วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 04:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์จะอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
ก็เราทั้งหลายเห็นลูกโรหนะมาแล้ว พากันชื่นชม
ยินดี ฉันใด ขอนายพรานพร้อมด้วยลูกเมีย จงชื่นชม
ยินดี ฉันนั้นเถิด.

ฝ่ายนายพรานออกจากป่าแล้วไปสู่ราชตระกูล ถวายบังคมพระราชา
แล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาเห็นเขาแล้วตรัสพระคาถาว่า
แน่ะนายพราน เจ้าได้บอกไว้ว่า จะนำเนื้อหรือ
หนังเนื้อมามิใช่หรือ เออก็เหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นำ
เอาเนื้อหรือหนังเนื้อมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคจมฺมานิ ได้แก่ เนื้อหรือหนัง. บทว่า
อาหรึ แปลว่า จักนำมา. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อพรานผู้เจริญ
เจ้าได้กล่าวไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า เมื่อไม่สามารถจะนำเนื้อมา ก็จะนำหนังมา
หรือเมื่อไม่สามารถจะนำหนังมา ก็จักนำขนมา ด้วยเหตุไร เจ้าจึงมิได้นำเนื้อ
หรือหนังของมันมาเลย.

นายพรานได้ฟังพระดำรัสแล้วกล่าวคาถา ความว่า
เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็กถึงมือแล้ว แต่มีเนื้อ
สองตัวไม่ได้ติดบ่วง มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น ข้า-
พระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ ความอัศจรรย์ใจ
ขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้อง
ละทิ้งชีวิต ในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคมํ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็
เนื้อนั้นมาสู่เงื้อมมือ ทั้งมาสู่บ่วงที่ข้าพระพุทธเจ้าดักไว้ด้วย ได้ติดอยู่ในบ่วง
นั้น. บทว่า ตฺจ มุตฺตา อุปาสเร ความว่า แต่ว่าเนื้อสองตัวพ้นบ่วง
ไปแล้ว คือไม่ได้เข้ามาติดบ่วงเลย ได้เข้ามายืนพิงเนื้อนั้นปลอบใจอยู่. บทว่า

อพฺภูโต แปลว่า ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย. บทว่า อิมฺจาหํ ตัดบทเป็น
อิมํ อหํ แปลว่า ก็ข้าพระองค์นั้น. อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์
ผู้มีความสังเวชสลดใจ ได้มีความปริวิตกนี้ว่า ถ้าเราจักฆ่าเนื้อนี้เสีย เราจัก
ต้องละทิ้งชีวิตในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว.
พระราชาสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนนายพราน เนื้อนั้นเป็นเช่นไร เป็นเนื้อ
มีธรรมอย่างไร มีสีสรรอย่างไร มีศีลอย่างไร ท่าน
จึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก.
พระราชาตรัสถามเช่นนี้บ่อย ๆ ด้วยสามารถทรงพิศวงพระทัย.
นายพรานได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว กล่าวคาถาความว่า

เนื้อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนังเปรียบ
ด้วยทองคำ เท้าแดง ตาสุกสะกาว เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทาตสิงฺคา ความว่า เนื้อเหล่านั้น
มีเขาเช่นเดียวกับพวงเงิน. บทว่า สุจิพาลา ความว่า ประกอบด้วยขนอ่อน
สะอาดเช่นกับขนจามรี. บทว่า โลหิตกา ความว่า เช่นเดียวกับปลาโลมา
และปลาวาฬแดง. บทว่า ปาทา ได้แก่ ปลายกีบเท้า. บทว่า อฺชิตกฺขา
ความว่า ประกอบด้วยนัยน์ตามีประสาททั้ง ๕ หมดจด เหมือนไล้ทาไว้.

เมื่อนายพรานกราบทูลอยู่อย่างนี้แล ได้วางโลมชาติทั้งหลายมีสี
เหมือนทองของพระโพธิสัตว์ ไว้ในพระหัตถ์ของพระราชา เมื่อจะประกาศสีกาย
แห่งเนื้อเหล่านั้น จึงกล่าวคาถา ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็น
เช่นนี้ เป็นเนื้อมีธรรมเช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยงมารดาบิดา
ข้าพระพุทธเจ้า จึงมิได้นำเนื้อเหล่านั้นมาถวาย
พระองค์ พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตาเปติภรา ความว่า เนื้อเหล่านั้น
ช่วยกันเลี้ยงมารดาบิดาแก่ชราตาบอด จึงชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้. บทว่า
น เต โส อภิหารยุํ ความว่า พญาเนื้อนั้น ใคร ๆ ไม่อาจจะนำมาเพื่อ
เป็นเครื่องบรรณาการแก่พระองค์ได้. ปาฐะว่า อภิหารยึ ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า
ข้าพระพุทธเจ้าหาได้นำพญาเนื้อนั้นมาถวาย เพื่อเป็นบรรณาการแก่พระองค์
ไม่ คือมิได้นำมาเลย.

นายพรานกล่าวพรรณนาคุณความดี ของพระโพธิสัตว์จิตตมฤค
และนางมฤคีโปติกาชื่อสุตตนา ด้วยประการฉะนี้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าอันพญาเนื้อนั้นให้ขนของตนมาแล้ว ให้ศึกษา
บทธรรมสั่งบังคับว่า ท่านพึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเรา แสดงธรรม
ถวายพระราชเทวี ด้วยคาถาราชธรรมจรรยา ๑๐ ประการเถิด.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้นายพรานนั่งเหนือราชบัลลังก์
อันขจิตด้วยรัตนะ ๗ ประการ พระองค์เองกับพระบรมราชเทวี ประทับนั่ง
บนพระราชอาสน์ที่ต่ำ ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงประคองอัญชลี เชื้อ
เชิญนายพราน.

เมื่อนายพรานนั้นจะแสดงธรรมถวาย จึงทูลว่า
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชมารดาบิดา ข้าแต่
องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชบุตร และพระราช
ชายาทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในมิตรและอำมาตย์ทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้
แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.

ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรมในพาหนะ และพลทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้
แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง ประพฤติ
ให้เป็นธรรมในบ้านและนิคมทั้งหลาย ข้าแต่องค์
ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประ-
พฤติธรรม ในแว่นแคว้นและชนบททั้งหลาย ข้าแต่
องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลก
นี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง ประพฤติ
ให้เป็นธรรม ในหมู่มฤคและปักษีทั้งหลาย ข้าแต่องค์
ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จัก
ได้ไปสู่สวรรค์.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง ประพฤติ
ธรรม เพราะธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำ
สุขมาให้ ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม พระอินทร์ เทพยเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระ-
พรหม ได้เสวยทิพยสมบัติ เพราะธรรมอันประพฤติ
ดีแล้ว ข้าแต่องค์ราชันย์ ขอพระองค์อย่าได้ทรง

ประมาทธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นวัตตบทในทศราช
ธรรมนั่นเอง ข้อนี้แล เป็นอนุสาสนีที่พร่ำสอนกันมา
กัลยาณชนมาซ่องเสพผู้มีปัญญา พระองค์ทรงประพฤติ
อย่างนี้แล้ว จะได้ไปสู่ไตรทิพยสถาน ด้วยประการ
ฉะนี้.

บุตรนายพรานแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา โดยนิยามอันพระมหาสัตว์
ทรงแสดงแล้วนั่นเอง เหมือนเทวดาผู้วิเศษยังแม่น้ำในอากาศ ให้ตกลงมา
ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปนับเป็นพัน ความแพ้
พระครรภ์ของพระบรมราชเทวีก็ระงับไป เพราะทรงสดับธรรมกถานั่นเอง.
พระราชาทรงดีพระทัย เมื่อจะทรงปูนบำเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพราน ด้วย
ยศใหญ่ ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาความว่า

ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคำ ๑๐๐ แท่ง
กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียงสี่เหลี่ยมมีสีคล้าย
ดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน กับ
โค ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดยธรรม

ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ดูก่อนนายพราน ท่าน
จงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม
การให้กู้หนี้ และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพโดยสัมมา
อาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถูลํ ความว่า เราจักให้เครื่องประดับ
คือมณีและแก้วกุณฑลมีค่ามาก แก่ท่าน. บทว่า จตุรสฺสํ ได้แก่ บัลลังก์สูง
สี่เหลี่ยม อธิบายว่า มีด้านศีรษะสูงสี่เหลี่ยม. บทว่า อุมฺมารปุปฺผ สิรินฺนิภํ
ได้แก่ บัลลังก์ที่สำเร็จด้วยไม้แก่นสีดำ ประกอบด้วยโอภาส มีรัศมีเช่นเดียว

กับดอกสามหาว เพราะลาดด้วยเครื่องลาดสีเขียว. บทว่า สาทิสิโย ความว่า
ทัดเทียมกันด้วยรูปสมบัติ และโภคสมบัติ. บทว่า อุสภฺจ ควํ สตํ ความว่า
และเราจะให้โคฝูงร้อยตัว มีโคผู้เป็นหัวหน้าแก่ท่าน.

บทว่า กาเรสฺสํ ความว่า เราจะไม่ยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ
จักเสวยราชสมบัติโดยธรรมเท่านั้น. บทว่า พหุกาโร เมสิ ความว่า
แม้ท่านก็ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทน
แห่งพญาเนื้อตัวมีสีเหมือนทอง แล้วแสดงธรรมแก่เรา เราเป็นผู้อันท่านให้
ประดิษฐานอยู่ในเบญจศีล โดยนิยามดังพญาเนื้อกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า กสิวณิชฺชา ความว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหาย เรามิได้เห็น
พญาเนื้อ ฟังแต่ถ้อยคำของพญาเนื้อเท่านั้น ยังตั้งอยู่ในเบญจศีลได้ แม้ท่าน
ก็จงเป็นคนมีศีลตั้งแต่บัดนี้ไป จงกระทำกสิกรรม และพาณิชยกรรม และ
อิณทานกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อุฺฉาจริยา ความว่า อันเป็นหลัก
ของการครองชีพ อธิบายว่า ท่านจงเลี้ยงดูบุตรภรรยาของท่าน ด้วยกสิกรรม
และพาณิชยกรรมเป็นต้นนี้ อันเป็นสัมมาอาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นายพรานฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว กราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะอยู่ครอบครองเรือน ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตการ
บรรพชา แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว ก็มอบ
ทรัพย์สมบัติที่พระราชาทรงพระราชทานแก่ตน แก่บุตรภรรยา แล้วเข้าไปสู่

หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายพระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์เจ้า
แล้วทรงบำเพ็ญทางแห่งสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์ โอวาทของพระมหาสัตว์นั้น
ก็ดำเนินติดต่อมาเป็นเวลาพันปี.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน พระอานนท์ก็ได้สละชีวิต เพื่อประโยชน์
แก่เรา ด้วยประการอย่างนี้เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า นายพราน
ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระฉันนะในบัดนี้ พระราชาได้มาเป็นพระสารีบุตร

พระเทวี ได้มาเป็นเขมาภิกษุณี มารดาบิดาได้มาเป็นตระกูลมหาราช
สุตตนามฤคีได้มาเป็นอุบลวรรณาเถรี จิตตมฤคได้มาเป็นพระอานนท์
เนื้อแปดหมื่นได้มาเป็นหมู่สากิยราช ส่วนพญาเนื้อได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาโรหนมิคชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การสละชีวิตของพระอานนทเถระนั่นแล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า เอเต หํสา ปกฺกมนฺติ ดังนี้.

ความพิสดารว่า แม้ในครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระอานนทเถระอยู่ ณ โรงธรรมสภา พระบรมศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในชาติปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา
เหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า พหุปุตตกะ เสวยราชสมบัติ
อยู่ในพระนครพาราณสี. พระนางเทวีทรงพระนามว่า เขมา ได้เป็นพระ-
อัครมเหสีของพระองค์. กาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าบังเกิดในกำเนิดพญา
หงส์ทอง มีหงส์เก้าหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ จิตตกูฏบรรพต. แม้ใน

คราวนั้น พระบรมราชเทวีก็ทรงพระสุบินนิมิต โดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
จึงกราบทูลการที่จะทรงสดับธรรมเทศนาของพญาหงส์ทอง และความแพ้
พระครรภ์แก่พระราชา. แม้พระราชาก็ตรัสถามเสวกามาตย์ว่า ชื่อว่าหงส์ทองมี
อยู่ที่ไหน ก็แลครั้นทรงสดับว่า อยู่ที่จิตตกูฏบรรพต จึงมีพระบรมราชโองการ

ให้ขุดสระขึ้น ขนานนามว่า เขมาโบกขรณี แล้ว เพาะพันธุ์ธัญชาติ สำหรับ
เป็นอาหารแห่งสุวรรณหงส์มีประการต่าง ๆ ให้ประกาศโฆษณาพระราชทานอภัย
แก่ฝูงหงส์ทั้งหลาย ในมุมสระทั้ง ๔ แล้ว แต่งบุตรนายพรานคนหนึ่งไว้ให้คอย
จับหงส์ทั้งหลาย. ก็แลอาการที่พระเจ้าพหุปุตตกะทรงแต่งตั้งนายพรานไว้ดัก

หงส์ก็ดี สภาวะที่นายพรานคอยต้อนหงส์ให้ลงสระนั้นก็ดี อาการที่กำหนดดัก
บ่วงไว้ในเวลาที่พญาหงส์ทองมา แล้วกราบทูลให้พระราชาทรงทราบก็ดี อาการ
ที่กำหนดพระมหาสัตว์ติดบ่วงก็ดี กิริยาที่สุมุขหงส์เสนาบดี ไม่เห็นมหาสัตว์มา


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในฝูงหงส์ทั้ง ๓ เหล่านั้นแล้วย้อนกลับไปดูก็ดี ข้อความทั้งปวงนี้ จักมีแจ้ง
ในมหาหังสชาดก แม้ในชาดกนี้ พระมหาสัตว์เจ้าครั้นติดบ่วงคันแร้ว จึงทอด
ตัวลงกับหลักบ่วงนั่นเอง ชูคอแลดูทางที่หมู่หงส์บินไป ได้เห็นสุมุขหงส์เสนาบดี
บินกลับมา จึงดำริว่า ในเวลาที่สุมุขหงส์มาถึงแล้ว เราจักลองใจดู เมื่อ
สุมุขหงส์เสนาบดีมาถึงแล้วจึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

ฝูงหงส์เหล่านั้น มีผิวกายอร่ามงามเรืองรอง
ดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอบินหนีไป ดูก่อน
สุมุขะ ท่านจงหลบหลีกไปตามใจปรารถนาเถิด.
หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเราผู้ติดบ่วงไว้ผู้เดียว ไม่
ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียว จะมัวห่วงอยู่
ทำไม.

ดูก่อนสุมุขะ ผู้ประเสริฐ จะมัวพะวงอยู่ทำไม
ท่านควรบินหนีเอาตัวรอด เพราะความเป็นสหายใน
เราผู้ติดบ่วงไม่มี ท่านหลบหลีกไปเสียเถิด อย่ายัง
ความเพียรให้เสื่อมเสีย เพราะความไม่มีทุกข์เลย จง
รีบบินหนีไปตามใจปรารถนาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยเมริตา ความว่า อันภัยเผชิญหน้า
คือถูกภัยคุกคาม และหวั่นไหวเพราะภัย.

พระมหาสัตว์เรียกฝูงหงส์นั้นแหละ แม้ด้วยคำทั้งสองว่า หริตฺตจ
เหมวณฺณ. ด้วยบทว่า กามํ นี้ พระมหาสัตว์กล่าวหมายความว่า ดูก่อน
สุนทรมุขเสนาบดี ผู้มีผิวงามดังทองคำ ท่านจงหลบหลีกเอาตัวรอดไปเถิด
ประโยชน์อะไรด้วยการหวนย้อนกลับมาในที่นี้. บทว่า โอหาย ความว่า
ละทิ้งเราไว้ผู้เดียวไม่เหลียวแล บินหนีไป. บทว่า อนเปกฺขมานา ความว่า

หมู่ญาติของเราแม้เหล่านั้น ไม่สนใจเหลียวแลดูเราเลย บินหนีไป บทว่า
ปเตว แปลว่า โดดหนีไปทีเดียว. บทว่า มา อนีฆาย ความว่า ท่าน
ไปจากที่นี่แล้ว อย่าละเลยความเพียรเสีย เพราะเหตุที่ท่านได้เป็นผู้นิราศ
ปราศจากทุกข์ อันจะพึงถึงนี้เลย.
ลำดับนั้น หงส์สุมุขเสนาบดี จับอยู่ที่หลังเปลือกตม กล่าวคาถา
ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์จะถูก
ทุกข์ภัยครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ละทิ้งพระองค์
ไป จักเป็นหรือตาย ข้าพระพุทธเจ้า ก็จักอยู่ร่วมกับ
พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขปเรโต ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ถึงแม้พระองค์จะมีมรณทุกข์คุกคามอยู่เฉพาะหน้า ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ละทิ้ง
พระองค์ไปเสียแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เท่านั้น. เมื่อหงส์สุขุมเสนาบดี เปล่ง
สีหนาทอย่างนี้แล้ว ท้าวธตรฐมหาราช กล่าวคาถาความว่า

ดูก่อนสุมุขเสนาบดี ท่านกล่าวคำใด คำนั้น
เป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่ง เราเมื่อจะทดลอง
ท่านดู จึงพูดว่า จงหลบไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทริยสฺส ความว่า ท่านกล่าวคำใดว่า
จะไม่ทิ้งเราไป คำนั้นเป็นคำดี อุดมสมเป็นคำของพระอริยเจ้า ผู้ถึงพร้อม
ด้วยอาจาระ. บทว่า ปตฺเต ตํ ความว่า อนึ่ง เราได้กล่าวอย่างนี้ ใช่ว่ามีความ
ประสงค์จะละทิ้งท่านก็หามิได้ ที่แท้ต้องการจะทดลองใจท่าน จึงได้แกล้งพูด
คำว่า ไปเสียเถิด อธิบายว่า ได้กล่าวคำว่า ท่านจงบินไปเสีย.

เมื่อหงส์ทั้งสองเหล่านั้น กำลังสนทนากันอยู่นั่นเอง บุตรของนาย
พรานถือไม้วิ่งมาโดยเร็ว. สุมุขเสนาบดี จึงพูดปลอบใจท้าวธตรฐมหาราช
พลางผินหน้าไปหานายพราน บินไปทำความเคารพ แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ
ของพญาหงส์. ทันใดนั้นเอง บุตรนายพรานได้มีจิตอ่อนลง หงส์สุมุขเสนาบดี
รู้ว่า บุตรนายพรานมีจิตอ่อนลงแล้ว จึงบินกลับไปยืนปลอบใจพญาหงส์อยู่.
ฝ่ายบุตรนายพราน เข้าไปหาพญาหงส์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย
วิสัยปักษีทิชากร สัญจรไปในอากาศ ย่อมบินไปสู่ทาง
โดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรงทราบบ่วงแต่ที่ไกล
ดอกหรือ.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปเทน ปทํ ความว่า ดูก่อนมหาราช
ทิชาชาติ สัญจรไปในอากาศเช่นท่าน ย่อมนำทางในอากาศ อันมิใช่ทาง
บินไปได้. บทว่า น พุชฺฌิ ความว่า บุตรนายพรานถามว่า ท่านมีสภาพ
เห็นปานนี้ ไยจึงไม่เฉลียวใจ คือไม่รู้ว่ามีบ่วงนี้แต่ที่ไกลเล่า.
พระมหาสัตว์ตอบว่า

คราวใดจะมีความเสื่อม คราวนั้นเมื่อถึงคราวจะ
สิ้นชีพ สัตว์แม้จะติดบ่วงติดข่าย ก็ย่อมไม่รู้สึก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปราภโว ความว่า ดูก่อนนายพราน
ผู้สหาย ความเสื่อมคือความไม่เจริญ ได้แก่ความพินาศ จะมีในกาลใด กาลนั้น
เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิต แม้สัตว์จะติดข่าย ติดบ่วง ก็ย่อมจะรู้ไม่ได้.

นายพรานชื่นชมยินดีถ้อยคำของพญาหงส์ เมื่อจะสนทนากับหงส์
สุมุขเสนาบดี จึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ฝูงหงส์เหล่านั้น มีกายอร่ามงามเรืองรองดัง
ทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอพากันบินหนีไป
ท่านเท่านั้นมัวพะวงอยู่.

หงส์เหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ก็พากันบินหนีไป
มิได้มีความห่วงใยบินไปสิ้น ก็ตัวท่านผู้เดียวเท่านั้น
เฝ้าพะวักพะวน.
หงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้ว
จากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์
ทั้งหลายต่างพากันทอดทิ้งไป ไยเล่าท่านผู้เดียว จึง
มัวพะวงอยู่.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวฺเจนํ ความว่า นายพรานถามว่า
ไยท่านจึงมัวพะวงอยู่กับพญาหงส์. บทว่า อุปาสสิ แปลว่า ยังจะเข้าไปใกล้.
หงส์สุมุขเสนาบดีกล่าวว่า

หงส์ตัวนั้นเป็นราชาของเรา เป็นมิตรสหาย
เสมอด้วยชีวิตของเรา เราจักไม่ทอดทิ้งท่านไป จน
ตราบเท่าวันตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว กาลสฺส ปริยายํ ความว่า
ดูก่อนบุตรนายพราน เราจักไม่ทอดทิ้งพญาหงส์นั้นเลย จนกว่าจะถึงที่สุด
กาลสิ้นชีวิต.
นายพรานได้ฟังดังนั้น มีจิตเลื่อมใส คิดว่า ถ้าเราจักประพฤติผิดใน
หงส์ทองผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเหล่านี้อย่างนี้ แม้แผ่นดินก็จะพึงให้ช่องแก่เรา
ประโยชน์อะไรด้วยยศศักดิ์ ทรัพย์สมบัติที่เราจักได้จากสำนักพระราชา เรา
จักปล่อยพญาหงส์นั้นไป ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาความว่า

ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุแห่งสหาย
เราก็จักปล่อยสหายของท่านไป ขอพญาหงส์จงไปตาม
ความประสงค์ของท่านเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย จ ตฺวํ เท่ากับ โย นาม ตฺวํ
แปลว่า ขึ้นชื่อว่า ท่านผู้ใด. บทว่า โส โยค อหํ แปลว่า เรานั้น. อธิบาย
ว่า พญาหงส์นี้ จะเป็นไปตามอำนาจความประสงค์ของท่าน คือจงอยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกับท่านเถิด.

ก็แล นายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ปลดท้าวธตรฐออกจาก
หลักบ่วง นำไปยังขอบสระ แก้บ่วงออกแล้วชำระล้างโลหิต ด้วยจิตอ่อนโยน
ไปด้วยกรุณา แล้วจัดแจงตบแต่งเส้นเอ็นเป็นต้น ให้เรียบร้อยเป็นอันดี


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ด้วยอำนาจมุทุจิตของนายพราน และด้วยอานุภาพแห่งบารมี ที่พระมหาสัตว์
บำเพ็ญมา เท้าที่มีบาดแผล ก็มีหนังและขนงอกขึ้นในขณะนั้น. แม้ริ้วรอย
ที่บ่วงผูกพัน ก็ไม่ปรากฏ. หงส์สุมุขเสนาบดีแลดูพระโพธิสัตว์แล้วมีจิตยินดี
เมื่อจะกระทำอนุโมทนา จึงกล่าวคาถาความว่า

ดูก่อนนายพราน วันนี้ข้าพเจ้าได้เห็นพญาหงส์
ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ทิชาชาติ พ้นจากบ่วงแล้ว ย่อมชื่นชม
ยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวง จงชื่น
ชม ยินดี ฉันนั้นเถิด.

นายพรานได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เชิญท่านทั้งสองไปเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงถามนายพรานนั้นว่า ดูก่อนสหาย ท่านมาดักเรา
เพื่อประโยชน์ของตัว หรือมาดักโดยอาณัติของผู้อื่น เมื่อนายพรานบอกเหตุ
นั้นแล้ว จึงไตร่ตรองทบทวนดูว่า เราจากที่นี้ไปยังจิตตกูฏบรรพตทีเดียวดี
หรือว่าไปสู่พระนครดี ดังนี้แล้ว ตกลงใจว่า เมื่อเราไปพระนคร แม้บุตร

นายพรานก็จะได้ทรัพย์สมบัติ แม้ความแพ้พระครรภ์ของพระเทวีก็จะระงับ
มิตรธรรมของสุมุขเสนาบดีก็จักปรากฏ กำลังแห่งญาณของเราก็จักปรากฏ
เหมือนกัน ทั้งเราจักได้สระเขมาโบกขรณี เป็นที่ให้อภัยแก่ปักษีทั้งหลาย
การที่เราไปสู่พระนครของพระเจ้าพาราณสีนั้นดีแน่ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกะ

นายพรานว่า ดูก่อนนายพราน ท่านจงเอาเราทั้งสองใส่หาบ นำไปเฝ้ายัง
สำนักของพระราชาเถิด ถ้าหากว่าพระราชาจะทรงพระเมตตาโปรดปล่อยพวกเรา
ไซร้ พระองค์ก็จักโปรดปล่อยพวกเราไปเอง. นายพรานกล่าวชี้แจงว่า ข้าแต่
ท่านผู้เป็นเจ้า ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายร้ายกาจนัก ท่านทั้งสองจงไปเสียเถิด
พญาหงส์กล่าวว่า แม้นายพรานเช่นท่าน พวกเรายังทำให้ใจอ่อนลงได้ อัน


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
การที่จะให้พระราชาทรงโปรดปราน เป็นภารธุระของข้าพเจ้า สหาย จงนำ
พวกเราไปเฝ้าเถิด. นายพรานก็ได้ทำตามนั้นทุกประการ. พระราชาทอดพระ-
เนตรเห็นหงส์ทั้งสองเท่านั้น ก็เกิดความชื่นชมโสมนัส โปรดให้หงส์ทั้งสอง
พักจับอยู่ที่ตั่งทอง พระราชทานข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำผึ้งแล้ว
ทรงประคองอัญชลีตรัสวิงวอนขอให้แสดงธรรมกถา พญาหงส์รู้ชัดว่า พระเจ้า
พาราณสีทรงยินดีใคร่จะทรงธรรม จึงมีความยินดีได้ทำปฏิสันถารขึ้นก่อน.

คาถาสนทนาโต้ตอบระหว่างพญาหงส์กับพระราชา มีลำดับดังต่อไปนี้
(พญาหงส์ทูลว่า) พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ
ทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคาพยาธิมิได้เบียดเบียน
พระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้ สมบูรณ์
ดีหรือ พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์โดยธรรม
หรือ.

(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญาหงส์ เรา
เกษมสำราญดี ทั้งโรคาพยาธิก็มิได้เบียดเบียน รัฐสีมา
อาณาจักรของเรานี้ ก็สมบูรณ์ดี เราปกครองราษฏร
โดยธรรม.
(พญาหงส์ทูลว่า) โทษผิดบางประการในหมู่อำ-
มาตย์ราชเสวกทั้งหลายของพระองค์ ไม่มีอยู่หรือ หมู่
ศัตรูห่างไกลจากพระองค์ เหมือนเงาที่ไม่เจริญด้าน
ทิศทักษิณอยู่แลหรือ.

(พระราชาตรัสตอบว่า) โทษผิดบางประการใน
หมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของเราแม้น้อยหนึ่งไม่มี
เลย อนึ่ง หมู่ศัตรูก็ห่างไกลจากเรา เหมือนเงาย่อม
ไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณฉะนั้น.
(พญาหงส์ทูลว่า) พระมเหสีของพระองค์ มิได้
ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง ทรง
ปราศรัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ
และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อยู่
หรือประการใด.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2019, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
(พระราชาตรัสตอบว่า) พระมเหสีของเราเป็น
เช่นนั้น ทรงเชื่อฟังมิได้คิดนอกใจ ทรงปราศรัยน่ารัก
พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ
เป็นที่โปรดปรานของเราอยู่.
(พญาหงส์ทูลว่า) พระราชโอรสของพระองค์
มีจำนวนมาก ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดิ์ในรัฐสีมาอัน
เจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยปรีชาเฉลียวฉลาด ต่างพากัน
บันเทิง รื่นเริงพระทัย แต่ที่นั้น ๆ อยู่แลหรือ.

(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญาหงส์ธตรฐ
เราชื่อว่า มีบุตรมากถึง ๑๐๑ องค์ ขอท่านได้โปรด
ชี้แจงกิจที่ควรแก่บุตรเหล่านั้นด้วยเถิด เธอเหล่านั้น
จะไม่ดูหมิ่นโอวาทคำสั่งสอนของท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลํ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีโรค.
บทว่า อนามยํ นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า กุสลํ นั่นแหละ. บทว่า ผีตํ
ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า (พระโรคมิได้เบียดเบียนหรือ) แว่นแคว้น
นี้ของพระองค์กว้างขวาง มีภิกษาหาได้ง่าย ทั้งพระองค์ทรงอนุศาสน์พร่ำสอน
ชาวแว่นแคว้นโดยธรรมบ้างหรือ ? บทว่า โทโส แปลว่า ความผิด.

บทว่า ฉายา ทกฺขิณโตริว ความว่า เงามีหน้าตรงต่อทิศทักษิณ
ย่อมไม่เจริญฉันใด พวกอมิตรไพรีของพระองค์ย่อมไม่เจริญฉันนั้น หรือ
ประการใด ? บทว่า สาทิสี ความว่า ก็พระมเหสีของพระองค์ผู้ทัดเทียมกัน
ด้วยชาติสมบัติ โภคสมบัติ และโคตรตระกูล ประเทศเห็นปานนี้ มิได้ทรง
ประพฤตินอกพระทัย. บทว่า อสฺสวา แปลว่า เชื่อถ้อยฟังคำ. บทว่า
ปุตฺตรูปยสูเปตา ความว่า พรักพร้อมด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ และยศ-
สมบัติ.

บทว่า ปฺาชเวน ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า พระราชโอรส
ทรงยังปัญญา ให้แล่นไป ด้วยกำลังปัญญาแล้วสามารถเพื่อจะวินิจฉัยกิจการ
นั้น ๆ ได้. บทว่า สมฺโมทนฺติ ตโต ตโต ความว่า พระราชโอรสเหล่านั้น
ยังพากันทรงบันเทิงอยู่ในที่ประกอบกิจการนั้น ๆ หรือประการใด.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร