วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2024, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




Photoroom-20241115_113632.png
Photoroom-20241115_113632.png [ 711.46 KiB | เปิดดู 1184 ครั้ง ]
ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ชาติ

ในบท ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ตามอภิธัมม-
ภาชนียนัย (ตามนัยแห่งพระอภิธรรม) กล่าวว่า การที่ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะนั้นไม่ได้
เป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒๔ แต่ประการใด ๆ เลย เพราะชราก็ได้แก่ฐีติขณะของชาติ
และมรณะก็ได้แก่ภังคขณะของชาติเช่นเดียวกัน

ส่วนตาม สุดตันอภาชนิยนัย (ตามนัยแห่งพระสูตร) ชาติเป็นปัจจัยช่วยอุปกกระ
แก่ชรามรณะนั้น ก็ตัวยอำนาจแห่งปัจจัย ๒๔ เพียงปัจจัยดียว คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย

องค์ที่ ๑๒ ชรา มรณะ

ชรา มรณะ ที่เป็นองค์ที่ ๑๒ นี้ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดปัจยุบบันนธรรมตามนัย
แห่งปฏิจจสมุปปาทนี้ ที่ไม่เป็นปัจจัยเพราะเหตุใดนั้นจะได้กล่าวต่อไปบ้างหน้า ตอนนี้จะ
กล่าวถึงลักขณาทิจตุกะของชราและมรณะก่อน
ชรา มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ความเสื่อมของขันธ์ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันภพเป็นลักษณะ
มรณูปนยนรสา. มีการนำเข้าไปใกล้ความตาย เป็นกิจ
โยพฺพนฺนวินาสปจฺจุปฎฺธานา มีการทำลายวัยที่ดี เป็นอาการปรากฏ
ปริปจฺจมานรูปปทฎฐานา มีรูปที่กำลังแก่ เป็นเหตุใกล้

มรณะ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
จุติลกฺขณํ. มีการเคลื่อนย้ายจากภพที่ปรากฏอยู่ เป็นลักษณะ
วิโยครสํ มีการจากสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งปวงบรรดาที่เคยพบ เห็นกันในภพนี้ เป็นกิจ
คติวิปฺปวาสปจฺจุปฎฺฐานํ. มีการย้ายที่อยู่จากภพเก่า เป็นอาการปรากฏ
ปริภิชฺชมานนามรูปปทฏฺฐานํ มีนามรูปที่กำลังดับ เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2024, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบทก่อน ชรา อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่ความเก่าแก่ เสื่อม
โทรมของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป
มรณะ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่อาการที่กำลังดับไปของวิบาก
นามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป
ในบทนี้ ชรา มรณะ ก็ได้แก่ความเก่าแก่เสื่อมโทรมและอาการที่กำลังดับไปของ
วิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป เหมือนกับบทก่อนนั่นเอง
ชรา มรณะ อันเป็นปัจยุบบันบันธรรมของชาตินี้ เมื่อมีชาติ คือความเกิดขึ้นแล้ว
ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีชราและมรณะเป็นที่สุด แต่ถ้าชาติคือการเกิดขึ้นไม่ปรากฎแล้ว
ชรา มรณะ ก็จะปรากฏหาได้ไม่

ชรา นับว่ามี ๒ คือ รูปชรา และ นามชรา
รูปชรา หมายถึงความชราของรูปที่เกิดขึ้นตามวัย โดยมีอาการปรากฎเห็นด้วย
นัยน์ตา เช่น ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยว หลังโกง เป็นตัน อย่างนี้ชื่อว่า วโยวุทธิชรา
ซึ่งเป็นบัญญัติ เป็นความชราที่ปรากฎชัด (ปากฏชรา) เป็นความชราที่เปิดเผยคือไม่ปกปิด
(อัปปฏิจฉันนชรา)
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรมัตถชรา หรือ ขนิกชรา ซึ่งให้แก่ ฐิติขนะของรูป เป็น
ความชราที่ปกปิด ไม่เปิดเผย (ปฏิจฉันนชรา), เป็นความชราที่ไม่ปรากฏ คือไม่สามารถ
มองเห็นได้ด้วยนัยน์ตา (อปากฏชรา)

รูปชรานี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ อภิกฺกมชรา แก่ขึ้น แระ ปฏิกฺกมรา แก่ลง
ผู้ที่อยู่ในวัยที่ ๑ พลทสกวัย วัยอ่อน จนถึงวัยที่ ๔ พลทกวัย วัยที่มีกำลังนั้น
เรียกว่า อภิกกมชรา คือ กำลังแก่ขึ้น
ส่วนผู้ที่เลยวัยที่ ๔ พลทกวัยไปแล้วนั้น เรียกว่า ปฏิกกมชรา คือ กำลังแก่ลง
นามชรา ได้แก่ ฐีติขณะของนามธรรม คือ ปรมัตถชรา หรือ ขณิกชรา หรือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2024, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจฉันนชรา นั่นเอง เป็นความชราที่มองด้วยนัยน์ตาไม่เห็น
มรณะ ก็นับว่ามี ๒ คือ รูปมรณะ และ นามมรณะ
รูปมรณะ หมายถึงความดับไปของรูป ที่เรียกว่า ภังคขณะ ซึ่งในที่นี้หมายถึง
สมมติมรณะ ที่เรียกกันว่า คนตาย สัตว์ตาย เป็นต้นนั้นด้วย
นามมรณะ ก็คือความดับไปของนามขันธ์ ๔ ที่เรียกว่า ภังคขณะ
สรุปอย่างย่อที่สุดก็ว่า
อุปาทขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกันมชรูป ชื่อว่า ชาติ
ฐีติขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกันมชรูป ชื่อว่า ชรา
ภังคขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกันมชรูป ชื่อว่า มรณะ

อนึ่ง คำว่า มรณะ หรือ ตาย นี้ มีคำที่ใช้ในความหมายนี้หลายคำด้วยกัน เป็นต้นว่า

จุติ -> ตาย
จวนตา -> การเคลื่อนไป
เภโท -> การทำลายไป
อันตรธาน -> การสูญหาย
มัจจุ -> ความตาย
กาลกิริยา -> การทำกาละ
ขันธานัง เภโท -> ความแตกแห่งขันธ์
กเลวรัสส นิกเขโป -> การทอดทิ้งสรีระร่างกาย
ชีวิตินทริยัสส อุปัจเฉโท -> การขาดไปซึ่งชีวิตินทรีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2024, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ ๑๒ มี ๑๑ ปัจจัย

ตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๑๒ องค์ จะเห็นได้ว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมองค์ที่ ๑ เป็น
ปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดองค์ที่ ๒ และองค์ที่ ๒ ก็เป็นปัจจัยแก่องค์ที่ ๓ เป็นดังนี้ไปตาม
ลำดับจนถึงองค์ที่ ๑๑ เป็นปัจจัยร่วยอุปการะให้ให้องค์ที่ ๑๒ ส่วนองค์ที่ ๑๒ คือ คือ ชรา
มรณะ หาได้เป็นปัจจัยให้เกิดองค์ใด องค์หนึ่งใน ๑๒ องค์นี้ด้วยไม่ ดังนั้นปฏิจจสมุปบาท
ธรรม ๑๒ องค์ จึงเป็น ปัจจัยได้เพียง ๑๑ ปัจจัยเท่านั้น

เมื่อมี มรณะ คือ จุติแล้ว ย่อมมีปฏิสนธิเขเกิดสืบต่อตามติดมาโดยหาระหว่างคั่น
มิได้ ถ้ากล่าวตามนัยแห่งปัฏฐาน คือ ตามแนวของปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็ด้วยอำนาจแห่ง
อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคคปัจจัย เป็นต้น แต่ตามนัยแห่ง ปฏิจจ
สมุปบาทนี้ ไม่ถือว่า มรณะ คือ จุตินี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
ปฏิสนธิวิญญาณจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความอุปการะช่วยเหลือแห่งสังขาร ๓ คือ เจตนา
ในการกระทำกุศลกรรมและอุกุศลกรรม ถ้าไม่มีสังขาร ๓ เป็นปัจจัยแล้ว ก็จะไม่มี
วิญญาณเกิดสืบต่อไปอีกเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร