วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 21:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2024, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




1732268878915~2.jpg
1732268878915~2.jpg [ 322.08 KiB | เปิดดู 1438 ครั้ง ]
เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา คือ ตัณหาจะปรากฎเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
เวทนา มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ
วิสยรสสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์เป็นกิจ
สุขทุกฺขปจฺจุปฎฺฐานา มีการสุขและทุกข์เป็นผล
ผสฺสปทฎฺฐานา มีผัสสะเป็นเหตุใกล้

ในบทก่อน เวทนาที่เป็นปัจจยุบบันธรรมของผัสสะนั้น ให้แก่เวทนา ๖ มีจักขุ
สัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น มีมโนสัมผัสสาเวทนา เป็นที่สุด
ในบหนี้ เวทนาที่เป็นปัจชับช่วยอุปการให้เกิดตตัณหานี้ ก็ได้แก่เวนา ๖ นั้นเอง
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย คือ ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันธรรมดังนี้
เวทนานั้น ได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวท่านั้น และเป็นปัจจัยให้ปัจจยุบันธรรมดังนี้

เมื่อมีสุขเวทนาอยู่ ก็มีความติดใจในสุขนั้น และมีความปรารถนามีความประสงค์จะ
ให้คงเป็นสุขอยู่อย่างนั้นตลอดไป หรือให้สุขยิ่งกว่านั้นขึ้นอีกดังนี้จึงได้ชื่อว่า สุขเวทนาเป็น
ปัจจัยให้กิดตันหา ข้อนี้เห็นได้ง่าย เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมกลียดทุกข์ ประสงค์สุขด้วยกัน
ทั้งนั้น

เมื่อมีทุกขเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ คือมีความปรารถนามีความ
ประสงค์จะให้ทุกข์นั้นหายไปหมดไปสิ้นไป แล้วมีความปรารถนาให้เกิดมีความสุขต่อไป ดัง
นี้จึงได้ชื่อว่า ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

เมื่อมีอุเบกขาเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ ด้วยคิดว่าแม้จะไม่ถึงกับมีความ
สุขก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้รับความทุกข์ดังที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ดีอยู่แล้วจึงปรารถนาจะไม่ให้มีความ
ทุกข์มาเบียดเบียน ประสงค์คงเป็นอุเบกขาอยู่เช่นขึ้นนี้เรื่อย ๆ ตลอดไป ยิ่งถึงกับมีความสุข
ด้วยก็ยิ่งดีมาก ดังนี้จึงได้ชื่อว่าอุเบกเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหานี้มีแสดงไว้เป็นหลายนัย เช่น
๑. กล่าวโดยอารมณ์ ตัณหาก็คือควานยินดีคิดใจอยากได้ ซึ่งอารมทั้ง ๖ อัน
ได้แก่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2024, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปตัณหา > ยินดีอยากได้ > รูปารมณ์
สัททตัณหา > ยินดีอยากได้ > สัททารมณ์
คันธตัณหา > ยินดีอยากได้ > คันธารมณ์
รสตัณหา > ยินดีอยากได้ > รสารมณ์
โผฏฐัพพตัณหา > ยินดีอยากได้ >โผฏฐัพพารมณ์
ธัมมตัณหา > ยินดีอยากได้ > ธัมมารมณ์

๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นแล้ว
ก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่าง ที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มีอากาการ
เป็นไปดังนี้
ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณ อารมณ์ทั้ง ๕
แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็นดัง
ต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ
(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม
(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม
(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน
(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวมีตน และตัวตนนี้ใสญหาย
ไปไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่เป็น
สัตว์อย่างใดก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่าเที่ยงอันความ
ห็นผิดที่เรียกว่า สัตตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน สุตตันตมหาวัคคอรรถกถา)
ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดในธารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยอจเฉททิฏฐิ คือ
ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่สามารถที่จะตั้งอยู่
ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมดตลอดจนการกระทำทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน แม้ผู้ที่มีความเห็นว่าพระนิพพานมีตัวมีตน
แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า วิภวตัณหา
รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ นี้ ก็ได้แก่ พวกหนึ่งมี
อุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมีสัสสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจอยากได้โดย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2024, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้ทำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด ๆ เลย
๓. กล่าวโดยพิสดาร เป็นการกล่าวอย่างกว้างขวางนั้น ตัณหามีถึง ๑๐๘ คือ
อารมณ์ของตัณหามี ๖ และอาการที่เป็นไปของตัณหามี ๓ จึงเป็นตัณหา (๖×๓ ) = ๑๘
ตัณหา ๑๘ นี้มีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ ก็เป็น ๓๖ ตัณหา ๓๖ มีทั้งกาล คือมีในอดีตกาล ๓๖ มีในปัจจุบันกาล ๓๖ และในอนาคตกาลอีก
๓๖ จึงเป็นตัณหา ๑๐๘ ด้วยกัน

เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตักเหา นี้ เป็นได้เฉพาะผู้ที่มีกิลสอยู่เท่านั้น ส่วนผู้ที่สิ้น
อาสวะกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วนั้น เวทนาก็หาเป็นปัจจัยแก่ตัณหาไม่

อนึ่ง ในมัชฌิมปันณาสก์อรรถกถา แสดงว่า ความยินดีติดใจในการเจริญสมถะ
และวิปัสสนา ก็เรียกว่า ธัมมตัณหาได้เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดดงไว้ว่า ธมฺมราเคนะ
ธมฺมนนฺทิยาติ ปททฺวเยหิ สมถวิปสฺสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต ซึ่งแปล่ความว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยบท ๒
บทว่า ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ซึ่งหมายความว่า ฉันทะ ราคะ ที่เกิดขึ้นในสมถภาวนา
วิปัสสนาภาวนา ชื่อว่า ธัมมตัณหา

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวกับว่า

ในบทเวทนา เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน ตัณหานี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นได้
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๆ เดียเท่านั้น ปัจจัยนี้คือปกตูปนิสสยปัจจย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร