วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 17:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2024, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว




51420341_IMG_captureImage.png
51420341_IMG_captureImage.png [ 442 KiB | เปิดดู 1958 ครั้ง ]
ธัมมุทธัจจปหานนัย
ไม่ว่าจะเป็นสมถยานิกะหรือวิปัสสนายานิกะ เมื่ออุทยัพพยญาณเกิดขึ้น
ครั้งแรก วิปัสสนูปกิเลส เช่น แสงสว่างหรือโอภาส ญาณ ปิติ ปิติ ปัสสัทธิ. เป็นต้น
ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีนั้น บางครั้งโยคีอาจะนึกว่าวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น เป็นธรรม
วิเศษ นึกว่าตนเองได้ธรรมวิเศษแล้วก็เป็นได้ ซึ่งการกำหนดรู้หรือเข้าใจเช่นนั้น
ท่านเรียกว่า ธัมมุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านที่เกี่ยวกับสภาวธรรม บุคคลผู้ที่ได้
ธัมมุทธัจจะนี้ บางครั้งอาจจะทำให้มองเห็นรูปนามที่ปรากฏอยู่ได้ไม่ชัดเจน อาจทำ
ให้การกำหนดหยุดชะงักได้ หรือในที่สุดอาจเสื่อมลงได้ หรืออาจทำใจทำให้สิ่งที่กำหนด
นั้นเสื่อมลงไปได้ เพราะฉะนั้น โยคีพึงกำหนดพิจารณาละธัมมุทธัจจะนั้นให้ได้
อย่าไปสนใจหรือให้ความสำคัญกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้นแต่ให้ตระหนักถึงการกำหนด
จิตที่มีกำหนดพิจารณาวิปัสสนาเท่านั้น ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้ ธัมมุทธัจจะที่ว่า ก็จะ
หายไปโดยอัตโนมัติ ชื่งเมื่อเป็นเช่นนั้น รูปนามที่ปรากฎชัดมากเป็นพิเศษ จิต
นั้นก็จะกำหนดพิจารณา ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์รูปนามที่เรียกว่าโคจรัชฌัตตะ นับจาก
นั้น วิปัสสนาญาณก็จะแก่กล้าขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั้งถึงมรรคญาณ

ก็วิธีการที่โยคีกำจัดความฟุ้งซ่านออกแล้วยังมรรคให้เกิดขึ้นขั้นนั้น ท่านเรียกว่า
ธัมมุทธัจจปหานภาวนานัย แปลว่า "หลักการเจริญภาวนาที่มีการละความฟุ้งซ่าน
ทีเกี่ยวกับสภาวธรรมออกเแล้วเข้าถึงอริยมรรค" ซึ่งหลักการนี้มีความเกี่ยวข้องกับ
สมถยานิกะและ วิปัสสนายานิกะทั้งสอง จึงสามารถสงเคราะทั้งเข้าในทั้งสมถปุพพัง
คมนัยและวิปัสสนาปุพพังคมนัย เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์อรรถกถาท่านจึงกล่าวนัย
ไว้เพียงแค่ ๒ นัยเท่านั้น

สำหรับบุคคลผู้เป็นวิปัสสนายามิกะไม่จำเป็นต้องนำเอาสมถะมาเพื่อให้เกิด
จิตตวิสุทธิ แต่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย เมื่อวิปัสสนานั้นแก่กล้าแล้ว ชณิกสมาธิ
ก็จะเกิดขึ้นกลายเป็นจิตตวิสุทธิสำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลนั้น ซึ่งความหมายใน
ประโยคข้างต้นนี้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนทั้งในพระบาลีโตรปิฎก อรรถกถา และ
ฎีกาที่ได้แผลงไปแล้วนั่นเอง แม้แต่คัมภีร์วีวิวัธธนาซุนีที่ท่านทั้งหลายถืออยู่นี้ก็
เป็นคัมภีร์ที่มุ่งแสดงวิธีการปฏิบัติโดยเอาวิธีการของวิปัสสนายานิกะเป็นวิธีการการหลัก
คือ นำเอาวิธีของวิปัสสนายามิกะมาแสดงไว้โดยความเป็นประธาน ด้วยเหตุนี้
จึงไม่ได้แสดงวิธีการปฏิบัติเพื่อจิตตวิสุทธิสำหรับสมถยานิกบุคคลไว้เป็นเอกเทศ

แต่จะอย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลผู้ได้เจริญขณิกสมาธิซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่อง
จากวิปัสสนานั้น เมื่อได้ถึงลักษณะเนยยานาวรณธรรม ๔ ประการ. รู้ซึ่งในธรรมที่
เป็นอันตรายแก่สมาธิ ๖ ประการ. รู้จักวิธีการแก้ไขให้พ้นจากธรรมที่เป็นอันตราย ๖
เหล่านั้น ๖ ประการ และเข้าใจวิธีการทำให้วิปัสสนาจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวแล้ว
ย่อมได้เปรียบมากทีเดียว เพราะฉะนั้น ผู้เขียนจะขอยกธรรมมีนิยยานาวรณธรรม
ประการเป็นต้นเหล่านั้น จากคัมภีร์ปฏิสัมทามรรค อาณาปานกถาพอเป็น
ตัวอย่างดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร