วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ฯ ตอนที่ ๑๗
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้วว่า ธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ในการที่จะทำให้บุคคลบรรลุสู่ความต้องการได้อย่างดีขึ้น สะดวกขึ้น เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งธรรมะอันเป็นเครื่องมือหรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย อันเป็นธรรมชาติพื้นฐานเหล่านั้น ได้แก่
๑. โพชฌงค์ ๗
๒. มรรค ๘,
๓. ฌาน,
๔. สติปัฎฐาน ๔,
๕. กสิณ,
ธรรมะหรือเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วยฯ ทั้ง ๕ ชนิดนั้นล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันแยกออกจากกันมิได้ เพียงแต่การอธิบาย หรือการเรียนการสอน หรือการเรียกชื่อ หรือเรียกสภาพสภาวะที่เป็นไปนั้น จำเป็นต้องแยกสอนหรือแจกแจงเป็นเรื่องๆ และหรือมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เพื่อความง่ายหรือความสะดวกในการที่จะศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของธรรมะอันเป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ทุกชนิด จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า อย่างหนึ่งเกิดขึ้น อย่างหนึ่งก็เกิดขึ้นตาม หรือเป็นเหตุให้เกิดอีกอย่างหนึ่ง หรือเป็นผลให้เกิดอีกอย่างหนึ่ง และหมุนวนกันเป็นวัฏจักร ที่เป็นเช่นนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ธรรมะหรือเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ฯ ทั้ง ๕ ชนิดหรือ ๕ อย่างนั้น เกิดจากรากฐานอันเดียวกัน หรือเกิดจากต้นตอเดียวกัน นั้นก็คือเกิดจาก จิต,เจตสิก,รูป (หมายถึง รูปทั้งหมดและขันธ์ ๕ ด้วย) ดังนั้น ธรรมะ หรือเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วยทั้งหลาย จึงเป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ อันได้รับการขัดเกลาทางสังคมการเป็นอยู่ร่วมกัน นับตั้งแต่กรรมพันธุ์เป็นต้นมา รวมไปถึงการได้รับการขัดเกลาทางสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ค่านิยมในสังคมของชุมชน ฯลฯ ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์และทำความเข้าใจให้เห็นให้รู้ ให้เข้าใจได้ด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งผู้เขียนจักได้อรรถาธิบายหรือแจกแจงในรายละเอียดของธรรมะอันเป็นเครื่อง เป็นหลักวิธี หรือเป็นเครื่องช่วย ดังต่อไปนี้.-
๑.โพชฌงค์ ๗ ประกอบไปด้วย
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ หมายถึง
“ส่วนประกอบ , หรือลักษณะรูปแบบ ที่จะนำให้บุคคลตรัสรู้ธรรมได้ เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว หากจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โพชฌงค์ ๗ นี้แท้จริงก็คือ เครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ที่จะทำให้เกิดความสะดวก เกิดความง่าย หรือเป็นขั้นตอนแรก หรือเป็นเครื่องนำทาง ในการที่บุคคลจะตรัสรู้ธรรมได้ นั่นเอง”
การที่บุคคลจะตรัสรู้ธรรมใดใดได้ ย่อมต้องเกิดจากประสบการณ์ ย่อมต้องเกิดจากการได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจ ถึงสภาพ จิต,เจตสิก ทั้งของตนเอง และผู้อื่น ซึ่งล้วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ รูปทั้งหลายรูปทั้งหมด รวมถึงขันธ์ ๕ ด้วย นั่นก็หมายความว่า การที่บุคคลจะตรัสรู้ธรรมได้ ล้วนต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กับการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ตามสภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การพาณิชย์ ฯ หรือ อาชีพ หรือการประกอบการด้านต่างๆของมนุษย์ที่มีอยู่ ตามธรรมดา ตามธรรมชาติของการมีชีวิตอยู่หรือการดำรงชีวิตในโลก และจากการสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ตามสภาพแวดล้อม ในด้านต่างๆ มนุษย์จึงถูกขัดเกลา ทำให้เกิดเป็นธรรมชาติพื้นฐานในตัวมนุษย์เอง (ในที่นี้หมายเอา เฉพาะมนุษย์)
ธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ทั้งหลาย ล้วนย่อมมีการเลือกสรร สิ่งที่ตัวเองและรวมไปถึงครอบครัวของบุคคลนั้นๆต้องการ อีกทั้งยังหมายรวมไปถึงบุคคลในองค์กรอันเป็นวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษย์ทุกองค์กร ทุกสถานประกอบการ ฯลฯ ล้วนย่อมมีการเลือกสรร ร่วมอยู่ในการประกอบกิจการงานใดใด เช่น การเลือกสรรทรัพยากรมนุษย์ เลือกสรรทรัพยากรในการผลิต ฯลฯ ซึ่งล้วนต้องเริ่มจากการเลือกสรรปัจจัยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ คือ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ภายในที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค และยังหมายรวมไปถึง เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกทั้งยังมีการเก็บรวบรวม มีการตรวจตรา สอบรายละเอียด ก่อนที่จะซื้อ ก่อนที่จะเสาะหาเลือกสรรมาเก็บรวบรวมไว้เป็นเครื่องยังชีพหรือเครื่องดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการผลิต ในการประกอบกิจการงานใดใด เพื่อใช้ในการจำหน่าย ในการใช้สอยและอำนวยความสะดวกให้กับตัวเอง ครอบครัว ฯ เป็นธรรมชาติเป็นธรรมดา และจากธรรมชาติพื้นฐานในการดำรงชีวิตดังที่ได้กล่าวไป หากบุคคลมีความต้องการที่จะตรัสรู้ธรรม ก็ย่อมต้อง เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวมรวม ธรรมะ เพราะธรรมะหมายถึง ความรู้ทั้งหลาย ความรู้ทุกชนิด ความรู้ทุกสาขา หรือทุกแขนงวิชา อันเกิดจากหรือมีผลมาจาก จิต ,เจตสิก,รูป(รูปทั้งหมด รวมขันธ์๕ด้วย) และที่สำคัญดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้วข้างต้น การดำรงชีวิต และการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม การกระทำ หรือพฤติกรรมใดใด ก็ล้วนเป็นธรรมะ ซึ่งย่อมมีทั้งที่เป็นธรรมะในทางที่ดี(กุศลธรรม) บ้างก็เป็นธรรมะในทางที่ไม่ดี(อกุศลธรรม) บ้างก็เป็นธรรมะในทางที่จะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ (อัพยากตะ)
ในการเลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวบรวม ธรรมะทั้งหลาย ย่อมต้องเกิดจากความเพียร หรือต้องมีความเพียร คือ ความบากบั่นพยายามจนกว่าจะสำเร็จ เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ที่ย่อมต้องมีความบากบั่น พยายาม เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด จนกว่าจะสำเร็จ และเก็บรวบรวม ไว้เป็นอย่างๆ ใครจะมีความบากบั่นพยายามจนกว่าจะสำเร็จมากน้อย หรือเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องของสภาพสิ่งแวดล้อม และเป็นเรื่องของความต้องการของแต่ละบุคคล
ความบากบั่นพยายามจนกว่าจะสำเร็จ เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ที่ย่อมต้องมีความบากบั่น พยายาม เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด จนกว่าจะสำเร็จ และเก็บรวบรวมไว้ ถ้าหากบุคคลนั้นๆมีความต้องการที่จะใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เก็บรวบรวมไว้นั้น ซึ่งเป็นไปตามการดำรงชีวิต ในชีวิตประจำวันของบุคคล นับตั้งแต่ตื่นนอน ไปจนถึงเข้านอน ก็สามารถเลือกใช้ หยิบใช้ นำมาใช้ ระลึกนึกถึงเพื่อใช้ หากเป็นความรู้หรือหลักวิชา และยังหมายรวมไปถึง บุคคลที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้า เพื่อตรัสรู้ในธรรม อันมีจุดมุ่งหมายในนิพพาน ก็ย่อมต้องมีความบากบั่นพยายามจนกว่าจะสำเร็จในการ เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด และเก็บรวบรวบธรรมะคือ ความรู้ต่างๆไว้ในสมองนั่นก็คือ จดจำไว้นั่นเอง
เมื่อบุคคล มีการเลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวบรวม ด้วยความบากบั่นจนสำเร็จแล้ว ย่อมเกิดความแช่มชื่น ยินดี ความสบายใจ ความอิ่มอกอิ่มใจ ในการที่มีความบากบั่นจนสำเร็จในการเลือกสรร ฯลฯ เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์
บุคคลนั้นๆก็ย่อมจะระงับ หรือดับซึ่งความแช่มชื่น ความยินดี ความสบายใจ ความอิ่มอกอิ่มใจที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ เป็นธรรมดา
ความมีจิตตั้งมั่น หรือความมีจิตแน่วแน่เพียงอารมณ์เดียว หรือจะเรียกว่า สมาธิ ก็เกิดขึ้น และสมาธิที่เกิดขึ้นนี้ หากบุคคลนั้นๆรู้จักควบคุมเอาไว้อยู่เป็นนิจ ควบคุมไว้อยู่เสมอ ความวางเฉย ในอารมณ์ หรือความรู้สึก ในการที่ได้เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวมรวม สิ่งที่ต้องการ ก็เกิดขึ้นตาม คือย่อมสามารถระงับหรือสงบหรือควบคุม ความแช่มชื่น ความยินดี ความสบายใจ ความอิ่มอกอิ่มใจ ให้ดับไป
เมื่อความจิตตั้งมั่น หรือความมีจิตแน่วแน่เพียงอารมณ์เดียว หรือสมาธิเกิดขึ้น บุคคลนั้นๆ ย่อมมี สติ คือ ความระลึกได้ หวนระลึก หรือนึกถึง สิ่งที่ได้เก็บรวบรวมไว้ หรือจดจำไว้ หรือได้เรียนรู้ ได้ศึกษา ได้ประพฤติ ได้ปฏิบัติ ได้เจรจา แม้จะนานผ่านไปแล้ว ซึ่งย่อมเป็นไปตามสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยอื่นๆ เช่นระบบการทำงานของร่างกาย สภาพร่างกายดี หรือสภาพร่างกายมีข้อบกพร่องเสื่อมโทรมตามสภาพ ความมีสติ คือ ความระลึกได้ ความหวนระลึก หรือนึกถึง ก็อาจมีประสิทธิภาพลดลง เป็นธรรมดา และเมื่อบุคคลมีสติแล้ว ย่อมจะมี สัมปชัญญะคือ ความรู้สึกตัว ความไม่หลงลืม เกิดตามมาดุจเงาตามตัว ดังนั้น ความรู้สึกตัว ความไม่หลงลืม ความมีจิตตั้งมั่น หรือความมีจิตแน่วแน่เพียงอารมณ์เดียว หรือสมาธิ ทำให้เกิด สติ คือ ความระลึกได้ ความนึกถึง ความหวนระลึก ฯ ก็จะหมุนวนไปสู่การ เลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวบรวม ด้วยความบากบั่นจนสำเร็จแล้ว และสงบระงับ ซึ่งความแช่มชื่น ความยินดี ความสบายใจ เกิดเป็นสมาธิ เกิดเป็นความวางเฉย ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน
จบ “โพชฌงค์ ๗” ในสำนวนภาษาไทย
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๐ ต.ค. ๒๕๕๒


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร