วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 22:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
โอ๊ว มันซับซ้อนจริงหนอ :b20: :b20: :b20:

รูปภาพ

รูปนี้เจ๋งป่ะ...



ไม่ซับซ้อนอะไรมากมายหรอกค่ะท่าน เพียงท่านจับหลักเอาไว้เท่านั้นเอง

หลักมีอยู่แค่ รูป + ผัสสะ + วิญญาณธาตุ + เวทนา มีเท่านี้เองค่ะ ส่วนสัญญากับสังขารนั่นอยู่ท้ายสุด :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


โอ๊ว... อู๊... อ๊า... แถมให้อีกรูป :b11:

รูปภาพ


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ประธานในที่นี้ก็คือ อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป

ในที่นี้ประธานก็คือ ยุง พอจะเห็นภาพมั๊ยคะ?

ต่อไปกริยา กัด ตัวนี้คือ ผัสสะ + วิญญาณธาตุ การรับรู้อารมณ์

( โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ )

ต่อไปเป็น เวทนา ได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา

ส่วนตัวสัญญา ( ความจำได้หมายรู้ อันนี้เป็นบัญญัติ มีคำว่า เขา เรา มีตัวตนเกิดขึ้น เช่น เรารู้ว่านี่เรียกว่า ยุง ถ้าโดนกัดแบบนี้ )

สังขาร การปรุงแต่ง ( ความคิด )

การประกอบรูปประโยคหลักคือ รูป+ผัสสะ+วิญญาณธาตุ+ เวทนา

เช่นคำว่า ยุง มันเป็น สัญญา แต่พอเรานำมาประกอบในการพิจรณาในขันธ์ 5 จะจัดว่า เป็น รูป

กัด เป็น ผัสสะ

วิญญาณธาตุเกิด การรับรู้อารมณ์

เวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขา เช่นที่คุณบอกว่า รู้สึกไม่สบาย

สัญญา ในที่นี้คือ ยุง

สังขาร ความคิดทุกอย่างที่เกิดขึ้น เช่นที่บอกว่า คัน นี่ก็คือการปรุงแต่งของสังขารที่ไปยึดมั่นในขันธ์ ]

อันนี้ขอแย้งเล็กน้อยนะครับ ในกรณีนี้ต้องใช้แบบนี้นะครับ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาน
กายคือตัวเรา
โผฏฐัพพะคือ ความเย็นร้อนอ่อนแข็ง
กายวิญญาน การรับรู้ทางกาย
.....ถ้าตามที่คุณบอก ว่าเป็นรูป มันต้องเป็น จักขุวิญญานนะครับ มันไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้ครับ

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนพรุ่งนี้มาต่อ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


TAKSA เขียน:
walaiporn เขียน:
ประธานในที่นี้ก็คือ อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป

ในที่นี้ประธานก็คือ ยุง พอจะเห็นภาพมั๊ยคะ?

ต่อไปกริยา กัด ตัวนี้คือ ผัสสะ + วิญญาณธาตุ การรับรู้อารมณ์

( โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ )

ต่อไปเป็น เวทนา ได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา

ส่วนตัวสัญญา ( ความจำได้หมายรู้ อันนี้เป็นบัญญัติ มีคำว่า เขา เรา มีตัวตนเกิดขึ้น เช่น เรารู้ว่านี่เรียกว่า ยุง ถ้าโดนกัดแบบนี้ )

สังขาร การปรุงแต่ง ( ความคิด )

การประกอบรูปประโยคหลักคือ รูป+ผัสสะ+วิญญาณธาตุ+ เวทนา

เช่นคำว่า ยุง มันเป็น สัญญา แต่พอเรานำมาประกอบในการพิจรณาในขันธ์ 5 จะจัดว่า เป็น รูป

กัด เป็น ผัสสะ

วิญญาณธาตุเกิด การรับรู้อารมณ์

เวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขา เช่นที่คุณบอกว่า รู้สึกไม่สบาย

สัญญา ในที่นี้คือ ยุง

สังขาร ความคิดทุกอย่างที่เกิดขึ้น เช่นที่บอกว่า คัน นี่ก็คือการปรุงแต่งของสังขารที่ไปยึดมั่นในขันธ์ ]

อันนี้ขอแย้งเล็กน้อยนะครับ ในกรณีนี้ต้องใช้แบบนี้นะครับ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาน
กายคือตัวเรา
โผฏฐัพพะคือ ความเย็นร้อนอ่อนแข็ง
กายวิญญาน การรับรู้ทางกาย
.....ถ้าตามที่คุณบอก ว่าเป็นรูป มันต้องเป็น จักขุวิญญานนะครับ มันไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้ครับ

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนพรุ่งนี้มาต่อ :b8:



ขออภัยค่ะ ...คุณ TAKSA :b8:

ต้องใช้ รูป ค่ะ ใช้กายไม่ถูกนะคะ คำว่า กาย นี่เป็น บัญญัติ เป็นสัญญานะคะ

สิ่งที่มากระทบอายตนะทั้งหมด จัดเป็น รูป นะคะ ส่วนที่จิตรับรู้ในการกระทบนั้นๆ จัดเป็นนามค่ะ

แลกเปลี่ยกันได้ค่ะ ยินดีสนทนาค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ขออภัยค่ะ ...คุณ TAKSA :b8:
ต้องใช้ รูป ค่ะ ใช้กายไม่ถูกนะคะ คำว่า กาย นี่เป็น บัญญัติ เป็นสัญญานะคะ

สิ่งที่มากระทบอายตนะทั้งหมด จัดเป็น รูป นะคะ ส่วนที่จิตรับรู้ในการกระทบนั้นๆ จัดเป็นนามค่ะ

แลกเปลี่ยกันได้ค่ะ ยินดีสนทนาค่ะ :b8:

แล้วธัมมารมณ์จัดเป็นรูปด้วยหรือครับ?? ในเรื่องนี้เรากำลังอธิบายเรื่องอายตนะเราต้องอธิบายดังนี้
ผัสสะทั้งหลายเกิดขึ้นจาก การประชุมกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน
อายตนะภายนอกได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพพะและธัมมารมณ์
อายตนะภายในได้แก่ ตา ลิ้น จมูก หู กาย ใจ
.......เรื่องนี้ผัสสะเกิดขึ้นที่กายครับ เรารู้สึกได้(โผฐัพพะ)เกิดขึ้นที่กายเนื่องจากถูกยุงกัด
ฉะนั้นต้องเป็นดังนี้ครับ กาย(ตัวเรา)+โผฐัพพะ(ยุงกัด)+กายวิญญาณ
.......ในที่นี้ กายไม่ใช้สัญญานะครับ กายของเราคือรูปขันธ์
"ที่คุณบอกในที่นี้ยุงเป็นรูป" ผมแย้งครับว่ากันตามจริงคำว่ายุงไม่ควรนำเข้ามาพิจารณา เพราะเป็น
แค่คำบัญญัติขึ้นมา อธิบายลักษณะผัสสะอันเป็นปรมัติ แต่ถ้าจะให้เกี่ยวด้วยก็แค่เป็นสัญญาขันธ์
ซึ่งคำว่า ยุง อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ถ้าสัญญาขันธ์ของบุคคลนั้นไปจำได้หมายรู้กับคำ
ว่า มดขึ้นมาแทน
.......ผมมีเรื่องให้พิจารณาครับ ถ้าเราคิดแต่สิ่งที่เป็นอารมณ์ปรมัติจริงๆแล้ว ไม่ว่ายุงว่ามดก็ไม่มี
จริง อาจเป็นก้อนธาตุกองหนึ่งเท่านั้น อาจไปอยู่ในสังขารขันธ์ก็ได้ครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


TAKSA เขียน:
walaiporn เขียน:
ขออภัยค่ะ ...คุณ TAKSA :b8:
ต้องใช้ รูป ค่ะ ใช้กายไม่ถูกนะคะ คำว่า กาย นี่เป็น บัญญัติ เป็นสัญญานะคะ

สิ่งที่มากระทบอายตนะทั้งหมด จัดเป็น รูป นะคะ ส่วนที่จิตรับรู้ในการกระทบนั้นๆ จัดเป็นนามค่ะ

แลกเปลี่ยกันได้ค่ะ ยินดีสนทนาค่ะ :b8:

แล้วธัมมารมณ์จัดเป็นรูปด้วยหรือครับ?? ในเรื่องนี้เรากำลังอธิบายเรื่องอายตนะเราต้องอธิบายดังนี้
ผัสสะทั้งหลายเกิดขึ้นจาก การประชุมกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน
อายตนะภายนอกได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพพะและธัมมารมณ์
อายตนะภายในได้แก่ ตา ลิ้น จมูก หู กาย ใจ
.......เรื่องนี้ผัสสะเกิดขึ้นที่กายครับ เรารู้สึกได้(โผฐัพพะ)เกิดขึ้นที่กายเนื่องจากถูกยุงกัด
ฉะนั้นต้องเป็นดังนี้ครับ กาย(ตัวเรา)+โผฐัพพะ(ยุงกัด)+กายวิญญาณ
.......ในที่นี้ กายไม่ใช้สัญญานะครับ กายของเราคือรูปขันธ์
"ที่คุณบอกในที่นี้ยุงเป็นรูป" ผมแย้งครับว่ากันตามจริงคำว่ายุงไม่ควรนำเข้ามาพิจารณา เพราะเป็น
แค่คำบัญญัติขึ้นมา อธิบายลักษณะผัสสะอันเป็นปรมัติ แต่ถ้าจะให้เกี่ยวด้วยก็แค่เป็นสัญญาขันธ์
ซึ่งคำว่า ยุง อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ถ้าสัญญาขันธ์ของบุคคลนั้นไปจำได้หมายรู้กับคำ
ว่า มดขึ้นมาแทน
.......ผมมีเรื่องให้พิจารณาครับ ถ้าเราคิดแต่สิ่งที่เป็นอารมณ์ปรมัติจริงๆแล้ว ไม่ว่ายุงว่ามดก็ไม่มี
จริง อาจเป็นก้อนธาตุกองหนึ่งเท่านั้น อาจไปอยู่ในสังขารขันธ์ก็ได้ครับ



ขออภัยด้วยค่ะคุณ TAKSA

ภาษาในการใช้ในการสื่ออาจจะไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่นัก แต่ก็พยายามที่จะเรียนรู้ค่ะ :b8:

ผัสสะเกิดจาก การทำงานของอายตนะภายนอกและภายในร่วมกัน

ที่อธิบายไปนั้นเป็นการใช้ภาษากลางๆในการสื่อของตัวเอง เพื่อมองให้ง่ายในการพิจรณา

อาจจะทำให้ผิดรูปแบบไป เพราะตัวเองมองแค่

สิ่งที่มากระทบ + ผัสสะ + วิญญาณธาตุ + เวทนา

ทีนี้คำถาม ถามมาว่า ยุงกัด

เรามองแค่ที่ยุงกัด เพราะถ้ามองที่ข้อปลีกย่อยลงไปอีก มันก็ยาว ไม่ใช่อธิบายแค่ ยุงกัด

เรามองแค่ว่า ยุงนั้นเป็นรูป ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์

เราเลยใช้คำว่าว่า รูป ลงไปแทนยุง

ถ้างั้น คุณบอกว่า ต้องใช้คำว่า กาย ( ตัวเรา ) ...

ถามคุณนะคะ .. เวลาคุณยืน ... คุณจะบอกว่าใครยืนคะ คุณจะบอกว่า คุณยืนหรือเปล่าคะ?

ยินดีสนทนาด้วยค่ะ ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้กัน :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
F]ขออภัยด้วยค่ะคุณ TAKSA
สิ่งที่มากระทบ + ผัสสะ + วิญญาณธาตุ + เวทนา

ทีนี้คำถาม ถามมาว่า ยุงกัด

เรามองแค่ที่ยุงกัด เพราะถ้ามองที่ข้อปลีกย่อยลงไปอีก มันก็ยาว ไม่ใช่อธิบายแค่ ยุงกัด

เรามองแค่ว่า ยุงนั้นเป็นรูป ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์

เราเลยใช้คำว่าว่า รูป ลงไปแทนยุง

ถ้างั้น คุณบอกว่า ต้องใช้คำว่า กาย ( ตัวเรา ) ...

ถามคุณนะคะ .. เวลาคุณยืน ... คุณจะบอกว่าใครยืนคะ คุณจะบอกว่า คุณยืนหรือเปล่าคะ?
ยินดีสนทนาด้วยค่ะ ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้กัน :b8: [/color]


เหตุการของคุณชาติสยามที่ยกมา ถ้าพูดถึงวิญญาณขันธ์นั้น จะต้องเป็นกายวิญญาณครับหาใช่
จักขุวิญญาณไม่เพราะถูกยุงกัด ในที่นี้อารมณ์ความรู้สึกเกิดจาก การถูกยุงกัดไม่ใช่เกิดจากการมอง
เห็นยุง เราจะต้องแยกผัสสะให้ถูกด้วยว่า เกิดจากอายตนะตัวใดเพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นมันต่างกัน
ที่ว่าจะต้องแยกให้ถูกก็เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฎิบัติและศึกษาเรื่องจิตได้ถูกต้องครับ
ขอย้ำนะครับว่า ผัสสะที่เกิดกับรูปจะเกิดขึ้นได้ก็ที่ตาเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องนี้เกิดความรู้สึกขึ้นที่
ผิวหนังหรือกายครับ
........ถ้าคุณจะกล่าวว่ายุงเป็นเพียงรูป คำกล่าวนี้จะใช่ก็ต่อเมื่อจะอธิบายเรื่องรูป-นามซึ่งเป็น
อารมณ์ปรมัติ รูปคือสิ่งที่มองเห็นได้เป็นตัวเป็นตน ส่วนนามคือสิ่งที่มองไม่เห็นไม่มีตัวตน
........ส่วนกายนั้นเป็นสิ่งสมมุติบัญญัติ แท้จริงเป็นเพียงก้อนธาตุดิน,น้ำ,ลม,ไฟมารวมกัน
กายหรือตัวตนนี้ ถ้าเป็นของคนอื่นเราจะเรียกว่า รูป แต่ถ้าเป็นตัวตนของเรา จะเรียกว่ากายครับ
.......ที่คุณถามว่าเวลาผมยืนผมจะบอกว่าใครยืน ถ้าเป็นอารมณ์ปกติสื่อสารกันธรรมดาผมจะ
บอกว่า กายผมยื่นอยู่ แต่ถ้าเราจะกล่าวในความเป็นจริงซึ่งเป็นอารมณ์ ปรมัติ ผมจะกล่าวว่า
มีแท่งธาตุดิน,น้ำ,ลม,ไฟตั้งอยู่ครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยู่ก่อนความรู้สึก ก็คือไม่รู้สึก.......ว่าง
อยู่หลังการรับรู้ ก็คือการรู้........และความรู้


โดยแท้จริงแล้วความรู้สึก แทบเป็นสิ่งที่ติดเนื่องไม่เคยขาดและหายไปจากจิตเลย
เพียงแต่ว่า มันมีความติดเนื่อง ที่เกิด ดับ สลับเปลี่ยน จึงรู้สึกถึงความขาดตอน
ของความรู้สึกที่เกิด และดับ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ความรู้สึกที่เกิดดับให้เห็นได้
เป็นอารมณ์ที่หยาบ และเด่นชัด จึงเห็นได้ด้วยการดู แต่แท้จริง ในขณะที่กำลังดู
ความรู้สึกหนึ่งเกิดขึ้นและดับลง กระบวนการเกิดดับของความรู้สึกที่หลากหลาย
ซับซ้อยยอกย้อน ก็เกิดซ้อนอยู่ด้วยอย่างนับไม่ถ้วน เกิดดับในขณะแห่งการดูความเกิดดับ
ที่กำลังเห็นได้อย่างเด่นชัด ความรู้สึกเกิดดับที่รวดเร็วแฝงเร้นมองไม่เห็นมองไม่ทัน
และไม่ได้มอง


ก่อนทุกความรู้สึก แท้จริงก็คือผัสสะ เพราะผัสสะจึงรู้สึก

และในทุกความรู้สึกนั้น ก็มีทั้ง รู้พร้อมทันที และจะรู้สึกว่ารู้ช้ากว่าความรู้สึก

ซึ่งโดยความเป็นจริง รู้ช้ากว่าความรู้สึกไม่มี มันมีแต่สภาพที่ สัญญาวิตก
ก่อเกิดช้ากว่าความรู้สึก ทุกครั้งที่สัมผัสจะรู้สึก และจะมีตัวรู้อยู่ด้วยทุกครั้ง
แต่เมื่อรู้สึกแล้ว หากจิตมีความหน่วงนิ่งมากกว่าปกติ สัญญาวิตกก็จะทำหน้าที่
ช้ากว่าปกติ จนอาจถึงระดับ ระงับสัญญาวิตกไปซะก็ยังได้

ภาวะอย่างนี้จะรู้สึกเหมือน ความรู้สึก ความจำ และตัวรู้ จะมีระยะห่างให้
ดูเห็นชัด

หากจิตมีความระงับมาก จะสามารถมองเห็น การสัมผัสที่มีสองชั้น คือ
ชั้นแรก เรียกปฏิฆสัมผัส เป็นการกระทบถึงของระบบประสาทต่ออารมณ์

ชั้นที่สอง เรียก อธิวัจจนสัมผัส คือการที่จิตน้อมเข้าไปกระทบถึงอารมณ์

ถ้าแค่ตาถึงรูป ประสาทรู้ต่อภาพ แต่จิตไม่น้อมเข้าไปในภาพ
สัญญาเวทนา ต่อภาพนั้นก็จะไม่เกิด จิตจะอยู่ในสภาพเห็นรูปแต่ไม่มีสมมุติ
บัญญัติเกิดขึ้นมาเป็นสัญญาวิตกในใจ จึงเป็นลักษณะของการสัมผัสที่ไม่ครบ
ภาษาธรรมเรียก ภาวะเช่นนี้ว่า ความไม่เกิดขึ้นของผัสสะ หรือความดับ
ผัสสะ เป็นผัสสะ ที่มีความดับผัสสะซ้อนอยู่ด้วย
กิริยาอย่างนี้จะมีแต่ปฏิฆสัมผัส คือสัมผัสรู้ แต่ไม่มีสัญญาื ว่าคืออะไร

แต่ถ้าตาถึงรูป แล้วรู้สึก จำได้ มีสัญญาต่อสิ่งสัมผัสด้วยทันที
นั่นคือการสัมผัส ตามหน้าที่ปกติธรรมดาของขันธ์ เป็นอธิวจนสัมผัส

ปกติของคน จะมีแต่อธิวจนสัมผัสเป็นอันมาก คือเป็นการทำงาน
พร้อมกันทั้ง ระบบประสาทและจิต ส่วนคนที่ฝึกระงับจิตได้
ก็สามารถเห็นสภาพที่จิตหยุด ผัสสะดับ แต่ประสาทยังทำงาน
อยู่ สภาพนี้มันก็จะเป็นภาวะที่จิต ไม่มีคำพูด แต่ยังมีตัวรู้

สรุปว่า ผมคิดว่า เพราะจิตมีความนิ่ง จึงทำให้เห็น
สภาพก่อนที่จะจำหมาย และรู้สึก ซึ่งก็คือ ว่าง และมีรู้อยู่ด้วย

ต่อมาจิตที่ว่าง ก็จะมีรู้สึก และสัญญา พร้อมมีตัวรู้ดูมันอยู่เช่นเดิม


ขอร่วมเดามั่วซั่วด้วยเท่านี้ครับ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจจะเป็น ไม่รู้.99% เหมือน ทอง 99.99% อะไรทำนองนี้

:b1: :b1: :b1:

ใครรู้ก็ช่วยมาตอบที่เถอะ เพราะผมก็อยากรู้จัง....


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


TAKSA เขียน:
walaiporn เขียน:
F]ขออภัยด้วยค่ะคุณ TAKSA
สิ่งที่มากระทบ + ผัสสะ + วิญญาณธาตุ + เวทนา

ทีนี้คำถาม ถามมาว่า ยุงกัด

เรามองแค่ที่ยุงกัด เพราะถ้ามองที่ข้อปลีกย่อยลงไปอีก มันก็ยาว ไม่ใช่อธิบายแค่ ยุงกัด

เรามองแค่ว่า ยุงนั้นเป็นรูป ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์

เราเลยใช้คำว่าว่า รูป ลงไปแทนยุง

ถ้างั้น คุณบอกว่า ต้องใช้คำว่า กาย ( ตัวเรา ) ...

ถามคุณนะคะ .. เวลาคุณยืน ... คุณจะบอกว่าใครยืนคะ คุณจะบอกว่า คุณยืนหรือเปล่าคะ?
ยินดีสนทนาด้วยค่ะ ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้กัน :b8: [/color]


เหตุการของคุณชาติสยามที่ยกมา ถ้าพูดถึงวิญญาณขันธ์นั้น จะต้องเป็นกายวิญญาณครับหาใช่
จักขุวิญญาณไม่เพราะถูกยุงกัด ในที่นี้อารมณ์ความรู้สึกเกิดจาก การถูกยุงกัดไม่ใช่เกิดจากการมอง
เห็นยุง เราจะต้องแยกผัสสะให้ถูกด้วยว่า เกิดจากอายตนะตัวใดเพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นมันต่างกัน
ที่ว่าจะต้องแยกให้ถูกก็เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฎิบัติและศึกษาเรื่องจิตได้ถูกต้องครับ
ขอย้ำนะครับว่า ผัสสะที่เกิดกับรูปจะเกิดขึ้นได้ก็ที่ตาเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องนี้เกิดความรู้สึกขึ้นที่
ผิวหนังหรือกายครับ
........ถ้าคุณจะกล่าวว่ายุงเป็นเพียงรูป คำกล่าวนี้จะใช่ก็ต่อเมื่อจะอธิบายเรื่องรูป-นามซึ่งเป็น
อารมณ์ปรมัติ รูปคือสิ่งที่มองเห็นได้เป็นตัวเป็นตน ส่วนนามคือสิ่งที่มองไม่เห็นไม่มีตัวตน
........ส่วนกายนั้นเป็นสิ่งสมมุติบัญญัติ แท้จริงเป็นเพียงก้อนธาตุดิน,น้ำ,ลม,ไฟมารวมกัน
กายหรือตัวตนนี้ ถ้าเป็นของคนอื่นเราจะเรียกว่า รูป แต่ถ้าเป็นตัวตนของเรา จะเรียกว่ากายครับ
.......ที่คุณถามว่าเวลาผมยืนผมจะบอกว่าใครยืน ถ้าเป็นอารมณ์ปกติสื่อสารกันธรรมดาผมจะ
บอกว่า กายผมยื่นอยู่ แต่ถ้าเราจะกล่าวในความเป็นจริงซึ่งเป็นอารมณ์ ปรมัติ ผมจะกล่าวว่า
มีแท่งธาตุดิน,น้ำ,ลม,ไฟตั้งอยู่ครับ :b8:



สวัสดีค่ะ :b8:

เราถูกสอนมากันคนละแบบ ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าแบ่งปันความรู้กัน

เพราะเวลาครูบาฯท่านสอบอารมณ์ ท่านเอาปัจจุบัน เอาสิ่งที่เกิดขึ้นเด่นชัด

เหมือนกรณีที่ว่ายุงกัด ... เราไม่ได้พูดถึงกาย แต่เราพูดถึงสภาวะที่ยุงกำลังกัดเรา

เราถูกสอนให้ละบัญญัติ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติ

เหมือนเรื่องขันธ์ 5 ทำไมถึงมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เหมือนเรื่องที่ถามคุณว่า ถ้าคุณยืนอยู่ คุณตอบมาว่า กายยืนอยู่ ถ้าสื่อสารปรมัตถ์คุณบอกว่า

เป็นแท่งธาตุ ยังไงๆนี่ก็คือการที่ยังยึดติดอยู่กับบัญญัติ

เวลาครูบาฯท่านสอบอารมณ์ ท่านถามว่า อะไรยืน ถ้าตอบว่า กายยืนนี่โดนเลย

ท่านบอกว่า รูปยืน ไม่ใช่กายยืน หรือเรายืน หรืออะไรยืน

แม้แต่กายท่านก็เรียกรูป ท่านไม่มาเรียกกาย ท่านมีคำอธิบายรายละเอียด

แต่ขออภัยด้วยค่ะ ที่ไม่สามารถนำมาเสนอได้ เพราะอยู่ในเรื่องของการสอบอารมณ์

เหมือนยุง .. จริงอยู่ เราไม่ได้สัมผัสด้วยตา แต่เราสัมผัสด้วยจิต

เรารู้สึกตัวตั้งแต่โดนมันกัด .. เราเลยบอกคุณว่า ยุง เป็นรูป

เพราะทุกๆสรรพสิ่งรอบๆตัวเรา ล้วนแต่เป็นบัญญัติชื่อขึ้นมา

เรียกว่า อย่างโน้น เรียกว่า อย่างนี้ เราจึงคุ้นเคยกับบัญญัติ

เมื่อเราโดนยุงกัด เราจึงบอกว่า มันเป็น รูป เราไม่บอกว่าเป็นยุง

เพราะเมื่อเรารู้ว่ามันเป็นรูป การปรุงแต่งย่อมไม่เกิดต่อ ไม่มีทั้ง สัญญา สังขาร

กระบวนการทำงานตรงนั้นจะไม่มีเกิดขึ้น มันจะแค่สักแต่ว่า รู้

รู้อะไร รู้แค่ว่า โดนกัด เท่านั้นเอง ...

ขอบคุณค่ะ ถึงเราจะถูกสอนแตกต่างกันมา เราย่อมสนทนากันได้ค่ะ :b8:




เหตุการของคุณชาติสยามที่ยกมา ถ้าพูดถึงวิญญาณขันธ์นั้น จะต้องเป็นกายวิญญาณครับหาใช่
จักขุวิญญาณไม่เพราะถูกยุงกัด


ตรงนี้ขออภัยด้วยค่ะ ที่ไม่ได้แก้ไขในข้อมูลที่นำมาอ้างอิง :b8:

เพียงยกตัวอย่างง่ายๆในเรื่องตาเห็นรูปน่ะค่ะ เห็นว่าอธิบายได้ง่าย เลยยกตรงนั้นมา

สังเกตุนะคะ จะใช้คำว่า วิญญาณธาตุเป็นหลัก จะไม่ใช้ตัวอื่นๆ

เพราะเวลาจะเขียนรูปประโยคขึ้นมา เราเพียงนำข้อมูลมาประกบคู่เท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมนั่้งดูจิตอยู่ตั้งนาน

ก่อนความรู้สึกก็ตัวสติงัยครับ

หลังการรับรู้่ก็ตัวสติอีกนั่นแหละครับ เพราะถ้าไม่มีตัวนี้จะพิจารณาไม่เห็นอะไรได้เลยครับ

:b13:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เราถูกสอนมากันคนละแบบ ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าแบ่งปันความรู้กัน

เพราะเวลาครูบาฯท่านสอบอารมณ์ ท่านเอาปัจจุบัน เอาสิ่งที่เกิดขึ้นเด่นชัด

เหมือนกรณีที่ว่ายุงกัด ... เราไม่ได้พูดถึงกาย แต่เราพูดถึงสภาวะที่ยุงกำลังกัดเรา

เราถูกสอนให้ละบัญญัติ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติ

เหมือนเรื่องขันธ์ 5 ทำไมถึงมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เหมือนเรื่องที่ถามคุณว่า ถ้าคุณยืนอยู่ คุณตอบมาว่า กายยืนอยู่ ถ้าสื่อสารปรมัตถ์คุณบอกว่า

เป็นแท่งธาตุ ยังไงๆนี่ก็คือการที่ยังยึดติดอยู่กับบัญญัติ

เวลาครูบาฯท่านสอบอารมณ์ ท่านถามว่า อะไรยืน ถ้าตอบว่า กายยืนนี่โดนเลย

ท่านบอกว่า รูปยืน ไม่ใช่กายยืน หรือเรายืน หรืออะไรยืน

แม้แต่กายท่านก็เรียกรูป ท่านไม่มาเรียกกาย ท่านมีคำอธิบายรายละเอียด

แต่ขออภัยด้วยค่ะ ที่ไม่สามารถนำมาเสนอได้ เพราะอยู่ในเรื่องของการสอบอารมณ์

เหมือนยุง .. จริงอยู่ เราไม่ได้สัมผัสด้วยตา แต่เราสัมผัสด้วยจิต

เรารู้สึกตัวตั้งแต่โดนมันกัด .. เราเลยบอกคุณว่า ยุง เป็นรูป

เพราะทุกๆสรรพสิ่งรอบๆตัวเรา ล้วนแต่เป็นบัญญัติชื่อขึ้นมา

เรียกว่า อย่างโน้น เรียกว่า อย่างนี้ เราจึงคุ้นเคยกับบัญญัติ

เมื่อเราโดนยุงกัด เราจึงบอกว่า มันเป็น รูป เราไม่บอกว่าเป็นยุง

เพราะเมื่อเรารู้ว่ามันเป็นรูป การปรุงแต่งย่อมไม่เกิดต่อ ไม่มีทั้ง สัญญา สังขาร

กระบวนการทำงานตรงนั้นจะไม่มีเกิดขึ้น มันจะแค่สักแต่ว่า รู้

รู้อะไร รู้แค่ว่า โดนกัด เท่านั้นเอง ...

ขอบคุณค่ะ ถึงเราจะถูกสอนแตกต่างกันมา เราย่อมสนทนากันได้ค่ะ :b8: [/color]
]

คุณวไลครับ ด้วยความเกรงใจนะครับ ผมขอชี้แนะหน่อยนะครับ การจะอธิบายความให้แก่ผู้อื่น
นั้นเราต้องใช้ปริยัติในการอธิบายนะครับ เพื่อจะได้เข้าใจไปในทางเดียวกันครับ คุณเล่นเอา
ภาษาที่คุณปฏิบัติมาอธิบายความ แล้วคนอื่นจะเข้าใจได้ยังไงละครับ อาจารย์แต่ละคนมีวิธีการ
สอนและเรียกศัพย์ต่างๆก็ไม่เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งมีอาจารย์คนเดียวกัน ผลการปฏิบัติยังไม่
เหมือนกันเลยครับ หลักของการของพุทธศาสนาเป็นดังนี้นะครับ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธครับ
ปริยัติทุกคนจะต้องเหมือนกัน คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ส่วนปฏิบัติและปฏิเวธอาจแตกต่างกัน
บ้างก็แล้วแต่บุคคลนั้นๆ ที่เรียกว่าปัจจัตตังรู้เฉพาะตนไงครับ
......นักปฏิบัติทุกคนจะต้องศึกษาปริยัติบ้างพอสมควร เพื่อที่จะได้เข้าใจความหมายในคำพูดของ
อาจารย์ว่าหมายถึงอะไร ผมสังเกตุดูจากคำพูดของคุณ คุณกำลังอธิบายวิธีทำกรรมฐานของคุณ
ให้คนอื่นฟัง แต่จุดมุ่งหมายที่คุณชาติสยามอยากรู้คือขบวนการทำงานของจิตครับจึงจะต้อง
ชี้แจงในรายละเอียดให้ทราบ ซึ่งมันก็หนีไม่พ้นอารมณ์บัญญัติ
.......ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการอธิบายความว่า คุณกำลังผิดวัตถุประสงค์ที่จขกทต้องการครับ
ถ้าคุณต้องการคุยเรื่องอารมณ์กรรมฐาน พรุ่งนี้จะมาคุยด้วยครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อุ๊ย

ชักจะยาว... ไปในทางแบบว่า....

ผมขอเชิญชวนท่านสาธุชนให้ช่างมันดีกว่า

ได้กี่กิโลเอามาขายผม ผมซื้อหมด :b32: :b32:

ยังไงก้ขออนุโมทนานะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


TAKSA เขียน:
คุณวไลครับ ด้วยความเกรงใจนะครับ ผมขอชี้แนะหน่อยนะครับ การจะอธิบายความให้แก่ผู้อื่น
นั้นเราต้องใช้ปริยัติในการอธิบายนะครับ เพื่อจะได้เข้าใจไปในทางเดียวกันครับ คุณเล่นเอา
ภาษาที่คุณปฏิบัติมาอธิบายความ แล้วคนอื่นจะเข้าใจได้ยังไงละครับ อาจารย์แต่ละคนมีวิธีการ
สอนและเรียกศัพย์ต่างๆก็ไม่เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งมีอาจารย์คนเดียวกัน ผลการปฏิบัติยังไม่
เหมือนกันเลยครับ หลักของการของพุทธศาสนาเป็นดังนี้นะครับ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธครับ
ปริยัติทุกคนจะต้องเหมือนกัน คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ส่วนปฏิบัติและปฏิเวธอาจแตกต่างกัน
บ้างก็แล้วแต่บุคคลนั้นๆ ที่เรียกว่าปัจจัตตังรู้เฉพาะตนไงครับ
......นักปฏิบัติทุกคนจะต้องศึกษาปริยัติบ้างพอสมควร เพื่อที่จะได้เข้าใจความหมายในคำพูดของ
อาจารย์ว่าหมายถึงอะไร ผมสังเกตุดูจากคำพูดของคุณ คุณกำลังอธิบายวิธีทำกรรมฐานของคุณ
ให้คนอื่นฟัง แต่จุดมุ่งหมายที่คุณชาติสยามอยากรู้คือขบวนการทำงานของจิตครับจึงจะต้อง
ชี้แจงในรายละเอียดให้ทราบ ซึ่งมันก็หนีไม่พ้นอารมณ์บัญญัติ
.......ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการอธิบายความว่า คุณกำลังผิดวัตถุประสงค์ที่จขกทต้องการครับ
ถ้าคุณต้องการคุยเรื่องอารมณ์กรรมฐาน พรุ่งนี้จะมาคุยด้วยครับ :b8:




ขอบคุณค่ะ ที่เมตตา :b8:

ครูบาฯสอนไว้ว่า ปริยัติสนทนาพอประมาณ เมื่อรู้เขารู้เราแล้ว ไม่จำเป็นต้องสนทนาต่อไป

มันจะมีแต่เหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน เพราะจะมีข้ออธิบายไม่รู้จบ

ถ้าคุณคิดว่าผิดวัตถุประสงค์ ก็ผิดค่ะ ผิดเพราะคุณคิดว่ามันผิด

ส่วนเราเองนั้น มองแค่ว่า มันมีประโยชน์ ไม่ได้มองแง่ของถูกหรือผิด

มองว่าทุกๆความคิดเห็นล้วนแต่ก่อประโยชน์ สุดแต่ว่าเราจะเก็บเกี่ยวเอาเอง

ค่อยๆเก็บเล็กผสมน้อยไปค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะที่เมตตากัน

สนทนาด้วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ :b8:


ไวมากๆเลยนะคะคุณชาติเจ้าขา :b32:

พอดีกำลังพิมพ์อยู่ ใจคิดแล้วค่ะ ในเมื่อเป็นผู้ก่อขึ้นมา ย่อมเป็นผู้ดับเองค่ะ

โมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ครูบาฯสอนไว้ว่า ปริยัติสนทนาพอประมาณ เมื่อรู้เขารู้เราแล้ว ไม่จำเป็นต้องสนทนาต่อไป

มันจะมีแต่เหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน เพราะจะมีข้ออธิบายไม่รู้จบ

ถ้าคุณคิดว่าผิดวัตถุประสงค์ ก็ผิดค่ะ ผิดเพราะคุณคิดว่ามันผิด

ส่วนเราเองนั้น มองแค่ว่า มันมีประโยชน์ ไม่ได้มองแง่ของถูกหรือผิด

มองว่าทุกๆความคิดเห็นล้วนแต่ก่อประโยชน์ สุดแต่ว่าเราจะเก็บเกี่ยวเอาเอง

ค่อยๆเก็บเล็กผสมน้อยไปค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะที่เมตตากัน

สนทนาด้วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ :b8:

คุณวไลครับ ผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า การสนทนาธรรมกับใครเวบบอร์ด ผมไม่เคยคิด
เอาแพ้เอาชนะกันในข้อมูลที่สนทนา จุดสำคัญของผมอยู่ที่อารมณ์ในการสนทนาครับ ผมคิด
เสมอว่า ถ้าผมควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาเมื่อใด นั้นละครับแสดงว่า
แพ้แล้ว บางครั้งข้อเขียนอาจจะดูยั่วยุให้โกรธ ก็เพื่อให้คู่สนทนานำข้อมูลออกมามากๆ มันเป็น
ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
........ขอคุยเรื่องที่ค้างไว้หน่อยนะครับ(เอาแค่นิดเดียวละครับ) ที่คุณบอกว่า"กาย"เป็นบัญญัติ
"รูป"ไม่เป็นบัญญัติ ถ้าว่ากันตามจริงคำทั้งคู่ก็เป็นบัญญัติสมมุติขึ้นทั้งคู่ละครับ ตอนผมกล่าวคำ
ว่ากาย จึงมีคำอธิบายไว้ด้วยว่ามันเป็นก้อนธาตุไม่ใช้ตัวตน เวลาทำกรรมฐานเราก็ใช้กายนี้แหละมา
เป็นอารมณ์กรรมฐาน อย่างเช่น อานาปานสติหรืออสุภะ
.......เอาแค่นี้ละครับ เดี๋ยวคุณชาติสยามแกจะว่าเอาได้ ออกมาเตือนที่หนึ่งแล้ว :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร