วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 03:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่อ..มันเป็นจังซี่..เองหรอครับ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อัปปสุตสูตร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะน้อย เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก เข้าถึงด้วยสุตะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย :- ก็

บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย เขาหาได้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย เขาย่อมรู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมาก ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะเคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขารู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อม
สรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียน
เขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมากตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีล
และสุตะทั้งสอง ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต
ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทอง
ชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ

จบสูตรที่ ๖

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย natdanai เมื่อ 25 พ.ย. 2009, 23:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ตาลาย....แล้วมา...ป่วย...
ยิ้ม..แล้ว..มาว่า

เว่ย หล่าง..

แล้วก็มา..หัวเราะ..นี้มันหมายความยังงัยท่าน Nat..ฮือ.. :b12: :b12:


งงครับเลยตาลาย....พอตาลายมากรู้สึกวิงเวียนก็เลยป่วย....แต่ป่วยมันก็ไม่เที่ยงครับพอมันจากไปสุขเวทนามันก็มาก็เลยยิ้มครับ....อารมณ์ดีขึ้นมาก็เลยระลึกถึงสหายคนนึงที่ชอบยกตัวอย่าง "เว่ย หล่าง" และ ท่านบัวสบาย ก็กล่าวถึง "เว่ย หล่าง" ทำให้กระผมรู้สึกเหมือนว่าสหายท่านนั้นไม่หายไปไหนก็เลยหัวเราะ :b13: :b13:


:b34:

นี่ท่าน Nat ทำตัวให้น่ารักหน่อย.... อย่ามารังแกท่านบัวสบาย...นะ
เรารึอุตสาห์คอยแอบย่องติดตามอ่าน กระทู้สไตล์สบาย ๆ ของท่านอยู่...
ไม่พยายามแสดงกริยากระโดกกระเดก ให้ท่านต้องต๊กกะใจ...หนีไปจากกระดาน...
เพราะคุณคนเดียว เห็นมั๊ย...ช่วงนี้ท่านเลยไม่ค่อยตอบกระทู้...เลย...

:b34:

ท่านบัวสบาย อย่าไปสนใจ กบซน ๆ กับ :b21: เปิ่น ๆ เลย นะจ๊ะ...

ขอให้เดินเล่นในลานธรรมแห่งนี้อย่างสบาย สบาย

:b28: อันนี้ สำหรับท่าน Nat


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:23
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกๆ คำตอบของทุกท่านมากเลยครับ เป็นคำตอบสุดยอดทั้งนั้นครับ :b12:

@@@@@@@@@@

sabye เขียน:
ดูท่าน เว่ย หล่าง เป็นตัวอย่างนะครับ คนที่รู้ไม่จำเป็นจะต้องเรียนจากตัวหนังสือ หากแต่เรียนจากธรรมชาตินั่นแหละ เรียนจากตัวจากตนนั่นแหละครับ คนที่เรียนแล้วจมอยู่กับตัวหนังสือมัวแบกอรรถโดยไม่วางลงมีมากมาย เรียนเพื่อรู้ รู้เพื่อละ ละเพื่อรับรู้ รับรู้เพื่อรู้จริง


สอบถามเพิ่มเติมครับ "เว่ย หล่าง" นี่คือใครเหรอครับ เป็นพระอรหันต์ใช่เปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 07:23
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อัปปสุตสูตร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะน้อย เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
บุคคลผู้มีสุตะมาก เข้าถึงด้วยสุตะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย :- ก็

บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย เขาหาได้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย เขาย่อมรู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมาก ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะเคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขารู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อม
สรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียน
เขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมากตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีล
และสุตะทั้งสอง ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต
ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทอง
ชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ

จบสูตรที่ ๖


ขอบคุณเช่นนั้นมากเลยครับ ได้ความรู้เยอะเลย แต่ไม่เข้าใจน่ะครับ ที่บอกว่า


"มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย"


มันคืออะไรน่ะครับ แต่ละอย่าง ผมไม่ค่อยเข้าใจ ใช่อภิธรรมหรือเปล่าครับ รบกวนให้ความรู้ด้วย ครับ :b12: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...ขอเสริมอีกหน่อย...ถ้าทุกคนมัวแต่อ่านตำรา...มัวแต่ไปจำว่าตำราท่านว่าอย่างนั้นอย่างนี้...
...มันเหนื่อยและหนักเพราะกิเลสในจิตมันจะคิดว่ายากไปหมด...ธรรมตั้งเยอะจะจำไหวได้ยังไงกัน...
...เสนอแนะว่าอย่ารีๆรอๆไปศึกษานอกกาย...อ่านจากกายตัวเองด้วยการปฏิบัติ...จะเห็นสัจจธรรมเร็ว
...ธรรมะมีมากมายนับไม่ถ้วน...แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพียงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์...น้อยนัก
...ท่านสอนลงที่กายเราทุกคน...ลองนับเวลาถ้าว่าเราอ่านหนังสือถึง84000เล่มเมื่อใดจะอ่านจบ...

:b1:
...เวลาเราปฏิบัติไม่ต้องไปนึกถึงธรรมทั้งหลายที่มี...ไม่ต้องใช้ความจำ...ให้ดูสภาพ ณ กายกับจิตตน
...อะไรอะไรที่มันผ่านเข้ามากระทบที่กายกับจิตเรา...นั่นแหละคือธรรมะ...คือธรรมชาติในร่างกายนี้...
...เช่นจิตมันวอกแวกไปคิดถึงเรื่องที่เราไปเจอมาวันนี้...หรือพะวงไปถึงวันพรุ่งนี้..ไม่อยู่กับปัจจุบัน
...อันนี้ก็เป็นธรรมะเพราะจิตเป็นนักท่องเที่ยวไม่หยุด...แม้เวลาหลับก็ยังฝัน...ให้มองสภาพตามจริง
...หรือร่างกายสังขารนี้ไม่เที่ยง...เช่นนั่งสมาธิไปสักพัก...ก็ต้องขยับเปลี่ยนท่าทางนี่คือไม่เที่ยง...

:b16:
...หรือเราจะสั่งร่างกายว่าให้อยู้เท่านี้ไม่ต้องโตกว่านี้หรือไม่ให้แก่...หรือสั่งไม่ให้เจ็บไม่ให้ป่วยยิ่งไม่ได้
...ยืนนานมันเมื่อย...ร้อนมาก็ไม่ได้...หนาวมากก็ต้องหาเสื้อกันหนาวมาใส่...กายเขาไม่สนหรอก...
...แต่เราเข้ามาครองมาดูแลร่างกายสังขารพยายามรักษาด้วยความไม่รู้ภายในจิต...คิดว่าแบบนี้ไม่มีอื่น
...ไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อใด...แต่ตอนนี้เรารู้แล้ว...รีบๆทำไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเปล่าๆ
...วันคืนเดือนปีมีแต่มืดกับแจ้งเป็นอย่างนี้มาตั้งกัปป์ตั้งกัลป์...คนที่เกิดก่อนเราเขาก็ตายไปจนหมดแล้ว

:b27:
...การอ่านตำรามันก็เป็นแค่สัญญาความจำได้หมายรู้...ว่าถึงตอนนั้นจะต้องได้อย่างนั้นได้อย่างนี้...
...มันไม่มีบทสรุปที่สิ้นสุด...เช่นอ่านคำว่าปิติมันก็ไม่ซาบซึ้ง...แต่ถ้าปฏิบัติแล้วรู้แล้วไม่ไปถามใคร...
...เวลาที่มันซาบซึ้ง...น้ำตาแห่งปิติน่ะ...ตอนมันไหลบรรยายไม่ถูก...กราบพระพุทธเจ้าก็ซาบซึ้ง...
...ข้าพเจ้าขอยืนยัน...นั่งยัน...นอนยัน...ตำราไหนๆก็ไม่สามารถทำให้เรารู้ได้ในกายเราเองเจ้าค่ะ...

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น ความรู้เขาสูงครับ มีอะไรถามเขาได้ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


sbth เขียน:
สอบถามผู้รู้ครับ

หากคนๆ หนึ่งเป็นพระสงฆ์ หรือเป็นชาวบ้าน ที่เขาไม่ได้รู้อะไรมาก รู้แค่เพียง เรื่อง ทาน, ศีล, ภาวนา(ฝึกสมาธิ,ฝึกวิปัสสนา) หรือรู้เพียงศีล-สมาธิ-ปัญญา เพียงแค่นี้ แล้วเขาก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ...

คำถามคือว่า

1. เขาจะบรรลุอริยบุคคลจนถึงพระอรหันต์ได้หรือเปล่าครับ

2. สมมุตว่าเขาบรรลุได้ เขาจะรู้ทุกอย่างหรือเปล่าครับ

3. ถ้าใครถามเขาว่าเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า แล้วเขาก็นิ่ง(หมายถึงตอบรับว่าใช่) จากนั้นก็ลองภูมิถามอะไรๆ ด้านอภิธรรม หรือเรื่องยากๆ แล้วเขาก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เรียนรู้ด้านอภิธรรม หรือคำศัพท์เหล่านั้น แล้วอย่างนี้จะไม่โดนปรามาสหรือหาว่าพระอรหันต์หรืออริยบุคคลปลอมหรือครับ

4. พระอรหันต์แบบนี้ คงไม่มีใครยอมรับใช่หรือเปล่าครับ สมมุติว่าท่านจะมาสอนใครให้บรรลุบ้าง เท่าที่มีความรู้อยู่

รบกวนด้วยนะครับ :b12: :b8:



1. เขาจะบรรลุอริยบุคคลจนถึงพระอรหันต์ได้หรือเปล่าครับ

ตอบ ได้ซิรู้จนรอบใน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็บรรลุได้

ภูมิของศีลเต็มในโสดาบัน
ภูมิของสมาธิเต็มในอนาคามี
ภูมิของปัญญาเต็มในอรหันต์

2.สมมุตว่าเขาบรรลุได้ เขาจะรู้ทุกอย่างหรือเปล่าครับ

ตอบ ต้องรู้ก็ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร ทรงสอน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฎิจจสมุปบาทธรรม อริยสัจ 4

อวิชชา คือ อะไร คือไม่รู้ความจริงใน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฎิจจสมุปบาทธรรม อริยสัจ 4

การจะไปรู้ทุกอย่างมีแต่พระพุทธเจ้า เค้าเรียก ว่า พระสัพพัญญุตญาณ

พระอรหันตบุคคล ก็ไม่รู้อะไรมาก รู้ความจริงใน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฎิจจสมุปบาทธรรม อริยสัจ 4

3. ถ้าใครถามเขาว่าเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า แล้วเขาก็นิ่ง(หมายถึงตอบรับว่าใช่) จากนั้นก็ลองภูมิถามอะไรๆ ด้านอภิธรรม หรือเรื่องยากๆ แล้วเขาก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เรียนรู้ด้านอภิธรรม หรือคำศัพท์เหล่านั้น แล้วอย่างนี้จะไม่โดนปรามาสหรือหาว่าพระอรหันต์หรืออริยบุคคลปลอมหรือครับ

การที่มรรคจิต ผลจิต ประหานสังโยชน์ อาสวะ อนุสัย ออกไปจะไม่รู้ได้อย่างไร

อภิธรรม คือ อะไร ก็คือ ความจริงใน จิต เจตสิก รูป นิพพาน ก็อยู่ในขันธ์ 5 ของพระอรหันต์ อยู่แล้ว จะไม่รู้ได้ไง นอกจากไม่บรรลุ จึงไม่รู้

แล้วอภิธรรม 7 คัภภีร์ พระอรหันต์ รู้หมด ยกเว้น มหาปัฎฐาน เป็นภูมิของพระพุทธเจ้า

แล้วคำศัพย์ยากๆก็ไม่เกี่ยว คำศัพย์หรือ บัญญัติ มันเป็นสมมุติ พระอรหันต์ไม่หลงสมมุติแล้ว ใช้บัญญัติตัวใดก็เข้าใจได้เหมือนกันหมด

เช่น สุนัข หมา ก็คำคนละคำแต่ความหมายเหมือนกัน

4. พระอรหันต์แบบนี้ คงไม่มีใครยอมรับใช่หรือเปล่าครับ สมมุติว่าท่านจะมาสอนใครให้บรรลุบ้าง เท่าที่มีความรู้อยู่

มันอยู่ที่ว่าท่านมีบริวาณ บำเพ็ญบารมีร่วมกันมาหรือเปล่า ถ้ามีร่วมกันมาท่านก็ช่วยได้

เช่น พระพุทธเจ้า กับ พระจุลบันทก เป็นต้น

ความสงสัยทั้งหลายมาจากความไม่แจ้งในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ถ้าศึกษาจนรอบใน ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฎิจจสมุปบาทธรรม อริยสัจ 4 ก็หมดคำถามไปเอง

สงสัยก็เป็นวิจิกิจฉาธรรม

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป้นพระอรหันต์นี้ รู้ได้เฉพาะตน พระอรหันต์แต่ละท่านไม่เหมือนกัน บางท่าน ไม่ได้สร้างความเป็น ครู มาก่อน ดุอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้าซิครับ พระองค์ไม่ได้ตั้งศาสนาเลย มีนับพระองค์ไม่ถ้วนเหมือนกัน ย้อนกลับมาที่พระสารีบุตรพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญา ท่านก็มีเหมือนกันที่สอนลูกศิษย์ท่านให้แจ้ง ไม่ได้ จนพระพุทะองค์ ต้องมาแนะโปรดให้จนบรรลุ โปรดใช้วิจารณญาณ ปล ไม่ได้เจตนากล่าวตู่แต่ประการใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sbth เขียน:
ไม่เข้าใจน่ะครับ ที่บอกว่า
"มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย"
มันคืออะไรน่ะครับ แต่ละอย่าง ผมไม่ค่อยเข้าใจ ใช่อภิธรรมหรือเปล่าครับ รบกวนให้ความรู้ด้วย ครับ


สวัสดีครับ คุณ sbth
เช่นนั้น ยินดีครับที่คุณ sbth มีความสนใจในธรรม.
"สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ" คือพระพุทธพจน์ มีองค์ ๙ คือมีลักษณะที่เหมือนกัน จัดเป็นกลุ่มได้ 9 กลุ่ม มักจะเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "นวังคสัตถุสาสน์"
ตามที่สืบค้นจากปราชญ์หลายท่านก็ได้ให้ความกระจ่างไว้ดังนี้

นวังคสัตถุสาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง
พระพุทธพจน์มี    ๙    อย่าง   ด้วยสามารถแห่งองค์อย่างไร ?  จริงอยู่
พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดทีเดียว  มี  ๙ ประเภท  คือ  สุตตุ  เคยยะ  เวยยากรณะ คาถา  อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาตกะ  อัพภูตธัมมะ  เวทัลละ.

ในพระพุทธพจน์มีองค์  ๙  นั้น     

สุตตะ แปลว่า ด้าย หมายความว่า เรื่องที่นำมาผูกร้อยกรองเข้าด้วยกัน. อุภโตวิภังค์ นิทเทส  ขันธกะ  และบริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และคำสอนของพระตถาคตที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น   พึงทราบว่าสุตตะ.
 
คำว่า “สุตตะ”  ในนวังคสัตถุศาสตร์นี้  ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า “สุตตันตะ” กล่าวคือ  คำว่า “สุตตันตะ” มาจากคำว่า สุตตะ+อันตะ แปลว่าที่สุดหรือตอนปลายของสุตตะ คือ ส่วนที่อธิบายขยายความในสุตตะให้ละเอียดยิ่งขึ้น

เคยยะ  คำว่า  “เคยยะ”  แปลว่า  ขับ  ร้อง  สวด  เป็นการขับร้องเป็นทำนองคล้ายกับคาถา   แต่หมายเอาคำสอนที่มีอยู่ในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรองในเรื่องเดียวกัน  ลักษณะของเคยยะ  คือ   บทร้อยกรองมักจะแทรกอยู่ตอนกลางหรือตอนท้ายของส่วนที่เป็นร้อยแก้วเป็นส่วนใหญ่.
เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรค แม้ทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย 

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวยยากรณะ อภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา  และพระพุทธพจน์  แม้อื่นใด  ที่ไม่ได้รวบรวมไว้ด้วยองค์ ๘.
เวยยากรณะนี้เป็นประเภทคำตอบปัญหาที่มีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษด้วยเหตุนี้ จึงถูกจัดไว้เป็นคำสอนอีกประเภทหนึ่ง.  ในสมัยพุทธกาลนั้น ผู้คนจำนวนมากได้เข้าไปถามปัญหากับพระพุทธเจ้าและพระสาวก วัตถุประสงค์ในการถามก็มีต่าง ๆ  กันไป:-  
บางคนถามต้องการทราบความจริงแห่งชีวิต  เพื่อนำไปแก้ปัญหาชีวิตจริง ๆ;  
บางคนสนใจต้องการถามเพื่อเอาความรู้  เพราะเป็นคนอยากรู้อยากเห็น;  
แต่บางคนต้องการถามเพื่อจับผิดและหาช่องที่จะโจมตีคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า.  

ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มีข้อความกล่าวถึงสาวกกลุ่มหนึ่งได้พากันไปทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อเดินทางไปสอนธรรมในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง และผู้คนในหมู่บ้านนี้มีความเฉลียวฉลาดมาก และเป็นผู้ที่มีความสนใจที่จะถามปัญหา พระพุทธองค์ทรงแนะสาวกเหล่านั้นให้ไปศึกษาวิธีการตอบคำถามจากพระสารีบุตรก่อน

ในอังคุตตรนิกาย วิธีการตอบคำถามนั้น พระพุทธเจ้าทรงแยกไว้ 4 ประเภท คือ

4.1  วิภัชชวยากรณ์   คือ   การตอบปัญหาด้วยวิธีวิเคราะห์หลักธรรมอย่างละเอียดจะนำไปตอบปัญหาโดยไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ แต่จำต้องวิเคราะห์แยกแยะประเด็นเหตุการณ์ เช่น คำถามว่า อะไรคือผลของการกระทำด้วยกาย วาจา ใจ การตอบปัญหาเช่นนี้เราจะตอบว่า สุข ทุกข์ หรืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่ต้องวิเคราะห์ก่อนว่า การทำด้วยกาย วาจา ใจนั้นเป็นการกระทำอย่างไร ดีหรือชั่วเป็นต้น

4.2  ปฏิปุจฉาวยากรณ์ คือ วิธีตอบปัญหาด้วยการย้อนคำถามเพื่อให้ผู้ถามได้พิจารณาปัญหานั้นด้วยตนเอง เช่น ครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหากับเขมาภิกษุณีว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิเสธ ที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับการดำรงอยู่หรือไม่ดำรงอยู่ของคถาคตหลังจากความตายมาถึง นางเขมาภิกษุไม่ตอบปัญหานี้โดยตรง แต่จะย้อนถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าเป็นไปได้หรือไม่ได้ที่คนเราจะสามารถนับจำนวนเม็ดทรายตามฝั่งแม่น้ำคงคาหรือวัดจำนวนน้ำในมหาสมุทร

4.3  เอกังสวยากรณ์ คือ วิธีการตอบปัญหาโดยตรงกล่าวคือ เป็นวิธีที่ตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง คือการตอบรับหรือตอบปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำถามว่ารูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ตอบว่าไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ตอบว่าเป็นทุกข์ เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอัตตาหรืออนัตตา ตอบว่า เป็นอนัตตา เป็นต้น

4.4  ฐปนียวยากรณ์  คือ  วิธีการตอบปัญหาด้วยการวางคำถามไปเสียข้างหนึ่ง หมายถึง การไม่ตอบคำถาม เพราะคำถามและคำตอบไม่เป็นประโยชน์ต่อการดับทุกข์ หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหยั่งรู้มีประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง แม้จะตอบไปผู้ถามก็ไม่อาจพิสูจน์ด้วยคำพูดได้ เช่นถามว่า ชีวะกับสรีระเป็นสิ่งเดียวกันใช่หรือไม่ พึงยับยั้งเสียไม่ต้องตอบ หรือคำถาม 10 ข้อ เรียกว่า “อวยากตะ”    ที่เป็นคำถามที่พระพุทธองค์ไม่ทรงพยากรณ์  เช่น  โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  เป็นต้น 

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถา ได้แก่ ความร้อยกรองล้วน หมายเอา ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่า สูตร.  
บทประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่เรียกว่า “คาถา” นี้ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงสนับสนุนงานการประพันธ์ประเภทนี้อย่างมาก เช่น พระองค์ทรงยกย่องพระวังคีสเถระว่าเป็นเลิศในด้านการกวีนิพนธ์ และพระพุทธองค์ทรงให้มีการกล่าวคาถาขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถกล่าวคาถาได้ดี มีเสียงไพเราะ มีอยู่ 2 ท่านคือ พระโสณกุฏิกัณณะ และอุบาสิกานันทมาตา.

อนึ่งคำว่า  “คาถา”   นี้  นอกจากจะหมายถึงบทประพันธ์ประเภทร้อยกรองแล้ว   ยังมีความหมายเป็นทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้อีกด้วย เช่นในคัมภีร์มีคำว่า
(1.) สุทธิคาถา  หมายถึง  เรื่องบริสุทธิ์  คือ   คำสอนที่เกี่ยวกับสัจจะแห่งการดับทุกข์ จะอยู่ในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรองก็ได้

(2)  เสทโมจนคาถา  คือ  คาถาเหงื่อแตก เป็นการซักถามเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ   เกี่ยวกับธรรมวินัย   โดยใช้วิธีการถามแบบร้อยแก้วธรรมดา   ซึ่งปรากฏอยู่ตอนท้ายของคัมภีร์ปริวารในพระวินัยปิฎก  คำถามดังกล่าวถามอย่างลุ่มลึกจนยากที่จะขบคิด  จนทำให้เหงื่อกาฬไหล

(3)  วัตถุคาถา  หมายถึง  เรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ อันเป็นที่มาของคำสอน  ลักษณะการเล่ามีทั้งแบบร้อย แก้วและร้อยกรอง   ซึ่งช่วยให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น 
ปารายนวรรค  สุตตนิบาต    เป็นบทสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับปัญหาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้า กับพราหมณ์  16  คน  ก่อนจะมีการสนทนานั้น  มีวัตถุคาถาเล่าถึงสาเหตุที่พราหมณ์ทั้ง  16  คน  จะเดินทางมาทูลถามปัญหากับพระพุทธองค์อย่างละเอียด

(4)  วยากรณคาถา  หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของการตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายองค์  พระพุทธเจ้าเล่าให้ฟังที่ภูเขาคันธมาทนะ การเล่านี้เป็นแบบร้อยแก้วกล่าวกันว่า วยากรณคาถานี้ มีขึ้นหลังสมัยพุทธกาล คือปรากฏครั้งแรกในอรรถกถาบาลีรจนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 10 

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุทาน คาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ. สูตร ๘๒ สูตรพึงทราบว่า อุทาน.  อุทาน หมายถึงคำพูดที่เปล่งออกมาจากลำคอ อันมาจากความประทับใจในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมาจากได้เห็นสัจธรรมบางอย่างอันเป็นภาวะที่น่าอัศจรรย์ หรือที่ทำให้เกิดการประจักษ์ชัดในความจริงของชีวิต.  คำอุทานนี้ออกมาทั้งในรูปของร้อยแก้วและร้อยกรอง  ทั้งที่เป็นคำอุทานของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก เช่นตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ครั้นธรรมเทศนาจบลงพระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ว่าพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว.  พระพุทธองค์ทรงปีติเปล่งอุทานออกมาว่า “อญฺญาสิ  วต  โภ โกณฺฑญฺโญ” โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอเป็นต้น
 
อิติวุตตกะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระสาวกหรือบุคคลบางคนได้ยกขึ้นมาอ้างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นหรือเป็นหลักฐาน เช่นในมหาหัตถิปโทปมสูตร พระสารีบุตร แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาทในตอนท้ายท่านได้ยกเอาพระพุทธพจน์ขึ้นมาอ้าง เพื่อสนับสนุนความเชื่อมั่นและให้เห็นจริงในหลักปฏิจจสมุปบาทว่า“วุตฺตํ โข ปเนตํ ภควา โย ปฏิจฺจสมุปฺปบาทํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจฺจสมุปฺบาทํ ปสฺสตีติ.”  แปลว่า ก็ถ้อยคำนี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแลว่า ผู้ใดเห็นหลักปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น (ได้ชื่อว่า) เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น (ได้ชื่อว่า) เห็นหลักปฏิจจสมุปบาท. 
สูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํภควตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ.

ชาดก (ชาตกํ) แปลตามรูปศัพท์ว่า เรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เป็นเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อื่นบ้าง แต่ก็จะมีพระโพธิสัตว์อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยในการแสดงพระธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าจะทรงยกขึ้นมาอธิบายประกอบ ในกรณีที่มีผู้ทูลถามหรือเป็นเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ชาดกมีทั้งหมด 550 เรื่อง แต่ชาวไทยมักเรียกกันว่าเรื่องพระเจ้า  500  ชาติ. ตัวอย่างของชาดก เช่นในกูฏทันตสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องที่พระองค์เคยเกิดเป็นปุโรหิตชื่อมหาวิชิต ในมหาโควินทสูตรพระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องว่าพระองค์เกิดเป็นพราหมณ์ มหาโควินทะ. 

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 พ.ย. 2009, 15:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัพภูตธรรม คือพระสูตร อันประกอบด้วยเรื่องที่ไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ทั้งหมดที่เป็นไป แยกได้  3  ประเภท คือ:

ธรรมที่เป็นสัจจะ  ความจริงเกี่ยวกับธรรมดาของชีวิต  ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงสัจจะอันนี้อย่างถูกต้องและลึกซึ้งจนกระทั่งพระพุทธเจ้าค้นพบความจริงเหล่านี้แล้วนำมาประกาศแก่ชาวโลก, ผู้มีปัญญาฟังแล้วย่อมเห็นจริงตามคำสอนเหล่านั้นเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ใจ จึงมักจะเปล่งวาจาสรรเสริญว่า “อจฺฉริยํ  อพฺภุตํ ภนฺเต ยาว สุภาสิตํ อิทํ.....” แปลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทศนานี้เป็นสุภาษิต เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ.......

เรื่องของพระโพธิสัตว์หรือเรื่องของพระพุทธเจ้า หมายถึงเรื่องที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้  ย้อนกลับไปตั้งแต่ครั้งที่เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิตหยั่งลงสู่ครรภ์ของพระมารดา ระหว่างที่อยู่ในครรภ์นั้นจะประทับนั่งขัดสมาธิด้วยอาการสงบเวลาคลอดออกมาจากครรภ์ก็มิได้เอาศีรษะออกก่อนเหมือนทารกทั่วๆ ไป.  ตอนที่พระมารดาประสูติพระองค์ประทับยืน มิได้นอนคลอดเหมือนหญิงทั่วๆ ไป.  ตอนประสูติก็มีเทวดามาคอยรับพระวรกายด้วยน้ำร้อนและน้ำเย็นที่ไหลเป็นสายมาจากท้องฟ้า และหลังจากประสูติแล้วก็สามารถดำเนินไปได้ 7 ก้าวพร้อมกับมีดอกบัวรองรับ ขณะเดียวกันก็เปล่งพระสุรสีหนาทว่าพระองค์ทรงบันเกิดมาเพื่อประโยชน์ของมหาชนเป็นต้น.

เรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของอริยบุคคลบางองค์ เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่นในอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์ใจ  4  ประการของพระอานนท์เถระ กล่าวคือไม่ว่าภิกษุหรือบุคคลทั่วไปต่างก็ชื่นชมเมื่อได้เห็นพระอานนท์ และรู้สึกยินดีเมื่อได้ฟังธรรมที่พระอานนท์สอน และรู้สึกพอใจในธรรมนั้น ในทางตรงกันข้าม แม้ภิกษุและคนทั่วไปไม่พอใจ พระอานนท์ก็เฉย ๆ ไม่หวั่นไหวเป็นต้น. 

เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ได้ญาณและปีติแม้ทั้งหมด ถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัณหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น.
 
พระพุทธพจน์มี  ๙  อย่าง  ด้วยอำนาจแห่งองค์นับอย่างนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
...ขอเสริมอีกหน่อย...ถ้าทุกคนมัวแต่อ่านตำรา...มัวแต่ไปจำว่าตำราท่านว่าอย่างนั้นอย่างนี้...
...มันเหนื่อยและหนักเพราะกิเลสในจิตมันจะคิดว่ายากไปหมด...ธรรมตั้งเยอะจะจำไหวได้ยังไงกัน...
...เสนอแนะว่าอย่ารีๆรอๆไปศึกษานอกกาย...อ่านจากกายตัวเองด้วยการปฏิบัติ...จะเห็นสัจจธรรมเร็ว
...ธรรมะมีมากมายนับไม่ถ้วน...แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพียงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์...น้อยนัก
...ท่านสอนลงที่กายเราทุกคน...ลองนับเวลาถ้าว่าเราอ่านหนังสือถึง84000เล่มเมื่อใดจะอ่านจบ


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
นาคสูตร

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
สำเหนียก ๑
กำจัดได้ ๑
อดทน ๑
ไปได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

ภิกษุเป็นผู้สำเหนียกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จดจำ กระทำธรรมวินัยนี้อันพระตถาคตประกาศแล้ว ทรงแสดงอยู่ ไว้ในใจ
ประมวลธรรมวินัยทั้งปวงไว้ด้วยใจเงี่ยโสตลงสดับธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สำเหนียกอย่างนี้แล ฯ


ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ผู้อ่านตำรา เพราะพระไตรปิฏกไม่ใช่ตำรา แต่เป็นพุทธพจน์
แม้แต่พระอรหันตเจ้า จะแสดงความเห็นใด หรือขยายความใดแห่งพระพุทธพจน์ ท่านเหล่านั้นยังต้องแยกแสดงเป็นอรรถกถาต่างหากในภายหลังจากการทำสังคยนา

หากท่านคิดว่าพระไตรปิฏกเป็นตำรา ท่านก็มัวแต่ตีความ แต่ไม่ทำความเข้าใจในพุทธวจนะ
ย่อมเป็นการเหนื่อยเปล่าที่มัวฟุ้งไปตามธาตุขันธ์ ที่ท่านเข้าใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 26 พ.ย. 2009, 15:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร