วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรสิกขาปฏิรูป :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 14:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา คือการรู้เห็นความจริงของชีวิต ว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง (วิัปัสสนา พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6) แล้วศีลก็จะตามมาเอง รู้่ผิดชอบ ชั่วดี ทำบุญ ให้ทาน ไม่ต้องไปท่องว่าศีลมีกี่ข้อ ข้อนั้นว่ายังไง การที่เราไปถือศีล คือไปตัดที่ผลของมัน เช่น ห้ามดื่มสุรา ก็ไปตัดการกินสุรา ไม่ไปหาสาเหตุว่าที่เรากินสุราเพราะอะไร หากมีศีลแล้วก็จะบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ แต่ปัจจบันปฏิบัติผิดกันไปงดทางกาย และวาจาเท่านั้น แต่ใจไม่ได้งดก็ยังมีความต้องการอยู่ ไปถือศีล กินเจ ถือแล้วก็วาง เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

ท่านต้องใช้ปัญญาขนาดนั้นในการเลิกดืมสุรา เลยเหร๋อ
วิปัสสนา พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 น่ะ

s006 s006 s006

คือแบบว่า เราไม่เห็นต้องใช้เลย
แค่เราเห็นภาพคนเมาที่มักทำอะไรน่าอาย เราก็นึกละอาย
เราก็ไม่ดื่ม

:b6: :b6: :b6:

เราก็แค่รู้สึกว่าการถูกจับได้ว่า "ลักขโมย" มันน่าอายน่ะ
เราก็แค่ไม่อยากอาย ขายขี้หน้า เราก็เลยไม่ทำ

เราก็แค่รู้สึกว่าการถูกมองว่าการเป็นผู้สำส่อนในกาม มันน่าขายหน้า
เราก็แค่ไม่อยากขายขี้หน้า เราก็เลยไม่ทำ :b6: :b6:

ฯลฯ

มันก็ตรงกับคำสอนพระพุทธองค์อยู่น๊า คือมีความเกรงกลัว/ละอายต่อบาป

:b6: :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 17:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
แต่ปัจจบันปฏิบัติผิดกันไปงดทางกาย และวาจาเท่านั้น แต่ใจไม่ได้งดก็ยังมีความต้องการอยู่ ไปถือศีล กินเจ ถือแล้วก็วาง เป็นต้น


งั๊น ฝนตกน้ำไหลก็ให้มันไหลไปสิ่
มามัวทำเขื่อนกันน้ำกันทำไม มันปฏิบัติผิด ปฏิบัติถูก ต้องทำใจ

ทำเป็นกั้นและก็กั้นไม่ได้ ก็ทำเป็นปล่อย เป็นต้น

ปฏิบัติให้ถูกต้องไปทุบเขื่อนทิ้งให้หมด แล้วหันมาทำที่ใจ
น้ำไหลเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

:b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำใจมันทำยาก ถ้าได้ก็ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2011, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาได้ แต่ทำให้มีกำลังมากขึ้นและสามารถนำมาต่อยอดในการเจริญวิปัสสนาได้อีกต่างหาก การศึกษาพระธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา ถ้าศึกษาอย่างถูกวิธี ไม่มีโมหะ (หลง) เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ให้พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ไม่ยึดติดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ทุกข์ก็ไม่เกิด การมีปัญญาในทางธรรม ก็คือการเข้าใจเข้าถึงไตรลักษณ์ (แต่่ปัญญาทางธรรมก็มีอีกหลายระดับนั่นแหละ) ก็อยู่ที่การสะสมนะคะว่าได้สะสมมามากน้อยแค่ไหน เมื่อมีปัญญาที่ได้จากพระธรรม ก็สามารถดับทุกข์ดับกิเลสได้ การไม่เบียดเบียน ไม่ผิดศีล ก็ถือว่าเป็นปัญญาทางธรรมเช่นกัน ถ้ามีปัญญา (ทางโลก) ก็เหมือนคนที่มืดบอด ไม่อาจจะเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ อยู่ที่มุมมองของแต่ละคนค่ะ กุสโลบายของแต่ละคนแตกต่างกันไป การปฏิบัติกัมมัฏฐานกับการปฏิบัติธรรม มันก็มีความแตกต่างกันบ้างนิดหน่อย สำหรับดิฉันคิดว่า การปฏิบัติกัมมัฏฐานคือการทำสมาธิ การเรียนรู้และทำให้ถูกต้องตามหลักธรรม เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม ขณะที่ทำก็ต้องตัดปลิโพธคือความเป็นห่วงต่าง ๆ ทิ้งไป ถึงจะปฏิบัติได้ผลดี ขณะที่เราปฏิบัติกัมมัฏฐานก็จะทำให้เราทราบมากว่าทฤษฎีในเรื่องการเกิดดับ การไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ทำให้เราเห็นกฏของไตรลักษณ์มากกว่าศึกษาแค่ทฤษฎีอย่างเดียว ในชีวิตประจำวันของเรา ก็สามารถที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้เหมือนกันถ้าเราสังกตมัน เพียงแต่เห็นได้และเข้าใจได้ แต่ไม่ทะลุปรุโปร่ง จนถอนความยึดติดได้ แม้แต่การฟังธรรมมาก ๆ แล้วบอกว่ารู้ไม่ได้ แต่รู้ได้ค่ะ แต่เป็นความรู้ในขั้นสัญญาเป็นหลัก เมื่อใดที่เราไม่ติดข้องในบัญญัติจนนำเอามาเป็นเรื่องเป็นราว ดับกิเลสได้ ก็ไม่ทุกข์ เมื่อเห็นว่าตัวเราไม่ใช่เรา คน สัตว์ สิ่งของ เมื่อนั้นก็คือการประจักษ์แจ้ง เห็นสภาพธรรมของความเป็นจริง เมื่อนั้นก็มีปัญญาที่แท้จริงที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้

ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยนะคะ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 10:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="eragon_joe"]:b6: :b6: :b6:

ท่านต้องใช้ปัญญาขนาดนั้นในการเลิกดืมสุรา เลยเหร๋อ
วิปัสสนา พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 น่ะ

s006 s006 s006

คือแบบว่า เราไม่เห็นต้องใช้เลย
แค่เราเห็นภาพคนเมาที่มักทำอะไรน่าอาย เราก็นึกละอาย
เราก็ไม่ดื่ม

:b6: :b6: :b6:

เราก็แค่รู้สึกว่าการถูกจับได้ว่า "ลักขโมย" มันน่าอายน่ะ
เราก็แค่ไม่อยากอาย ขายขี้หน้า เราก็เลยไม่ทำ

เราก็แค่รู้สึกว่าการถูกมองว่าการเป็นผู้สำส่อนในกาม มันน่าขายหน้า
เราก็แค่ไม่อยากขายขี้หน้า เราก็เลยไม่ทำ :b6: :b6:



ตอบ

คำสอนของพระพุทธองค์เอาไว้สอนคนไม่มีปัญญาในการดับทุกข์
หากผู้ใดละอายต่อการทำบาปก็แสดงว่าดับทุกข์ได้ละดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่ทั้งหมด หรือไม่ถูกวิธี

ที่เรากินสุราก็เพราะความพอใจ (โลภ) สนองความสุขภายใน เราต้องไปดับที่เหตุของการดื่มสุรา การดื่มสุรา คือส่วนของผล)
ความพอใจ (เหตุ) > การดื่มสุรา (ผล) แล้วก็จะมีผลที่ตามมาของการเมาด้วย

ให้เราไปดับที่เหตุ ดับความต้องการของเราเอง ไม่ใช่ให้เราไปดับที่ผลของการดื่มสุรา ผลของการดื่มสุราคือ ความเมา ผลตามมา คือ ทะเลาะวิวาทกัน ฆ่ากัน ภาพไม่ดีจากการเมา ความโกรธจากการเมา
เป็นต้น เราต้องดับความพอใจทางกาย วาจา ใจ ห้ามละทางใดทางหนึ่ง
การไม่ดื่มสุรา คือการละทางกายเท่านั้น

* ผู้ปฎิบัติย่อมรู้เอง *
ไม่เที่ยง เกิดดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
แต่ปัจจบันปฏิบัติผิดกันไปงดทางกาย และวาจาเท่านั้น แต่ใจไม่ได้งดก็ยังมีความต้องการอยู่ ไปถือศีล กินเจ ถือแล้วก็วาง เป็นต้น


งั๊น ฝนตกน้ำไหลก็ให้มันไหลไปสิ่
มามัวทำเขื่อนกันน้ำกันทำไม มันปฏิบัติผิด ปฏิบัติถูก ต้องทำใจ

ทำเป็นกั้นและก็กั้นไม่ได้ ก็ทำเป็นปล่อย เป็นต้น

ปฏิบัติให้ถูกต้องไปทุบเขื่อนทิ้งให้หมด แล้วหันมาทำที่ใจ
น้ำไหลเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

:b6: :b6: :b6:


ฝนตกน้ำไหลเป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดจากเหตุปัจจัย ให้เกิดน้ำท่วมน้ำไหล สุดท้ายมันก็ต้องหยุดไหล หยุดท่วม ในกฎไตรสิกขา ( เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) จะมีกฎอิทัปปัจจยตาอยู่ด้วย คือ กฎเหตุและผล มีเหตุต้องมีผล ดับเหตุได้ ก็ไม่มีผล สิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี น้ำท่วมเกิดจากเหตุ อาจเป็นเพราะโลกร้อนขึ้น ทำลายป่าไม้ จาการสร้างเขื่อนจึงทำให้น้ำท่วม หรือเกิดจากการจัดการน้ำที่ไม่ดี นี่คือสาเหตุแห่งความทุกข์ที่แท้จริง ถ้าเราหาสาเหตุของน้ำท่วมได้ เราก็จะได้หาทางป้องกัน หรือแก้ไข เื่พื่อดับสาเหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ได้

** หากว่าน้ำท่วมจนอยากที่จะแก้ไขได้ ไม่ได้ให้เรามานั่งทำใจ แต่ให้เราพิจารณาว่านี่คือภัยธรรมชาติ (ธรรมะ) ที่น้ำท่วมเกิดจากเหตุปัจจัยให้เกิดน้ำท่วม สุดท้ายน้ำนั้นก็จะลดหายไปในที่สุด
น้ำไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับไป ทุกข์กายเป็นเรื่องธรรมดา มีทุกข์ มีสุข ความทุกข์ความสุขก็ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยง ความโกรธก็ไม่เที่ยง ความขัดแย้งก็ไม่เที่ยง ใจคิดลึกก็ไม่เที่ยง
มีสิ่งเดียวที่เที่ยง คือ "ความไม่เที่ยง"

*ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เอง*


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดน้ำท่วมส่วนใหญ่มาจากความโลภและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในภัยธรรมชาติ(ไม่มีประสบการณ์มา่ก่อน) ของมนุษย์

ผมว่า ไตรลักษณ์3 ใชักับระดับอารมณ์ในจิตใจน่าจะดีที่สุด หากจะใช้กับสิ่งที่เปนวัตถุ หรอืสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมา แล้วใช้ทฤษีกฏข้อนี้ก้ไ่ม่ร้ว่าอีกีกี่ร้อยปีเราถึงจะเข้าใจในสภาวธรรม แต่เอามาพิจารณาแบบ
ก่อนปรับปรุงและหลังปรุงปรุงได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 14:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
คำสอนของพระพุทธองค์เอาไว้สอนคนไม่มีปัญญาในการดับทุกข์
หากผู้ใดละอายต่อการทำบาปก็แสดงว่าดับทุกข์ได้ละดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่ทั้งหมด หรือไม่ถูกวิธี


ที่เรากินสุราก็เพราะความพอใจ (โลภ) สนองความสุขภายใน เราต้องไปดับที่เหตุของการดื่มสุรา การดื่มสุรา คือส่วนของผล)
ความพอใจ (เหตุ) > การดื่มสุรา (ผล) แล้วก็จะมีผลที่ตามมาของการเมาด้วย

ให้เราไปดับที่เหตุ ดับความต้องการของเราเอง ไม่ใช่ให้เราไปดับที่ผลของการดื่มสุรา ผลของการดื่มสุราคือ ความเมา ผลตามมา คือ ทะเลาะวิวาทกัน ฆ่ากัน ภาพไม่ดีจากการเมา ความโกรธจากการเมา
เป็นต้น เราต้องดับความพอใจทางกาย วาจา ใจ ห้ามละทางใดทางหนึ่ง
การไม่ดื่มสุรา คือการละทางกายเท่านั้น

* ผู้ปฎิบัติย่อมรู้เอง *
ไม่เที่ยง เกิดดับ


การไม่ปล่อย ลิ้น ให้ไปผัสสะ สุรา
การไม่ปล่อยเวทนาให้นอนเนือง เป็นการปฏิบัติไม่ถูกวิธีไปได้อย่างไร :b10: :b10:

Quote Tipitaka:
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยตาด้วย, รูปทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดจักขุวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุ-
วิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
บุคคลเสวยซึ่งเวทนาใด, ย่อมรู้สึกซึ่งเวทนานั้น;
บุคคลรู้สึกซึ่งเวทนาใด, ย่อมมีวิตกอยู่กะเวทนานั้น;
บุคคลมีวิตกอยู่กะเวทนาใด, ย่อมประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนานั้น๑
บุคคลประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใด, สัญญา(ความมั่นหมาย)
ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น, โดยมีเวทนานั้น
เป็นเหตุ, เป็นไปในรูปทั้งหลาย อันพึงรู้แจ้งได้ด้วยตา, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน.


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยหูด้วย, ...ฯลฯ...๑ และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยจมูกด้วย, ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยลิ้นด้วย, ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยกายด้วย, ...ฯลฯ... และปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เพราะอาศัยใจด้วย, ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดมโนวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์
+มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
บุคคลเสวยซึ่งเวทนาใด, ย่อมรู้สึกซึ่งเวทนานั้น;
บุคคลรู้สึกซึ่งเวทนาใด, ย่อมมีวิตกอยู่กะเวทนานั้น;
บุคคลมีวิตกอยู่กะเวทนาใด, ย่อมประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนานั้น;
บุคคลประพฤติซึ่งความเนิ่นช้าอยู่กะเวทนาใด, สัญญา(ความมั่นหมาย)
ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า ย่อมกลุ้มรุมซึ่งบุรุษนั้น, โดยมีเวทนานั้น
เป็นเหตุ, เป็นไปในธัมมารมณ์ทั้งหลาย อันพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจ, ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อตามีอยู่, เมื่อรูปมีอยู่,
เมื่อจักขุวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ผัสสบัญญัติ ๑ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้;
เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งเวทนาบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ : ข้อนี้
เป็นฐานะที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งวิตกบัญญัติ :
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่ง ปปัญจสัญญา-
สังขาสมุทาจรณบัญญัติ ๒ :ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อหูมีอยู่, เมื่อเสียงมีอยู่,
เมื่อโสตวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ...ฯลฯ...๓ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย| บุรุษนั้นหนอ เมื่อจมูกมีอยู่, เมื่อกลิ่น
มีอยู่, เมื่อฆานวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่งสัมผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ...
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย| บุรุษนั้นหนอ เมื่อลิ้นมีอยู่, เมื่อรสมีอยู่,
เมื่อชิวหาวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่งสัมผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...ฯลฯ... ข้อนี้
เป็นฐานะที่มีได้
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อกายมีอยู่, เมื่อโผฏ-
ฐัพพะมีอยู่, เมื่อกายวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ...ฯลฯ...
ฯลฯ...ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อใจมีอยู่, เมื่อธัมมารมณ์
มีอยู่, เมื่อมโนวิญญาณมีอยู่; เขาก็จักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งเวทนาบัญญัติ : ข้อนี้
เป็นฐานะที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ :
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญามีอยู่ เขาก็จักบัญญัติซึ่งวิตก-
บัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งวิตกมีอยู่ เขาก็จักบัญญัติ
ซึ่ง ปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

---- (ปฎิปกขนัย) ----

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อตาไม่มีอยู่, เมื่อรูป
ไม่มีอยู่, เมื่อจักขุวิญญาณไม่มีอยู่; เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ : ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งผัสสะไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งเวทนาบัญญัติ :
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งเวทนาไม่มีอยู่ เขาจักบัญญัติซึ่ง
สัญญาบัญญัติ: ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งสัญญาไม่มีอยู่ เขา
จักบัญญัติซึ่งวิตกบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญญัติซึ่งวิตกไม่มี
อยู่ เขาจักบัญญัติซึ่งปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ :ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อหูไม่มีอยู่, เมื่อเสียง
ไม่มีอยู่, เมื่อโสตวิญ ญ าณ ไม่มีอยู่; เขาจักบัญ ญัติซึ่งผัสสบัญ ญัติ ...ฯลฯ
...ฯลฯ... ๑ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อจมูกไม่มีอยู่, เมื่อกลิ่น
ไม่มีอยู่, เมื่อฆาน- วิญญาณไม่มีอยู่; เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ
...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อลิ้นไม่มีอยู่, เมื่อรส
ไม่มีอยู่, เมื่อชิวหาวิญญาณไม่มีอยู่; เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ ...ฯลฯ ...
ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อกายไม่มีอยู่, เมื่อ
โผฏฐัพพะไม่มีอยู่, เมื่อกายวิญญาณไม่มีอยู่; เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ
...ฯลฯ...ฯลฯ... ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! บุรุษนั้นหนอ เมื่อใจไม่มีอยู่, เมื่อ
ธัมมารมณ์ไม่มีอยู่, เมื่อมโนวิญญาณไม่มีอยู่; เขาจักบัญญัติซึ่งผัสสบัญญัติ :
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญ ญัติซึ่งผัสสะไม่มีอยู่ เขาจักบัญ ญัติซึ่ง
เวทนาบัญ ญัติ :ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญ ญัติซึ่งเวทนาไม่มีอยู่
เขาจักบัญญัติซึ่งสัญญาบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการบัญญัติซึ่ง
สัญญาไม่มีอยู่เขาจักบัญญัติซึ่งวิตกบัญญัติ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้; เมื่อการ
บัญญัติซึ่งวิตกไม่มีอยู่เขาจักบัญญัติซึ่งปปัญจสัญญาสังขาสมุทาจรณบัญญัติ : ข้อ
นี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้.


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ ท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่าน
นั่นสิคะ สงสัยเหมือนกันว่าทำไมไม่ใช่โลภะ ในเมื่อโลภะคือความอยาก อยากได้อยากมี ในสิ่งที่นำความสุขมาให้กับตัวเอง อยากดื่มเหล้า ดื่มแล้วบางคนก็มีความสุข ก็น่าจะเป็นโลภะไม่ใช่เหรอคะ ส่วนโมหะก็คือความหลง ความเขลา หลงผิด อ่านแล้วก็เริ่มสับสนนะคะว่าทำไมถึงเป็นโมหะ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านค่ะ อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณทักษา

สงสัยจึงถามนะคะ ไม่ได้ติดข้องอะไร เพราะเพิ่งเริ่มศึกษาพระธรรมค่ะ สิ่งที่ดิฉันคิดนะคะว่า ทุกท่านที่เข้ามาที่เว็บธรรมะแห่งนี้ มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทุกท่านเป็นทั้งกัลยาณมิตรและครูผู้สอนพระธรรมสำหรับดิฉันค่ะ เมื่อสงสัยก็ต้องถามให้กระจ่างเพื่อให้เข้าใจถึงความเป็นจริงของพระธรรมที่พระพุทธองค์ได้สั่งสอน ก็ถือว่าเป็นการหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมเข้าน้อมนำสู่จิตใจของตัวเอง อยากให้เข้าใจเพียงว่า ท่านที่ศึกษาและเข้าใจมาแล้ว เมื่ออ่านก็จะเข้าใจทันทีเพราะมีการสะสมมา แต่บางท่านเช่นดิฉันเป็นต้น คงมีการสะสมมาน้อย ก็เลยไม่เข้าใจถึงสิ่งที่คุณทักษากล่าวถึงนะคะ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรม อนุโมทนาในกุศลจิตที่นำความรู้เกี่ยวกับพระธรรมมาให้เรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ :b8:

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="eragon_joe"]:b6: :b6: :b6:

ท่านต้องใช้ปัญญาขนาดนั้นในการเลิกดืมสุรา เลยเหร๋อ
วิปัสสนา พิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 น่ะ

s006 s006 s006

quote]
:b32: :b32: :b32: smiley แบบว่าขออนุญาติขำคำเอกอน สุดๆครับ :b17: :b32: :b9: s007


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านจี้กง ทางมหายานท่านก็ดื่มเหล้า

ฝ่ายเถรวาทเราก็ดื่มเหล้าทำน้ำเป็นเหล้าทำเหล้าเป็นน้ำได้ด้วยฤทธิ์เช่น อาจารย์ปาลวัดเขาอ้อพัทลุง
หลวงพ่อสายวัดตะเคียนรามบุรีรัมย์(ยังอยู่)
ๆลๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณทักษา

รับทราบและจะปฏิบัติตามคำแนะนำนะคะ แต่เจตนาขณะที่กล่าวออกไปไม่ได้มีอกุศลเข้ามาเกี่ยวข้องค่ะ เปิ้ลแค่อธิบายสำหรับตัวเปิ้ลเองเท่านั้นค่ะ ไม่ได้กล่าวเหน็บแหนบใครจริง ๆ (พอแล้วค่ะ เดี๋ยวหาว่าขยายความมากไปอีก) ขอโทษอีนะคะที่ทำให้คิดเช่นนั้น

ธรรมรักษาค่ะ อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร