วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อนัตตตา และอนัตตลักษณะ

ก) ขอบเขตความหมาย

ขอทวนความก่อนว่า อนัตตตา คือความเป็นอนัตตา มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมมากกว่า
ความไม่เที่ยงและความเป็น ขอบเขตนั้นกว้างแคบกว่ากันแค่ไหน เห็นได้ชัดเจนทันทีในที่แสดง
หลักนั้นเอง คือ

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา - สังขาร ทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา - สังขาร ทั้งปวง เป็นทุกข์

๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - ธรรม ทั้งปวง เป็นอนัตตา

พุทธพจน์แสดงหลักธรรมนิยาม อันบ่งบอกถึงไตรลักษณ์นี้ ชี้ชัดว่า เฉพาะสังขารเท่านั้นที่เป็น
อนิจจังและเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งสิ้น คือ ยังมีธรรมบางอย่างที่ไม่เป็นอนิจจังและไม่เป็นทุกขัง
ได้แก่ธรรมที่ไม่เป็นสังขาร

แต่ธรรมทุกอย่าง รวมทั้งธรรมที่ไม่เป็นสังขารนั้นด้วย เป็นอนัตตา คือล้วนมิใช่ อัตตาไม่
มีอัตตา ไม่เป็นอัตตา หมดทั้งสิ้น ไม่ยกเว้นสิ่งใดทั้งนั้น ไม่มีอะไรมีอัตตา ไม่มีอะไรเป็นอัตตาเลย

คำว่า “ธรรม” ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือคำว่า “ธรรม” ไม่ว่าสิ่งใดๆ ใช้
คำว่าธรรมเรียกได้ทั้งหมด

เมื่อธรรม ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรม จึงจำแนกออกไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่อาจจัดประมวล
ได้เป็นกลุ่มเป็นประเภท

การจัดกลุ่มหรือประเภทที่เข้ากับเรื่องในที่นี้ คือ ธรรม ทั้งปวงจำแนกเป็น ๒ จำพวก ได้แก่ สัง
ขตธรรม และอสังขตธรรม

สังขตธรรม คือ ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือสภาวะที่เกิดจากปัจจัยหนุนเนื่องกันขึ้นมา เรียก
ง่ายๆ ว่า “สังขาร” ได้แก่ รูปธรรมและนามธรรมทั่วไป ที่จัดเข้าใน ขันธ์ ๕

อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง หรือสภาวะที่มิใช่เกิดจากปัจจัยหนุนเนื่องกันขึ้นมา
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วิสังขาร” ได้แก่ สภาวะอันพ้นจากขันธ์ทั้ง ๕ คือ นิพพาน

โดยนัยนี้ จึงแสดงหลักธรรมนิยามแบบขยายความได้ ดังนี้

๑. สังขาร คือ สังขตธรรม (ขันธ์ ๕) ทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สังขาร คือ สังขตธรรม (ขันธ์ ๕) ทั้งปวง เป็นทุกข์

๓. ธรรม คือ สังขตธรรม และอสังขตธรรม ทั้งปวง ไม่มีไม่เป็นอัตตา

พึงสังเกตไว้ให้ตระหนักชัดว่า พระพุทธเจ้าตรัสมาตามลำดับใน ๒ ข้อแรก ทั้งข้อไม่เที่ยง และข้อ
เป็นทุกข์ เหมือนกันว่า “สังขาร ทั้งปวง” แต่พอถึงข้อ ๓ ที่เป็นอนัตตา ทรงเปลี่ยนเป็น “ธรรม ทั้งปวง”

เมื่อมองตรงตามพุทธพจน์นี้ พุทธประสงค์ หรือพุทธาธิบายเกี่ยวกับขอบเขตแห่งความหมายของ
อนิจจา ทุกขตา และ อนัตตตาก็ชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้ว ว่าข้อไหนแค่ใด ไม่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ข) ความหมายพื้นฐาน

อนัตตา จะแปลว่า ไม่เป็น อัตตา หรือไม่มีอัตตา คือ ไม่เป็นตัวตน หรือไม่มีตัวตน ก็ได้ ที่ว่า ธรรมทั้ง
ปวงเป็นอนัตตา ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอยู่หรือเป็นไปของมัน เป็น
ธรรมดาอย่างนั้นๆ เอง ไม่เป็นไม่มีตัวตนที่จะครอบครองสั่งบังคับอะไรให้เป็นหรือให้ไม่เป็น
อย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ปรารถนา

ในเมื่ออนัตตตาปฏิเสธความเป็นอัตตา ถ้าจะเข้าใจความเป็นอนัตตา ก็ต้องเข้าใจความหมาย
ของอัตตานั้นก่อน

อัตตา (เรียกอย่างสันสกฤตว่า อาตมัน) คือ ตัวตนอันแท้อันจริง ที่เป็นแก่นเป็นแกนหรือซึมแทรก
ซ้อนแฝงหรือโอบคุมสิ่งนั้นๆ อันเที่ยงแท้ถาวร เป็นตัวอยู่ตัวยืนตัวคงที่ ซึ่งสิงอยู่ สถิตอยู่ เป็นเจ้า
ของ เป็นผู้ครอบ ครอง เป็นตัวผู้ทำการ เป็นตัวผู้เสพเสวยความรู้สึกต่างๆ อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์
ทั้งหลาย รวมทั้งอยู่เบื้องหลังชีวิตนี้ ซึ่งมีอำนาจในตัว สามารถบงการหรือบังคับบัญชาสิ่งนั้นๆ ให้เป็น
ไปตามต้องการ หรือตามปรารถนา

ในลัทธิศาสนาบางพวก สอนซ้อนลึกลงไปอีกว่า เบื้องหลังโลกแห่งปรากฏการณ์ทั้งหมด และเหนือ
อัตตาหรืออาตมันของสัตว์และสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ มีอัตตาสูงสุดที่มีอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง
ซึ่งเป็นตัวผู้สร้างและกำหนดจัดสรรบันดาลบงการทุกสิ่งทุกอย่าง หรือเป็นแหล่งที่มาและที่กลับ
เข้าไปรวมสุดท้ายของสรรพสิ่งสรรพชีพ ดังที่ในศาสนาฮินดูเรียกว่า พรหมัน หรือ ปรามาตมัน

สาระสำคัญของหลักอนัตตตา ก็คือการปฏิเสธความมีอยู่ของอัตตาที่ว่ามานี้ โดยสอนให้รู้ว่า อัตตา
นั้นเป็นเพียงภาพที่เกิดจากการยึดถือของมนุษย์ปุถุชน ที่ไม่มองเห็นสภาวธรรมคือสิ่งทั้งหลายตามที่
มันเป็น แต่มนุษย์ปุถุชนนั้นได้สร้าง(ภาพ)อัตตาหรือตัวตนขึ้นมาซ้อนไว้บนสภาวธรรม และ(ภาพ)อัตตา
หรือตัวตนนั้นเอง ก็บดบังเขาไม่ให้มองเห็นสภาวธรรม

ความรู้เข้าใจอนัตตตา จะไถ่ถอนความยึดถือนั้น และสลาย(ภาพ)อัตตาหรือตัวตนที่ซ้อนบด
บังสภาวธรรมลงไป ทำให้รู้เห็นสภาวธรรมคือสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

หลักอนัตตตาเป็นเรื่องของความรู้เข้าใจมองเห็นด้วยปัญญาตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันว่า สิ่ง
ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นสภาวธรรม ซึ่งมีอยู่เป็นอยู่และเป็นไปตามสภาวะ หรือตามธรรมดาของมันๆ
ไม่มีอัตตาหรือตัวตนอะไรเป็นแก่นเป็นแกนหรือสิงซ้อนแฝงโอบคุมกุมไว้ ที่จะเป็นเจ้าของครอบ
ครองครอบงำบงการบัญชา ไม่ขึ้นต่ออำนาจของใคร ไม่ว่าอยู่ข้างใน หรือจากข้างนอก

จะเห็นว่า ความหมายพื้นฐานแห่งความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรม หรือ
อสังขตธรรม ไม่ว่าสังขาร หรือ วิสังขาร ก็ง่ายๆ สั้นๆ เหมือนกันหมดว่า สิ่งทั้งปวงนั้น ล้วนเป็นสภาว
ธรรม ซึ่งมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน และเป็นอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมันๆ ถ้ามีอัตตา
เป็นแก่นเป็นแกนแฝงซ้อนหรือโอบคุม สภาวธรรมก็เป็นอยู่เป็นไปตามภาวะที่เป็นอย่างนั้นๆ ตาม
ธรรมดาของมันไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง สภาวธรรมก็มีอยู่เป็นอยู่ของมันอย่างนั้นๆ จึงชัดเจนแน่
แท้ว่าอัตตาไม่มีจริง

แต่ในตอนที่อธิบายขยายความหมายออกไป จุดที่แยกกัน หรือทำให้มีรายละเอียดของคำอธิบาย
ต่างกัน ก็คือ สภาวะของสังขตธรรม กับสภาวะของอสังขตธรรม หรือธรรมดาของสังขาร กับธรรมดา
ของวิสังขาร ที่เป็นคนละอย่างต่างกันไป

ถ้าเป็นอสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิ พพาน ก็ชัดอยู่แล้วว่า นิพพานนั้นเป็นธรรมธาตุ อันดำรง
อยู่ตามสภาวะของมัน มีอยู่ ตามธรรมดาของสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัย เป็นนิสสัตตะนิชชีวะ มิใช่สัตว์
บุคคลตัวตนเราเขา ไม่เป็นของใคร ไม่ขึ้นต่อใคร ไม่มีใครกำกับบังคับควบคุม ไม่มีตัวทำการที่จะดล
บันดาลอะไรแก่ใครๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน สังขตธรรม คือสังขารทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ ก็ชัดอยู่แล้วเช่นเดียวกัน คือ ทุกอย่างนั้น
ดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน แต่เป็นธรรมดาของสังข
ตธรรม ซึ่งตรงข้ามกับธรรมดาของ อสังขตธรรม กล่าวคือ มีอยู่ ตามธรรมดาของสังขตธรรม
ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ซึ่งก็ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของใคร ไม่มีตัวตน
อะไรสิงซ้อนอยู่อาศัยที่จะเป็นตัวทำการในการเสพเสวย สั่งบังคับ หรือมีอำนาจบงการบัญ
ชาให้ขันธ์ ๕ นั้น ไม่ว่าทั้งหมด หรือแต่ละอย่าง ให้เป็นไปตามความต้องการของตน โดยเป็น
อิสระจากการทำตามหรือทำที่เหตุปัจจัย

ความหมายพื้นฐานที่ท่านอธิบายอนัตตา/ความเป็นอนัตตา/ความไม่เป็นไม่มีตัวตนนี้ โดย
ทั่วไปใช้คำสั้นๆ เพียงว่า “อวสวตฺตนฏฺเน” หรือ “อวสวตฺตนโต” (“อวสวตฺติโต” บ้างก็มี)
คือ (ที่ว่าเป็นอนัตตา ก็เพราะว่า หรือด้วยความหมายว่า) ไม่เป็นไปในอำนาจ คือไม่อยู่ใต้
อำนาจ ใครจะเรียกร้องหรือสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ตามความปรารถนาของตน
ไม่ได้ (สำนวนเก่าว่า ไม่อาจได้ตามปรารถนาของตน)

ความหมายพื้นฐานของอนัตตตา เป็นดังที่ว่ามานี้

ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย

ก่อนจะอธิบายต่อไป พึงทำความเข้าใจก่อนว่า พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่องตัวตนหรือ
อัตตาเพียงในระดับสมมติเท่านั้น คือเป็นสมมติสัจจะ ไม่ถือว่าเป็นของมีจริงแท้ ดังจะเห็นได้
ชัดเจนตามหลักที่มีแสดงไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ไม่ยกเรื่องอัตตาขึ้นตั้งเป็นหลัก
คือไม่ถือว่ามีอัตตาจริงเลย ดังนี้

“ดูกรเสนิยะ ศาสดานี้ใด ทั้งในปัจจุบัน ก็ไม่บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดย
ความเป็นของแท้ และในเบื้องหน้า ก็ไม่บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความ
เป็นของแท้ นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ”

โดยนัยนี้ พระพุทธศาสนาจึงไม่ได้ปรารภที่จะพิจารณา และไม่ได้ยกเป็นข้อที่จะพิจารณา
ว่า อัตตามีหรือไม่ หรืออะไรๆ เป็นอัตตาหรือไม่ เรียกว่าไม่ต้องพูดถึงเรื่องอัตตา (ในแง่
หรือในระดับปรมัตถสัจจะ) กันเลย

พร้อมนั้นก็มีพุทธพจน์สำทับอีกว่า

“บุคคลผู้มีความเห็นถูกต้องสมบูรณ์ (ทิฏฐิสัมบัน คือพระโสดาบัน) เป็นผู้ไม่อาจเป็น
ไปได้ ที่จะยึดถือธรรมใดๆ ว่าเป็นอัตตา”

เมื่อบรรลุธรรมสูงสุด คือเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีเรื่องที่จะมานึกถึงอัตตาอีกเลย ดังที่
พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระอรหันต์ว่าเป็น อตฺตฺชโห/อัตตัชหะ แปลว่า “ผู้ละอัตตา” หรือทิ้ง
อัตตาแล้ว คือละการถืออัตตา หรือเลิกเห็นว่าเป็นหรือมีตัวตนแล้ว

บางแห่งก็ตรัสแบบอธิบายว่า พระอรหันต์นั้น อตฺตํ ปหาย อนุปาทิยาโน แปลว่า ละอัตตา
แล้ว ไม่ยึดติดถือมั่นอะไรๆ

เพื่อให้เป็นข้อสรุปที่อ้างอิงกันได้สะดวก ในพระไตรปิฎกก็ได้แสดงเป็นคำวินิจฉัยไว้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์และเป็น อนัตตา นิพพานและบัญญัติ
เป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตตาจะไม่มีจริง แต่การยึดติดถืออัตตาก็มีอยู่ และมันก็เป็นสิ่งที่คนทั่ว
ไปยึดติดถือมั่นกันอย่างยิ่ง พระพุทธศาสนา จึงมุ่งมาปฏิเสธอัตตาที่เขายึดกันอยู่ คือมุ่ง
ให้คนละเลิกการยึดติดถือมั่นที่เขาจมวนกันอยู่นั้น

พูดง่ายๆ ว่า ในพระพุทธศาสนา อัตตาไม่ได้เป็นสาระหรือเป็นเรื่องที่ใส่ใจหรือนึกถึงหรือคำ
นึงว่ามีอยู่จริงเลย แต่พระพุทธศาสนามองไปที่การยึดติดถือมั่นในอัตตา หรืออัตตาที่มีอยู่
ในความยึดติดถือมั่นของคนทั้งหลายนั้น อันจะต้องสลัดถอนทิ้งไปเสีย

พระพุทธศาสนาจึงมีแต่สอนให้คนละเลิกการยึดติดถือมั่นในอัตตานั้น และเมื่อถอนละความ
ยึดติดนั้นได้แล้ว ก็จบเรื่อง หมดภาระ ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดถึงอัตตาอีก

รวมความว่า เมื่อรู้สังขารหรือขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนัตตาแล้ว ก็จบเรื่องอัตตา-อนัตตา ผู้บรรลุ
ธรรมถึงอสังขตธรรมแล้ว ก็ไม่คิดถึงและไม่พูดถึงอะไรอีกว่าเป็นอัตตา และอสังขตธรรม
คือนิพพานก็ไม่มีใครต้องมาอธิบายว่าเป็นอนัตตาอย่างไรอีก

การที่ไม่ต้องอธิบายเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา/ไม่เป็นอัตตา สรุปได้ว่า มีเหตุผล ดังนี้

ก) สิ่งที่คนทั้งหลายยึดถือกันอยู่และสามารถยึดถือได้ ว่าเป็นอัตตา ก็คือและแค่สังขาร
หรือขันธ์ ๕

ข)ปุถุชน คือคนทั่วไป รู้จัก เข้าใจ คิดนึกถึงอะไรๆ ได้ในขอบเขตของขันธ์ ๕ แม้เมื่อ
พูดถึงนิพพาน นิพพานที่เขาพูดถึงนึกถึง ก็ไม่ใช่นิพพานจริง แต่เป็นเรื่องของขันธ์ ๕ นั่น
เอง ส่วนอริยชนก็รู้เข้าใจถึงนิพพานเองแล้ว และหมดความถือความเห็นว่าเป็นอัตตา
ไปแล้ว จึงไม่พูดและไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้อีก ถ้าพูด ก็มีแต่บอกว่าพระอรหันต์เป็นผู้ละหมด
อัตตาแล้ว (อัตตัญชหะ) ไม่ถืออะไรเป็นอัตตาเลย

ค) งานที่ผู้สอนจะต้องทำในเรื่องอัตตานั้น ก็คือและแค่ให้คนรู้แล้วละความเห็นผิดที่ทำให้
เขายึดติดเอาสังขาร หรือขันธ์ ๕ เป็นอัตตา

ง) เมื่อรู้แล้ว ละความเห็นผิด เลิกยึดติดเอาขันธ์ ๕ เป็นอัตตาแล้ว ก็ไม่ไขว่คว้าหายึดอะไร
เป็นอัตตาอีก เพราะได้ประจักษ์แจ้งอสังขตธรรมคือนิพพาน ที่พ้นจากขันธ์ ๕ และพ้นจาก
การยึดถืออัตตาพร้อมไปด้วยกัน

(ผู้มีปัญญารู้แจ้งนิพพาน มองเห็นอสังขตธรรมคือนิพพานนั้นตามสภาวะของมันเอง อันไม่
มีตัวตนอะไรที่ไหนมาสวมมาซ้อนมาครอบมาครอง เรียกว่าเห็นความเป็นอนัตตาของ
อสังขตธรรมเองแล้ว ก็ไม่ต้องมาพูดมาอธิบายอะไรกันอีก พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อพ้นความ
เป็นปุถุชนไปแล้ว เป็นอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ได้เห็นประจักษ์ความจริงแล้ว ทั้ง
ความยึดติดและความสงสัยไขว่คว้าหาอัตตาก็หมดสิ้นไปแล้ว การที่จะต้องพูดถึงความเป็น
อนัตตาของอสังขตธรรม ก็ยุติไปเอง หรือพูดสั้นๆว่า ไม่มีเรื่องอัตตาอะไร ที่จะขึ้นไปสู่การ
ยึดถือ การสงสัย หรือการถกเถียงอย่างใดๆ ของอริยชน)

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในคำอธิบายสามัญเกี่ยวกับอนัตตา ท่านจึงมุ่งไปที่สังขตธรรมคือ เบญจขันธ์
ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะเกี่ยวข้องกับคนทั่วไป หมายความว่ามนุษย์ปุถุชนก็คิด
นึกพูดกันอยู่แค่นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร