วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2021, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2021-05-11-17-45-21.jpg
SmartSelectImage_2021-05-11-17-45-21.jpg [ 122.55 KiB | เปิดดู 2012 ครั้ง ]
สัมมาสังกัปปะ

องค์มรรคข้อที่ ๒ นี้ มีคำจำกัดความแบบทั่วไปตามคัมภีร์ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์
อวิหิงสาสังกัปป์ นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ”

นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกออกเป็น ระดับโลกียะ และระดับโลกุตระ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ มี ๒ อย่าง คือ
สัมมาสังกัปปะ ที่ยังมี เป็นฝ่ายบุญ อำนวยแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอริยะ
ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง”

“สัมมาสังกัปปะ ที่ยังมีอาสวะ...คือ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์...”

“สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก (ตักกะ)
ความนึกคิด (วิตักกะ) ความดำริ (สังกัปป์) ความคิดแนบแน่ว (อัปปนา) ความคิดปักแน่นแฟ้น
(พยัปปนา) ความเอาใจจดจ่อลง วจีสังขาร ของบุคคลผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ
มีเป็น ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่...”

เพื่อรวบรัด ในที่นี้ จะทำความเข้าใจกันแต่เพียงคำจำกัดความแบบทั่วไป ที่เรียกว่าเป็น
ขั้นโลกิยะเท่านั้น ตามคำจำกัดความแบบนี้ สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ หรือความนึก
คิดในทางที่ถูกต้อง ตรงข้ามกับความดำริผิดที่เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ

๑. กามสังกัปป์ หรือ กามวิตก คือ ความดำริที่เกี่ยวข้องกับกาม ความนึกคิดในทางที่
จะแสวงหา หรือหมกมุ่นพัวพันติดข้องอยู่ในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ หรือ
สิ่งสนองตัณหาอุปาทานต่างๆ ความคิดในทางเห็นแก่ตัว เป็นความนึกคิดในฝ่าย ราคะ หรือ โลภะ

๒. พยาบาทสังกัปป์ หรือ พยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ประกอบด้วยความขัดเคือง ไม่พอใจ
เคียดแค้น ชิงชัง คิดเห็นเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ มองคนอื่นเป็นศัตรูผู้มากระทบกระทั่ง เห็นสิ่งทั้ง
หลายเป็นไปในทางขัดอกขัดใจ เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะ แง่ถูกกระทบ (ตรงข้ามกับเมตตา)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2021, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


วิหิงสาสังกัปป์ หรือ วิหิงสาวิตก คือ ความดำริในทางที่จะ
เบียดเบียน ทำร้าย ข่มเหง ตัดรอน และทำลาย อยากไป
กระทบกระทั่งรุกรานผู้อื่น อยากทำให้เขาประสบความทุกข์
วามเดือดร้อน เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่จะไปกระทบ
(ตรงข้ามกับกรุณา)

ความดำริ หรือแนวคิดแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก
เพราะตามธรรมดา เมื่อบุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยการเห็น ได้ยิน เป็นต้น จะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่าง
หนึ่งในสองอย่าง คือ ถ้าถูกใจ ก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน
คล้อยตาม ถ้าไม่ถูกใจ ก็ไม่ชอบ ขัดใจ ขัดเคือง ผลักแย้ง
เป็นปฏิปักษ์ จากนั้น ความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไปตาม
แนวทาง หรือตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น

ด้วยเหตุนี้ ความคิดของบุถุชนโดยปรกติ จึงเป็นความคิดเห็น
ที่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มีความพอใจและไม่พอใจของ
ตนเข้าไปเคลือบแฝงชักจูง ทำให้ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มัน
ป็นของมันเองล้วนๆ

ความนึกคิดที่ดำเนินไปจากความถูกใจ ชอบใจ เกิดความติด
ข้อง พัวพัน เอียงเข้าหา ก็กลายเป็นกามวิตก ส่วนที่ดำเนินไป
จากความไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ เกิดความรู้สึกกระทบกระทั่ง
ดเคือง ชิงชัง เป็นปฏิปักษ์ มองในแง่ร้าย ก็กลายเป็นพยาบาท
วิตก ที่พุ่งออกมาเป็นความคิดรุกราน คิดเบียดเบียน กลั่น
แกล้ง ข่มเหง เล่นล่า ทำลาย ก็กลายเป็นวิหิงสาวิตก ทำให้
เกิดทัศนคติ (หรือเจตคติ) ต่อสิ่งต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง

ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบือนและ
ถูกเคลือบแฝงเช่นนี้ เกิดขึ้นก็เพราะการขาดโยนิโสมนสิการ
แต่ต้น คือ มองสิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น
โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตาม
ความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็น
ตัวนำ ไม่ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์แยกแยะ และความคิดสืบ
สาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ

โดยนัยนี้ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ
นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือน
และมิจฉาสังกัปปะนี้ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เข้าใจ
และมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือนต่อไป หรือยิ่ง
ขึ้นไปอีก องค์ประกอบทั้งสอง คือ มิจฉาทิฏฐิ และมิจฉา
สังกัปปะ จึงส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ในทางตรงข้าม การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามที่มัน
เป็นได้ จะต้องใช้โยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายความว่า ขณะนั้น
ความนึกคิด ความดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ไม่มี
ทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ ผลัก
แย้ง เป็นปฏิปักษ์ต่างๆ ด้วย ข้อนี้มีความหมายว่า จะต้องมี
สัมมาสังกัปปะ และสัมมาสังกัปปะ และองค์ประกอบทั้งสอง
ย่างนี้ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับในฝ่าย
มิจฉานั่นเอง

โดยนัยนี้ ด้วยการมีโยนิโสมนสิการ ผู้นั้นก็มีสัมมาทิฏฐิ คือ
มองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมองเห็นสิ่ง
ต่างๆ ตามความเป็นจริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด
และตั้งทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึด
ติด หรือผลักแย้ง เป็นปฏิปักษ์

เมื่อมีความดำรินึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ
ป็นกลางเช่นนี้ จึงทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
คือ เสริมสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทั้ง
สองก็สนับสนุนกันและกัน หมุนเวียนต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในภาวะจิตที่มีโยนิโสมนสิการ จึงมีความดำริตริตรึกนึกคิด ซึ่ง
ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ปราศจากความเอนเอียง ทั้งในทางผูกติด
และในทางผลักขัด ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมา
สังกัปปะ มี ๓ อย่างเช่นเดียวกัน คือ

๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดำริที่ปลอดจาก
โลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติด
ข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็น
แก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง
จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะ หรือโลภะ

๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ไม่มี
ความรู้สึกกระทบกระทั่ง ขัดเคือง ชิงชัง หรือเพ่งมองในแง่ร้าย
ต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา ซึ่งหมายถึง
ความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัด
เป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ

๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีการ
เบียดเบียน การคิดทำร้าย ข่มเหง หรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอา
ธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณา ซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้
พ้นจากความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะเช่น
เดียวกัน

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ที่อาจมีผู้ยกขึ้นอ้าง ซึ่งขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้
ด้วยครั้งหนึ่งก่อน คือเรื่องธรรมฝ่ายดีหรือกุศล ซึ่งตรงข้ามกับ
ฝ่ายชั่วหรือ อกุศล ใน พุทธธรรม แทนที่จะใช้ศัพท์ตรงข้าม มัก
ใช้แต่เพียงแค่ศัพท์ปฏิเสธ ทำให้มีผู้คิดเห็นไปว่า พุทธธรรมเป็น
คำสอนแบบปฏิเสธ (negative) และเรื่อยเฉื่อย (passive) เพียง
แต่ไม่ทำความชั่ว อยู่เฉยๆ ก็เป็นความดีเสียแล้ว อย่างที่นี้ ฝ่าย
มิจฉาสังกัปป์ เป็นพยาบาทสังกัปป์ ฝ่ายสัมมาสังกัปป์ แทนที่จะ
เป็นเมตตา กลับเป็นเพียงอพยาบาทสังกัปป์ คือ ปฏิเสธฝ่าย
มิจฉาเท่านั้น

ความเข้าใจเช่นนี้ผิดพลาดอย่างไร จะได้ชี้แจงต่อๆ ไปตาม
โอกาส แต่เฉพาะเรื่องนี้ จะชี้แจงเหตุผลตอบโต้ความเข้าใจผิด
แต่เพียงสั้นๆ ๓ ข้อก่อน คือ

๑. มรรคเป็นหลักปฏิบัติที่มุ่งคุณค่าทางปัญญาเป็นสำคัญ จุด
หมายของมรรค คือการรู้แจ้งสัจธรรม มิใช่มุ่งเพียงคุณค่าทาง
จริยธรรมขั้นศีล หรือที่เรียกกันว่าศีลธรรมเท่านั้น

เฉพาะอย่างยิ่ง พึงระลึกไว้ว่า สัมมาสังกัปปะ เป็นองค์มรรคฝ่าย
ปัญญา มิใช่ฝ่ายศีล ดังนั้น การที่สัมมาสังกัปปะสอนให้ไม่คิด
พยาบาท ให้มีเมตตารักใคร่กัน ก็มิใช่มุ่งเพียงเพื่อให้คนมีศีล คือ
ละเว้นการฆ่าฟันเบียดเบียนกัน ช่วยเหลือกันอย่างเดียว แต่มุ่งให้
มีความคิดที่ไม่เอนเอียงด้วยความเกลียดชัง เป็นต้น เพื่อให้ความ
คิดนั้นปลอดโปร่งเป็นอิสระ เดินตามแนวความจริงอย่างคล่องตัว
จะได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงไม่
บิดเบือน

โดยนัยนี้ การใช้คำปฏิเสธว่า สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดปลอด
โลภ ไม่มีพยาบาท ไม่มี วิหิงสา จึงนับว่าเป็นการเหมาะสมดีที่สุด
แล้ว หมายความว่า เมื่อจะคิดจะพิจารณาอะไร ถ้าไม่คิดเอาเข้า
ตัว ไม่คิดด้วยความเกลียดชังมุ่งร้าย หรือจะทำลายใคร ความ
คิดนั้นก็จะบริสุทธิ์ มีหวังว่าจะถูกต้องตรงความจริง

๒. โดยเหตุผลทางหลักภาษา คำบาลีที่มี “อ” ปฏิเสธนำหน้า มิได้
หมายความเพียงว่าไม่ใช่สิ่งนั้น แต่มีความหมายเปิดกว้างออกไป
ครอบคลุมหมด ว่าสิ่งใดก็ตามที่มิใช่สิ่งนั้น รวมทั้งสิ่งที่ตรงข้าม
ทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในภาวะจิตที่มีโยนิโสมนสิการ จึงมีความดำริตริตรึกนึกคิด ซึ่ง
ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ปราศจากความเอนเอียง ทั้งในทางผูกติด
และในทางผลักขัด ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมา
สังกัปปะ มี ๓ อย่างเช่นเดียวกัน คือ

๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดำริที่ปลอดจาก
โลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติด
ข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็น
แก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง
จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะ หรือโลภะ

๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ไม่มี
ความรู้สึกกระทบกระทั่ง ขัดเคือง ชิงชัง หรือเพ่งมองในแง่ร้าย
ต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา ซึ่งหมายถึง
ความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัด
เป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ

๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีการ
เบียดเบียน การคิดทำร้าย ข่มเหง หรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอา
ธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณา ซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้
พ้นจากความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะเช่น
เดียวกัน

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ที่อาจมีผู้ยกขึ้นอ้าง ซึ่งขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้
ด้วยครั้งหนึ่งก่อน คือเรื่องธรรมฝ่ายดีหรือกุศล ซึ่งตรงข้ามกับ
ฝ่ายชั่วหรือ อกุศล ใน พุทธธรรม แทนที่จะใช้ศัพท์ตรงข้าม มัก
ใช้แต่เพียงแค่ศัพท์ปฏิเสธ ทำให้มีผู้คิดเห็นไปว่า พุทธธรรมเป็น
คำสอนแบบปฏิเสธ (negative) และเรื่อยเฉื่อย (passive) เพียง
แต่ไม่ทำความชั่ว อยู่เฉยๆ ก็เป็นความดีเสียแล้ว อย่างที่นี้ ฝ่าย
มิจฉาสังกัปป์ เป็นพยาบาทสังกัปป์ ฝ่ายสัมมาสังกัปป์ แทนที่จะ
เป็นเมตตา กลับเป็นเพียงอพยาบาทสังกัปป์ คือ ปฏิเสธฝ่าย
มิจฉาเท่านั้น

ความเข้าใจเช่นนี้ผิดพลาดอย่างไร จะได้ชี้แจงต่อๆ ไปตาม
โอกาส แต่เฉพาะเรื่องนี้ จะชี้แจงเหตุผลตอบโต้ความเข้าใจผิด
แต่เพียงสั้นๆ ๓ ข้อก่อน คือ

๑. มรรคเป็นหลักปฏิบัติที่มุ่งคุณค่าทางปัญญาเป็นสำคัญ จุด
หมายของมรรค คือการรู้แจ้งสัจธรรม มิใช่มุ่งเพียงคุณค่าทาง
จริยธรรมขั้นศีล หรือที่เรียกกันว่าศีลธรรมเท่านั้น

เฉพาะอย่างยิ่ง พึงระลึกไว้ว่า สัมมาสังกัปปะ เป็นองค์มรรคฝ่าย
ปัญญา มิใช่ฝ่ายศีล ดังนั้น การที่สัมมาสังกัปปะสอนให้ไม่คิด
พยาบาท ให้มีเมตตารักใคร่กัน ก็มิใช่มุ่งเพียงเพื่อให้คนมีศีล คือ
ละเว้นการฆ่าฟันเบียดเบียนกัน ช่วยเหลือกันอย่างเดียว แต่มุ่งให้
มีความคิดที่ไม่เอนเอียงด้วยความเกลียดชัง เป็นต้น เพื่อให้ความ
คิดนั้นปลอดโปร่งเป็นอิสระ เดินตามแนวความจริงอย่างคล่องตัว
จะได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงไม่
บิดเบือน

โดยนัยนี้ การใช้คำปฏิเสธว่า สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดปลอด
โลภ ไม่มีพยาบาท ไม่มี วิหิงสา จึงนับว่าเป็นการเหมาะสมดีที่สุด
แล้ว หมายความว่า เมื่อจะคิดจะพิจารณาอะไร ถ้าไม่คิดเอาเข้า
ตัว ไม่คิดด้วยความเกลียดชังมุ่งร้าย หรือจะทำลายใคร ความ
คิดนั้นก็จะบริสุทธิ์ มีหวังว่าจะถูกต้องตรงความจริง

๒. โดยเหตุผลทางหลักภาษา คำบาลีที่มี “อ” ปฏิเสธนำหน้า มิได้
หมายความเพียงว่าไม่ใช่สิ่งนั้น แต่มีความหมายเปิดกว้างออกไป
ครอบคลุมหมด ว่าสิ่งใดก็ตามที่มิใช่สิ่งนั้น รวมทั้งสิ่งที่ตรงข้าม
ทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังเช่น คำว่า “อกุศล” มิได้หมายถึงมิใช่กุศล (ซึ่งอาจเป็นอัพยากฤต
คือเป็นกลางๆ ไม่ใช่ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว) แต่หมายถึงความชั่วที่ตรง
ข้ามกับกุศลเลยทีเดียว

คำว่า “อมิตร” มิได้หมายถึงคนที่เป็นกลางๆ ไม่ใช่มิตร แต่หมาย
ถึงศัตรูเลยทีเดียว ดังนี้เป็นต้น

ในสัมมาสังกัปปะนี้ “อ” มีความหมายปฏิเสธแบบครอบคลุม คือ
ทั้งที่ตรงข้าม และที่มิใช่ เช่น อพยาบาทสังกัปป์ ย่อมหมายถึง
เมตตาที่ตรงข้ามกับพยาบาทด้วย และความดำริที่บริสุทธิ์ ปลอด
โปร่ง ปราศจากพยาบาท เป็นกลางๆ ด้วย ธรรมฝ่ายดี เช่น
เมตตา เป็นต้น จึงรวมอยู่ในองค์มรรคข้อนี้ด้วยแล้ว

๓. การใช้คำที่มี “อ” ปฏิเสธนี้ นอกจากมีความหมายกว้างแล้ว ยัง
มีความหมายหนักแน่นเด็ดขาดยิ่งกว่าคำตรงข้ามเสียอีก เพราะ
การใช้คำปฏิเสธในที่นี้ มุ่งเจาะจงปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ให้มีโดยสิ้นเชิง
คือ ไม่ให้มีเชื้อหรือร่องรอยเหลืออยู่

ดังเช่น อพยาบาทสังกัปป์ ในที่นี้ หมายถึงความดำริที่ไม่มี
พยาบาทหรือความคิดร้ายแง่ใดส่วนใดเหลืออยู่ในใจเลย เป็น
เมตตาโดยสมบูรณ์ ไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นการเน้นขั้นถึงที่สุด
ไม่เหมือนคำสอนบางลัทธิที่สอนให้มีเมตตากรุณา แต่เป็นเมตตา
กรุณาตามคำจำกัดของผู้สั่งสอน มิใช่ตามสภาวะของธรรม จึงมี
ขอบเขตตามบัญญัติสำหรับใช้แก่กลุ่ม หรือหมู่ชนพวกหนึ่ง หรือ
สัตวโลกชนิดหรือประเภทใดประเภทหนึ่ง แล้วแต่ตกลงกำหนดเอา

เท่าที่กล่าวมานี้ อาจสรุปว่า ตามปกติ มนุษย์ปุถุชน เมื่อจะคิด
อะไร ก็ย่อมคิดเพื่อสนองในรูปใดรูปหนึ่ง ถ้าไม่คิดตามแนว ทิฎฐิ
เช่น ค่านิยม เป็นต้น ซึ่งตัณหาอาศัยอวิชชาปรุงแต่งไว้ก่อนแล้ว
ก็จะคิดไปตามอำนาจของตัณหาสดในเวลานั้นๆ ซึ่งอาจเป็นไป
โดยอาการของความอยาก ที่ยังเรียกว่าเป็นตัณหาโดยตรงบ้าง
โดยการถือตัวเชิดชูระวังฐานะของตัวตน ที่เรียกว่ามานะบ้าง
ตลอดจนความยึดถือที่จับตัวเป็นทิฏฐิ ท่านจึงเรียกความคิดของ
ปุถุชนเช่นนี้ว่า ประกอบด้วย อหังการ มมังการ และ มานานุสัย
หรือเรียกสั้นๆ ว่า มีตัณหา มานะ และทิฏฐิ เป็นตัวสานและชักใย
อยู่ ความคิดของปุถุชนนั้น จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นบริการของจิตที่
รับใช้ตัณหา

ลักษณะของการคิดเพื่อสนองตัณหานั้น เป็นไปได้ทั้งในทางบวก
และทางลบ ด้านบวกออกมาในรูปของกามสังกัปป์ คือคิดเอา คิด
ปรนเปรอบำเรอตน ด้านลบออกมาในรูปของพยาบาทสังกัปป์
คือคิดขัดคิดแง่ร้าย คิดเป็นปฏิปักษ์ เห็นเขาเป็นศัตรู (กลัวเขาจะ
มาแย่งมาขัด) คิดกระทบกระทั่ง ไม่พอใจ เกลียดชัง และวิหิงสา
สังกัปป์ คือคิดรุกราน คิดทำลาย คิดไล่ล่าข่มเหง

อย่างไรก็ตาม ความคิดสนองตัณหานั้น อาจถูกหักล้างด้วย
โยนิโสมนสิการที่มองดูตามสภาวะ ความคิดที่ประกอบกับ
โยนิโสมนสิการเช่นนี้ ไม่มี กามไม่มี พยาบาทไม่มี วิหิงสสจึง
บริสุทธิ์ตรงความจริง ไม่เอนเอียงติดข้องหรือปัดเหไปข้างใด
ข้างหนึ่ง และจึงเป็นความคิดที่มีขอบเขตกว้างขวาง

อาจให้ความหมายของ สัมมาสังกัปปะ ในแง่นี้ได้ว่า จะคิดอะไร
ก็ได้ ที่มิใช่เป็นการจะเอาจะปรนเปรอตัว มิใช่มุ่งร้ายหรือหมาย
ข่มเหงรังแกเบียดเบียนใคร นี้เป็นด้านปัญญา เกื้อกูลแก่สัมมา
ทิฏฐิโดยตรง

อีกด้านหนึ่ง ความคิดสนองตัณหานั้น อาจถูกหักล้างด้วยโยนิโส
มนสิการแบบปลุกเร้ากุศลธรรม ความคิดที่ประกอบด้วยโยนิโส
มนสิการแบบนี้ เป็นความคิดแบบตรงข้ามกับกาม พยาบาท และ
วิหิงสา คือคิดสละ มีเมตตา มีกรุณา เป็นการสร้างเสริมกุศล
ธรรมจำเพาะอย่าง สัมมาสังกัปปะแง่นี้ แม้จะเกื้อกูลแก่ สัมมา
ทิฏฐิ แต่เป็นแง่ที่สัมพันธ์กับศีลโดยตรง คือนำไปสู่ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2021-05-11-17-45-21.jpg
SmartSelectImage_2021-05-11-17-45-21.jpg [ 122.55 KiB | เปิดดู 1870 ครั้ง ]
มีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะ อีกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเทียบกับกิเลสหลัก ที่เรียกว่าอกุศลมูล ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ และโมหะ แล้ว จะเห็นว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นตัวกำจัดต้นตอที่สุด คือ โมหะ ส่วนสัมมาสังกัปปะ กำจัดกิเลสที่รองหรือต่อเนื่องออกมา คือ เนกขัมมสังกัปป์ กำจัดราคะ หรือโลภะ และอพยาบาทสังกัปป์ กับอวิหิงสาสังกัปป์ กำจัดโทสะ จึงเป็นความกลมกลืนต่อเนื่องประสานกันทุกด้าน

อย่างไรก็ดี การก้าวหน้ามาในองค์มรรคเพียง ๒ ข้อเท่านั้น ยังนับว่าเป็นขั้นต้นอยู่ การเจริญปัญญา ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ตามจุดหมาย และแม้การปฏิบัติธรรมแต่ละข้อ ก็มิใช่จะสมบูรณ์ตามขอบเขตความหมายของธรรมข้อนั้นๆ ทันที แต่ต้องคลี่คลายเจริญขึ้นตามลำดับ

ดังนั้น ในที่นี้จึงควรทำความเข้าใจว่า ในสัมมาสังกัปปะ ๓ ข้อนั้น เนกขัมมสังกัปป์ บางทีก็หมายเอาเพียงขั้นหยาบในรูปสัญลักษณ์ คือ การออกบวช หรือปลีกตัวออกไปจากความเป็นอยู่ของผู้ครองเรือน อพยาบาทสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญเมตตาเป็นหลัก และอวิหิงสาสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญกรุณาเป็นสำคัญ

ปัญญาที่เจริญในขั้นนี้ แม้จะเป็นสัมมาทิฏฐิ มองเห็นตามความเป็นจริง แต่ก็ยังไม่บริสุทธิ์เป็นอิสระรู้แจ้งเห็นแจ้งเต็มที่ จนกว่าจะถึงขั้นมี อุเบกขา ซึ่งอาศัยสมาธิเป็นบาทฐาน

อนึ่ง แม้แต่เมตตา ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เริ่มเจริญได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการปฏิบัติธรรม ก็มิใช่เป็นข้อธรรมที่ง่ายนัก อย่างที่มักเข้าใจกันอย่างผิวเผิน เพราะเมตตาอย่างที่พูดถึงกันง่ายๆ ทั่วๆ ไปนั้น หายากนักที่จะเป็นเมตตาแท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น เพื่อช่วยป้องกันความเข้าใจผิดที่เป็นผลเสียหายแก่ธรรม ในขั้นต้นนี้ ควรทราบหลักเบื้องต้นบางอย่างไว้เล็กน้อยก่อน

เมตตา หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใฝ่ใจหรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

เมตตาเป็นธรรมกลางๆ กลางทั้งในแง่ผู้ควรมีเมตตา และในแง่ผู้ควรได้รับเมตตา จึงควรมีทั้งผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ต่อผู้น้อย คนจนต่อคนมี และคนมีต่อคนจน ยาจกต่อเศรษฐี และเศรษฐีต่อยาจก คนฐานะต่ำต่อคนฐานะสูง และคนฐานะสูงต่อคนฐานะต่ำ คฤหัสถ์ต่อพระสงฆ์ และพระสงฆ์ต่อคฤหัสถ์ เป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟังและเจรจาเหตุผลของกันและกัน ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว หรือความเกลียดชังเป็นที่ตั้ง

การที่กล่าวว่า เมตตา (รวมทั้งพรหมวิหารข้ออื่นๆ ด้วย) เป็นธรรมของผู้ใหญ่นั้น อันที่จริง ความเดิมเป็น “ธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่” คือ แปลคำว่า “พรหม” ในพรหมวิหารว่า “ท่านผู้เป็นใหญ่”

พรหม หรือท่านผู้เป็นใหญ่ ในที่นี้ หมายถึงผู้ประเสริฐ คือ ผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม มิใช่หมายถึงผู้ใหญ่ในความหมายอย่างที่เข้าใจกันสามัญ

ทุกคนควรมีพรหมวิหาร ทุกคนควรมีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไม่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ในเมื่อปัจจุบันเข้าใจกันแพร่หลายทั่วไปเสียแล้วว่า พรหมวิหาร มีเมตตา เป็นต้น เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็ควรทำความเข้าใจในแง่ที่ว่า ความหมายเช่นนั้น มุ่งเอาความรับผิดชอบเป็นสำคัญ คือ เน้นว่า ในเมื่อทุกคนควรบำเพ็ญพรหมวิหาร ผู้ใหญ่ ในฐานะที่เป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ก่อน

ถ้าไม่รีบทำความเข้าใจกันอย่างนี้ ปล่อยให้ยึดถือปักใจกันว่า เมตตาก็ดี พรหมวิหารข้ออื่นๆ ก็ดี เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นความเข้าใจที่เขวผิดพลาด การตีความและทัศนคติของคนทั่วไป ต่อธรรมข้อนี้ จะผิดพลาดไปหมด

ข้อควรสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเมตตา ก็คือ สมบัติ และวิบัติของเมตตา สมบัติ ได้แก่ความสมบูรณ์ หรือผลสำเร็จที่ต้องการของเมตตา วิบัติ ได้แก่ ความล้มเหลว ความไม่สำเร็จ การปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนผิดพลาด

เมื่อว่าตามหลัก สมบัติของเมตตา คือ ระงับพยาบาทได้ (พฺยาปาทุปสโม เอติสฺสา สมฺปตฺติ) วิบัติของเมตตา คือ การเกิดสิเนหะ (สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ)

ในแง่สมบัติ ไม่มีข้อสังเกตพิเศษ แต่ในแง่วิบัติ มีเรื่องที่ต้องสังเกตอย่างสำคัญ สิเนหะ หมายถึง เสน่หา ความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล ความพอใจ โปรดปรานส่วนตัว เช่น ปุตตสิเนหะ ความรักอย่างบุตร ภริยาสิเนหะ ความรักใคร่ฐานภรรยา เป็นต้น

สิเนหะ คือเสน่หา เป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง ทำให้ช่วยเหลือกันในทางที่ผิดได้ อย่างที่เรียกว่าเกิด ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรักใคร่) ที่ได้ยินพูดกันว่า “ท่านเมตตาฉันเป็นพิเศษ” “นายเมตตาเขามาก” เป็นต้นนั้น เป็นเรื่องของสิเนหะ ซึ่งเป็นความวิบัติของเมตตามากกว่า หาใช่เมตตาไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเมตตาที่แท้จริงนั้น เป็นธรรมที่เอื้อต่อการรักษาความเที่ยงธรรม เพราะเป็นธรรมกลางๆ ทำให้มีภาวะจิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ที่จะเอนเอียงเข้าหา ปราศจากความเกลียดชังคิดร้าย มีไมตรี ปรารถนาดีต่อคนทุกคนสม่ำเสมอกัน จึงช่วยให้พิจารณาตัดสินและกระทำการต่างๆ ไปตามเหตุผล โดยมุ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่คนทั้งหลาย มิใช่มุ่งสิ่งที่เขาหรือตนชอบหรืออยากได้อยากเป็น

เมตตาที่แท้จริง จะเป็นไปในแบบที่ว่า

“พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ที่พระเทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และต่อพระราหุล ทั่วทุกคน”

ประโยชน์ของเมตตา จะเห็นได้เช่นในกรณีของการถกเถียง การแย้งทางเหตุผล และการตอบโต้ ทำให้ต่างฝ่ายยอมพิจารณาเหตุผลของกันและกัน ช่วยให้คู่โต้บรรลุถึงเหตุผลที่ถูกต้องได้

ดังเช่น เมื่อนิครนถ์ผู้หนึ่งมาเฝ้าสนทนา ใช้คำพูดรุนแรงตำหนิพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสนทนาโต้ตอบตามเหตุผล จนในที่สุด นิครนถ์นั้นกล่าวว่า

“เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมผู้เจริญ เป็นความจริง ท่านพระโคดมเป็นผู้อบรมแล้วทั้งกาย อบรมแล้วทั้งจิต”

“น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเลย ท่านพระโคดมถูกข้าพเจ้าพูดกระทบกระแทก แต่งคำมาไล่เลียงต้อนเอาถึงอย่างนี้ ก็ยังมีผิวพรรณสดใส มีสีหน้าเปล่งปลั่งอยู่ได้ สมเป็นอาการของพระ”

ในกรณีที่เกิดขึ้น เมื่อจะแก้ไขโดยวิธีการแห่งปัญญา ก็ต้องไม่ใช้วิธีดึงดัน หรือมัวฟุ้งซ่านกลัดกลุ้ม แต่ต้องใช้ คิดสืบสาวเหตุปัจจัย และพิจารณาให้เห็นคุณโทษของมัน เช่น พุทธพจน์ที่ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิกาล เมื่อเราเป็น ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดเกิดขึ้นว่า: ถ้ากระไร เราพึงแยกความดำริออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้แล้ว จึงได้แยกกามวิตก และ ออกเป็นฝ่ายหนึ่ง และแยก และ ออกเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง”

“เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นอยู่นั่นเอง เกิดมีกามวิตกขึ้น เราก็รู้ชัดว่า: เราเกิดกามวิตกขึ้นแล้ว ก็แหละ กามวิตกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน”

“เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียนเบียนตน ก็ดี กามวิตกนั้น ก็สลายตัวไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี...ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ทั้งสองฝ่ายก็ดี ว่ามันทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานก็ดี กามวิตกนั้นก็สลายตัวไป เราจึงละ จึงบรรเทากามวิตก ที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น”

“เมื่อเราไม่ประมาท...เกิดมีพยาบาทวิตกขึ้น...เกิดมีวิหิงสาวิตกขึ้น เราก็รู้ชัด (ดังกล่าวมาแล้ว) จึงละ...จึงบรรเทาพยาบาทวิตก...วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2021, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุ ยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงความดำริใดๆ มาก ใจของเธอก็ยิ่งน้อมไปทางความดำรินั้นๆ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเสีย ทำแต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปทางกามวิตก...ฯลฯ...ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็ละทิ้งกามวิตกเสีย ทำแต่เนกขัมมวิตกให้มาก จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปทางเนกขัมมวิตก...”

การปฏิบัติธรรมช่วงแรกตามองค์มรรค ๒ ข้อต้นนี้ สรุปได้ด้วยว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอันไม่ผิดพลาด และเป็นอันได้เริ่มก่อต้นกำเนิดของความสิ้นแล้ว ธรรม ๔ อย่างนั้น คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก สัมมาทิฏฐิ ”

หมายเหตุ:

พึงสังเกตว่า ในแผนผัง หน้า ๗๕๓ ได้แสดงหมวดธรรมสำคัญ ๒ หมวด คือ พรหมวิหาร และ สังคหะวัตถุ ๔ ร่วมไว้กับองค์มรรค ๓ ข้อ คือ

- พรหมวิหาร ๔ อยู่ในฝ่าย สัมมาสังกัปปะ และ

- สังคหวัตถุ ๔ อยู่ในฝ่าย สัมมาวาจา และ สัมมากัมมันตะ

การแสดงหลักการนี้ มีความประสงค์สำคัญ คือ

๑. ให้รู้จักแยกให้ถูกต้อง ระหว่างคุณธรรมที่เป็นพื้นอยู่ในจิตใจ หรือในขั้นความคิด กับคุณธรรมที่แสดงออกภายนอก หรือจริยธรรมในขั้นปฏิบัติการ ไม่ให้สับสนปะปนกัน โดยเฉพาะหลักพรหมวิหาร ๔ นั้น มักถูกเข้าใจสับสนบ่อย คือ ถูกนำไปใช้พูดหรืออธิบาย เหมือนเป็นคุณธรรมขั้นปฏิบัติการ

แต่ความจริง พรหมวิหาร มีเมตตาเป็นต้น เป็นคุณธรรมประจำใจ เป็นคุณภาพจิต หรืออยู่ในระดับความคิด เนื่องในสัมมาสังกัปปะ การฝึกเจริญพรหมวิหาร ก็รวมอยู่ในหมวด สมาธิ หรือ ด้วยเหตุนี้ พรหมวิหาร ๔ จึงจัดเป็น กรรมฐาน หมวดหนึ่งในจำนวน กรรมฐาน ๔๐ คือ เป็นเรื่องของ จิตตภาวนา (ดู วิสุทฺธิ.๒/๘๙-๑๓๑ เป็นต้น)

ส่วนในขั้นปฏิบัติการ มี สังคหวัตถุ ๔ มารับช่วงทำหน้าที่ต่อจาก พรหมวิหารทำให้มีการแสดงออกทางสังคม ถ้าจะใช้พรหมวิหารเช่นเมตตากับการแสดงออกภายนอก ก็ต้องเอาเมตตานั้นไปประกอบการกระทำ เช่น พูดว่า กายกรรม ประกอบด้วยเมตตา วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น แต่ลำพังเมตตา ยังไม่เป็นการกระทำขั้นปฏิบัติการโดยตัวของมันเอง ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา เป็นต้น ในสังคหวัตถุ ซึ่งอยู่ฝ่ายศีล จึงจะเป็นปฏิบัติการทางสังคม

ความเข้าใจในหลักการนี้ จะช่วยให้ชาวพุทธเองใช้หรือปฏิบัติหลักธรรมต่างๆ ได้ถูกชิ้นถูกอันมั่นเหมาะชัดเจนยิ่งขึ้น และจะรู้จุดผิดพลาดแห่งคำกล่าวหาของคนภายนอกที่เคยพูดว่า ชาวพุทธได้รับการสั่งสอนให้ทำดีบำเพ็ญประโยชน์ เพียงด้วยการนั่งนอนแผ่เมตตาอยู่เฉยๆ ในห้อง (หรือในมุ้ง)

๒. ให้เห็นความประสานสัมพันธ์ ระหว่างคุณธรรมในใจของบุคคล กับจริยธรรมภาคปฏิบัติการทางสังคม แสดงถึงความสมบูรณ์ของพุทธธรรม ที่มีคำสอนเป็นระเบียบ มีหลักธรรมครบทุกขั้นตอน

หลักการนี้บอกให้รู้ว่า การบำเพ็ญความดีภายนอก หรือการแสดงออกดีงามทางสังคม จะต้องมีคุณธรรมที่ลึกซึ้งภายในจิตใจเป็นรากฐาน จึงจะเป็นไปโดยจริงใจ บริสุทธิ์ เป็นของแท้ และมั่นคงยั่งยืน งานสังคมสงเคราะห์ ไม่ว่าในรูปของทาน หรืออัตถจริยา เป็นต้น ก็ตาม จะเป็นไปจริงจังโดยบริสุทธิ์ใจ ก็ต่อเมื่อมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐานอยู่ในใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร