วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2024, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




guru-purnima-sacred-celebration_680596-2559.jpg
guru-purnima-sacred-celebration_680596-2559.jpg [ 221.25 KiB | เปิดดู 1841 ครั้ง ]
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ คือ ภพจะเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
อุปาทานมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
คหณลกฺขณํมีการยึดไว้ เป็นลักษณะ
อมฺุจนรสํ มีการไม่ปล่อย เป็นกิจ
ตณฺหาทฬุหตุตทิฏฐิ ปจฺจุปฎฺฐานํ มีตัณหาที่มีกำลังอย่างมั่นคงและมีความเห็นผิดเป็นผล
ตณฺหา ปทฎฺฐานํ. มีตัณหา เป็นเหตุใกลั

ในบทก่อน อุปาทานที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานั้น ได้แก่อุปาทาน ๔
ในบทนี้ อุปาทานที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดภพ ก็ได้แก่ อุปาทาน ๔ นั้น เหมือนกัน
ภพ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของอุปาทานนี้ ได้แก่ภพ ๒ คือ กัมมภพ และ อุปปัตติภพ
กัมมภพ การปรุงแต่งที่ทำให้เกิดปัจยุบบันนธรรมขึ้นนั้น ได้แก่กรรม ๒๙ หรือ
เจตนา ๒๙ คือ อกุสลเจตนา ๑๒ และโลกียกุสลเจตนา ๑๗ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญกัมมภพ
ก็คือ การทำบาปและการบำเพ็ญบุญนั่นเอง
อุปปัตติภพ หมายถึง ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดปรากฏขึ้นในภพนั้น ๆ โดยอาศัย
กัมมภพเป็นปัจจัย ดังนั้น อุปปัตติภพ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เจตตสิก ๓๕ กัมมชรูป
๑๘ หรือ ๒๐ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ เมื่อได้ทำกรรม (กัมมภพ) แล้วก็มาได้รับผล
(อุปปัตติภพ) โดยเกิดเป็นสัตว์ใน ๓๑ ภูมิตามควรแก่กรรม พร้อมทั้งมีการเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การรู้รสการสัมผัสถูกต้อง และการนึกคิด ตามควรแก่อัตภาพของตน

ในภพทั้ง ๒ คือ กันมภพ แระอุปบัตติภพนี้ ก็ยังเป็นเหตุเป็นผลแกกันและกันได้อีกด้วย
คือ
กล่าวโดย กัมมภพเป็นเหตุ อุปปัตติภพเป็นผล ก็มีความหมายว่า เพราะได้กระทำ
กรรมดีและกรรมชั่ว คือ มีกัมมภพมาก่อน จึงปรากฏผลได้เกิดมามีขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔
หรือขันธ์ ๑ ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ การได้ก็เกิดมามีขันธ์นี่แหละคืออุปปัตติภพ

กล่าวโดยอุปปัตติภพเป็นเหตุ กัมนภพเป็นผล ก็มีความหมายว่าเมื่อได้กิดมามี
ขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔ คือมีอุปปัตติภพเป็นเหตุ จึงปรากฏผลให้มีกัมมภพ คือ การกระทำ
กรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายทั้งทางกาย วาจา ใจ ถ้าไม่มีอุปปัตติภพแล้ว กัมมภพ ก็ไม่ปรากฏ

อนึ่ง สังขารที่เป็นปัจฺจยุบันนรรรมของอวิชชา กับ กันมภพที่เป็นปัจจยุบบันน
ธรรมของอุปาทานนี้ กล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ เจตนา เหมือนกัน ถึงการะนั้นก็
มีความแตกต่างกันอยู่ คือ
เมื่อกล่าวโดย ตโยอัทธา คือ กาล ๓ แล้ว เจตนา๒๙ ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ซึ่ง
เป็นปัจจัยให้อุปาทานขันธ์ปรากฎเกิดขึ้นในปัจจุบันในภพนี้นั้น ชื่อว่าสังขาร
เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ ซึ่งปันปัจจัยให้อุปาทานธ์ปรากฎเกิดขึ้น
ในอนาคตภพนั้น ชื่อว่า กัมมภพ
บุพพเจตนา ที่เกิดขึ้นก่อนการกระทำ กุศล อกุศล นั้น ชื่อว่า สังขาร
มุญจเจตนา ที่เกิดในขณะที่กำลังกระทำ กุศล อกุศลอยู่นั้น ชื่อว่า กัมมภพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2024, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ ที่เกี่ยวแก่อุปาทาน

ไนบท อุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นไปได้
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

ก. กามุปาทาน เป็นปัจจัยภพ ก็ด้วยอ่านาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ

๑, เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย


ข. ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และ อัตตวาทุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ ก็
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัยตามสมควร. คือ

๑, สหชาตปัจจัย
๒, อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. มัคคปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2024, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายปัจจัย

ก. กามุปาทาน เป็นปัจจัยภพ ก็ด้วยอ่านาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย
กล่าวถึงเหตุ ๖ โมหเจตสิกเป็นปัจจัยแก่อกุศลจิต นั้นในที่นี้ โมหะ เป็น
เหตุปัจจัย อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบเป็นเหตุปัจจยุบัน
๒ สหชาตปัจจัย
กล่าวถึงธรรมที่เกิดพร้อมกัน ในที่นี้โมหเจตสิกย่อมเกิดพร้อมกันกับอกุศลจิต
และเจตสิกที่ประกอบ ดังนั้นโมหเจตสิกก็เป็นสหชาตปัจจัย อกุศลจิต ๑๒ และ
เจตสิกที่ประกอบ ซี่งเกืดพร้อมกับโมหเจติกเท่านั้น เป็นสหชาตปัจจยุบัน
๓. อัญญมัญญปัจจัย
กล่าวถึงธรรมที่อุปการะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในที่นี้โมหเจตสิกก็อุปการะ
ช่วยเหลืออกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบให้เกิดขึ้น อกุศลจิตและเจตสิก
ที่ประกอบก็อุปการะช่วยเหลือเช่นเดียวกัน กล่าวคือต่างฝ่ายต่างอุปการะ
กันและกัน ดังนั้น โมหเจตสิกนี้จึงเป็นอัญญมัญญปัจจัย อกุศลจิต ๑๒
และเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นอัญญปัจจยุบัน
๔. นิสสยปัจจัย
กล่าวถึงธรรมอันเป็นที่อาศัยในที่นี้โมหเจตสิกที่เป็นที่อาศัยของอกุศลจิต
และเจตสิกที่ประกอบ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าอกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบนี้
แหละที่อาศัยโมหเจตสิก จึงปรากฏขึ้นได้ ดังนั้นโมหเจตสิกจึงเป็นนิสสยปัจจัย
อกุศลจิต ๑๒และเจตสิกที่ประกอบก็เป็นนิสสยปัจจัย
๕.สัมปยุตตปัจจัย
กล่าวถึงธรรมที่ประกอบกัน โมหเจตสิกย่อมประกอบกับอกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบ
ดังนั้นโมหเจตสิกจึงเป็นสัมปยุตตปัจจัย อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประอบก็เป็นสัมปยุตต
ปัจจยุบบัน
๖. อัตถิปัจจัย
กล่าวถึงธรรมที่กำลังถึงนั้นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิกยังมีอยู่ ยังไม่ได้
ดับไป นั่นแหละเป็นอัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบนั้นก็เป็นอัตถีปัจจยุบบัน
๗. นัตถิปัจจัย
กล่าวถึงธรรมที่ไม่มีแล้ว ดับไปแล้ว จึงจะเป็นปัจจัยได้ ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิกที่ใน
อกุสลชวนจิตดวงที่ ๑ ดับไปแล้วไม่มีแล้ว จึงเป็นนัตถิปัจจัย ให้เกิดโมหเจตสิกดวงที่ ๒ นั้น
ได้ โมหเจตสิกทีในอกุศลจิตดวงที่ ๒นี้ แหละเรียกว่า นัตถิปัจจยุบัน ซึ่งมีความหมายเป็นใน
ในทำนองเดียวกันกับ อนันตรปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2024, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และ อัตตวาทุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ ก็
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัยตามสมควร. นับเอาเฉพาะที่แตกต่างจากข้อ ก. คือ

๔. มัคคปัจจัย
มัคค คือธรรมที่เป็นประดุจหนทางที่นำไปสู่ ทุคติ สุคติ และ นิพพาน จัดเป็น
สัมปาปกเหตุ คือเหตุที่ทำให้ถึง เปรียบเหมือนยวดยานพาหนะที่สามารถพาผู้โดยสารให้ไป
ถึงจุดหมายนั้น ๆ ได้ ตามควรแก่ฐานะของยานนั้น ๆ
ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง ทุคติ สุคติ และ นิพพาน
เรียกว่า มัคค นี้มี ๑๒ ประการ แต่ว่ามีองค์ธรรมเพียง ๙ จึงเรียกว่า องค์มัคค ๙
ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง ทุคติ สุดติ และ นิพพาน
ได้แก่เจตสิก ๙ ดวง คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
วีริยะ สติ เอกัคคตา และ ทิฏฐิ มัคค ๑๒ มีองค์มัคค ๙ นี้ได้กล่าวโดยละเอียดพอ
ประมาณ ในปริจเฉทที่ ๗ ตอนมิสสกสังคหะ เพื่อเป็นการทบทวนขอให้กลับไป
อีกด้วย
องค์มัคค ๙ นี่แหละเป็นปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุปการะชห-
ชาตธรรมที่เกิดพร้อมกันกับนั้น ๒ ประการ คือ
ก. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพวัยมกับคน ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ
ตน ให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ อย่างนี้เรียกว่า กิจธรรมดา
ข. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ให้ไปสู่ ทุคติ สุคติ และ นิพพาน
ได้ อย่างนี้รียกว่าเป็น กิจพิเศษ เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวกับการปฏิสนธิเท่านั้น
อนึ่ง องค์มัคค ๙ นี้ ต่างก็ทำหน้าที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบัน ซึ่งกันและกันเอง ก็
ได้เหมือนกัน
สรุปความว่า มัคคปัจจัยนี้ คือองค์มัคค ๙ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและเจต-
สิกที่เกิดพร้อมกับตน พร้อมด้วยจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ให้เกิดขึ้นและให้ตั้งอยู่ได้
ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัยที่ทำหน้าที่ในกิจพิเศษอย่างหนึ่งและทำหน้าที่ในกิจธรรมดา
อย่างหนึ่ง
๑. มัคค หมายถึง องค์มัคค ๙
๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจยุบบัน
๓. ชาติ เป็นชาตชาติ
๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล
๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ
๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์มัคค ๙ ที่ในสเหตุกจิต ๗๑
องค์ธรรมของปัจยุบบัน ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑ เจดสิก ๕๒ สเหตุกจิตชรูป
สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญูสมานาเจดสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ),
อเหตุกจิตตชรูป อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตต
กัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร