วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 16:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52, 53 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ คือ ชาติมทะ ความเมา
เพราะชาติ ๑ อติมานะ ความดูหมิ่นท่าน ๑ โลภะ
ความโลภอยากได้ของเขา ๑ โทสะ ความคิดประทุษ-
ร้าย ๑ มทะ ความประมาทมัวเมา ๑ โมหะ ความหลง ๑
ทั้งหมดเป็นโทษมิใช่คุณ ย่อมมีในเขตเหล่าใด เขต

เหล่านั้นไม่ใช่เขตอันดีมีศีลเป็นที่รักในโลกนี้ กิเลส
ทั้งหลายเหล่านี้คือ ชาติมทะ อติมานะ โลภะ โทสะ
มทะ และโมหะ ทั้งหมดเป็นโทษมิใช่คุณ ไม่มีใน
เขตเหล่าใด เขตเหล่านั้นจัดว่าเป็นเขตมีศีล เป็นที่รัก
ในโลกนี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโท ได้แก่ความเมาเพราะชาติอันบังเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ.

บทว่า อติมานตา ได้แก่ ความประพฤติดูหมิ่นว่าคนอื่นที่จะเสมอ
กับเราโดยชาติเป็นต้นไม่มี. กิเลสทั้งหลายมีความโลภเป็นต้น เป็นเพียงความ
อยากได้ ความคิดประทุษร้าย ความมัวเมา และความหลงเท่านั้น.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า อเปสลานิ ความว่า ก็บุคคลทั้งหลายเห็นปานนี้ เป็นผู้มิใช่
มีศีลเป็นที่รัก ราวกะว่าจอมปลวกอันเต็มไปด้วยอสรพิษฉะนั้น ทานที่บุคคล
ให้แล้วแก่บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีผลมาก เพราะฉะนั้น ท่านอย่าสำคัญ
ความที่ชนทั้งหลายผู้มิใช่มีศีลเป็นที่รักเหล่านี้ว่า เป็นเขตอันดี เพราะว่า

พราหมณ์ผู้มีชาติและมนต์มิใช่ผู้จะไปสวรรค์ได้ ส่วนชนเหล่าใด เป็นอริยชน
เว้นจากการถือชาติและมานะเป็นต้นได้ อริยชนเหล่านั้น เป็นเขตอันดีมีศีล
เป็นที่รัก ทานที่บุคคลให้แล้วในอริยชนเหล่านั้นมีผลมาก ทั้งอริยชนเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ให้ไปสวรรค์ได้ ดังนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอยู่บ่อย ๆ เช่นนี้ มัณฑัพยมาณพนั้น ขุ่นเคือง
จึงพูดว่า ดาบสผู้นี้พูดเพ้อเจ้อมากเกินไป คนรักษาประตูเหล่านี้ไปไหนหมด
จงมานำเอาคนจัณฑาลนี้ออกไป แล้วกล่าวคาถา ความว่า
คนเฝ้าประตูทั้งสามคือ อุปโชติยะ อุปวัชฌะ
และภัณฑกุจฉิ ไปไหนกันเสียหมดเล่า ท่านทั้งหลาย
จงลงอาญา และเฆี่ยนตีคนจัณฑาลนี้ แล้วลากคอคน
ลามกนี้ไสหัวไปให้พ้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กวตฺถ คตา มีอธิบายว่าโทวาริกบุรุษ
ทั้ง ๓ คือ อุปโชติยะ อุปวัชฌะ และภัณฑกุจฉิซึ่งยืนเฝ้าประตูทั้ง ๓ อยู่นี้
ไปไหนกันเสียหมดเล่า.

ฝ่ายคนเฝ้าประตูเหล่านั้น ได้ยินถ้อยคำของมัณฑัพยมาณพแล้วก็รีบมา
ไหว้แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐจะสั่งให้พวกผมทำอะไร ? มัณฑัพย-
มาณพจึงบอกว่า ท่านทั้งหลายเห็นคนจัณฑาลชาติชั่วคนนี้ที่ไหน ? พวกนาย
ประตูกล่าวว่า ท่านผู้ประเสริฐ พวกกระผมไม่เห็นเลย จึงไม่รู้ว่า เขามาจาก

ที่ไหน ? เขาดำริว่า ชะรอยมันจะเป็นนักเล่นกล หรือโจรวิชาธรบางคนเป็นแน่
ดังนี้ กล่าวสำทับพวกนายประตูว่า บัดนี้พวกเจ้ายังจะยืนเฉยอยู่ทำไม ? นาย
ประตูทั้งสามจึงถามว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ จะโปรดให้พวกผมทำอะไร ?
มัณฑัพยมาณพ ตอบว่า พวกท่านจงโบยตี ตบ ต่อย ปากเจ้าคนถ่อยจัณฑาล

ผู้นี้ทีเดียว แล้วเอาเรียวไม้ไผ่สำหรับลงอาญา โบยถลกหนังมันขึ้น แล้วฆ่า
มันเสียจับคอลากเจ้าคนลามกนี้ไป ให้พ้นจากที่นี่ เมื่อนายประตูทั้ง ๓ ยังไม่
ทันมาใกล้ชิด พระมหาสัตว์ก็เหาะลอยขึ้นไปยืนอยู่บนอากาศกล่าวคาถาความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ผู้ใดบริภาษฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ
ชื่อว่าเคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่าพยายามกลืนกิน
ไฟ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตเวทํ ปทหสิ ความว่า ย่อม
พยายามเพื่อจะกลืนกินซึ่งไฟ.
ก็แล ครั้นพระมหาสัตว์กล่าวดังนี้แล้ว เมื่อมาณพและพราหมณ์ทั้งหลาย
กำลังแลดูอยู่ นั่นแล ได้แล่นลอยไปในอากาศ.

เมื่อจะประกาศความข้อนี้ พระศาสดาจึงตรัสว่า
มาตังคฤาษี ผู้มีสัจจะเป็นเครื่องก้าวไปเบื้องหน้า
เป็นสภาพ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อพราหมณ์ทั้งหลาย
แลดูอยู่ ได้เหาะหลีกผ่านไปในอากาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปรกฺกโม ความว่า มีความบากบั่น
มุ่งก้าวไปข้างหน้าเป็นสภาพ.

มาตังคดาบสนั้นแล บ่ายหน้ามุ่งสู่ทิศปราจีน เหาะไปลง ณ ถนน
สายหนึ่ง แล้วอธิษฐานว่า ขอรอยเท้าของเราจงปรากฏ แล้วบิณฑบาตใกล้
ประตูด้านทิศปราจีน รวบรวมอาหารที่เจือปนกัน แล้วไปนั่งฉันภัตตาหาร
ที่เจือปนกัน ณ ศาลาแห่งหนึ่ง. เทพยดาผู้รักษาพระนครทั้งหลาย กล่าวกันว่า
มัณฑัพยกุมารผู้นี้ พูดก้าวร้าวเบียดเบียนพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ดังนี้

อดทนไม่ได้ จึงมาประชุมกัน ลำดับนั้น ยักขเทวดาผู้เป็นหัวหน้า ก็พากัน
จับคอของมัณฑัพยกุมารบิดกลับเสีย. เทวดาที่เหลือ ก็พากันจับคอของพราหมณ์
ที่เหลือทั้งหลาย บิดกลับเสียอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เพราะเทวดาเหล่านั้น
มีจิตอ่อนน้อมในพระโพธิสัตว์ จึงไม่ฆ่ามัณฑัพยมาณพเสีย ด้วยคิดว่าเป็น

บุตรของพระโพธิสัตว์ เพียงแต่ทำให้ทรมานลำบากอย่างเดียวเท่านั้น. ศีรษะ
ของมัณฑัพยมาณพ บิดกลับไป มีหน้าอยู่เบื้องหลัง มือและเท้าเหยียดตรง
แข็งทื่อตั้งอยู่ กระดูกทั้งหลายก็กลับกลายเป็นเหมือนกระดูกของคนที่ตายแล้ว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เขามีร่างกายแข็งกระด้างนอนแซ่วอยู่. ถึงพราหมณ์ทั้งหลายก็สำรอกน้ำลายไหล
ออกทางปาก กระเสือกกระสนไปมา. คนทั้งหลายรีบไปแจ้งเรื่องราวแก่นาง
ทิฏฐมังคลิกาว่า ข้าแต่แม่เจ้า บุตรของท่านเกิดเป็นอะไรไปไม่ทราบได้ ?
นางทิฏฐมังคลิการีบมาโดยเร็ว เห็นบุตรแล้วกล่าวว่า นี่อะไรกัน ? แล้วกล่าว
คาถาความว่า

ศีรษะของลูกเรา บิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขน
เหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือนคนตาย ใคร
มาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเวลิตํ แปลว่า บิดกลับไป. ลำดับนั้น
คนผู้ยืนอยู่ในที่นั้น เพื่อจะแจ้งให้นางทราบ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า
สมณะรูปหนึ่ง มีปกตินุ่งห่มไม่สมควรสกปรก
ดุจปีศาจ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวมใส่ผ้าขี้ริ้ว
ที่ได้จากกองขยะไว้ที่คอ ได้มา ณ ที่นี้ สมณะรูปนั้น
ได้ทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้.

นางทิฏฐมังคลิกาได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า นี้ไม่ใช่พลังของผู้อื่น คงจัก
เป็นมาตังคบัณฑิตสามีของเราโดยไม่ต้องสงสัย ก็แต่ว่า ท่านมาตังคบัณฑิตนั้น
เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยเมตตาภาวนา คงจักทรมานคนพวกนี้ให้ลำบาก
แล้วไปเสีย และท่านจักไปทิศไหนเล่าหนอ. แต่นั้น เมื่อนางจะถามถึงมาตัง-
คบัณฑิต จึงกล่าวคาถาความว่า

ดูก่อนมาณพทั้งหลาย สมณะผู้มีปัญญาเสมอด้วย
แผ่นดิน ได้ไปแล้วสู่ทิศใด ท่านทั้งหลายจงบอก
เนื้อความนั้นแก่เรา เราจักไปยังสำนักของท่าน ขอให้
ท่านอดโทษนั้นเสีย ไฉนหนอ เราจะพึงได้ชีวิตบุตร
คืนมา.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺตฺวาน ความว่า ไปสู่สำนักของ
ดาบสนั้น. บทว่า ตํ ปฏิกเรมุ อจฺจยํ ความว่า เราจักกระทำคืน คือ
แสดงโทษนั้น ได้แก่ ขอให้ท่านอดโทษนั้นให้. บทว่า ปุตฺตํ ลเภมุ ความว่า
ชื่อแม้ไฉน เราพึงได้ชีวิตบุตรคืนมา.

ลำดับนั้น มาณพทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่นั้น เมื่อจะบอกความนั้น
แก่นาง ได้กล่าวคาถา ความว่า
ฤาษีผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ได้ไปแล้วใน
อากาศวิถี ราวกะว่าพระจันทน์ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ
อันตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างอากาศ อนึ่ง พระฤาษีผู้มี
ปฏิญาณมั่นในสัจจะ ทรงคุณธรรมอันดีงามนั้น ได้ไป
ทางทิศบูรพา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปถทฺธุโน ความว่า ดุจพระจันทร์ใน
วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างอากาศ กล่าวคือทางสัญจรใน
อากาศ. บทว่า อปิจาปิ โส ความว่า ก็อีกประการหนึ่งแล พระฤาษีนั้น
ไปสู่ทิศบูรพา.

นางทิฏฐมังคลิกานั้น สดับคำของมาณพเหล่านั้นแล้ว จึงคิดว่า
เราจักไปค้นหาสามีของเรา จึงใช้ให้ทาสีถือเอาน้ำเต้าทองคำกับขันน้ำทองคำ
แวดล้อมด้วยหมู่ทาสี เดินไปจนถึงสถานที่ที่พระโพธิสัตว์อธิษฐานเหยียบ
รอยเท้าไว้ จึงเดินตามรอยเท้านั้นไป เมื่อพระโพธิสัตว์กำลังนั่งฉันภัตตาหาร

อยู่บนตั่งที่ศาลานั้น นางจึงเดินเข้าไปสู่ที่ใกล้พระมหาสัตว์ ทำความเคารพ
แล้วยืนอยู่. พระโพธิสัตว์เห็นนางแล้ว จึงเหลือข้าวสุกไว้ในบาตรหน่อยหนึ่ง.
นางทิฏฐมังคลิกาจึงถวายน้ำ แก่พระโพธิสัตว์ด้วยน้ำเต้าทอง. พระโพธิสัตว์

จึงล้างมือบ้วนปากลงในบาตรนั้นเอง. ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา เมื่อจะถาม
พระโพธิสัตว์ว่า ใครกระทำบุตรของตนให้ถึงอาการอันแปลกประหลาดนั้น
จึงกล่าวคาถาความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ศีรษะของลูกเราบิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขน
เหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือนคนตาย
ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.

ชื่อว่าคาถาอันเป็นคำถามและคำตอบของชนทั้งสอง ที่ยิ่งไปกว่านั้น
มีดังนี้ พระโพธิสัตว์ได้สดับแล้ว จึงตอบนางทิฏฐมังคลิกา โดยคาถาว่า
ยักษ์ทั้งหลายผู้มีอานุภาพมากมีอยู่แล ยักษ์
เหล่านั้น พากันติดตามพระฤาษี มีคุณธรรม มาแล้ว
รู้ว่าบุตรของท่าน มีจิตคิดประทุษร้าย โกรธเคือง
จึงทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้แล.
นางทิฏฐมังคลิกา กล่าวว่า

ถ้ายักษ์ทั้งหลายได้ทำบุตรของดิฉันให้เป็นอย่างนี้
ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีเท่านั้น อย่าได้โกรธบุตร
ดิฉันเลย ดิฉันขอถึงฝ่าเท้าของท่านนั่นแหละเป็นที่พึ่ง
ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ดิฉันตามมาก็เพราะความ
เศร้าโศกถึงบุตร.
พระมหาสัตว์ มาตังคบัณฑิต กล่าวตอบว่า

ในคราวที่บุตรของท่านด่าเราก็ดี และเมื่อท่าน
มาอ้อนวอนอยู่ ณ บัดนี้ ก็ดี จิตคิดประทุษร้ายแม้
หน่อยหนึ่งมิได้มีแก่เราเลย แต่บุตรของท่านเป็นคน
ประมาท เพราะความมัวเมา ว่าเรียนจบไตรเพท แม้จะ
เรียนจบไตรเพทแล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์.
นางทิฏฐมังคลิกา ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า

ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ความจำของบุรุษ ย่อม
หลงลืมได้โดยครู่เดียวเป็นแน่แท้ ท่านผู้มีปัญญาเสมอ
ด้วยแผ่นดิน ขอได้โปรดอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิต
ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นผู้มีความโกรธเป็นกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกฺขา ได้แก่ ยักษ์ทั้งหลายผู้รักษา
พระนคร. บทว่า อนฺวาคตา ความว่า ยักษ์ทั้งหลาย มาแล้วรู้อย่างนี้ว่า
พระฤาษีทั้งหลาย มีคุณธรรมดี ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ. บทว่า เต ความว่า
ยักษ์เหล่านั้น ครั้นรู้คุณความดีของพระฤาษีแล้ว ก็รู้แจ้งซึ่งบุตรของท่าน
อันเป็นผู้กำเริบจิตคิดประทุษร้าย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า ตวฺเว เม ความว่า ถ้าหากว่ายักษ์ทั้งหลายโกรธเคือง
แล้ว ได้กระทำอย่างนี้ ก็จงทำเถิด ขึ้นชื่อว่าเทวดาทั้งหลาย ใคร ๆ อาจทำ
ให้สงบระงับ (หายโกรธ) ได้ด้วยดี ด้วยวิธีสักว่าเอาน้ำจอกหนึ่งให้ดื่ม เพราะ
เหตุนั้น ดิฉันจึงไม่กลัวเทวดาเหล่านั้น ขออย่างเดียวท่านเท่านั้น ซึ่งเป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ อย่าโกรธเคืองบุตรชายของดิฉันเลย. บทว่า อนฺวาคตา
ความว่า ดิฉันเป็นผู้ติดตามมา. นางทิฏฐมังคลิกาเรียกพระมหาสัตว์ว่า ภิกษุ
วิงวอนขอร้องให้ไว้ชีวิตบุตร.

บทว่า ตเทว ความว่า ดูก่อนนางทิฏฐมังคลิกา ในกาลเมื่อบุตร
ของท่านด่าเราอยู่ในคราวนั้นก็ดี และเมื่อท่านมาอ้อนวอนขอโทษ อยู่ในคราว
นี้ก็ดี โทสจิตคิดประทุษร้ายมิได้มีแก่เราเลย. บทว่า เวทมเทน ความว่า
เพราะความเมา ว่าเราเรียนจบไตรเพทแล้ว. บทว่า อธิจฺจ ความว่า แม้จะ
เรียนจบไตรเพทแล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์
บทว่า มุหุตฺตเกน ความว่า เรียนวิชาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมหลงลืมได้
โดยครู่เดียวเท่านั้น

พระมหาสัตว์ ผู้อันนางทิฏฐมังคลิกา อ้อนวอนขอโทษบุตรชายอยู่
อย่างนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราจักให้อมฤตโอสถไปเพื่อขับไล่ยักษ์ทั้งหลาย
เหล่านั้นให้หนีไป แล้วกล่าวคาถา ความว่า

มัณฑัพยมาณพ บุตรของท่านผู้มีปัญญาน้อย
จงบริโภคก้อนข้าวที่เราฉันเหลือนี้เถิด ยักษ์ทั้งหลาย
จะไม่พึงเบียดเบียนบุตรของท่านเลย อนึ่ง บุตรของ
ท่านจะหายโรคในทันที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติฏฺ€ปิณฺฑํ ได้แก่ ก้อนข้าวที่ฉัน
เหลือ. ปาฐะเป็น อุจฺฉิฏฺ€ปิณฺฑํ ดังนี้ก็มี.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นางทิฏฐมังคลิกา ฟังถ้อยคำของมหาสัตว์แล้ว จึงน้อมขันทองเข้าไป
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นสามี ท่านได้โปรดให้อมฤตโอสถเถิด. พระมหาสัตว์
จึงเทข้าวสุกที่ฉันเหลือกับน้ำล้างมือลงในขันทองนั้น แล้วสั่งว่า ท่านจงหยอด
น้ำครึ่งหนึ่งจากส่วนนี้ ใส่ในปากบุตรของท่านก่อนทีเดียว ส่วนที่เหลือจงเอา

น้ำผสมใส่ไว้ในตุ่มให้หยอดลงในปากพราหมณ์ ที่เหลือทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมด ก็จะเป็นผู้หายโรคภัยไข้เจ็บทันที ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็เหาะลอย
กลับไปสู่หิมวันตประเทศในทันที. ฝ่ายนางทิฏฐมังคลิกา ก็เอาศีรษะทูนขันทอง
นั้น กล่าวว่า เราได้อมฤตโอสถแล้ว รีบไปยังนิเวศน์ของตน หยอดน้ำข้าว

ล้างมือใส่ในปากบุตรชายของตนก่อน. ยักษ์ผู้เป็นหัวหน้ารักษาพระนคร
ก็หนีไป มัณฑัพยมาณพ ลุกขึ้นปัดฝุ่นที่เปื้อนกายแล้วถามว่า ข้าแต่คุณแม่
นี่อะไรกัน ? นางจึงกล่าวกะบุตรชายว่า เจ้านั่นแหละจักรู้สิ่งที่ตนทำไว้ มาเถิด
พ่อคุณ เจ้าจงไปดูความวิบัติแห่งทักขิเณยยชนของเจ้าบ้าง. มัณฑัพยมาณพ
เห็นพราหมณ์เหล่านั้น เสือกสนสลบอยู่ ก็ได้เป็นผู้มีวิปฏิสาร เดือดร้อนใจ

ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา ผู้มารดาจึงกล่าวกะมัณฑัพยมาณพว่า พ่อมัณ-
ฑัพยกุมาร เจ้าเป็นคนโง่เขลา ไม่รู้จักสถานที่จะให้ทานมีผลมาก ขึ้นชื่อว่า
ทักขิเณยยบุคคลทั้งหลาย มิใช่ผู้มีสภาพเห็นปานนี้ ต้องเป็นเช่นกับมาตังค-
บัณฑิต นับแต่นี้ต่อไป เจ้าอย่าให้ทานแก่คนทุศีลจำพวกนี้เลย จงให้ทาน
แก่ผู้มีศีลทั้งหลายเถิด ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พ่อมัณฑัพยะ เจ้ายังเป็นคนโง่เขลามีปัญญาน้อย
เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในเขตบุญทั้งหลาย ได้ให้ทานใน
หมู่ชนผู้ประกอบด้วยกิเลส ดุจน้ำฝาดใหญ่ มีกรรม
เศร้าหมอง ไม่สำรวม บรรดาทักขิเณยยบุคคลของเจ้า
บางพวกเกล้าผมเป็นเซิง นุ่งห่มหนังเสือ ปากรกรุงรัง

ไปด้วยหนวดเครา ดังปากบ่อน้ำเก่ารกไปด้วยกอหญ้า
เจ้าจงดูหมู่ชนที่มีรูปร่างน่าเกลียดนี้ การเกล้าผมผูก
เป็นเซิง หาป้องกันผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่ ท่านเหล่าใด
สำรอก ราคะ โทสะ และอวิชชาแล้ว หรือเป็นพระ-
อรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ทานที่บุคคลถวายในท่าน
เหล่านั้น ย่อมมีผลมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหกฺกสาเวสุ ความว่า ในบรรดาหมู่ชน
ผู้ประกอบด้วยกิเลส ดุจน้ำฝาดใหญ่ทั้งหลายได้ให้ทาน ในบุคคลผู้ประกอบ
ไปด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด มีราคะเป็นต้นใหญ่.

บทว่า ชฏา จ เกสา ความว่า ดูก่อนพ่อมัณฑัพยะ ในทักขิเณยย-
บุคคลทั้งหลายของเจ้า บางเหล่าก็เกล้าผมผูกเป็นเซิง. บทว่า อชินา นิวตฺถา
ความว่า นุ่งผ้าหนังเสือระคายปลายขนแหลม. บทว่า ชรูทปานํ ว ความว่า

ปากรกรุงรัง เพราะมีหนวดเครายาว ราวกะปากบ่อน้ำเก่า รกรุงรังด้วยกอหญ้า.
บทว่า ปชํ อิมํ ความว่า เจ้าจงพิจารณาดูหมู่ชน ผู้มีรูปร่างหน้าเกลียด
ยินดีประดับเพศตน ด้วยเครื่องอันเศร้าหมองนี้ คือเห็นปานฉะนี้.

บทว่า ชฏาชินํ ความว่า การที่มุ่นเกล้าทำเป็นชฎาเห็นปานนี้ ไม่
อาจเป็นที่พึงต้านทานบุคคลผู้มีปัญญาน้อยได้ กุศลกรรม คือ ศีล ญาณ และ
ตบะเท่านั้น จึงจะเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์เหล่านี้ได้. บทว่า เยสํ ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อันมีความยินดียินร้าย และความหลงเป็นสภาพ
และอวิชชามีวัตถุ ๘ ประการเหล่านี้ แห่งทักขิเณยยบุคคลทั้งหลายเหล่าใดไป
ปราศแล้ว หรือทักขิเณยยบุคคลเหล่าใด ได้นามว่าเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ
เพราะกิเลสเหล่านี้ไปปราศแล้ว ทานที่บุคคลให้แล้วในทักขิเณยยบุคคล
เหล่านั้น มีผลมาก.

นางทิฏฐมังคลิกากล่าวต่อไปว่า ดูก่อนลูกรัก เพราะเหตุนั้น จำเดิม
แต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ให้ทานแก่บุคคลผู้ทุศีลเห็นปานนี้ จงให้ทานแก่สมณ-
พราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ และแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกเหล่านั้น มาเถิดลูกรัก เราจักให้พวกพราหมณ์

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้คุ้นเคยชอบพอของเจ้า ดื่มอมฤตโอสถแล้วทำให้หายโรค
เสียให้หมด ดังนี้แล้ว จึงให้เอาข้าวสุกที่เป็นเดนเทใส่ลงในตุ่มน้ำ แล้วให้
หยอดลงในปากของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งหมื่นหกพันคน. พราหมณ์แต่ละคน
ได้สติลุกขึ้นปัดฝุ่นที่กายของตน ๆ. ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าอื่น

พากันติเตียนว่า พราหมณ์เหล่านี้พากันดื่มกินน้ำเดนเหลือของคนจัณฑาล
แล้วยกโทษทำไม่ให้เป็นพราหมณ์ต่อไป. พราหมณ์เหล่านั้น มีความละอาย
จึงออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่แคว้นเมชฌรัฐ แล้วพำนักอยู่ในสำนักของ
พระเจ้าเมชฌราช. ส่วนมัณฑัพยมาณพ ยังคงอยู่ในพระนครพาราณสี
นั้นต่อไปตามเดิม.

ในครั้งนั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ชาติมันต์ บวชเป็นดาบสอยู่ที่
ริมฝั่งน้ำเวตตวตีนที อาศัยเวตตวตีนครเป็นแหล่งโคจร อาศัยชาติเป็นเหตุ
ก่อเกิดมานะยิ่งใหญ่. พระมหาสัตว์มาตังคบัณฑิต คิดว่า เราจักทำลายมานะ
ของพราหมณ์นี้ จึงไปยังสถานที่นั้น อาศัยอยู่ด้านเหนือน้ำ ใกล้สำนักของ
ชาติมันตดาบส. อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เคี้ยวไม้สีฟันแล้วอธิษฐานว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ไม้สีฟันนี้จงลอยไปติดอยู่ที่ชฎาของดาบสชาติมันต์ ดังนี้แล้วทิ้งไม้สีฟันนั้นลง
ไปในแม่น้ำ. ไม้สีฟันก็ลอยไปติดอยู่ที่ชฎาของชาติมันตดาบส ผู้กำลังอาบน้ำ
ชำระกายอยู่. ชาติมันตดาบสเห็นดังนั้นก็กล่าวบริภาษว่า คนฉิบหาย คน
วายร้าย แล้วคิดว่า ไอ้คนกาลกรรณีนี้ มันมาจากไหน เราต้องไปตรวจดู

จึงเดินไปตามฝั่งเหนือน้ำ พบพระมหาสัตว์แล้วถามว่า ท่านเป็นชาติอะไร ?
พระมหาสัตว์ตอบว่า เราเป็นชาติจัณฑาล. ชาติมันตดาบสถามว่า ท่านทิ้งไม้
สีฟันลงไปในแม่น้ำใช่ไหม ? พระมหาสัตว์ตอบว่าใช่ ข้าพเจ้าทิ้งไปเอง.
ชาติมันตดาบสจึงบริภาษว่า คนฉิบหาย คนวายร้าย คนจัณฑาล คนกาลกรรณี
เจ้าอย่าอยู่ในสถานที่นี้เลย จงไปอยู่เสียที่ฝั่งใต้น้ำทางโน้น เมื่อพระมหาสัตว์

ไปอยู่ฝั่งใต้นที ทิ้งไม้สีฟันลงไปในแม่น้ำ ไม้สีฟันนั้นกลับลอยทวนน้ำขึ้น
ไปติดอยู่ในชฎาของดาบสนั้นอีก ชาติมันตดาบสโกรธ กล่าวว่าไอ้คนฉิบหาย
ไอ้คนถ่อย ถ้าเจ้ายังอยู่ในที่นี้ ศีรษะของเจ้าจักแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง ภายใน
เจ็ดวัน. พระมหาสัตว์ดำริว่า ถ้าเราจักโกรธดาบสผู้นี้ ศีลของเราจักขาดไม่

เป็นอันรักษา เราจะทำลายมานะของดาบสด้วยอุบายวิธี ครั้นถึงวันที่ ๗ จึง
บันดาลฤทธิ์ ห้ามมิให้พระอาทิตย์ขึ้น. มนุษย์ทั้งหลายพากันวุ่นวาย เข้าไป
หาชาติมันตดาบส ถามว่า ท่านขอรับ ท่านห้ามมิให้พระอาทิตย์ขึ้นหรือ ?
ดาบสตอบว่า กรรมนั้นไม่ใช่ของเรา แต่มีดาบสจัณฑาลผู้หนึ่งอาศัยอยู่ที่


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ริมฝั่งนที ชะรอยกรรมนี้จักเป็นของดาบสจัณฑาลผู้นั้น. มนุษย์ทั้งหลายพา
กันเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ให้พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นหรือ ? พระมหาสัตว์รับว่า ใช่ เราห้ามไม่ให้ขึ้นไปเอง. พวกมนุษย์จึง
ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พระดาบสผู้คุ้นเคยใน
ตระกูลของท่านทั้งหลายได้สาปแช่งข้าพเจ้า ผู้หาความผิดมิได้ เมื่อดาบสผู้นั้น

มาหมอบลงแทบเท้าของข้าพเจ้าเพื่อขอขมาโทษ ข้าพเจ้าจึงจักปล่อยพระอาทิตย์
ให้อุทัยขึ้น. มนุษย์เหล่านั้นพากันไปฉุดลากชาติมันตดาบสนำมา บังคับให้
หมอบลงแทบเท้าของพระมหาสัตว์ให้ขอขมาโทษ แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ท่านโปรดปล่อยพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้นเถิด. พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

เรายังไม่อาจที่จะปล่อยได้ ถ้าหากว่า เราจักปล่อยพระอาทิตย์ขึ้นไซร้ ศีรษะ
ของดาบสผู้นี้จักแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายจึงถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าทั้งหลายจะทำอย่างไร ? พระมหาสัตว์
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนำเอาก้อนดินเหนียวมา ครั้นให้นำมาแล้ว สั่งว่า

จงเอาดินเหนียววางไว้บนศีรษะของดาบสนี้ แล้วบังคับให้ลงไปยืนในน้ำ
แล้วจึงปล่อยพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้น. ก็เมื่อพระอาทิตย์อุทัยขึ้นไปกระทบเข้า
เท่านั้น ก้อนดินเหนียวก็แตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง. ดาบสก็ดำลงไปในน้ำ. ครั้น


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระมหาสัตว์เจ้าทรมานดาบสนั้นแล้ว จึงใคร่ครวญว่า พราหมณ์หมื่นหกพัน
เหล่านั้นไปอยู่ ณ ที่แห่งใดหนอ ? ทราบว่า ไปอยู่ในสำนักของพระเจ้าเมชฌราช
คิดว่า เราจักไปทรมานพราหมณ์เหล่านั้น แล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ลงที่ใกล้
พระนคร ถือบาตรสัญจรไปเพื่อบิณฑบาตในเวตตวตีนคร.

พราหมณ์ทั้งหลายเห็นพระมหาสัตว์แล้ว คิดว่า แม้เมื่อพระดาบสนี้
มาอยู่ในที่นี้ เพียงวันสองวัน ก็จักทำให้เราทั้งหลายไม่มีที่พึ่ง จึงพากันไปยัง
ราชสำนักโดยเร็ว กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า มีวิชาธรนักเล่น
กล ตนหนึ่งเป็นโจร มาอาศัยอยู่ในพระนครนี้ ขอพระองค์โปรดตรัสสั่งให้จับ

มันเถิด. พระราช ก็ตรัสรับรองว่า ดีละ เราจะจัดการ. พระมหาสัตว์ได้มิสสกภัต
แล้ว จึงนำมานั่งบนตั่ง พิงฝาแห่งหนึ่งฉันอยู่. ลำดับนั้น ราชบุรุษที่พระราชา
ส่งมา ติดตามมา เอาดาบฟันคอพระมหาสัตว์ ซึ่งกำลังบริโภคอาหารอยู่ มิได้
ระมัดระวังตัว ให้ถึงชีพิตักษัย. พระมหาสัตว์นั้นทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดใน

พรหมโลก. ได้ยินว่า ในชาดกนี้พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้ทรมานโกณฑพราหมณ์
แล้ว และถึงซึ่งชีพิตักษัย เพราะเป็นผู้ขวนขวายที่จะทรมานผู้อื่นเท่านั้น
เทพยดาทั้งหลายพากันโกรธเคือง จึงบันดาลให้ฝนเถ้ารึงอันร้อนตกลงใน
เมชฌรัฐทั้งสิ้น ทำให้แว่นแคว้นพินาศไปสิ้น. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า

เมื่อพระเจ้า เมชฌราช เข้าไปทำลายชีวิต ท่าน
มาตังคบัณฑิต ผู้ยงยศ วงศ์กษัตริย์ เมชฌราช
พร้อมด้วยราชบริษัท ก็ได้ขาดสูญในกาลครั้งนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเจ้าอุเทนราช ก็ทรงเบียดเบียน
บรรพชิตเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า มัณฑัพยกุมาร ในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพระเจ้าอุเทน ส่วนมาตังคบัณฑิต ได้มาเป็นเราผู้สัมมาสัม-
พุทธเจ้า นี้แล.
จบอรรถกถามาตังคชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริก ของท่านพระมหากัสสปะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพํ นรานํ สผลํ สุจิณฺณํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้น ใช้สอยสมณบริขารร่วมกันมีความคุ้นเคย
สนิทกันอย่างยิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจาก
กันได้. ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละ
ในธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้
คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ถึง
จะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลย
เหมือนกันแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราช เสวยราชสมบัติในกรุงอุช-
เชนี แคว้นอวันตี ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาล
ตำบลหนึ่ง. พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา คัพภเสยยกสัตว์
แม้อื่น ก็มาเกิดเป็นบุตรแห่งน้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นเหมือนกัน. ในกุมาร

ทั้งสองนั้นคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตร
น้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร. กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว เรียน
ศิลปศาสตร์ ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ วันหนึ่งชักชวนกันว่า เราทั้งสอง
จักแสดงศิลปศาสตร์ ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี คนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตู


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2019, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้. ก็ในพระนครนั้น
ได้มีนางทิฏฐมังคลิกาสองคน คนหนึ่งเป็นธิดาของท่านเศรษฐี อีกคนหนึ่ง
เป็นธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์ นางทั้งสองได้ให้บริวารชน ถือเอาของขบเคี้ยว
และของบริโภคทั้งระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้นเป็นอันมากไป ด้วยคิดว่า

จักเล่นในอุทยาน คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งออกทาง
ประตูด้านทิศใต้. นางทิฏฐมังคลิกา กุมารีทั้งสองนั้น เห็นบุตรของคนจัณฑาล
สองพี่น้องแสดงศิลปะอยู่ จึงถามว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ๆ ได้ฟังว่าเป็นบุตรของ
คนจัณฑาล จึงคิดว่า เราทั้งหลายได้เห็นบุคคลที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ

แล้วเอาน้ำหอมล้างตาพากันกลับ. มหาชนที่ไปด้วยพากันโกรธ กล่าวว่า เฮ้ย
ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าทั้งสอง พวกเราจึงไม่ได้ดื่มสุราและ
กับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา แล้วพากันโบยตีพี่น้องแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้ถึงความ
บอบช้ำย่อยยับ พี่น้องทั้งสองเหล่านั้นกลับได้สติฟื้นขึ้นมา จึงลุกขึ้นเดินไปยัง
สำนักของกันแลกัน มาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่ง แล้วบอกเล่าความทุกข์

ที่เกิดขึ้นนั่นสู่กันฟัง ต่างร้องไห้คร่ำครวญ ปรึกษากันว่า เราทั้งสองจักทำ
อย่างไรกันดี แล้วพูดกันว่า เพราะอาศัยชาติกำเนิด ความทุกข์นี้จึงเกิดแก่เรา
ทั้งสอง พวกเราไม่สามารถจะกระทำงานของคนจัณฑาลได้จึงตกลงกันว่า เรา
ทั้งสองปกปิดชาติกำเนิดแล้ว ปลอมแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาณพ ไปสู่เมือง
ตักกศิลา เล่าเรียนศิลปวิทยากันเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางไปในพระนครตักกศิลา


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52, 53 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร