วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกสุกรได้ฟังคำของมันแล้ว พากันกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
ดูก่อนตัจฉะ เจ้าจงไปหาที่ซ่อนเร้นแห่งอื่นเถิด
ในที่นี้ศัตรูของพวกเรามีอยู่ มันมาในที่นี้แล้วก็ฆ่าหมู่
แต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น มันเรียกสุกรนั้นว่า ตัจฉะ. บทว่า วรํวรํ ความว่า
มันฆ่าสุกรแต่ล้วนที่มีร่างกายอ้วนพีเสีย.
ต่อไปนี้พึงทราบคาถาที่ร้อยกรองไว้อย่างง่ายโดยนัยพระบาลีนั่นแล.
ตัจฉกสุกรถามว่า
ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้ ใครมา
กำจัดญาติทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด
ได้ เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่
เราเถิด.
พวกหมู่ตอบว่า

ดูก่อนตัจฉะ พญาเนื้อตัวหนึ่งลายพาดขึ้น
เป็นเนื้อมีกำลังมีเขี้ยวเป็นอาวุธ มันมาในที่นี้แล้ว ก็
ฆ่าหมู่แต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
ตัจฉกสุกรถามว่า

พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อม
หรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมัน
ตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกหมูพากันกล่าวว่า
ดูก่อนตัจฉะ ท่านกล่าววาจาจับอกจับใจ
เพราะหู แม้ตัวใดหนีไปเวลารบ พวกเราจักฆ่ามันเสีย
ในภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนมฺหากํ ความว่า พอเราเห็นท่าน
คิดว่า พวกหมูเหล่านี้มีเนื้อและโลหิตน้อย ชะรอยจะพึงมีภัยต่อพวกหมูเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น พวกท่านจงบอกเรา ใครหนอเป็นศัตรูแก่เราในที่นี้. บทว่า
อุทฺธคฺคราชี ความว่า มาพร้อมกับพญาเนื้อลายพาดขึ้น พวกหมูกล่าว
หมายเอาเสือโคร่งนั่นเอง. บทว่า โยปิ ความว่า ในบรรดาระหว่างพวกเรา
แม้ตัวเดียวหนีไป พวกเราจักฆ่าตัวนั้นในภายหลัง.

ตัจฉกสุกร กระทำพวกหมูทั้งหมดให้มีใจเดียวกัน แล้วถามว่า เสือ
จักมาเวลาไหน. พวกหมูตอบว่า วันนี้ ตอนเช้าตรู่ มันมาจับไปตัวหนึ่งแล้ว
คงมาในวันพรุ่งนี้เช้าเป็นแน่. ตัจฉกสุกรนั้นฉลาดในการรบรู้ชัยภูมิว่า ตั้งใน
ฐานนี้ไม่อาจชนะได้ เหตุนั้นจึงตรวจดูประเทศแห่งหนึ่ง ให้พวกหมูหากิน
เสียแต่กลางคืนทีเดียว พอถึงเวลาค่อนรุ่งกล่าวว่า อันขบวนรบมี ๓ อย่าง

ด้วยอำนาจขบวนรบรูปเกวียนเป็นต้น แล้วจัดแจงขบวนรบแบบดอกปทุม
ตั้งพวกลูกหมูที่กำลังดื่มน้ำนมไว้ตรงกลาง วางแม่หมูเหล่านั้นล้อมไว้ คัดนาง
หมูรุ่นกลางล้อมแม่หมูเหล่านั้น ระหว่างนางหมูเหล่านั้นวางลูกหมูอย่านมแล้ว
ล้อมไว้ ระหว่างลูกหมูเหล่านั้นวางหมูรุ่น ๆ เขี้ยวตูม ๆ ระหว่างนั้นวางพวก
หมูเขี้ยวใหญ่ ระหว่างนั้นวางหมูที่แก่ ๆ แล้วตั้งกองกำลังแบ่งเป็นพวก ๆ

พวกละ ๑๐ ตัว ๒๐ ตัว และ ๓๐ ตัว ไว้ในที่นั้น ๆ ให้ขุดหลุมหลุมหนึ่ง
สำหรับตน ขุดหลุมอีกหลุมหนึ่งเพื่อดักเสือ กระทำให้เป็นตะพักมีสัณฐาน
เหมือนกระด้ง ระหว่างหลุมทั้ง ๒ ให้กระทำตั่งสำหรับตนอยู่. ตัจฉกสุกรนั้น
คุมพวกหมูสำหรับรบที่มีเรี่ยวแรงแข็งขัน เที่ยวปลุกใจฝูงหมูในที่นั้น ๆ. พอ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ตัจฉกจัดการเรียบร้อย พอดีพระอาทิตย์ขึ้น. ทีนั้นพญาเสือโคร่งออกจากอาศรม-
บทของชฎิลโกง ยืนสะบัดกายอยู่ที่พื้นภูเขา. พวกหมูเห็นมันแล้วพากันบอกว่า
เจ้าพ่อคุณเอ๋ย ไพรีของพวกเรามาแล้วละ. ตัจฉกสุกรบอกว่า พวกเจ้าอย่ากลัว
มันทำอาการใด พวกเจ้าจงทำอาการนั้นเป็นปฏิปักษ์กันทุกอย่าง. เสือโคร่ง
สะบัดร่างกาย ย่อตัวลงหน่อยหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะ พวกหมูเล่าก็กระทำอย่างนั้นบ้าง

เสือโคร่งมองดูพวกหมูแล้วคำรามเสียงดัง พวกหมูก็พากันกระทำอย่างนั้นบ้าง
เหมือนกัน. มันเห็นกริยาของพวกหมูนั้นคิดว่า หมูเหล่านี้ไม่เหมือนหมูก่อนๆ
วันนี้พากันตั้งเป็นพวก ๆ เป็นศัตรูต่อเรา. เสนานายกของพวกมันที่เป็นผู้
สั่งการคงจะมี วันนี้เราไม่ควรไปใกล้พวกมันเลย กลัวตายขึ้นมาหันกลับไปหา
ชฎิลโกง. ครั้นชฎิลโกงนั้นเห็นมันมาเปล่า ๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า

ดูก่อนพญาเนื้อที่เก่งกล้า วันนี้เจ้าคงจะงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ละซิหนอ ท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง
เสียแล้วหรือ หรือเขี้ยวของท่านคงไม่มี เจ้ามาถึง
กลางฝูงสุกรแล้วจึงซบเซาอยู่ดังคนกำพร้าฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺฆปฺปตฺโต ความว่า เจ้าได้อยู่ใน
หมู่แห่งสุกร ไม่ได้กินอาหารอะไร ๆ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้าฉะนั้น.
ครั้งนั้น เสือโคร่งกล่าวคาถาว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มิใช่ว่าเขี้ยวของข้าพเจ้าไม่มี กำลังกายของ
ข้าพเจ้าก็มีอยู่พรั่งพร้อม แต่ข้าพเจ้าเห็นสุกรทั้งหลาย
ที่เป็นญาติกันร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหตุฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงซบเซาแต่ผู้เดียวในป่า เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้
พอข้าพเจ้าลืมตาแลดูเท่านั้น ต่างก็กลัวตายหาที่หลบ-
ซ่อนวิ่งกระเจิดกระเจิง ไปตามทิศานุทิศ บัดนี้ พวกมัน

มาประชุมพร้อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในภูมิภาคที่
พวกมันยืนอยู่นั้นข้าพเจ้าข่มพวกมันได้ยากในวันนี้
พวกมันคงมีขุนพล จึงพรักพร้อมกัน คงเป็นเสียง
เดียวกัน คงร่วมมือร่วมใจกันเบียดเบียนข้าพเจ้า เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาสุกรเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมงฺคิ เอกโต ความว่า ผู้รวมใจกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียว. บทว่า อิมสฺสุทํ ความว่า แม้ในกาลก่อน พวกหมู
เหล่านี้น่ะหรือ เพียงข้าพเจ้าลืมตาดูเท่านั้น ก็วิ่งกระเจิงไปทั่วทิศานุทิศ. บทว่า
วิสุ ํ วิสุ ํ แปลว่า คนละแผนก. บทว่า ยตฺถ ฐิตา ความว่า มาประชุม

กันอยู่ในภูมิภาคใด. บทว่า ปรินายกสมฺปนฺนา ความว่า พวกมันสมบูรณ์
ด้วยขุนพล. บทว่า ตสฺมา เตสํ น ปฏฺ€เย ความว่า เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาพวกนั้น.

ชฎิลโกงฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะยุให้มันเกิดความอาจหาญขึ้น จึงกล่าว
คาถาว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระอินทร์องค์เดียวเท่านั้น ยังเอาชนะอสูร
ทั้งหลายได้ เหยี่ยวตัวเดียวเท่านั้น ย่อมข่มฆ่านก
ทั้งหลายได้ เสือโคร่งตัวเดียวเหมือนกัน ไปถึง
ท่ามกลางฝูงสุกรแล้ว ก็ย่อมฆ่าสุกรตัวพี ๆ ได้ เพราะ
กำลังของมันเป็นเช่นนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสงฺฆปฺปตฺโต ความว่า เสือโคร่ง
ไปถึงฝูงเนื้อแล้ว ย่อมฆ่าตัวดี ๆ ได้. บทว่า พลฺหิ ตาทิสํ ความว่า
เพราะกำลังของมันเป็นเช่นนั้น.

ลำดับนั้น เสือโคร่งจึงกล่าวคาถากะเขาว่า
จะเป็นพระอินทร์ จะเป็นเหยี่ยว แม้จะเป็น
เสือโคร่งผู้เป็นใหญ่กว่าเนื้อ ก็ทำญาติผู้พร้อมเพรียง
กันมั่นคง ซึ่งเป็นเช่นกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจไม่ได้
ทั้งนั้นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พยคฺโฆ น ความว่า เสือโคร่ง ไม่กระทำ
ฝูงสุกรที่กระทำอาการเป็นต้นว่า สะบัดร่างกาย เช่นกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจ
ได้ คือ ไม่สามารถให้เป็นไปในอำนาจของตนได้.
ชฎิลเมื่อจะปลุกมันให้อาจหาญอีก จึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า

ฝูงนกตัวน้อย ๆ มีชื่อว่า กุมภิลกะ เป็นนกมีพวก
เที่ยวไปเป็นหมวดหมู่ ร่าเริงบันเทิงใจ โผผินบินร่อน
ไปเป็นกลุ่ม ๆ ก็เมื่อฝูงนกเหล่านั้นบินไป บรรดานก
เหล่านั้น คงมีสักตัวหนึ่งที่แตกฝูงไป เหยี่ยวย่อม
โฉบจับนกตัวนั้นได้ นี่เป็นคติของเสือโคร่งทั้งหลาย
โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมฺภิลกา ได้แก่ ฝูงนกตัวน้อย ๆ ซึ่งมี
ชื่ออย่างนั้น. บทว่า อุปฺปตนฺติ ได้แก่ ไปเที่ยวหากิน. บทว่า อุยฺยนฺติ จ
ความว่า บินไปหากินทางอากาศ. บทว่า เอเกตฺถ อปสกฺกติ ความว่า
ในบรรดาฝูงนกเหล่านั้น มีตัวเดียวที่ล้าหลัง หรือก็บินแยกไปทางหนึ่ง. บทว่า
นิตาเลติ ความว่า เหยี่ยวย่อมโฉบเอาไปได้. บทว่า เวยฺยคฺฆิเยว สา คติ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ความว่า คตินั้นชื่อว่าเป็นทำนองเดียวกับเสือโคร่ง เพราะเป็นคติของเสือโคร่ง
นั่นเอง คือ แม้เมื่อพวกเสือโคร่ง จะไปหาฝูงสัตว์ที่อยู่ร่วมกัน ก็มีคติทำนองนี้
จึงได้ชื่อว่าเป็นคติของเสือโคร่งแท้ ๆ อันที่จริงทุก ๆ ตัว ไม่อาจจะบินไปโดย
กลุ่มเดียวกันได้ดอก เหตุนั้น ในฝูงนั้นตัวใดบินไปตัวเดียวอย่างนี้ ก็จับเอา
ตัวนั้นไป.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ปลุกใจเสือโคร่งว่า พญาเสือโคร่งเอ๋ย
เจ้ามิได้รู้กำลังของตน อย่ากลัวเลยน่ะ คำรามแล้ววิ่งปรี่เข้าไปท่าเดียวเท่านั้น
พวกสุกรที่คุมกันอยู่เป็นกลุ่มได้ไม่มีเลยละ มันได้กระทำอย่างนั้น.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า

เสือโคร่งเป็นสัตว์มีเขี้ยว ถูกชฎิลผู้หยาบช้า
เห็นแก่อามิส ปลุกใจให้ฮึกเหิม สำคัญจะทำได้เหมือน
เมื่อครั้งก่อน จึงวิ่งเข้าไปในฝูงสุกรที่มีเขี้ยว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาฑิ ความว่า เสือโคร่งที่มีเขี้ยวเป็น
อาวุธเอง โถมเข้าไปในฝูงสุกรที่มีเขี้ยวเป็นอาวุธดุจกัน. บทว่า ยถา ปุเร
ความว่า เพราะสำคัญเสียว่าเหมือนในครั้งก่อน ๆ.

เล่ากันมาว่า เสือโคร่งนั้นไปหยุดยืนที่พื้นภูเขา. พวกหมูพากันบอก
แก่ตัจฉกสุกรว่า นายเอ๋ย ไอ้โจรมันมาอีกแล้ว. ตัจฉกสุกรปลอบใจพวกนั้น
ว่า พวกเจ้าอย่ากลัวเลย ลุกขึ้นยืนบนตั่งระหว่างหลุมทั้งสอง. เสือโคร่งจึง
เผ่นโผนโจนใส่ตัจฉกสุกร ตัจฉกสุกรหลบกลับหน้าเป็นหลัง ตกลงในหลุม

แรก. เสือโคร่งไม่ยั้งความเร็วไว้ได้ จึงไปตกในหลุมที่เป็นตะพักเหมือนกระด้ง
แน่นอัดเหมือนฟ่อนหญ้า. ตัจฉกสุกรลุกขึ้นโดยเร็ว เผ่นจากหลุม จดเขี้ยว
ลงตรงขั้วไส้ของมัน ขวิดขาดไปจดหทัย กินเนื้อแล้วเอาปากคาบเหวี่ยงไป


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นอกหลุม บอกว่า พวกเจ้าจงพากันกินเนื้อซิ. พวกหมูที่มาก่อน ได้โอกาส
เพียงจ่อจะงอยปากลงไปครั้งเดียวเท่านั้น. ที่มาครั้งหลังไม่ได้เลย ต่างพูดกันว่า
อันเนื้อเสือโคร่งรสชาติมันเป็นอย่างไรนะ. ตัจฉกสุกร โดดขึ้นจากหลุมแล้ว
มองดูพวกหมูทั้งหลาย กล่าวว่า เอ๊ะ อย่างไรเล่า พวกเจ้าจึงไม่ดีใจกัน.

พวกหมูพากันตอบว่า นายเอ๋ย พวกเราเพียงจับเสือโคร่งได้ตัวเดียวเท่านั้น
ก็เท่ากับพวกเราจับเสือโคร่งตัวที่ประทุษร้ายได้ตัวหนึ่ง แต่นอกจากนี้ผู้ที่จะนำ
เสือโคร่งมาได้ยังมีอยู่. ถามว่า นั่นชื่อไร. ตอบว่า ชฎิลโกงผู้คอยกินมังสะ
ที่เสือโคร่งนำมาแล้ว ๆ. กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพากันมาเถิด พวกเราต้องจับมัน

ให้ได้ แล้ววิ่งแน่วไปกับพวกหมูเหล่านั้น. กล่าวถึงชฎิลนึกว่าเสือโคร่งมัวช้า
อยู่ มองดูทางมาของมัน เห็นพวกหมูเป็นอันมากกรูวิ่งมา คิดว่าชะรอยพวก
หมูเหล่านี้ฆ่าเสือโคร่งได้แล้ว พากันวิ่งมาเพื่อฆ่าเรา หนีขึ้นต้นมะเดื่อต้นหนึ่ง.
พวกหมูพากันร้องว่า มันขึ้นต้นไม้ไปแล้ว. ตัจฉกสุกรถามว่า ต้นไม้อะไร.

ตอบว่า ต้นมะเดื่อ. ตัจฉกสุกรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นอย่าเสียใจเลย ประเดี๋ยว
พวกเราต้องจับมันได้ พลางเรียกหมูหนุ่ม ๆ มาให้ช่วยกันคุ้ยดินออกจากโคน
ต้นไม้ ให้แม่หมูทั้งหลายไปอมน้ำมา ให้พวกหมูที่มีเขี้ยวใหญ่ ๆ ช่วยกัน
ขวิดรากโดยรอบ จนเหลือแต่รากแก้วที่หยั่งลงไปตรงรากเดียวเท่านั้น ต่อ

จากนั้นก็ร้องบอกพวกหมูที่เหลือ ๆว่า พวกเจ้าพากันหลบเสียเถิด แล้วคุกเข่า
เอาเขี้ยวขวิดตรงรากแก้ว ขาดไปเหมือนฟันด้วยขวาน ต้นไม้นั้นก็พลิก พอ
ชฎิลโกงตกลงมาเท่านั้น พวกหมูก็พากันรับไว้แล้วรุมกินเนื้อเสีย. รุกขเทวดา
เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมยังประโยชน์ให้
สำเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดในป่า ก็เหมือนกัน
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันเข้า ฆ่าเสือโคร่งเสียได้
เพราะประพฤติร่วมใจอันหนึ่งอันเดียวกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายเน หโต ความว่า ฆ่าเสือโคร่ง
เสียได้ เพราะมีความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นเอง.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความที่พวกสุกรเหล่านั้นกำจัดศัตรู
ทั้ง ๒ เสียได้จึงตรัสพระคาถาว่า

สุกรทั้งหลายช่วยกันฆ่าพราหมณ์ และเสือโคร่ง
ทั้ง ๒ ได้แล้ว ต่างร่าเริงบันเทิงใจ พากันบันลือศัพท์
สำเนียงเสียงสนั่น.

ตัจฉกสุกรถามอีกว่า ศัตรูของพวกเจ้าแม้อื่น ๆ ยังมีหรือ. พวกสุกร
พากันตอบว่า ไม่มีละนายเอ๋ย ตกลงกันว่า พวกเราต้องอภิเษกท่านให้เป็น
พระราชา พากันเที่ยวหาน้ำ เห็นสังข์สำหรับตักน้ำดื่มของชฎิล สังข์นั้นเป็น
สังข์ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา) เป็นสังขรัตนะ จึงตักน้ำมาเต็มสังข์ อภิเษก

ตัจฉกสุกร ณ โคนต้นมะเดื่อนั้นเอง แล้วพากันให้นางสุกรสรงน้ำอภิเษก
เป็นมเหสีของพญาตัจฉกสุกรนั้น ตั้งแต่ครั้งนั้น การนั่งตั่งไม้มะเดื่อ รดน้ำ
ด้วยสังข์ทักษิณาวัฏ ก็ได้รับประพฤติสืบมา.

พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความแม้นั้น ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ
อภิเษกตัจฉกสุกรด้วยคำว่า ท่านเป็นพระราชา เป็นเจ้า
เป็นใหญ่ของพวกเรา.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ถึงในครั้งก่อน ธนุคคหติสสะเคยฉลาดในการ
จัดขบวนรบเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็น
เทวทัต ตัจฉกสุกรได้มาเป็นธนุคคหติสสะ ส่วนรุกขเทวดาได้มาเป็น
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาตัจฉกสุกรชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พวกพ่อค้าชาวพระนครสาวัตถี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วาณิชา
สมิตึ กตฺวา ดังนี้.

เรื่องมีว่า พ่อค้าเหล่านั้นเมื่อจะไปค้าขาย ถวายมหาทานแด่พระศาสดา
ดำรงมั่นในสรณะและศีล กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกข้าพระองค์
จักไม่มีโรคกลับมาได้ จักขอบังคมพระบาทยุคลของพระองค์อีกพระเจ้าข้า ออก
เดินทางไปกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงแดนกันดาร กำหนดหนทางไม่ได้ เลย

พากันหลงทางท่องเที่ยวไปในป่า ขาดน้ำขาดอาหาร เห็นต้นไทรซึ่งนาคยึด
ครองต้นหนึ่ง ก็ชวนกันปลดเกวียน นั่งที่โคนต้น. พวกนั้นเห็นไทรใบเขียว
ชอุ่ม ประหนึ่งตะไคร้น้ำ กิ่งไทรเล่าก็เป็นเหมือนอิ่มด้วยน้ำ จึงคิดกันว่า
ในต้นไม้นี้ ปรากฏเหมือนมีน้ำเอิบอาบ พวกเราตัดกิ่งตะวันออกของต้นไม้นี้

เถอะเพื่อจะหลั่งน้ำดื่มให้ได้ ครั้นแล้วคนหนึ่งก็ขึ้นสู่ต้นไม้ตัดกิ่งขาด. ท่อน้ำ
ขนาดลำตาลไหลพรั่ง พวกนั้นพากันอาบพากันดื่ม ณ ที่นั้น แล้วพากันตัดกิ่ง
ทางใต้. โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ พรั่งพรูออกจากนั้น พากันบริโภค แล้วตัดกิ่ง
ตะวันตก. เหล่าสตรีผู้ตกแต่งร่างกายแล้ว พากันออกมาจากกิ่งนั้น พากัน

อภิรมย์กับหมู่สตรีนั้น แล้วตัดกิ่งทางเหนือ. แก้ว ๗ ประการหลั่งไหลออกจาก
กิ่งนั้น พากันเก็บแก้วเหล่านั้นบรรทุกเต็มเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม กลับมาสู่


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระนครสาวัตถี เก็บงำทรัพย์แล้ว ชวนกันถือของหอมและมาลาเป็นต้น ไปสู่
พระมหาวิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาบูชาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ฟังธรรมกถาแล้ว ทูลนิมนต์ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น พากันให้ส่วนบุญว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานครั้งนี้ แก่รุกขเทวดา

ผู้ให้ทรัพย์แก่พวกข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงฉันเสร็จ ตรัสถามว่า
พวกเธอให้ส่วนบุญแก่รุกขเทวดาองค์ไหน. พวกพ่อค้าพากันกราบทูลเหตุที่
พวกตนได้ทรัพย์ ในต้นไทรแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสว่า พวกเธอมิได้

ลุอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้รู้จักประมาณดอกนะจึงได้ทรัพย์ แต่ในครั้งก่อน
พวกที่ลุอำนาจตัณหา เพราะไม่รู้จักประมาณ พากันละทิ้งเสียทั้งทรัพย์และ
ชีวิต พ่อค้าเหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนาทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ทางกันดารนั้นเอง ต้นไทรก็ต้นนั้นแหละ แต่เมืองเป็น
พระนครพาราณสี พ่อค้าพ่อค้าหลงทางพบต้นไทรนั้นเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงข้อความนั้น จึงตรัสพระ
คาถาทั้งหลายว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกพ่อค้าพากันมาจากรัฐต่าง ๆ กระทำการ
ประชุมกันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็น
หัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป พ่อค้าเหล่านั้น
มาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้น
ไทรใหญ่มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ ก็พากันไป
นั่งพักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา

ถูกโมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่า ไม้ต้นนี้บางทีจะมี
น้ำไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออก น้ำใสไม่ขุ่นมัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้น
ก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า

ทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็น
ครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่ง ข้างทิศใต้
แห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก ข้าว
สาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสีเหมือนข้าวปราศจากน้ำ
แกงอ่อม ปลาดุก ก็ไหลออกมามากมาย พ่อค้าเหล่านั้น

พากันบริโภคเคี้ยวกินจนสมปรารถนา พ่อค้าทั้งหลาย
ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศตะวันตก แห่งต้นไม้
นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก เหล่านารีแต่งตัว
งามสมส่วน มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหู
แก้วมณี พากันออกมา นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอ
พ่อค้าคนละนาง นารี ๒๕ นางต่างก็แวดล้อมพ่อค้า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ผู้เป็นหัวหน้าอยู่โดยรอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้า
เหล่านั้น แวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจนสมปรารถนา
พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
เป็นครั้งที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศ
เหนือ แห่งต้นไม้อีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก
แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่องประดับ

เครื่องปูลาด ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ
ก็พรั่งพรูออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขน
บรรทุกใส่ในเกวียนเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า
เหล่านั้น เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
กันเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้

นั้นเสียทีเดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก ทันใด
นั้นนายกองเกวียนจึงลุกขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า
ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึง
พากันทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด ดูก่อน
พ่อค้าทั้งหลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทาง

ทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่งทางทิศตะวันตกก็ให้นารี
กิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ต้นไทร
ทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจง
มีความเจริญเถิด บุคคลพึงนั่งหรือนอน ที่ร่มเงาแห่ง

ต้นไม้ใด ก็ไม่ควรหักรานก้านแห่งต้นไม้นั้น เพราะ
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้าเหล่านั้น
มากด้วยกัน ไม่เชื่อถือคำของนายกองเกวียนผู้เดียว
ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะตัดต้น
ไทรนั้นที่โคน.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิตึ กตฺวา ความว่า จัดเป็นสมาคม
คือมากคนรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวในกรุงพาราณสี. บทว่า ปกฺกมึสุ
ความว่า บรรทุกสิ่งของที่มีในกรุงพาราณสีด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางไป.
บทว่า คามณึ ความว่า ตั้งผู้มีปัญญาผู้หนึ่งให้เป็นนายกองเกวียน. บทว่า
ฉาทิยา แปลว่า ที่ร่มเงา. บทว่า อลฺลายเต คือ ปรากฏเป็นเหมือนเต็ม

ด้วยน้ำ. บทว่า ฉินฺนาว ปคฺฆรติ พระศาสดาทรงแสดงว่า ผู้ฉลาดในการขึ้น
ต้นไม้คนหนึ่ง ขึ้นไปตัดกิ่งนั้น พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดน้ำใสก็ไหลพลั่ง. แม้ข้างหน้า
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อปฺโปทกวณฺเณ กุมฺมาเส คือ ขนมกุมมาส
ที่เป็นเสมือนกับข้าวปายาสที่มีน้ำน้อย. บทว่า สิงฺคิ คือแกงอ่อมมีแกงที่ใส่ขิง

เป็นต้น. บทว่า วิทลสุปิโย คือแกงถั่วเขียวเป็นต้น. บทว่า วาณิชา เอกา
คือ แก่พ่อค้าแต่ละคน พ่อค้ามีจำนวนเท่าใด ในจำนวนนั้นคนละ ๑ นาง
แต่ในสำนักของนายกองเกวียนมีอยู่ถึง ๒๕ นาง. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า
แวดล้อม ก็แลพร้อม ๆ กันกับนางเหล่านั้น ยังมีเพดานและที่นอนเป็นต้น
เหล่านั้น ไหลออกมาด้วยอานุภาพแห่งพญานาค. บทว่า กุตฺติโย ได้แก่

ถุงมือเป็นต้น. บทว่า ปฏิยานิ จ ได้แก่ เครื่องปูลาด มีเครื่องปูลาดอัน
สำเร็จด้วยขนแกะอันฟูเป็นต้น. บางอาจารย์ท่านกล่าวว่า ผ้ากัมพลขาวก็มี.
บทว่า อุฏฺฏิยาเนว กมฺพลา คือผ้ากัมพลชนิดที่ชื่อว่าอุฏฏิยานะมีอยู่. บทว่า
เต ตตฺถ ภาเร พนฺธิตฺวา ความว่า ต้องการเท่าใดก็ขนเอาในที่นั้นเท่านั้น
บรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม. บทว่า วาณิชา ภทฺทมตฺถุ เต ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นายกองเกวียนร้องเรียกพ่อค้าแต่ละคน จึงกล่าวว่า ความเจริญจงมีแก่ท่าน
เถิด. บทว่า อนฺนปานฺจ ความว่า ได้ให้ข้าวและน้ำ. บทว่า สพฺพกาเม จ
ความว่า ได้ให้สิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง. บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ความว่า
เพราะว่าผู้ทำลายมิตรทั้งหลาย คือบุรุษผู้มุ่งร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นคน
ชั่วช้าลามก. บทว่า อนาทิยิตฺวา ความว่า ไม่ยึดถือ คือไม่ขอรับถ้อยคำ
ของนายกองเกวียนนั้น. บทว่า อุปกฺกมุ ํ ความว่า เตรียมการโค่น คือ
เริ่มจะตัดเพราะโมหะ.

ครั้งนั้นพญานาคเห็นพ่อค้าเหล่านั้น พากันเข้าไปใกล้ต้นไม้ เพื่อที่จะ
ตัด ดำริว่า เราบันดาลน้ำดื่มแก่พวกนี้ผู้กำลังกระหาย จากนั้นให้โภชนะอัน
เป็นทิพย์มิหนำซ้ำยังให้ที่นอนและนางบำเรอแก่เขา จากนั้นเล่ายังให้รัตนะ
เต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียน แต่ว่าบัดนี้พวกนี้พูดกันว่า จักตัดต้นไม้เสียทั้งโคนเลย

ละโมบเหลือเกิน ควรที่เราจะฆ่าเสียให้หมดเว้นแต่นายกองเกวียน. พญานาค
นั้นจึงตระเตรียมเสนา สั่งว่า ทหารหุ้มเกราะจำนวนเท่านี้ จงเคลื่อนออกไป
ทหารแม่นธนูจำนวนเท่านี้ จงเคลื่อนออกไป ทหารโล่จำนวนเท่านี้ จงเคลื่อน
ออกไป.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ต่อจากนั้น นาคทั้งหลายก็พากันออกไป พวก
สวมเกราะ ๒๕ พวกถือธนู ๓๐๐ พวกถือโล่ ๖,๐๐๐ นาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนทฺธา คือพวกที่คลุมร่างกายด้วย
เกราะหนังอันประดับด้วยทองและแก้วเป็นต้น. บทว่า ธนุคฺคหานํ ติสตา
ความว่า พวกทหารที่ถือธนูอันทำด้วยเขาแกะมีประมาณ ๓๐๐. บทว่า จมฺมิโน
คือ พวกทหารที่ถือแผ่นโล่ทำด้วยหนังมีประมาณ ๖,๐๐๐ นาย.

ท่านทั้งหลายจงจับพวกนี้มัดฆ่าเสีย อย่าไว้ชีวิต
เลย เว้นไว้แต่นายกองเกวียนเท่านั้น นอกนั้นจง
สังหารมันทุกคนให้เป็นภัสมธุลีไป.
นี้เป็นคาถาที่พญานาคกล่าว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โว มุฺจิตฺถ ชีวิตํ ความว่า
ท่านทั้งหลาย อย่าปล่อยชีวิตแก่ใคร ๆ แม้สักคนเดียวเลย.

นาคทั้งหลาย กระทำตามนั้น แล้วขนเอาสิ่งของมีเครื่องปูลาดชนิดดี ๆ
เป็นต้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม ชวนนายกองเกวียนพากันขับเกวียนเหล่านั้น
ด้วยตนเองไปสู่กรุงพาราณสี เก็บทรัพย์ทั้งปวงไว้ในกองเกวียนของท่านแล้ว
ชวนกันอำลาท่านไปสู่นาคพิภพของตนดังเดิม.
พระศาสดา ทรงทราบเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า

เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อ
พิจารณาถึงประโยชน์ของตน ไม่ควรลุอำนาจแห่ง
ความโลภ พึงกำจัดใจอันประกอบด้วยความโลภเสีย
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ และรู้ตัณหาว่าเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความถือมั่น พึงเป็นผู้
มีสติละเว้นโดยรอบเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พวกพ่อค้า
ที่ลุอำนาจความโลภพากันถึงความวอดวายอย่างใหญ่หลวง อธิบายว่า นายกอง
เกวียนบรรลุสมบัติอันอุดม. บทว่า หเนยฺย ทิสกํ มนํ ความว่า บัณฑิต
พึงกำจัดใจ คือ จิตที่ประกอบด้วยโลภะที่เป็นของฝูงสัตว์ผู้มีความโลภมีอย่าง

ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตน. บทว่า เอวมาทีนวํ ความว่า ภิกษุทราบโทษในความ
โลภอย่างนี้แล้ว. บทว่า ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ความว่า และทราบว่าตัณหา
นั้นเป็นเหตุเกิดพร้อมแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น คือ ทุกข์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร