วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ร่วมด้วยช่วยค้นค่ะ คุณตรงประเด็น เกี่ยวกับสมถะที่มีกล่าวถึงเยอะมากในพระไตรปิฏก ควบคู่กับวิปัสสนาเลยทีเดียว

[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=4279&w=สมถะ[/url]

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

จบปฏิปทาวรรคที่ ๒


หนึ่งในหลายๆตอนที่ทรงกล่าวถึงสมถะที่ควบคู่กับวิปัสสนา

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน


ว่าแต่ว่า อันนี้ถ้าไม่เรียกว่าจิตนิ่ง จะเรียกว่าจิตมีสมาธิ หรือจิตตั้งมั่นได้มั้ยคะ :b6:
เคยใช้แต่คำว่าจิตนิ่ง เพราะรู้สึกว่ามันไม่ซัดส่ายไปมา ทำให้สามารถพิจารณาอะไรๆได้พอควร
แล้วแต่ความตั้งมั่นของจิต

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ครับ คุณโปเต้ :b8:


ที่คุณ เสนอ

อ้างคำพูด:
ว่าแต่ว่า อันนี้ถ้าไม่เรียกว่าจิตนิ่ง จะเรียกว่าจิตมีสมาธิ หรือจิตตั้งมั่นได้มั้ยคะ
เคยใช้แต่คำว่าจิตนิ่ง เพราะรู้สึกว่ามันไม่ซัดส่ายไปมา ทำให้สามารถพิจารณาอะไรๆได้พอควร
แล้วแต่ความตั้งมั่นของจิต


ผมค้นคำว่า "จิตนิ่ง" ไม่พบในพระสูตรครับ

แต่ พบคำว่า "จิตสงบ" มากมายในพระสูตรต่างๆ... และ พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า เป็นธรรมที่ตรงข้ามกับ ความฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)

ลองอ่านน่ะครับ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... _byte=5407

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นและอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ


และ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=888477

ว่าด้วยอุเบกขา
[๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.


คำว่า "จิตสงบ"นี้ คือ จิตไม่ฟุ้งซ่าน นั่นละครับ

และ พระพุทธองค์ทรงสอนให้สาวกเจริญสมาธิภาวนาเพื่อยังให้จิตสงบ แน่นอนครับ...ไม่ต้องสงสัย.

เพราะ ถ้าพระพุทธเจ้าจะห้ามไม่ให้สาวกอบรมจิตให้สงบจริงๆ ท่านก็เพียงตรัสมาว่า ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา และ ท่านก็คงไม่สอนสมาธิภาวนาวิธีไว้หรอก....

ก็จบกัน ไม่ต้องมาเถียงกันมากมายอย่างนี้

เพียงแต่ พระองค์ทรงตรัสเตือนสาวกเรื่อง "ข้อพึงระวังเกี่ยวกับความสงบ" .....ว่า ไม่พึง "กำหนัดด้วยยินดี" ผูกพันด้วยยินดี" หรือ "ประกอบด้วยสังโยชน์" ในความสงบนั้นๆ ...คือ ไม่ให้ยึดมั่น-ถือมั่น ในความสงบ

ดังปรากฏใน ฌานสูตร หรือ ดังที่ปรากฏในพระสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=552938




ปัญหาที่ใหญ่มากๆ คือ มีบางท่าน เห็น"ข้อพึงระวังเกี่ยวกับความสงบ"ที่พระพุทธองค์ทรงเตือนไว้ คือ "เหตุผลที่ไม่ควรเจริฯสมาธิภาวนา" ไปเสีย....

แล้ว ก็หันมามุ่งตำหนิสมาธิภาวนาวิธีต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพุธบอกว่า ตัวสมถะกรรมฐานที่แท้นั่นคือ"อัปนาสมาธิ"
หลวงพ่อปราโมชเองก็บอกว่า การดูจิตที่ท่านสอนนั้น เวลาดูจนจิตมันรวม
มันรวมลง"อัปนาสมาธิ"

พูดง่ายๆว่า ไม่มีใครวิปัสนาได้โดยไม่ผ่านสมถะสมาธิ
ธรรมชาติมันเป้นของมันอย่างนี้
ไม่ใช่่ว่าเรากำหนดเลือกเอา หรือเลือกไม่เอาตามใจได้แต่อย่างใดครับผม

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองมาวิเคราะห์ บทความ ของพระวิปัสสนาจารย์ ทีละประเด็น


ฝึกดูใจ..ไม่ใช่การฝึกใจ..

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151




อ้างคำพูด:
วิปัสสนาปัญญา เรียกในภาษาธรรมว่าวิปัสสนากรรมฐาน มิได้มีจุดมุ่งหมายว่าทำให้ใจสงบตั้งมั่น ไม่ใช่การนั่งนิ่งๆเพื่อทำจิตใจให้สงบแต่ต้องการนั่งนิ่งๆเพื่อเฝ้าติดตามดูความรู้สึกต่างๆให้ทัน..


จริงอยู่ ที่วิปัสสนาคือการเจริญปัญญา ....ไม่ได้มุ่งหมาย ให้จิตสงบ

แต่ แม้นในผู้ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรง สมถะ(มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่น)ก็จะเป็นของที่ปรากฏขึ้นเองเช่นกัน ที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า... สมถะนี้ เกิดจากการที่จิตปล่อยวาง .

ดังนั้น ต่อให้ไม่เจริญสมาธิภาวนา และ เจริญวิปัสสนาโดยตรง ความมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นก็จะต้องปรากฏเช่นกัน....

ถ้า ห้ามไม่ให้มีสมถะเกิดขึ้น
ก็หมายความว่า ต้องเจริญวิปัสสนาแบบ มีหลายอารมณ์(ชอบ-ชัง ดีใจ-เสียใจ) ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น อย่างนั้นหรือ?

ทุกวันนี้ สังคมเต็มไปด้วยความฟุ้งซ่านมากเกินพออยู่แล้ว จะไปทำให้มันฟุ้งซ่าน มากไปกว่านั้นอีกหรือ?




อ้างคำพูด:
การฝึกใจให้สงบ ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ด้วยการบังคับใจให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ไม่รับรู้อย่างอื่นนั้น เรียกว่า สมถกรรมฐาน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการปฎิบัติกรรมฐานซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือฌานสมาบัติและอภิญญาจิต หรือสมาธิขั้นแน่วแน่ และความสามารถพิเศษของจิตในการรับรู้ เช่น การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ การอ่านใจคนอื่น หรือการมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ แม้จะฟังดูพิเศษ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจ เพราะเป็นความสามารถที่ไม่อาจพาใจให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้..



ท่านกล่าวไม่ครบ ถึง สมาธิภาวนา4ประเภท ที่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิม

“ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ

1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)

2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ

3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ

4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

(องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ...)



เหมือนท่านจะไม่ยอมรับ ข้อ3 และ ข้อ4 ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จริง





อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นนักพรต ดาบส ฤาษี ชีไพร ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล


ในพระสูตรต่างๆ กล่าว สมถะ และ วิปัสสนา คู่กันเต็มไปหมด

ลองอ่าน


[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


นี่เป็นหลักฐานสำคัญจากพระพุทธพจน์
ที่ระบุชัดเจนอีกจุดหนึ่งว่า ในการเจริญอริยมรรค ...ย่อมมีทั้ง "สมถะ และ วิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป"



[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา
ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสนา
ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่ง ธรรมที่คู่กัน


และ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่



จาก พระสูตรนี้
ในขณะจิต แห่งการบรรลุมรรคผล อริยมรรคสมังคี ย่อมต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง สมถะ(สัมมาสมาธิ) และ วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)


ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้ดังนี้

จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."



สัมมาสมาธิ(สมถะ) ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ จึงต้องบังเกิดขึ้นกับทุกท่าน ถ้าเดินมรรคถูกทาง.... ไม่ว่า จะในแนวทางไหนๆ



แล้ว เหตุไฉน จึง ยก สมถะ ให้เป็นของนอกพระพุทธศาสนาไปเสียเช่นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าไปอ่านแล้ว :b6: :b6: :b6: คิดว่า ผู้เขียนคงเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนไปเยอะ

สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง 2 สิ่งนี้ เป็นสิ่งเดียวกัน หรือจะใช้คำว่า มีพื้นฐานเดียวกันก็ได้ นั่นคือ กำเนิดจากการทำสมาธิ จนจิตสงบพอสมควร จะเปรียบให้เห็นง่ายๆ ก็เช่นว่า...
ถ้าเราทำสมาธิ โดยนึกภาพกสิน นั่นคือ สมถะ สักพักหนึ่งเราเปลี่ยนใจ ไม่นึกภาพกสิน หันไปพิจารณาธรรมมะต่างๆ นั่นก็คือ วิปัสสนา

ที่บอกว่า วิปัสสนาต้องเกิดจากการทำสมาธิจนจิตสงบพอสมควร เพราะในชีวิตประจำวัน ใจจะมีอคติต่างๆ ทำให้การพิจารณาทำได้ไม่ดีนัก

การทำสมถะกรรมฐานอย่างเดียว จนได้อภิญญาจิต แม้จะไม่ทำให้หลุดพ้น เป็นอรหันต์ แต่ถือว่า มี ความพร้อม แล้ว ดังที่คุณตรงประเด็นยกมา...

สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนา...ก็ต้องมีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะ...ก็ต้องมีวิปัสนาเป็นที่สุด
:b12: :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 34

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 94.33 KiB | เปิดดู 4440 ครั้ง ]
จิตนิ่งไม่ได้เพราะไม่รู้จักการเอาจิตไปว่างไว้ตรงไหนทำแบบนี้ก็ (หาอะไรทำอิอิ)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาวิเคราะห์ บทธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ กันต่อครับ


ฝึกดูใจ..ไม่ใช่การฝึกใจ..

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151

อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นนักพรต ดาบส ฤาษี ชีไพร ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งวิชาเหล่านั้นพระพุทธเจ้าทรงศึกษามาจนจบหลักสูตรแล้วจากสองอาจารย์คือ ท่านอาฬารดาบส และ ท่านอุทกดาบส สมถกรรมฐานนั้นพาพระองค์ไปได้สูงสุดแค่อรูปฌาน แต่ยังไม่ถึงทางหลุดพ้น..

พระองค์จึงทรงหาทางหลุดพ้นด้วยตัวเองโดยยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งจะนำไปสู่การหลุดพ้นแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้



อ่านดู เหมือนกับ ท่านจะกล่าวในลักษณะที่ว่า....

พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสมถะ ในลักษณะ"วิปัสสนาล้วนๆ"??? :b6:



เมื่อก่อน ผมเองก็เคยเข้าใจอย่างนั้นเช่นกัน

เพราะ เห็น ท่านดาบสทั้งสองไม่ตรัสรู้ ทั้งๆที่สำเร็จอรูปฌานขั้นสูง.... และ พระพุทธองค์ตอนเสด็จไปอยู่ในสำนักดาบสทั้งสองก็ไม่ทรงตรัสรู้...แต่ พอพระพุทธเจ้าท่านแยกพระองค์ออกมาจากสำนักแห่งดาบสทั้งสอง จึงตรัสรู้
เลยเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสมถะเลย

แต่ ความจริง นี่เป็นความเข้าใจผิด!!!


เสนออ่าน สคาวรสูตร อย่างละเอียด

พระสูตรนี้ เป็นพระพุทธพจน์โดยตรง ตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์ตั้งแต่ทรงออกบรรพชา จนตรัสรู้... มีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับประเด็นนี้

สคารวสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=906254

[๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้
จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ.
เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.

[๗๕๓] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มีกายอันถึงความซูบผอม
เหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึงความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาสเถิด. เราจึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส. สมัยนั้น ภิกษุ(ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป บำรุงเราอยู่ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมกุมมาส. พวกภิกษุ (ปัญจวัคคีย์) ๕ รูปนั้น เบื่อหน่ายเราหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.

ฌาน ๔
[๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ญาณ ๓
[๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ...(จุตูปปาตญาณ.... อาสวักขยญาณ ๆลๆ)




พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....

มีที่น่าสนใจ คือ พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบสมาแล้ว
แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรสรู้ จึงหลีกออกมา
และ ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ

จึงทรงหวลระลึก ถึง รูปฌานที่๑ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ ดังที่ตรัสว่า

"....เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา
เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ?
จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม....."




และ ในคืนตรัสรู้ พระองค์ก็ทรงเจริญอานาปานสติ จนบรรลุรูปฌานที่๔ด้วยอานาปานสติ และ ใช้ฌาน๔เป็นบาทแห่งญาณ๓
(พึงสังเกตุ ไม่มีพระพุทธพจน์ตรงไหนเลยที่ตรัสว่า ออกจากฌานแล้วค่อยมาเจริญวิปัสสนา)


พึงสังเกตุว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงใช้วิธีการเจริญอรูปสมาบัติที่เคยศึกษามาจากดาบสทั้งสอง เป็นบาทแห่งวิปัสสนาในคืนตรัสรู้... แต่ พระองค์ ทรงใช้ อานาปานสติสมาธิภาวนา เป็นบาทแห่งวิปัสสนาในคืนนั้น!!!

แล้ว จะไปกล่าวในลักษณะที่ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสมถะเลยได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1854

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในระดับพระสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอน สมถะคู่กับวิปัสสนา แน่นอนครับ

วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)ที่พระพุทธเจ้าสอน ก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของสมถะ(สัมมาสมาธิ) นั่นเอง

:b8: อนุโมทนา กับทุกท่าน

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาวิเคราะห์ ต่อน่ะครับ



อ้างคำพูด:
อีกสาเหตุคือ สมถกรรมฐานนั้นต้องอาศัยการปลีกตัวออกจากสังคม หมู่คณะ และไปอยู่ลำพังในสถานที่วิเวกอันสงบเงียบเท่านั้น ผู้ที่ยังมีภารกิจ ยังมีงาน มีครอบครัว จึงมีสภาวะจิตที่ไม่พร้อมสำหรับการเจริญฌาน..เหล่านั้น



เรื่อง เสียงเป็นข้าศึกต่อ ปฐมฌาน มีการพูดกันมาก

ผมเคยอ่านพบใน พระอภิธรรม ดังนี้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 02&Z=18552

[
Quote Tipitaka:
๑๗๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึกต่อปฐมฌาน มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึกต่อปฐมฌาน ด้วยเหตุ
นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้
ส. เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึกต่อปฐมฌาน ฉะนั้น ผู้ที่
เข้าสมาบัติ จึงฟังเสียงได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว



ผมก็อยากจะทราบเหมือนกัน ว่า พระพุทธพจน์โดยตรง ในเรื่องนี้ ตรัสเอาไว้เช่นใด

ผมเคยลองค้นใน ระดับพระสูตร
หาพระพุทธพจน์โดยตรงที่ตรัสเรื่อง เสียงเป็นข้าศึกปฐมฌาน ผมหาไม่พบ..
ท่านใดพบพระสูตรไหนตรัสตรงๆในเรื่องนี้ ช่วยบอกเป็นวิทยาทานด้วยน่ะครับ



ในระดับพระสูตร
เท่าที่ผมเคยผ่านตา
มี พระพุทธพจน์แสดง สิ่งที่เป็นเครื่องเบียดเบียนปฐมฌาน คือ ความคิดคำนึงในกาม(สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม)

จาก นิพพานสูตร

http://d71233.u23.bangkokserver.net/tip ... agebreak=0

ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
เหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
ฉันนั้นเหมือน




และ มีในพระสูตร ที่ตรัสถึงว่า การฟังธรรมที่ไม่เข้าใจ เพราะ ไม่มีเอกัคคตตาจิตฟังธรรม

(การฟังธรรมที่เข้าใจ ก็เพราะมีเอกัคคตาจิตฟังธรรม)

[๑๕๑] ปุจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโตปิ สทฺธมฺมํ อภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ กตเมหิ
ปุจหิ
กถํ ปริโภติ
กถิกํ ๑ ปริโภติ
อตฺตานํ ปริโภติ
วิกฺขิตฺตจิตฺโต ธมฺมํ สุณาติ อเนกคฺคจิตฺโต
อโยนิโส [๒]- มนสิกโรติ
อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปุจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโตปิ สทฺธมฺมํ อภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ ฯ

ปุจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโต ๓ สทฺธมฺมํ ภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ กตเมหิ
ปุจหิ
น กถํ ปริโภติ
น กถิกํ ปริโภติ
น อตฺตานํ ปริโภติ
อวิกฺขิตฺตจิตฺโต ธมฺมํ สุณาติ เอกคฺคจิตฺโต
โยนิโส [๒]- มนสิกโรติ
อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปฺุจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต สุณนฺโต สทฺธมฺมํ ภพฺโพ นิยามํ โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตนฺติ ฯ


ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
เหตุห้าอย่างอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ
สนใจแต่คำพูด
สนใจแต่ผู้พูด
สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม
และทำในใจไม่แยบคาย.
ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.

- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๑.




ในสมัยพุทธกาล เอกัคตาจิต(ที่ยังไม่ใช่ระดับฌาน๔) สามารถฟังธรรมได้อยู่

(ฌาน๔ จะตัดขาดจากอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย .... และ ไม่มีแม้นแต่ความรู้สึกแห่งลมหายใจ. แต่ ในฌาน๔ที่เป็นสัมมาสมาธิ ก็ยังสามารถบรรลุมรรคผลได้ และ ได้ดียิ่งเสียด้วย ....อ่าน รายละเอียดเรื่อง ฌานกับวิปัสสนา จาก หนังสือพุทธธรรม )

ความเชื่อ เรื่องที่ว่า การเจริญปฐมฌาน ต้องอยู่ในที่ที่ปราศจากเสียงเท่านั้น เป็นความเชื่อ ที่ถูกนำมาเอาไว้คัดค้าน-ตำหนิการเจริญสมาธิภาวนา มานานแล้ว....

จริงอยู่ ที่ พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสให้สาวก เจริญอานาปานสติที่ โคนไม้ เรือนว่าง ป่า ถ้ำ ที่เงียบสงบ... แต่ ก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้เจริญอานาปานสติในสถานที่อื่นๆ ถ้า หากหาสถานที่สงบไม่ได้....


ที่จะมีการกำหนดระยะห่างจากชุมชน(ที่ไกลมาก)สำหรับการเจริญอานาปานสติ เห็นจากคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลเป็นส่วนใหญ่



ท่านพุทธทาส ท่านเคยกล่าว เรื่อง เสียงกับการเจริญอานาปานสติ ไว้ดังนี้

http://www.siamganesh.com/samadhi.html

เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ไม่มีอุปสรรค เว้นแต่จะไปยึดถือเอาว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง

เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้นเป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง



เคยทราบมาว่า หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล ท่านยังเคยให้ลูกศิษย์ไปเจริญสมาธิในขณะที่เขาเล่นมโหรีกัน



หรือ จะดูจากทางอ้อม ว่า เสียงเป็นสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิอย่างเด็ดขาดจริงหรือไม่

ก็ลองดูที่ มีการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกากว่า10ล้านคน นั่งสมาธิเป็นประจำทุกๆวัน

อนึ่ง ถ้าหากชาวอเมริกันนั่งสมาธิไม่ได้ผลเลย เขาคงไม่(ทน)ทำกันเป็นประจำหรอก..ผู้ที่ทำเป็นประจำได้ ก็ต้องเป็นเพราะได้พบความสงบจากสมาธินั้นเอง
และ ลองเทียบ อเมริกา กับ ไทย เรื่อง มลภาวะทางเสียง...ผมว่า ความดังของเสียง ไม่น่าจะต่างกันน่ะ(ไทยเรา มีเครื่องบินน้อยกว่าเขาเสียอีก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


[color=#8000FF]ผมอ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้มากเลยครับ ระวังกับดับด้วยนะครับ ถ้าจิตติดอยู่ในความสงบ อาจทำให้ไม่ยึดติดในรูป ว่ากันว่าอาจจะกลายเป็นพรหมลูกฟักได้นะครับ :b12: พอดีผมมีปัญหามาสอบถามเพิ่มเติมเจ้าของกระทู้ด้วยครับ เพราะเห็นว่าอยู่ในเรื่องเดียวกัน...ว่ากันว่า ถ้าเรารู้ทันจิต ไม่ประคอง ไม่เพ่ง และไม่ปล่อยให้หลงไป รู้ก็ขอให้แค่รู้ว่าหลง การรู้เท่าทันจิตดังกล่าวนี้สามารถทำให้เราแยกรูปแยกนามใช่หรือไม่ ครับ]
เจริญในธรรมทุกท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดี สนทนาครับ คุณไผ่



อ้างคำพูด:
ระวังกับดับด้วยนะครับ ถ้าจิตติดอยู่ในความสงบ อาจทำให้ไม่ยึดติดในรูป ว่ากันว่าอาจจะกลายเป็นพรหมลูกฟักได้นะครับ


เรื่อง กับดักสมาธิ จะเป็นเรื่องที่ชาวพุทธปัจจุบันพูดกันมาก
ทั้งๆที่ หลายท่าน ยังไม่เคยแม้นแต่จะสัมผัสฌานเสียด้วยซ้ำ
จนบางครั้ง เป็นเหมือน กลัวสิ่งที่ยังไม่เคยเกิด กลัวในสิ่งที่ตนยังไม่รู้จักจริง

พระพุทธองค์ท่าน ทรงตรัสให้สาวกออกจากกามสุขทางกาย(ศีลเนกขัมมะ) และ ใจ(ด้วยสมาธิภาวนา)

ทรงแสดงอานิสงส์แห่งการออกจากกามในโพธิราชกุมารสูตร...เพราะ ผู้ที่ออกจากกามสุขแล้ว ย่อมเอื้อต่อการบรรลุธรรมขั้นสูงได้ง่ายกว่าผู้ที่ยังอยู่ในกาม

แต่ ในขณะเดียวกัน ก็ทรงตรัสเตือน ไม่ให้สาวกติดตันยินดี ในฌาน ดังที่ปรากฏใน ข้อมูลที่ผมนำมาแสดงข้างต้น

เป็นลักษณะ สอนให้รู้จักใช้ประโยชน์ของสมาธิภาวนา และแสดง ข้อพึงระวังของสมาธิภาวนา


แต่ ปัจจุบัน ชาวพุทธเรา จะเห็น ข้อพึงระวังของสมาธิภาวนา ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนไว้ เป็น เหตุผลที่ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนาไปเสียแล้ว

เรื่อง ที่ท่านดาบสทั้งสอง ไปติดตันอยู่ในอรูปฌาน นั้น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะท่านทั้งสองไม่ได้เดินอยู่ในอริยมรรค สมาธิที่ท่านทั้งสองบรรลุจึงยังไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระอริยะ ด้วยเหตุว่า ในขณะนั้น พระพุทธองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ และ ท่านดาบสทั้งสองยังไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นตัวกำหนดทิศทางในการภาวนาแต่เบื้องต้น และ ท่านดาบสทั้งสองท่านไม่ได้เจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน สมาธิของท่านดาบสทั้งสองจึงไม่มีสัมมาสติเป็นเหตุนำใกล้ ....ท่านดาบสทั้งสองจึงไม่สามารถบรรลุมรรคผล

หาใช่ว่า เป็นเพราะ สมาธิเป็นตัวปิดกั้นปัญญา อย่างที่เข้าใจกัน


และ อยากให้สังเกตุ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว บุคคลที่พระพุทธองค์มุ่งหมายจะเสด็จไปโปรดแรกสุดคือ ท่านดาบสทั้งสองนี้เอง... แต่ ท่านทั้งสองทำกาละไปแล้ว พระพุทธองค์จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์แทน ซึ่งก็เป็นผู้บำเพ็ญตบะอีก เช่นกัน...

หาก ท่านดาบสทั้งสอง ไม่ด่วนทำกาละไปเสียก่อน
พระอรหันตสาวกองค์แรกในโลก ก็คงไม่ใช่ท่านอัญญาโกณทัญญะ ....แต่ น่าจะเป็น ท่านดาบสทั้งสอง ท่านใดท่านหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาวิเคราะห์กันต่อน่ะครับ



อ้างคำพูด:
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับคนที่มีสถานภาพอย่างพวกเรา เพราะวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มุ่งเน้นให้ใจนิ่ง แต่ฝึกการระลึกและการกระทำความรู้สึกให้แคล่วคล่องว่องไว เพื่อใช้ตามดูใจ ให้รู้เท่าทันความจริง จนสามารถนิ่งเฉยต่อสิ่งกระทบได้..


สังเกตุดูดีๆน่ะครับ

ท่านกล่าวว่า" วิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มุ่งเน้นให้ใจนิ่ง "

และ ท่านกล่าวต่อ ถึงอานิสงส์ของวิปัสสนากรรมฐานว่า "ให้รู้เท่าทันความจริง จนสามารถนิ่งเฉยต่อสิ่งกระทบได้"

ท่านกำลังใช้ภาษาที่สับสนมาก

ท่านกำลังกล่าว คล้ายๆกับท่าน จขกท คือ ใช้คำว่า"ใจนิ่ง" คล้ายๆกับที่ ท่าน จขกท ใช้คำว่า"จิตนิ่ง"ในแง่มุมของมิจฉาสมาธิเพียงอย่างเดียว

ในขณะที่ท่านเอง ก็กล่าวว่า วิปัสสนากรรมฐานสามารถยังให้จิต"นิ่งเฉย"ต่อสิ่งกระทบได้!!!



ซึ่ง ความจริงแล้ว อาการนิ่งเฉยของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น พระพุทธองค์ท่านเรียกว่า สมถะ เช่นกัน!!!...
เป็น สมถะที่เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา....
ที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

ลองอ่านพระสูตรอีกรอบ

[๕๓๗] กถํ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ

อนิจฺจโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา ทุกฺขโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา
อนตฺตโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา

ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ จ โวสฺสคฺคารมฺมณตา จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป สมาธิ

อิติ

ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ
เตน วุจฺจติ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ




[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่ จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา



เพราะเห็นแจ้ง จึงปล่อยวาง
เพราะปล่อยวางจิตจึง เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่น

คือ ถึงแม้นจะเจริญอริยมรรคโดยเน้นวิปัสสนาก็ตาม ถ้าเจริญได้ถูกต้อง สมถะ(จิตที่เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่น) ก็จะต้องปรากฏตามมา เช่นกัน



หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านได้กล่าวถึง เอกัคคตาจิตที่เกิดจากกระบวนการทางวิปัสสนา ไว้อย่างน่าสนใจ

โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....

อารมณ์อันเดียว คือ อารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง



ลองย้อนกลับไปอ่าน เทียบกับพระสูตรข้างบนอีกรอบ

ผมเห็นว่า หลวงปู่ท่านกำลังกล่าวถึง เอกัคคตา อันเป็นผลจากการปล่อยวางด้วยวิปัสสนาอยู่ เช่นกัน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ข้อพึงระวังของสมาธิภาวนา นั้น ไม่มีอะไรต้องกังวล

ถ้าตอนนี้จะพูดกันมาก แต่อีกพักหนึ่ง ก็จะซากันไปเอง ทั้งนี้ก็เป็นเพราะ ในทางโลกทั่วๆ ไปนั้น ไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่องนี้มาก่อน (ไม่นับทางธรรมนะ) ทุกคนจะคิดอย่างเดียวว่า กรรมฐานนั้น ไม่มีผลเสียอะไรเลย...
แต่ทีนี้ พอเรารู้ว่า กรรมฐานนั้น หากปฏิบัติผิดวิธี ก็ส่งผลเสียได้เหมือนกัน ในทางร้าย อาจทำให้เกิดอาการป่วยโดยหาสาเหตุไม่ได้ หรืออย่างเบาะๆ ก็กลายเป็นผู้วิเศษไป (เพี้ยน)
สักพักหนึ่ง พอคนรู้ว่า สิ่งนี้มีทั้งดีและเสีย ก็จะเริ่มเข้าใจและเลิกกังวลไปเอง...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร