วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการนำคนให้พัฒนาผ่านขั้นต่างๆเหล่านี้ งานสำคัญก็ คือ การสั่งสอนแนะนำ
และผู้ที่ถือกันว่าเป็นหลักในการทำหน้าที่นี้ก็ คือพระสงฆ์ การพัฒนาหรือก้าวหน้าในทาง จะไปได้ช้าหรือเร็ว มากหรือน้อยย่อมขึ้นต่อปัจจัยทั้งฝ่ายผู้แนะนำสั่งสอนและคนที่รับคำสอน ผู้สอนย่อมมีความสามารถมากน้อยต่างกัน คนที่ฟังก็เป็นผู้ก้าวเดินออกจากจุดเริ่มต้นต่างๆกัน มีความพร้อมหรือ ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ไม่เหมือนกัน

จริงอยู่ จุดหมายขอการสอนและการก้าวเดินย่อมอยู่ ณ ขั้นที่สาม ถ้าผู้สอนมีความสามารถชำนาญในอนุศาสนี และคนรับคำสอนพร้อมอยู่แล้ว ก็อาจใช้แต่เพียงอนุศาสนีอย่างเดียว พาก้าวครั้งเดียวจากขั้นที่ 1 เข้าสู่ขั้นที่ 3 ทันที ยิ่งเชี่ยวชาญในอนุศาสนีมาก ก็ยิ่งสามารถช่วยให้คนรับคำสอนเป็นผู้พร้อมขึ้นด้วยและก้าวเร็วได้ด้วย แต่พระทุกรูปมิใช่จะเก่งอนุศาสนีเหมือนกันหมด การผ่อนปรนจึงเกิดมีขึ้น

ตามปกติ ในการนำคนก้าวออกมาและเดินหน้าไปสูขั้นต่างๆ นั้น ผู้สอนจะต้องเข้าไปหาให้ถึงตัวเขา ณ จุดที่เขายืนอยู่ หรือไม่ก็ต้องหาอะไรหยิบยื่นโยนไปให้เพื่อเชื่อมตัวให้ถึงกัน แล้วจึงดึงเขาออกมาได้ เมื่อผู้สอนไม่มีความสามารถ ปราศจากเครื่องมือสื่อโยงชนิดพิเศษ ก็ต้องเข้าไปให้ถึงตัวเขา แล้วพากเขาเดินออกมาด้วยกันกับตน โดยเริ่มจากจุดที่เขายืนอยู่นั้นเอง คงจะเป็นด้วยเหตุเช่นนี้ จึงมาการผ่อนปรนในรูปต่างๆ ซอยละเอียดออกไปอันจัดรวมเข้าในขั้นที่สองของการพัฒนา

หลักการของการผ่อนปรนนี้ก็ คือ การใช้สิ่งที่เขายึดถืออยู่เดิมเป็นจุดเริ่มต้น วิธีเริ่มอาจทำโดยแกะสิ่งที่เขายึดหรือเกาะติดอยู่นั้นออกมาจากฐานเดิม แล้วหันเหบ่ายหน้าสู่ทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมทั้งใช้สิ่งที่เขายึดเกาะอยู่นั้น เป็นเครื่องจูงเขาออกมาจนพ้นจากที่นั้น วิธีการนี้เห็นได้จากพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเหยียบผืนผ้า

เรื่องมีว่า คราวหนึ่งเจ้าชายโพธิราชกุมาร สร้างวังแห่งหนึ่งเสร็จใหม่ จึงนิมนต์
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปฉันที่วังนั้น เจ้าชายได้ให้ปูลาดผ้าขาวทั่วหมดถึงบันได
ขั้นที่ 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงวัง ก็ไม่ทรงเหยียบผ้า จนเจ้าชายโปรดให้ม้วนเก็บผืนผ้าแล้วจึงเสด็จขึ้นวัง และได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ ห้ามภิกษุเหยียบผืนผ้า

ต่อมา หญิงผู้หนึ่งซึ่งแท้งบุตรใหม่ๆ ได้นิมนต์พระมาบ้านของตนแล้ว ปูผ้าผืนหนึ่งลง ขอร้องให้พระภิกษุทั้งหลายเหยียบเพื่อเป็นมงคล
ภิกษุเหล่านั้นไม่ยอมเหยียบ หญิงนั้นเสียใจและติเตียนโพนทะนาว่าภิกษุทั้งหลาย
ความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงได้ทรงวางอนุบัญญัติ อนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเหยียบผืนผ้า ได้ ในเมื่อชาวบ้านขอร้อง เพื่อเป็นมงคลแก่พวกเขา
(วินย. 7/120-4/46-50; ฯลฯ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา- (วินย. อ. 3/345; ฯลฯ ) ขยายความว่า เจ้าชายโพธิราชไม่มีโอรสหรือธิดา ได้ทรงให้ปูลาดผ้าครั้งนั้น โดยตั้งความปรารถนาว่ า ถ้าได้โอรสก็ขอให้ พระพุทธองค์ทรงเหยียบผ้านั้น

พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าชาย จะไม่มีโอรสธิดาจึงไม่ทรงเหยียบ และได้ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทั้งหลายเหยียบผืนผ้า เพราะทรงประสงค์จะอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในภายหลัง เพราะในพุทธกาลมีภิกษุที่รู้จิตผู้อื่นอยู่มาก ภิกษุเหล่านั้นย่อมเหยียบ หรือ ไม่เหยียบได้ตรงตามความคิด
ของชาวบ้านเจ้าของผ้านั้น แต่นานไปภิกษุหลังพุทธกาล ทำไปโดยไม่รู้ไม่เข้าใจ ชาวบ้านก็จะติเตียนเอาว่า พระสมัยนี้ไม่เก่งเหมือนอย่างสมัยก่อน จึงบัญญัติสิกขาบทไว้ เป็นการช่วยคุ้มครองภิกษุรุ่นหลังทั้งหลาย และอธิบายต่อไปว่า ในกรณีที่หญิงแท้งไปแล้ว หรือมีครรภ์แก่ เขาขอเพื่อเป็นมงคลจึงเหยียบได้

ถ้าพิจารณาตามแนวของอรรถกถา อาจมองเห็นความต่อไปว่า กรณีของเจ้าชายโพธิ เป็นการบนบาน
ขอลูก จึงทรงบัญญัติไม่ให้เหยียบ

ส่วนกรณีของหญิงแท้งบุตร เป็นการขอเพื่อเป็นสิริมงคลเท่านั้น จึงทรงอนุญาตให้
เหยียบ อย่างไรก็ดี ถ้าไม่ดูอรรถกถา พิจารณาอย่างพื้นๆตามเรื่องในบาลี
จะสันนิษฐานความได้ใหม่ที่ดูจะสมเหตุผลอยู่มากกว่า ที่ไม่ทรงเหยียบผ้าที่วัง
ของเจ้าชายโพธิ ก็เพราะทรงรักษามรรยาท พระองค์เสด็จมาถึงยังไม่ได้ล้าง
พระบาทจึงไม่ทรงเหยียบ เพราะไม่ประสงค์จะให้ผ้าเปื้อนสกปรก (มีอนุบัญญัติต่อไปด้วยว่า
ถ้าภิกษุล้างเท้าแล้ว อนุญาตให้เหยียบได้)

ส่วนกรณีของหญิงนั้นทรงยกเว้นให้ เพราะเขาขอร้องเองโดยมีเหตุผลว่าต้องการมงคล

พุทธบัญญัตินี้ น่าจะเป็นสาเหตุหรือข้ออ้างอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พระสงฆ์ได้โอนอ่อนผ่อนตาม
ความประสงค์ของชาวบ้าน เกี่ยวกับพิธีกรรมและสิ่งที่เรียกว่าวัตถุมงคล ต่างๆ ขยายกว้าง
ออกไป เปิดรับเครื่องรางของขลังและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆเข้ามามากมาย จนบางสมัยรู้สึกกันว่าเกิน
ขอบเขตอันสมควร

อย่างไรก็ตาม ถ้าเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นดีแล้ว และปฏิบัติตามหลักการนั้นด้วย
ปฏิบัติให้ตรงตามพุทธบัญญัตินี้ ในแง่ที่ว่า ทำต่อเมื่อเขาขอร้องด้วย ความผิดพลาดเสียหายและความเฟ้อเฝือเลยเถิดก็คงจะไม่เกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่ำว่า “มงคล” เป็นละอย่างกันกับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะเมื่อพูดในทางปฏิบัติแล้วก็มีข้อพิจารณาคล้ายคลึงกัน เช่น ในแง่ผลดีผลเสียและการวางท่าทีที่ถูกต้อง เป็นต้น
แต่ว่าโดยความหมาย อิทธิปาฏิหาริย์เป็นเรื่องของความสามารถพิเศษของตัวผู้ทำ อิทธิปาฏิหาริย์เอง

ส่วนมงคล มีที่มาหลายแง่ เช่น อาจเชื่อว่าบุคคลหรือสิ่งที่ให้มงคลนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์อิทธานุภาพหรืออำนาจพิเศษเป็นของตนเองก็ได้ อาจเชื่อว่าบุคคลหรือสิ่งนั้นเป็นสื่อหรือทางผ่านของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เร้นลับอยู่ต่างหากก็ได้ หรืออาจเชื่ออย่างประณีตขึ้นมาอีกว่า บุคคลหรือสิ่งนั้นทรงไว้ซึ่งคุณธรรมความดีงาม ความสุข ความบริสุทธิ์ จึงเกิดเป็นความศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นมงคลขึ้นมาในตัวเอง อย่างที่ชาวบ้านจำนวนมากเชื่อต่อพระสงฆ์เป็นต้นก็ได้

มงคล นี้ มีส่วนไปเกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องติรัจฉานวิชาไม่น้อย (ติรัจฉานวิชาเป็นคนละเรื่องกันกับอิทธิปาฏิหาริย์) เพราะคนเห็นติรัจฉานวิชาบางอย่างเป็นแหล่งที่มาของมงคล

ติรัจฉานวิชานั้น ถ้าภิกษุใช้เป็นเครื่องเลี้ยงชีพแสวงหาลาภ ก็เป็นมิจฉาชีพ จัดเป็นความบกพร่องด้านศีล (โดยมากรวมอยู่ในมหาศีล)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก คห. 52

ส่วนทางด้านเทวดา ความผ่อนปรนในระดับพัฒนาการขั้นที่ 2 ก็เปิดโอกาสให้ชาวพุทธ
ผู้อยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งนับถือบูชาเทวดามาแต่เดิม แสดงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่เทวดา ได้ต่อไป ถึงจะทำพลีกรรมแก่เทวดา ก็สนับสนุน เพียงแต่มีข้อแม้ว่าต้องทำฐานสงเคราะห์ อนุเคราะห์แสดงเมตตาจิตต่อกัน มิใช่จะอ้อนวอนหรือขอผลตอบแทน เมื่อไปอาศัยอยู่ ณ ถิ่นฐานใดก็ตาม ทำการบำรุงถวายทานแก่ท่านผู้ทรงศีลแล้ว ก็ตั้งจิตเผื่อแผ่อุทิศส่วนบุญ ไปให้แก่เทวดาทั้งหลายในที่นั้นด้วย เทวดาทั้งหลาย ได้รับความเอื้อเฟื้อแล้ว ก็จะมีไมตรีจิตตอบแทน

“เทวดาทั้งหลาย ได้รับการบูชา (ยกย่องให้เกียรติ) จากเขาแล้ว ย่อมบูชาเขา ได้รับความนับถือ
จากเขาแล้ว ย่อมนับถือเขา และย่อมเอ็นดูเขา เหมือนแม่เอ็นดูลูก”

(วินย. 5/73/92 ; ฯลฯ)

อย่างไรก็ดี ไมตรีจิตตอบแทนจากเทวดาที่ว่านี้ เป็นเรื่องของเทวดาเอง ผู้อุทิศกุศล
ไม่ต้องไปคิดหวังเอา หน้าที่ของเรามีเพียงตั้งจิตเมตตาแผ่ความดีให้เท่านั้น

สำหรับคน ที่มีความเข้าใจในหลักการนี้เป็นอย่างดีแล้ว เมื่อเขานึกถึงเทวดา ก็จะนึกถึงด้วยจิตที่ดีงาม มีแต่ความปรารถนาดี เมื่อทำความดีหรือทำสิ่งใดที่ดีงามเป็นบุญกุศล จะแผ่บุญกุศลนั้นไปให้
แก่เทวดาด้วย ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร มีแต่จะส่งเสริมคุณภาพจิตของตนเอง และแผ่ความดีงามดีงามร่มเย็นให้กว้างออกไปในโลก

เมื่อยังก้าวไม่พ้นจากพัฒนาการขั้นที่ 2 สู่ขั้นที่ 3 อยู่ตราบใด หากยังรักษาความสัมพันธ์ให้อยู่ภายในหลักการแห่งความอยู่ร่วมกันด้วยดีนี้ได้ ไม่ถลำกลับไปสู่การประจบเอาใจหรือเรียกร้องอ้อนวอน การกระทำต่างๆ ก็จะรักษาตัวมันเองให้อยู่ภายในขอบเขตที่จะไม่เกิดผลเสียหายทั้งแก่ชีวิตและสังคม
อีกทั้งจะได้ผลดีทางจิตใจเป็นกำไรอีกด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่บรรยายมาอย่างยึดยาวนี้ ก็เพียงเพื่อให้เห็นการวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง
สมควรต่อสิ่งเหนือสามัญวิสัย โดยไม่ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา
ซึ่งมุ่งให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ชีวิตของบุคคลและแก่สังคม

สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า วิธีปฏิบัติต่อเทวดาและอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดจนมงคลฤทธิ์ต่างๆ
เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากอย่างใด ถ้าเราประพฤติถูกต้องตามธรรมอยู่แล้ว ก็ดำเนินชีวิตไปตามปกติ
เมื่อเราอยู่ในสังคมนี้ ก็ย่อมได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเทวดาบ้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์บ้าง

บางครั้งเราก็ระแวงว่า สิ่งเหล่านั้นมีจริงหรือว่าไม่มีจริง ถ้ามี จะทำอย่างไรเป็นต้น
พึงมั่นใจตนและเลิกกังวลฟุ้งซ่านอย่างนั้นเสีย แล้วดำเนินวิธีปฏิบัติไม่ผิดทุกรณี
ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติสำเร็จได้ที่ในใจนี้เอง

คือสำหรับเทวดา เราพึงมีท่าทีแห่งเมตตา ทำใจให้อ่อนโยนต่อสรรพสัตว์ ตั้งจิตปรารถนาดี
หวังให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งเทวดาด้วย ที่เป็นเพื่อร่วมโลกทั้งปวงต่างอยู่เป็นสุข เคารพความดี
ของกันและกัน

และในสังคมนี้ เราคงต้องพบกับคนทั้งสองประเภท คือ ผู้ที่ฝักใฝ่หมกมุ่นหวังพึ่งเทวดา และผู้ที่ไม่เชื่อถือมีจิตกระด้าง ขึ้งเคียดเหยียดหยามทั้งต่อเทวดาและผู้นับถือเทวดา ต่างวิวาทขัดแย้งกัน

เรามีโอกาส ก็พึงชักจูงคนทั้งสองพวกนั้นให้มาอยู่ ณ จุดกลางที่พอดี คือ ความมีจิต
เมตตาอ่อนโยนต่อเทวดาและต่อกันและกัน พร้อมนั้นในด้านกิจหน้าที่ของคน เราพึงกระทำ ด้วยความเพียรพยายามเต็มความสามารถไปตามเหตุผล

ถ้ายังห่วงการช่วยเหลือของเทพเจ้า ก็พึงวางจิตว่า ถ้าความดีของเราเพียงพอ และ เทพเจ้าที่ดีงาม
มีน้ำใจสุจริตมีอยู่ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเทพเจ้าเหล่านั้น ท่านจะพิจารณาตัดสินใจเอง

ส่วนตัวเรานั้น จะตั้งจิตมั่นเพียรพยายาม ทำกิจของตนไปจนสุดกำลังสติปัญญาความสามารถ
และจะฝึกฝนตน ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ทั้งในทางปัญญาและคุณธรรมจนข้ามพ้นเข้าสู่พัฒนาการ
ขั้นที่สาม ซึ่งเป็นอิสระและสมควรเป็นที่เคารพบูชาของเทวดาได้-

(มิใช่หมายความว่า จะให้ตั้งใจประพฤติดีเพื่อ ให้เทวดาเคารพบูชา หรือให้กระด้างกระเดื่องต่อเทวดา
ซึ่งจะกลายเป็นมานะอหังการไป แต่หมายความว่า เราทำความดีของเราไป ตามเหตุผลของเรา
เป็นเรื่องของเทวดาเขาเคารพเอง เพราะเทวดานั้นมีความดีที่จะเคารพความดีของคนดี)

ส่วนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ และสิ่งมงคลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ก็พึงปฏิบัติอย่างเดียวกัน
เปลี่ยนแต่เพียงท่าทีแห่งเมตตา มาเป็นท่าทีแห่งความเพียรพยายามบากบั่น เข็มแข็ง
พร้อมทั้งความหนักแน่นในเหตุผล ซึ่งเป็นแรงบันดาลความสำเร็จแห่งกิจหน้าที่

มงคล ก็คือ คุณธรรม และความสามารถต่างๆ ที่ได้ปลูกฝังสร้างขึ้นอันเสริมส่งและคุ้ม
นำชีวิตไปสู่ความสุข ความเจริญ และความเกษมสวัสดี

(ดูมงคลสูตร, ขุ.ขุ. 25/5/3; ขุ.สุ.25/317/376)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางด้านพระภิกษุ ผู้สัมพันธ์กับประชาชนในฐานผู้นำทางจิตใจ เมื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้
พึงเตรียมใจระมัดระวังถือเหมือนดังเข้าผจญภัยโดยไม่ประมาท

สำหรับผู้เก่งกาจทางอนุสาสนีก็ไม่สู้กระไร อาจอาศัยความเชี่ยวชาญในเชิงสอน นำชาวบ้าน
ก้าวสู่พัฒนาการขั้นสูงๆ ได้โดยรวดเร็ว แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เพราะบางท่านสามารถ
ใช้อนุสาสนีทำให้คนเลิกเชื่อถือสิ่งที่เขาเคยยึดถืออยู่เดิมได้ แต่หยุดแค่นั้น หรือไม่อาจชี้แนะ
ให้เขาเกิดปัญญา มองเห็นทางถูกต้องที่จะเดินต่อไป ทำให้ชาวบ้านมีอาการอย่างที่
ว่า ศรัทธาก็หมด ปัญญาก็ไม่มี ตกอยู่ในภาวะเคว้งคว้าง เป็นอันตรายทั้งแก่ชีวิต
ของเขาเอง และแก่สังคม

ส่วนท่านที่ไม่ถนัดในเชิงสอนเช่นนั้น และจะเข้าไปใช้สิ่งที่เขายึดอยู่ในเป็นจุดเริ่มต้น มีข้อที่จะต้องตระหนักมั่นไว้ในใจหลายอย่าง

สำหรับอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอันตัดไปได้ เพรามีพุทธาบัญญัติห้ามไว้แล้วว่าไม่ให้พระสงฆ์แสดงแก่
ชาวบ้าน คงเหลืออยู่แต่มงคลหรือสิ่งที่จะให้เกิดมงคล

เบื้องแรกที่สุดจะต้องกำหนดแน่วแน่เป็นเครื่องป้องกันตัวไว้ก่อนว่า จะต้องไม่สิ่งเหล่านนี้เป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพแสวงหาลาภ ซึ่งเป็นมิจฉาชีพ และเป็นความบกพร่องเสียหายในด้านศีล

ต่อจากนั้น มีข้อเตือนสำนึกในทางปฏิบัติโดยตรงคือ ต้องระลึกไว้เสมอว่า
ข้อ 1 การที่เข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ก็เพื่อช่วยประชาชนให้เป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น
เช่น เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ เพื่อให้เขาเป็นอิสระจากฤทธิ์ และเพื่อความเป็นอิสระตามข้อที่หนึ่งนี้

ข้อที่ 2 จึงตามมาว่า เมื่อเริ่มจุดตั้งต้น ณ ที่ใด จะต้องพาเขาเดินหน้าจากจุดนั้นเรื่อยไป จนกว่าจะถึงจุดหมายคือความเป็นอิสระ จะถอยหลังไปจากจุดนั้นอีกไม่ได้ และตามนัยของข้อที่สองนี้
จะปรากฏผลในทางปฏิบัติว่า ความฝักใฝ่หมกมุ่นในสิ่งเหล่านี้จะต้องลดลง หรืออย่างน้อยไม่เพิ่มมากขึ้น หรือกำหนดออกไปอีกเป็นท่าทีของการปฏิบัติได้ว่า จะไม่ส่งเสริมความฝักใฝ่หมกมุ่น
ในสิ่งเหล่านี้ให้แพร่หลายขยายตัว จะมีแต่การควบคุมให้เอยู่ในขอบเขตและการทำให้ลดน้อยลง
คือเปลี่ยนขั้นพัฒนาการเข้าสู่ขั้นที่ 2 ให้หมด

นอกจากนี้ ควรพยายามเน้นให้ปฏิบัติตามพุทธานุญาตที่ว่าทำต่อเมือเขาขอ ซึ่งจะเป็นการกระชับ
ขอบเขตให้รัดตัวเข้ามาอีก

ข้อที่ 3 ซึ่งไม่อาจลืมได้คือ ต้องให้อนุศาสนีชนิดนำออกเสมอในเมื่อได้โอกาส เพื่อทั้งเร่งรัดและกำกับให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางด้านประชาชนที่กำลังพัฒนาข้ามจากขั้นที่ 1 สู่ขั้นที่ 2 การผ่อนปรนหรือโอนอ่อนผ่อน

ตาม จะมีได้อย่างมากที่สุด ก็เพียงเท่าที่อยู่ในขอบเขตซึ่ง

1. ไม่เป็นการอ้อนวอนหวังพึ่งอำนาจบันดาลจากภายนอก (หลักพึ่งตน และความเป็นอิสระ)

2. ไม่เป็นเหตุให้หมกมุ่นหลงใหล หรือจะมัวรีรอ ไม่ลงมือทำ (หลักทำการด้วยความเพียร

ตามเหตุผล)

จากความผ่อนปรนนี้ ความสัมพันธ์และวิธีปฏิบัติเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จึงมี ดังนี้

ก. เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดถึงสิ่งมงคลได้ โดยพยายามทำสิ่งเหล่านี้ในความ

หมายใหม่

ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น ธรรมฤทธิ์ อริยะฤทธิ์ และมงคลที่เกิดจากการ

ประพฤติธรรม เป็นต้น แต่ก็ยอมผ่อนลงไปอีกอย่างมากที่สุด จนถึงยอมให้เกี่ยวข้องกับ

มงคลตามแบบของชาวบ้านได้ เฉพาะในแง่ที่เป็นเครื่องเสริมกำลังใจ- (เสริมในทางที่ดีงาม

ไม่ใช่ฮึกเหิมที่จะทำการชั่ว ร้าย) และเสริมความเพียรพยามให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น

โดยย้ำว่าจะต้องไม่เป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวหรือ ลดทอนความเพียรพยายามทำการตาม

เหตุผลเป็นอันขาด


ข. ความสัมพันธ์กับเทพเจ้าทั้งหลาย โดยวิธีอยู่ร่วมกัน (เกือบ = ต่างคนต่างอยู่)

ด้วยเมตตาเกื้อกูลกันด้วยไมตรี ผ่อนลงไปอย่างมากที่สุดจนถึงยอมรับการทำเทวตาพลี-

(ของถวายแก่เทวดาหรือแผ่ส่วนบุญอุทิศแก่เทวดา)

ในความหมายว่า เป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลหรืออุปการะแก่เทวดา (ไม่ใช่บนบาน อ้อนวอน

หรือ ขอให้โปรดปราน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ยิ่งผ่อนปรนให้มาก ก็ยิ่งจำเป็นจะต้องย้ำข้อเตือนสำนึกไว้ให้หนักแน่น ไม่จำเพาะชาวบ้าน

จะต้องคอยเตือนตนเองเท่านั้น แม้พระสงฆ์ก็ควรช่วยเตือนชาวบ้านบ่อยๆ เพราะชาวบ้าน

มีโอกาสใกล้ชิดสภาพแวดล้อมทางธรรมน้อย และมีกิจของฆราวาสวุ่นวายคอยชักให้แชเชือน

ได้ง่าย

ข้อเตือนสำนึกที่ว่านั้นก็คือ จะต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่า ตนยังอยู่ระหว่างกำลังพัฒนา ขณะนี้อยู่

ที่ขั้นนี้ ต้องระลึกไว้ว่า แม้ว่าขณะนี้ยังยุ่งเกี่ยวกับเทวดา ยังยุ่งเกี่ยวกับมงคล แต่ก็

หวังอยู่เสมอว่า จะก้าวไปสู่ขั้นแห่งความเป็นอิสระสักวันหนึ่ง

ถ้าพูดอย่างรวบรัดก็ คือ จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า "เราจะต้องเดินหน้า ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่

คำว่า เดินหน้า มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับพัฒนาการในอริยธรรมขั้นต้น เพราะ

หมิ่นเหม่ที่จะตกหล่นไปจากความเป็นสมาชิกในชุมชนชาวพุทธ ถอยหลังกลับไปอยู่ในชุมชน

ก่อนอารยะได้ง่ายเหลือเกิน เพราะในขั้นต้นสุดนี้ สิ่งที่ใช้ร่วมในพุทธศาสนากับในศาสนา

เดิมยังมีมาก และสิ่งนั้นบางที ก็เป็นสิ่งเดียวกันแท้ๆ เช่น มงคล และพลี เป็นต้น

ต่างแต่ท่าทีแห่งความเข้าใจสำหรับชี้นำ และจำกัดขอบเขตของการปฏิบัติ

ถ้าเกิดมงคล และพลี เป็นต้น ต่างแต่ท่าทีแห่งความเข้าใจสำหรับชี้นำ และจำกัดของขอบเขต

ของการปฏิบัติ

ถ้าเกิดเหตุเพียงแค่ว่าเผลอลืมท่าทีของการวางจิตใจนี้เสียเท่านั้น พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติ

ก็อาจพลิกกลับเป็นตรงข้ามทันที คือ หล่นจากสมาชิกภาพในชุมชนพุทธ ถอยกลับไปอยู่นอกชุมชนอารยะ

ดังนั้นคำว่า "เดินหน้า" จึงเป็นข้อเตือนสำนึกสำคัญที่จะต้องมาด้วยกันเสมอกับความสำนึก

ในท่าทีเป็นขอบเขตของการปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใดเดินทางก้าวหน้าถึงขั้นที่ 3 เมื่อนั้น จึงจะปลอดภัยแท้ เพราะได้เข้าอยู่ในชุมชนอารยะ

เป็นโสดาบันขึ้นไป ไม่มีการถอยหลังหรือลังเลใดๆ อีก มีแต่จะเดินหน้าอย่างเดียว

เพราะเข้าถึงความหมายของพระรัตนตรัย มั่นใจในความเป็นไปตามเหตุผล จนมีศรัทธา

ที่ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องอ้างอิงปัจจัยภายนอก ไม่ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวฤทธิ์ใดๆ และไม่

มีกิเลสรุนแรงพอที่จะให้ทำความชั่วร้าย หรือให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ เป็นปมในใจที่จะต้อง

ระบาย กับทั้งรู้จักความสุขอันประณีตซึ่งเกิดจากความสงบผ่องใสภายในแล้ว จึงมีความ

เข้มแข็งมั่นคงในจริยธรรมอย่างแท้จริง

ภาวะที่มีคุณธรรม มีความสุข และเป็นอิสระ ซึ่งอิทธิพลภายนอกไม่อาจมาครอบงำชักจูง

ได้ เพียงเท่านี้ เป็นความประเสริฐเพียงพอที่เทพเจ้าเหล่าเทวาดาจะบูชานบไหว้ และพอ

ที่จะทำให้ชีวิตของผู้นั้นเป็นอุดมมงคล คือ มงคลอันสูงสุดอยู่แล้วในตัว

มนุษย์เป็นยอดแห่งสัตว์ที่ฝึกได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีศักยภาพสูง สามารถฝึกได้ทั้ง

ทางกาย ทางจิต และทางปัญญา ให้วิเศษ ทำอะไรๆ ได้ประณีตวิจิตรพิสดาร

แสนอัศจรรย์ อย่างแทบไม่น่าเป็นไปได้

การมัวเพลินหวังผลจากฤทธานุภาพและเทวานุภาพบันดาล ก็คือการตกอยู่ในความ

ประมาท ละเลยปล่อยให้ศักยภาพของตนสูญไปเสียเปล่า และจะไม่รู้จักเติบโต

ในอริยมรรค

ส่วนผู้ใดไม่ประมาทไม่รีรอ เร่งฝึกฝนตนไม่หยุดยั้ง ผู้นั้นแหละจะได้ทั้งอิทธิฤทธิ์

และเทวฤทธิ์ และจะบรรลุสิ่งเลิศล้ำที่ทั้งฤทธานุภาพและเทวานุภาพไม่อาจอำนวยให้ได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “พลี” เป็นคำหนึ่งในบรรดาคำเดิมของศาสนาพราหมณ์ น้อยคำที่พระพุทธเจ้า

ทรงยอมให้ผ่านเข้ามาในพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธศาสนายอมรับเข้ามาใช้

โดยเกือบมิได้เปลี่ยนความหมายเลย- (คำอื่นที่นำมาใช้แต่เปลี่ยนความหมายใหม่ทีเดียว

เช่น ยัญ ตบะ เป็นต้น)

ทั้งนี้ พลี แต่เดิมมา มีความหมายเป็นการสละให้เพื่อเกื้อกูล หรือบำรุงเลี้ยงอยู่ด้วยแล้ว

(รวมกับความหมายว่า บูชา)

พลี ในศาสนาพราหมณ์นั้น เขาให้แก่เทวดา ผี คน ตลอดถึงนก และสัตว์อื่นๆ สิ่งที่ให้

เป็นพลี ได้แก่ อาหาร เช่น ข้าว และเปรียง เป็นต้น ตลอดจนดอกไม้ น้ำหอม ธูป

ไม้จันทร์ หมาก เครื่องเทศ เป็นต้น

ในรตนสูตร- (ขุ.ขุ. 25/7/5; ขุ.สุ.25/314/367) มีข้อความแนะนำเชิงสอน หรือเชิง

ชวนเทวดาให้สร้างเมตตาคุ้มครองรักษาหมู่มนุษย์ ซึ่งทำพลีให้ทั้งกลางวันกลางคืน

อรรถกถาขยายความให้เห็นว่า การแผ่ส่วนบุญให้ หรือให้มีส่วนร่วมในการทำความดี-

(ปัตติทาน) ก็เป็นความหมาย (แบบพุทธ) อย่างของพลี และที่บาลีแนะนำอย่างนั้น

หมายความว่า พวกมนุษย์อุปการะแก่เทวดา

เทวดา (ผู้ได้รับพลี) จึงควรมีความกตัญญู ช่วยคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์

(ขุทฺทก.อ. 185; สุตฺต.อ. 2/13)


พลี มี 5 อย่าง คือ

1. ญาติพลี -สงเคราะห์ญาติ

2. อติถิพลี -ต้อนรับแขก

3. บุพพเปตพลี-ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ

4. ราชพลี-บำรุงราชการ เช่น เสียภาษี เป็นต้น

5. เทวตาพลี-ทำบุญอุทิศให้เทวดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจกิริยา ทางออกที่ดีสำหรับผู้ยังหวังอำนาจดลบันดาล



สำหรับชาวพุทธในระยะพัฒนาขั้นต้น ผู้ยังห่วง ยังหวัง หรือยังมีเยื่อใย

ที่ตัดไม่ค่อยขาด ในเรื่อแรงดลบันดาล หรืออำนาจอัศจรรย์ต่างๆ

ประเพณีพุทธแต่เดิมมา ยังมีวิธีปฏิบัติที่เป็นทางออกให้อีกอย่างหนึ่ง

คือ "สัจกิริยา" แปลว่า การ

กระทำสัจจะ หมายถึงการอ้างพลังสัจจะ หรือการอ้างเอา

ความจริงเป็นพลังบันดาล คือ ยกเอาคุณธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติ

บำเพ็ญมา หรือมีอยู่ตามความจริง หรือแม้แต่สภาพ

ของตนเองที่เป็นอยู่จริงในเวลานั้นขึ้นมาอ้าง เป็นพลังอำนาจสำหรับขจัด

ปัดเป่าภยันตรายที่ได้ประสบในเมื่อหมดทางแก้ไขอย่างอื่น

วิธีนี้ ไม่กระทบกระเทือนต่อความเพียรพยายาม และไม่เป็นการขอร้อง

วิงวอนต่ออำนาจดลบันดาลจากภายนอกอย่างใดๆ ตรงข้าม กลับเป็นการ

เสริมย้ำความมั่นใจในคุณธรรม และ ความเพียรพยายามของตน และทำ

ให้มีกำลังใจเข็มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับวัตถุ หรือ พิธีที่จะ

เป็นช่องให้ขยายกลายรูปฟั่นเฝือออกไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้ ว่าตามแนวปฏิบัติของชาวพุทธ ยอมรับความจริงว่า เมื่อยังไม่

เป็นโสดาบัน ย่อมเป็นการยากนักที่คนจะช่วยตัวเองในทางจิตใจได้ตลอดไป

ทุกเวลา ดังนั้น สำหรับคนที่ยังหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดลบันดาล

และโชคชะตา ท่านจึงใช้วิธีเบนทิศทางเข้ามาสู่ธรรม ด้วยการแปรวิธีแก้

แทนที่จะให้ไปสะเดาะเคราะห์บวงสรวงอ้อนวอน ก็ให้สะเดาะอย่างใหม่

โดยให้ผู้นั้นทำการเสียสละตนในทางที่เป็นคุณประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

ไปบริจาคบำรุงสาธารณกุศล ไปสละแรงงานทำสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

แม้แต่หมอดูที่ใจมาทางพุทธ ก็จะแนะนำให้แก้ไขโชคชะตา ด้วยการไปทำ

บุญทำทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ เป็นต้น

การที่ทำเช่นนั้น บางทีสืบลึกลงไปถึงว่า บัดนี้ เทพไท้เทวาที่เขาอ้อนวอน

หวังพึ่งนั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยนี้ ล้วนเป็นผู้ที่ได้นับถือ

พระพุทธศาสนากันทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว (ส่วนมากก็เป็นชาวพุทธตั้งแต่ครั้งยังเป็น

มนุษย์)

ดังนั้น เทพเหล่านั้นจึงพอพระทัยที่จะเห็นคนทำสิ่งที่ดีงามเป็น

คุณประโยชน์ ยิ่งกว่าจะไปทำอะไรที่เหลวไหลไร้สาระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สะเดาะเคราะห์พิลึก ซดน้ำมนต์- 3 บาตร ผลสุดท้ายอ้วกตาย [3 ต.ค. 51 - 13:05]

เรื่องราวความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แม่พาลูกชายวัยรุ่นไปสะเดาะเคราะห์พระให้ดื่มน้ำมนต์ 3 บาตร
จนชักตาตั้งเสียชีวิตอนาถ เปิดเผยเมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 2 ต.ค. ร.ต.ต.ประสิทธิ์ สุขวงค์ ร้อยเวร
สภ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ได้รับแจ้งเหตุมีคนดื่มน้ำมนต์เสียชีวิตที่วัดบึงวังน้ำเย็น หมู่ 6 ต.บ้านแร่
อ.เขวาสินรินทร์ จึงนำกำลังตำรวจพร้อมด้วย นพ.วิริยะ เหล่าบรรเทา แพทย์เวร รพ.สุรินทร์ และหน่วยกู้ภัยมูลนิธิจิบเต็กเชียงตึ๊งสุรินทร์ ไปร่วมตรวจสอบ

วัดที่เกิดเหตุตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นวัดขนาดเล็กมีพระจำพรรษา 2 รูป บริเวณสนามหญ้าลานวัดใต้ต้นไม้ใหญ่ ข้างศาลาวัดมีชาวบ้านมุงดูอยู่จำนวนมากพร้อมจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา พบศพ นายบุญยัง เครือเนียม อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ 7 ต.บ้านแร่ สภาพนอนหงายเสียชีวิต
ตามร่างกายไม่มีบาดแผล ข้างศพพบบาตรพระตั้งอยู่บนเก้าอี้ โดยมีรอยคราบน้ำจากการอาเจียนส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งรอบบริเวณ โดยมีนางเพลือน เครือเนียม อายุ 58 ปี มารดาผู้ตาย พร้อมญาติพี่น้อง
และหลวงตาญวน อายุ 56 ปี เจ้าอาวาสวัด นั่งรอให้ปากคำตำรวจ

http://www.thairath.co.th/offline.php?s ... ent=106376


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=inhale&id=14&page=2&page_limit=50

กราบขอบพระคุณท่านกรัชกายที่รวบรวมสาระประโยชน์เพื่อเป็นวิทยทานที่เวปข้างบนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:42
โพสต์: 25


 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: พระพุทธเจ้าตรัสกับชาวบ้านศาลา โกศลชนบท ความว่า

ผู้ที่เห็นว่า ทานไม่มีผล ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกหน้าไม่มี อุปปาติกสัตว์ (สัตว์ที่เกิดมาโตเต็มที่ทันที เช่น เทวดา) ไม่มี ... เป็นอันหวังได้ว่า จะไม่ประพฤติกุศลธรรม จะประพฤติอกุศลธรรมเพราะเขาไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์แห่งกุศลธรรม

ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของเขาว่า โลกหน้าไม่มีความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่า โลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดของเขานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม
(อปัณณกสูตร ๑๓/๑๐๖) :b41:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร