วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 00:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




plbew8.jpg
plbew8.jpg [ 49.47 KiB | เปิดดู 680 ครั้ง ]
อาสิวิโสปมสูตร
นักฆ่า ๕ คน คือ ขันธ์ ๕
บุรุษนั้นหลังจากที่หนีพันจากงูพิษทั้ง ๔ ตัวได้แล้ว ก็ยังมาพบ
เจอนักฆ่าอีกห้าคน ซึ่งเปรียบได้กับขันธ์ ๕ นั่นเอง ตราบใดที่เรายังมี
ขันธ์ ๕ อยู่ ก็เหมือนกับมีนักฆ่าคอยล่าติดตามตัวเราอยู่เสมอ

นักฆ่าเหล่านี้มีได้เป็นมิตรของเรา แต่เป็นศัตรูตัวฉกาจ มิตรนั้นมี
ลักษณะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล คอยช่วยเหลือสนับสนุน แต่นักฆ่า
เป็นศัตรูที่ปองร้าย จะเห็นได้ว่า ขันธ์ ๕ เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ เหมือนนักฆ่า จัดว่าเป็นศัตรูที่จ้องจะทำร้ายเรา
อยู่เสมอ

รูปขันธ์

เราต้องการให้รูปขันธ์ของเราอยู่ในวัยที่สดใสอ่อนเยาว์ ต้องการ
มีรูปร่างสวยงาม แข็งแรง ไม่ต้องการแก่ชรา แต่เราไม่อาจห้ามได้ เมื่อ
กาลเวลาผ่านไป ดวงตาก็เริ่มฝ้าฟาง หูก็ตึง ผมก็หงอก เป็นต้น นอกจาก
นั้นแล้ว ถ้ารูปชันธ์ของเรานี้กระทบกับความเย็นความร้อน ร่างกายก็จะ
เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของดินฟ้าอากาศ เช่น ถ้าเราอยู่ในห้องเย็น
จัดก็จะหนาว ถ้าอยู่ในที่ร้อนจัดก็จะมีเหงื่อไหลมากและทำให้ไม่สบาย

แม้เราต้องการจะให้รูปขันธ์คงอยู่ถาวรตลอดไป แต่มันก็ไม่คงที่
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่พบกับอุปสรรคซึ่งเป็นปัจจัยที่มีสภาพ
ตรงกันข้ามที่เรียกว่า วิโรธิปัจจัย ก็จะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างซัดเจน
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า รูปชันธ์เป็นเหมือนนักฆ่คนแรก

เวทนาขันธ์

นักฆ่าคนที่สอง คือเวทนาขันธ์ (ความรู้สึก) เวทนามี ๓ อย่าง
คือ ความรู้สึกเป็นสุขทางกายและใจ (สุขเวทนา) ความรู้สึกเป็นทุกข์ทาง
กายและใจ (ทุกขเวทนา) และความรู้สึกวางเฉย ไม่สุขไม่ทุกข์ (อุเบกขา-เวทนา)
ทุกคนต่างก็ต้องการให้ตนรู้สึกเป็นสุขอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความ
รู้สึกเป็นสุขทางกาย หรือทางใจ เราก็ต้องการให้ตนมีความสุข เพราะ
ธรรมชาติของคนคือความต้องการมีความสุขตลอดเวลา นั่นก็คือเรารัก
สุขเกลียดทุกข์ ดังพระพุทธดำรัสว่า

ตสฺมา อิเม โภนฺโต สมณพราหมณา สีลวนฺโต กลฺยาณ-
ธมฺมา ชีวิตุกามา อมริตุกามา สุขกามา ทุกฺขปฏิกูลา.
(ที.ม. ๑๐/๔๑๙/๒๘๑)

"ดังนั้น สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ผู้ทรงศีล มีกัลยาณ
ธรรม จึงอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียด
ความทุกข์"

ขอให้สังเกตว่า เวทนาดังกล่าวเป็นสิ่งที่แปรปรวนอยู่ในใจของเรา
เราเสมอ โดยขึ้นอยู่กับอารมณ์ภายนอก มิได้ขึ้นอยู่กับความปรารถนา
ของตัวเราเอง เช่น เมื่อเราได้พบกับอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีทางกาย
เป็นต้นว่าอยู่ในอุณหภูมิที่ดี อยู่ในบ้านที่สบาย สถานที่ที่เหมาะสม จัดว่า
เป็นความสุขทางกาย

เราได้รับอารมณ์ที่ดีทางใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีตามสภาวะที่มี
จริง เช่น เวลาที่เจริญวิปัสสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณ และแผ่มตา หรือ
เป็นอารมณ์ที่ดีทางใจโดยการดำริของใจเราเองโดยที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี
นั่นก็คือกามคุณอารมณ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
เราได้พบกับอารมณ์ที่ดีเหล่านี้ ก็จะเกิดความสุขใจ

ความสุขกาย ความสุขใจ หรือความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ รวม
ไปถึงความรู้สึกวางเฉยนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ภายนอก มีได้ขึ้นอยู่
กับความปรารถนาของเรา มิเช่นนั้นแล้วถ้าเราอยากให้อยู่สบาย ก็คง
สบายได้ตลอดเวลา แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะบางครั้งเราก็เป็นทุกข์กาย
บ้าง เป็นสุขกายบ้าง บางครั้งเราก็ร่ำไห้คร่ำครวญเพราะญาติที่น้อง
เพื่อนสนิทมิตรสหายจากไปบ้าง สูญเสียของรักไปบ้าง อย่างนี้เป็นตัน เรา
มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงทางใจอยู่ตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับอามรมณ์
ภายนอกที่มากระทบใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_bSpAh3o0ytQ.png
segment_regular_bSpAh3o0ytQ.png [ 117.1 KiB | เปิดดู 672 ครั้ง ]
สัญญาขันธ์

นักฆ่าคนที่สาม คือสัญญาขันธ์ ขันธ์ประเภทนี้เป็นความจำได้
หมายรู้เรื่องราวต่างๆ แต่ความจำนั้นก็ไม่แบ่นอนเสมอไป บาครั้งก็
จำได้ บางครั้งก็ลืม ขึ้นอยู่กับสัญญาว่ามีกำลังมากน้อยหรือไม่ ถ้าสัญญา
มีกำลังมาก เราก็จำได้นาน หากสัญญามีกำลังน้อย ความจำก็สั้นลง

จะเห็นได้ว่า วิชาความรู้หรือความชอบใจของแต่ละคนไม่เหมือน
กัน การชอบเรียนวิชาสาขาต่างๆ ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน บางคนเรียน
วิชานี้ไม่ดี แต่อาจจะเรียนวิชาอื่นได้ดี สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาก็คือสัญญา
เก่าของเรา หากเราเคยสั่งสมวิชาความรู้เช่นนี้มามาก เมื่อได้มาเรียนรู้สิ่งนี้
อาจทำให้เรามีความรู้สึกชอบใจและเรียนได้เร็วกว่าบุคคลอื่น สิ่งนี้ถือว่า
เป็นสัญญาเก่า
ในคัมภีร์ฎีกาของพระอภิธรรมกล่าวว่า "ถ้าสัญญาเก่าเป็น
สัญญาที่มีกำลังมาก แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอาจที่จะแก้ไขได้ ดัง
ตัวอย่างเช่น สัญญาเก่าของพวกเดียรถีย์ที่เชื่อมั่นเรื่องอาตมันหรือเรื่อง
วิญญาณว่าเป็นวิญญาณที่เที่ยงบ้าง ขาดสูญบ้าง หากเป็นสัญญาเก่าที่
แน่นแฟ้นมีกำลังมากแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอาจแก้ไขได้

ความจริงแล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงร่างกายของเราว่าประกอบ
ด้วยธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ไม่มีอาตมันหรือกายทิพย์ที่แอบแฝงอยู่ในร่างกาย
แต่บางคนในสมัยพุทธกาลยังมีความยึดมั่นแน่นแฟันในอาตมันดังกล่าว
แม้จะพบพระพุทธเจ้าก็ไม่อาจเพิกถอนสัญญาเก่าได้

ดังเช่นพระสุนักขัตตะ บุตรของเจ้าลิจฉวีพระองค์หนึ่ง เลื่อมใส
พระพุทธเจ้าแล้วออกบวข หลังจากนั้นท่านเจริญกรรมฐานจนกระทั่ง
บรรลุฌานอภิญญาและสามารถเห็นเทวดาได้ วันหนึ่งท่านได้เข้า
พระพุทธเจ้าเพื่อถามเรื่องนี้ว่า อาตมันมีจริงหรือไม่ อาตมันเป็นอย่างไร
เป็นของเที่ยงแท้ หรือขาดสูญเมื่อบุคคลเสียชีวิตไปแล้ว (คำว่า อาดมัน
เที่ยงแท้ หมายความว่า เมื่อบุคคลเสียชีวิตแล้ว อาตมันหรือกายทิพย์ก็
ล่องลอยไปเกิดในภพใหม่ หรืออาตมันนั้นขาดสูญไม่เกิดอีก)

แม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ไม่อาจสั่งสอนพระสุนักขัตตะให้เข้าถึง
ธรรมได้ หลังจากนั้นท่านลาสิกขาออกไป และยังทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อ
พระพุทธเจ้าอีกด้วย ดังนั้น สัญญาเก่าจึงนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเรา
มีสัญญาเก่าในทางผิดโดยเฉพาะในเรื่องปฏิบัติ ก็จะเป็นอุปสรรคในการ
ประสบความก้าวหน้าต่อไป

สำหรับผู้ปฏิบัติที่ได้เจริญวิปัสสนา หากเราได้รับรู้สภาวธรรม
รูปนามซึ่งปรากฏชัดเจนในปัจจุบัน ในขณะนั้นจัดว่าได้กำจัดสักกายทิฏฐิ
คือ ความเห็นผิดว่ามีตัวตน ซึ่งเป็นความเห็นผิดที่เห็นว่ามีรูปร่างสัฐาน
หรือความเห็นผิดว่ามีอาตมัน วิญญาณ หรือกายทิพย์ ผู้ปฏิบัติสามารถ
กำจัดสักกายทิฏฐิดังกล่าวได้ตลอดเวลาด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




students3.png
students3.png [ 240.02 KiB | เปิดดู 625 ครั้ง ]
สังขารขันธ์
นักฆ่าคนที่ ๔ คือสังขารขันธ์ เป็นสภาวะปรุงแต่งจิต โดยเป็น
ความนึกคิดต่างๆ ความชอบ หรือความโกรธ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า สภาวะ
เหล่านี้มีได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่

จะเห็นได้ว่า ถ้าเราพบอิฎฐารมณ์ที่น่าพอใจ ความโลภมักเกิดขึ้น
เพราะทุกคนอยากได้รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสถูกใจ
ต่างเพลิดเพลินยินดีกับกามคุณเหล่านี้ คำว่า กามคุณ มีความหมายว่า
เครื่องผูกคือกาม หมายความว่า เป็นเครื่องผูกโดยเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลิน
ยินดีนั่นเอง และเมื่อเราได้พบกับอารมณ์ที่น่ายินดีเช่นนี้ โลภะย่อมเกิด
ขึ้น หรือขณะที่เราพบกับบุคคลสิ่งของที่ไม่ชอบใจ โทสะย่อมเกิดขึ้น ทั้ง
โลภะและโทสะเกิดขึ้นแล้วดับไป โดยขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน

การเจริญสติปัฏฐานวิปัสสนาภาวนาก็เหมือนกัน สติ สมาธิ และ
ปัญญาขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ผู้ที่ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อให้ก้าวหน้า
ในการปฏิบัติ จำต้องพยายามปล่อยวาง อย่าตั้งใจว่าเราจะต้องก้าวหน้า
อย่างมากมาย ความจริงเราก็ต้องมีฉันทะคือความต้องการจะก้าวหน้า
แต่ฉันทะนี้จะต้องมีความพอดี ผู้ปฏิบัติต้องพยายามปรับให้พอดี ถ้าเรา
มีความพอดี การเดินจงกรมหรือการนั่งกรรมฐานก็เกิดความพอดี จะไม่รู้
สึกเครียดจนเกินไป แต่ถ้าเรามีฉันทะมากจนเกินพอดี เราก็จะเกิด
ความเครียด เกิดความวิตกกังวล กลัวว่าจะเดินผิดท่าบ้าง กลัวว่าจะ
กราบพระผิดท่าบ้าง หรือยกมือผิดท่าบ้าง เป็นต้น

ดังนั้น ขอให้ผู้ปฏิบัติเพียรปฏิบัติด้วยความพอดี แล้วเราจะรู้สึก
ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่กังวลต่อการปฏิบัติธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 03:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hvLzAvdWQvNDYvMjMwNDg5L2lzdG9jay00NzUzNTYzNjIuanBn.jpg
aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hvLzAvdWQvNDYvMjMwNDg5L2lzdG9jay00NzUzNTYzNjIuanBn.jpg [ 51.94 KiB | เปิดดู 620 ครั้ง ]
วิญญาณขันธ์

นักฆ่าคนสุดท้ายก็คือ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวะรับรู้อารมณ์
คำว่า วิญญาณ แปลตามศัพท์ว่า สภาวะรู้อารมณ์ ซึ่งได้แก่ จิตนั่นเอง
เป็นสภาวะรู้อารมณ์ทางทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ตัวเราเหมือนคนที่อยู่ในบ้านมองสิ่งนอกบ้านผ่านประตู ๖ บาน
คือ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย และประตูใจ ก็คิอ
ทวารทั้งหกนั่นเอง เมื่อจิตของเราเกิดทางดวงตา ก็เรียกว่า จักขุวิญญาณ
จิต เกิดขึ้นด้วยการกระทบสัมผัสระหว่างจักขุประสาทกับรูปารมณ์ รวม
ทั้งมีแสงสว่าง และมีมนสิการคือความใส่ใจหรือความตั้งใจจะดู

เมื่อมีเหตุปัจจัย ๔ อย่างเหล่านี้มาประชุมกัน จักขุวิญญาณจิต
คือจิตที่รู้อารมณ์ทางจักษุจึงเกิดขึ้น ถ้าตาของเราไม่กระทบกับรูปารมณ์
หรือกระทบกันแต่ไม่มีแสงเพียงพอ หรือแม้กระทั่งมีเหตุ ๓ อย่างเหล่านี้
แต่เราไมใส่ใจ จักขุวิญญาณจิตก็เกิดขึ้นที่ดวงตาไม่ได้ แม้โสตวิญญาณจิต
ก็เหมือนกัน จิตเหล่านี้เป็นจิตที่เกิดทางทวาร ๖ โดยเนื่องด้วยเหตุปัจจัย
ไม่เกิดขึ้นตามที่เราต้องการ

สรุปความว่า ขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญา
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มิได้เกิดขึ้นตลอด

เวลาและเกิดขึ้นไม่ได้โดยปราศจากเหตุปัจจัย ดังข้อความว่า
เอวํ ขนธา จ ธาตุโย ฉ จ อายตนา อิเม
เหตุํ ปฏิจฺจ สมภูตา เหตุภงฺคา นิรุชฺณเร."

"ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้ก็ฉันนั้น อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ"

หมายความว่า สภาวธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย มีได้อยู่
ภายใต้อำนาจหรือความปรารถนาของเรา มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ตามลักษณะของสังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่งเกิดขึ้นตาม
เหตุปัจจัยนั่นเอง ถ้าไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกัน
แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

ด้วยเหตุนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่าขันธ์ ๕ เหมือนนักฆ่าหรือ
ศัตรูที่คอยทำร้ายเรา ตามปกติคนทั่วไปเวลาไม่ชอบใครมักนึกว่าคนนี้
เป็นศัตรูของเรา แต่ความจริงขันธ์ ๕ ภายในร่างกายที่กว้างศอกยาววา
หนาคืบนี้ต่างหากเป็นศัตรูที่แท้จริง เนื่องจากมันไม่อยู่ในอำนาจ ไม่อยู่
ในบังคับบัญชาของเรา มันเกิดตามเหตุปัจจัย แล้วดับลงตามเหตุปัจจัย
เช่นเดียวกัน

ความจริงคนเรามักเพลิดเพลินยินดีขันธ์ ๕ ของตน คือ เข้าใจว่า
รูปนามของเรานี้เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสุข และเป็นอัตตาตัวตน แต่ในพระ
สูตรนี้พระพุทธองค์ตรัสถึงความไร้แก่นสารของรูปนามว่าเหมือนฝังนี้ที่มี
ภยันตราย มีอุปสรรคนานาประการ เพราะมีงูพิษ ๔ ตัวคือ ธาตุ ๔

นักฆ่า ๕ คน คือ ขันธ์ ๕ ที่เบียดเบียนเราอยู่เสมอ เนื่องจากยาตุทั้ง ๔
ที่แปรปรวนย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายและความทุกข์ทางร่างกาย หรือ
ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและตับไปตามเหตุปัจจัย ไม่เที่ยงแท้
แน่นอน ไม่ใช่สุขถาวร และไม่ใช่อัตตาตัวตนที่เราบังคับบัญชาได้ การตรัส
เช่นนี้มีประโยชน์เพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติเบื่อหน่ายรูปนามขันธ์ ๕ เบื่อหน่าย
กพชาติ และมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร