วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยมานานแล้วคำว่า โพธิญาณ โพธิจิต พุทธภูมิ พุทธเกษตร พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วิสุทธิภูมิ ทั้งหกคำนี้มันแตกต่างกันอย่างไรครับ สาธุ
และก็คำว่าวิสุทธิเกษตร กับ พุทธเกษตร กับคำว่า โพธิจิต วิสุทธิพุทธเกษตร โพธิสัตวมรรค มีความหมายว่าอย่างไร
และทำอย่างไรจิตจึงจะมีปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ

๑ ทำอย่างไรจิตจึงจะมีปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ
๒ คำว่า พระอนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ คืออะไร
๓ คำว่า พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรม คือ ธรรมแบบไหน

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ

ถามยาก ถามยาว กลัวไม่มีคนตอบให้

เรื่องนี้ ขออนุญาตเสนอหน้านะครับ ต้องตอบยาวนิดนึง คนถามอ่านคนเดียว ผมก็ดีใจครับ

ถือว่าท่านมีจิตเจตนาดีมาก คุ้ม คุ้ม คุ้ม


ทำความเข้าใจก่อนนะครับ
ศัพท์เหล่านี้ ใช้เฉพาะพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
วิสุทธิเกษตร พุทธเกษตร โพธิจิต วิสุทธิพุทธเกษตร วิสุทธิภูมิ ทั้งหก


ส่วนศัพท์ เหล่านี้ใช้ร่วมกันในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน
โพธิญาณ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรม โพธิสัตวมรรค
พุทธภูมิ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ


ผมจะแปลให้ตอนท้าย แต่ท่านต้องอ่านให้จบก่อน ต้องอธิบายเรื่องการบำเพ็ญบารมีก่อนจึงจะให้ความหมายของแต่ละศัพท์ให้ถูกต้องตามสถานการณ์

ผมขออนุญาตเดาใจท่านว่า ท่านกำลังศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และมีความสนใจที่จะบำเพ็ญความดี ขออธิบายตามแนวเถรวาท และ มหายาน โดยมุ่งผลตามที่ท่านปรารถนาบำเพ็ญบารมี
ไม่ย่อมาก ไม่พิสดารมาก พอเข้าใจนะครับ ทำงานไปด้วย


ขออธิบายตามแนวเถรวาทก่อนนะครับ

แนวคิดในการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปรากฏในตาราทางพระพุทธศาสนามากมาย (ไม่อ้างที่มานะครับ หาไม่ทัน เอาว่า ค้น แล้วก็คว้ามาให้ )

ในพุทธศาสนาเถรวาท พระโพธิสัตว์มี ๒ ประเภท โดยการจำแนกจากช่วงเวลาในการบำเพ็ญบารมี

๑. อนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังมิได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอดีตกาล ยังไม่แน่นอนว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ในกาลอันใกล้หรือไกล แต่ตนเองก็บำเพ็ญบารมีปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่เสมอมิได้ขาดและยังคงต้องทำทั้งกุศลและอกุศลปะปนกันไป บางชาติเกิดในสุคติภูมิ บางครั้งก็เกิดในทุคติภูมิ

๒. นิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่จะต้องเข้าถึงพุทธภูมิแน่นอน หมายความว่าในชาติใดชาติหนึ่งได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เขาจึงเป็นพระโพธิสัตว์ที่ต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนในอนาคตกาล แต่จะเป็นเมื่อใดนั้น มิอาจทราบได้ พระองค์จะไม่ทำอกุศลกรรมเลย ทำแต่กุศลกรรมฝ่ายเดียว

ทีนี้ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีเพื่อเข้าพระนิพพาน หลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว แบ่งตามคุณธรรมได้ ๔ ประเภทบุคคล คือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. พระอัครสาวก
๔. พระอรหันตสาวกปกติ


การบำเพ็ญบารมีของท่านเหล่านี้ มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะเนื่องด้วยความปรารถนาคุณธรรมที่ต้องการบรรลุมีความยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ

๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด ชนิดที่สามารถสละอวัยวะหรือชีวิตได้ โดยใช้ระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
พระปัญญาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีปัญญามาก) ใช้ระยะเวลา ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป (เรื่องกัป หรือ กัลป์ ยังไม่อธิบายนะครับ ยาววววว)
พระสัทธาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีศรัทธามาก) ใช้ระยะเวลา ๘ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
พระวิริยาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีความเพียรมาก) ใช้ระยะเวลา ๑๖ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
การบำเพ็ญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อต้องการขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร เข้าสู่พระนิพพานให้ได้มากที่สุด จึงต้องเตรียมการมาก ทำให้พระองค์เป็นผู้สมบูรณ์พร้อม ด้วยคุณธรรมทุกประการ


๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป เพื่อต้องการตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แต่มิได้ขนสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพาน จึงเป็นผู้มีคุณธรรมรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. พระอัครสาวกซ้ายขวา ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบามี ๑ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป เพื่อตรัสรู้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยพระพุทธองค์ในการขนสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน มีคุณธรรมรองจากพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่มีมากกว่าปกติสาวก เพราะต้องทำคุณประโยชน์มากกว่า


๔. พระอรหันตสาวกปกติ เช่น พระอสีติมหาสาวก เอตทัคคะผู้เป็นเลิศด้านต่าง ๆ พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธบุตร พระพุทธอุปัฏฐาก และพระอรหันต์ทั่วไป ต้องใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี แสนมหากัป เพื่อความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ บ้าง เพื่อกล่าวสอนผู้อื่นบ้าง เพื่อตรัสรู้เฉพาะตนบ้าง

บารมีที่ท่านเหล่านี้บำเพ็ญเพื่อเข้าพระนิพพาน คือ บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่
๑. ทานบารมี (การเสียสละ การให้สิ่งที่ควรให้)
๒. ศีลบารมี (การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์)
๓. เนกขัมมบารมี (การเว้นจากกาม)
๔. ปัญญาบารมี (การไต่ถามจากผู้รู้ ความรอบรู้เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
๕. วิริยบารมี (การทำความเพียร)
๖. ขันติบารมี (การมีความอดทนอดกลั้น)
๗. สัจจบารมี (การรักษาวาจาสัตย์ พูดแต่ความจริง)
๘. อธิษฐานบารมี (การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง)
๙. เมตตาบารมี (การมีความเมตตา)
๑๐. อุเบกขาบารมี (การวางเฉย วางใจเป็นกลาง ไม่ว่าเรื่องดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภหรือเสื่อมลาภ ไม่ว่าจะมียศหรือเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)


ใครก็ตามสามารถตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าได้โดยการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ตามแนวคิดของพุทธศาสนาเถรวาท

ในที่นี้อาจเป็นไปได้ว่า การบำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ใช้เวลายาวนานมากกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ การเกิดแล้วเกิดอีกในการบำเพ็ญตนเป็นโพธิสัตว์ต้องพบกับความทุกข์ยากมากมาย ต้องเวียนตายเวียนเกิดในสังสารวัฏ ความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นฐานะที่เปิดสำหรับทุกคนที่มีความเพียรพยายามถึง คือต้องบำเพ็ญบารมี ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ผู้ที่กำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการนี้ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเพ็ญพระพุทธเจ้า ตราบนั้นก็ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ในทัศนะของเถรวาท ไม่ปรากฏว่ามีพระโพธิสัตว์องค์ไหนที่ปรารถนาที่จะไม่บรรลุพุทธภูมิโดยเร็ว แต่ถึงกระนั้นกว่าจะบรรลุพุทธภูมิได้ก็ต้องใช้เวลายาวนานเหลือเกิน

ตามคติชาวพุทธเถรวาท พระโพธิสัตว์ จะต้องเป็นบุคคลพิเศษอีกด้วย ดังนั้นชาวพุทธจึงปรารถนาแต่อรหันต์ภูมิ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพในพระองค์ รีบปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุอรหันต์ภูมิโดยไวที่สุดในชาติปัจจุบัน


ทีนี้ ขออธิบายตามแนวมหายาน (มีหลายแนวย่อย ขออธิบายแบบสากล)
ตามแนวท่านอาจารย์ เสถียร โพธินันทะ ซึ่งเป็นปรมาจารย์ของมหายานในประเทศไทย


พระโพธิสัตว์ในมหายานคือใคร

ก่อนอื่นต้องทราบแนวคิดการบรรลุหลุดพ้นในแนวมหายานมี ๓ ทาง คืออะไรบ้าง

๑. สาวกยาน คือ หนทางที่นำมนุษย์ให้บรรลุหลุดพ้นโดยการรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ เป็นยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ

๒. ปัจเจกยาน คือ หนทางที่นำมนุษย์ไปสู่การบรรลุหลุดพ้นโดยการรู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถสั่งสอนผู้อื่น เป็นยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า

๓. โพธิสัตวยาน คือ หนทางที่นำมนุษย์ไปสู่การบรรลุหลุดพ้น โดยการรู้แจ้งในศูนยตาธรรม เป็นยานของพระโพธิสัตว์ ที่ปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระพุทธเจ้า ไม่ต้องการอรหันตภูมิ เพราะการโปรดสัตว์ไม่กว้างขวางเท่ากับการเป็นพระพุทธเจ้า แต่การเป็นพระพุทธเจ้าจะต้องใช้เวลาแสนนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ ชาวมหายานจึงปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อช่วยสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ แม้นว่าตนเองอาจต้องทนทุกข์แทนสัตว์เหล่านั้นก็ตาม

พระโพธิสัตว์จึงเป็นบุคคลที่มีความเมตตากรุณาอย่างกว้างขวาง แม้ตนจะสามารถทำลายกิเลสให้หมดไปในทันทีได้ แต่ก็ไม่ทำเพราะจะช่วยสรรพสัตว์ให้หมดความทุกข์ก่อน แล้วตัวท่านจะเป็นบุคคลสุดท้ายที่บรรลุพุทธภูมิ พระโพธิสัตว์จึงเป็นผู้ที่ชาวมหายานรู้สึกใกล้ชิดและอบอุ่น สามารถอ้อนวอนร้องขอสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เพราะพระโพธิสัตว์มีหลักการที่ต้องช่วยเหลือสัตว์และอาจรับทุกข์แทนสัตว์ทั้งหลายได้ แม้จะต้องตกนรกก็ตาม พระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นที่รู้จักและเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้พ้นจากทุกข์ คือ พระอวโลกิเตศวร และ พระมหาสถามปราปต์ เป็นต้น

อุดมคติพระโพธิสัตว์ มีความสำคัญมากในมหายาน ทุกคนเจริญรอยตามพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เคยปฏิบัติกันมา โดย การบำเพ็ญตนเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์เป็น “พระโพธิสัตว์” มหายานมุ่งเน้นต่อการดำรงชีวิตเพื่อให้เข้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะได้สั่งสอนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น พระองค์บำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกฝ่ายมหายานจึงบำเพ็ญตนเช่นนั้น เพราะตระหนักดีว่า ทุกคนสามารถบรรลุโพธิภาวะได้ เนื่องจากสรรพสัตว์นั้นมี “โพธิจิต” คือจิตที่จะบรรลุโพธิได้อยู่ในตนอยู่แล้ว

อุดมการณ์ในการเป็นพระโพธิสัตว์ “อุดมคติของฝ่ายมหายาน สอนให้ทุกคนบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อที่จะได้ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของสัตว์โลก ได้กว้างขวาง พระโพธิสัตว์ หมายถึงผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

อุดมคติของฝ่ายมหายาน สอนให้ทุกคนบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อที่จะได้ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของสัตวโลกได้กว้างขวาง พระโพธิสัตว์หมายถึงผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งในฝ่ายเถรวาทก็รับรอง แต่ฝ่ายมหายานหยิบยกเอาเรื่องพระโพธิสัตว์ขึ้นมาเน้นเป็นพิเศษ
ฝ่ายเถรวาทเรา ประกาศเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ แต่ฝ่ายมหายานประกาศทศบารมีเป็นสำคัญ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าฝ่ายเถรวาทจะไม่มีเรื่องทศบารมี หรือฝ่ายมหายานจะไม่มีเรื่องหลักอริยสัจ ก็หาไม่ เป็นเพียงแต่ว่า ต่างฝ่ายต่างหยิบเอาหลักธรรมทั้งสองมายกขึ้นเป็นจุดเด่นสำคัญเหนือหลักธรรมข้ออื่นๆ ที่มีอยู่

ความแตกต่างคือว่า มหายานได้ย่อหลักทศบารมีลงเหลือ บารมีหก คือ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา ทานกับศีลเป็นคู่ปรับทำลายกิเลส คือ โลภะ ขันติกับวิริยะเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โทสะ ฌานกับปัญญาเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โมหะ พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมีหกให้สมบูรณ์

พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นจุดสำคัญ

แต่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือปริมาณเป็นจุดสำคัญคือเขาถือว่า เมื่อมีปริมาณมากแล้ว คุณภาพก็ค่อยๆ ตามมาด้วยการอบรมบ่มนิสัยได้ฉะนั้น ฝ่ายมหายานจึงบัญญัติพิธีกรรมและจารีตแบบแผนต่างๆ ชนิดที่ฝ่ายเถรวาทไม่มีขึ้น เพื่อให้เป็นอุปายโกศลชักจูงประชาชนให้มาเลื่อมใส และมีการลดหย่อนพระวินัยได้ตามกาลเทศะ

พุทธเกษตรคืออะไร

ชาวมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ มีเป็นจำนวนมากมายในจักรวาลนี้ พระองค์เสด็จมาอุบัติเพื่อสั่งสอนธรรมอยู่ทั่วไปนับจำนวนไม่ถ้วน แม้ในโลกธาตุของเราจะว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าแต่โลกธาตุอื่น ๆ ก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ กำลังสั่งสอนสัตว์โลก โลกธาตุที่พระพุทธเจ้ามาอุบัติเรียกว่า “ พุทธเกษตร ” ซึ่งมีหลายแห่ง เช่น

พุทธเกษตรของพระพุทธไภสัชชคุรุไวฑูรย์ประภาราชาซึ่งอยู่ทางตะวันออกของโลกธาตุ พุทธเกษตรของพระพุทธอักโฆภยะ มณฑลเกษตรของพระเมตไตรย โพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์ และสุขาวดี พุทธเกษตรของพระอมิตาภะซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโลกธาตุ เป็นพุทธเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของชาวมหายานเป็นส่วนมาก

สุขาวดีพุทธเกษตรห่างจากโลกธาตุนี้แสนโกฏิ ผู้ไปอุบัติในพุทธเกษตรนั้นล้วนเป็นอุปปาติกะเกิดขึ้นในดอกบัว ไม่มีทุกข์โศก โรคภัย มีอายุอันนับประมาณมิได้ เป็นแดนเสมือนที่พักระหว่าง สังสารวัฏฏ์กับพระนิรวาณ ผู้ไปอุบัติในที่แห่งนี้ล้วนเป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน แต่ถ้ายังมีกิเลส ติดจากโลกอื่นไปก็จะได้รับการอบรมตัดกิเลสกัน ณ ที่แห่งนี้

การที่ชาวมหายานสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตร อาจเป็นเพราะต้องการปลอบใจมหาชนที่ยังอยากมีชีวิตสุขสบาย ไม่ต้องการบรรลุนิพพาน คนส่วนมากคิดว่า การบรรลุนิพพานเป็นการยากยิ่งจึงต้องสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตรขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของคนบางกลุ่มที่ยังรักความสะดวกสบาย ทำให้เกิดการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตรเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ และแล้วก็จะบรรลุนิพพานได้โดยสะดวกไปเอง ซึ่งต่างจากพวกเถรวาท แม้จะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายองค์ มีโลกธาตุอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากโลกธาตุเรานี้ แต่ไม่ได้สอนให้มีการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตร การบรรลุหลุดพ้นของเถรวาทจึงเป็นไปอย่างรีบเร่งโดยไม่จำเป็นต้องรอไปถึงพุทธภูมิ เพราะต้องใช้เวลาอีกยาวนานแสนไกลกว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ ชาวเถรวาทส่วนมากจึงมุ่งเพียงอรหันตภูมิยาน
ความพิสดารมหายาน ดูตรงนี้นะครับ รวบรวมไว้ดีมาก


http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana.htm

ทีนี้จะอธิบายศัพท์ครับ

พุทธเกษตร เขตแห่งพระพุทธเจ้าแดนที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ ตามแนวมหายาน ดูความหมายข้างต้น
วิสุทธิเกษตร (เกษตร แปลว่า เขต แดน สถานที่ บาลีว่า เขตต ) แดนแห่งความบริสุทธิ
วิสุทธิพุทธเกษตร เขตแดนแห่งความบริสุทธิของพระพุทธเจ้า
วิสุทธิภูมิ (วิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์)
ทั้ง ๔ ศัพท์ ความหมายเดียวกันตามแนวมหายาน


โพธิสัตวมรรค วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
โพธิจิต จิตที่ตั้งตรงต่อการตรัสรู้ คือจิตที่ปรารถนาต่อการตรัสรู้


โพธิญาณ
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
อนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรม
พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ทั้ง ๔ ศัพท์นี้ หมายถึง การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความหมายใกล้เคียงกัน
(อนุตร แปลว่าประเสริฐ, โพธิ แปลว่า การตรัสรู้ ,สัมโพธิ แปลว่า การตรัสรู้พร้อม
สัมมา แปลว่า โดยชอบ หรือโดยพระองค์เอง ญาณ แปลว่า ความรู้ ,การรู้แจ้ง)


พุทธภูมิ คือ พุทธภาวะ
ปรารถนาพุทธภูมิ คือ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า


สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนา ในการตั้งจิตเป็นสำเภาลำใหญ่ขนมวลสรรพสัตว์ให้พ้นห้วงมหรรณพแห่งความทุกข์

ไวโรจนมุเนนฺทระ

:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 12:24
โพสต์: 42

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
อนุโมทนาสาธุกับคำตอบอันกระจ่างนี้ด้วยค่ะ
ชัดเจนมั่ก ๆ
สาธุกับคนถามและคนตอบทั้งคู่เลยค่ะ
อิ ๆ คนอ่านอย่างดิฉันก็พลอยหูตาสว่างกระจ่างแจ้งในบัดดล :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณคนเดินทาง

ขอบคุณที่กรุณาอ่าน

ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ ค้นเก่ง พอดีเคยเรียน เลยมีพื้น

มีคนอ่าน บอกว่าเข้าใจ ๑ คน ผมดีใจมาก ๆ ครับ

อยากตอบในสิ่งที่คนไม่ค่อยตอบ อุตสาห์สนใจธรรมะ

อนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นความรู้ที่ดีมากครับ :b44: :b51: :b51:
ขออนุโมทนา :b8:
ทั้งสองนิกายมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ พระนิพพาน แตกต่างกันตรง การเลือกหนทางที่จะดำเนินไป
...กระจ่างจริงๆครับ :b44:

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


รุ้เรื่องขึ้นเยอะเลยครับ :b16:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร