วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2022, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2022-04-17-10-20-40.jpg
SmartSelectImage_2022-04-17-10-20-40.jpg [ 206.16 KiB | เปิดดู 1406 ครั้ง ]
๓๑๗
พระผู้มีพระภาคย่อทางไกลให้ใกล้ได้
พระองค์เสด็จไปสู่เทวโลกเมี่อเสร็จสิ้นยมกปาฏิหาริย์ ทรงย่อภูเขายุคลธรและภูเขาสิเนรุให้ใกล้
ยกพระบาทข้างหนึ่งจากพื้นแผ่นดิน วางบนภูเขายุคลธร แล้วยกพระบาทข้างที่ ๒ วางไว้บนเขาสืเนรุ

วิสุทธิมรรคมหาฎีกาอธิบายเรื่องนี้ว่า
ยมกปาฏิหาริยาวสาเน(เมื่อเสร็จสิ้นยมกปาฏิหารริย์) แต่ในที่อื่น(อรรถกถาของลักขณสูตร)
ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของพระลักษณะ ผู้มีปัญญาพึงพิจารณาเอาข้อความทั้งสองอย่างไม่ขัดแย้งกัน

ข้อนี้หมายความว่า ในอรรถกถาของทีฆนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ลักขณสูตร คำอธิบายลักษณะ
ฝ่าพระบาทเสมอกัน(สุปติฏฐิตปาทตาลักขณวัณณนา) กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงเหยียบพระบาท
ในสถานที่ลุ่ม สถานที่นั้นจะสูงขึ้นจนราบเรียบเองเหมือนสูบลมเหมือนนายช่างทองที่อัดแน่นด้วยลม
หรือเมื่อทรงเหยียบพระบาทในสถานที่ที่สูงเหมือนภูเขาสูงใหญ่ สถานที่นั้นจะน้อมงงมใกล้พระบาทเอง
เหมือนหน่อหวายที่ถูกลนไฟ ตามคำอธิบายนี้พระพุทธองค์มิได้ทรงใช้ฤทธิ์ย่อทางไกลให้ใกล้
แต่เป็นปาฏิหาริย์ที่สำเร็จตามธรรมชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะพระองค์ได้สั่งสมบารมี
ด้วยการดำรงมั่นในกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็ยเวลาช้านาน ดังข้อกล่าวว่า

ถ้าพระตถาคตจะยกย่างพระบาทโดยดำริว่า เราจักเหยียบเหวลึกหลายร้อยชั่วคน ทันใดนั้น
ที่ลุ่มก็นะสูงขึ้นเป็นที่เสมอกันกับแผ่นดิน เหมือนสูบลมอัดแน่นของนายช่างทองที่อัดแน่นด้วยลม
แม้สถานที่สูงก็ยุบลงภายใน เมื่อพระตถาคตย่างพระบาทโดยดำริว่า เราจักเหยียบในที่ไกล
แม้ภูเขาใหญ่เท่าภูเขาสิเนรุก็จะน้อมลงมาใกล้พระบาท เหมือนหน่อหวายที่ถูกลนไฟ

ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อพระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้วย่างพระบาทโดยดำริว่า เราจักเหยียบภูเขา
ยุคลธร ภูเบานั้นก็จะน้อมลงมาใกล้พระบาท พระองค์ทรงเหยียบภูเขานั้น แล้วทรงเหยียบถึงภพดาวดึงส์
ด้วยพระบาทที่สอง สถานที่นั้นอันจักรลักษณะประดิษฐานไม่อาจเป็นสถานที่ราบเรียบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2022, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามใครอื่นทำได้อีกหรือ

ตอบว่า พระโมคคัลลานเถระทำได้ กล่าวคือ
ทำให้บริษัท ๑๒ โยชน์ พระเถระย่นทางไปสู่เมืองสังกัสสะ ๓๐ โยชน์
ทำให้บริษัท ๑๒ โยชน์ ผู้บริโภคอาหารแล้วออกจากกรุงสาวัตถีให้ถึงได้ทันที

อีกเรื่องหนึ่ง แม้พระจูฬสมุททเถระลังกาทวีปก็เคยทำ เล่าสืบกันมาว่า ในสมัยข้าวยากหมากแพง
ภิกษุ ๗๐๐ รูปเข้าไปหาพระเถระแต่เช้าตรู่ พระเถระคิดว่า ภิกษุสงฆ์มีมาก จักมีสถานที่บิณฑบาตที่ไหน
ไม่เห็นในทวีปลังกาทั้งหมด แต่เห็นว่าจักมีในเมืองปาฏลีบุตรฟากโน้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายถือบาตร
และจีวรกล่าวว่า มาเถิดผู้มีอายุ เราจักไปบิณฑบาต แล้วย่นแผ่นดินไปสู่เมืองปาฏลีบุตร
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า เมืองนี้เป็นเมือวไหนขอรับ พระภิกษุตอบว่า เมืองปาฏลีบุตร อาวุโส

ท่านขอรับเมืองปาฏลีบุตรอยู่ไกล

ผู้มีอายุ พระเถระผู้เฒ่าย่นทางให้ใกล้ได้

มหาสมุทรอยู่ไหน ขอรับ

อาวุโส ท่านข้ามแม่น้ำเชี่ยวสายหนึ่งมาในระหว่างทางมิใช่หรือ

จริงละ ขอรับ แต่มหาสมุทรกว้างใหญ่

อาวุโส พระเถระผู้เฒ่าทำของใหญ่ให้เล็กได้

แม้พระติสสทัตตเถระก็เหมือนพระจูฬสมุททเถระนี้ ท่านสรงน้ำในเวลาเย็น
ห่มผ้าอุตตราสงค์ (ผ้าจีวร) แล้วเกิดคิดขึ้นว่า จักไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ ได้ทำอยู่ใกล้

ข้อความว่า"ต้นพระศรีมหาโพธิ" คือ ต้นพระศรีมหาโพธิอันเป็นบัลลังก์แห่งชัยชนะ หมายความว่า
"เกิดความคิดขึ้นได้ทำให้อยู่ใกล้" หมายความว่า ได้ย่อแผ่นดินและมหาสมุทรต่อจากความคิด
ที่เกิดขึ้นนั้นเองแล้วทำให้อยู่ใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2022, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ทรงทำทางใกล้ระหว่างพระองค์กับโจรองคุลิมาลให้ไกลได้

การทำทางใกล้ระหว่างพระองค์กับโจรองคุลิมาลให้ไกล คือ เมื่อพระองค์ทรงปราบโจรองคุลิมาล
ได้ทรงย่นแผ่นดินเสด็จไป แต่ได้เนรมิตทางใกล้ให้ไกลจนโจรองคุลิมาลต้องวิ่งต่อไปนานเพียงใด
ก็ไม่ทันพระพุทธองค์ นอกนั้นเนรมิตร่องน้ำเล็กให้เป็นร่องน้ำใหญ่ และเนรมิตก้อนดินเล็กให้เป็น
เนินดินใหญ่ข้างหน้าโจรองคุลิมาลอีกด้วย ทำให้โจรองคุลิมาลไม่อาจวิ่งทันพระพุทธองค์ได้

จึงสรุปว่าความว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงฤทธิ์ ๓ อย่างในเรื่องนี้ คือทำทางไกลให้ใกล้กับพระพุทธองค์
ทำทางใกล้ให้ไกลกับโจรองคุลิมาล และทำของเล็กให้ใหญ่ ดังข้อความว่า

ข้อความว่า"ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร" หมายความว่า ทรงย่นมหาปฐพีเหมือนให้เหมือนลูกคลื่น
เกิดขึ้นแล้วทรงเหยียบเกลียวคลื่นด้านนอก เกลียวคลื่นด้านในก็ปาากฏออกมา องคุลิมาลทิ้งคันศร
แล้วเดินไป พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเนินใหญ่เบื้องหน้าพระองค์เองประทับอยู่ตรงกลาง โจรอยู่ริมสุด

องคุลิมาลนั้นคิดว่า บัดนี้เราไล่จับสมณะนั้น จึงวิ่งไปด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด พระผู้มีพระภาค
ทรงอยู่ที่ริมสุดของเนิน โจรคุลิมาลอยู่ตรงกลาง เขาคิดว่า เราจักไล่จับสมณะนั้นในที่นี้ จึงวิ่งไปโดยเร็ว
พระผํมีพระภาคทรงแสดงเหมืองหรือเนินดินในเบื้องหน้าโจรนั้น โดยอุบายนี้ พระองค์เสด็จดำเนิน
ไปได้ ๓ โยชน์ โจรเหนื่อยหอบ น้ำลายในปากเหือดแห้ง เหงื่อไหลออกจากรักแร้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2022, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าท่านผู้ทรงฤทธินั้นที่มีจิตชำนาญ(ในสมาบัติ ๘ )ต้องการจะไปสู่พรหมโลก ย่อมอธิษฐานที่ไกล
ให้ใกล้ว่า"จงอยู่ใกล้"ก็เป็นที่ใกล้ได้ ย่อมอธิษฐานที่ใกล้ให้ไกลว่า"จงอยู่ไกล"ก็เป็นที่ไกลได้
ย่อมอธิษฐานของมากให้น้อยว่า"จงน้อย"ก็เป็นของน้อยได้ ย่อมอธิษฐานของน้อยให้มากกว่า"จงมาก"
ก็เป็นของมากได้ เห็นรูปของพรหมนั้นด้วยตาทิพย์ ได้ยินเสียงด้วยหูทิพย์ รู้จิตด้วยเจโตปริยญาณ

ถ้าเธอต้องการจะไปสู่พรหมโลกด้วยกายที่เห็นชัด ย่อมน้อมจิตอธิษฐานด้วยอำนายกาย
ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญา(สัญญาที่ประกอบกับฌานสุข) และลหุสัญญา(สัญญาที่ประกอบ
ด้วยความเบา) ไปสู่พรหมโลกด้วยกายที่เห็นชัด

เธอย่อมเนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจ ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ในเบื้องหน้าของพรหมนั้น หากเธอเดินจงกรม แม้รูปกายเนรมิตก็เดินจงกรมในที่นั้น
ถ้าเธอยืน นั่ง หรือนอน รูปกายเนรมิตก็ยืน นั่ง หรือนอนในที่นั้น ถ้าเธอบังหวนควันพ่นไฟ
แสดงธรรม ถามปัญหา หรือตอลปัญหาที่ถาม แม้รูปกายเนรมิต ... หรือตอบปัญหาถามในที่นั้น
ถ้าเธอยืนสนทนาปราศรัยกับพรหมนั้น แม้รูปกายเนรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นในที่นั้น

โดยแท้จริงแล้ว ท่านผู้ทรงฤทธินั้นทำกิจใดๆ อยู่ รูปกายเนรมิตก็ทำกิจนั้นๆเหมือนกัน

ในพระบาลีนั้น คำว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฐาติ (อธิษฐานไกลให้ใกล้)หมายความว่าท่านผู้ทรงฤทธิ์

ออกจากปาทกฌานแล้วน้อมนึกถึงเทวโลกหรือพรหมโลกที่อยู่ไกลว่า"จงอยู่ใกล้" แล้วบริกรรม
เข้าฌานอีก แล้วจึงอธิษฐานด้วยญานว่า "จงอยู่ใกล้"ก็เป็นที่ใกล้ แม้บทที่เหลือก็มีในเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร