วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้แต่ในปางก่อน เธอก็เคยกล่าวแก้ความแห่งภาษิตโดยย่อ
ได้อย่างพิสดารแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดละมั่งอาศัยอยู่ในป่า พระราชาทรง
พอพระหฤทัยในการล่าเนื้อ ทรงสมบูรณ์ด้วยพระกำลัง ถึงกับไม่ทรงนับ
มนุษย์อื่นว่าเป็นมนุษย์ไปเลย. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปล่าเนื้อ ตรัสกับหมู่

อำมาตย์ว่า เนื้อหนีไปได้ข้างผู้ใด เราต้องลงอาชญาแก่ผู้นั้น เพราะเหตุนั้น
ทีเดียว. พวกนั้นคิดกันว่า บางครั้งเนื้ออยู่ในวงล้อมแล้วยังวิ่งกระเจิงไปได้
พวกเราต้องช่วยต้อนเนื้อที่ปรากฏตัวแล้ว ให้วิ่งไปทางที่พระราชาประทับ
ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งจงได้ ครั้นคิดกันแล้ว ก็กระทำกติกา ให้ช่องทาง

ระหว่างถวายพระราชา. พวกเหล่านั้นพากันล้อมละเมาะใหญ่ไว้ ตีแผ่นดิน ด้วย
ไม้พลองเป็นต้น. ก่อนอื่นทีเดียวละมั่งลุกขึ้นเลาะละเมาะไปสามรอบ เมื่อจะหนี
ก็มองดูช่องที่จะหนี เห็นฝูงคนยืนถือธนูรายเรียง แขนจรดแขน ธนูจรดธนู
ในทิศอันเหลือ สถานที่พระราชาประทับยืนเท่านั้นที่เห็นเป็นช่อง. ละมั่งนั้นจึง
วิ่งไปตรงหน้าพระราชา เป็นเหมือนขวางทรายใส่ตาที่กำลังลืม. พระราชาเห็น


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ละมั่งนั้นมีกำลัง ก็ปล่อยลูกศรไปผิด. ธรรมดาฝูงละมั่งย่อมเป็นสัตว์ฉลาดที่จะ
ลวง เมื่อลูกศรมาตรงหน้า ก็หมอบเสียโดยเร็วแล้วหยุดนิ่ง เมื่อลูกศรมา
ข้างหลัง ก็วิ่งไปโดยรวดเร็ว เมื่อลูกศรมาทางเบื้องบน ก็เอี้ยวหลังเสีย เมื่อ
ลูกศรมาทางข้าง ก็หลีกเสียหน่อย เมื่อลูกศรมาติด ๆ กัน ก็หมุนตัวล้มลง
เมื่อลูกศรผ่านพ้นไปแล้ว จึงวิ่งหนีด้วยกำลังเร็วประหนึ่ง วลาหกที่ถูกลมพัด
กระจายไป.

พระราชาพระองค์นั้นเล่า เมื่อละมั่งนั่นหมุนตัวล้มลง ทรงเปล่ง
พระสีหนาทว่า เรายิงละมั่งได้แล้ว ละมั่งผลุดลุกวิ่งหนีโดยเร็ว ปานลมทำลาย
วงล้อมไปได้. พวกอำมาตย์ที่ยืนอยู่ ณ ด้านทั้งสอง เห็นละมั่งกำลังหนีไป
แล้วต่างคนต่างถามเป็นเสียงเดียวกันว่า เนื้อเผ่นไปทางที่ใครยืนอยู่เล่า แล้ว

ต่างก็ตอบกันว่า ทางที่พระราชาทรงประทับยืนอยู่. พระราชาก็ตรัสว่า เรายิง
ได้แล้ว ทูลถามว่า อะไรที่พระองค์ทรงยิงได้ พวกนั้นพากันยั่วเย้ากับพระราชา
ด้วยประการต่าง ๆ เช่นว่า ชาวเราเอ๋ย พระราชาของเราทั้งหลายทรงยิงไม่มี
พลาดเลย พระองค์ทรงยิงแผ่นดินได้แล้วละ. พระราชาทรงพระดำริว่า พวกนี้

เยาะเราได้ ช่างไม่รู้ฝีมือของเราเลย เราต้องถกเขมรเดินไปทีเดียว ใช้
พระขรรค์จับละมั่งให้จงได้ แล้วทรงวิ่งไปโดยเร็ว ครั้นทรงเห็นละมั่งนั้นแล้ว
ก็ทรงติดตามไปถึงสามโยชน์. ละมั่งเข้าป่าไปแล้ว ถึงพระราชาเล่าก็เสด็จเข้าป่า
เหมือนกัน. ในป่านั้น ณ หนทางที่ละมั่งวิ่งไป มีบ่อลึกเป็นเหวประมาณ ๖๐
ศอกเกิดจากไม้ใหญ่ผุ. บ่อนั้นมีน้ำประมาณ ๓๐ ศอก หญ้าคลุมมิดชิด. ละมั่ง


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ได้กลิ่นน้ำเข้า ก็ทราบว่ามีบ่อ จึงเลี่ยงเสียหน่อยแล้วผ่านไป. ส่วนพระราชา
เสด็จไปตรงทีเดียว เลยตกลงในบ่อนั้น. ละมั่งไม่ได้ยินเสียงฝีพระบาทของ
ท้าวเธอ เหลียวดูไม่เห็นเธอ ก็ทราบว่า คงตกลงในหลุมลึกเสียแล้ว เดินมา
มองดู เห็นท้าวเธอไม่มีที่เกาะ ลำบากอยู่ในน้ำลึก มิได้ใสใจถึงความผิดที่
ท้าวเธอทรงกระทำเลย เกิดความสงสารขึ้นมา คิดว่า พระราชาอย่าฉิบหาย

ต่อหน้าต่อตาเราเลย เราจักช่วยพระองค์ให้พ้นจากทุกข์นี้ แล้วยืนอยู่ที่ขอบบ่อ
กล่าวว่า มหาราช พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักช่วยพระองค์ให้
พ้นทุกข์ เพื่อจะช่วยพระราชาให้ขึ้นจากบ่อ เหมือนบุคคลกระทำความอุตสาหะ
เพื่อช่วยลูกรักของตนฉะนั้น คิดว่า เราต้องเอาหินถมลงไปจึงจะช่วยขึ้นได้

จึงมาช่วยพระราชาขึ้นจากเหวลึก ๖๐ ศอกได้ (ตามความคิด) ปลอบพระราชา
แล้วให้ขึ้นหลังพาออกจากป่า ส่งลง ณ ที่ไม่ห่างเสนา ให้โอวาทแก่ท้าวเธอ
ให้ทรงดำรงในศีล ๕ ประการ.

พระราชาสุดที่จะทรงพลัดพรากจากพระมหาสัตว์ อยู่ได้ จึงตรัสว่า
ข้าแต่พญาละมั่งผู้เป็นนาย เชิญท่านมาสู่พระนครพาราณสีพร้อมกับฉัน ฉันจะ
ถวายราชสมบัติในเมืองพาราณสีมีปริมาณ ๑๒ โยชน์ให้แก่ท่าน ท่านจงครอง
ราชสมบัตินั้นเถิด. กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์เป็นดิรัจฉาน ไม่ต้องการด้วย
ราชสมบัติ แม้พระองค์มีความไยดีในข้าพระองค์ไซร้ โปรดทรงรักษาศีลที่

ข้าพระองค์ให้ไว้ ทรงรับสั่งให้แม้ชาวแว่นแคว้นรักษากันด้วยเถิด ให้โอวาท
แล้วเข้าป่าไปเลย. ท้าวเธอมีพระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทรงรำลึกถึงคุณ
ของละมั่งนั้นเรื่อยมาทีเดียว ครั้นเสนาพร้อมกระบวน แล้วทรงแวดล้อมด้วย
เสนาเสด็จไปพระนคร ตรัสให้นำธรรมเภรีไปเที่ยวตีป่าวร้องว่า ตั้งแต่นี้ไป
ชาวแว่นแคว้นทั่วหน้า จงพากันรักษาศีล ๕ เถิด แต่ไม่ทรงเล่าคุณที่พระ-


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มหาสัตว์กระทำไว้ แก่พระองค์ให้ใคร ๆ ฟัง เสวยพระกระยาหารมีรสเลิศต่าง ๆ
ในเวลาเย็นเสร็จ เสด็จบรรทมเหนือพระแท่นที่บรรทมอันอลงกต เวลาใกล้รุ่ง
ทรงระลึกถึงคุณของพระมหาสัตว์ เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดบัลลังก์เหนือพระยี่ภู่
มีพระหฤทัยเปี่ยมด้วยพระปีติ ทรงเปล่งพระอุทาน ด้วยพระคาถา ๖ คาถาว่า

บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำ
สู่บกได้.

บุรุษพึงพยายามไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใดได้เป็นอย่างนั้น.
บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำ
สู่บกได้.

นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์ ก็ไม่ควร
ตัดความหวังในอันจะมาสู่ความสุข เพราะว่า ผัสสะ
อันไม่เกื้อกูล และเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึงเลย
ก็ต้องเข้าถึงความตาย.

สิ่งที่ไม่คิดไว้ย่อมมีได้บ้าง สิ่งที่คิดไว้ย่อมพินาศ
ไปบ้าง โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ จะสำเร็จได้
ด้วยความคิดนึกไม่ได้เลย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึเสเถว ความว่า พระเจ้าพาราณสี ระบุ
ความว่าบุคคลไม่ต้องทำการตัดรอนความหวังเสีย ต้องทำความหวังในกรรมของ
ตนเท่านั้น ไม่พึงหน่ายแหนงเลย. บทว่า ยถา อิจฺฉึ ความว่า จริงอยู่ ข้าพเจ้าสิ
ปรารภจะขึ้นจากเหวลึกถึง ๖๐ ศอก ข้าพเจ้านั้นก็เป็นอย่างนั้นได้ คือขึ้นจาก

เหวนั้นได้ทีเดียว. บทว่า อหิตา หิตา จ ความว่า ผัสสะที่เป็นทุกข์ก็มี
ที่เป็นสุขก็มี หมายความว่า ผัสสะเพื่อความตาย (ถูกเข้าตาย) ผัสสะเพื่อความ
เป็นอยู่ (ถูกเข้าเป็น) ดังนี้ก็มี ผัสสะเพื่อความตาย ชื่อว่าไม่เกื้อกูล เป็น
ของเหล่าสัตว์แท้จริง แม้หมู่สัตว์นั้นไม่ใฝ่ฝันคือไม่เคยคิดเลย ผัสสะเพื่อความ
ตายก็จะมาถึงได้. บทว่า อจินฺตมฺปิ ความว่า ข้าพเจ้าไม่เคยคิดเลยว่า จัก

ตกบ่อ ที่ข้าพเจ้าคิดไว้ คือ จักฆ่าละมั่ง แต่บัดนี้สิที่ข้าพเจ้าคิดไว้ก็สลายไป
ที่ไม่ได้คิดเลยนั่นแหละเกิดได้. บทว่า โภคา ความว่า ยศและบริวารเหล่านี้
มิใช่เป็นสิ่งที่สำเร็จแต่ความคิด เหตุนั้น ความเพียรอย่างเดียวที่ผู้มีความรู้ต้อง
กระทำ ด้วยว่าผู้มีความเพียรย่อมเป็นอันกระทำ แม้สิ่งที่ไม่ได้เคยคิดไว้ก็ได้
เหมือนกัน.

เมื่อท้าวเธอกำลังทรงเปล่งพระอุทานอยู่นั่นแหละ อรุณปรากฏ ท่าน
ปุโรหิตมาเฝ้าเพื่อทูลถามสุขไสยาแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่พระทวาร ได้ยินเสียง
พระอุทานของท้าวเธอ ดำริว่า เมื่อวานพระราชาเสด็จไปล่าเนื้อ คงจักยิงละมั่ง
นั้นผิด ครั้นถูกพวกอำมาตย์มายั่วเย้า ก็ทรงติดตามละมั่งนั้นด้วยขัตติยมานะ
ว่า จักฆ่าเสีย หิ้วมันมา เลยไปตกเหวลึก ๖๐ ศอก พญาละมั่งมีใจสงสาร

มิได้คิดถึงโทษของพระราชา คงจักช่วยพระราชาขึ้นได้ เห็นจะเป็นด้วยเหตุนั้น
ท้าวเธอจึงทรงเปล่งอุทาน เหตุได้ยินพระอุทานอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ของ
พระราชา เหตุการณ์ที่พระราชาและพญาละมั่งกระทำไว้ได้ปรากฏแก่พราหมณ์
เหมือนเงาปรากฏแก่ผู้ส่องหน้าที่กระจกเจียระไนฉะนั้น. ท่านจึงเคาะประตูพระ-


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ทวารด้วยเล็บ. พระราชาตรัสถามว่า ใครนั่น. เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์
ปุโรหิต พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงเปิดพระทวารแล้วตรัสว่า เชิญทางนี้
เถิด ท่านอาจารย์. ท่านเข้าไปถวายชัยพระราชาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ที่

พระองค์กระทำไว้ในป่า พระองค์ทรงติดตามละมั่งตัวหนึ่งไปตกเหว ครั้นแล้ว
ละมั่งนั้นทำการถมด้วยศิลาช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึก พระองค์นั้นทรงรำลึกถึง
คุณของละมั่งนั้น ทรงเปล่งพระอุทานแล้ว พระเจ้าข้า พลางกราบทูลคาถา
๒ คาถาว่า

เมื่อพระองค์เสด็จติดตามละมั่งตัวใดไปตกเหวที่
ซอกเขา พระองค์ทรงพระชนม์สืบมาได้ ด้วยความ
บากบั่นของละมั่งตัวนั้น ซึ่งมีจิตไม่ท้อแท้.

ละมั่งตัวใดพยายามเอาก้อนหินถมเหวช่วยพระ-
องค์ขึ้นจากเหวลึกยากที่จะขึ้น ปลดเปลื้องพระองค์ ผู้
เข้าถึงกองทุกข์เสียจากปากมฤตยู พระองค์กำลังตรัส
ถึงละมั่งตัวนั้นซึ่งมีจิตไม่ท้อแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสฺสริ แปลว่า ติดตามไป. บทว่า
วิกฺกนฺตํ ความว่า ได้กระทำความบากบั่นเพื่อจะถอนขึ้น. บทว่า อนุชีวสิ
ความว่า ท่านอาศัยเป็นอยู่ อธิบายว่า ท่านได้ชีวิตเพราะอานุภาพของละมั่งนั้น.
บทว่า อุทฺธริ ได้แก่ ให้ยกขึ้นแล้ว. บทว่า ตเมว วเทสิ ความว่า
พระองค์นั่งสรรเสริญเนื้อละมั่งทอง บนที่นอนอันทรงสิรินี้.

พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้มิได้ไป
ล่าเนื้อกับเรา รู้เรื่องทั้งหมดเลย รู้ได้อย่างไรเล่าหนอ ต้องถามท่านดู จึงตรัส
พระคาถาที่ ๙ ว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อคราวนั้น ท่านได้อยู่ในที่
นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครได้บอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่าน
เป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่องได้ทั้งปวงละ
สิหนอ ความรู้ของท่านมีกำลัง เห็นปรุโปร่งหรือ
อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภึสรูปํ ความว่า ความรู้ของท่านน่าจะมี
เรี่ยวแรงกระมังหนา เพราะเหตุนั้นท่านจึงรู้ข้อนั้น.
พราหมณ์เมื่อจะแสดงว่า ข้าพระองค์มิใช่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แต่
เรื่องราวของพระคาถาที่พระองค์ไม่ทรงยังพยัญชนะให้เลอะเลือนตรัสไว้ปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ได้ พระเจ้าข้า จึงกล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ผู้เป็นนัก-
ปราชญ์ ครั้งนั้น ข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่
และใครก็มิได้บอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์เลย แต่ว่า
นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่
พระองค์ทรงภาษิตแล้วมาใคร่ครวญดู.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาสิตานํ ความว่า บทแห่งคาถาที่
พระองค์ตรัสดีแล้วไม่ลบล้างพยัญชนะ. บทว่า อตฺถํ ตทาเมนฺติ ความว่า
ย่อมนำความแห่งบทแห่งคาถานั้นมาใคร่ครวญ.

พระราชาทรงโปรดท่าน พระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก. ตั้งแต่นั้น
ก็ได้ทรงอภิรมย์แต่การบุญมีทานเป็นต้น. ฝูงชนเล่าก็พากันอภิรมย์แต่การบุญ
ที่ตายไปแล้ว ๆแน่นเมืองสวรรค์ทีเดียว. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงพระ-
ดำริว่า จักทรงยิงเป้า ตรัสชวนปุโรหิตเสด็จสู่พระอุทยาน. ครั้งนั้นท้าวสักก-


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เทวราช ทอดพระเนตรเห็นเทวดาและเทพกัญญาใหม่ ๆ มากมาย ทรงนึกว่า
เหตุอะไรเล่าหนอ ก็ทรงทราบเรื่องที่พระราชาขึ้นจากเหวได้เพราะละมั่ง แล้ว
ทรงชักชวนให้ประชาชนดำรงอยู่ในศีล ทรงพระดำริว่า มหาชนพากันทำบุญ
ด้วยอานุภาพของพระราชา เหตุนั้นแหละเทวโลกจึงบริบูรณ์ ก็บัดนี้พระราชา
เสด็จสู่พระอุทยานเพื่อจะทรงยิงเป้า เราจักต้องทดลองท้าวเธอดูบ้าง ให้ท้าวเธอ
เปล่งพระสุรสีหนาทประกาศคุณละมั่ง แล้วให้ทรงทราบความที่เราเป็นท้าวสักกะ

จักยืนในอากาศแสดงธรรม กล่าวถึงคุณของเมตตา และเบญจศีลแล้วกลับมา
ได้เสด็จไปสู่พระอุทยาน ฝ่ายพระราชา ทรงพระดำริว่า จักยิงเป้า ก็ทรง
โก่งธนูสอดลูกศร. ทันใดนั้นท้าวสักกะก็แสดงรูปละมั่งให้ปรากฏระหว่างพระ-
ราชาและเป้าด้วยอานุภาพของท้าวเธอ. พระราชาทรงเห็นแล้วมิได้ปล่อยลูกศร
ที่นั้นท้าวสักกะก็เข้าทรงในสรีระของปุโรหิต ได้กล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาอันประเสริฐ
พระองค์ทรงสอดลูกศรอันมีปีก อันจะกำจัดความแกล้ว
กล้าของปรปักษ์ได้เข้าในแล่งแล้ว จะทรงลังเลอะไร
อีกเล่า ลูกศรที่ทรงยิงไปแล้วต้องฆ่าละมั่งได้ทันที
ละมั่งนี้คงเป็นพระกระยาหารของพระราชาได้โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยลูกศรอันมีปีก.
บทว่า ปรวิริยฆาตึ ความว่า อันจะกำจัดความแกล้วกล้าของข้าศึกเหล่าอื่น.
บทว่า จาเป สรํ ความว่า พระองค์เอาลูกศรกล่าวคือปีกนั่นสอดเข้าไปใน
แล่งแล้ว บัดนี้พระองค์จะลังเลใจอะไรเล่า. บทว่า หนฺตุ ความว่า ขอลูกศรที่
พระองค์ยิงไปแล้วนั่น จงฆ่าละมั่งนี้โดยทันที. บทว่า อนฺนํ หิ เอตํ ความว่า

ข้าแต่พระมหาราชผู้มีปรีชาอันประเสริฐ ชื่อว่าละมั่งคงเป็นพระกระยาหารของ
พระราชา ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสพระคาถานี้ว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราจะรู้จักชัดความข้อนี้ว่า
เนื้อเป็นอาหารของกษัตริย์ ก็แต่ว่า เราจะบูชาคุณที่
ละมั่งได้ทำไว้แก่เราในครั้งก่อน เพราะเหตุนั้น เราจึง
ไม่ฆ่าละมั่งนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตฺจ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
แม้ฉันก็ทราบข้อนี้แจ่มแจ้งว่า มฤคเป็นอาหารแห่งกษัตริย์ แต่ฉันบูชาคุณที่
ละมั่งกระทำในปางก่อน เพราะเหตุนั้น เราไม่ขอฆ่าเนื้อละมั่งเป็นเด็ดขาด.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าแต่มหาราชผู้เป็นใหญ่แห่งทิศ นั่นมิใช่เนื้อ
นั่นเป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าอสูร ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ พระองค์จงฆ่าท้าวสักกเทวราช
นั้นเสีย แล้วจักได้เป็นใหญ่ในหมู่อมรเทพ.

ข้าแต่พระราชาผู้องอาจ ประเสริฐกว่านรชน
ถ้าว่าพระองค์ยังทรงลังเลใจไม่ฆ่าละมั่ง ซึ่งเป็นสหาย
พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส และพระราชชายา
จักต้องไปยังเวตรณีนรกของพญายม.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสุเรโส นี้ท้าวสักกะตรัสด้วยความ
ประสงค์ว่า อสูรนั่นเป็นท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าอสูร. ด้วยบทว่า อมราธีโป
นี้ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านจงฆ่าท้าวสักกะนั่นแล้วเป็นท้าวสักกเทวราชเสียเอง.
ด้วยบทว่า เวตรณี ยมสฺส นี้ท้าวสักกะทำให้พระราชาทรงสะดุ้งว่า ถ้าพระองค์
ทรงคิดว่าเป็นสหายของเราแล้วไม่ฆ่าเนื้อละมั่งนั่นไซร้ พระองค์พร้อมทั้งพระ-
โอรสและพระชายาจะต้องไปนรกเวตรณีของพญายม.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า
เรา ชาวชนบททั้งหมด ลูกเมียและหมู่สหายจะ
พากันไปยังเวตรณีนรก ของพญายมก็ตาม ถึงกระนั้น
เราจะไม่ฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตเราเป็นอันขาด.

ดูก่อนพราหมณ์ ละมั่งตัวนี้ ทำคุณแก่เราเมื่อถึง
ความยาก ตัวคนเดียวในป่าเปลี่ยวแสนร้าย เราระลึก
ได้อยู่ถึงบุรพกิจเช่นนั้น ที่ละมั่งตัวนี้กระทำแก่เรา
รู้คุณอยู่จะพึงฆ่าอย่างไรได้เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า มม ปาณทสฺส นี้พระราชาตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดพึงให้ชีวิตแก่เรา ผู้ใดได้ให้ชีวิตอันเป็นที่รักแก่เราแล้ว
เราถึงจะไปสู่นรก ก็ไม่พึงประหาร ไม่พึงฆ่าบุคคลนั้นเลย ผู้นั้นไม่พึงถูกฆ่า.
บทว่า เอกสฺส กตฺตา วิวนสฺมึ โฆเร ความว่า มฤคนี้เป็นสัตว์กระทำคุณ
แก่ข้าพเจ้า คราวไม่มีสหายตัวคนเดียว เข้าไปในป่าเปลี่ยวแสนร้าย คือได้ให้
ชีวิตแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านั้นรำลึกถึงบุรพกิจเช่นนั้นที่มฤคนี้กระทำไว้ เมื่อรู้ถึง
คุณนั้น จะพึงฆ่าอย่างไรเล่า.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะออกจากสรีระท่านปุโรหิตนิรมิตอัตภาพ เป็น
ท้าวสักกะ สถิตบนอากาศ เมื่อจะทรงแสดงพระคุณของพระราชา จึงตรัส ๒
พระคาถาว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ขอพระองค์ผู้ทรงโปรดปรานมิตรยิ่งนัก จงทรง
พระชนม์ชีพอยู่ยืนนานเถิด พระองค์ทรงปกครองราช
สมบัติในคุณธรรมเถิด จงทรงมีหมู่นารีบำรุงบำเรอ
จงทรงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น เหมือนท้าว
วาสวะบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ฉะนั้น.

ขอพระองค์อย่าทรงพระพิโรธ จงมีพระหฤทัย
ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ จงกระทำสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมทั้งปวง ให้เป็นแขกควรต้อนรับ ครั้นทรงบำเพ็ญ
ทานและเสวยบ้างตามอนุภาพแล้ว ชาวโลกไม่ติเตียน
พระองค์ได้ จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตาภิราธิ ความว่า พระองค์เป็นผู้
โปรดปรานมิตร คือไม่ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สพฺพาติถี ความว่า พระองค์
ทรงบำเพ็ญพระองค์ควรแก่ผู้ขอ ทรงกระทำสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมทั้งปวง
ให้เป็นแขกควรต้อนรับ. บทว่า อนินฺทิโต ความว่า พระองค์ทรงเป็นผู้เบิกบาน

พระหฤทัย เพราะได้บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น และไม่ถูกชาวโลกนินทา จงเข้า
ถึงสวรรคสถานเถิด.

ท้าวสักกเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเตือนท้าวเธอว่า มหาราช
ข้าพเจ้ามาเพื่อกำหนดจับท่าน ท่านไม่ให้ข้าพเจ้ากำหนดจับตนได้ จงไม่ประมาท
เถิด แล้วเสด็จคืนสู่สถานแห่งตนแล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน สารีบุตรก็ย่อมรู้ความแห่ง
ภาษิตโดยย่ออย่างพิสดารเหมือนกัน ดังนี้ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาใน
ครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ ปุโรหิตได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนเนื้อละมั่ง
คือเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล.
จบอรรถกถาสรภชาดกที่ ๑๐
จบอรรถกถาแห่งเตรสนิบาต
อันประดับด้วยชาดก ๑๐ เรื่อง
ในคัมภีร์อรรถกถาชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ด้วยประการฉะนี้
สาลิเกทารชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
ปรารภภิกษุผู้เลี้ยงโยมหญิง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สมฺปนฺนํ สาลิเกทารํ
ดังนี้. ท้องเรื่องจักมีแจ้งในสามชาดก*.

ก็พระศาสดาตรัสให้หาภิกษุนั้น ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ
เลี้ยงคฤหัสถ์จริงหรือ เมื่อเธอกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นความจริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นอะไรของเธอ ครั้นเธอกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นโยมหญิงโยมชายของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ตรัสว่า
ดีจริง ภิกษุ ถึงเหล่าบัณฑิตแต่ก่อน เป็นสัตว์ดิรัจฉานบังเกิดในกำเนิดสกุณ
ก็ยังให้พ่อแม่ผู้แก่แล้วนอนในรัง หาอาหารมาด้วยจะงอยปาก เลี้ยงดูได้
ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้ามคธราช ครองราชสมบัติในพระนคร
ราชคฤห์. ครั้งนั้น ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากพระนคร มีบ้านพวก
พราหมณ์ ชื่อว่า สาลินทิยะ. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านนั้น เป็น
ไร่ของชาวมคธ. ในที่นั้น พราหมณ์ โกสิยโคตรชาวสาลินทิยะ จับจองไร่ไว้
ประมาณ ๑,๐๐๐ กรีส หว่านข้าวสาลีไว้. ครั้นข้าวกล้างอกขึ้นแล้ว ให้คน

ทำรั้วอย่างแข็งแรง แบ่งให้บริษัทของตนนั้นแล ดูแลรักษา บางคนประมาณ
๕๐ กรีส บางคน ๖๐ กรีส จนครบพื้นที่ไร่ประมาณ ๕๐๐ กรีส ที่เหลือ
๕๐๐ กรีส กั้นรั้วให้ลูกจ้างคนหนึ่ง. ลูกจ้างปลูกกระท่อมลงตรงนั้น อยู่ประจำ
*ดูพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ชาดกแปลเล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ หน้า ๑๕๕
ทั้งกลางคืนและกลางวัน. ก็ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไร่ มีป่างิ้วใหญ่

อยู่ที่ภูเขาอันมียอดเป็นที่ราบลูกหนึ่ง. ฝูงนกแขกเต้าหลายร้อยพากันอาศัยอยู่ใน
ป่างิ้วนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นลูกของพญานกแขกเต้า ใน
ฝูงนกแขกเต้านั้น เมื่อเติบโตแล้ว มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยกำลัง ร่างกายใหญ่
ขนาดดุมเกวียน. ครั้นถึงเวลาบิดาแก่ บิดาของท่านได้มอบความเป็นพญาให้
ด้วยคำว่า บัดนี้ฉันไม่สามารถจะบินไปไกลๆได้ เจ้าจงปกครองฝูงนกนี้เถิด.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ท่านก็ไม่ยอมให้บิดามารดาไปหากิน เมื่อได้ปกครองฝูงนก
แขกเต้าก็ไปสู่ป่าหิมพานต์ จิกกินข้าวสาลีในป่า ข้าวสาลีที่เกิดเองจนอิ่ม เวลา
กลับก็คาบอาหารที่เพียงพอแก่มารดาบิดามาเลี้ยงมารดาบิดา. อยู่มาวันหนึ่ง
นกแขกเต้าพากันบอกว่า ครั้งก่อนในระยะกาลนี้ คนเคยหว่านข้าวสาลีในไร่
แคว้นมคธ บัดนี้จะยังกระทำอยู่หรืออย่างไรไม่ทราบ. พญาแขกเต้าใช้นก

แขกเต้าสองตัวไปว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงสืบดู. นกแขกเต้าทั้งสองบินไป เมื่อจะ
ร่อนลงในมคธเขต ไปร่อนลงในไร่ที่ลูกจ้างนั้นเฝ้า จิกกินข้าวสาลี แล้วคาบ
รวงข้าวสาลีรวงหนึ่ง บินกลับมาสู่ป่างิ้ว วางรวงข้าวสาลีไว้แทบเท้าของมหาสัตว์
กล่าวว่า ในที่นั้นมีข้าวสาลีเช่นนี้. วันรุ่งขึ้นพญาแขกเต้าแวดล้อมด้วยฝูงนก
แขกเต้า บินไปในที่นั้นร่อนลงในไร่ของลูกจ้างนั้น. ฝ่ายบุรุษนั้นเห็นนก

แขกเต้าทั้งหลายพากันจิกกินข้าวสาลี แม้จะวิ่งกลับไปกลับมาห้ามอยู่ ก็สุดที่จะ
ห้ามได้. นกแขกเต้าที่เหลือพากันจิกกินข้าวสาลีพออิ่ม ต่างก็บินไปปากเปล่ากัน
ทั้งนั้น. แต่พญาแขกเต้ารวบรวมข้าวสาลีเป็นอันเดียวกัน คาบด้วยจะงอยปาก
บินออกหน้ามาให้แก่มารดาบิดาฺ. ฝูงนกแขกเต้าตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็พากันจิกกิน
ข้าวสาลีในที่นั้นแห่งเดียว ครั้นบุรุษนั้นเห็นฝูงนกแขกเต้ากำลังลงจิกกินข้าว

สาลี ก็วิ่งกลับไปกลับมาห้ามปราม แต่ก็มิอาจที่จะห้ามได้จึงคิดว่า ถ้านก
แขกเต้าเหล่านี้พากันลงกินอย่างนี้ สักสองสามวันเท่านั้น จักต้องไม่มีข้าวสาลี
เหลือสักน้อย พราหมณ์ต้องตีราคากระทำให้เราต้องชดใช้ก็ได้ เราต้องไปบอก
แกเสีย. เขาถือเอาบรรณาการตามมีตามได้ กับฟ่อนข้าวสาลีไปสู่สาลินทิยคาม

พบพราหมณ์แล้วให้บรรณาการ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถูกถามว่า
เป็นอย่างไร พ่อเอ๋ย ไร่ข้าวสาลีสมบูรณ์ดีหรือ ตอบว่า ครับ ท่านพราหมณ์
สมบูรณ์ แล้วได้กล่าวคาถา ๒ ว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านโกสิยะ นาข้าวสาลีบริบูรณ์ดี แต่นก
แขกเต้าทั้งหลายพากันมากินเสีย ข้าพเจ้าขอคืนนานั้น
ให้แก่ท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะห้ามนกแขกเต้า
เหล่านั้นได้ ก็ในนกแขกเต้าเหล่านั้น มีนกแขกเต้า
ตัวหนึ่งงามกว่าทุก ๆ ตัว กินข้าวสาลีตามต้องการแล้ว
ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนํ ความว่า สมบูรณ์ คือ ไม่
บกพร่องเลย. บทว่า สาลิเกทารํ ได้แก่ นาแห่งข้าวสาลี. บทว่า สพฺพสุนฺ-
ทโร ความว่า นกแขกเต้าตัวนั้นงามด้วยส่วนทุกส่วน จะงอยปากแดง นัยน์ตา
มีประกายเหมือนผลกระพังโหม มีเท้าแดง มีสร้อยคอสีแดง คาดรอบคอ
สามชั้น โตเท่านกยูงขนาดใหญ่ กินข้าวสาลีจนอิ่มแล้ว ยังคาบเอาสิ่งอื่นเอา
ไปด้วยจะงอยปากอีกเล่า.

พราหมณ์ฟังถ้อยความของคนเฝ้าไร่นั้น เกิดความรักในพญานกแขก
เต้าขึ้น ถามคนเฝ้าไร่ว่า พ่อเอ๋ย แกรู้จักดักแร้วไหม. ตอบว่า รู้ครับ. พราหมณ์
จึงกล่าวกับเขาด้วยคาถาว่า
เจ้าจงดักบ่วงพอที่จะให้นกนั้นติดได้ แล้วจง
จับนกนั้นทั้งยังเป็นมาให้เราเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชฺฌนฺตุ แปลว่า จงดัก. บทว่า
พาลปาสานิ ได้แก่ บ่วงอันสำเร็จแล้วด้วยเชือก มีขนหางม้าเป็นต้น. บทว่า
ชีวฺจนํ ความว่า จงนำนกแขกเต้านั้นทั้งเป็นมาให้เรา.

คนเฝ้าไร่ฟังคำนั้นแล้ว ยินดีด้วยท่านพราหมณ์ไม่ตีราคาให้ตนต้อง
ชดใช้ รีบไปขวั้นบ่วงด้วยขนหางม้า กำหนดดูที่ร่อนลงของพญานกแขกเต้าว่า
วันนี้ต้องร่อนลงตรงนี้ วันรุ่งขึ้นไม่ทำกังหัน ทอดบ่วงไว้แต่เช้าทีเดียว
คอยดูการมาของฝูงแขกเต้า นั่งเฝ้าอยู่ในกระท่อม. ฝ่ายพญานกแขกเต้าแวดล้อม
ด้วยฝูงนกแขกเต้าบินมา ร่อนลงในที่ที่หากินเมื่อวาน เพราะมีอุปจารไม่โลเล


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 16 ม.ค. 2019, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เท้าพอดีสอดเข้าไปในบ่วงที่วางดักไว้. พญานกแขกเต้านั้นทราบความที่ตน
ติดบ่วงแล้ว คิดว่า ถ้าเราร้องเอะอะในเวลานี้ พวกญาติของเราต้องพากัน
กลัวตาย ไม่เป็นอันหากินบินหนีไปเลย เราต้องอดกลั้นไว้จนกว่าพวกนั้นจะ
หากินกันอิ่มหนำ. ครั้นทราบว่า พวกนั้นอิ่มหนำสำราญแล้ว ความกลัวตาย

คุกคามเข้า จึงเอะอะสามครั้ง. ครั้งนั้นนกแขกเต้าทั้งปวงได้ยินแล้วพากันหนี
ไปหมดเลย. พญานกแขกเต้าเมื่อจะรำพันว่า บรรดาญาติของเรา แม้เพียง
ตัวเดียวที่จะเหลียวมาดู ก็ไม่มีเลย เราทำบาปอะไรไว้เล่าหนอ กล่าวคาถาว่า
ฝูงนกเหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ย่อมพากันบินไป
เราผู้เดียวติดบ่วง เราทำบาปอะไรไว้.

คนเฝ้าไร่ได้ยินเสียงร้องเอะอะของพญานกแขกเต้า และเสียงฝูงนก
แขกเต้าบินไปในอากาศ ดำริว่า อะไรกันเล่าหนอ จึงลงจากกระท่อมไปที่
วางบ่วง เห็นพญานกแขกเต้าดีใจว่า เราวางบ่วงดักนกตัวใด จำเพาะติดตัว
นั้นพอดีเลย ครั้นปลดพญานกแขกเต้าจากบ่วงแล้ว ผูกเท้าทั้งสองติดกันจับไว้

แน่นไปสู่สาลินทิยคาม ให้พญานกแขกเต้าแก่ท่านพราหมณ์ ท่านพราหมณ์จับ
พระมหาสัตว์ด้วยมือทั้งสองข้างอย่างแน่นแฟ้นด้วยความรักอันมีกำลัง ให้นั่ง
บนตัก เมื่อจะทักทายกับพญานกแขกเต้านั้น ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า

ดูก่อนนกแขกเต้า ท้องของเจ้าเห็นจะใหญ่กว่า
ท้องของนกเหล่าอื่นเป็นแน่ เจ้ากินข้าวสาลีตามต้อง
การแล้ว ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก ดูก่อนนก
แขกเต้า เจ้าจะบรรจุฉางในป่าไม้งิ้วนั้นให้เต็มหรือ
หรือว่าเจ้ากับเรามีเวรกันมา สหายเอ๋ย เราถามเจ้าแล้ว
เจ้าจงบอกแก่เราเถิด เจ้าฝังข้าวสาลีไว้ที่ไหน ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทรํ นูน ความว่า พ่อนกแขกเต้า
ท้องของเจ้าเห็นจะใหญ่ยิ่งกว่าท้องของนกเหล่าอื่นกระมังหนา. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในป่าไม้งิ้วนั้น. บทว่า ปูเรติ ความว่า เจ้าบรรจุยุ้งฉางในที่อยู่นั้น
ให้เต็ม (ในฤดูฝน) หรือ. บทว่า นิธียติ ความว่า เจ้าเก็บคือฝังข้าวสาลี
ไว้ที่ไหน ?


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร