วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 14:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเตปุรํ ได้แก่ พระราชฐานอันเป็น
ที่อยู่ของพระกุมาร. บทว่า พหุํ ความว่า ให้แปลก ๆ ไปมากอย่าง. บทว่า
กามูปสฺหิตํ ความว่า ผลัดเปลี่ยนขับลำนำ อันมีใจความกระตุ้นกามารมณ์.
บทว่า กามจฺฉนฺทสฺส ความว่า กามฉันท์บังเกิดขึ้นแก่พระอนิตถิคันธกุมาร

นั้น. บทว่า ชนํ ได้แก่ ปริจาริกชนผู้อยู่ใกล้พระองค์. บทว่า อุจฺจาวจํ
ได้แก่ เพลงที่มีเสียงสูงและต่ำ. บทว่า ภุฺเชยฺย ความว่า ถ้าหากพระองค์
พึงบริโภค (กามคุณ) ไซร้. บทว่า ฉินฺเทยฺยุ ตํ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาม
ทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงเป็นที่โปรดปรานพอพระทัย ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง.

พระราชกุมารทรงสดับว่า สมุทฺทา (คลื่นสมุทร) ดังนี้แล้วทรง
นิ่งเฉยเสีย. แม้ในวันรุ่งขึ้น นางกุมาริกาก็ขับร้องอยู่อย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่นนี้
พระกุมารก็เกิดมีจิตรักใคร่ เมื่อจะโปรดให้นางกุมาริกานั้นมาเฝ้า จึงตรัสเรียก
ข้าราชบริพารทั้งหลายมาแล้วตรัสพระคาถามีคำว่า อิงฺฆ (นี่แน่ะเราจะบอกให้)
ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ติโรกุฑฺฑมฺหิ ความว่า ภายนอกฝาห้องบรรทม. บทว่า

มา อฺโ ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้บริโภคกามคนอื่น ไม่ควรมีเลย. บทว่า
หนฺตุํ อุปกฺกมิ ความว่า พระกุมารเสด็จลงไปยืนขวางกลางถนน แล้ว
ปรารภจะฆ่าพวกบุรุษเสีย. บทว่า วิกฺกนฺทึสุ ความว่า เมื่อบุรุษสอง - สามคน
ถูกพระราชกุมารประหารไปแล้ว ผู้คนทั้งหลายต่างพากันวิ่งหนี หลบเข้าไป
สู่เรือน. พระราชกุมารนั้นไม่พบปะพวกบุรุษทั้งหลาย ก็สงบไปพักหนึ่ง.

ขณะนั้น ชาวพระนครก็พากันมาประชุมที่พระลานหลวง กราบทูลเรื่องราว
แด่พระราชา. บทว่า ชนํ เหเ€ตฺยทูสกํ ความว่า ชาวเมืองกราบทูลกล่าว
โทษว่า พระโอรสของพระองค์ทรงประหารคนผู้ไร้ความผิด ขอได้โปรดให้
ทรงจับพระราชโอรสนั้น. พระราชาตรัสสั่งให้จับพระกุมารไว้ด้วยอุบาย แล้ว
ตรัสถามทวยนาครว่า ควรลงโทษกุมารนี้อย่างไร? เมื่อทวยนาครกราบทูล


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ว่า ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ไม่มีทางอื่น แต่ควรที่พระองค์
จะทรงเนรเทศพระกุมารนี้ พร้อมด้วยนางกุมาริกานั้น ไปเสียจากแว่นแคว้น
พระเจ้าข้า จึงได้ทรงทำตามนั้น.

เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
มีอาทิว่า ตฺจ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปาเหสิ แปลว่า ทรง
เนรเทศแล้ว. บทว่า น เต วตฺถพฺพ ตาวเท ความว่า พระราชอาณาเขต
ของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด. บทว่า
อุฺฉาย ความว่า เพื่อแสวงหาผลาผล ก็เมื่อพระราชกุมารนั้นเสด็จไปป่า
นางกุมาริกาผู้ชายาเฝ้าอาศรมจัดแจงของควรเผาและต้ม ซึ่งมีอยู่ในอาศรมนั้น

นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา คอยดูทางที่ภัสดาจะกลับมา. เมื่อกาลเวลาล่วงไป
อย่างนี้ วันหนึ่ง อิทธิมันตดาบสองค์หนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะกลางสมุทร
ออกจากอาศรมสถาน เดินบนน้ำได้เหมือนเดินบนแผ่นแก้วมณี แล้วเหาะขึ้นไป
บนอากาศ เที่ยวไปภิกษาจารจนบรรลุถึงเบื้องบนบรรณศาลานั้น แลเห็น
ควันไฟจึงคิดว่า ชะรอยในที่นี้จะมีมนุษย์อยู่อาศัย แล้วเลื่อนลอยลงมาที่ประตู

บรรณศาลา. ฝ่ายนางกุมาริกาผู้ชายาของพระกุมาร ครั้นเห็นพระดาบสแล้ว
จึงนิมนต์ให้นั่ง เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ ได้แสดงมายาแห่งสตรีให้เห็น จนได้ประพฤติ
อนาจารร่วมกับพระดาบสนั้น. เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น
จึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อเถตฺถ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสิ มาคฺฉิ ความว่า พระฤาษีได้
เหาะมาแล้ว. บทว่า สมุทฺทมุปรูปริ ความว่า โดยทางเบื้องบนสมุทร.
บทว่า ปสฺส ยาว สุทารุณํ ความว่า ดูเถิดภิกษุทั้งหลาย กรรมอันทารุณ
หยาบช้าเพียงไร ที่นางกุมาริกานั้นกระทำแล้ว. บทว่า สายํ ได้แก่ ใน
สายัณหสมัย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า ทิสฺวา ความว่า อิทธิมันตดาบสนั้น เมื่อไม่อาจจะละนาง
กุมาริกานั้นไปได้ ก็อยู่ที่บรรณศาลานั้นจนตลอดวัน เห็นพระราชกุมารเสด็จ
มาในเวลาเย็น คิดว่า เราจักหนีไปทางอากาศ จึงกระทำอาการโลดลอยขึ้นไป
ตกจมลงในมหรรณพ. บทว่า อิสึ ทิสฺวา ความว่า พระราชกุมารนั้น
ติดตามไป จึงเห็น (พระฤาษี). บทว่า อนุกมฺปาย ความว่า พระกุมาร

เกิดความเอ็นดูว่า ถ้าพระดาบสนี้จักมาทางพื้นดิน ก็ควรจะหนีเข้าป่าไป
ชะรอยจักมาทางอากาศ เพราะเหตุนั้น แม้จะตกไปในสมุทร ท่านก็ยังทำอาการ
เหมือนกับจะเหาะไป แล้วได้ตรัสพระคาถาด้วยความเอ็นดู ต่อพระดาบสนั้น
นั่นเอง. ก็เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในติกนิบาตแล้ว

ทั้งนั้น. บทว่า นิพฺพิโท อหุ ความว่า ความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย
เกิดแล้ว. บทว่า โปราณกํ มคฺคํ ได้แก่ ฌานวิเศษอันตนบรรลุแล้วใน
กาลก่อน. บทว่า ปพฺพชิตฺวาน ความว่า พระราชกุมารทรงพานางกุมารี

ไปส่งยังที่อยู่ของมนุษย์ แล้วเสด็จกลับมาบรรพชาเพศเป็นฤาษี อยู่ในราวป่า
ทรงสำรอกกามราคะเสียได้ ครั้นสำรอกกามราคะได้แล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์ดีแล้วทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะ
อาศัยมาตุคามเป็นเหตุอย่างนี้ แล้วทรงประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุม
ชาดก. ในเวลาจบอริยสัจจเทศนา ภิกษุผู้กระสันได้บรรลุพระอรหัตผล. ก็
อนิตถิกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาปโลภนชาดก
อรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดก
ปัญจบัณฑิตชาดก จักมีพิสดารในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาหัตถิปาลชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺสํ วต
ปสฺสาม ดังนี้.
แท้จริงในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่
ในชาตินี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็ได้ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังนี้

ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า เอสุการี ได้ครองราชสมบัติ
อยู่ในพระนครพาราณสี พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งเป็นปิยสหายของพระราชา
นั้นตั้งแต่ครั้งยังเยาว์อยู่ด้วยกัน แม้ทั้งสองนั้น หามีโอรสและบุตรผู้จะสืบสกุลไม่
ครั้นวันหนึ่งในยามที่มีความสุข พระราชากับพราหมณ์ปุโรหิต จึงปรึกษากันว่า
อิสริยยศของเราทั้งสองมีมาก โอรสหรือธิดาไม่มีเลย เราทั้งสองควรจะทำ

อย่างไรดี. ลำดับนั้น พระเจ้าเอสุการี ตรัสสั่งพราหมณ์ปุโรหิตว่า สหายรัก
ถ้าหากว่าในเรือนของท่าน จักเกิดมีบุตรขึ้นไซร้ บุตรของท่านจักเป็นเจ้าของ
ครอบครองราชสมบัติของเรา ถ้าว่าเราจักเกิดมีบุตรขึ้น บุตรของเราจักต้อง
เป็นเจ้าของครอบครองโภคสมบัติในเรือนของท่านด้วย. ทั้งสองฝ่ายต่างได้ทำ
การนัดหมายซึ่งกันแลกันไว้ด้วยอาการอย่างนี้. ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิต
ไปยังบ้านส่วยของตนในเวลาจะกลับ จึงเข้าสู่พระนครทางประตูด้านทิศทักษิณ

พบสตรีเข็ญใจชื่อ พหุปุตติกะ คนหนึ่ง ในภายนอกพระนคร นางมีบุตรเจ็ด
คนทั้งหมดไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกชายคนหนึ่งถือกระเบื้องอันเป็นภาชนะหุงต้ม
คนหนึ่งหอบเสื่อปูนอน คนหนึ่งเดินนำหน้า คนหนึ่งเดินตามหลัง คนหนึ่งเดิน
เกาะนิ้วมือมารดาเดินไป คนหนึ่งอยู่ที่สะเอว อีกคนหนึ่งอยู่บนบ่า ลำดับนั้น
พราหมณ์ปุโรหิต ถามหญิงผู้เป็นมารดาว่า แม่มหาจำเริญ บิดาของเด็ก ๆ
เหล่านี้อยู่ที่ไหน? ฝ่ายหญิงเข็ญใจนั้น ก็ตอบว่า บิดาของเด็ก ๆ เหล่านี้


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จะได้มีอยู่ประจำก็หามิได้. ปุโรหิตจึงถามต่อไปว่า เจ้าทำอย่างไรถึงได้ลูกชาย
มากถึงเจ็ดคนเช่นนี้ นางไม่เห็นหลักฐานอื่นเป็นเครื่องยืนยัน เห็นต้นไทร
ต้นหนึ่ง ขึ้นอยู่ใกล้ประตูพระนคร จึงตอบไปว่า ข้าแต่นาย ดิฉันบวงสรวง
ปรารถนาในสำนักของเทพยดา ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไทร จึงได้บุตรถึงเจ็ดคน
เทพยดาที่สิงอยู่นี้ให้บุตรทั้งหมดแก่ดิฉัน.

ปุโรหิตพูดว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปเถิดแล้วลงจากรถตรงไปยังต้นไทร
จับกิ่งไทรเขย่า พลางขู่รุกขเทพยดาว่า เทพยดาผู้เจริญ ท่านไม่ยอมให้
โอรสแก่พระราชาบ้างเลย อะไรบ้างที่ท่านไม่ได้จากสำนักพระราชา ทุก ๆ
ปีมา พระราชาทรงสละพระราชทรัพย์ถึงพันกหาปณะ ตรัสสั่งให้ทำพลีกรรม

แก่ท่าน ท่านยังไม่ให้โอรสแก่พระองค์เลย หญิงเข็ญใจนี้ทำอุปการคุณ
อะไรแก่ท่าน เหตุไรท่านจึงให้บุตรแก่นางถึงเจ็ดคน ถ้าหากว่าท่านไม่ให้
โอรสแก่พระราชาของเรา จากนี้ไปอีก ๗ วัน เราจักให้คนฟันต้นไทร
โค่นลงทั้งราก สับให้เป็นท่อน ๆ ดังนี้แล้วก็หลีกไป พอรุ่งขึ้น ๆ ปุโรหิต
ก็ไปยังต้นไทรนั้น แล้วกล่าวขู่โดยทำนองนี้ จนครบ ๖ วัน. แต่ในวันที่ ๖

ได้จับกิ่งไทรพูดว่า ดูก่อนรุกขเทวดา เหลืออีกเพียงราตรีเดียวเท่านั้น ถ้า
ท่านไม่ยอมให้โอรสผู้ประเสริฐแก่พระราชาของเราไซร้ พรุ่งนี้เราจักให้
สำเร็จโทษท่าน. รุกขเทวดาคำนึงดูรู้เหตุผลนั้นแน่นอนแล้ว คิดว่า เมื่อ
พราหมณ์ผู้นี้ไม่ได้บุตร คงจักทำลายวิมานของเราจนพินาศ เราควรให้บุตร

แก่พราหมณ์ปุโรหิตนี้ ด้วยอุบายอย่างใดหนอ ดังนี้แล้วจึงไปยังสำนักของ
ท้าวจาตุมหาราช แจ้งเนื้อความนั้นให้ทราบ ท้าวจาตุมหาราชกล่าวปฏิเสธว่า
พวกเราไม่สามารถจะให้บุตรแก่พราหมณ์ปุโรหิตนั้นได้ รุกขเทวดาจึงไปยัง


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สำนักของยักขเสนาบดี ๒๘ ตน แจ้งเรื่องให้ทราบ. แม้ยักขเสนาบดีเหล่านั้น
ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน รุกขเทวดาจึงไปยังสำนักของท้าวสักกเทวราช
กราบทูลให้ทรงทราบ ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูว่า พระราชาจักได้
พระราชโอรสผู้สมควรหรือหาไม่ ทอดพระเนตรเห็นเทพบุตร ๔ องค์ผู้มีบุญ
(ควรเกิดในราชตระกูล).

ได้ยินว่า ในภพก่อน ๆ เทพบุตรทั้ง ๔ นั้นเกิดเป็นช่างหูกอยู่ใน
เมืองพาราณสี แบ่งทรัพย์ที่หาได้จากการงานนั้นเป็น ๕ ส่วน บริโภคเสีย ๔
ส่วน ถือเอาส่วนที่ ๕ พร้อมกันทำบุญให้ทาน ช่างทอหูกทั้ง ๔ นั้น เคลื่อน
จากภพนั้นแล้ว บังเกิดในดาวดึงสพิภพ ต่อแต่นั้น เลื่อนขึ้นไปบังเกิดใน
พิภพยามา เที่ยวเสวยทิพยสมบัติอยู่ในเทวโลก ๖ ชั้น วนไปเวียนมาด้วย

อาการอย่างนี้ ก็คราวนั้น ถึงวาระที่เทพบุตรเหล่านั้น จะเคลื่อนจากดาวดึงส
พิภพไปเกิดยังพิภพยามา ท้าวสักกเทวราช จึงเสด็จไปยังสำนักของเทพบุตร
เหล่านั้น ตรัสเรียกมาแล้ว มีเทวบัญชาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ควรที่พวกท่านจักไปบังเกิดยังมนุษยโลก พวกท่านจงบังเกิดในพระครรภ์
อัครมเหสี แห่งพระเจ้าเอสุการีราชเถิด.

เทพบุตรเหล่านั้น ได้ฟังพระดำรัสแห่งท้าวสักกเทวราชแล้ว พากัน
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พะย่ะค่ะ พวกข้าพระบาทจักไปตาม
เทวโองการ แต่ว่าพวกข้าพระบาทไม่มีความต้องการราชตระกูล จักพากันไป
บังเกิดในเรือนของท่านปุโรหิต แล้วจักละกามสมบัติออกบวชในเวลาที่ยังเป็น

หนุ่มอยู่นั่นเอง. ท้าวสักกเทวราชทรงรับปฏิญญาของเทพบุตรเหล่านั้นว่า
ดีแล้ว จึงเสด็จมาบอกเนื้อความนั้นแก่รุกขเทวดา. รุกขเทวดาดีใจถวายบังคม
ท้าวสักกเทวราช แล้วตรงไปยังวิมานของตนทันที. ครั้นในวันรุ่งขึ้น พราหมณ์
ปุโรหิตมีบัญชาให้บุรุษที่ล่ำสัน มีกำลังมาประชุมกัน แล้วให้ถือมีดและขวาน
เป็นต้น ไปยังโคนต้นไม้ จับกิ่งไทรไว้แล้วพูดว่า ดูก่อนเทพยดาผู้เจริญ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราเพียรขอบุตรกะท่าน ครบ ๗ วันทั้งวันนี้ บัดนี้เป็นเวลาที่จะสำเร็จโทษ
ท่านละ. ลำดับนั้น รุกขเทวดาจึงออกมาจากระหว่างต้นไทร ด้วยอานุภาพ
อันยิ่งใหญ่ เชื้อเชิญปุโรหิตนั้นมาด้วยเสียงอันไพเราะ แล้วกล่าวว่า ดูก่อน
พราหมณ์ บุตรคนเดียวจะเป็นไรไป เราจักให้บุตรแก่ท่าน ๔ คน พราหมณ์
ปุโรหิต ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการบุตร ท่านโปรดให้แก่พระราชา

ของข้าพเจ้าเถิด. รุกขเทวดากล่าวว่า เราจักให้แก่ท่านเท่านั้น พราหมณ์ปุโรหิต
ขอร้องว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้ข้าพเจ้าสองคน ให้พระราชาสองคนเถิด.
รุกขเทวดาตอบว่า เราจะไม่ให้พระราชา จะให้ท่านผู้เดียวเท่านั้นแม้ทั้ง ๔ คน
แต่บุตรทั้ง ๔ นั้น ท่านจักเป็นเพียงแต่สักว่าได้เท่านั้น (เพราะ) บุตรทั้ง
๔ นั้น จะไม่อยู่ครองเรือน จักพากันออกบวช แต่ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่ม

ทีเดียว. พราหมณ์ปุโรหิตอ้อนวอนต่อไปว่า ท่านโปรดให้บุตรแก่พระราชา
หมดทั้ง ๔ คนเถิด ส่วนเหตุที่จะไม่ให้บุตรทั้ง ๔ ออกบวช เป็นภาระของ
ข้าพเจ้าเอง. รุกขเทวดา ประทานบุตรผู้ประเสริฐ แก่พราหมณ์ปุโรหิตนั้น
แล้วเข้าไปยังพิภพของตน จำเดิมแต่นั้นมา ลาภสักการะ ก็เกิดแก่เทวดา
อย่างนองเนือง.

เชษฐกเทพบุตร จุติมาบังเกิดในครรภ์นางพราหมณีภรรยา ของ
พราหมณ์ปุโรหิต ในวันขนานนามกุมารนั้น มารดาบิดาพร้อมกัน ให้ชื่อว่า
หัตถิปาลกุมาร แล้วมอบให้นายควาญช้างรับเลี้ยงไว้ เพื่อต้องการป้องกันมิให้
กุมารนั้นบวช. หัตถิปาลกุมารนั้น เจริญเติบโตในสำนักของนายควาญช้าง.
ในกาลที่หัตถิปาลกุมารเดินไปมาได้ เทพบุตรองค์ที่สองก็จุติมาบังเกิดในครรภ์

ของนางพราหมณีอีก. กาลเมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาก็ขนานนามให้ว่า
อัสสปาลกุมาร. อัสสปาลกุมารก็เจริญเติบโตในสำนักของคนเลี้ยงม้า. ในกาล
ที่บุตรคนที่สามเกิดแล้ว มารดาบิดาขนานนามให้ว่าโคปาลกุมาร มอบให้นาย
โคบาลเลี้ยงไว้ ในเวลาที่บุตรคนที่สี่เกิดแล้ว มารดาบิดาขนานนามให้ว่า

อชปาลกุมาร มอบให้นายอชบาลเลี้ยงไว้. อชปาลกุมารเจริญเติบโตกับพวก
อชบาล. ครั้นกุมารเหล่านั้นเจริญวัย เติบโตแล้ว ได้เป็นผู้มีรูปร่างงดงามยิ่งนัก.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ต่อมามารดาบิดาทั้งสองก็เชื้อเชิญบรรพชิตทั้งหลาย ออกไปเสียจาก
พระราชอาณาเขต เพราะกลัวกุมารเหล่านั้นจะบวช. ในแคว้นกาสิกรัฐทั้งหมด
จะมีบรรพชิตแม้องค์เดียวก็หามิได้. กุมารทั้ง ๔ เหล่านั้น เป็นผู้หยาบช้า
กล้าแข็งยิ่งนัก จะไปสู่ทิศใดก็พากันแย่งชิงเอาสิ่งของที่เขานำจากทิศนั้น ๆ.
เมื่อหัตถิปาลกุมารอายุครบ ๑๖ ปี พระราชาและพราหมณ์ปุโรหิตได้เห็น

สรีรสมบัติแล้ว จึงปรึกษากันว่า กุมารทั้ง ๔ เติบใหญ่แล้วเป็นสมัยที่จะยก
เศวตฉัตรให้ครอบครองราชสมบัติ เราควรจะจัดการกับกุมารเหล่านั้นอย่างไร
ดี แล้วคิดต่อไปว่า กุมารเหล่านี้ นับแต่ได้รับอภิเษกแล้ว คงจักหยาบช้า
สาหัสยิ่งขึ้น ถ้าบรรพชิตทั้งหลายจักมาจากที่ต่าง ๆ ในเวลานี้ กุมารเหล่านี้
เห็นเข้า ก็จักพากันบวชเสีย เวลาที่กุมารเหล่านี้บวชแล้ว ชาวชนบทก็จะ

รวนเร กำเริบ เราทั้งสองต้องทดลองดูก่อน จึงจักอภิเษกกุมารเหล่านั้น
ต่อภายหลัง แล้วทั้งสองคนต่างแปลงเพศเป็นฤาษี (ทำเป็น) เที่ยวภิกษาจารไป
จนถึงประตูนิเวศน์แห่งหัตถิปาลกุมาร หัตถิปาลกุมาร เห็นบรรพชิตจำแลง-
เหล่านั้นแล้ว ยินดี มีความเลื่อมใส เข้าไปใกล้ ถวายนมัสการแล้วกล่าว
คาถา ๓ คาถา ความว่า

นานทีเดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบเห็นผู้มีผิวพรรณ
ดังเทพยเจ้า มุ่นชฎาใหญ่ทรงไว้ซึ่งหาบคอน ผู้ทรมาน
กิเลสดังเปลือกตมแล้ว ผู้ย้อมเศียรเกล้า.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นานนักหนา ข้าพเจ้าเพิ่งได้เห็นพระฤาษีผู้ยินดี
ในธรรมคุณ นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ครองผ้าคากรอง
ปกปิดโดยรอบ.

ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้าเช็ดเท้าและ
น้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านด้วย
สิ่งของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของข้าพเจ้า
เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณํ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ลอยบาป
แล้ว. บทว่า เทววณฺณินํ ความว่า ผู้มีวรรณะอันประเสริฐ มีตบะกล้า
มีอินทรีย์ผ่องใสน่านับถือ มีอัตภาพแห่งบรรพชิตมีตบธรรมอันสูงส่ง. บทว่า
ขาริธรํ ความว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งขาริภารภัณฑ์. บทว่า อิสึ ความว่า ผู้แสวงหา
คุณธรรมมีกองศีลเป็นต้น ดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ธมฺมคุเณรตํ ความว่า ผู้ยิน
ดียิ่งแล้วในส่วนแห่งสุจริตธรรม.

บทว่า อาสนํ ความว่า หัตถิปาลกุมาร แต่งตั้งอาสนะนี้ไว้ เพื่อฤาษี
เหล่านั้นนั่ง แล้วน้อมน้ำเจือด้วยน้ำหอม ผ้าเช็ดเท้า และน้ำมันสำหรับหยอดเข้า
ไปถวายแล้วกล่าวเชื้อเชิญ. บทว่า อคฺเฆ ความว่า ข้าพเจ้ามอบอาสนะเป็นต้น
อันมีค่ามาก ทั้งหมดเหล่านี้ กะท่านผู้เจริญ. บทว่า กุรุเต โน ความว่า
ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะเป็นต้นอันมีค่ามากเหล่านี้ ของข้าพเจ้าด้วยเถิด.

หัตถิปาลกุมาร กล่าวเชื้อเชิญบรรดาฤาษีทั้งสองเหล่านั้นเป็นรายรูป
ต่างวาระกันอย่างนี้. ลำดับนั้น ปุโรหิตฤาษีแปลงแกล้งถามว่า แน่ะพ่อหัตถ-
ปาละ เจ้าสำคัญเราทั้งสองเป็นใครกัน จึงกล่าวอย่างนี้ หัตถิปาลกุมารตอบว่า
ข้าพเจ้าสำคัญว่า พวกท่านเป็นฤาษีผู้อยู่ในหิมวันตประเทศ ปุโรหิตแปลงจึง
ชี้แจงว่า พ่อคุณ พวกเรามิใช่พระฤาษี นี้คือราชาเอสุการี เราคือปุโรหิต
ผู้เป็นบิดาของเจ้า. หัตถิปาลกุมารถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บิดากับพระราชาจึงต้องปลอมเพศเป็นฤาษี?. ปุโรหิตตอบว่า เพื่อจะทดลอง
เจ้าดู. หัตถิปาลกุมารถามว่า ทดลองข้าพเจ้าทำไม? พราหมณ์ปุโรหิตจึง
กล่าวว่า ทดลองดูว่า ถ้าเจ้าเห็นพวกเราแปลงเป็นพระฤาษีแล้ว มิได้บวชไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราจึงมาเพื่ออภิเษกเจ้าให้เสวยราชสมบัติ. หัตถิปาลกุมาร

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบิดา ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการราชสมบัติเลย ข้าพเจ้า
จักบวช. ลำดับนั้น ปุโรหิตผู้บิดาจึงกล่าวชี้แจงกะหัตถิปาลกุมารว่า หัตถิปาล-
กุมารลูกรัก เวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่เจ้าจะบวช เมื่อจะพร่ำสอนตามอัธยาศัย
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า

หัตถิปาละลูกรัก เจ้าจงเรียนวิชา และจงแสวง-
หาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตรและธิดาให้ดำรงอยู่ในเรือน
เสียก่อน แล้วจงบริโภค กลิ่น รส และวัตถุกาม
ทั้งปวงเถิด กิจที่จะอยู่ป่า เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี
มุนีใด บวชในกาลเช่นนี้ได้ มุนีนั้น พระอริยเจ้า
สรรเสริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิจฺจ แปลว่า เล่าเรียนศึกษา. บทว่า
ปุตฺเต ความว่า จงยกเศวตฉัตรให้พวกนาฏกชนเข้าอุปัฏฐากบำรุงโดยวาระ
จนเจริญด้วยบุตรธิดา แล้วให้บุตรธิดาเหล่านั้น ครอบครองบ้านเมืองแทนตน.
บทว่า สพพํ ความว่า เจ้าจงเสวยกลิ่นและรสเหล่านี้ ทั้งพัสดุกามที่เหลือ

ทั้งหมดก่อน. บทว่า อรฺํ สาธุ มุนิ โส ปสตฺโถ ความว่า ปุโรหิต
กล่าวว่า การอยู่ป่าของผู้ที่บวชในเวลาแก่ภายหลัง ย่อมได้ประโยชน์สำเร็จดี
ผู้ใดบวชในเวลาดังกล่าวมานี้ ผู้นั้นเป็นคนมีความคิด อันอริยชนทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น หัตถิปาลกุมารกล่าวคาถา ความว่า
วิชาเป็นของไม่จริง และลาภคือทรัพย์ก็ไม่จริง
ใคร ๆ จะห้ามความชราด้วยลาภ คือ บุตรไม่ได้เลย
สัตบุรุษทั้งหลาย สอนให้ปล่อยวางคันธารมณ์ และ
รสารมณ์เสีย ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้ เพราะกรรม
ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สจฺจา ความว่า ชนทั้งหลายกล่าว
วิทยาการอันใด ว่าเป็นสวรรค์ และเป็นมรรค แต่ก็หาใช่วิทยาการอันนั้น
ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ วิชาทั้งหลายเป็นของเปล่าประโยชน์ไร้สาระ หาผลมิได้.
บทว่า วิตฺตลาโภ ความว่า แม้ลาภคือทรัพย์สมบัติ จะเป็นของมีสภาพเป็น
อันเดียวไปทุกอย่างก็หามิได้ เพราะเป็นของปัญจสาธารณ์. บทว่า น ชรํ

ความว่า ข้าแต่ท่านบิดา ใคร ๆ จะชื่อว่าสามารถ เพื่อจะห้ามชรา หรือพยาธิ
มรณะได้ด้วยลาภคือบุตรก็มิได้มี เพราะลาภคือบุตรเป็นต้นนี้ มีทุกข์เป็นมูล
เป็นที่ตั้งแห่งอุปธิกิเลส. บทว่า คนฺเธ รเส ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวสอนเฉพาะความปล่อยวางคันธารมณ์

รสารมณ์ และอารมณ์ที่เหลือทั้งหลายเท่านั้น. บทว่า สกมฺมุนา ความว่า
ความบังเกิดแห่งผลคือความเผล็ดผล ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะกรรม
อันตนทำไว้เท่านั้น ข้าแต่ท่านบิดา เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาทรงสดับคำของกุมารแล้ว ตรัสพระคาถา ความว่า
คำของเจ้าที่ว่า ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้
เพราะกรรมของตนนั้น เป็นคำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง
มารดาบิดาของท่านนี้ แก่เฒ่าแล้ว หวังจะเห็นท่านมี
อายุยืนร้อยปี ไม่มีโรค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสสตํ อโรคฺยํ ความว่า พระราชา
ตรัสว่า มารดาบิดาของเจ้านั้น ประสงค์จะเห็นเจ้ามีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคภัย
เบียดเบียน เมื่อเจ้ามีชีวิตอยู่ถึงร้อยปี จักได้เลี้ยงดูมารดาบิดาบ้าง.
หัตถิปาลกุมาร ฟังพระราชดำรัสแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เหตุไรพระองค์จึงตรัสเช่นนี้ แล้วกล่าวคาถา
สองคาถา ความว่า

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็น
สหายกับความตาย ความไมตรีกับความแก่พึงมีแก่
ผู้ใด หรือแม้ผู้ใดจะพึงรู้ว่า เราจักไม่ตาย มารดาบิดา
พึงเห็นผู้นั้นมีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคเบียดเบียนได้ใน
บางคราว.

บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ส่งถึง
ฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับรับคนฝั่งโน้น พามาส่งถึงฝั่งนี้
ฉันใด ชรา และพยาธิ ก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ไปสู่
อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนือง ๆ ฉันนั้น.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขี ได้แก่ มิตรธรรม. บทว่า มรเณน
ความว่า ความเป็นมิตรกับความตายโดยสมมติว่า นายทัตตะ นายมิตตะ ตาย
ไปแล้ว. บทว่า ชราย ความว่า ก็มิตรไมตรีกับชราอันปรากฏพึงมีแก่ผู้ใด
อธิบายว่า มรณะนี้กับชราไม่เคยเป็นมิตรกับผู้ใดเลย. บทว่า เอเรติ เจนํ

ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า บุรุษจอดเรือไว้ที่ท่าน้ำแล้ว ให้คนที่จะ
ข้ามไปฝั่งโน้นลงเรือ ถ้าเขาเอาถ่อยัน หรือฉุดไปด้วยใจรัก ย่อมให้เรือ
หวั่นไหวติดต่อกันไป ทีนั้นก็นำผู้นั้นเข้าสู่ฝั่งโน้นได้ฉันใด ชรา และพยาธิ
ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายเข้าไปสู่อำนาจแห่งมฤตยู อันเป็นที่สุด (ของชีวิต) เป็นนิตย์
ฉันนั้น.

ครั้นหัตถิปาลกุมาร แสดงชีวิตและสังขารแห่งสัตว์เหล่านี้ ว่าเป็น
ของนิดหน่อยอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาทพระราชาว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์ดำรงอยู่เป็นสุขเถิด ชรา พยาธิ และมรณะ ย่อมรุกรานเข้าใกล้
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้กำลังกราบทูลสนทนาอยู่กับพระองค์ทีเดียว ขอพระองค์
อย่าได้ทรงประมาทมัวเมา แล้วถวายบังคมพระราชา กราบไหว้บิดาพาบริวาร

ของตน ละทิ้งราชสมบัติในพระนครพาราณสี ออกไปด้วยตั้งใจว่า เราจัก
บรรพชา. มหาชนออกไปพร้อมกับหัตถิปาลกุมาร ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่า
บรรพชานี้ คงจะงดงามดี. ได้มีบริษัทติดตามไปประมาณหนึ่งโยชน์. หัตถิ-
ปาลกุมารไปถึงฝั่งน้ำคงคา พร้อมด้วยบริษัทนั้น เพ่งดูน้ำในแม่น้ำคงคา

เจริญกสิณบริกรรม ยังฌานให้บังเกิดแล้ว คิดว่า สมาคมนี้จักใหญ่ยิ่ง น้องชาย
ของเราสามคน มารดาบิดาของเรา พระราชาและพระราชเทวี ท่านทั้งหมด
เหล่านี้ พร้อมด้วยบริวารก็จักบวช เมืองพาราณสีจักว่างเปล่า เราจักอยู่ใน
ที่นี้แหละ จนกว่าคนเหล่านั้นจะตามมา หัตถิปาลกุมาร นั่งให้โอวาทแก่มหาชน
อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั่นเอง.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าเอสุการี กับพราหมณ์ปุโรหิต คิดกันว่า เจ้า
หัตถิปาลราชกุมารสละราชสมบัติ พามหาชนล่วงหน้าไปก่อน ด้วยคิดว่า
จักบวช ดังนี้แล้ว นั่งพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว เราทั้งสองต้องทดลอง
อัสสปาลกุมารดู จักได้อภิเษกให้ครองราชสมบัติ. คนทั้งสองจึงได้ไปยัง

ประตูเรือนของอัสสปาลกุมาร ด้วยการจำแลงเพศเป็นฤาษีเหมือนกัน. ฝ่าย
อัสสปาลกุมารครั้นเห็นแล้ว มีจิตเลื่อมใส เข้าไปใกล้แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า
นานมาแล้วข้าพเจ้าเพิ่งจะได้เห็น แล้วปฏิบัติตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น. แม้
ฤาษีจำแลงเหล่านั้น ก็บอกอัสสปาลกุมารอย่างที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน และ

ได้แถลงเหตุที่ตนมาให้ทราบ. อัสสปาลกุมารถามว่า เมื่อหัตถิปาลกุมารพี่ชาย
ของข้าพเจ้ายังอยู่ ไยเศวตฉัตรจะมาถึงข้าพเจ้าก่อนเล่า เมื่อบิดาตอบว่า ลูกรัก
พี่ชายของเจ้าพูดว่า ไม่ต้องการราชสมบัติ จักบวช ออกไปบวชเสียแล้ว จึง
ถามต่อไปว่า เดี๋ยวนี้พี่ชายของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ครั้นบิดาบอกว่า พำนักอยู่ที่

ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงพูดว่า ข้าแต่ท่านบิดา ข้าพเจ้าไม่มุ่งหมายราชสมบัติ ซึ่ง
อุปมาดังก้อนเขฬะ อันพี่ชายของข้าพเจ้าบ้วนทิ้งแล้ว แท้จริงสัตว์ทั้งหลาย
ผู้โง่เขลาเบาปัญญา ย่อมไม่อาจจะทิ้งกิเลสนั้นได้ แต่ข้าพเจ้าจักละ เมื่อจะ
แสดงธรรมแก่พระราชาและบิดาของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

กามทั้งหลายเป็นดังเปลือกตม เป็นเครื่องให้จม
ลง เป็นเครื่องนำน้ำใจสัตว์ไป ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้ง
แห่งมฤตยู สัตว์ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในกามอันเป็นดัง
เปลือกตม เป็นเครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลว-
ทราม ย่อมข้ามถึงฝั่งไม่ได้.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของข้าพระองค์นี้ ได้
กระทำกรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้น อันข้า
พระองค์ยึดไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์จะพ้นไปจากผล
แห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษา
อัตภาพนั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้ อย่าได้ทำ
กรรมอันหยาบช้านี้อีกเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปงฺโก ได้แก่ เปลือกตมอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ปลิโป ได้แก่ เปลือกตมละเอียด อันเจือด้วยทรายละเอียด. ใน
สองอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า กามชื่อปังกะ ด้วยอรรถว่า ยังสัตว์ให้ข้อง ชื่อว่า
ปลิปะ ด้วยอำนาจยังสัตว์ให้จมลง. บทว่า ทุตฺตรา แปลว่า ก้าวล่วงได้ยาก.
บทว่า มจฺจุเธยฺยา ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู. เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย

ทั้งข้องอยู่ ทั้งเข้าไปใกล้กามเหล่านี้ ไม่สามารถจะข้ามไปได้ ย่อมถึงทั้ง
ความทุกข์และความตาย มีประการดังที่ท่านกล่าวไว้ ในทุกขักขันธปริยายสูตร
ด้วยเหตุนั้น อัสสปาลกุมารจึงกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ส่ายซ่านไปในกามปังกะ
กามปลิปะนี้แล้ว เป็นผู้มีสภาพแห่งจิตเลวทราม ย่อมข้ามฝั่งไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสนฺนา ความว่า ผู้ส่ายซ่านไป. ปาฐะว่า
พฺยสนฺนา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างเดียวกันนี้. บทว่า หีนตฺตรูปา ได้แก่
เป็นผู้มีสภาพแห่งจิตต่ำทราม. บทว่า ปารํ ความว่า ย่อมไม่สามารถจะไป
สู่ฝั่งแห่งพระนิพพานได้. บทว่า อยํ ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
อัตภาพของข้าพระพุทธเจ้านี้ เจริญเติบโตมากับพวกนายควาญม้า ได้กระทำ

บาปกรรมอันหยาบช้าสาหัสเป็นอันมาก ด้วยสามารถแห่งการปล้น แย่งชิง
เบียดเบียนมหาชนเป็นต้น. บทว่า สฺวายํ คหิโต ความว่า วิบากแห่งกรรม
นี้นั้น ข้าพระพุทธเจ้ายึดไว้มั่นแล้ว. บทว่า น หิ โมกฺขิโต เม ความว่า
เมื่อความเป็นไปแห่งสารวัฏยังมีอยู่ ความพ้นไปจากผลแห่งอกุศลกรรมนี้
ของข้าพระพุทธเจ้า จะมีอยู่ก็หามิได้. บทว่า โอรุนฺธิยา นํ ปริรกฺขิสฺสามิ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร