วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ และ นิวรณ์ 5
หมายถึง การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การอ่านหนังสือจิตก็จะรวมมาอยู่ที่หนังสือเป็นสมาธิ
ก็จะได้สมาธิระดับขนิกสมาธิ เป็นต้น สมาธิมีลักษณะหินทับหญ้า คือ เมื่อไม่มีสมาธิกิเลสก็จะงอกเงยขึ้นมาได้อีก การทำสมาธิจะเรียกกว่าการเจริญสมถะกรรมฐาน สมาธิที่ควรใช้ในวิปัสสนากรรมฐานคือ ขณิกสมาธิ เท่านั้น สมาธิแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในปุถุชนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี เป็นสมาธิที่เกิดชั่วขณะหนึ่งแล้วก็หายไป เหมาะแก่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่เป็นระดับใกล้ฌาน เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ อันเป็นภาวะจิตที่ทำให้เกิด "ฌาน" คือภาวะที่จิตสุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว
อัปปนาสมาธิ คือ เป็นสมาธิจิตที่แน่วแน่และแนบแน่นมาก เป็นสมาธิระดับฌานซึ่งผู้ปฎิบัติส่วนใหญ่จะต้องผ่านเมื่อผู้ปฏิบัติผ่านมาถึงระดับนี้จะรู้ได้ว่าจิตจะรวมเป็นหนึ่ง (เอกัค คตาจิต=มหากุศลจิตในทางพระอภิธรรม) แล้วจะไม่ได้ยินเสียงสิ่งใดทั้งสิ้นจิตจะพักจะสบายอยู่ตลอดไม่เหนื่อยไม่ง่วงมักจะเป็นเครื่องพักจิตของผู้ที่ผ่านธรรมะแล้ว
นิวรณ์ 5
นิวรณ์5 เป็นเครื่องทำลายสมาธิและกุศลธรรม เมื่อมีนิวรณ์5จะไม่เกิดสมาธิ มี 5 ประการคือ
กามฉันท์ คือ ความอยากได้ อยากเอา พอใจในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นกิเลสพวกโลภะ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่
ความพยาบาท คือ ความขัดเคือง แค้นใจ เกลียดชัง หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขัดใจ ไม่พอใจ เป็นกิเลสพวกโทสะ
ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ เซื่องซึม เฉื่อยชา ง่วงเหงา ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่อาจเป็นสมาธิได้
อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความคิดฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ กลุ้มใจ คิดระแวง จิตย่อมไม่สงบเป็นสมาธิได้
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย อันมี พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ และในเรื่องราวต่างๆ ย่อมไม่สามารถทำสมาธิได้

***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ 5 ประการนี้ เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมเป็นอุปสรรคกั้นความดีไม่ให้เราได้ดี ทำให้เกิดความขี้เกียจเบื่อหน่าย ง่วงนอน พอนั่งกรรมฐานหน่อยก็ง่วง เดินจงกรมหน่อยก็ง่วง ไม่เอาเหนือเอาใต้เลย ดูหนังสือใกล้สอบ...พอจะจบหน่อยก็ง่วง นี่แหละอุปสรรคไหม แตเราอยากได้ดี อยากชนะอุปสรรคนี้ ต้องใช้ขันติธรรม....อดทน ตายให้มันตาย ต้องตั้งสติไว้ให้ดี ทำด้วยความตั้งใจแล้วจะได้ผลดีชนะอุปสรรคก้คือนิวรณ์และความขี้เกียจทั้งหลายนั่นเอง

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน ท่าน จขกท ครับ


อ้างคำพูด:
สมาธิมีลักษณะหินทับหญ้า คือ เมื่อไม่มีสมาธิกิเลสก็จะงอกเงยขึ้นมาได้อีก


สมาธิภาวนา๔ประเภท ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงไว้ คือ

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

สมาธิสูตร

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑



สมาธิที่มีลักษณะหินทับหญ้า คือ การที่บุคคลติดในสุขที่เกิดจากสมาธิ(ข้อแรก) แล้ว ไม่ได้ใช้สภาวะจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล(นิวรณ์สงบ) มาเอื้อประโยชน์ในการเจริญปัญญา. กล่าวคือ ไม่พัฒนามาสู่ข้อสาม(สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ) และ ข้อ๔(สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ)

ความผิดพลาดเกิดจากการที่บุคคลไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาตามพุทธวิธีที่ทรงแนะนำไว้
หาใช่ว่า เป็นความผิดพลาดของสมาธิภาวนาเอง

ถ้า จะกล่าวถึงสมาธิภาวนา เพียงด้านเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการหลงเพลินในสุขของสมาธิ(ข้อ๑)อย่างเดียว ก็ถือว่า เป็นการเลือกกล่าวเพียงด้านเสียที่อาจจะเกิดได้(ในกรณีที่ผู้เจริญสมาธิภาวนาหลงติดสุขเข้า)....
โดยละเลยการกล่าวตามเนื้อธรรมแห่งพระพุทธพจน์ดั้งเดิมให้ครบบริบูรณ์ในทุกด้าน และ ทุกแง่มุม



อ้างคำพูด:
สมาธิที่ควรใช้ในวิปัสสนากรรมฐานคือ ขณิกสมาธิ เท่านั้น


พระพุทธองค์ทรงตรัสเช่นนี้ เอาไว้ในพระสูตรไหนครับ?
พอจะช่วยนำมาลงเป็นธรรมทานได้ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. นะ ที่ยกมา เป็นตำราที่สอนผิดๆ นะ

วิปัสสนาญาณ ต้องใช้สมาธิระดับสูง ประเภทสมาธิชั่วครั้งชั่วคราว ชั่วขณะ ก็ได้แค่การตามดูอารมณ์แบบธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


(ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาทด้วยแล้วไล่กลับ)

พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไล่เธอกลับ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด

ขอเพื่อนกัญญามิตรพึงเจริญธรรม

เทพบุตร

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เมื่อนำมารวมกันเข้าจะได้ = โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ หมายถึง ธรรมที่ดำเนินไปเพื่อการตรัสรู้ ธรรมเป็นไปในทางปัญญา ประกอบด้วยธรรม 7 หมวดตามที่ จขกท.ว่าไว้ :b39: :b8: :b40:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร