วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 02:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ตากไม้ ขณะนั้นมียุงตัวหนึ่ง บินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับ
กระโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจงอยปาก เหมือนกับ
ประหารด้วยหอก. ช่างไม้จึงบอกลูกของตน ผู้นั่งอยู่ใกล้ ๆ ว่า
ไอ้หนู ยุงมันกัดศรีษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่า
มันเสีย. ลูกพูดว่า พ่อจงอยู่นิ่ง ๆ ฉันจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้ง

เดียวเท่านั้น. แม้ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์ ก็กำลังเที่ยวแสวงหา
สินค้าของตนอยู่ ลุถึงบ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น.
เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้น บอกลูกว่า ไอ้หนู ไล่ยุงนี้ที.
ลูกขานรับว่า จ่ะพ่อ ฉันจะไล่มัน พูดพลางก็เงื้อขวานเล่มใหญ่

คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่าจักประหาร
ยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก. ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้น
เอง. พระโพธิสัตว์เห็นการกระทำของลูกช่างไม้แล้ว ได้คิดว่า
ถึงปัจจามิตรเป็นบัณฑิตก็ยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญา
แผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

"ศัตรูผู้มีความรู้ ประเสริฐกว่ามิตรผู้
ปราศจากความรู้ ไม่ประเสริฐเลย เพราะลูกชาย
ผู้โง่เขลา คิดว่าจักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺโย ความว่า ประเสริฐ คือ
สูงสุด.
บทว่า มติยา อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญา.
บทว่า เอลมูโค แปลว่า เซ่อเซอะ คือโง่เขลา.

บทว่า ปุตฺโต ปิตุ อพฺภิทา อุตฺตมงฺคํ ความว่า เพราะ
ความที่ตนเป็นคนโง่เขลา แม้เป็นบุตร คิดว่า เราจักฆ่ายุง ก็ยัง
ผ่าหัวสมองของพ่อเสียแล่งเป็น ๒ ซีก เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
ถึงจะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่ามิตรที่โง่ ๆ.

พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ก็ลุกขึ้นไปทำงาน
ตามหน้าที่. แม้พวกที่เป็นญาติก็ได้จัดการทำสรีรกิจของช่างไม้.
พระบรมศาสดาตรัสว่า อุบาสกทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน
ก็ได้เคยมีมนุษย์ที่ได้คิดว่า เราจักประหารยุง แต่กลับประหาร
คนอื่นมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ก็พ่อค้าบัณฑิตที่กล่าวคาถาแล้ว
หลีกไป ได้มาเป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถามกสชาดกที่ ๔


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารชื่อว่า
เชตวัน ทรงปรารภทาสีของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคนหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "เสยฺโย อมิตฺโต" ดังนี้.

ได้ยินมาว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีทาสีคนหนึ่ง ชื่อว่า
โรหิณี. วันหนึ่ง มารดาของนางทาสีซึ่งเป็นหญิงแก่ มานอนอยู่
ในโรงกระเดื่อง. ฝูงแมลงวันรุมกันตอมมารดาของนางโรหิณีนั้น
กัดเจ็บเหมือนกับแทงด้วยเข็ม นางจึงบอกกับลูกสาวว่า แม่หนู
แมลงวันรุมกัดแม่ เจ้าจงไล่มันไป นางรับคำว่า จ๊ะแม่ ฉันจะ

ไล่มัน เงื้อสาก คิดในใจว่า เราจักตีแมลงวันที่รุมตอมตัวของแม่
ให้ตาย ให้ถึงความพินาศ แล้วก็เหวี่ยงสากตำข้าว ถูกมารดา
ตายคาที่. ครั้นเห็นมารดาตาย ก็ร้องไห้คร่ำครวญว่า แม่ของเรา
ตายเสียแล้ว ๆ คนทั้งหลาย จึงบอกเรื่องราวแก่ท่านเศรษฐี.
ท่านเศรษฐีได้จัดการสรีรกิจตามสมควรแล้วก็ไปสู่วิหาร กราบ

ทูลเรื่องราวทั้งหมดแก่พระบรมศาสดา. พระองค์ตรัสว่า ดูก่อน
คฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นางทาสีนี้ประหารมารดาของ
ตนตายด้วยสากตำข้าว เพราะมั่นหมายว่า จักประหารแมลงวัน
ที่ตอมตัวของมารดา แม้ในปางก่อน ก็ได้เคยประหารมารดา
ให้ตาย ด้วยสากซ้อมข้าวมาแล้วเหมือนกัน ท่านเศรษฐีกราบทูล
อาราธนา แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี ครั้นบิดาวายชนม์
ก็ครองตำแหน่งเศรษฐีแทน ท่านมีทาสีคนหนึ่ง ชื่อ โรหิณี
เหมือนกัน แม้ทาสีนั้น ก็ได้ประหารมารดาของตน ผู้มาสู่โรง
กระเดื่อง บอกให้ช่วยปัดแมลงวันให้ด้วยสากซ้อมข้าวอย่างนี้

นั่นแหละ ครั้นมารดาสิ้นชีวิต ก็ร้องไห้คร่ำครวญ. พระโพธิสัตว์
ฟังเรื่องนั้นแล้ว ดำริว่า ถึงแม้จะเป็นศัตรูก็ขอให้เป็นบัณฑิตเถิด
ประเสริฐแน่ แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-

"ศัตรูเป็นคนมีปัญญา ดีกว่าคนผู้อนุ-
เคราะห์ แต่เป็นคนโง่ ไม่ประเสริฐเลย จงดูนาง
โรหิณีผู้โง่เง่า ฆ่าแม่ตายแล้ว ร้องไห้อยู่"

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมธาวี ได้แก่บัณฑิต คือท่าน
ที่มีความรู้แจ่มแจ้ง. บทว่า ยํ ในบาทคาถาว่า ยญฺเจ พาลานุกมฺปโก
นี้ ท่านทำเป็นลิงควิปวาส. ศัพท์ว่า เจ เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
แห่งนาม. ความว่า บัณฑิตถึงแม้จะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่าคนโง่เขลา
ที่มีใจเอ็นดูกรุณา ตั้งร้อยเท่าพันเท่าทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
ยํ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ปฏิเสธ ความว่า คนโง่เขลา ผู้มีใจ
เอ็นดู จะประเสริฐได้อย่างไร ?

บทว่า ชมฺมึ แปลว่า ผู้ชั่วช้า โง่เซอะ.
บทว่า มาตรํ หนฺตวาน โสจติ ความว่า นางโรหิณีผู้โง่เง่า
หมายใจว่า เราจักฆ่าแมลงวัน กลับฆ่าแม่บังเกิดเกล้า แล้วร้องไห้
คร่ำครวญอยู่ด้วยตนเอง. ด้วยเหตุนี้ในโลกนี้ แม้ถึงจะมีศัตรู
ก็ขอให้เป็นบัณฑิตเถิด ยังดีกว่าแน่นอน. พระโพธิสัตว์เมื่อ
สรรเสริญบัณฑิต ทรงแสดงธรรมแล้วด้วยคาถานี้.

พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่นางโรหิณีหมายใจว่า "เราจักฆ่าแมลงวัน" กลับฆ่า
มารดาเสีย แม้ในปางก่อนก็เคยฆ่ามาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรง
นำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก
ว่า มารดานางโรหิณีในครั้งนั้น ก็มาเป็นมารดาในครั้งนี้ ธิดา
ในครั้งนั้น ก็มาเป็นธิดาในครั้งนี้เหมือนกัน แต่มหาเศรษฐีใน
ครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโรหิณีชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคนประทุษร้ายอุทยาน ในหมู่บ้านโกศลตำบลหนึ่ง ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "น เว อนตฺถกุสเลน" ดังนี้.

ดังได้สดับมา เมื่อพระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้น
โกศล ทรงบรรลุถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่ง. กุฏุมพีในหมู่บ้านนั้น
ผู้หนึ่ง นิมนต์พระตถาคตเจ้าให้ประทับนั่งในอุทยานของตน
ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขแล้ว กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไปในสวนนี้
ตามความพอพระทัยเถิด. ภิกษุทั้งหลายก็พากันลุก ชวนนายอุทยานบาล

(คนเฝ้าสวน) ไปเที่ยวอุทยาน เห็นที่โล่งเตียนแห่งหนึ่ง จึงถามนาย-
อุทยานบาลว่า อุบาสก อุทยานนี้ ตอนอื่นมีต้นไม้ชะอุ่มร่มรื่น แต่ที่
ตรงนี้ไม่มีต้นไม้หรือกอไผ่อะไรเลย ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรหนอ ?
นายอุทยานบาลตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในเวลาปลูก
สร้างอุทยานนี้ มีเด็กชาวบ้านคนหนึ่ง เมื่อจะรดน้ำต้นไม้ ต้อง

ถอนต้นไม้ที่เพิ่งปลูกในที่ตรงนี้ ขึ้นดูรากเสียก่อนแล้วจึงรดน้ำ
ตามความสั้นยาวของรากเป็นประมาณ ต้นไม้ปลูกใหม่เหล่านั้น
ก็เหี่ยวแห้งตายไม่เหลือ ด้วยเหตุนั้นที่ตรงนี้จึงโล่งเตียนไป. ภิกษุ
ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น.
พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็กชาวบ้านคนนั้น

มิใช่เพิ่งเป็นคนทำลายสวนในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็เคย
เป็นคนทำลายสวนเหมือนกัน แล้วทรงน้ำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พวกชาวเมืองป่าวร้อง การเล่นนักขัตฤกษ์ใน
พระนคร. จำเดิมแต่กาลที่ได้ยินเสียงกลองประโคมในนักขัตฤกษ์.
ชาวพระนครทั่วถ้วนล้วนพากันเที่ยวเล่นการนักขัตฤกษ์ไปมา
สนุกสนาน. ครั้งนั้น อุทยานของพระราชา มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็น

อันมาก. คนเฝ้าสวนคิดว่า ในเมืองมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริก
เราบอกให้ลิงเหล่านี้มันรดน้ำต้นไม้ แล้วเราก็จักเล่นนักขัตฤกษ์
ได้ แล้วก็ไปหาวานรตัวจ่าฝูง ถามว่า แนะวานรผู้เป็นจ่าฝูง
ผู้เป็นสหาย อุทยานนี้ มีอุปการะเป็นอย่างมากแก่ท่านทั้งหลาย
พวกท่านได้พากันขบเคี้ยวดอกผล และใบอ่อนในอุทยานนี้ บัดนี้
ในพระนครกำลังมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริก เราจักไปเล่นงาน

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นักขัตฤกษ์กับเขาบ้าง พวกท่านจงช่วยรดน้ำต้นไม้ที่กำลังปลูก
ใหม่ ๆ ในสวนนี้ ตลอดเวลาที่เรายังไม่มา จักได้ไหม ? วานร
จ่าฝูง รับคำว่า ดีแล้ว พวกเราจักรดน้ำให้. นายอุทยานบาลก็
กำชับว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงระมัดระวังอย่าประมาทนะ
จัดหากระออมหนัง และกระออมไม้ สำหรับตักน้ำให้แก่พวก

วานรแล้วก็ไป. พวกวานรพากันถือกระออมหนัง และกระออมไม้
จะไปรดน้ำต้นไม้ ครั้งนั้นวานรจ่าฝูง จึงพูดกะวานรด้วยกัน
อย่างนี้ว่า วานรผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมดาน้ำเป็นสิ่งพึงสงวน
พวกท่านจักรดน้ำต้นไม้ต้องถอนต้นไม้ขึ้น ถอนขึ้นดูราก ต้นไหน

รากหยั่งลึก ต้องรดน้ำให้มาก ต้นไหนรากหยั่งลงไม่ลึก รดแต่
น้อย ภายหลังน้ำของเราจักหาได้ยาก. พวกวานรต่างรับคำว่า
ดีแล้ว พากันทำตามนั้น. สมัยนั้น มีบุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง เห็น
พวกวานรในพระราชอุทยานเหล่านั้น พากันทำเช่นนั้น จึงกล่าว
ว่า แนะวานรทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงถอนต้นไม้อ่อน ๆ ขึ้น

แล้วรดน้ำตามประมาณรากอย่างนี้เล่า ? พวกวานรตอบว่า
วานรผู้เป็นหัวหน้าสอนไว้อย่างนี้. บัณฑิตฟังคำนั้นแล้ว ดำริว่า
อนาถหนอ ลิงโง่ ช่างไม่เฉลียวเสียเลย คิดว่าจักทำประโยชน์
กลับทำความพินาศไปเสียฉิบ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"การประพฤติประโยชน์ โดยผู้ไม่ฉลาด
ในประโยชน์ มิได้นำความสุขมาให้เลย คนโง่ ๆ
ทำประโยชน์เสื่อมเหมือนลิงเฝ้าสวน ฉะนั้น"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เว เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า อนตฺถกุสเลน ความว่า ผู้ฉลาดในการอันมิใช่
ประโยชน์ คือในการอันมิใช่บ่อเกิดแห่งประโยชน์ หรือได้แก่
บุคคลผู้ไม่ฉลาดในประโยชน์ คือในเหตุอันเป็นบ่อเกิดแห่ง
ประโยชน์.
บทว่า อตฺถจริยา ได้แก่ การทำความเจริญ.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า สุขาวหา ความว่า บุคคลผู้ไม่ฉลาดในประโยชน์
เห็นปานนี้ ไม่อาจบำเพ็ญประโยชน์ กล่าวคือความสุขทางกาย
และความสุขทางใจ ได้แก่ไม่สามารถจะนำความสุขมาให้ได้.
เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุว่า คนโง่ ๆ ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไป ได้แก่
คนโง่ ๆ คิดว่า เราจักบำเพ็ญประโยชน์ ก็ได้แต่ทำประโยชน์
ให้เสียไป เราย่อมทำแต่การอันหาประโยชน์มิได้ โดยส่วนเดียว
เท่านั้น.

บทว่า กปิ อารามิโก ยถา ความว่า ลิงที่ได้รับหน้าที่ดูแล
สวน ประกอบกิจการในสวน คิดว่า เราจักทำประโยชน์ ก็ทำได้
แต่การอันหาประโยชน์มิได้เท่านั้น ฉันใด บุคคลผู้ไม่ฉลาดใน
ประโยชน์ทั่ว ๆ ไป ก็ฉันนั้น ไม่อาจประพฤติประโยชน์ นำความ

สุขมาให้ใครได้ ได้แต่ยังประโยชน์นั้นแหละให้เสื่อมไปเท่านั้น.
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้น ติเตียนวานรจ่าฝูงด้วยคาถานี้แล้ว ก็พา
บริษัทของตนออกจากสวนไปด้วยประการฉะนี้.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก
ชาวบ้านคนนี้ มิใช่จะเพิ่งประทุษร้ายสวนในบัดนี้เท่านั้น ก็หา
มิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ประทุษร้ายสวนมาแล้วเหมือนกัน ครั้น
ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก
ว่า วานรจ่าฝูงในครั้งนั้น มาเป็นเด็กชาวบ้าน ผู้ทำลายสวนใน
บัดนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๖


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคนทำลายเหล้า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
"น เว อนตฺถกุสเลน" ดังนี้.

ได้ยินมาว่า พ่อค้าเหล้าเพื่อนของท่านอนาถบิณฑิกะคนหนึ่ง
ผสมเหล้ารสเข้มข้น ขายได้เงินทองมากมาย (วันหนึ่ง) เมื่อ
มหาชนประชุมกันในร้าน จึงกำชับลูกจ้างว่า พ่อคุณ พวกเจ้า
จงขายเหล้าตามราคาที่เขาซื้อ แล้วก็ไปอาบน้ำ. ลูกจ้างเมื่อขาย

เหล้าให้มหาชน เห็นคนเหล่านั้น เรียกเกลือมากัดแกล้มเป็น
ระยะ ๆ จึงคิดว่า เหล้าคงไม่เค็ม เราต้องใส่เกลือผสมลงไป แล้ว
ใส่เกลือลงไปในเหล้าประมาณทะนานหนึ่ง ตวงขายให้แก่คน
เหล่านั้น. คนเหล่านั้นดื่มเต็มปากแล้ว ก็บ้วนทิ้ง ดาหน้ากันเข้า
ไปถามว่า เจ้าทำอย่างไร ? ลูกจ้างตอบว่า ข้าพเจ้าเห็นพวกท่าน

ดื่มสุราแล้ว เรียกเกลือมากัดกิน จึงผสมเกลือลงไป คนเหล่านั้น
พากันติเตียนลูกจ้างนั้นว่า อ้ายหน้าโง่! ทำเหล้าดี ๆ เช่นนี้เสีย
หมด แล้วลุกพรวดพราดขึ้น หลีกหนีไป. พ่อค้าเหล้า กลับมา
ไม่เห็นคนกินเลยสักคนเดียว จึงถามว่า พวกนักดื่มเหล้าไปไหน

กันหมด ? ลูกจ้างจึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ. ลำดับนั้น พ่อค้าเหล้า
ก็ตำหนิว่า ไอ้หน้าโง่! ทำเหล้าดี ๆ เสียหมด พลางไปแจ้งเหตุ
ให้ท่านอนาถบิณฑิกะทราบ. ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ดำริว่า
บัดนี้เรามีเรื่องอันเป็นเค้าแห่งกถามรรคแล้ว ไปสู่พระวิหาร
เชตวัน ถวายบังคมพระบรมศาสดา พลางกราบทูลเรื่องนั้นให้

ทรงทราบ. พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น ที่คนผู้นี้ทำเหล้าให้เสีย แม้ในกาลก่อนก็ทำเหล้าให้
เสียมาแล้วเหมือนกัน อันท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลอาราธนา
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้. :-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐีชาวเมือง
พาราณสี. พ่อค้าเหล้าคนหนึ่งอาศัยท่านเลี้ยงชีพอยู่ วันหนึ่ง
พ่อค้าปรุงเหล้ารสเข้มข้นแล้ว ก็สั่งลูกจ้างให้ขายเหล้าแทน แล้ว
ก็ไปอาบน้ำ. พอพ่อค้าพ้นไปเท่านั้นแหละ เขาก็เอาเกลือใส่ลงไป

ในเหล้า ทำให้เหล้าเสียไป โดยนัยเดียวกันนี้แหละ. ครั้นพ่อค้า
กลับมาได้ทราบเรื่องของลูกจ้างแล้ว ไปเรียนให้ท่านเศรษฐี
ทราบ. ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ธรรมดาคนโง่ไม่เข้าใจประโยชน์
คิดว่า จักทำประโยชน์ กลับทำให้เสียประโยชน์ไปดังนี้แล้ว
กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

การบำเพ็ญประโยชน์ โดยคนที่ไม่ฉลาด
ในประโยชน์ จะไม่นำความสุขมาให้ คนโง่ ๆ
มีแต่จะทำประโยชน์ให้เสียไป เหมือนนาย
โกณฑัญญะ ทำเหล้าดี ๆ ให้เสียไป ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกณฺฑญฺโญ วารุณึ ยถา ความว่า
ลูกจ้างของพ่อค้าเหล้าคนนี้ ชื่อว่า โกณฑัญญะ คิดว่า เราจักทำ
ประโยชน์ ใส่เกลือลงไปในเหล้า ทำเหล้าให้เสียรสหมดราคา
ต้องเททิ้ง ฉันใด คนที่ไม่ฉลาดในประโยชน์แม้ทั่วไป ก็ทำประโยชน์
ให้เสียไปได้ฉันนั้น. พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วยคาถานี้.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น ที่คนผู้นี้ทำเหล้าให้เสียไป แม้ในกาลก่อน ก็ทำเหล้า
ให้เสียไปแล้วเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดก
ว่า คนที่ทำเหล้าเสียในครั้งนั้น มาเป็นคนที่ทำให้เหล้าเสียใน
ครั้งนี้ ส่วนท่านเศรษฐีเมืองพาราณสี มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวารุณิทูสกชาดกที่ ๗


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
มีอาทิว่า "อนุปาเยน โย อตฺถํ" ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นคนว่ายาก แม้ในกาลก่อน
ก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแลจึงไม่ทำตามคำของ

ท่านผู้เป็นบัณฑิต ถูกฟันด้วยดาบขาดสองท่อน ล้มนอนอยู่ที่
หนทาง และเพราะอาศัยเธอคนเดียวแท้ ๆ คนอีกพันคนต้องสิ้น
ชีวิตไปด้วย ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี มีพราหมณ์คนหนึ่งในบ้านตำบลหนึ่ง รู้มนต์ ชื่อ
เวทัพพะ. ได้ยินว่ามนต์นั้นหาค่ามิได้ ควรบูชายิ่งนัก เมื่อได้
เวลาฤกษ์แล้ว เจ้าของมนต์ร่ายมนต์นั้น แหงนสูดอากาศแล้ว

ฝนแก้ว ๗ ประการ ก็ตกลงมาจากอากาศ. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์
เรียนศิลปะอยู่ในสำนักของพราหมณ์นั้น อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์
ชวนพระโพธิสัตว์ ออกจากบ้านของตนเดินทางไปสู่แคว้นเจตี
ด้วยกิจธุระบางประการ. ก็ในระหว่างทางตอนที่เป็นป่าแห่งหนึ่ง

มีพวกโจรที่เรียกว่า เปสนกโจรประมาณ ๕๐๐ คน มั่วสุมกัน
สะกัดทางอยู่. พวกโจรเหล่านั้น จับพระโพธิสัตว์และเวทัพพ-
พราหมณ์ไว้.

ก็เพราะเหตุไร โจรพวกนี้ จึงถูกเรียกว่าเปสนกโจร ?
เพราะเหตุที่เล่ากันว่า พวกมันจับคนได้ ๒ คน แล้วใช้
คนหนึ่งไปเอาเงินมาให้พวกมัน เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลายจึง
เรียกพวกมันว่า "เปสนกโจร". ก็พวกโจรแม้เหล่านั้น ซุ่มอยู่
ที่บริเวณป่าแห่งหนึ่ง ถ้าจับพ่อกับลูกไปได้ ก็จะพูดกับพ่อว่า


• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จงไปเอาทรัพย์มาให้เรา แล้วจึงรับลูกไป โดยทำนองนี้. จับแม่
กับลูกสาวได้ ก็ปล่อยแม่ไป จับพี่กับน้องได้ ก็ปล่อยพี่ไป จับ
อาจารย์กับลูกศิษย์ได้ ก็ปล่อยศิษย์ไป ในคราวนั้น พวกมันจึง
ยึดตัว เวทัพพพราหมณ์ไว้ แล้วปล่อยพระโพธิสัตว์ไป.

พระโพธิสัตว์กราบอาจารย์แล้ว กล่าวเตือนว่า ผมจักไป
สัก ๒-๓ วันเท่านั้น อาจารย์อย่าหวาดหวั่นไปเลย อีกประการ
หนึ่ง โปรดกระทำตามคำของผมด้วยเถิด ในวันนี้จักมีฤกษ์ อัน
จะให้ฝนคือทรัพย์ตกลงมา ท่านอย่าไร้ความอดทนทุกข์ยาก อย่า
ร่ายมนต์ให้เงินทองไหลหลั่งลงมาเป็นอันขาด หากท่านจักให้

ฝนเงินฝนทองไหลหลั่งลงมาแล้วไซร้ ตัวท่านจักถึงความย่อยยับ
โจรทั้ง ๕๐๐ เหล่านี้ จักฆ่าท่านเสีย ครั้นเตือนอาจารย์อย่างนี้
แล้ว ก็จากไปเพื่อเอาทรัพย์มา. ฝ่ายพวกโจร พอพระอาทิตย์
อัษฎงค์ ก็มัดพราหมณ์ให้นอนแซ่ว. ขณะนั้นเองจันทมลฑลอัน

บริบูรณ์ ก็โผล่ขึ้นจากโลกธาตุด้านทิศปราจีน. พราหมณ์มอง
เห็นฤกษ์ ก็คิดว่า ได้ฤกษ์ที่จะให้ฝนเงินฝนทองไหลหลั่งลงมา
แล้ว ทำไมเราต้องเสวยทุกข์ยากอยู่เล่า ร่ายมนต์ให้ฝนแก้ว
ตกลงมา เอาทรัพย์ให้พวกโจร แล้วก็จักเป็นอิสระไปได้ตาม
สบาย แล้วจึงเรียกพวกโจรมา ถามว่า ดูก่อนโจรผู้เจริญทั้งหลาย

พวกท่านจับเราไว้ เพื่อต้องการอะไร ? พวกโจรตอบว่า ต้อง
การทรัพย์ซิขอรับ ท่านอาจารย์. พราหมณ์จึงกล่าวว่า ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ถ้าต้องการทรัพย์ ก็จงรีบแก้มัดเราโดยเร็ว ให้
เราสนานศีรษะ นุ่งผ้าขาว ประพรมตนด้วยของหอม ประดับ
ด้วยดอกไม้แล้วคุมเราไว้เถิด. พวกโจรฟังคำของพราหมณ์แล้ว

ก็ทำตามทุกประการ. พราหมณ์รู้ฤกษ์แล้ว ก็ร่ายมนต์แหงนดู
อากาศ. ทันใดนั้นเอง แก้วทั้งหลายก็ร่วงพรูมาจากอากาศ.
พวกโจรก็พากันกอบโกยเอาทรัพย์ รวบรวมใส่ในผ้าขาวม้า
แล้วพากันนำไป. แม้พราหมณ์ก็ตามพวกมันไปข้างหลังด้วย.
ครั้งนั้น มีโจรพวกอื่น จำนวน ๕๐๐ เหมือนกัน พากันจับโจร

เหล่านั้นไว้. เมื่อพวกที่ถูกจับถามว่า ท่านทั้งหลายจับเราไว้
ทำไม ก็ตอบว่า เพื่อต้องการทรัพย์. พวกโจรที่ถูกจับจึงบอกว่า
แม้นพวกท่านต้องการทรัพย์ ก็จงจับพราหมณ์นั้นไว้เถิด แกมอง
ดูอากาศแล้ว ให้ทรัพย์ไหลหลั่งลงมาได้ ก็ทรัพย์ของเรานี้ แกให้
ทั้งนั้นแหละ. พวกโจรก็ปล่อยพวกโจรที่จับไว้ พลางคุมตัวพราหมณ์
ไว้กล่าวว่า จงให้ทรัพย์แก่พวกเราบ้าง. พราหมณ์กล่าวว่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ฉันต้องให้ทรัพย์แก่พวกท่านแน่นอน แต่ว่า ฤกษ์ที่จะเรียกให้
ทรัพย์ไหลลงมาได้ กว่าจะมีก็อีกปีหนึ่งนับแต่วันนี้ไป ถ้าพวก
ท่านต้องการทรัพย์ละก็ ต้องคอยถึงเวลานั้น ข้าพเจ้าจักเรียก
ฝนทรัพย์ให้ไหลลงมาได้. พวกโจรพากันโกรธ พูดว่า ทุด! ไอ้

พราหมณ์ชั่ว ทีคนอื่นละก็แกเรียกฝนเงิน ฝนทองให้ไหลลงมา
ได้ทันทีทีเดียว ถึงคราวพวกเรา บอกให้คอยตั้งปี ดังนี้แล้ว
ฟันพราหมณ์ขาดเป็นสองท่อนด้วยดาบอันคม ทิ้งไว้ที่หนทาง
ยกพวกตามไปโดยเร็ว ได้ต่อสู้กับโจรพวกนั้น ฆ่าโจรพวกนั้น

ได้หมด ยึดเอาทรัพย์ไป เกิดแตกกันเป็นสองพวก เลยต่อสู้กัน
เอง ฆ่ากันตายไป ๒๕๐ แล้วก็แตกกันอีก ฆ่ากันอีก โดยทำนอง
นี้ จนในที่สุดเหลือ ๒ คน. แล้วฆ่ากันเองตายหมด. คนทั้งพันนั้น
ถึงความพินาศด้วยประการฉะนี้.

ก็คนทั้งสองที่เหลือภายหลังนั้น ยึดเอาทรัพย์นั้นมาได้ด้วย
อุบายนั้น พากันเอาไปซ่อนไว้ในที่รกใกล้บ้านแห่งหนึ่ง คนหนึ่ง
ถือพระขรรค์นั่งเฝ้าไว้ คนหนึ่งเอาข้าวสารเข้าไปสู่บ้านเพื่อหุง
เป็นอาหาร. ก็ขึ้นชื่อว่าความโลภแล้ว เป็นมูลแห่งความพินาศ

ทีเดียว เพราะฉะนั้น โจรคนที่นั่งเฝ้าทรัพย์คิดว่า เมื่อโจรคนนั้น
มา ทรัพย์นี้ก็ต้องแบ่งเป็นสองส่วน อย่ากระนั้นเลย พอมันมา
เราฟันเสียให้ตายด้วยพระขรรค์ก็สิ้นเรื่อง คิดแล้วก็เหน็บพระ-
ขรรค์ นั่งคอยให้คนนั้นมา. ฝ่ายอีกคนหนึ่งก็คิดว่า ทรัพย์นั้น

จักต้องแบ่งเป็นสองส่วน ถ้ากระไร เราเอายาพิษใส่อาหารให้
ไอ้คนนั้นกินสิ้นชีวิตแล้ว เราก็ได้ครอบครองทรัพย์แต่ผู้เดียว.
ดังนั้น พอข้าวสุกก็รีบกินเสียก่อน ส่วนที่เหลือก็ใส่ยาพิษไว้
ถือมาที่อีกคนหนึ่งคอยอยู่ พอก้มลงวางอาหารเท่านั้นเอง คนที่

คอยอยู่ก็ฟันด้วยพระขรรค์ขาดเป็น ๒ ท่อน เอาไปทิ้งในที่รก
แล้วกลับมากินอาหารนั้น เลยตนเองก็สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. คน
ทั้งหมดถึงความพินาศเพราะอาศัยทรัพย์นั้น ด้วยประการฉะนี้.

พอเวลาล่วงไปได้วัน-สองวัน พระโพธิสัตว์ก็ถือเอาทรัพย์
มา ไม่เห็นอาจารย์ในที่นั้นเสียแล้ว เห็นแต่ทรัพย์กระจัดกระจาย
อยู่ ก็คิดว่า อาจารย์ไม่เชื่อคำเรา ชะรอยจักเรียกทรัพย์ให้
หลั่งไหลลงมาเป็นแน่ ทุกคนต้องถึงความพินาศหมด ดังนี้แล้ว

พลางเดินไปในทางใหญ่. เมื่อเดินไปถึง ก็เห็นอาจารย์ถูกตัดขาด
๒ ท่อน คิดว่า อาจารย์ต้องมาตายเพราะไม่เชื่อคำเรา แล้วก็
เก็บฟืนกองเป็นเชิงตะกอน เผาอาจารย์. บูชาด้วยดอกไม้ป่า

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
แล้วเดินต่อไป เห็นโจร ๕๐๐ ตาย เดินต่อไป เห็นโจร ๒๕๐ ตาย
โดยลำดับ ในที่สุดเห็นคนทั้งสองสิ้นชีวิต จึงคิดว่า คนที่ถึงความ
พินาศนี้ หนึ่งพันหย่อนสองคน ต้องมีโจรอีก ๒ คนแน่นอน แม้
ทั้งสองคนก็จักไม่อาจรอดอยู่ได้ สองคนไปอยู่ที่ไหนเล่าหนอ
ดังนี้แล้วเดินต่อไป เห็นทางเข้าไปสู่ที่ซ่อนทรัพย์ของคนทั้งสอง

เดินต่อไป ก็เห็นกองทรัพย์ที่มัดเป็นถุง ๆ ไว้ ได้เห็นคนหนึ่งตาย
คร่อมถาดข้าว ในลำดับนั้น ก็คาดการณ์รู้เหตุทั้งหมดว่า โจร
พวกนั้นจักต้องกระทำอย่างนี้ แล้วก็คิดว่า บุรุษนั้นอยู่ไหนเล่า ?
ค้นหาดู ก็เห็นชายคนนั้นถูกหมกไว้ที่รก จึงคิดว่า อาจารย์ของ
เราไม่ทำตามคำเรา เพราะความว่ายากของตน แม้ตนก็ถึงความ

พินาศ มิหนำซ้ำทำให้คนอื่นอีกตั้งพันคนพลอยถึงความพินาศไป
อนาถแท้ คนที่ปรารถนาความเจริญแก่ตน โดยเหตุมิใช่อุบาย
ไม่ใช่การณ์ จักต้องถึงความพินาศใหญ่โตทีเดียว เหมือนอาจารย์
ของเราถึงความพินาศอยู่ฉะนั้น แล้วกล่าวคาถานี้ใจความว่า :-

"ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ โดยเหตุมิใช่
อุบาย ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน โจรชาวเจติรัฐ ฆ่า
พราหมณ์เวทัพพะเสียแล้ว คนเหล่านั้น ก็พลอย
ถึงความย่อยยับหมดสิ้น" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส วิหญฺญติ ความว่า บุคคล
คิดว่า เราปรารถนาประโยชน์ คือความเจริญ ความสุขแก่ตน
กระทำความพยายามโดยเหตุอันมิใช่อุบาย ในขณะอันมิใช่กาล
ย่อมเดือดร้อน คือลำบาก ได้แก่ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง.

บทว่า เจตา ได้แก่ พวกโจรผู้อยู่ในแคว้นเจติรัฐ.
บทว่า หนึสุ เวทพฺพํ ความว่า โจรชาวเจติรัฐ พากัน
ฆ่าพราหมณ์ ผู้ได้นามว่า "เวทัพพะ" เพราะรู้มนต์เวทัพพะ
เสียแล้ว.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า สพฺเพ เต พฺยสนมชฺฌคุํ ความว่า แม้คนเหล่านั้น
ทั้งหมด ฆ่ากันเองถึงความย่อยยับไม่ได้เหลือเลยสักคนเดียว.

เมื่อมีเหตุเช่นนี้ พระโพธิสัตว์จึงประกาศก้องไปทั้งป่าว่า
อาจารย์ของเรากระทำความบากบั่นในเรื่องมิใช่ฐานะ โดยเหตุ
มิใช่อุบาย เรียกทรัพย์ให้หลั่งไหลลงมา แม้ตนเองก็ถึงความสิ้น
ชีวิต ยังเป็นปัจจัยแห่งความพินาศของคนอื่น ๆ อีก ๕๐๐ ๆ

ฉันใด แม้คนอื่น ๆ ผู้ใดเล่าปรารถนาประโยชน์แก่ตน จักกระทำ
ความพยายามโดยเหตุมิใช่อุบายผู้นั้นทั้งหมด จักพินาศด้วยตน
เองเป็นแน่ ทั้งจักเป็นปัจจัยให้คนอื่น ๆ พลอยพินาศด้วย ดังนี้
เมื่อเหล่าเทวดาพากันให้สาธุการ ก็แสดงธรรมด้วยคาถานี้ นำ

ทรัพย์นั้นมาสู่เรือนของตน โดยอุบายอันชอบ กระทำบุญทั้งหลาย
มีทานเป็นต้น ดำรงอยู่ตราบอายุขัย ครั้นสิ้นชีวิต ก็ได้ไปเพิ่ม
แดนสวรรค์ให้บริบูรณ์ขึ้น.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่เธอเป็นคนว่ายาก แม้ในกาลก่อน ก็เป็นคนว่ายาก
เหมือนกัน ก็เพราะความเป็นคนว่ายาก จึงถึงความพินาศอย่าง
ใหญ่หลวง. ดังนี้ ครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุม

ชาดกว่า เวทัพพะพราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก
ในบัดนี้ ส่วนลูกศิษย์ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเวทัพพชาดกที่ ๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ เป็นอาทิ.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดา
นางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า
ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป ครั้นถึงวันนัดจึงถามอาชีวก ผู้
เข้าไปสู่ตระกูลของตนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้พวกผมจัก
ทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า

คนผู้นี้ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้เลยวันไปแล้วกลับมาถามเรา
เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง จึงพูดว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี
พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำ จักพินาศ
ใหญ่. พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัว
ในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็น

พวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้
การงานของพวกเราก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไป
คอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่
ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้นั้นแหละ. ครั้นวันรุ่งขึ้น
พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้า

สาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถี ก็พากันบริภาษ
พวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนบ้านนอก ขาดความ
เป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสียไม่มาตาม
กำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากันนั่นแหละ พวกเรายกเจ้าสาว

ให้คนอื่นแล้ว. พวกชาวบ้านนอก ก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง
ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มานั่นเอง. เรื่องที่
อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคล ของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่า
รู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุม

กันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำ
อันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วย
เรื่องอะไร ? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตราย
งานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อนก็โกรธคนเหล่านั้น

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2018, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนด
วันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ผม
จะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้น
โกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับ

ถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้เราจักทำการขัดขวางงานของคน
เหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคล
จักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก
จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกัน
ว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอย

คนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น. รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมา
ขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่าเป็น
ชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับ
เจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป. ชาวเมือง

กล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดี จึงไม่มา
จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่าน
ไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำ
ตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้อย่างไรเล่า ? เมื่อคนเหล่านั้น
โต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดีมีบุรุษผู้เป็น

บัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยิน
ชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มา
เพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการ
ได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้
ความว่า :-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร