วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:23
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้งาน Internet และทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ผมมีคำถามจะรบกวนถามดังต่อไปนี้ครับ

1) หากเราไปใช้งานในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ ในเครื่องเช่น Windows, Microsoft Office เป็นต้น แล้วเราจะผิดศีล 5 หรือเปล่าครับ หากสมมุติว่าผิด และเราเข้าไปใช้อีกก็จะผิดเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่ใช้ใช่หรือเปล่าครับ หรือผิดครั้งแรกครั้งเดียวที่ติดตั้งหรือเข้าไปใช้เท่านั้นครับ

2) หากเราไปดูหนังหรือฟังเพลงผ่านเว็บที่เขาให้เราดูได้ฟรี ฟังได้ฟรีอย่างนี้จะผิดศีล 5 หรือเปล่าครับ หากดู/ฟังอย่างเดียวแต่ไม่ได้ Download กับฟังแล้ว Download มาในเครื่องจะผิดเหมือนกันหรือเปล่าครับ

ช่วยตอบด้วยนะครับว่าผิดหรือเปล่าครับ เพราะอะไรครับ และจะแก้ไขได้อย่างไรครับ เพราะผมเองไม่ค่อยสบายใจเรื่องนี้ ต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บ่อยด้วยครับ บางทีก็ไปซื้อแผ่นตามห้างมาติดตั้งใช้งานในเครื่องก็มีครับ

อยากรู้จริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


นั่นซิ!!!!!!
อยากทราบเหมือนกันค่ะ :b10:


:b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้ๆ ไปเต๊อะ คิดมากฉี่เหลืองนะ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผิดศีล ต้องมีองค์ประกอบครับ
องค์ประกอบต้องครบ ถึงเรียกว่าผิดศีล

1. ของนั้นมีเจ้าของอยู่ และเจ้าของหวง
2. เรารู้(ทั้งรู้) ว่าของนั้น เจ้าของเขาหวงแหน
3. เรามีจิตตั้งใจจะลักสิ่งของนั้น
4. เราลงมือพยายามลักสิ่งของนั้น
5. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น

ถ้าครบ 5 อย่างนี้เรียกว่าผิดศีล แบบไม่มีข้อสงสัยโต้แย้ง

แต่ที่ว่าๆมา คนเข้าร้านเน็ตไม่รู้หรอกว่าลักไม่ลัก ถูกหรือผิด
เวลาเข้าร้าน เขาไม่ได้คำนึงถึงด้วยซ้ำไปนะ
เพราะฉะนั้นที่ถามว่าผิดศีลไหม อันนี้คงไม่ผิดแบบเด็ดขาด
แต่ศีลมันหมองๆมัวๆนะ ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์
พระพุทธเจ้าท่านให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ให้รักษาแบบหมองๆ


ส่วนข้อ 2 ) ก็ในเมื่อเจ้าของผลงานเขาเปิดให้เราฟัง เราก็ฟัง ก็ไม่ผิดอะไร
แต่ถ้าเขาบอกว่าให้ฟังเฉยๆนะ ห้ามดาวน์โหลด ก็แปลว่าเขาให้แค่การฟัง เราก็แค่ฟัง
ถ้าเกินกว่านี้เช่นจะเก้บไว้ในเครื่องก็เรียกว่าครบองค์ประกอบทั้ง 5 เลย
กลายเป็นขโมยไป



ถ้าไม่สบายใจอย่าทำ
ก็เอาตังไปซื้อก็คงจะไม่มีปัญหา

แต่คงจะมีเหตุให้ไม่สามารถซื้อได้ใช่ไหมล่ะ?
แต่ว่าก็ยังอยากได้มาใช้?
เขาเรียกว่าโลภ อยากใช้มากกว่าที่มี โลภเป็นอกุศลมูล

ที่เน้นคำว่า"มูล" ก็เพราะว่ามูลคือรากเหง้า เชื้อสาย ต้นเหตุ
อกุศลมูล คือรากเหง้าของอกุศล
พูดง่ายๆว่า ความโลภเป็นพ่อแม่ของความเลวทั้งปวง
ก่อนจะละเมิดลิขสิทธิ์ได้ โลภต้องมาก่อน การกระทำคำพูดมาทีหลัง



ปล. ไม่ต้องห่วงนะ เพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกับคุณมีเยอะ :b32:
อย่ากลัวเหงา


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 22:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 23:20
โพสต์: 70

ชื่อเล่น: pmam
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b14: อืม..นั้นสิเพพราะที่หอพักก้อใช้ด้วยนะ.... :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2007, 19:15
โพสต์: 96


 ข้อมูลส่วนตัว


โหลดเพลง mp3 ฟังอยู่บ่อยๆค่ะ แหะๆ ^^"

.....................................................
ความรื่นนมย์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ไม่จำเป็นต้องได้อะไรที่ยิ่งใหญ่มาครอบครอง แต่ควรเป็นชีวิตที่เกิดจากความเข้าใจ อันเป็นภาวะของความรู้สึกตัว ความตื่นจากปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริงด้วยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


โชคดีจัง ที่ได้แต่
ฟัง ดู อ่าน เพราะโหลดอะไรไม่เป็นสักกะอย่าง
"ความโง่" ก็มีประโยชน์เหมือนกันแฮ่ะ..... :b13:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:23
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับคำตอบที่ตอบมา โดยเฉพาะของคุณชาติสยาม

ผมรบกวนถามเพิ่มเติมนะครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจในบางประเด็น คือว่า

ตามที่คุณชาติสยามบอกมา ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกหรือเปล่า หากเป็นกรณีที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ

อ้างอิง :

องค์ประกอบต้องครบ ถึงเรียกว่าผิดศีล

1. ของนั้นมีเจ้าของอยู่ และเจ้าของหวง
- โปรแกรมต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์มีเจ้าของหวงแหน เช่น Microsoft Office คือ บริษัท Microsoft
- ดังนั้นข้อนี้เราบกพร่อง

2. เรารู้(ทั้งรู้) ว่าของนั้น เจ้าของเขาหวงแหน
- เรารู้ว่าโปรแกรมที่เราใช้งานอยู่ เช่น Microsoft Office มีเจ้าของหวงแหนอยู่ เป็นต้น (รู้อีกว่าเราไปซื้อโปรแกรมมาติดตั้งเองไม่มี license หรือพนักงานที่บริษัทติดตั้งให้เรา)
- ดังนั้นข้อนี้เราบกพร่อง

3. เรามีจิตตั้งใจจะลักสิ่งของนั้น
- เราไม่ได้มีจิตคิดจะลัก แต่เราคิดจะใช้งานเฉยๆ
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่บกพร่อง

4. เราลงมือพยายามลักสิ่งของนั้น
- เราไม่ได้พยายามลัก แต่เราพยายามใช้งานเฉยๆ
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่บกพร่อง

5. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น
- เราไม่ได้โปรแกรมนั้นมา แต่เราได้ใช้โปรแกรมนั้นเท่านั้น
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่พกพร่อง แต่เราบกพร่องเฉพาะครั้งแรกที่ติดตั้งโปรแกรมเอง หากคนอื่นติดตั้งก็ไม่เกี่ยวกับเรา ครั้งต่อๆ ไปเราไปใช้ก็ไม่บกพร่องข้อนี้

สรุปว่า ศีลข้อนี้เราบกพร่อง 2 ใน 5 หรือ 3 ใน 5 เป็นอย่างมาก ศีลจึงยังไม่ขาด แต่ด่างพร้อย อย่างนี้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ และหากแค่ด่างพร้อยจะไม่ทำให้ตกนรกใช่หรือเปล่าครับ

หมายเหตุ : พอดีผมเข้าไปดูหนังในเว็ปที่เขาให้ดูหนังได้ฟรี เป็นหนังซีรี่หรือหนังแบบทั่วไป ผมก็ไม่รู้ว่าผิดศีลหรือเปล่า (บางทีเขาอาจจะมีลิขสิทธิ์ที่เผยแผร่ได้แต่เราไม่รู้หรือเปล่า) บางทีก็ดูไม่ได้ จึง Download มาในเครื่องก่อน แล้วจึงดูทีเดียว ดูเสร็จก็ลบทิ้งครับ ไม่ได้เก็บเอาไว้ อย่างนี้ก็คงจะไม่ผิดใช่หรือเปล่าครับ

ผมถามมากไปหรือเปล่า อย่าเพิ่งรำคาญนะครับ ผู้รู้ทุกท่านช่วยแนะนำด้วยครับ


แก้ไขล่าสุดโดย sbth เมื่อ 26 ต.ค. 2009, 09:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญส่งผลให้สุขใจ อิ่มเอม ส่วนบาปนั้นกลับกัน

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


sbth เขียน:
3. เรามีจิตตั้งใจจะลักสิ่งของนั้น
- เราไม่ได้มีจิตคิดจะลัก แต่เราคิดจะใช้งานเฉยๆ
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่บกพร่อง

ตรงนี้คือความประมาทแล้วครับ...แค่ใช้ก็เท่ากับลักแล้ว :b6:

sbth เขียน:
4. เราลงมือพยายามลักสิ่งของนั้น
- เราไม่ได้พยายามลัก แต่เราพยายามใช้งานเฉยๆ
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่บกพร่อง

มีความพยายามด้วย แสดงออกว่ามีเจตนา...เป็นกรรมแน่นอน :b6:

sbth เขียน:
5. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น
- เราไม่ได้โปรแกรมนั้นมา แต่เราได้ใช้โปรแกรมนั้นเท่านั้น
- ดังนั้นข้อนี้เราไม่พกพร่อง แต่เราบกพร่องเฉพาะครั้งแรกที่ติดตั้งโปรแกรมเอง หากคนอื่นติดตั้งก็ไม่เกี่ยวกับเรา ครั้งต่อๆ ไปเราไปใช้ก็ไม่บกพร่องข้อนี้

เราได้โปรแกรมนั้นมาแล้ว เพราะออกผลมาเป็นงานที่เราทำ :b6:

เหมือนเราไปหยิบถ่าน(ถ่านหุงต้ม)ในเตาไฟที่มันเพิ่งดับไม่นาน
เราจะไม่เห็นว่าถ่านมันติดไฟอยู่ จะเห็นเป็นถ่านสีดำ เหมือนกันกับถ่านที่ยังไม่ได้ใช้
ถ้าเรารู้ว่าไฟมันเพิ่งดับ เราก็ย่อมรู้ว่าถ่านมันร้อน ต่อให้เรามีความจำเป็นต้องจับมันด้วยมือเปล่า
เราก็จะจับถ่านนั้นด้วยน้ำหนักมือที่เบาๆแค่ประคองไว้ เพื่อที่มือเราจะได้ไม่พอง
แต่ถ้าให้คนไม่รู้ไปหยิบ คนๆนั้นย่อมมีโอกาศถูกถ่านลวกมือได้ เพราะความไม่รู้ว่าถ่านร้อน เวลาหยิบจึงกำถ่านนั้นด้วยน้ำหนักมือที่แรง จึงต้องมาเจ็บปวดกับแผลไฟลวกมือ เพราะความประมาท :b32: :b32:

สิ่งที่ท่านคิดใน 3 ข้อนี้ จึงเรียกได้ว่าท่านกำลังกำถ่านด้วยความไม่รู้
ขอแนะนำให้หาว่านหางจรเข้มาทามือด้วยครับ...มือจะได้ไม่พองมากนัก :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:01
โพสต์: 408

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยู่ที่นโยบายของบริษัทด้วยนะค่ะ ถึงแม้เราจะรู้ว่า โปรแกรมที่เราใช้ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เราก็ไม่อาจจะทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะเราเป็นเพียงพนักงานเท่านั้น

แต่หาก ในตำแหน่งหน้าที่การงาน เราเป็นผู้รับผิดชอบ คือเป็นผู้ดูแลระบบ IT ของบริษัทฯ เราต้องเป็นผู้นำเสนอให้ผู้บริหารท่านทราบ แต่ถ้าท่านทราบแล้ว ยังทำเฉย หากโดนกองปราบปรามมาตรวจสอบแล้วเจอ ก็โดนโทษปรับเองค่ะ ถือว่าเป็นกฏแห่งกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบยาวๆ ก็ได้... ลักษณะแบบนี้ มันใกล้เคียง (แต่ยังอ่อนกว่า) คำถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์ผิดศีลไหม...
ที่ว่าอ่อนกว่านั้น เพราะการฆ่าสัตว์นั้นเป็นสากล แต่ทรัพย์สินทางปัญญานั้น ไม่เป็นสากล

ทรัพย์สินทางปัญญานั้น กำเนิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตก แน่นอนว่า มันมีประโยชน์ในแง่ของการคิดค้นและพัฒนา ผู้ใดคิดค้น ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของ และหาประโยชน์จากสิ่งที่คิดขึ้น ระบบนี้ทำให้เกิดการคิดค้นขึ้นมากมาย

แต่อ่านดีๆ จะเห็นว่า นี่เป็นเรื่องระบบทางธุรกิจ เป็นเรื่องทางกฎหมายและการจัดจำหน่าย ไม่ใช่เรื่องที่เป็นศีลธรรมโดยพื้นฐาน หากจะมองในแง่ศีลธรรม ก็คงจัดอยู่ในหมวด จริยธรรม มากกว่า คือเขาคิดขึ้น เราก็ควรสนับสนุนเขา เพื่อให้มีกำลังใจในการผลิตผลงานออกมาอีก

การพยายามป่าวร้องว่า เป็นการขโมย หรือเป็นอาชญกรรมนั้น มันไม่มีผลมากเท่าใดหรอก เพราะโดยสามัญสำนึกของคนแล้ว ปัญญาไม่ใช่ทรัพย์สิน

สรุปว่า ผิดศีลไหม... ก็ตอบได้ว่า หากเราไม่ใช่ตัวการในการปั้ม แจกจ่าย หรือ crack โปรแกรม ก็ไม่ผิดหรอก
แต่มันเป็นเรื่องจริยธรรม เราควรสนับสนุนคนที่ผลิตผลงานออกมา เพื่อให้เขามีกำลังใจในการทำงานต่อไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


sbth เขียน:
สวัสดีครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้งาน Internet และทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ผมมีคำถามจะรบกวนถามดังต่อไปนี้ครับ

1) หากเราไปใช้งานในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ ในเครื่องเช่น Windows, Microsoft Office เป็นต้น แล้วเราจะผิดศีล 5 หรือเปล่าครับ หากสมมุติว่าผิด และเราเข้าไปใช้อีกก็จะผิดเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่ใช้ใช่หรือเปล่าครับ หรือผิดครั้งแรกครั้งเดียวที่ติดตั้งหรือเข้าไปใช้เท่านั้นครับ

2) หากเราไปดูหนังหรือฟังเพลงผ่านเว็บที่เขาให้เราดูได้ฟรี ฟังได้ฟรีอย่างนี้จะผิดศีล 5 หรือเปล่าครับ หากดู/ฟังอย่างเดียวแต่ไม่ได้ Download กับฟังแล้ว Download มาในเครื่องจะผิดเหมือนกันหรือเปล่าครับ

ช่วยตอบด้วยนะครับว่าผิดหรือเปล่าครับ เพราะอะไรครับ และจะแก้ไขได้อย่างไรครับ เพราะผมเองไม่ค่อยสบายใจเรื่องนี้ ต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บ่อยด้วยครับ บางทีก็ไปซื้อแผ่นตามห้างมาติดตั้งใช้งานในเครื่องก็มีครับ

อยากรู้จริงๆ



โปรแกรมส่วนใหญ่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ดอกขอรับ แต่ ยาแก้ไอ หรือ ซีเรียล ของโปรแกรมนี่ซิ มีปัญหา ถ้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทำไมจึงอัพเดทได้ ทำไมจึงสามารถดาวล์โหลดโปรแกรมส่วนควบอื่นๆได้ แถมในโปรแกรมยังบอกว่า ที่เครื่องเราลงอยู่ เป็นของแท้
ไม่มีใครอยากไปลักขโมย โปรแกรมมาลงคอมดอกขอรับ แต่โปรแกรม ราคา 1,2000 บาท เงินเดือนแค่ แปด เก้าพัน จะซื้อได้หรือไม่อันนี้ต้องไปถามดู
การผิดศีลข้อ อทินนาฯ นั้น หมายถึง การหยิบฉวยเอาทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของไม่อนุญาต แล้วโปรแกรมของแท้เขาขายพร้อมซีเรียล มีซีเรียลลง แล้วอัพเดรดได้ ก้ไม่ต้องคิดว่า ไปลักของเขามาดอกขอรับ
ส่วนคำถามข้อสอง ก็ให้อ่านในเรื่องการผิดศีลนั่นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:23
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับ สำหรับคำตอบและคำแนะนำเพิ่มเติม ทำให้ผมความคิดที่หลากหลาย ได้ความรู้ต่างๆเพิ่มมากขึ้นครับ แต่ก็ทำให้ผมสับสนมากขึ้นเหมือนกัน เพราะดูเหมือนว่ากรณีนี้มันออกจะเป็นแล้วแต่มุมมองหรือเปล่า? เหมือนกับที่คุณ murano ว่าไว้คล้ายกับการกินเนื้อสัตว์ผิดศีลหรือเปล่า? ทำให้มองไปว่าแง่หนึ่งผิดศีลก็ได้ กับอีกแง่หนึ่งไม่ผิดศีลก็ได้ เหมือนกับตีความกฏหมายเลย :b13:

ผมเองก็ไปหาเพิ่มเติมมาเหมือนกันครับ เพราะบางทีก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร และก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมา แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้ผมเข้าใจถูกหรือผิดมากขึ้นไปจากเดิม รบกวนทุกๆ ท่านช่วยวิเคราะห์ด้วยนะครับ คือ ข้อความต่อไปนี้จะบอกถึงศีลข้อลักขโมย ผมอ่านแล้วทำให้เข้าใจว่าจะผิดศีลก็ต่อเมื่อสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัยพ์หรืออสังหาริมทรัพย์จะต้องถูกเอาไปจากเจ้าของ เจ้าของจะต้องสูญเสียของไป เช่น คนหนึ่งมีเงินอยู่ 100 บาทก็ถูกขโมยโดยทางตรงหรือทางอ้อมทำให้เงิน 100 บาทนี่สูญหายไป เป็นต้น แต่กรณีของโปรแกรม หรือไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ เจ้าของยังไม่สูญเสียสิ่งของไป สิ่งของก็ยังอยู่กับเจ้าของก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ถูกสำเนาไปอย่างไม่เต็มใจเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นว่าไม่น่าจะผิดศีล(ธรรม)ศีลไม่ขาดหรือเปล่า? แต่อาจจะผิดในแง่ความไม่สมควรจะทำ(จริยธรรม)น่ะครับ รบกวนอีกครั้งๆ นะครับ ว่าผมเข้าใจถูกหรือผิด ช่วยอ่านด้วยครับ :b10: :b8:

อ้างคำพูด:
ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทานา เวรมณี

คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการขโมย ความมุ่งหมายในการบัญญัติสิกขาบทนี้ เพื่อให้ทุกคนเคารพในกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เว้นจากการทำมาหากินในทางทุจริต ประกอบอาชีพในทางมิจฉาชีพ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในทางเลี้ยงชีพ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า ข้อห้ามหรือขอบเขตของสิกขาบทนี้ มีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผู้รักษาศีลจะต้องเว้น เพื่อรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ คือ

๑. โจรกรรม

๒. อนุโลมโจรกรรม

๓. ฉายาโจรกรรม

๑. โจรกรรมมี ๑๔ อย่างคือ

๑. ลัก ถือเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น ที่เรียกว่า ขโมยและตัดช่องย่องเบา

๒. ฉก ชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ ที่เรียกว่า ตีชิง วิ่งราว

๓. กรรโชก ขู่ให้เขากลัวแล้วให้ทรัพย์ ที่เรียกว่า จี้ ในปัจจุบันนี้

๔. ปล้น รวมหัวกันหลายคน มีศรัตราอาวุธเข้าแย่งทรัพย์

๕. ตู่ อ้างหลักฐานพยานเท็จ หักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งไม่อยู่ใน
ปกครองของตน

๖. ฉ้อ โกงเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนปกครอง เช่น โกงของฝาก โกงที่ดินที่ตนอยู่อาศัย
เป็นต้น

๗. หลอก ปั้นเรื่องให้เขาเชื่อแล้วให้ทรัพย์

๘. ลวง ใช้เล่ห์เอาทรัพย์เครื่องมือลวง เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น

๙. ปลอม ทำหรือใช้ของปลอม เช่น ธนบัตรปลอม ยาปลอม เป็นต้น

๑๐. ตระบัด ยืมของคนอื่นมาใช้แล้ว ยึดเอาเสีย กู้หนี้แล้วไม่ใช้ดอก เป็นต้น

๑๑. เบียดบัง กินเศษกินเลย เช่น เลี้ยงสัตว์ กินค่าอาหารสัตว์ เป็นต้น

๑๒. สับเปลี่ยน แอบสลับเอาของผู้อื่น ซึ่งมีค่าสูงกว่า

๑๓. ลักลอบ หลบหนีภาษีของหลวงหรือลอบนำสิ่งที่ต้องห้าม เช่น เหล้าเถื่อน เป็นต้น

๑๔. ยักยอก ยักเอาทรัพย์ของคนที่ถูกริบไว้ ยักยอกภาษี ยักยอกทรัพย์ที่ถูกฟ้องล้ม
ละลายไว้


๒. อนุโลมโจรกรรม
ทำโจรกรรม คือ กิริยาที่ไม่ทำให้โจรกรรม ๑๔ อย่าง แต่ทำงานคล้ายโจรกรรม พออนุโลมเข้ากับโจรกรรมได้ เรียกว่า อนุโลมโจรกรรมมี ๓ อย่าง คือ

๑. สมโจร สนับสนุนโจร เช่น ให้ที่พักและอาหารและรับซื้อของโจร เป็นต้น

๒. ปอกลอก คบหาเพื่อปลอกลอกเอาทรัพย์

๓. รับสินบน รับสินจ้างแล้วทำผิดหน้าที่ เพราะเกรงใจเขา

ทั้ง ๓ อย่างนี้ ศีลไม่ขาดแต่ด่างพร้อย เฉพาะการรับสินบนนี้ ถ้าผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ก็เป็นการร่วมโจรกรรมโดยตรง ศีลขาด

๓. ฉายาโจรกรรม
คือ การกระทำที่ไม่ทำอนุโลมโจรกรรม แต่ทำพัสดุของผู้อื่นให้สูญเสียและเป็นสินใช้ตกอยู่แก่ตน เรียกว่าฉายาโจรกรรม มี ๒ อย่าง คือ

๑. ผลาญ ทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย (ไม่เอามาเป็นของตน) เช่น เผาบ้านเสีย
หาย เป็นต้น

๒. หยิบฉวย ถือวิสาสะเกินขอบเขต เช่น ลูกหลานเอาของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย โดยไม่
ได้รับอนุญาต หรือถือเอาของญาติมิตรมากกว่าที่เขาอนุญาตให้ เอาโดยไม่ต้องซื้อ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ศีลไม่ขาดแต่ด่างพร้อย

ในอัฏฐสาลินี ได้แสดงถึงองค์ประกอบของอทินนาทานว่า ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ
๑. ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้ว่าของนั้นมีเข้าของหวงแหน
๓. ตั้งใจลักสิ่งของนั้น
๔. พยายามลักสิ่งของนั้น
๕. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น

เมื่อพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๕ นี้ ศีลขาด ถ้าไม่ครบองค์ศีลไม่ขาดเป็นเพียงแต่ด่างพร้อยไม่บริสุทธิ์ ทำเอาหรือใช้ให้ผู้อื่นทำศีลขาด


ในการวินิจฉัยว่า การทำอทินนาทาน จะมีโทษมากหรือน้อยนั้น ในอัฏฐสาลินีได้อธิบายเกณฑ์ในการพิจารณาคือ

๑. กำหนดด้วยวัตถุ คือ ของมีค่ามากมีโทษมาก มีค่าน้อยมีโทษน้อย

๒. กำหนดด้วยเจตนา คือ ความตั้งใจที่เจือด้วยกิเลสมาก มีโทษมาก ที่เจือด้วยกิเลสน้อยมีโทษน้อย

๓. กำหนดด้วยประโยค คือความพยายามที่จะได้สิ่งของนั้น ถ้าพยายามมากมีโทษมาก พยายามน้อยมีโทษน้อย

ข้อยกเว้นการถือเอาของผู้อื่นโดยวิสาสะ คือ ของญาติหรือมิตรหรือคนที่คุ้นเคยกันเคยช่วยเหลือกัน เคยอนุญาตไว้ก่อน แม้จะถือเอาโดยไม่บอกก็ไม่เป็นอทินนาทาน แต่ประกอบด้วยลักษณะการถือวิสาสะในอัฏฐสาลินี ที่ท่านอธิบายว่าต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

๑. เจ้าของเป็นผู้สนิทกับตน

๒. เจ้าของเคยอนุญาตไว้ก่อน

๓. เมื่อถือเอาแล้วไม่มีคนสนเท่ห์

๔. ของนั้นเป็นของที่เจ้าของไม่หวงแหนสำหรับเราหรือพอให้ได้

๕. เมื่อเจ้าของรู้แล้วก็พอใจไม่ว่าอะไร

จากมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ



รบกวนทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ sbt ไปเข้าใจแบบนั้นไม่ถูกนะ
โลกนี้ประกอบด้วยรูป และ นาม
Tangible และ Intangible

"เงินของเรา" นี่เป็นรูป เป็น tangible ที่เราเป็นเจ้าของ
"ชื่อเสียงของเรา" นี่เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แล้ว แต่มันมีอยู่จริง และเราเป้นเจ้าของ
ใครมาด่าว่าลบหลู่เกียรตินี่ เรายอมไม่ได้ นี่ก็เป็นการแสดงให้เห้นถึงความเป้นเจ้าของเกียรติ



ซอฟแวร์นี่ มีเจ้าของ
แยกให้ออกว่าอะไรเป้นรูป อะไรเป็นนาม
สิทธิ์เป้นนาม แผ่นเป้นรูป
และเจ้าของเขาหวงทั้งรูปทั้งนาม


ศีลเป้นสมรรถนะของจิต
ในอธิศีล หรือศีลระดับสูง แค่เรา"มีความอยาก" ก็นับว่าผิดศีลแล้ว

ระดับอธิศีลนี่เราไม่ได้มามองที่วัตถุหรือรูปการณ์ภายนอกแล้ว
เราสวนเข้าไปดูที่จิตใจเลยว่า มันเคลื่อนออกจากความตั้งมั่น หรือที่เรียกว่าขาดสติ
กรณีที่ว่าคือความโลภเข้าครอบงำ

พอความโลภครอบงำแล้ว นี่เรียกว่าศีลขาดแล้ว
พอศีลขาด ปัญญาเรามันไม่มีอะไรมาคุม ปัญญาเราจะกลายเป้นปัญญาโจร
คราวนี้มันจะไปเที่ยวหาความคิดต่างๆนานามาสมอ้างว่าเราไม่ผิด
ทั้งที่ผิดตั้งแต่ยังไม่ทันคิดนู่น แต่ว่ากิเลสมันหลอกเรา


แต่ผมบอกอะไรให้นะ
ผมก็อยู่ในข่ายผิดศีลนี้เหมือนกัน แต่ผมไม่หลอกตัวเองว่าเราไม่ผิดนะ
เราผิด เรารู้ว่าผิด ยอมรับว่าผิด แก้ไขได้เมื่อไหร่ค่ิอยแก้ไข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร