วันเวลาปัจจุบัน 11 ธ.ค. 2024, 01:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


หลายสำนัก หลายวัด เน้นการเจริญสติทุกอริยาบท มากกว่าเน้นการนั่งสมาธิเป็นชั่วโมง ข้ามคืนจนก้นใส้ติ่งแตก ก้นแตกก็มี

หลายสำนักเน้นการเคลื่อนไหว เช่นเคลื่อนไหวมือ แขน และรวมไปถึงการเดินจงกรม แต่นั่งสมาธิก็ทำนะแต่ทำไม่นาน

เป็นเพราะอะไรครับ หรือแม้แต่การดูจิตในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันจิต นี่ก็เน้นอริยาบทประจำวัน แต่ส่วนใหย่เขาจะนั่งสมาธิกันน้อย หรือเพราะ ทางโลกต้องทำงานมาก จะหาเวลาว่าง มานั่งสมาธิเป็นวันๆข้ามขืนนั้นยาก

หลายสำนักเลยเน้นการเจริญสติทุกอริยาบท ตั้งแต่ยืนเดินนั่งนอน กินข้าวก็ยังกินแบบพระ กำหนดอริยาบทการเคี้ยวการกลืน การดื่มน้ำลงคอ ต้องพิจารณาไม่ให้ติดรสชอบไม่ชอบ รวมไปถึงกินกล้วยก็อย่างับทั้งปาก ให้เอาช้อนแบ่งออก ไม่งั้นต้องปลงอาบัติแบบทางโลก เข้มมากเลย มีใครทำบ้าง ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8306


 ข้อมูลส่วนตัว


เราต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า การทำสมาธิหรือเจริญสมาธิ
จุดประสงค์นั้นทำเพื่ออะไร
อาจทำเพื่อให้ได้ฌาน เพื่อฌานชั้นสูง หรือถึงขั้นอภิญญา
หรือเพื่อกำจัดนิวรณ์ หรือเพื่อเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาต่อไปเ
เพื่อมุ่งสู่การออกจากทุกข์
ถ้าเราไม่รู้จุดมุ่งหมายทำเพื่ออะไรก็จะไม่ได้อะไร
ทำเล่นๆ ก็จะได้ของเล่นๆ ทำจริงรู้จริงก็จะได้ของจริงๆ

การทำสมาธิโดยทั่วๆไปมักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องสมาธิกันสักเท่าใด
เพราะคำว่าสมาธิมันคุ้นหู จนคิดไปว่าเป็นการครอบคลุมไปถึงวิปัสสนา
คำว่าสมาธิมันมีมาตั้งแต่พุทธกาลเสียอีก ตลอดจนลัทธิใดๆ นั่นก็มีสมาธิแล้ว
รู้จักสมาธิและยังใช้กันกันทั่วถึง ดังเช่น อาฬารดาบส อุทกดาบส เป็นต้น
เพราะเขาไม่รู้จักการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเป็นไปเพื่อมรรคจิตประการกิเลสเป็นสมุจเฉท
แม้ว่าการทำสมาธินั้นสติปัฏฐานก็เกิดร่วมร่วมในปฐมฌาน เพื่อละหรือกำจัดนิวรณ์ที่เป็นข้าศึกกับองค์ฌาน

แม้ว่าจะเจริญสติปัฏฐานนั้นก็ยังมีสมาธิเกิดร่วมอยู่ด้วย แต่สมาธิขั้นเล็กน้อยคือ
ใช้สมาธิขั้นขณิกกะสมาธิ ไม่ใช่สมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ
ที่ใช้สมาธิขั้นเล็กน้อยนั้นเพื่อให้องค์มรรค ๘ มีความสามัคคีกัน
เพื่อกำจัดกิเลสตามอำนาจของแต่ละมรรคนั้นๆ ปลายทางคือออกจากวัฏฏะทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 16:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เราต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า การทำสมาธิหรือเจริญสมาธิ
จุดประสงค์นั้นทำเพื่ออะไร
อาจทำเพื่อให้ได้ฌาน เพื่อฌานชั้นสูง หรือถึงขั้นอภิญญา
หรือเพื่อกำจัดนิวรณ์ หรือเพื่อเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาต่อไปเ
เพื่อมุ่งสู่การออกจากทุกข์
ถ้าเราไม่รู้จุดมุ่งหมายทำเพื่ออะไรก็จะไม่ได้อะไร
ทำเล่นๆ ก็จะได้ของเล่นๆ ทำจริงรู้จริงก็จะได้ของจริงๆ

การทำสมาธิโดยทั่วๆไปมักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องสมาธิกันสักเท่าใด
เพราะคำว่าสมาธิมันคุ้นหู จนคิดไปว่าเป็นการครอบคลุมไปถึงวิปัสสนา
คำว่าสมาธิมันมีมาตั้งแต่พุทธกาลเสียอีก ตลอดจนลัทธิใดๆ นั่นก็มีสมาธิแล้ว
รู้จักสมาธิและยังใช้กันกันทั่วถึง ดังเช่น อาฬารดาบส อุทกดาบส เป็นต้น
เพราะเขาไม่รู้จักการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเป็นไปเพื่อมรรคจิตประการกิเลสเป็นสมุจเฉท
แม้ว่าการทำสมาธินั้นสติปัฏฐานก็เกิดร่วมร่วมในปฐมฌาน เพื่อละหรือกำจัดนิวรณ์ที่เป็นข้าศึกกับองค์ฌาน

แม้ว่าจะเจริญสติปัฏฐานนั้นก็ยังมีสมาธิเกิดร่วมอยู่ด้วย แต่สมาธิขั้นเล็กน้อยคือ
ใช้สมาธิขั้นขณิกกะสมาธิ ไม่ใช่สมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ
ที่ใช้สมาธิขั้นเล็กน้อยนั้นเพื่อให้องค์มรรค ๘ มีความสามัคคีกัน
เพื่อกำจัดกิเลสตามอำนาจของแต่ละมรรคนั้นๆ ปลายทางคือออกจากวัฏฏะทุกข์

แล้วการเจริญสติทุกอริยาบท ที่เขาสอนกันสมัยนี้ จะทำให้ได้ปฐมมรรคหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไปแยกกันเอง แต่นามธรรมมันไม่ได้แยกกันเด็ดขาดอย่างนั้นหรอก ถ้าเข้าใจแล้วมันไปด้วยกันทั้งสมาธิทั้งสติ เป็นต้น บอกว่าเป็นต้น เพราะยังมีสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมกันอีก เป็นต้นว่า เจตนา สัญญา ผัสสะ ชีวิตินทรีย์ มนสิการ

อนึ่ง ไปเรียกว่า "นั่งสมาธิ" ต้องระวังจะเข้าใจผิด ว่า การนั่ง ท่านั่ง เป็นสมาธิไปนะครับ นั่งก็นั่ง สมาธิก็สมาธิ คนละอันกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลัก

สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบ ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้เข้าใจชัดเจนขึ้น

ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านี้ สมถะก็สำเร็จ

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือ จับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัย โดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน (ใช้จิตที่เป็นสมาธิเป็นที่ทำงาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างที่ชัดขึ้นอีก

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบจำเพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด
ส่วนในวิปัสสนา สติตามกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย
ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณา และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมด ใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ ในนามและรูป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 18:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วกำหนดสติยังไง ให้จิตเป็นศีล สมาธิ ปัญญา
หมายถีง สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา


แก้ไขล่าสุดโดย deecup เมื่อ 21 ก.ค. 2018, 19:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8306


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วการเจริญสติทุกอริยาบท ที่เขาสอนกันสมัยนี้ จะทำให้ได้ปฐมมรรคหรือเปล่าครับ


การเจริญ อิริยาบท จัดอยู่ในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฉะนั้นจึงเข้าถึงปฐมมรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วการเจริญสติทุกอริยาบท ที่เขาสอนกันสมัยนี้ จะทำให้ได้ปฐมมรรคหรือเปล่าครับ


การเจริญ อิริยาบท จัดอยู่ในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฉะนั้นจึงเข้าถึงปฐมมรรค

สาธุครับขอบคุณมากๆ ผมไปเข้าใจว่าต้องทำอานาปานสติ จากการนั่งสมาธิแล้วกำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้นถึงจะได้ปฐมมรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
แล้วกำหนดสติยังไง ให้จิตเป็นศีล สมาธิ ปัญญา
หมายถีง สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา


สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา เพิ่งเคยได้ยินเนี่ย ไปได้มาแต่ไหนหรอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8306


 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วการเจริญสติทุกอริยาบท ที่เขาสอนกันสมัยนี้ จะทำให้ได้ปฐมมรรคหรือเปล่าครับ


การเจริญ อิริยาบท จัดอยู่ในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฉะนั้นจึงเข้าถึงปฐมมรรค

สาธุครับขอบคุณมากๆ ผมไปเข้าใจว่าต้องทำอานาปานสติ จากการนั่งสมาธิแล้วกำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้นถึงจะได้ปฐมมรรค


อานาปานสติ มันเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ เช่น ดูลมหายใจกำหนดว่า
พุท-โธ หรือ สัมมาอรหัง หรือยุบหนอ พองหนอ อย่างนี้เป็นสมถะ
ถ้าดูลมหายใจ กำหนดที่การกระทบกับที่จมูก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หรือดูลมเข้ายาว ออกยาว
เข้าสั้นออกสั้น หรืออาการท้องพองยุบ คือดูอาการของลมอย่างนี้เป็นวิปัสสนา
ย่อมเข้าถึงปฐมมรรคครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8306


 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
แล้วกำหนดสติยังไง ให้จิตเป็นศีล สมาธิ ปัญญา
หมายถีง สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา


ก็เจริญวิปัสสนานั่นแหละครับ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเกิดขึ้นเอง
เมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น นั่นหมายถึงปฐมมรรคเกิดขึ้นแล้ว
องค์มรรค ๘ เมื่อย่อลงแล้วก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาการเรียนปริยัติก็มีความสำคัญ แต่ต้องเรียนสำนักที่เขามีการจัดสอบสนามหลวง เพื่อสอบทานความรู้เบื้องต้น เท่าที่ดู จขกท.ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มาก เมื่อเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลือนแล้วนำไปทำไปปฏิบัติก็ผิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำศัพท์พร้อมความหมาย ซึ่งชอบพูดชอบถาม-ตอบกันบ่อยๆให้สังเกต


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่ กับ สติ


สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลายโดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม, เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

กำหนด หมายไว้, การหมายไว้ ฯลฯ

สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 13:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
deecup เขียน:
แล้วกำหนดสติยังไง ให้จิตเป็นศีล สมาธิ ปัญญา
หมายถีง สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา


สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา เพิ่งเคยได้ยินเนี่ย ไปได้มาแต่ไหนหรอ

ผมอ่านจากด้านล่างอันนี้อะครับ เลยน่าจะเรียกว่า สติศีล สติสมาธิ สติปัญญา

สติใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร 3

รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหว(กายสังขาร) ในอันที่จะการสร้างกรรมใดๆ นั่นคือศีล
รู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต(จิตสังขาร) จนจิตเป็นอิสระจากอารมณ์ นี่คือสมาธิ
รู้เท่าทันความคิดทั้งหลาย(มโนสังขาร) ว่าความคิดเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่(โยนิโสมนสิการ) นี้คือปัญญา




แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร