริย์ ชื่อว่าตั้งอยู่ชั่วกัป เพราะไฟจะไม่ไหม้
ในกัปนี้แม้ทั้งสิ้น. พระโพธิสัตว์ครั้นทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว ในเวลาสิ้นชีวิต
ได้ไปตามยถากรรม. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ไฟไม่ไหม้
สถานที่นี้ เป็นกำลังของเราในบัดนี้ หามิได้ ก็กำลังนั่นเป็นของเก่า เป็น
สัจพลังของเราเองในครั้งเป็นลูกนกคุ่ม ดังนี้. ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ บางพวกได้เป็น
พระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี
บางพวกบรรลุพระอรหัต ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
มารดาบิดาในครั้งนั้นคงเป็นมารดาบิดาอยู่ตามเดิมในบัดนี้ ส่วน
พระยานกคุ่ม ได้เป็นเราเองแล.
จบวัฏฏกชาดกที่ ๕

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุผู้ถูกไฟ
ไหม้บรรณศาลา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ยนฺนิสฺสิตา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา แล้ว
ออกจากพระเชตวันวิหารเข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่งในโกศลชนบท อยู่
ในเสนาสนะป่าแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น บรรณศาลาของภิกษุนั้นถูกไฟไหม้ ใน
เดือนแรกนั่นเอง ภิกษุนั้นคิดว่า บรรณศาลาของเราถูกไฟไหม้เสียแล้ว เราจัก
อยู่ลำบาก จึงบอกแก่คนทั้งหลาย คนทั้งหลายอ้างการงานนั้น ๆ อย่างนี้ว่า

บัดนี้ นาของพวกเราแห้ง พวกเราระบายนํ้าเข้านาแล้วจักทำให้ เมื่อระบายนํ้า
เข้านาแล้วหว่านพืช เมื่อหว่านพืชแล้วทำรั้ว เมื่อทำรั้วแล้วสางพืช เก็บเกี่ยว
นวด ดังนี้ให้กาลเวลาล่วงเลยไป ๓ เดือน ภิกษุนั้นอยู่ลำบากในที่แจ้งตลอด ๓
เดือน จึงไม่อาจเจริญกรรมฐานยังคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ครั้นปวารณาแล้ว
ก็ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุนั้นแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
เธออยู่จำพรรษาโดยสะดวกหรือ ? กรรมฐานของเธอถึงที่สุดแล้วหรือ ? ภิกษุ
นั้นกราบทูลเรื่องราวนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรรมฐานของ
ข้าพระองค์ไม่ถึงที่สุด เพราะไม่มีเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ยังรู้ที่อันเป็นสัปปายะ

และไม่เป็นสัปปายะของตน เพราะเหตุไร เธอจึงไม่รู้ แล้วทรงนำอดีตนิทาน
มาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก อันหมู่นกห้อมล้อม อาศัยต้นไม้ใหญ่อัน
สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบอยู่ในราวป่า ครั้นวันหนึ่ง จุรณตกในที่กิ่งทั้งหลายของ
ต้นไม้นั้นเสียดสีกันไปมา ควันเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า กิ่งทั้ง
สองนี้เมื่อเสียดสีกันอยู่อย่างนี้จักเกิดไฟ ไฟนั้นตกลงไปติดใบไม้เก่า ๆ จำเดิม

แต่นั้นไฟจักเผาต้นไม้แม้นี้ พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ พวกเราหนีจากที่นี้ไปอยู่
ที่อื่น จึงจะควร พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถานี้แก่หมู่นกว่า

นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด ต้นไม้นั้นย่อมทิ้งไฟ
ลงมา นกทั้งหลายจงพากันหนีไปอยู่เสียที่อื่นเถิด ภัย
เกิดจากที่พึ่งของเราแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชคติรุหํ ความว่า ปฐพีเรียกว่า ชคติ
ต้นไม้เรียกว่า ชคติรุหะ เพราะต้นไม้เกิดที่ปฐพีนั้น. บทว่า วิหงฺคมา ความว่า
อากาศเรียกวิหะ นกทั้งหลายเรียกว่า วิหังคมะ เพราะไปในอากาศนั้น. บทว่า
ทิสา ภชถ ความว่า ท่านทั้งหลายเมื่อจะละต้นไม้นี้หนีไปจากที่นี้ จงไป
ยังทิศทั้ง ๔ พระโพธิสัตว์เรียกนกทั้งหลายว่า วังกังคา เพราะว่า นกเหล่า

นั้นกระทำคอซึ่งไปตรงให้คดในบางครั้ง เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า วังกังคา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วังถังคา เพราะวังกะคือปีกทั้งหลายเกิดที่ข้างทั้งสองของนก
เหล่านั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า ชาตํ สรณโต ภยํ ความว่า ภัยบังเกิดจาก
ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งอาศัยของพวกเรานั่นแล มาเถิดพวกเราพากันไปที่อื่น.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นกทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตกระทำตามคำของพระโพธิสัตว์ พากันบินขึ้น
พร้อมกันกับพระโพธิสัตว์นั้น ไปอยู่ที่อื่น ส่วนนกทั้งหลายที่ไม่เป็นบัณฑิตพากัน
กล่าวอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์นี้เห็นว่ามีจระเข้ในนํ้าเพียงหยดเดียว จึงไม่เชื่อ
ถือคำของพระโพธิสัตว์นั้น คงอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แต่นั้นไม่นานนัก ไฟบังเกิด
ขึ้นจับติดต้นไม้นั้นแหละ ตามอาการที่พระโพธิสัตว์คิดแล้วนั่นแล เมื่อควัน
และเปลวไฟตั้งขึ้น นกทั้งหลาย (มีตา) มืดมัวเพราะควัน จึงไม่อาจไปที่ไหน
ได้ พากันตกลงในไฟถึงความพินาศ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนแม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย
อยู่บนยอดไม้ ก็ยังรู้ความสบายและไม่สบายของตนอย่างนี้ เพราะเหตุไร เธอ
จึงไม่รู้ดังนี้. ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงสืบ
อนุสนธิประชุมชาดกว่า นกทั้งหลายที่ทำตามคำของพระโพธิสัตว์ ใน
ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนนกผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็น
เราเองแล.
จบสกุณชาดกที่ ๖


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

คบคนดีมีศรีแก่ตัว คบคนเช่นไรก็มักจะเป็นคนเช่นนั้น คบคนชอบอ่าน
ธรรมตนก็ย่อมจะชอบอื่นเช่นกัน คบเพื่อนชั่วพาตัวอับจน คบเว็บดี ชีวิตก็
สงบผ่องใส มีใจเบิกบาน คบนานๆปัญญาก็เริ่มเกิด เปิดทางแห่งสวรรค์
นิพพาลให้เห็นได้ รู้แล้วปฏิบัติถึงจะได้ รู้แล้วไม่ปฏิบัติก็ได้แต่รู้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อเสด็จไปยังนครสาวัตถีทรงปรารภการห้ามเสนาสนะพระ
สารีบุตร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ
ดังนี้.

ความพิศดารว่า เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวิหารเสร็จแล้ว
ส่งทูตไป (นิมนต์) พระศาสดาเสด็จออกจากนครราชคฤห์ ถึงนครเวสาลี
ประทับอยู่ในนครเวสาลีนั้นตามความพอพระทัย แล้วทรงพระดำริว่า จักไป
นครสาวัตถี จึงเสด็จดำเนินไปตามทาง. สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายของภิกษุ
ฉัพพัคคีย์พากันล่วงหน้าไป เมื่อพระเถระทั้งหลายยังไม่ได้จับจองเสนาสนะเลย

พากันหวงเสนาสนะด้วยการพูดว่า เสนาสนะนี้จักเป็นของอุปัชฌาย์ของพวกเรา
เสนาสนะนี้จักเป็นของอาจารย์ของพวกเรา เสนาสนะนี้จักเป็นของพวกเราเท่า
นั้น. พระเถระทั้งหลายที่มาภายหลัง ย่อมไม่ได้เสนาสนะ อันเตวาสิกทั้งหลาย
แม้ของพระสารีบุตรเถระพากันแสวงหาเสนาสนะเพื่อพระเถระ ก็ไม่ได้. พระ-
เถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะจึงยับยั้งอยู่ ด้วยการนั่งและการเดินจงกรม ที่โคนไม้

แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลเสนาสนะของพระศาสดานั่นเอง. ในเวลาใกล้รุ่ง พระ-
ศาสดาเสด็จออกมาทรงพระกาสะ (ไอ) พระเถระก็ไอขึ้น. พระศาสดาตรัส
ถามว่า นั่นใคร ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์สารีบุตร พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ในเวลานี้. พระสารี-
บุตรนั้นจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น. เมื่อพระศาสดาได้ทรงสดับคำของพระสารีบุตร

แล้วทรงรำพึงว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายยังไม่เคารพไม่
ยำเกรงกันและกันก่อน เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักทำอย่างไรกัน
หนอ ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้น. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุ
สงฆ์ประชุมกัน แล้วสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า
ภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้าไปเกียดกันเสนาสนะ ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระจริง

หรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า.
แต่นั้นพระองค์จึงทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์แล้วตรัสธรรมกถา ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรแก่อาสนะอันเลิศ นํ้า
อันเลิศ ก้อนข้าวอันเลิศ. ภิกษุบางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากขัตติยตระกูล.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์. บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวช
จากตระกูลคฤหบดี. ภิกษุอีกพวกหนึ่งกราบทูลว่า พระวินัยธร พระธรรมกถึก
ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ท่านผู้ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน. อีกพวกหนึ่ง
กราบทูลว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ท่าน
ผู้มีวิชชา ๓ ท่านผู้มีอภิญญา ๖ ย่อมควรแก่อาสนะเลิศ นํ้าเลิศ ก้อนข้าวเลิศ.

ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้ควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้น ตามความชอบ
ใจของตน ๆ อย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงอาสนะ
เลิศเป็นต้นในศาสนาของเราจะต้องเป็นผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ หาเป็นประ-
มาณไม่ ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์ ตระกูลคฤหบดี พระวินัยธร พระนัก
พระสูตร พระนักอภิธรรม ท่านผู้ได้ปฐมฌานเป็นต้น พระโสดาบันเป็นต้น

หาเป็นประมาณไม่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ในศาสนานี้ ควรกระทำ
การอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้แก่กว่า ควรได้
อาสนะเลิศ นํ้าเลิศ ก้อนข้าวเลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า นี้เป็นประมาณในศาสนานี้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้แก่กว่าเป็นผู้สมควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้นเหล่านี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล สารีบุตรอัครสาวกของเรา ผู้ประกาศธรรมจักรตามได้

ควรได้เสนาสนะติดกับเรา สารีบุตรนั้นเมื่อไม่ได้เสนาสนะ จึงยับยั้งอยู่ที่โคนไม้
ตลอดราตรีนี้ บัดนี้แหละ เธอทั้งหลายไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติ
ไม่เป็นสภาคกันอย่างนี้ เมื่อเวลาล่วงไป ๆ จักกระทำชื่อว่าอะไรอยู่. ลำดับนั้น
เพื่อต้องการจะประทานโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ก็พากันคิดว่า ก็ข้อที่พวกเราไม่เคารพ
ไม่ยำเกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกันนั่น ไม่สมควรแก่พวกเรา
บรรดาเราทั้งหลาย พวกเราจักรู้ผู้ที่แก่กว่า แล้วกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่
กว่านั้น จึงพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วรู้ว่า บรรดาเราทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็น

ผู้แก่กว่า จึงกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่กว่านั้น ยังทางไปเทวโลกให้เต็มอยู่
แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล มีสหายทั้งสาม คือนกกระทา ลิง ช้าง อาศัยต้นไทร
ใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในหิมวันตประเทศ. สหายทั้งสามนั้น ได้เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำ
เกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกัน. ลำดับนั้น สหายทั้งสามนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่เราทั้งหลายอยู่กันอย่างนี้ไม่สมควร ถ้ากระไร พวก

เราพึงกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่บรรดาพวกเราผู้แก่กว่าอยู่. สหายทั้งสามคิดกัน
อยู่ว่า บรรดาพวกเรา ก็ใครเล่าเป็นผู้ที่แก่กว่า วันหนึ่งคิดกันว่า อุบายนี้มี

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อยู่ จึงทั้ง ๓ สัตว์ นั่งอยู่ที่โคนต้นไทร นกกระทาและลิงจึงถามช้างว่า ดู
ก่อนช้างผู้สหาย ท่านรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่กาลมีประมาณเพียงไร ? ช้างนั้น
กล่าวว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ในเวลาเป็นลูกช้างรุ่น เราเดินทำพุ่มต้นไทรนี้ไว้
ในระหว่างขาอ่อน ก็แหละในเวลาที่เรายืนคร่อมอยู่ ยอดของมันระท้องเรา
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นพุ่ม. สหายแม้ทั้งสองจึง

ถามลิงโดยนัยก่อนนั่นแหละอีก. ลิงนั้นกล่าวว่า สหายทั้งหลายเราเป็นลูกลิง
นั่งอยู่ที่ภาคพื้น ไม่ต้องชะเง้อคอเลย เคี้ยวกินหน่อของไทรอ่อนนี้ เมื่อเป็น
อย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นต้นเล็ก ๆ. ลำดับนั้น สหาย
แม้ทั้งสองนอกนี้จึงถามนกกระทา โดยนัยก่อนนั่นแหละ. นกกระทานั้นกล่าว

ว่า สหายทั้งหลาย เมื่อก่อน ต้นไทรใหญ่ได้มีอยู่ในที่ชื่อโน้น เรากินผลของ
มันแล้วถ่ายอุจจาระลงในที่นี้ แต่นั้น ต้นนี้จึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราจึงรู้จักต้น
ไทรนี้ ตั้งแต่มันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้แก่กว่าท่านทั้งหลายโดย
กำเนิด. เมื่อนกกระทากล่าวอย่างนี้ ลิงและช้างจึงกล่าวกะนกกระทาผู้เป็น
บัณฑิตว่า สหาย ท่านเป็นผู้แก่กว่าเราทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป พวกเราจัก

กระทำสักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา และการอภิวาท
การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ท่าน และจักตั้งอยู่ในโอวาทของ
ท่าน อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงให้โอวาทและอนุศาสนีแก่เราทั้งหลาย. ตั้งแต่
นั้นมา นกกระทาได้ให้โอวาทแก่ลิงและช้างเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล แม้ตนเอง
ก็สมาทานศีล. สหายแม้ทั้งสามนั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ มีความเคารพยำเกรงกันและ

กัน มีความประพฤติเป็นสภาคกัน ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เป็นผู้มีเทวโลกเป็นที่
ไปในเบื้องหน้า. การสมาทานของสหายทั้งสามนั้น ได้ชื่อว่าติดติรพรหมจรรย์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าสัตว์เดียรัจฉานเหล่า
นั้น ยังมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกันอยู่ ฝ่ายเธอทั้งหลายก็บวชใน
พระธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงไม่เคารพยำเกรงกัน
และกันอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไป เราอนุญาตการอภิวาท การลุกรับ
การอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้ที่แก่กว่า อาสนะเลิศ นํ้าเลิศ ก้อนข้าว
เลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า แก่เธอทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไปผู้ใหม่กว่าไม่พึงห้ามเสนาสนะ
ผู้แก่กว่า ภิกษุใดห้าม ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรม
เทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
ว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม นอบน้อมคนผู้
ใหญ่ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญใน
ปัจจุบันนี้ และมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ ความว่า ผู้ใหญ่
๓ จำพวก คือ ผู้ใหญ่โดยชาติ ๑ ผู้ใหญ่โดยวัย ๑ ผู้ใหญ่โดยคุณ ๑ บรรดาผู้
ใหญ่ ๓ พวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติชื่อว่า ผู้ใหญ่โดยชาติ. ผู้ตั้งอยู่ในวัย
ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยวัย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยคุณ.บรรดาผู้ใหญ่ ๓
พวกนั้น ผู้เจริญด้วยวัย สมบูรณ์ด้วยคุณ ท่านประสงค์ว่า ผู้ใหญ่ใน
ที่นี้. บทว่า อปจายนฺติ ความว่า บูชาด้วยกรรมคือการอ่อนน้อมต่อท่านผู้

เจริญ. บทว่า ธมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในธรรมคือการประพฤติ
อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ. บทว่า ทิฏฺเ€ ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า
ปาสํสา แปลว่า ควรแก่การสรรเสริญ. บทว่า สมฺปราโย จ สุคฺคติ
ความว่า ชื่อว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะจะต้องไปในเบื้องหน้า คือ จะ
พึงละโลกนี้ไป ด้วยว่าโลกหน้า ย่อมเป็นสุคติของนรชนเหล่านั้นทีเดียว. ก็

ในที่นี้มีความหมายที่ประมวลมาดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิตหรือสัตว์เดียรัจฉานก็ตาม สัตว์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาดในธรรมคือการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ กระทำ
การนอบน้อมต่อผู้ใหญ่โดยวัยทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ สัตว์เหล่านั้นย่อม
ได้การสรรเสริญ คือพรรณนา ชมเชยในอัตภาพนี้แหละว่า เป็นผู้อ่อนน้อม
ต่อผู้เจริญที่สุด เพราะกายแตกไปแล้ว ย่อมบังเกิดในสวรรค์.

พระศาสดาตรัสคุณของธรรม คือการอ่อนน้อมต่อผู้เจริญอย่างนี้แล้ว
ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ช้างผู้ประเสริฐในกาลนั้น ได้เป็น
พระโมคคัลลานะ ลิงในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนนก
กระทาผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.
จบติตติรชาดกที่ ๗


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เจริญ
ด้วยจีวร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาจฺจนฺตํ นิกติปฺปญฺโ
ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุผู้อยู่ในพระเชตวันวิหารรูปหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่ง มีการตัด การขัด การจัด และการเย็บผ้าที่จะพึงทำในจีวร
ภิกษุนั้นย่อมเพิ่มจีวรด้วยความเป็นผู้ฉลาดนั้น เพราะฉะนั้น จึงปรากฏชื่อว่า
จีวรวัฑฒกะ ผู้เจริญด้วยจีวร. ถามว่า ก็ภิกษุนี้กระทำอย่างไร ? ตอบว่า
ภิกษุนี้เอาผ้าเก่าที่ครํ่าคร่ามาแสดงหัตถกรรมคือทำด้วยมือ กระทำจีวรสัมผัส
ได้ดี น่าพอใจ ในเวลาเสร็จการย้อม ได้ย้อมด้วยนํ้าแป้ง ขัดด้วยหอยสังข์

กระทำให้ขึ้นเงาเป็นที่พอใจแล้วเก็บไว้. ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่รู้จักทำจีวรกรรม
จึงถือเอาผ้าสาฎกทั้งหลายใหม่ ๆ ไปยังสำนักของภิกษุนั้น จึงกล่าวว่า พวก
ผมไม่รู้จักทำจีวร ขอท่านจงทำจีวรให้แก่พวกผม. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย จีวรเมื่อกระทำย่อมสำเร็จช้า จีวรที่เราทำไว้เท่านั้นมีอยู่ ท่าน
ทั้งหลายจงวางผ้าสาฎกเหล่านี้ไว้ แล้วจงถือเอาจีวรที่ทำไว้แล้วนั้นไปเถอะ

กล่าวแล้วจึงนำออกมาให้ดู. ภิกษุเหล่านั้นเห็นวรรณสมบัติของจีวรนั้นเท่านั้น
ไม่รู้ถึงภายใน สำคัญว่า มั่นคงดี จึงให้ผ้าสาฎกใหม่ทั้งหลายแก่พระจีวรวัฑฒกะ
แล้วถือเอาจีวรนั้นไป. จีวรนั้นอันภิกษุเหล่านั้นซักด้วยนํ้าร้อนในเวลาเปื้อน
เปรอะนิดหน่อย มันจึงแสดงปรกติของตน. ที่ที่เก่าครํ่าคร่าปรากฏในที่นั้น ๆ
ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความวิปฏิสารเดือดร้อนใจ ภิกษุนั้นเอาผ้าเก่าลวงภิกษุ

ทั้งหลายที่มาแล้ว ๆ ด้วยอาการอย่างนี้ จนปรากฏไปในที่ทั้งปวง แม้ในบ้าน
แห่งหนึ่งก็มีพระจีวรวัฑฒกะรูปหนึ่ง ล่อลวงชาวโลก เหมือนพระจีวรวัฑฒกะ
รูปนี้ในพระเชตวันวิหารฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนคบของภิกษุนั้น จึง
บอกว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระจีวรวัฑฒกะรูปหนึ่งในพระเชตวัน ล่อ
ลวงชาวโลกอย่างนี้. ลำดับนั้น พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอกนั้น ได้มีความคิด

ดังนี้ว่า เอาเถอะ เราจะลวงพระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงรูปนั้น แล้วกระทำจีวร
เก่าให้เป็นที่น่าพอใจยิ่ง แล้วย้อมอย่างดี ได้ห่มจีวรนั้นไปยังพระเชตวันวิหาร
ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะชาวกรุง พอเห็นจีวรนั้นเท่านั้นเกิดความโลภอยากได้
จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ จีวรนี้ท่านทำเองหรือ ? พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอก

กล่าวว่า ขอรับท่านผู้มีอายุ ผมทำเอง. พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านจงให้จีวรผืนนี้แก่ผมเถิด ท่านจักได้ผืนอื่น. พระจีวร

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
วัฑฒกะบ้านนอกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พวกผมเป็นพระบ้านนอก หาปัจจัย
ได้ยาก ผมให้จีวรผืนนี้แก่ท่านแล้ว ตัวเองจักห่มอะไร. พระจีวรวัฑฒกะ
ชาวกรุงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าสาฎกใหม่ ๆ ในสำนักของผมมีอยู่ ท่านจง
ถือเอาผ้าสาฎกเหล่านั้นกระทำจีวรของท่านเถิด. พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอก
กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ผมแสดงหัตถกรรมในจีวรนี้ ก็เมื่อท่านพูดอย่างนี้

ผมจะอาจทำได้อย่างไร ท่านจงถือเอาจีวรผืนนั้น แล้วให้จีวรที่ทำด้วยผ้าเก่า
แก่พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงนั้น แล้วถือเอาผ้าสาฎกใหม่ ๆ ลวงพระจีวรวัฑฒกะ
ชาวกรุงนั้นแล้วหลีกไป. ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน ก็ห่มจีวร
นั้น พอล่วงไป ๒ - ๓ วัน จึงซักด้วยนํ้าร้อน เห็นว่าเป็นผ้าเก่าครํ่าคร่าก็ละอาย.
ความที่พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงนั้นถูกลวง เกิดปรากฏไปในท่ามกลางสงฆ์ว่า

เขาว่าพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน ถูกพระจีวรวัฑฒกะบ้านนอกลวง
เอาแล้ว. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันนั่งกล่าวเรื่องนั้นในโรงธรรมสภา
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน
ย่อมล่อลวงภิกษุอื่นในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ล่อลวงมาแล้ว
เหมือนกัน ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะชาวบ้านนอก ได้ล่อลวงพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่
ในพระเชตวันรูปนี้ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ล่อลวง
แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นไม้ซึ่งตั้งอาศัย
สระปทุมแห่งหนึ่งอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น คราวฤดูร้อน นํ้าในสระ
แห่งหนึ่งซึ่งไม่ใหญ่นัก ได้น้อยลง แต่ในสระนั้นมีปลาเป็นอันมาก. ครั้งนั้น
นกยางตัวหนึ่งเห็นปลาทั้งหลายแล้วคิดว่า เราจักลวงกินปลาเหล่านี้ ด้วยอุบาย

สักอย่าง จึงไปนั่งคิดอยู่ที่ชายนํ้า. ลำดับนั้น ปลาทั้งหลายเห็นนกยางนั้นจึง
ถามว่า เจ้านาย ท่านนั่งคิดถึงอะไรอยู่หรือ ? นกยางกล่าวว่า เรานั่งคิดถึง
พวกท่าน. ปลาทั้งหลายถามว่า เจ้านาย ท่านคิดถึงเราอย่างไร. นกยาง
กล่าวว่า เรานั่งคิดถึงพวกท่านว่า นํ้าในสระนี้น้อย ที่เที่ยวก็น้อย และความ
ร้อนมีมาก บัดนี้ ปลาเหล่านี้จักกระทำอย่างไร. ลำดับนั้น พวกปลาจึงกล่าว

ว่า เจ้านาย พวกเราจะกระทำอย่างไร. นกยางกล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะ
กระทำตามคำของเรา เราจะเอาจงอยปากคาบบรรดาพวกท่านคราวละตัว นำ
ไปปล่อยยังสระใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งดารดาษด้วยปทุม ๕ สี. ปลาทั้งหลายกล่าว
ว่า เจ้านาย ตั้งแต่ปฐมกัปมา ชื่อว่านกยางผู้คิดดีต่อพวกปลา ย่อมไม่มี

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร