วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สีติวรรคที่ ๔
๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคอง
จิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วาง
เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่ง
ในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควร
ประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่
ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกร
ภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้
แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
จบสูตรที่ ๑
--------------------------

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สีติวรรคที่ ๔
๑. สีติสูตร
สีติวรรคที่#- ๔
อรรถกถาสีติสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสีติสูตรที่ ๑ แห่งสีติวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีติภาวํ ได้แก่ ความเยือกเย็น.
ในบทว่า ยสฺมึ สมเย จิตฺตํ นิคฺคณฺหิตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้
ธรรมดาจิตควรข่มไว้ด้วยสมาธิ ในเวลาที่ฟุ้งซ่าน. ควรข่มด้วยความเพียร ในเวลาที่จิตตกไปตามโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน). ควรให้ร่าเริงด้วยสมาธิ ในเวลาที่จิตขาดความแช่มชื่น. ควรเข้าไปเพ่งด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในเวลาที่จิตเป็นไปสม่ำเสมอ.
____________________________
#- อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๙

จบอรรถกถาสีติสูตรที่ ๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๒๐๗ - ๑๐๒๒๓. หน้าที่ ๔๔๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=22&i=356


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไม่อาจบรรลุธรรมในคัมภีร์ชั้นหลัง

บุคคลผู้มิอาจบรรลุธรรม แม้เพียรอยู่อย่างก็ตาม

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนทุกคนถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้นหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ทั้งนั้นมีบางจำพวกซึ่งแม้จะปฏิบัติดีสักเท่าไร ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้บรรลุ
ม. พวกนั้นได้แก่ใครบ้าง
น. ขอถวายพระพร ได้แก่คนเหล่านี้ คือ -
(๑) คนมิจฉาทิฐิ
(๒) คนกระทำอนันตริยกรรม ๕ (ฆ่ามารดา ๑, ฆ่าบิดา ๑, ฆ่าพระอรหันต์ ๑,ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต ๑, ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ๑, ) แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๓) คนปลอมเพศเป็นพระภิกษุ
(๔) พระภิกษุกลับไปถือลัทธิอันผิด
(๕) คนประทุษร้ายนางภิกษุณี
(๖) พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้อยู่กรรม
(๗) คนบัณเฑาะว์ (กะเทย)
(๘) คนอุภโตพยัญชนก (คนปรากฏทั้ง ๒ เพศ )
(๙) สัตว์เดียรฉาน
(๑๐) เปรต
(๑๑) เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ
ม. สิบพวกข้างต้นนั้น ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ตามที แต่เหตุไฉน
เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบ จึงไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเล่า
น. เหตุว่าเด็กอายุเพียงเท่านั้น จิตยังไม่มีแนวความคิดที่จะให้เกิดความรู้สึกว่า ผลของความดีและความชั่วมีอยู่อย่างไร เมื่อไม่รู้จักผลก็ไม่เกิดความคิดที่จะให้สาวไปหาเหตุแห่งผลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น กำลังใจก็มีไม่พอที่จะให้ก้าวไปหามรรคผลนิพพานได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. ภูเขาสิเนรุ บุรุษพึงพยายามให้กำลังแรงของตนยกเอามา จะไหวหรือไม่
ม. ภูเขาใครจะไปยกไหวเล่าเธอ
น. ขอถวายพระพร นั่นเป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะกำลังมีไม่พอกันน้ำหนักแห่งภูเขา
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ก็เพราะว่ากำลังใจมีไม่พอกับน้ำหนักแห่งมรรคผล นิพพานเช่นเดียวกันแล ขอถวายพระพร พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล อรหัตตผล ทั้ง ๔ อย่างนี้กับพระนิพพานเป็นธรรมที่เผล็ดมาจากเหตุคือมรรค ๔ ก็เมื่อเด็กอายุเพียงนั้นยังไม่มีความคิดที่จะหยั่งลงไปสาวหาผลได้ดังนั้นแล้ว ไฉนเลยจะมีโอกาสได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเหตุและผลของกันได้เล่าถึงว่าจะได้อบรมบารมีมาแก่กล้าแล้ว และได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพียงไรก็ตาม ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบเอกัจจาเนกัจจานํธัมมาภิสมยปัญหา


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 20 ม.ค. 2010, 17:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน (ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
[๗๑๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์
กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน
ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
. . . . . . . . . .
[๗๓๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และ
ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ
. . . . . . . . . .
[๗๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
สิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน
ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้
ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั่นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอย่าง
อสังขตะ)

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

>>>>>>>>>>>>>
ผู้เย็นเป็นอย่างไร ๑
>>>>>>>>>>>>>>

ว่าด้วยพระพุทธคุณ

[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย
ในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น
เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้รู้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้
ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะ
ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธา
แล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ
หนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

>>>>>>>>>>>>>>
ผู้เย็นเป็นอย่างไร ๒
>>>>>>>>>>>>>>
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดย
ชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือ
พระเจ้าข้า ฯ

[๘๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เป็น
ผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมอยู่เป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัด
ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวาย
ในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร