วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


owner board เว็บwhatami.net ถามผมว่า : 1. อะไรเป็นสิ่งชี้บอกว่าใครเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใครเป็นสัมมาทิฏฐิ?

ตอบ

ในทัศนะของผม(ของท่านและของคนอื่นต้องไปถามเอาเองนะครับ):

มิจฉาทิฏฐิ = คนที่ไม่ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาจนได้ปัญญา แม้แต่พระอรหันต์สุกขวิปัสสโก ที่หลุดพ้นแล้ว ท่านก็ไม่ได้ปัญญาทางโลกียะ เพราะท่านเน้นปฏิบัติแต่วิปัสสนา จึงโดนมารหลอกในเรื่องทางโลกได้

สัมมาทิฏฐิ = ผู้ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาจนได้ปัญญา จะรู้เรื่องทางธรรมและเรื่องทางโลก แต่ท่านก็ไม่ได้มีสัมมาทิฏฐิในเรื่องทางโลกอย่างถูกต้องทุกครั้ง แม้เรื่องทางธรรม ความรู้ของท่านก็จำกัดเหมือนกัน

มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะมีสัมมาทิฏฐิรอบรู้เรื่องทางธรรมและเรื่องทางโลก รวมทั้งเรื่องจักรวาลทุกเรื่อง

2. แล้วคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนนั้นเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า?

ต้องปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาจนได้ปัญญา จึงจะรู้และเข้าใจคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ไม่เช่นนั้นก็ต้องศึกษาจากอาจารย์ที่ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาจนได้ปัญญา ไม่ใช่ไปมั่วกับคำสอนที่ออกมาจากสมองของสมมุติสงฆ์ชื่อดัง พวกนั้นเป็นแค่นักปราชญ์ ความเข้าใจด้วยสมองมีจำกัด จะเข้าใจคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ต้องปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาจนได้ปัญญา เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...มิจฉาทิฐิคือคิดผิดๆ...หลงละเมอเพ้อฝัน...ว่าตนเองเป็นต่างๆนานาตามใจปรารถนา...
...ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องจริง...ปรุงแต่งเสกสรรปั้นยอยกตนข่มท่านคิดเข้าข้างตนว่าเลิศกว่าคนทั่วไป...
...ระวังอกอีแป้นจะแตกตายเน้อ...พระศีรอริยเมตตรัยเป็นฉายาทางธรรมเมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว...
...ผู้คนที่เขาสรรเสริญยกย่องยอมรับเป็นสัมมาทิฐิเห็นชอบตรงกันให้ฉายานี้ในอนาคตนู๊นไม่ใช่ตอนนี้...
...คนที่คิดแผลงๆแล้วหลงผิดแต่งตั้งตัวเองเป็นอะไรต่ออะไรเนี่ย...สมควรพิจารณาตนเองหน่อยนะ...
...สมควรโดน...Onion_R Onion_R
:b13: :b13: :b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 16 ก.พ. 2010, 13:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องไปดูพระสูตรสิงับ

อยากหลงตามปัญญาหางกบ ของตัวเอง


พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร


๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยความเห็นชอบ
[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
[๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อาหารวาร
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา
ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

สัจจวาร
[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ชรามรณวาร
[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ชาติวาร
[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
สัทธรรมนี้

ภวาทิวาร
[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ตัณหาทิวาร
[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ
เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
สัทธรรมนี้.

นามรูปาทิวาร
[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต
รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา
นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

สังขารวาร
[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อวิชชาวาร
[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อาสววาร
[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี
บุตรแล้วแล.

จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.

------------


หมายเหตุ พระสุตตันตปิฎก ออนไลน์ นี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ
การแสดงผลหรือลำดับพระสูตร

พระอรหันต์แบบไหนก็รู้เรื่องโลกงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"Rosarin"ครับ


...มิจฉาทิฐิคือคิดผิดๆ...หลงละเมอเพ้อฝัน...ว่าตนเองเป็นต่างๆนานาตามใจปรารถนา...คุณต่อว่าตัวเองหรือครับ
...ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องจริง...ปรุงแต่งเสกสรรปั้นยอยกตนข่มท่านคิดเข้าข้างตนว่าเลิศกว่าคนทั่วไป...ว่าตัวเองอีกแล้ว ถ้าจะว่าผม ขอหลักฐานคำพูดของผมด้วยครับ
...ระวังอกอีแป้นจะแตกตายเน้อ...พระศีรอริยเมตตรัยเป็นฉายาทางธรรมเมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว...โง่หรือแกล้งโง่กันนี่ พระศรีอริยเมตตรัยที่เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี
...ผู้คนที่เขาสรรเสริญยกย่องยอมรับเป็นสัมมาทิฐิเห็นชอบตรงกันให้ฉายานี้ในอนาคตนู๊นไม่ใช่ตอนนี้...นั่นพระศรีอริยะเมตตรัยพุทธเจ้าครับ
...คนที่คิดแผลงๆแล้วหลงผิดแต่งตั้งตัวเองเป็นอะไรต่ออะไรเนี่ย...สมควรพิจารณาตนเองหน่อยนะ...แสดงความคิดเห็นทางธรรมที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ กลายเป็นคิดแผลงๆ พวกคิดทางธรรมแบบไม่ถูกต้อง คือ พวกมิจฉาทิฏฐิ กลายเป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง ให้มันได้อย่างนี้สิ ศาสนาพุทธทุกวันนี้ จึงกลายเป็นศาสนาของมารไป
...สมควรโดน...Onion_R Onion_R ผมพวกเสื้อแดงอยู่แล้ว จึงชอบใบแดง เพราะเว็บนี้มันมี 2 มาตรฐาน ผมก็ต้องไล่ทีมงานมารเผด็จการออกไป

"Rosarin" ออกไป...."Rosarin" ออกไป...."Rosarin" ออกไป....

เมื่อ"Rosarin"ยังหน้าด้านอยู่ ผมพลศักดิ์ออกไปเองก็ได้วะ (ไปจากกระทู้นี้นะครับ)

:b13: :b13: :b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย คนดีที่โลกลืม เมื่อ 17 ก.พ. 2010, 13:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: :b35: :b35:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1213073440.jpg
1213073440.jpg [ 50.26 KiB | เปิดดู 7054 ครั้ง ]
:b1: :b1: ผ่านมาเลยแวะทักทาย...ไปแระ...พาหวานใจไปฟังเพลง :b1: :b1:


:b53: :b53: ข้ามันลูกทุ่ง :b41: :b41:

http://www.pookpuy.com/music/?p=1107

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:


พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร


๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ




บททดสอบว่าใครมีสัมมาทิฏฐิเรื่องศีล 5 เป็นผู้รู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศลที่เป็นบาป ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต เพื่อช่วยเขาไม่ให้ทรมานต่อ

ตัวอย่าง เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยชีวิตยอดรักออก ยอดรักจึงตาย เธอทำไปด้วยใจสงสารยอดรัก ไม่อยากใหยอดรักอยู่ทรมานเจ็บปวดต่อไปอีกหลายวัน ใจของเธอไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปหรือ?

ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น 1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร ใจของพวกเขาไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปได้อย่างไร?

ผู้ที่เป็นชู้ เพื่อช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ พระยายมตัดสินผิดหรืออย่างไร?

ผู้ที่โกหก เพื่อช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน

ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด

ใครผ่านบททดสอบนี้ เขาจะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ รู้ชัดว่า การผิดศีล 5 ที่เป็นบาป คือ ใจของผู้นั้นต้องทำผิดศีล 5 ข้อนั้นด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เท่านั้น

ผมขอแยกระทู้ไปอีกกระทู้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 01:37
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนดีที่โลกลืม เขียน:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:


พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร


๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ




บททดสอบว่าใครมีสัมมาทิฏฐิเรื่องศีล 5 เป็นผู้รู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศลที่เป็นบาป ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต เพื่อช่วยเขาไม่ให้ทรมานต่อ

ตัวอย่าง เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยชีวิตยอดรักออก ยอดรักจึงตาย เธอทำไปด้วยใจสงสารยอดรัก ไม่อยากใหยอดรักอยู่ทรมานเจ็บปวดต่อไปอีกหลายวัน ใจของเธอไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปหรือ?

ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น 1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร ใจของพวกเขาไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปได้อย่างไร?

ผู้ที่เป็นชู้ เพื่อช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ พระยายมตัดสินผิดหรืออย่างไร?

ผู้ที่โกหก เพื่อช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน

ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด

ใครผ่านบททดสอบนี้ เขาจะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ รู้ชัดว่า การผิดศีล 5 ที่เป็นบาป คือ ใจของผู้นั้นต้องทำผิดศีล 5 ข้อนั้นด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เท่านั้น

ผมขอแยกระทู้ไปอีกกระทู้นะครับ


เป็นเช่นนั่นแหล่ะครับ ถูกต้องที่สุดแล้ว ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "เจตนา นั่นแหล่ะ คือกรรม " ดีชั่ว ถูกผิด ดูที่เจตนาเอา

.....................................................
- อยู่กัีบมิฉจาทิฏฐิ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง - [บันทึกนายโดม 9dome.net]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแจมครับ ตรงที่ว่า
อ้างคำพูด:
เป็นเช่นนั่นแหล่ะครับ ถูกต้องที่สุดแล้ว ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "เจตนา นั่นแหล่ะ คือกรรม " ดีชั่ว ถูกผิด ดูที่เจตนาเอา


ดี กับ ชั่ว มันคนละอันกัน ให้ผลต่างกรรมต่างวาระ แต่จะต้องได้รับผลทั้งสองอย่างแน่นอน อย่าเอามาปะปนกันสิครับท่าน
เจตนาดีแล้วทำดี ย่อมได้แต่ดี
เจตนาดีแล้วทำชั่ว ย่อมได้ทั้งดีทั้งชั่ว
เจตนาไม่ดีแล้วทำไม่ดี ย่อมได้แต่ชั่ว

ขายยาบ้าเลี้ยงครอบครัว... เจตนาดีนะครับ
เห็นคนอื่นมีทุกข์ ทรมาน ก็ฆ่าเขาให้ตายซะจะได้ไปเกิดใหม่... เจตนาดีครับ
ฆ่าตัวตายเพราะทุกข์ทรมานมากทนไม่ไหวแล้วตายซะดีกว่าจะได้หมดทุกข์... เจตนาดีครับ

มีหลายเหตุผลที่จะอธิบายการกระทำของตนเองให้ดูดี ให้ดูเป็นกรรมดี ฉะนั้นแยกออกให้ชัดเจนครับ ดี เลว ผิด ถูก เหมาะสม ไม่เหมาะสม น่าชื่นชม น่าเหยียดหยาม ฯลฯ คนละอย่างกัน ไม่เข้ากัน อย่าเอามาปะปนกันครับ.... :b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
:b6:
...มิจฉาทิฐิคือคิดผิดๆ...หลงละเมอเพ้อฝัน...ว่าตนเองเป็นต่างๆนานาตามใจปรารถนา...
...ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องจริง...ปรุงแต่งเสกสรรปั้นยอยกตนข่มท่านคิดเข้าข้างตนว่าเลิศกว่าคนทั่วไป...
...ระวังอกอีแป้นจะแตกตายเน้อ... พระศีรอริยเมตตรัยเป็นฉายาทางธรรมเมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว...
...ผู้คนที่เขาสรรเสริญยกย่องยอมรับเป็นสัมมาทิฐิเห็นชอบตรงกันให้ฉายานี้ในอนาคตนู๊นไม่ใช่ตอนนี้...
...คนที่คิดแผลงๆแล้วหลงผิดแต่งตั้งตัวเองเป็นอะไรต่ออะไรเนี่ย...สมควรพิจารณาตนเองหน่อยนะ...
...สมควรโดน...Onion_R Onion_R
:b13: :b13: :b13: :b13: :b13:


โอะ.... ภาษาของอะไรนี่ *0*!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kanalove เขียน:
Rosarin เขียน:
tongue
:b6:
...มิจฉาทิฐิคือคิดผิดๆ...หลงละเมอเพ้อฝัน...ว่าตนเองเป็นต่างๆนานาตามใจปรารถนา...
...ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องจริง...ปรุงแต่งเสกสรรปั้นยอยกตนข่มท่านคิดเข้าข้างตนว่าเลิศกว่าคนทั่วไป...
...ระวังอกอีแป้นจะแตกตายเน้อ... พระศีรอริยเมตตรัยเป็นฉายาทางธรรมเมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว...
...ผู้คนที่เขาสรรเสริญยกย่องยอมรับเป็นสัมมาทิฐิเห็นชอบตรงกันให้ฉายานี้ในอนาคตนู๊นไม่ใช่ตอนนี้...
...คนที่คิดแผลงๆแล้วหลงผิดแต่งตั้งตัวเองเป็นอะไรต่ออะไรเนี่ย...สมควรพิจารณาตนเองหน่อยนะ...
...สมควรโดน...Onion_R Onion_R
:b13: :b13: :b13: :b13: :b13:


โอะ.... ภาษาของอะไรนี่ *0*!!!

เป็นคนเก่า คนแก่แล้ว กรุณาเคารพความเห็นคนอื่นด้วย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
kanalove เขียน:
Rosarin เขียน:
tongue
:b6:
...มิจฉาทิฐิคือคิดผิดๆ...หลงละเมอเพ้อฝัน...ว่าตนเองเป็นต่างๆนานาตามใจปรารถนา...
...ทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องจริง...ปรุงแต่งเสกสรรปั้นยอยกตนข่มท่านคิดเข้าข้างตนว่าเลิศกว่าคนทั่วไป...
...ระวังอกอีแป้นจะแตกตายเน้อ... พระศีรอริยเมตตรัยเป็นฉายาทางธรรมเมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว...
...ผู้คนที่เขาสรรเสริญยกย่องยอมรับเป็นสัมมาทิฐิเห็นชอบตรงกันให้ฉายานี้ในอนาคตนู๊นไม่ใช่ตอนนี้...
...คนที่คิดแผลงๆแล้วหลงผิดแต่งตั้งตัวเองเป็นอะไรต่ออะไรเนี่ย...สมควรพิจารณาตนเองหน่อยนะ...
...สมควรโดน...Onion_R Onion_R
:b13: :b13: :b13: :b13: :b13:


โอะ.... ภาษาของอะไรนี่ *0*!!!

เป็นคนเก่า คนแก่แล้ว กรุณาเคารพความเห็นคนอื่นด้วย :b13:

ท่าทางตัวคุณจะมีปัญหาแล้วล่ะ :b12: :b12: :b12: ตีความไม่แตก :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 8.54 KiB | เปิดดู 6931 ครั้ง ]
เสียงอะไร วิ่งไปดูหน่อยดิ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ก.พ. 2010, 11:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 13:42
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


9dome เขียน:
คนดีที่โลกลืม เขียน:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:


พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร


๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ




บททดสอบว่าใครมีสัมมาทิฏฐิเรื่องศีล 5 เป็นผู้รู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศลที่เป็นบาป ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต เพื่อช่วยเขาไม่ให้ทรมานต่อ

ตัวอย่าง เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยชีวิตยอดรักออก ยอดรักจึงตาย เธอทำไปด้วยใจสงสารยอดรัก ไม่อยากใหยอดรักอยู่ทรมานเจ็บปวดต่อไปอีกหลายวัน ใจของเธอไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปหรือ?

ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น 1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร ใจของพวกเขาไม่ได้มีจิตอกุศลเลย จะเป็นบาปได้อย่างไร?

ผู้ที่เป็นชู้ เพื่อช่วยคนอื่น

ตัวอย่าง เช่น แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ พระยายมตัดสินผิดหรืออย่างไร?

ผู้ที่โกหก เพื่อช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน

ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด

ใครผ่านบททดสอบนี้ เขาจะเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ รู้ชัดว่า การผิดศีล 5 ที่เป็นบาป คือ ใจของผู้นั้นต้องทำผิดศีล 5 ข้อนั้นด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เท่านั้น

ผมขอแยกระทู้ไปอีกกระทู้นะครับ


เป็นเช่นนั่นแหล่ะครับ ถูกต้องที่สุดแล้ว ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "เจตนา นั่นแหล่ะ คือกรรม " ดีชั่ว ถูกผิด ดูที่เจตนาเอา


ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่ ต้องขอขอบพระคุณที่คุณ"คนดีที่โลกลืม"และคุณ"9dome" ช่วยเปิดโลกทัศน์ในการตีความเรื่องศีล 5 ให้ กระทู้นี้มีประโยชน์มากเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 13:42
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนขวางโลก เขียน:
ขอแจมครับ ตรงที่ว่า
อ้างคำพูด:
เป็นเช่นนั่นแหล่ะครับ ถูกต้องที่สุดแล้ว ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "เจตนา นั่นแหล่ะ คือกรรม " ดีชั่ว ถูกผิด ดูที่เจตนาเอา


ดี กับ ชั่ว มันคนละอันกัน ให้ผลต่างกรรมต่างวาระ แต่จะต้องได้รับผลทั้งสองอย่างแน่นอน อย่าเอามาปะปนกันสิครับท่าน
เจตนาดีแล้วทำดี ย่อมได้แต่ดี
เจตนาดีแล้วทำชั่ว ย่อมได้ทั้งดีทั้งชั่ว
เจตนาไม่ดีแล้วทำไม่ดี ย่อมได้แต่ชั่ว

ขายยาบ้าเลี้ยงครอบครัว... เจตนาดีนะครับ
เห็นคนอื่นมีทุกข์ ทรมาน ก็ฆ่าเขาให้ตายซะจะได้ไปเกิดใหม่... เจตนาดีครับ
ฆ่าตัวตายเพราะทุกข์ทรมานมากทนไม่ไหวแล้วตายซะดีกว่าจะได้หมดทุกข์... เจตนาดีครับ

มีหลายเหตุผลที่จะอธิบายการกระทำของตนเองให้ดูดี ให้ดูเป็นกรรมดี ฉะนั้นแยกออกให้ชัดเจนครับ ดี เลว ผิด ถูก เหมาะสม ไม่เหมาะสม น่าชื่นชม น่าเหยียดหยาม ฯลฯ คนละอย่างกัน ไม่เข้ากัน อย่าเอามาปะปนกันครับ.... :b19:


ดิฉันเคยดูหนังเรื่องหนึ่ง พ่อค้าอาวุธสงครามอ้างว่าหาเงินมาเพื่อเลี้ยงครอบครัว (พ่อ แม่ เมียและลูก) แท้จริงพ่อ แม่ เมียและลูก ไม่เคยต้องการเงินบาปเหล่านั้นเลย และไม่เดือดร้อนถ้าเขาทำงานสุจริต สุดท้ายทุกคนก็ทิ้งพ่อค้าอาวุธสงครามคนนี้ไปหมด โดยไม่สนใจเงินของเขา

เหตุผลที่คนทำชั่วอ้างเป็นเหตุผลแก้ตัวเฉยๆ เจตนาของพ่อค้าอาวุธสงครามคือโลภ คนขายยาบ้า คนปล้นทรัพย์คนอื่นก็อ้างเป็นเหตุผลแก้ตัวทั้งนั้น แต่เจตนาแท้จริงของเขาเป็นอย่างไร มีเขาคนเดียวเท่านั้นที่รู้นะคะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron