วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 23:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ จะขอแนะนำการเจริญวิปัสสนาที่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หากผู้อ่านทำความเข้าใจให้ดีจะเกิดสัมมาทิฐิ สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติจริงๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องโดยไม่ยาก เนื้อหาต่างๆ จะกล่าวถึงเฉพาะว่าปฏิบัติอย่างไรบ้างเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าจะมีญาณอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เจ้าของกระทู้ได้จึงได้สรุปมาให้จากการประสบการณ์ปฏิบัติจริงๆ อีกที และจะมีพระไตรปิฏกเสริมความข้างท้าย ดังต่อไปนี้...

วิปัสสนาระดับพื้นฐาน จะใช้คำพูด การนึกช่วยด้วย จะเรียกภาษาทั่วไปว่า "โยนิโสมนสิการ" หรือ "การพิจารณา" ก็ได้ ไม่ว่าจะใช้วิจัยธรรม, เลือกสรรค คิดค้น, ใคร่ครวญ เช่น เห็นผู้หญิงก็เพ่งพินิจไปตามความจริงให้เห็นว่ามีลักษณะเป็นโทษเป็นปฏิกูลอย่างไร, ได้ยินเสียงไพเราะก็พิจารณาไปว่าเกิดมาจากสาเหตุปัจจัยอะไร เป็นต้น จะสังเกตว่ามีการเพ่งพินิจอยู่ด้วย แต่ไม่ใช่เพ่งอย่างเคร่งเครียดอย่างที่เข้าใจกัน แต่เหมือนกับการจับเอาของสิ่งหนึ่งมาตรวจสอบดู พลิกซ้ายพลิกขวา เพื่อให้เห็นแง่มุมต่างๆ เมื่อพิจารณาไปจิตจะเกิดความรู้สึกปล่อยวางขึ้นมาเอง หลังจากพิจารณาเสร็จแล้ว ก็วางสิ่งของที่เรานำมาเพ่งพินิจนำมาตรวจสอบไป ไม่ยึดติดอีกเพราะรู้กระจ่างแล้ว

วิปัสสนาระดับกลาง จะใช้คำพูดไม่ได้ เพราะระดับนี้จะอยู่ในฌาน เป็นระดับที่เกินจากการมีวิตก และวิจาร เป็นระดับที่ปราศจากวิตก และวิจาร เป็นระดับที่พิจารณาสิ่งอันละเอียดรวดเร็วไม่สามารถใช้คำพูดช่วยวิพากวิจารไปพร้อมกันได้ จะต้องใช้การเข้าไปสังเกต เฝ้าดู เฝ้ารู้อยู่ แต่เมื่อสังเกต เฝ้าดู เฝ้ารู้แล้ว ก็ยังสามารถใช้คำพูด คำนึกในหัว (หรือเกิดคำพูด คำคิดในหัวขึ้นมาเอง) ก็ได้ เพื่อเป็นการสรุปสิ่งที่ได้สังเกต เฝ้าดู เฝ้ารู้ เป็นภาวะที่จิตจะจำ จะเข็ดกับสิ่งๆ นั้น (แต่ก็ถือว่าเป็นโยนิโสมนสิการ และการพิจารณาไปในตัว)

วิปัสสนาระดับสูง ก็คือ วิปัสสนาญาณ เป็นระดับที่เป็นญาณแล้ว ไม่ต้องใช้ หรือจะใช้การคิดหรือไม่จิตก็จะเห็นเป็นไตรลักษณ์ได้เองอยู่อย่างนั้น แต่ไม่ใช่ว่าจะเห็นได้ที่เดียวเป็นไตรลักษณ์ได้ครบหมด จะเห็นอะไรก็พึงวางจิตไป ก็จะเห็นเฉพาะมุมมองนั้นเท่านั้น เช่น จิตจะดูอนิจจังก็เพ่งไปในลักษณะอนิจจังก็จะเห็น นี้เป็นฤิทธิของพระอริยะอย่างหนึ่ง, หากจะดูปฏิกูลก็เพ่งไปดูปฏิกูลก็ได้, จะเพ่งไปดูลักษณุทุกข์ก็เห็นทุกข์ได้, จะเพ่งไปดูลักษณะอนัตตาก็เห็นลักษณะอนัตตาได้ เป็นต้น ญาณต่างๆ เหล่านี้มีอยู่แล้ว เพียงแต่นำมารู้ในแง่ไหนเท่านั้น

วิปัสสนาในระดับเบื้องต้น และระดับกลาง ล้วนเป็นการบ่มเพาะสัมมาทิฐิในระดับโลกียะทั้งสิ้น แต่เมื่อทำไปจิตจะยกขึ้นสู่โลกุตระเป็นวิปัสสนาระดับสูงได้เอง และก็เป็นการถอนสัญญาวิปัสลาส เช่น นิจจสัญญา(เห็นว่าเที่ยง), อัตตสัญญา(เห็นว่าเป็นตัวตน) ออกไปโดยการให้จิตนั้นหมั่นจำในสิ่งที่เป็นสัญญาอันถูกต้อง เช่น อนิจจสัญญา, ทุกขสัญญา, อนัตตสัญญา เข้าไปแทน แต่ทั้งนี้หากจะทำโดยใช้การไม่ใช้คำพูดช่วยด้วย เห็นว่าไม่น่าจะใช้ได้ดี เพราะเหมือนกับการข้ามขั้นไป เราควรจะทำจากฐานไปสู่ยอด ไม่ทำจากยอดมาสู่ฐาน ต้องก่อเจดีย์จากฐานไปหายอดไม่ก่อจากยอดมาหาฐาน ดังนั้นเราควรกำหนดรู้สิ่งปัจจุบัน แล้วนำมาเพ่งพินิจเพื่อให้เกิดความรู้ แล้วความปล่อยวาง ไม่ถือมั่นสักแต่ว่าจะเกิดได้เองครับโดยไม่ยาก

ลองเทียบดูจากพระสูตรต่อไปนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เห็นว่าวิปัสสนามีด้วยกันหลายอย่าง หลายระดับ แม้การคิด การใคร่ครวญ ก็เป็นวิปัสสนาด้วย...

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.


ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการเจริญวิปัสสนาที่พัฒนาจากระดับพื้นฐานไปเป็นระดับสูง

๒. ผัคคุณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร
จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุ
นั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกร
อานนท์อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาล
อันควร ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตายเธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลางอันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปใน
ส่วนเบื้องต่ำ ๕เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรม
โดยกาลอันควร ฯ
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคต
ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อม
ทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่ง
ด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูกรอานนท์ นี้
เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ

ดูกรอานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วน
เบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น
ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้อง
ต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น
ยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรม
โดยกาลอันควร ฯ
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตแต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวก
ของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตและย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่
เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอัน
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร
ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร
๖ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=8948&w=๒._ผัคคุณสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการเจริญวิปัสสนาระดับพื้นฐานพัฒนาไปเป็นระดับสูงเทียบกับโพชฌงค์ ๗ ซึ่งผู้สนใจสามารถนำไปใช้ได้ตลอดเวลา

สีลสูตร

การหลีกออก ๒ วิธี

[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไป
นั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ
เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่
อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อม
เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อ
หย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณา
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ.
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มี
กายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อม
ตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น
ด้วยดี.
[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้น
ด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์

[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
[๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒) ในปัจจุบันไม่ได้
บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้
บรรลุ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปริ-
นิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๖) ถ้าในปัจจุบัน
ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้
บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคา
มีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

จบ สูตรที่ ๓

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=2229&w=การหลีกออก_๒_วิธี



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร