วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




57ac2fc8540b3156789aa698.png
57ac2fc8540b3156789aa698.png [ 198.2 KiB | เปิดดู 796 ครั้ง ]
บันทึกที่ ๒: เรื่องความหมายของ ทิฏฐธัมมิกะ และ สัมปรายิกะ

ทิฏฐธัมมิกะ และ สัมปรายิกะ มีรูปศัพท์ที่เป็นคำนามว่า ทิฏฐธรรม และ สัมปรายะ ตามลำดับ
คำทั้งสี่นี้ มีใช้มากมาย ทั้งในบาลีและในคัมภีร์ชั้นหลัง (และมักพบในความหมายว่า ปัจจุบัน หรือ
ชีวิตนี้ กับเบื้องหน้า เลยจากชีวิตนี้ไป หรือโลกหน้า เช่น ม.มู. ๑๒/๑๙๘/๑๗๒; ขุ.สุ. ๒๕/๓๐๖/๓
๕๒; ฯลฯ) โดยเฉพาะที่คุ้นหูคุ้นตานักศึกษาธรรมมาก ได้แก่ที่มากับคำว่า อัตถะ เป็น ทิฏธัมมิกัตถะ
และสัมปรายิกัตถะ แปลกันว่า ประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ภายหน้า บางคราวมี ปรมัตถะ (ประ
โยชน์อย่างยิ่ง หรือประโยชน์สูงสุด) ตามมาด้วย รวมเป็นอัตถะ หรือประโยชน์ ๓ ขั้น

อย่างไรก็ดี ในคัมภีร์ขั้นต้นทีเดียว มีแต่อัตถะ ๒ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ และ สัมปรายิกัตถะ เท่านั้น
มาคู่กัน (ดู วินย.๕/๒/๔; ที.ปา. ๑๐/๒๒๖/๒๗๔; ม.ม. ๑๓/๕๙๖/๕๔๓; สํ.ส. ๑๕/๓๖๗/
๑๒๐; สํ.ส. ๑๕/๓๗๙/๑๒๖; องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๓/๕๓; องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๒๔/๔๐๗; ขุ.อิติ. ๒๕/
๒๐๑/๒๔๒) และในกรณีเช่นนั้น สัมปรายิกัตถะ หมายถึงประโยชน์ที่สูงกว่า หรือเลยจากทิฏฐธัมมิกัต
ถะขึ้นไปทั้งหมด รวมทั้งประโยชน์ขั้นปรมัตถ์ด้วย

ส่วนคำว่า ปรมัตถะ ท่านใช้ลำพังต่างหาก เป็นคำโดดๆ ไม่รวมอยู่ในชุด โดยถือเป็นไวพจน์อย่าง
หนึ่งของนิพพาน (เช่น ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๖/๓๓๘; ขุ.สุ. ๒๕/๓๑๓/๓๖๖; ม.ม. ๑๓/๖๕๗/๖๐๕)
ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นรอง จึงจัดเข้าชุดเป็นอัตถะ หรือประโยชน์ ๓ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ
และปรมัตถะ ( ๓๕/๒๔๐/๑๖๕ (ขุ.จู. ๓๐/๖๗๓/๓๓๓; ขุ.จู. ๓๐/๗๕๕/๓๘๙) ในกรณีเช่นนี้
สัมปรายิกัตถะ ย่อมถูกจำกัดความหมายให้แคบเข้า เป็นประโยชน์เบื้องหน้า หรือเกี่ยวกับโลกหน้า
ชั้นสวรรค์ ที่ต่ำกว่าปรมัตถ์ คือยังไม่ถึงนิพพาน

ที่ว่า “สัมปรายิกัตถะ” เดิมหมายถึงประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไปทั้งหมด รวมทั้งปรมัตถะด้วยนั้น เช่น เมื่อ
คราวที่ท่านพรหมายุพราหมณ์ผู้เฒ่า ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ประทานโอกาสให้ท่านถาม
ปัญหาได้ ทั้งที่เกี่ยวกับทิฏฐธัมมิกัตถะ และสัมปรายิกัตถะ พรหมายุพราหมณ์ดำริว่า สำหรับทิฏฐ
ธัมมิกัตถะ ตัวท่านเองชำนาญอยู่แล้ว มีแต่คนอื่นมาถามท่าน ดังนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




58ef74c8bfa1e15b67603051.png
58ef74c8bfa1e15b67603051.png [ 586.76 KiB | เปิดดู 796 ครั้ง ]
ท่านจึงจะถามปัญหาเกี่ยวกับสัมปรายิกัตถะ คำถามเกี่ยวกับสัมปรายิกัตถะของพรหมายุพราหมณ์
มีว่า “ทำอย่างไร บุคคลจึงจะเป็นพราหมณ์ เป็นผู้จบพระเวท (เวทคู) เป็นผู้ทรงไตรเพทหรือไตร
วิชชา (เตวิชชะ) เป็นผู้เจนศรุติ คือตัวบทแห่งพระเวท (โสตถิยะ) เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ลุไกวัลย์
(เกวลี) เป็นมุนี และเป็นพระพุทธเจ้า” (ม.ม. ๑๓/๕๙๖/๕๔๓)

แม้คำว่า “สัมปรายิกะ” ล้วนๆ ก็มีความหมายกว้างถึงชั้นปรมัตถ์ด้วยเช่นกัน ดังในกัณณกัตถลสูตร
(ม.ม. ๑๓/๕๗๕-๕๗๙/๕๒๐-๕๒๓) พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระพุทธเจ้าถึงความแตกต่างระ
หว่าง วรรณะทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าตรัสตอบแสดงความแตกต่างในแง่ทิฏฐธัมมิกะว่า เมื่อถือตามอาการ
แสดงความเคารพกัน กษัตริย์และพราหมณ์ก็เป็นวรรณะสูง แต่ในแง่สัมปรายิกะ ความแตกต่างกัน
ไม่เกี่ยวกับวรรณะ ความแตกต่างขึ้นอยู่กับความเพียรพยายามของแต่ละคน เมื่อถึงวิมุตติแล้ว ไม่มี
อะไรต่างกัน และมีข้อความตอนหนึ่งในคัมภีร์ มหานิทเทส(ขุ.ม. ๒๙/๙๓/๘๖.; ขุ.ม. ๒๙/๑๕๒/๑๒๔)
ว่า “บุคคลมองเห็นอานิสงส์ ๒ ประการแห่งทิฏฐิ (ทฤษฎี) ของตน คือ อานิสงส์ที่เป็นทิฏฐธัมมิกะ และ
อานิสงส์ที่เป็นสัมปรายิกะ; อานิสงส์ที่เป็นทิฏฐธัมมิกะของทิฏฐิเป็นไฉน? กล่าวคือ ศาสดามีทิฏฐิ
อย่างใด สาวกทั้งหลายก็พลอยมีทิฏฐิอย่างนั้น, พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
ศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช อันสืบเนื่องมาแต่การนั้น; อานิ
สงส์ที่เป็นสัมปรายิกะของทิฏฐิ เป็นไฉน? กล่าวคือ บุคคลนั้นหวังผลต่อไปข้างหน้าว่า ทิฏฐินี้พอจะทำ
ให้เป็นนาค เป็นครุฑ...เป็นอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็นเทพได้ ทิฏฐินี้ พอเพียงแก่สุทธิ วิสุทธิ บริสุทธิ์
มุตติ วิมุตติ บริมุตติ เราจักบริสุทธิ์...หลุดพ้นได้ด้วยทิฏฐินี้”

ในชั้นอรรถกถา ท่านมักแสดงความหมายจำกัดลงไปทีเดียวว่า ทิฏฐธัมมิกะ หมายถึง มีในอัตภาพนี้
เกิดขึ้นในชาตินี้ สัมปรายิกะ หมายถึง มีในปรโลก เกิดขึ้นในโลกหน้า หรือชีวิตหน้า (เช่น องฺ.อ.๒/๑;
อิติ.อ.๑๐๓) แม้อรรถกถาที่อธิบายเรื่องนิพพานธาตุ ๒ อย่าง ก็อธิบายทำนองนี้เช่นกัน คือกล่าวว่า
ทิฏฐธัมมิกะ หมายถึง มีอยู่ เป็นไปในอัตภาพนี้, สัมปรายิกะ หมายถึง มีในเบื้องหน้า คือภายหลัง
จากทำลายขันธ์ (อิติ.อ.๒๑๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2022, 20:41 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร