วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 12:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม : เขียน
อ้างคำพูด:
keaksim เขียน:
:b6: คุณชาติสยาม ลืม....พระพุทธเจ้าสมณโคดม เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไปแล้วหรือ ? ว่า ท่านเป็นถึงกษัตริย์ และหนีออกบวชตั้งแต่ลูกยังเพิ่งคลอดใหม่ๆ นั่นคือตัวอย่างแบบนั้น แต่ทำไมคุณชาติสยาม มาบอกแบบนี้ ก็ยังสงสัยอะไรกันแน่ ขอคำอธิบาย :b10:


ก็ตอนที่พระองค์ออกบวช พระองค์ตัสรู้หรือยังครับ
อวดรู้ไม่เข้าเรื่อง


อ้างอิงคำพูด:
และขอคำอธิบายอย่างสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ เพราะอ่านแล้วทำความเข้าใจยาก

ถ้าฟังผมยังไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรครับ
ผมไม่ได้ง้อ

อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าสอนไว้แบบไม่ติดโลก ....สอนว่าอย่างไร
ไม่ได้สอนให้เปลี่ยนแปลงโลกให้เหมาะกับเรา ...สอนว่าอย่างไร
หรือหาส่วนหนึ่งส่วนใดของโลกมาเป็นของเรา ....สอนว่าอย่างไร
หรือหาส่วนหนึ่งส่วนใดของโลกที่จะทำให้เราเป็นคนดี ....สอนว่าอย่างบ้าง


มันอยู่ที่บุญของคุณว่าจะเข้าถึงความรู้อันนี้หรือเปล่า
คนไหนมีภูมิ ฟังก็เข้าใจทั้งนั้นแหละครับ
มีแต่คุณนี่แหละ จ้องหาเรื่องจะไม่เข้าใจ
ซึ่งถ้าไม่อยากจะเข้าใจก็ไม่ต้องเข้าใจ
คุณจะได้ดีหรือตกยากผมก็ไม่เดือดร้อนด้วย

อ้างอิงคำพูด:
น่าจะได้เนื้อในใจความดีกว่าบอกสั้น และ ไม่ต้องตีความออกไปตามความเห็นของตนเองอีก :b8:


ใครว่าสั้น มันอยู่ที่ภูมิผู้ฟัง กลับไปอ่านใหม่สิ
อุตว่าห์อธิบายยกตัวอย่างง่ายแสนง่ายยังไม่มีปัญญาจะเข้าใจ
จะให้ง่ายกว่านี้ก็ไปหาเอง ทำเอาเองเถอะครับ ผมพูดได้แค่นี้
เก็บไปได้ก็เก็บ เก็บไม่ได้ก็อย่าโวย

ปีศาจลูกจ๊อก อย่ามาแหยมพญามาร


:b6:


ลำดับนั้นแล อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว.
[๖๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อม
สำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้
เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใด
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้
ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงความอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่น
โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
ชื่อว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง
ฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษา
ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ
ของผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา ดังนี้.

อ้างคำพูด:
ชาติสยาม :เขียน ปีศาจลูกจ๊อก อย่ามาแหยมพญามาร

อย่าลืมว่า เรื่อง "หนูกับราชสีห์" :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จ้า ชนะไปเถอะ
แก้ประเด้นไม่ได้ก็ไปโบ้ยว่าพูดไม่เพราะ


ผมขี้เกียจไปยกพุทธพจน์มาด่าคืน มีเยอะแยะไปหมดนะที่แก้ได้นะ
เช่นว่า ท่านพูดไปตามสำนวนโลก มีนะพุทธพจน์บทนี้
แต่เราไม่อยากจะทำอย่างนั้น มันไม่บังควร

พูดไม่เพราะกับพูดไม่จริง คนละเรื่องกัน

ถ้าคุณเป้นคนที่กล้ายอมรับความจริง เป้นคนที่ซื้อตรงต่อธรรม เปิดใจยอมรับธรรม
คุรต้องฟังได้ทุกอย่าง ผิดก็ฟังได้ ถูกก็ฟังได้ ส่วนใจจะเอาไม่เอามันเรื่องของใจ

ไม่ใช่ว่าคนพูดไม่เพราะ ก็เลยไม่ฟัง ไม่สนใจ เอาความไม่เพราะไปตัดสินว่าไม่จริง เป้นต้น

ถ้าผมด่า แต่ไม่มีผู้โกรธ แล้วใครล่ะจะเอาพุทธพจน์มาด่าผม
ก็เพราะคูณโกรธนั่นแหละ ถึงไปเอาพุทธพจน์มาด่าผม
สรุปว่าที่คุณเอามาด่าผม ก็เข้าตัวเอง
พอกัน เสมอกัน
เข้าใจไหมล่ะ


เรื่องหนุกับราชสีห์น่ะ ไม่มีประโยชน์หรอก
เพราะพญามารหมายถึงมีความเลวระดับพญา
คุณเลวได้อาจจะไม่เท่าผม คนเราเมื่อศึกษาธรรมไปมากๆ จะมีความเข้าใจในความเลวมากพอสมควร
สามารถทำเลวได้มากกว่าคนปกติ เรียกว่าขาดสติ จึงใช้ปัญญาไปในทางเลว
เป้นโจรที่ฉลาดกว่าโจรธรรมดามาก
สามารถปรุงยาพิษเป้นขนมหวานให้กินได้
เรื่องงัดความเลวมาประหัตประหารผมน่ะ อย่าเลย
เวลาคนเรามีน้อย เอาไปทำอะไรมีประโยชน์ดีกว่า

ผมแค่สื่อสารแรงๆใส่คุณน่ะ
คนแบบคุณเขาเรียกว่าทิฐิจริต เหมือนผมนั่นแหละ พวกเดียวกัน
ข้ารู้ ข้าแน่ ข้าถูก เจอใครพูดผิดจากความรู้ของเราไปนิดเดียวก็มีอัตตาประทุขึ้นมา
อวดเขี้ยวอวดงาว่าข้ารู้ข้าแน่
ต้องอาศัยคนที่แน่กว่า รู้ดีกว่า ถึงจะกำราบทิฐิมานะลงไปได้บ้าง

คนเราลุแก่มานะเมื่อไหร่ สติมันขาด หูตามืดบอด มองไม่เห้นธรรมอะไรทั้งนั้น
เป็นทาสของมานะอัตตา

พอจะเข้าใจไหมล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง...เป็นการดับทุกข์คือกิเลสในใจตนเองทำให้ไม่บีบคั้นทางจิตใจ...
...การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามแนวทางอริยสัจสี่ควรปฏิบัติธรรมทั้งทางโลกและทางธรรม...
...วิธีที่ถูกคือเปลี่ยนความคิดให้คิดในทางกุศล...การเบื่อหน่ายต่างๆล้วนสร้างอกุศลในใจ...
...ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติธรรม...การทำจิตใจให้ผ่องใสคือเกิดภาวะที่รู้สึกเฉยๆคือความรู้สึกทางธรรม...
...ที่วางอุเบกขาได้...การคิดด้วยความอยากแบบกิเลสก็คืออยากได้มากๆและไม่อยากได้มากๆ...
...พอสมหวังก็ทำให้มีความสุขคือทุกข์มันลดลง...ถ้าไม่สมหวังก็จะเป็นทุกข์เดือดร้อนในใจตนเอง...
:b48:
...หลักปฏิบัติที่ลดอกุศลเริ่มจากคิดดี...พูดดี...ทำดี...การเบื่อชีวิตเบื่อกายตนเองเป็นการคิดอกุศล...
...เป็นการเบียดเบียนตนเอง...เพราะทำให้ตนเองไม่มีความสุข...ส่วนความอยากได้มากๆจนหาทาง...
...กระทำทุกวิถีทางให้ได้มาจนกลายเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นก็เป็นอกุศล...ตัวอย่างการทำแบบกิเลส...
...เช่น...นายอี๊ดเห็นนส.ดาวเกิดรู้สึกหลงรักนำกลับมาคิดจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ(เบียดเบียนตนเอง)
...แล้วหาทางกระทำเพื่อให้ได้มาครอบครองคือตามตื้อจนนส.ดาวรู้สึกรำคาญ...(เบียดเบียนผู้อื่น)
...ความอยากได้อยากมีอยากเป็นใดก็ตาม...ควรกระทำบนพื้นฐานไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น...
:b48:
...แก่นธรรมในพระพุทธศาสนา...อยู่ที่การคิดเป็น...การมองผู้อื่นแล้วตัวเองยังทุกข์ก็เข้าไม่ถึงธรรม...
...ผู้ที่ไปวัดมาหลายแห่งนับไม่ถ้วน...แต่กลับมาบ้านไปทำงาน...แก้ทุกข์ในใจตนไม่ได้ก็ไม่ถึงธรรม...
...เราจะทำให้ผู้อื่นคิดแบบคนดีมีคุณธรรมเหมือนเราไม่ได้...ทุกข์เกิดจากไปกำหนดสิ่งอื่นตามใจเรา...
...พอไม่ได้ตามที่เราอยากได้ก็ทุกข์...ก็เราเป็นผู้สร้างความทุกข์ในใจบีบคั้นใจตนเองตลอดเวลา...
...เรียกว่าขาดความรู้ทางธรรมเพราะยังไม่สามารถแก้ความทุกข์เดือดร้อนบีบคั้นในใจตนเองนั่นเอง...
...แก่นแท้ง่ายนิดเดียว...ละชั่ว...ทำดี...ทำใจให้ผ่องใส...ควบคุมความคิดไปในทางสร้างกุศล...
:b48:
...เราเรียนทางโลกมาเพื่อเติบโตขึ้นแล้วนำมาใช้เลี้ยงชีพให้ดำรงชีพได้ไม่เดือดร้อนทางร่างกาย...
...การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ต้องกระทำควบคู่กับการดำรงชีพ...เพราะช่วยดับทุกข์ที่กิเลสในใจตนเอง...
...จึงต้องมีการเจริญกรรมฐาน2องค์ประกอบคือการเจริญสมาธิและการเจริญสติเพื่อควบคุมจิต(การคิด)
...ควรฝึกการมีสติรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิดไม่ให้คิดอกุศล...ให้คิดแต่กุศลและทำแต่กุศล...
...เพื่อทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่างต่อเนื่อง...เพราะทั้งหมดมาจากความคิดของเราเอง
:b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
จ้า ชนะไปเถอะ
.......................................................................................................
พอจะเข้าใจไหมล่ะ


:b35: :b35: :b35:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b48: คำว่า ทางโลก ในนิยามของดิฉัน หมายถึงการการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป
คำว่า ทางธรรม ในนิยามของดิฉัน หมายถึง การปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อมรรคผลนิพพาน
ดิฉันเคยอธิษฐานจิตต่อหน้าพระพุทธรูปแล้วว่า ร่างกายและจิตใจนี้ขออุทิศเพื่อการปฏิบัติบูชา
ถ้ามีบุญบารมีมากพอ ขอเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิตชาตินี้ค่ะ

ทุกอย่างที่คิดที่ทำมีสติค่ะ เพราะดิฉันมีคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นต้นแบบทางธรรมที่ดีมาก ท่านทั้งสองชอบทำบุญทำทาน ใส่บาตรทุกวัน วันพระก็หิ้วปินโตไปวัด ไปฟังธรรม เป็นคนมีศีลเคร่งครัด เป็นนักปฏิบัติภาวนา เห็นท่านทำอยู่ทุกวัน ทำให้เราซึ่งเป็นลูก...ภาคภูมิใจ และไม่ห่วงกังวลกับท่านเลย
เพราะมั่นใจว่าปลายทางของท่านต้องดี..แน่นอน

ภาระทางโลก ก็ยังมีอยู่ แต่ไม่มากมายอะไร เพราะรู้จักคำว่า"พอ" จึงไม่รู้สึกว่าขาดแคลนอะไร

แต่ถ้าไม่ใส่ใจทางธรรม...ก็คงประมาทเกินไป เพราะความตายไม่รู้จะมาถึงเมื่อใด จึงอยากมีเวลาที่ไม่ต้องมีสิ่งอื่นมารบกวนใจ และหาสถานที่สงัดปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายสูงสุดในชีวิตที่กล่าวมา
ถ้ารอถึงวันเกษียณอายุแล้วค่อยปฏิบัติ อาจสายเกินไป

"ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มีความสุขกับการ ทำงานๆๆๆๆๆ หาเงินๆๆๆๆๆๆ หาความสุขกับสิ่งที่เป็นทางโลก
แล้วก็ตายไป สุดท้ายเขาเหล่านั้นได้....อะไร? ในการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้"


คุณขอรับ คุณไม่ได้อยู่บนโลกหรือขอรับ ถึงได้แยกเป็นเรื่องทางโลกทางธรรม
คุณจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ คุณก็ต้องรู้เกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่บนโลก
หลักธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ ก็เป็นพฤติกรรมที่มีอยู่บนโลกทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงไม่มีคำว่า ทางโลก ไม่มีคำว่าทางธรรม แบ่งแยกกัน
มีแต่คำว่า " หลักธรรม คำสอนทางศาสนา " ซึ่งก็ล้วนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลาย คุณจะหลุดพ้น จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ คุณก็ต้องรู้จักพฤติกรรมทางะรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่บนโลก
นั้นก็หมายความว่า คุณต้องรู้ทางโลก คุณจึงจะบรรลุธรรมได้
คำว่าทางโลกที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง หมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ระดับปุถุชนไปจนถึงระดับ อริยะบุคคล ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


keaksim เขียน:
อ้างอิงคำพูด:
:b6:
ลำดับนั้นแล อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว.
[๖๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อม
สำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้
เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใด
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้
ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงความอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่น
โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
ชื่อว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง
ฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษา
ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ
ของผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา ดังนี้.



:b8: :b16: :b8: :b16:

:b1: :b16: :b1: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 09:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทางโลก : ชีวิตคนทำงาน..คนส่วนใหญ่อยากได้ผลตอบแทนมากๆ
อยากเจริญก้าวหน้า...อย่างรวดเร็ว อยากได้สองขั้น....ทุกปี
อยากมีตำแหน่ง...ใหญ่โต มีอำนาจเหนือคนอื่นๆ
อยากได้.........อยากเป็น......อยากมี........อีก.......สารพัด
ซึ่งล้วนแต่ขัดขวางการเจริญ....ทางธรรม

:b42: ทางธรรม : ชีวิตนักปฏิบัติ ควรละ ….ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น....ทางโลก


ลองเอาพระสูตรนี้ไปอ่านและทำตามให้ได้ทุกข้อก็แล้วกันเพราะนี้คือ การปฏิบัติสำหรับฆารวาสโดยตรง
ถ้าปฏิบัติได้ก็ นับว่า สุดยอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 537

ทุติยวรรคที่ ๒
๑. อรรถกถาปฐมมหานามสูตร
วรรคที่ ๒ ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นานาวิหาเรหิ วิหรต ความว่า ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ประจำสำหรับคฤหัสถ์ มิได้มีอย่างเดียว เพราะเหตุนั้น เจ้ามหานามศากยะ
จึงทูลถามว่า เมื่อหม่อมฉันอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ไม่ประจำ. ด้วยบทว่า
เกน วิหาเรน เจ้ามหานามศากยะ ทูลถามว่า หม่อมฉันพึงอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ประจำอย่างไหน พระเจ้าข้า. บทว่า อาราธโก ได้แก่ ผู้ทำ
ให้ถึงพร้อมผู้บริบูรณ์. บทว่า ธมฺมโสตสมาปนฺโน พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวติ
ความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมแล้ว ย่อมเจริญพุทธานุสสติ.
จบอรรถกถาปฐมมหานามสูตรที่ ๑

๒. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะมหานามะทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่
[๒๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหา-
นามะ ทรงหายจากประชวร คือหายจากภาวะที่ประชวรไม่นาน ก็สมัยนั้น
ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓
เดือน เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมาก
กระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 538

ผู้มีจีวรสำเร็วแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้า-
ศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
ได้ทราบข่าวมาดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จ
จาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่
ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่าง ๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตร
เสด็จเข้ามาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่
ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่าง ๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็น
การสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็นกุลบุตร ดูก่อนมหาบพิตร กุลบุตรผู้มี
ศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภ
ความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่น
ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อม
เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทราม ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว
พึงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป ดูก่อนมหาบพิตร ในธรรม ๖
ประการนี้ พึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูก่อนมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 539

ของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูก่อนมหาบพิตร
อริยสารกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ
ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติ
ย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบ
ด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวก
ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้
พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึง
ทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วย
พระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสสตินี้แล.
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระธรรม...
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระสงฆ์...
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
ศีลของตน...
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
จาคะของตน. . .
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
เทวดาทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ . . .
เทวดาผู้สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด
จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้น ๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 540

เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล. . . สุตะ. . . จาคะ . . . ปัญญาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น
ดูก่อนมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูก่อนมหาบพิตร อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อม
ได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อม
เกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วย
ปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุข
ย่อมตั้งมั่น ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึง
ประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึง
ทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วย
พระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งเทวตานุสสตินี้แล.

จบทุติยมหานามสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยมหานามสูตรที่ ๒
ทุติยมหานามสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า คิลานา วุฏฺิโต ความว่า เจ้ามหานามศากยะประชวรแล้ว
หายประชวร.
จบอรรถกถาทุติยมหานามสูตรที่ ๒
และยังมีพระสูตรอีกมากมายสำหรับฆาราวาสที่ ต้องครองเรือน และต้องการปฏิบัติธรรมซึ่งไม่ได้มีความยาก อะไรเลยถ้า เราได้เรียน ศึกษา เสียก่อน (พระไตรปิฎก) จะไม่มีความสงสัยว่า เรา จะต้องทำตัวอย่างไร ...ดี กับสังคมรอบกาย..ใจ...(ขอให้ได้ศึกษา อ่าน เรียนก่อนหนังสือพระไตรปิฎกเสียก่อนไปทำอย่างอื่น) เพราะพระไตรปิำฎกมีทุกศาสตร์ ทุกแขนง...ที่เราไม่เคยเรียนรู้...


แก้ไขล่าสุดโดย keaksim เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 11:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร