วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต กับ สมอง ต่างกันอย่างไร ?


ระหว่าง จิต กับ สมอง แตกต่างหรือทำหน้าที่อย่างไร มีหลากหลายความคิดเห็น เอาเป็นว่าอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆที่สุด ส่วนท่านใดที่ยังมีปัญหาอยู่ หรือท่านใดที่มีความรู้เรื่องธรรมะมาก ๆ ท่านสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในกระทู้นี้ได้นะครับ อธิบายให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ได้เข้าใจ ขออนุโมทนาล่วงหน้าทุกท่านนะครับ จิตกับสมอง ต่างกันดังนี้ ครับ

จิต


รูปภาพ


ธรรมชาติของมัน เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งเคลื่อนที่ได้เร็วมาก พลังงานชนิดนี้มันแปลกที่ว่า
เครื่องมีอวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน มัน detect ไม่ได้ มันเกิดจับไม่ได้คลื่นพลังงานความถี่ของจิตมันละเอียดมากเลย มีการเกิดดับ ๆ คล้าย ๆกระแสไฟฟ้า เป็นพลังงานประเภทนั้น แล้วเป็นพลังงานอมตะ ธรรมชาติของมันเป็นพลังงานอมตะ แล้วขณะเดียวกันพลังงานตัวนี้มันเปลี่ยนคุณภาพได้ สิ่งที่ดีที่สุดของพลังงานจิตตัวนี้คือมันมีธาตุรู้ อยู่ในตัวของมันเองโดยอัตโนมัติเลย ความรู้ที่เกิดจากจิตเรียกว่า
Insight

หน้าที่ของจิตทำงานโดยอัตโนมัติมีอยู่ 3 อย่าง

1 รับสิ่งกระทบเข้าปรุงแต่งให้เกิดเป็นอารมณ์
2 สั่งร่างกาย ผ่านระบบประสาทสมอง โดยสมองเป็นเครื่องมีอให้จิตใช้ทำงาน
3 สะสมผลของการกระทำ ทำดี ทำไม่ดี เก็บหมดครับ เหมือนคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลได้

สมอง


รูปภาพ



เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของเรา ซึ่งเป็นเครื่องมีอให้จิตใช้ทำงานผ่านระบบประสาท ไปยังส่วนต่างๆของร่ายกาย ความรู้ที่เกิดจากสมองคือ การเรียนรู้ จากภายนอก จากตำรับตำรา ที่สามารถเห็นได้โดยธรรมดาทั่วไป ความรู้ที่เกิดจากสมอง เรียกว่า intelligent นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายบอกว่ารู้ทั้งหลายมันอยู่ที่สมอง ไม่จริงครับนั่นคือรู้ไม่จริงครับ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 21 ก.พ. 2010, 00:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทำไมสั้นจังค่ะ....
กะว่าเรื่องนี้น่าจะยาว...
มีต่อหรือเปล่าค่ะคุณธรรมบุตร? :b6:

อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไมสั้นจังค่ะ....
กะว่าเรื่องนี้น่าจะยาว...
มีต่อหรือเปล่าค่ะคุณธรรมบุตร?


:b48: ครับ..

ความรู้จริงจากพระพุทธองค์นั้นต้องปฏิบัติ..อย่างแท้จริง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์..สามารถพิสูนจ์ได้มองเห็นด้วยตาเนื้อ

ความรู้ทางพุทธศาสตร์..สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติจริง..จนขันต์ห้าดับ..

ไม่มีตัวเรา..คล้ายๆตาย..ไม่มีตัวตน..เหลือแต่จิตบริสุทธิ์ที่เป็นตัวเราจริงๆ

มีสมาธิ..สามารถดับสิ่งปรุงแต่งที่มากระทบเพื่อให้เกิดอารมณ์..ได้

ดับทุกครั้งที่เกิด..ดับหนึ่ง ได้หนึ่ง ดับอีกหนึ่งได้อีกหนึ่งจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

บางคนปฏิบัติฝึกได้สมถกรรมฐาน คือ นั่งสมาธิพอจิตสงบ

ไม่ต้องวิปัสนา แค่สมถะ ก็จะเข้ามิติพวกนี้ รับมิติพวกนี้

เช่น เห็นเทวดา เห็นตัวเลขวิ่งออกมา ฯลฯ

หลงคิดว่าใช่แล้ว อันตรายมาก เพราะจะกลายเป็นกิเลส

คิดว่านั่นคือใช่ กลายเป็นหมอดู สำนักใบ้หวย (เป็นอบายมุข) ซึ่งตรงนี้มีจริง

ถ้าใครปฏิบัติถึงแล้วจะสามารถมองเห็นสิ่งพวกนี้ได้ในมิติ

พระพุทธเจ้าท่านห้ามไว้ไม่ให้เอาสมาธิไปใช้ในทางที่ผิดที่เรียกว่า "มิจฉาสมาธิ"

:b48: การพัฒนาญานไม่ยากหรอกครับ เมื่อจิตเข้าเป็นสมาธิ จะมีสมาธิอยู่ ๓ ระดับ

ขณิกสมาธิ เวลาทำงาน ดูหนังสือสอบ ใช้สมาธิ ระดับต้นนี้

อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิขั้นกลาง วิธีพัฒนาญานให้เกิดกับจิต (ญาน คือ

ปัญญา คือความรู้ ที่เกิดกับจิตเป็นปัญญาเห็นแจ้ง "Insight" ส่วนปัญญาที่เกิดจากสมองเรียก

ว่า "Intelligance" จึงต่างกัน ดังนั้นถ้าจะพัฒนาญานให้เกิดกับจิตได้ต้องใช้สมาธิขั้น อุปจารสมาธิ

อัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นสูง) ทำให้ไม่รับรู้ อะไรทั้งสิ้น สบายอย่าง

เดียว สบายเช่นนั้นทำให้คนหลงกันมาก เพราะนึกว่าเข้านิพพาน เป็นอรหันต์ไปแล้ว เช่น พวกพรหมต่างๆ

"อย่าเดินทางผิด หลงติดฌาน"

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 20:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบุตร เขียน:

อัปปนาสมาธิ (สมาธิขั้นสูง) ทำให้ไม่รับรู้ อะไรทั้งสิ้น สบายอย่าง

เดียว สบายเช่นนั้นทำให้คนหลงกันมาก เพราะนึกว่าเข้านิพพาน เป็นอรหันต์ไปแล้ว เช่น พวกพรหมต่างๆ

"อย่าเดินทางผิด หลงติดฌาน"




ถ้าจะกล่าวถึงเหรียญ ต้องกล่าวให้ครบทั้งสองด้านครับ

เสนออ่านกระทู้

วิหารธรรม... ที่พักของจิต เพื่อ เจริญปัญญา

viewtopic.php?f=2&t=29413


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




Dhamma%20Candle.jpg
Dhamma%20Candle.jpg [ 15.78 KiB | เปิดดู 10349 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41:
ขอเข้ามาร่วมแจมนิดหน่อยครับ...

จิต

จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
- เป็นตัวเก็บบุญ-บาป (เก็บข้ามภพข้ามชาติ)
- ถ่ายต่อเนื่องกันมาตลอดสาย ไวมาก ไม่มีที่สิ้นสุด

ในจิตวรรคของธรรมบุตร เอ่อ..ธรรมบท กล่าวว่า

ทูรงฺคมัง เอกจรัง อสรีรัง คูหาสยัง เย จิตฺตัง
สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา


แปลว่า "ชนเหล่าใดจักสำรวมจิต ซึ่งไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกของมารเสียได้"

ในคาถาพุทธภาษิตข้างต้นนี้ ได้กล่าวถึงจิตว่าเป็นธรรมชาติที่ไปรวดเร็วมาก ไปไกลมาก ไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง ถ้าใครสำรวม (การฝึก) ก็จะพ้นจากเครื่องผูกของมาร (กิเลส) สามารถหลุดพ้นจากการเวียนเกิด เวียนตาย ไม่มีสิ้นสุดได้ (พ้นวัฏสงสาร) สามารถที่จะพบสุขได้ ดังคาถาที่ว่า "จิตฺตัง ทนฺตัง สุขาวหัง" "จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้"

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นมัสการ ท่าน”ตรงประเด็น”

ขอบพระคุณที่ชี้แนะกระผม..

กระผมขอต่อนะครับ..กระผม :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:




:b48: ฌาน ถ้าเล่นไม่ดีไม่เข้าใจไม่ใช้ปัญญาถ่องแท้ จะไปติดเป็นพรหมแย่ไปเลย มีพรหมชั้นเดียวที่โชคดี คือชั้นสุทธาวาสซึ่งเป็นรูปพรหม ห้าชั้นสุดท้ายเป็นพวกพระอนาคามี ที่ท่านยังไม่สำเร็จ ไปติดอยู่สุทธาวาส ท่านจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้วท่านจะเข้านิพพานเลย ส่วนนอกนั้น เป็นพรหมที่ต้องกลับมาเกิดอีก


:b48: พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่แนะนำ เพราะมีอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะสองท่าน ชื่ออุทกดาบส รามบุตร กับอาฬารดาบส กาลามโคตร ตอนเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช ได้ฝากตัวกับอาจารย์สองท่านนี้ ในที่สุด สองท่านนี้ไม่สำเร็จเจ้าชายสิทธัตถะจึงแยกไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง
ตอนที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใหม่ๆ ท่านระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองท่าน อยากจะไปโปรด พอนึกถึงก็ทราบได้ทันทีว่า หนึ่งไปเกิดเป็นอรูปพรหมเกือบสูงสุดอีกท่านไปเป็นอรูปพรหมสูงสุดท่านจึงดำริว่า”ฉิบหายจากความดีทั้งสองท่านเลย” เพราะท่านไปเสวยความสุขจากอรูปพรหม ซึ่งเวลานับไม่ได้ ตัวเลขในเมืองมนุษย์ไม่รู้จะเอาอะไรมานับ ต้องสมมุติอะไรสักอย่างหนึ่งมานับ
เขาเรียกเป็นกัปป์ เป็นมหากัปป์ เป็นอสงขัยกัปป์


:b48: ดังนั้นถ้าเล่นสมถะแล้วไม่ใช้ปัญญาพิจารณาโดยวิปัสสนาจะหลงทางติดพวกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่โชคไม่ดีเว้นแต่ติดรูปพรหม ชั้นสุทธาวาส จึงจะดีเป็นพระอนาคามี เข้านิพพานได้ คนที่เล่นสมถะอย่างเดียวไม่ดี ท่านอาจารย์จึงแนะนำให้พัฒนาปัญญาวิปัสสนาขึ้นมาด้วย ท่านจึงสอนวิปัสสนา

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 06:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนออ่าน กระทู้นี้ครับ


ฌาณ น่ากลัวหรือ?

viewtopic.php?f=2&t=28043

และ


อานิสงส์การทำฌาณให้มีขึ้น

viewtopic.php?f=2&t=28074


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เล่นสมถะ
พิจารณาโดยวิปัสสนา
แม้การทำสมถะโดยส่วนเดียว หรือการทำวิปัสสนาโดยส่วนเดียว


คุณธรรมบุตร กรุณาเข้าใจว่า ผู้แสดงอย่างนั้น เข้าใจโดยทิฏฐิของตนเองจึงแสดงต่อๆ กันมาซึ่งไม่มีการตรัสสอนในพระธรรมวินัยนี้

เจตสิกธรรม สมถะ เกิดในจิตทุกดวง ยกเว้นแต่จิตที่สัมปยุตด้วย วิจิกิจฉาอันเจือด้วยอกุศลมูล
ส่วนวิปัสสนา เจตสิกธรรม เกิดกับจิตทุกดวงที่เป็นกุศล

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง
เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น


เนื่องจาก สมถะ และ วิปัสสนา เป็นสภาวะธรรม
โดยความเป็นจริงแล้วย่อมให้รู้จักด้วยการอธิบายไม่ได้
แต่การยอมรับการอธิบายโดยลักษณะของสภาวะ จึงบัญญัติชื่อเรียกสภาวะธรรมสองชนิดนั้นว่า สมถะ และวิปัสสนา

สมจริงกับพุทธพจน์ที่แสดง ว่า

"ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากพิจารณาโดย การอาศัย การเข้าถึง การตั้งอยู่ของจิตกับสมอง

จิตก็ไม่ต่างกับสมอง
จิตก็ไม่ต่างกับตา
จิตก็ไม่ต่างกับหู
จิตก็ไม่ต่างกับลิ้น
จิตก็ไม่ต่างกับร่างกาย
จิตก็ไม่ต่างกับใจ

แต่จิต ก็ไม่ใช่สมอง
แต่จิต ก็ไม่ใช่ตา
แต่จิต ก็ไม่ใช่หู
แต่จิต ก็ไม่ใช่ลิ้น
แต่จิตก็ไม่ใช่ร่างกาย
แต่จิตก็ไม่ใช่ใจ

แท้จริงแล้ว เป็นการอาศัย การเข้าถึง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างระหว่าง จิต กับ สมอง

วิญญาณ หรือจิต คือ -การรับรู้ ,สัญญา-ความจำ ,สังขาร-การคิด., เวทนา-รู้สึก

สมอง ก็ทำหน้าที่รับรู้ จดจำ ประมวลผล แล้วก็คิด และรู้สึก เช่นกัน ดังนั้นจึงกล่าวว่า สมองและกลไกทางสมอง ก็คือวิญญาณขันธ์ แต่อย่าหลงไปคิดว่าสิ่งนี้เป็นจิต หรือวิญญาณ(ธาตุ)

ในพระอภิธรรม ระบุชัดว่า:

..... 1.2 ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความสูญสลาย ดับไปของร่างกาย ความคิด ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ความรัก ความเจ็บปวด ความรู้สึกประสาททั้ง 6 เป็นของร่างกาย ไม่ใช่จิตดับ เป็นเพียงวิญญาณระบบประสาทตาย

คัดจากการเจริญพระกรรมฐาน: สมถภาวนาและวิปัสสนาภวนา

http://www.sangthipnipparn.com/luktampr ... matan.html

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราตาย สมองและกลไกทางสมอง(วิญญาณขันธ์) เป็นของกาย ตายได้ แต่จิตหรือวิญญาณธาตุไม่ดับหรือไม่ตาย

ดังที่พระอภิธรรมได้แสดงไว้ว่า:

..... ธรรม คือ การพิจารณาให้เห็นว่ารูป ร่างกาย นาม คือ ความรู้สึก ความจำ ความคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นทุกข์ แปรปรวน และเสื่อมสลายตลอดเวลา มีวิญญาณคือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต ไม่ควรเอาจิตสนใจกับอายตนะทั้ง 6 นั้น ถ้าจิตไปสนใจกายหรือวิญญาณ (อายตนะทั้ง 6) ก็มีแต่ความทุกข์ใจ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด

จิตคืออทิสมานกาย(กายทิพย์)

พระอภิธรรมได้แสดงไว้ว่า:

วิญญาณในขันธ์ 5 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่ใช่จิตใจตามแบบที่คนทั่วไปคิด วิญญาณ(ในขันธ์ 5)ไม่ใช่จิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็นนาย จิตเป็นนายของวิญญาณ คือความรู้หนาวรู้ร้อนหิว กระหาย เผ็ดเปรี้ยว นุ่มนิ่ม แข็งกระด้างเป็นวิญญาณ ใจคืออารมณ์ พระองค์สอนว่าทั้ง 5 อย่างนี้ ไม่ใช่ตัวเราเป็นของปลอม เป็นสมบัติของโลก ของธรรมชาติ

พระพุทธองค์สอนว่า ให้เอาจิต ยอมรับนับถือกฎธรรมดาของร่างเราเอง อะไรจะเกิดขึ้น เจ็บป่วยใกล้ตายก็ยิ้มรับเพราะรู้แล้วว่า เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น แต่ความจริงนั้น ร่างกายตายแต่ตัวนอก ตัวในคือ กายในกาย พระท่านเรียกว่า อทิสมานกาย อทิสมานากาย คือ กายที่มองไม่เห็นโดยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยจิตที่สะอาด ปราศจากกิเลส เศร้าหมอง กายนอกคือขันธ์ 5 พระท่านสอนไว้ว่าอย่าสนใจกายนอก คือ กายเนื้อ กระดูก เลือด ที่เหม็นสกปรกทุกวัน เหมือนซากศพเคลื่อนที่ พระท่านว่าอย่าสนใจกายเนื้อ สนใจกับมันมากก็ทุกข์ใจมาก สิ่งที่ท่านให้เราสนใจพิจารณาดูมาก ๆ คือ

กายในกาย เรียกว่า อทิสมานกาย หรือจิตอันเดียวกันนั้นจริง ๆ

เราก็คือจิตหรืออาทิสมานกายมาอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 หรือกายเนื้อชั่วคราว

กายของเทพ พรหม เปรต ฯลฯ คือ จิต(อทิสมานกาย)

ในพระอภิธรรม ระบุว่า:

กายในกาย(อทิสมานกาย เรียก สั้น ๆ ว่า จิต) แบ่งเป็น ๕ ขั้น

1. กายอบายภูมิ รูปกายในกายซูบซีด ไม่ผ่องใส เศร้าหมอง อิดโรย ได้แก่ กายของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่นสัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน
2. กายมนุษย์ เป็นคนแตกต่าง สวยสดงดงามไม่เท่ากัน ร่างกายเป็นมนุษย์ชัดเจนเต็มตัว
3. กายทิพย์ กายในกาย ผ่องใส ละเอียดอ่อน เป็นเทพ รุกขเทวดา อากาศเทวดา มีเครื่องประดับมงกุฏแพรวพราว ได้แก่กายของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
4. กายพรหม ลักษณะกายในกายคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่าใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ได้แก่ กายของพรหม
ท่านมีฌานอย่างต่ำปฐมฌานสูงถึงฌาน 4 สมาบัติ 8 มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ

5. กายแก้วหรือกายธรรมหรือพระธรรมกาย แบบที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านสอนไว้ กายในกายของท่านที่เป็นมนุษย์แต่จิตสะอาด ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดอวิชชา ฉลาดสว่างไสว เป็นกายของพระอรหันต์จะเป็นกายในกายของท่าน เป็นประกายพรึก ใสสะอาด สว่างยิ่งกว่ากายพรหมเป็นแก้วใส


สรุป


จิต คือ กายใน เป็นกายทิพย์ (วิญญาณธาตุ) สมอง คือ วิญญาณขันธ์ เป็นกายนอกที่สร้างขึ้นด้วยธาตุดิน น้ำลม ไฟ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ครับต้องขอบคุณทั้งสองท่าน คือท่านคนดีที่โลกลืม และท่านเช่นนั้น

ที่เพิ่มเติมรายละเอียด..ให้ความรู้ เรื่องนี้ให้เข้าใจได้ดีมากขึ้น

ทำให้กระผมได้ความรู้ที่ดีๆเพิ่มขึ้นมาก..อนุโมทนาสาธุครับ.. :b8: :b8: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 16:10, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาปัญญา


:b8: วิปัสสนา คือ เมื่อสมาธิของเราอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ อะไรก็ตามที่เข้าไปกระทบจิต แล้วจิตเกิดปรุงแต่งเราต้องดับการปรุงแต่งให้ได้ การปรุงแต่งนี้เรียกว่าสังขาร สมมุติว่าเราดูหนังดูละคร มีภาพกระทบตาตอนดูแล้วจิตของเราปรุงแต่ง เกิดชอบ ชัง ตัวละครในเรื่องนั้นๆ เพราะคิดต่อเนื่องเป็นสังขาร แต่ถ้าเราตัดตัวนี้ได้ เมื่อเราฝึกวิปัสสนาเราต้องกำหนดตามอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อดับตัวนี้ได้ปัญญาเห็นแจ้งเกิดขึ้นหนึ่ง ทุกการกระทบถ้าเราดับได้ปัญญาเกิดขึ้นหนึ่ง เกิดขึ้นหนึ่ง เรียกว่า ปัญญาเห็นแจ้ง (Insight) เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแล้ว พออะไรเข้ากระทบเราพิจารณาด้วยปัญญาแล้วก็ดับ พิจารณาแล้วก็ดับ ในทางธรรมเมื่อเกิดปัญญาเห็นแจ้งจะเห็นชัดกว่าตอนนี้เสียอีก เมื่อมีปัญหาต่างๆ ขึ้นเราใช้ปัญญา ๒ ตัวเปรียบเทียบกัน ถ้าใช้ปัญญาจากสมองแก้ไขมันไม่สิ้นสุดแก้แล้วเดี๋ยวก็เกิดปัญหาอีกถ้าใช้ปัญญาเห็นแจ้งจากจิต ปัญหาย่อมสิ้นสุดได้ ทางธรรมเป็นเช่นนั้น

:b8: ตัวอย่างเช่น โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากน้ำย่อยที่เป็นกรดเข้าไปในกระเพาะมาก แล้วไม่มีอาหารให้มันย่อย จึงย่อยผนังกระเพาะอาหาร ถ้าใช้สมองแก้ไขโดยหาอะไรใส่ลงไป กินอาหารเป็นเวลา กินยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะจะหายจากโรคกระเพาะนั้นคือแก้ไขโดยใช้สมองแก้ปัญหา เดี่ยวพรุ่งนี้ก็เกิดอาการได้อีก ก็ต้องกินยาไปจนตาย แต่ถ้าใช้ปัญญาเห็นแจ้งวิเคราะห์ปัญหาเมื่อจิตเกิดความกังวล ความเครียดขึ้นจะไปกระตุ้นระบบประสาทที่โยงไปที่กระเพาะไปกระตุ้นให้น้ำย่อยที่เป็นกรดหลั่งออกมามาก เราแก้โดยดับการปรุงแต่งที่ไม่ดี คือ ความเครียดความกังวลได้แล้ว โรคกระเพาะไม่เกิดขึ้น ตลอดชีวิตก็ไม่ต้องกินยา เห็นได้เลยว่าผลต่างกัน ถ้าแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญาเห็นแจ้ง
ดับปัญหาได้แท้จริง

:b8: ทุกกรณีจะเห็นเช่นนี้ คือทุกๆ การกระทบในอุปจารสมาธิ เมื่อเราพิจารณาสิ่งกระทบแล้วดับปัญญาเห็นแจ้งเกิดขึ้นทีละหนึ่ง ทีละหนึ่ง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นเยอะๆ ก็กลับมาพิจารณามหาสติปัฏฐานกาย เวทนา จิตและธรรม ร่างกายประกอบด้วยขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


รูป คือ สิ่งที่มองเห็น สัมผัสได้ เกิดขึ้น แปรเปลี่ยน ดับไป เราค่อยๆ พิจารณาดู รอบแล้ว รอบเล่าในที่สุดรูปจะดับไปกับตาใน คือเห็นแจ้งด้วยจิต

เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เราก็พิจารณา อารมณ์จนดับ

สัญญา คือ ความจำ เดี๋ยวจำได้ เดี๋ยวลืมไปพิจารณาให้ เห็นความจริง

สังขาร คือ การปรุงแต่งของจิต ดับไปตามกฎไตรลักษณ์

วิญญาณ คือ ตัวรู้อารมณ์ พิจารณาให้เห็นว่า ดับไปตามกฎไตรลักษณ์เช่นกัน


:b8: สิ่งเหล่านี้จะดับหมด พอดับหมด (อนัตตา) บางคนกลัว เพราะร่างกายหายไปเลย เกิดอาการกลัวตายขึ้นมาร่างกายหายไปเลย เหลือแต่จิตดวงเดียว จิตนั้นคือตัวแท้ของเรา พัฒนาจิตให้สว่างขึ้น สว่างขึ้น ปัญญาเห็นแจ้งเกิดขึ้นทีละหนึ่ง ทีละหนึ่ง ในที่สุด ก็จะเป็นจิตประภัสสร ซึ่งเป็นสุดท้ายของเส้นทางการพัฒนาจิตนึ้

:b8: วิเคราะห์ให้ท่านดูว่าทางวิทยาศาสตร์ มองเรื่องนี้อย่างไรและในทาง พุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่เหนือระบบประสาทสัมผัสเป็น Metaphysics ก็มองอีกทางหนึ่ง และการแก้ปัญหาทั้งสองทางแก้แล้วได้ผลไม่เหมือนกัน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 18:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหามีอยู่ว่า... น้อยคนนักที่จะรู้ว่า วิปัสนา คืออะไร ส่วนใหญ่ที่ทำๆ กันอยู่นั้น จัดเป็น การฝึกสติ เท่านั้น ซึ่งแทบจะทั้งหมดนั้น ก็ก้าวไปได้ไม่ถึงไหน อารมณ์เกิดหนึ่งครั้ง ก็รู้หนึ่งครั้ง และดับหนึ่งครั้ง วนเวียนไปไม่รู้จบ...
มีหลายเหตุการณ์ที่คนที่ฝึกทางด้านนี้มานาน (ไม่ขอยกตัวอย่างนะ) เมื่อถึงเวลา ก็อัตตาระเบิด อัตตาไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย ซ้ำร้าย การยึดมั่นว่า สิ่งที่ฉันทำนี้คือวิปัสสนา ซึ่ง ดีกว่า กลับก่อให้เกิดอัตตาที่มากขึ้นไปอีก
การฝึกสติ แท้จริงแล้ว เป็นเพียงพื้นฐานของ สัมมาสมาธิ (สมถะและวิปัสสนา) เท่านั้น ไม่มีทางได้วิปัสสนาญาณ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

บางคนก็ทำสมถะแบบกดข่ม แต่เข้าใจไปว่าคือ วิปัสสนา กดข่มจนอารมณ์ด้านชา ซึ่งยิ่งแย่ไปกว่าการฝึกสมถะสมาธิเพียวๆ เสียอีก คนที่ฝึกแบบนี้ เมื่ออารมณ์ด้านชา ก็เข้าใจว่า ตนบรรลุโสดาบันก็มี

ลองทำสมถะให้ถึงระดับฌาณ คือไม่ฟุ้งซ่าน ก็จะได้รู้ว่า วิปัสสนานั้นเป็นอย่างไร และก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า สังโยชน์ต่างๆ เช่น อัตตา มันจะค่อยๆ ลดน้อยลง

ข้อแย้งคลาสิกคือ มักจะยกอรหันต์แบบสุกขวิปัสสโก (แบบไม่ทำสมถะเลย) มาอ้าง... ซึ่งเราว่า เป็นการอ้างที่เกินเลย จะขอยกตัวอย่างนะ
นักดนตรีระดับโลกคนหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้ ขอเรียกว่า ศิลปิน ก) มีเด็กอายุ 12 มาขอเรียนดนตรีกับศิลปิน ก, ศิลปิน ก ตอบว่า ยังไม่ถึงเวลา ต้องรอให้ถึงอายุ 15 ก่อน เด็กตอบกลับว่า ท่านยังแต่งดนตรีตอนอายุ 12, ศิลปิน ก ตอบว่า แต่ฉันไม่ได้ขอให้ใครสอนนะ...

ประเด็นคือ หากเราๆ ท่านๆ มีแนวโน้มจะเป็นอรหันต์แบบสุกขวิปัสสโกจริง ท่านก็ไม่ต้องให้ใครมาสอนหรอก ถ้ายังต้องให้คนสอน ต้องการอาจารย์ ท่านก็ควรจะเริ่มที่สมถะ...

ส่วนเรื่องไปเกิดเป็นพรหมนั้น ไม่ใช่เรื่องร้ายนะ พรหมเป็นชั้นที่เหนือกว่าเทวดาเสียอีก เพียงแต่เป็นชั้นที่อายุยาวนาน จนไม่ทันในช่วงอายุขัยของพระพุทธเจ้า จะเสนอแนวทางหลุดพ้น
ก็ต้องบอกว่า เป็นกรรม ที่เวลานั้นเหลื่อมล้ำกัน ไม่ใช่แค่พระดาบส 2 ท่านหรอก เพียงแต่ท่านเป็นอาจารย์เท่านั้น มีพรหม เทวดา และมนุษย์อีกมากนัก ที่ทั้งเวลาและสถานที่เหลื่อมล้ำกัน

แต่อย่างน้อย การฝึกสมถะ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ตกอบาย ซึ่งนั่นแหล่ะ ฉิบหายจากความดี อย่างแท้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่คิดจะหา...ความแตกต่างระหว่าง..ซอร์ฟแวร์..กับ..ฮาร์ทแวร์

ผมว่า..แค่เริ่มคิด..ก็ผิดแล้ว

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ธรรมะสวัสดี..ครับ :b8:

คนที่พัฒนาสมองมามากนี่..
มันมีจุดอ่อน..อยู่อย่างหนึ่ง..
จุดอ่อนนั้น..ก็คือ..
อัตตา...
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า..ความเห็นแก่ตัว..
ภาษาฝรั่งเรียกว่า..EGO
จะแยกเขาแยกเรา..
เลือกแต่สิ่งที่ดีให้กับตัวเอง
เลือกซื้อผลไม้ลูกสวยๆ เลือกใช้เงินแบงค์เก่าก่อนเก็บแบงค์ใหม่ไว้
เช่น ถ้าใครพูดอะไรในที่ประชุม..Professor
จะไม่ค่อยยอมกัน..พยายามแสดงความคิดเห็น..แย่งกันพูดยังกับผึ้งแตกรัง
เถียงกัน..ไม่ลงรอย..
โชว์EGO..ต่างคนต่างโชว์..
ไม่ยอมกัน..
นี่แหละเขาเรียกว่าอัตตาสูง
ดับเหตุที่เกิดยังไม่ได้..
ถ้าดับEGOในสมองไม่ได้
จะไม่สามารถมองเห็นความจริงที่แท้จริงได้
ต้องดับจิตปรุงแต่งคืออัตตาได้
ถึงจะมีปัญญาเห็นแจ้ง..รู้จริงคือ Insight
ทำไมคนที่เรียนสูงถึงหันหน้าเข้าวัดกันมาก..
เพราะว่าคนที่เรียนสูงๆมาจะมีตัวนี้มากมีEGOมาก
คนที่เรียนสูงมีตัวนี้มาก..ยิ่งมาก อัตตาก็มากตาม..
ดังนั้น..ต้องดับอัตตาให้ได้ครับ..จึงมีคนเรียนสูงหันหน้าเข้าวัดเพื่อหาความจริงพิสูจน์เรื่องนี้กันทั้งนั้น
ดับความคิดปรุงแต่งที่ใช้สมองมอง..สมองคิด
โดยใช้ความรู้ปัญญาเห็นแจ้งของจิต คือปัญญาภายใน Insight มองโดยสามารถเป็นเพียงผู้มองเฉยๆโดยไม่ต้องปรุงแต่ง
นั่นคือความรู้แจ้งเห็นจริง..ถูกทาง..สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
ดังนั้นความรู้ที่เกิดจากสมองและใช้สมองคิดปรุงแต่ง เป็น อัตตา
ต้องใช้ความปัญญาเห็นแจ้งของจิต ดับอัตตา ที่สมองปรุงแต่งนั้นได้
ถ้าดับได้ ..เหตุไม่เกิดครับ..
ทุกสิ่งที่เข้ากระทบจิตขณะตื่นดีหมด


:b8: :b48: ธรรมรักษาครับ :b48: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 25 ก.พ. 2010, 23:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร