วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ท่านสงสัยในคำๆ นี้
ผมเลยลองรวบรวมประมวลมาเสนอ

คำว่า เจโตวิมุต (ติ) นี้

มีทั้ง

๑. ใช้ในความหมายบรรยายผลของสมถะ ที่เป็นเหตุให้ละราคะได้
ในองค์อริยมรรค (คู่กับการที่วิปัสสนาละอวิชชา).

ถ้า เจโตวิมุตติ (มี ต.เต่าสองตัว และ สระอิ) ที่เป็นแบบกลับกำเริบได้ คือ ยังไม่ใช่ตลอดไป
แต่ถ้าเป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กลับกำเริบ ก็คือ เจโตวิมุตติที่กำกับด้วยปัญญาวิมุตติของพระอรหันต์
ซึ่งไม่กลับกำเริบอีกเลย

ลองดูจากพจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจโตวิมุต&detail=on

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ
เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป;
เทียบ เจโตวิมุตติ




และ


๒.มีทั้งที่ ใช้บรรยายพระอรหันต์ประเภทที่ท่านเชี่ยวชาญในฌานสมาบัติอย่างยิ่ง(คือ บรรลุอรูปฌาน หรือจนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ)ว่า เป็นพระอรหันต์เจโตวิมุต(มี ต.เต่า ตัวเดียว ไม่มีสระอิ) เป็นคำที่ใช้แทนกันกับคำว่า พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต.(ความหมายเดียวกัน)

แต่ ก็หาใช่ว่า พระอรหันต์เจโตวิมุตจะปราศจากปัญญาวิมุติแต่ประการใด. เพราะ พระอรหันต์ทุกประเภทย่อมต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุติที่ไม่กลับกำเริบ และ ปัญญาวิมุติ ด้วยกันทั้งสิ้น

ที่ ใช้คำว่า พระอรหันต์เจโตวิมุตนั้น เพราะต้องการเน้นว่า ท่านใช้กำลังของสมาธิที่สูงนั้นเอง

ลองอ่าน พระอรหันต์เจโตวิมุต(ในพระสูตรนี้ คือ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต)
มีรายละเอียดปรากฏในพระสูตร ที่แสดงบุคคล๗จำพวก

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=4123&w=บุคคล_๗_จำพวก


[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และ อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.



จาก พจนานุกรม

อุภโตภาควิมุต “ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน”
คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล;
หลุดพ้นทั้งสองส่วน (และสองวาระ) คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ (เป็นวิกขัมภนะ) หนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (เป็นสมุจเฉท) อีกหนหนึ่ง;


พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุต(อุภโตภาควิมุต)นี้ ท่านจะต้องเชี่ยวชาญในอรูปสมาบัติ และ อาจเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ได้



ต่างจาก พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุต ที่จะได้สมาธิสูงสุดไม่เกินรูปฌานที่๔ (ถ้าสนใจจุดนี้ ลองหาอ่านตรงจุดนี้ จาก หนังสือพุทธธรรม)

จาก พจนานุกรม

ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมเล็กน้อย ในประเด็น พระอรหันต์ปัญญาวิมุต


คำว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต นี้
ทางท่าน อาจจะเข้าใจว่า หมายถึง พระอรหันต์ที่ไม่เคยบรรลุฌานมาก่อนที่จะบรรลุอรหันต์.คือ หมายเอาว่า ไม่เคยได้ฌานมาก่อนเลย


แต่ ที่ท่านเจ้าคุณๆท่านประมวลมานั้น
พระอรหันต์ปัญญาวิมุตมีอยู่๕ประเภท คือ

1.ปัญญาวิมุติ สุกขวิปัสสก
2.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๑
3.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๒
4.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๓
5.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๔


(อ่านจาก พุทธธรม ฉบับขยายความ หน้า295 ในช่องตารางสรุป)

ส่วน ปัญญาวิมุต สุขวิปัสสก นั้น ท่านบรรยายขยายความดังนี้

"ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค"

(อ่านจาก พุทธธรม ฉบับขยายความ หน้า296)


พึงสังเกตุ
ไม่มีพระอรหันต์ประเภทใด ที่ไม่เคยผ่านฌานจิตเลย
เพียงแต่ว่า ฌานจิตจะเด่นชัด หรือ ไม่เด่นชัด เท่านั้น
แม้นแต่ พระอรหันต์ปัญญาวิมุต สุกขวิปัสสก ที่ไม่เคยได้ฌานใดๆมาก่อน แต่ ก็จะมีฌานจิตปรากฏในขณะบรรลุมรรคผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นในเรื่อง พระอรหันต์เจโตวิมุต-ปัญญาวิมุต นั้น
มีจุดที่ ปัจจุบันเข้าใจแตกต่างกันมาก



เท่าที่ผมเคยรับฟังมามีหลากหลาย ดังนี้

1.เห็นว่า พระอรหันต์สุกขวิปัสสก ไม่ปรากฏฌานจิต ในขณะบรรลุอรหัตตผล.
การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าของพระอรหันต์สุกขวิปัสสก หมายถึง หลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว จึงค่อยย้อนไปฝึกฌานใหม่
(แต่ ความจริงคือ พระอรหันต์สุกขวิปัสสก ท่านก็บรรลุฌานจิตเหมือนกันในขณะบรรลุมรรคผล;จาก คห ต้นๆ)

2.เห็นว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต ต้องไม่เคยได้ฌานมาก่อนเลย
คือ เห็น คำว่า"พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ" เท่ากันทุกประการกับ คำว่า"พระอรหันต์สุกขวิปัสสก"
(แต่ ความจริงคือ มีพระอรหันต์ปัญญาวิมุตอีก4ประเภท ที่เคยได้ฌานมาก่อนที่จะบรรลุมรรคผล; กล่าวให้กระชับว่า พระอรหันต์สุกขวิปัสสกเป็น1ใน5ประเภทของ พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ)

3.แบ่ง พระอรหันต์เจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุต ตรงที่ว่า เคยได้ฌานมาก่อนหรือไม่
(แต่ ความจริง แบ่ง พระอรหันต์เจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุต ตรงที่ว่า เคยได้อรูปฌานมาก่อนหรือไม่)


ๆลๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตร เป็น พระอรหันต์ปัญญาวิมุตไหม?


เสนอเป็น เกร็ดธรรมะ
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม



บังเอิญ มีเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ท่านมีความเห็นดังนี้น่ะครับ

อ้างคำพูด:
ต่อให้พระสารีบุตรท่านสามารถบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
แต่ท่านก็ไม่ได้มีอิธิวิธีหรือฤทธิ์อื่นๆใด ซี่งแสดงว่าท่านเป็นกลุ่มปัญญาวิมุติครับ


ท่านอ้างอิงจาก ที่พระสารีบุตรท่านกล่าว

๕. สัมปสาทนียสูตร (๒๘)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถึงว่า ข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบันก็จริง
แต่ข้าพระองค์ก็ทราบ อาการที่เป็นแนวของธรรมได้



อนึ่ง ตรงเนื้อความในพระสูตร สัมปสาทนียสูตร ท่อนนี้ ต้องพิจารณาดีๆด้วย ว่า

การที่ พระสารีบุตรไม่มีเจโตปริยญาณในพระพุทธเจ้า(กำหนดรู้วาระจิตของพระพุทธเจ้า)นั้น อาจหมายถึงว่า พระอัครสาวกไม่สามารถกำหนดรู้วาระจิตของพระพุทธเจ้าเพราะมีคุณธรรมต่ำกว่า และ ท่านก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง
(ตอนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่ามกลางพระอรหันตสาวกมากมาย มีพระอนุรุธเพียงรูปเดียวเท่านั้น ที่ใช้ตาทิพย์กำหนดตามดูการดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้าได้)

และ อีกประการหนึ่ง พระอุภโตภาควิมุต ที่ไม่ใช่พระฉฬภิญโญ(ที่มีเจโตปริยญาณ)ก็มีอยู่
ดังปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนอื่น

นี่แน่ะสารีบุตร บรรดาภิกษุ500รูปนี้
60รูปเป็นเตวิชชะ
60รูปเป็นฉฬภิญโญ
60รูปเป็นอุภโตภาควิมุต
นอกจากนี้เป็นปัญญาวิมุต" (สํ .ส. 15/745/281)


คือ ในมัยพุทธกาล แยกพระอรหันต์ฉฬภิญโญ(อุภโตภาควิมุตที่ได้อภิญญา๖) ออกจาก พระอุภโตภาควิมุต


ตกลงแล้ว พระสารีบุตรเอง ท่านอยู่ใน พระอรหันต์กลุ่มไหน กันแน่??? :b6:


เสนออ่าน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

พระโคดมศากยบุตรพุทธเจ้า ทรงระลึกถึงกรรมของเราแล้วประทับนั่งใน (ท่ามกลาง) ภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖

เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราก็ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ สารีปุตตเถราปทาน




พระอุภโตภาควิมุต(บรรลุวิโมกข์๘) และ ได้อภิญญา๖ .....ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเชี่ยวชาญในฤทธิ์ แบบพระมหาโคคัลลานะทุกองค์ ครับ

และ พระสารีบุตร ท่านเป็น พระอัครสาวกอรหันต์ที่จัดเป็นอุภโตภาควิมุต ที่เลิศด้วยปัญญา


เสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมมาดังนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองอ่านกระทู้นี้ดูน่ะครับ



กระทู้นี้ บอกว่า

ต่างสำนัก ต่างพูด คำว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต กันคนล่ะความหมาย :b6:



เจโตวิมุติต้องสมถะมาก่อน ปัญญาวิมุติก็ต้องสมถะมาก่อน

http://www.pantip.com/cafe/religious/to ... 56731.html


ท่าน จขกท เป็นตัวแทนของชาวพุทธรุ่นใหม่น่ะครับ
น่าจะเป็นส่วนใหญ่ของชาวพุทธรุ่นใหม่ด้วย

(ตัวผมเอง มันจะปลดประจำการแล้ว )


ในตอนแรก ท่าน จขกท กำลังจะกล่าวถึง พระอรหันต์ปัญญาวิมุตชนิดสุกขวิปัสสก...แต่ ท่านไปใช้คำว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต

คือ ในตอนต้นท่านเหมือนจะเข้าใจว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต มีความหมายเท่ากันทุกประการกับ พระอรหันต์สุกขวิปัสสก .
ท่านเลยไปใช้ "คำรวมๆว่า ปัญญาวิมุต" ในหัวข้อกระทู้เข้า




ในขณะที่ ท่านอื่นๆที่ท่านเห็นประเด็น ท่านพยายามจะชี้ให้ดู ว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตไม่เท่ากันทุกประการกับพระอรหันต์สุกขวิปัสสก


ลองอ่าน คห ที่37

อ้างคำพูด:

ไม่ได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน มันถูกมั้ยหละ (ปล...ส่วนนี้ คุณสุภวิโมกข์ท่านแย้ง)

*****
ถูกสิครับ พระไตรปิฏกว่าไว้อย่างนั้น คุณสุภวิโมกข์ไม่ต้องกลับไปเรียนภาษาไทยใหม่นะครับ
เพียงแต่กลับไปอ่านพระไตรปิฏกใหม่เฉย ๆครับ

เอ รูปไอค่อนยาดม มันมีให้เราใช้หรือเปล่านะ
เอาอันนี้ครับ (ปล...ส่วนนี้ท่าน จขกท ท่านโต้กลับ)

จากคุณ : TheAcT - [ 10 มิ.ย. 52 17:47:04 ]


คือ ท่านเข้าใจว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตทั้ง๕ประเภทล้วนไม่เคยบรรลุฌานมาก่อนเลย ไม่ว่าจะรูปฌานหรือ อรูปฌาน
(แต่ ความจริงแล้ว พระอรหันต์ปัญญาวิมุตประเภทสุกขวิปัสสกเท่านั้นที่ไม่เคยบรรลุฌานมาก่อนบรรลุอรหัตตผล ...พระอรหันต์ปัญญาวิมุตที่เหลืออีก๔ประเภทต่างเคยบรรลุรูปฌานระดับต่างๆมาก่อนที่จะบรรลุอรหัตตผลทั้งสิ้น)

คุณ สุภวิโมกข์ ท่านจึงชี้จุดที่พลาดตรงนี้ให้ แต่ ก็มีวิวาทะกันขึ้น เพราะเข้าใจจุดนี้ไม่ตรงกัน



คุณปล่อย(คห ที่ 62) ท่านได้สรุปสาเหตุที่debate กันนานมาก ในกระทู้นั้น
ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

อ้างคำพูด:
ปัญหามีว่า ชื่อกระทู้ไม่รัดกุม
เพราะใช้คำว่า ปัญญาวิมุึตติ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะพระสุกขวิปัสสก

เจตนาการตั้งกระทู้จะเป็นไงก็ตาม
แต่ชื่อกระทู้ทำให้คนอื่นอ่านแล้ว เข้าใจปริยัติผิดได้นิ



ปล... กระทู้นี้ เลืกอ่าน คห ที่62
ตรงที่ คัดลอกจากพุทธธรรมมาลง ก็พอ

เขาเลือกตรงจุดที่ "ตรงประเด็นมากๆ"




ขออนุญาต สรุปน่ะครับ

คำว่า "พระอรหันต์สุกขวิปัสสก" ไม่เท่ากันทุกประการกับคำว่า "พระอรหันต์ปัญญาวิมุต"

พระอรหันต์สุกขวิปัสสก เป็นsubset ของพระอรหันต์ปัญญาวิมุต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณตรงประเด็นด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุโมทนาสาธุกับ "ท่านตรงประเด็น" ด้วยนะคะ :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ผมกำลังเสนอประเด็น ในลักษณะproblem-solvingน่ะครับ
จึงใช้ประเด็นที่เป็นปัญหา เสนอเป็นหัวข้อๆไป

บางประเด็นก็จะเกี่ยวโยงกันกับ คห เก่า บางประเด็นก็ขยายเพิ่มจากประเด็นเก่า


...................................


จากพระสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรสมากกว่าโดยแท้

เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖



คือ คนรุ่นใหม่จำนวนมาก ท่านจะเห็นว่า

คำว่า "สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย" นั้น คือ พระอรหันต์เจโตวิมุต(อุภโตภาควิมุต)

ส่วน
"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้" นั้น คือ พระอรหันต์ปัญญาวิมุต

โดยเชื่อมโยง ไปยัง พระสูตรที่ตรัสแสดงพระอรหันต์500รูป ว่า ส่วนใหญ่เป็นพระอรหันต์ปัญญาวิมุต(320รูป) (สํ .ส. 15/745/281)


มันก็จะย้อนกลับไปยังประเด็น พระอรหันต์เจโวมุต-ปัญญาวิมุต นั้นเอง
คือ เขามีความเห็นว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต คือ พระอรหันต์ที่ไม่ผ่านเอกัคคตาจิต(ฌาน) และ ก็คืออย่างเดียวกับ "สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต"



### ส่วนตัวผมเอง มีความเห็นว่า

พระสูตรในส่วนนี้น่าจะหมายถึง ผู้ที่เจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน(ที่นำไปสู่สตินทรีย์)แล้ว สามารถบรรลุเอกัคคตาจิตที่เรียกว่าสมาธินทรีย์นั้นมีเป็นส่วนน้อย ที่เหลือ(ส่วนใหญ่)ไม่สามารถบรรลุสมาธินทรีย์ได้....
ซึ่ง ผู้ที่ไม่สามารถบรรลุสมาธินทรีย์นี้ เป็นผู้ที่ไม่สามารถบรรลุมรรคผล เพราะ อินทรีย์ไม่ครบห้า.
หาใช่ว่า"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต" เป็นความหมายของพระอรหันต์ปัญญาวิมุต แต่อย่างใด

โดยผมพิจารณาจาก สัทธาสูตร ที่แสดง สตินทรีย์ และ สมาธินทรีย์

จาก สัทธาสูตร

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ๆลๆ




นอกจากนี้ ในพระสูตรที่นำมาจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ เรา-ท่าน เพียรที่จะบรรลุ อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ซึ่ง เป็นสัตว์ส่วนน้อยที่สามารถบรรลุถึง (สัตว์ส่วนใหญ่ไม่บรรลุถึง) มิได้เกี่ยวกับ พระอรหันต์เจโตวิมุต-ปัญญาวิมุต แต่อย่างใดเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรสมากกว่าโดยแท้

เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ – ๔๖


ท่านตรงประเด็น ท่านทั้งหลายครับ

เจตนาของการศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกคือการแสวงหาปรมัตถ์ธรรม

การศึกษาแบบชำระพระไตรปิฎกเป็นหน้าที่ของนักพระไตรปิฎก

ผมได้ยินสองประโยคข้างต้นบ่อยมากคือ

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

กล่าวโดยแท้จริง

เราจะสรุปเจตนาและความหมาย รวมถึงความถูกต้องที่แท้จริงได้ยากมาก

จึงเกิดมุมมองขึ้นมากมาย

ในความคิดของผม

แตกต่างจากความคิดของฝ่ายที่ต้องการให้เลิกฝึกสมถะ

หันมาคิดอย่างเดียว

ผมไม่ใช้คำว่าโยนิโสมนสิการ

เพราะการโยนิโสมนสิการจำเป็นต้องใช้เอกัคคตาจิต

แต่ถึงแม้จะคิด

แค่คิดผมก็เห็นว่าต้องใช้เอกัคคตาจิตเช่นกัน

แต่ก็ช่างเถิดไม่ใช่ประเด็น

ประเด็นอยู่ที่ว่า

การฝึกสมถะให้ผลดีหรือผลเสีย

สมาธิกระทำให้มาก

สติเมื่อฝึกให้มาก

ให้คุณหรือโทษ

ถ้าให้คุณ

การฝึกสมถะก็ยังคงมีประโยชน์อยู่

แต่ถ้าเกิดโทษแล้ว

ก็พากันเลิกเสีย

และต้องร่วมมือกันต่อต้านเลิกฝึกสมาธิกัน

คำตอบเหล่านี้มีอยู่ในพระไตรปิฎกแล้ว

ผมเองพยายามต่อต้านพวกที่ชักชวนให้นักศึกษาหลงผิดทุกวิถีทาง

แน่นอน

ผมเองก็ต้องตกเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น

คือรับวิบากกรรมนั้นด้วย

บางครั้งแทบแย่เหมือนกัน

แต่ในทางกุศลที่ก่ออีกด้านหนึ่ง

ก็ได้รับ

ผมศรัทธาผู้ที่นำทางธรรมให้อนุชนให้อยู่ในทำนองคลองธรรม

มีท่านผู้เป็นเอตทัคคะหลายๆท่านพยายามกระทำอยู่

อย่างที่ท่านตรงประเด็นกระทำอยู่นี้

ที่ไม่ยอมให้ใครฉกฉวยบางตอนของพระไตรปิฎกมาสร้างความสำคัญให้ตนเอง

สรุปว่า

หาก สติ สมาธิ มีประโยชน์

อย่างน้อยก็เป็นองค์หนึ่งในอริยมรรคที่มีองค์แปด

หากขาดสมาธิคงไปไม่ถึงนิพพาน

จึงไม่ควรเลิกการฝึกสมาธิ

ส่วนท่านใดมีพรสวรรค์ในการฝึกสมาธิถึงขั้นใด

ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

ผมจึงไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์ของผู้จุดประเด็นในเรื่องนี้

ที่ทำให้ท่านตรงประเด็นเองก็ต้องออกมาแสดงความเห็น

เพื่อนักศึกษาจะเข้าใจได้อย่างถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณmes :b8:


อนุโมทนา และ ขอบคุณอย่างยิ่ง เช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากไม่นิ่งพอก็ไม่สามารถเห็นส่วนที่ละเอียดอ่อน

หากไม่สงบพอ ก็ไม่สามารถเพ่งพิจจารณาอะไรได้ยาวนาน

หากพลังสมาธิน้อยเกินไป ปัญญาก็จะปราศจากพลังความคมกล้า

หากไม่มีสมาธิพอ กระแสจิตจะไม่กลมกลืนกับตัวความรู้
การพิจารณาธรรมก็จะเป็นแค่เพียงการทำหน้าที่ของส่วนสมอง
จิตจะแข็งกระด้าง และแยกระยะห่างกับตัวความรู้
ถึงแม้จะได้ความรู้มากมาย แต่จิตก็ยังแข็งกระด้างอยู่เช่นเดิม
เพราะกระแสจิตและระบบการขบคิดพิจารณาไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

ความรู้ที่ได้จะหยาบ และชวนให้ฟุ้ง มากกว่าจะสงบ
และไม่มีพลังพอจะยกระดับของภูมิจิตให้สูงขึ้นได้

คนที่ไม่เคยได้สมาธิ ย่อมไม่รู้ถึงคุณของสมาธิว่าสมบูรณ์พร้อมและจำเป็นขนาดไหน
ต่อการเจริญปัญญา

และคนที่สามารถเข้าถึงตัวความรู้ ที่แท้จริงแม้เพียงบางส่วน
เขาผู้นั้นย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ถึงความสำคัญของสมาธิ

ความรู้ของคนที่ปราศจากสมาธิเป็นกำลังในการหนุนส่งในขณะแห่งวิปัสสนา
ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความรู้ที่หละหลวม และยากต่อการปักใจเชื่อ


เรื่องพื้นๆอาจไม่ต้องใช้สมาธิมากในการเพ่งศึกษา
แต่ถ้าลำดับการเจริญปัญญายิ่งสูงขึ้น ศึกษาในส่วนละเอียดขึ้น
แม้เพียงชั่ววูบแห่งขณะของกิริยาจิต ที่ต้องตามเก็บให้ทัน
และตามเรียนรู้วิจัย ต่อธรรมชาติจิตทุกประเภท
การปฏิบัติจะต้องอาสัยสมาธิที่มากขึ้น กว้างขึ้น คงทนขึ้น
และทรงตัวแฝงอยู่ได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบท
พร้อมเสมอที่จะวิปัสสนาได้ทุกเวลาที่ต้องการ

หากสมาธิอ่อนพลัง การพิจารณาจะเกิดอาการติดขัด และสะดุดทันที
และทำให้รู้สึกว่า ความรู้ที่ได้นั้นหยาบ ไม่เคลีย
ถ้ายังแข็งขืนพิจารณาในภาวะที่สมาธิไม่พอ การพิจารณาธรรมจะรู้สึกฝืนและเหนื่อย
ควรต้องปล่อยการพิจารณา แล้วนำจิตเข้าไปนิ่งอยู่กับสมาธิล้วนๆสักพัก
เพื่อให้พลังจิตกลับมา และให้กระแสจิตอ่อนโยนขึ้น แล้วค่อยพิจารณาธรรมต่อไปได้


บางครั้งการพิจารณาธรรมด้วยสมาธิแฝงที่มีความสมบูรณ์มากๆ
อาจทำให้บุคคลนั้น ร่างกายแข็งระงับ ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง

สภาวะจิตมีเพียง ระบบการเพ่งพิจารณา ที่รวมกิริยาการพิจารณา
กับกระแสจิต และกระแสสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างแนบแน่นและเป็นเส้นตรง

เมื่อสิ้นสุดการพิจารณา บุคคลนั้นอาจค้างต่อเนื่องอยู่ในอารมณ์ฌาณล้วนๆ
โดยไม่ต้องทำก็ได้

สมาธิที่แฝงก่อตัวไปพร้อมกับการพิจารณา เรียกว่าอนันตริยสมาธิ
สมาธิประเภทนี้จะมากขึ้นตามลำดับการพิจารณาที่สูงขึ้น
และมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่จะรู้ตัวอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการพิจารณาแล้ว

เพราะเมื่อสิ้นสุดการพิจารณา จะเห็นความตกค้างของสมาธิที่เหลืออยู่


ขอเพิ่มเติม ความคิดส่วนตัว ด้วยคนครับ
และขออนุโมทนากับ คุณ mes ด้วยครับ
มีหลายอย่างที่ผมคิดตรงกับคุณ

และหวังว่าไอ้ความคิดของผมที่มันตรงกับคุณมันจะถูก
เพราะไม่งั้นเราคงหลงด้วยกันทั้งคู่

หากมีบ้างบางส่วนที่ผมอาจไม่ตรงกับคุณ
คุณก็ช่วยคอยดึงหางผมบ้าง..........ผมจะขอบคุณอย่างยิ่ง


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อสิ้นสุดการพิจารณา บุคคลนั้นอาจค้างต่อเนื่องอยู่ในอารมณ์ฌาณล้วนๆ
โดยไม่ต้องทำก็ได้



ใช่เลยครับ เป็นเช่นนั้นจริง

บางครั้งนานมากครับ

ดูโทรทัศน์ยังไม่รู้เรื่องเลยครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ สำหรับ ทุกๆความคิดเห็นเพิ่มเติมน่ะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ ผลที่ได้ คือ อรหันต์ ที่มีอภิญญาครบ
ปัญญาวิมุตติ ผลที่ได้ คือ อรหันต์ ที่ไม่มีอภิญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้ถาม เกี่ยวกับ สมาธินทรีย์

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ๆลๆ


.................................


อ้างคำพูด:
ยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ทำได้ด้วยเหรอคะ



เป็นภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทยน่ะครับ



ท่านพุทธทาส ท่านกล่าวไว้ดังนี้

".....สมาธินี่ มีลักษณะเป็นเอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์...ฟังไม่ถูกใช่ไหม?

เอกัคคตาจิต จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ยังฟังไม่ถูก
ต้องพูดเป็นไทยๆว่า เอกัคคตาจิตนั้นคือ จิตมีจุดเดียว มีอารมณ์เดียว มียอดเดียว, เอกัคคตา นั้นรวมเป็นยอดเดียว....นี้เรียกว่า เอกัคคตาจิต แล้วมุ่งไปสู่นิพพาน เรียกว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์....

คำนี้เพราะดี ถ้าจำไว้ได้ก็จะดี

เอกัคคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ นั่นละตัวสมาธิ..."



มีอีกจุดหนึ่ง ที่บรรยาย สมาธินทรีย์

“..อินทรีย์คือสมาธิ (สมาธินทรีย์) เป็นไฉน ?

(คือ) อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”

(สํ.ม.19/874/264 ฯลฯ )


พระสูตรนี้ บรรยายถึง เอกัคคตาจิตที่กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์

ปล...

ผมว่า ก็ความหมายเดียวกันกับมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

คือ เอกัคคตาจิตที่บังเกิดจากการวางรูปนามทั้งหมด จิตน้อมไปสู่ ความดับไม่เหลือ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร