วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 05:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเว็บธรรมมะ แต่รู้สึกอกุศลจิตเกิดเป็นระยะ และจิตใจไม่เป็นกลาง

หากข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งปรามาสท่านผู้ใดขอได้โปรดงดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับผม :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยผมจะเป็นพวกพรรคมาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2795


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ข้าพระองค์จะชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็ตาม

ขอพระผู้มีพระภาคสุคตเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด

ข้าพระองค์ คงจะเข้าใจความแห่งพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่

ข้าพระองค์คงจะเป็นทายาทแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่”


“แน่ะมาลุงกยบุตร ท่านเห็นเป็นประการใด ?

รูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ด้วยจักษุอย่างใด ๆ ซึ่งเธอยังไม่เห็น ทั้งมิเคยได้เห็น ทั้งไม่เห็นอยู่

ทั้งไม่เคยคิดหมายว่า ขอเราพึงเห็น ความพอใจ ความใคร่ หรือ ความรัก ในรูปเหล่านั้น จะมีแก่เธอ

ไหม ?”


“ไม่มี พระเจ้าข้า”


“เสียง...

กลิ่น...

รส...

โผฏฐัพพะ...

ธรรมารมณ์ทั้งหลายอย่างใดๆ เธอไม่ได้ทราบ ไม่เคยทราบ ไม่ทราบอยู่ และทั้งไม่เคยคิดหมายว่า

เราพึงทราบ ความพอใจ ความใคร่ หรือ ความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม ?”


“ไม่มี พระเจ้าข้า”


“มาลุงกยบุตร บรรดาสิ่งที่เห็น ได้ยิน รู้ทราบเหล่านี้ ในสิ่งที่เห็น เธอจักมีแค่เห็น

ในสิ่งที่ได้ยิน จักมีแค่ได้ยิน

ในสิ่งที่ลิ้ม ดม แตะต้อง จักมีแค่รู้ (รส กลิ่น แตะต้อง)

ในสิ่งที่ทราบ จักมีแค่ทราบ

เมื่อใด (เธอมีแค่เห็น ได้ยิน ได้รู้ ได้ทราบ)

เมื่อนั้น เธอก็ไม่มีด้วยนั่น -(อรรถกถาอธิบายว่า ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ)

เมื่อไม่มีด้วยนั่น ก็ไม่มีที่นั่น-(อรรถกถาอธิบายว่า ไม่พัวพัน หมกติดอยู่ในสิ่งที่ได้เห็น เป็นต้นนั้น)

เมื่อไม่มีที่นั่น เธอก็ไม่มีที่นี่ ไม่มีที่โน่น ไม่มีระหว่างที่นี่ที่โน่น (ไม่ใช่ภพนี้ ไม่ใช่ภพโน้น

ไม่ใช่ระหว่างภพทั้งสอง) นั่นแหละคือจุดจบของทุกข์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมาลุงกยบุตรสดับแล้ว กล่าวความตามที่ตนเข้าใจออกมาว่า


“พอเห็นรูป สติก็หลงหลุด ด้วยมัวใส่ใจแต่นิมิตหมายที่น่ารัก แล้วก็มีจิตกำหนัดติดใจ

เสวยอารมณ์แล้วก็สยบอยู่กับอารมณ์นั้นเอง

เวทนาหลากหลายอันก่อกำเนิดขึ้นจากรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น

จิตของเขาก็คอยถูกกระทบกระทั่ง ทั้งกับความอยากและความยุ่งยากใจ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้

ก็เรียกว่าไกลนิพพาน”


“พอได้ยินเสียง....

พอได้กลิ่น...

พอลิ้มรส...

พอถูกต้องโผฏฐัพพะ...

พอรู้ธรรมารมณ์ สติก็หลงหลุด ฯลฯ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เห็นรูป ก็ไม่ติดในรูป ด้วยมีสติมั่นอยู่ มีจิตไม่ติดใจ เสวยเวทนาไป ก็ไม่สยบกับอารมณ์นั้น

เขามีสติ ดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อเห็นรูป และถึงจะเสพเวทนา ทุกข์ก็มีแต่สิ้นไป ไม่สั่งสม

เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อย่างนี้ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน”


“ได้ยินเสียง...

ได้กลิ่น...

ลิ้มรส...

ถูกต้องโผฏฐัพพะ...

รู้ธรรมารมณ์ ก็ไม่ติดในธรรมารมณ์ ด้วยมีสติมั่นอยู่ ฯลฯ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน”

(สํ.สฬ.18/142-5/90-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มี.ค. 2010, 09:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ?

คนบางคนเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก

ย่อมขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก มิได้มีสติกำกับใจ เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ(มีใจเล็กนิดเดียว)

ไม่เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา

ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ

ฟังเสียงด้วยหู...

สูดกลิ่นด้วยจมูก...

ลิ้มรสด้วยลิ้น...

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจใน...ธรรมารมณ์อันน่ารัก

ย่อมขุ่นเคืองขัดใจใน…ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ”



“ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวาร ?

ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก

ไม่ขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติกำกับใจ เป็นอยู่อย่างผู้มีจิตกว้างขวาง ไม่มีประมาณ

เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา

ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ

ฟังเสียงด้วยหู

ฯลฯ

ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมไม่น้อมรักฝากใจใน...ธรรมารมณ์อันน่ารัก

ไม่ขุ่นเคืองขัดใจใน…ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ”

(สํ.สฬ.18/207-8/150-1)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรจึงจะชื่อว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ?

เมื่อภิกษุสังวรจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านแส่ไปในรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ด้วยจักษุ

เมื่อมีจิตไม่ซ่านแส่ ปราโมทย์ก็เกิด

เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด

เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ

ผู้มีกายสงบ ย่อมเป็นสุข

ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ

เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ

เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ผู้นั้นจึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท”

(เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

(สํ.สฬ.18/144/98)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์ การอบรมอินทรีย์ ที่ยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน เป็นอย่างไร ?

เพราะเห็นรูปด้วยตา....

เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...

เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก...

เพราะรู้รสด้วยลิ้น...

เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดความชอบใจบ้าง เกิดความไม่ชอบใจบ้าง เกิดทั้งความชอบใจ

และไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ

เธอเข้าใจชัดดังนี้ว่า ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ภาวะต่อไปนึ้จึงจะสงบประณีต นั่นคือ

อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง)

ครั้นแล้ว ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจความไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้น ก็ดับไป

อุเบกขาก็ตั้งมั่น”


“สำหรับบุคคลใดก็ตาม ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจความไม่ชอบใจ

ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป อุเบกขาย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลันทันที โดยไม่ยาก เสมือนคนหลับตาแล้วลืมตา

หรือลืมตาแล้วหลับตา ฯลฯ นี้เรียกว่า การอบรมอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน”

(ม.อุ.14/856/542)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์
การวิพากษ์วิจารณ์ใคร ไม่ว่าแง่ใด ล้วนเป็นการส่งจิตออกนอก
รู้สักแต่รู้ เห็นสักแต่เห็น ไม่ยึดมั่นถือมั่น
....บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยังไม่ตรัสรู้ เราได้เกิดความดำริขึ้นดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ

(ความหวานชื่น ความอร่อย) ของจักษุ ?

อะไร เป็นโทษ (ข้อเสีย ความบกพร่อง) ของจักษุ ?

อะไร เป็นทางออก (เป็นอิสระ ไม่ต้องอิงอาศัย) ของจักษุ ?

อะไร เป็นคุณ...เป็นโทษ...เป็นทางออกแห่งโสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน?”


“เราได้เกิดความคิดขึ้นดังนี้ สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้คือคุณของจักษุ

ข้อที่จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้คือ โทษของจักษุ

การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเพราะจักษุเสียได้ นี้คือทางออกแห่งจักษุ”

(ของโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)


“ตราบใด เรายังมิได้รู้ประจักษ์ตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ

ซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ

ซึ่ง ทางออกโดยความเป็นทางออก

ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญญาว่า เราบรรลุแล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ...”


(ต่อไป ตรัสถึงคุณ โทษ ทางออกพ้นแห่งอายตนะภายนอก ๖ ในทำนองเดียวกัน)

(สํ.สฬ.18/13-14/8-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น

รู้เห็นรูปทั้งหลาย ตามที่มันเป็น

รู้เห็นจักขุวิญญาณ ตามที่มันเป็น

รู้เห็นจักษุสัมผัส ตามที่มันเป็น

รู้เห็นเวทนา อันเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ

ไม่ติดพัน ในรูปทั้งหลาย

ไม่ติดพัน ในจักขุวิญญาณ

ไม่ติดพัน ในจักษุสัมผัส

ไม่ติดพัน ในเวทนาอันเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อผู้นั้น ไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่

อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป

อนึ่ง ตัณหาที่เป็นตัวการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่

ในอารมณ์ต่างๆ ก็จะถูกละไปเสียด้วย

ความกระวนกระวายทางกายก็ดี

ความกระวนกระวายทางใจก็ดี

ความเร่าร้อนกายก็ดี

ความเร่าร้อนใจก็ดี

ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี

ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้

ผู้นั้น ย่อมเสวยทั้งความสุขทางกาย ทั้งความสุขทางใจ

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้น ก็เป็นสัมมาทิฐิ

มีความดำริใด ความดำรินั้น ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ

มีความพยายามใด ความพยายามนั้น ก็เป็นสัมมาวายามะ

มีความระลึกใด ความระลึกนั้น ก็เป็นสัมมาสติ

มีสมาธิใด สมาธินั้น ก็เป็นสัมมาสมาธิ

ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว

ด้วยประการดังนี้ เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐังคิกมรรคอันถึงความเจริญบริบูรณ์”


(เกี่ยวกับ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

(ม.อุ.12/828/523)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 5822 ครั้ง ]
บริหารจักษุ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่เข้าใจเหตุ ก็มีแต่หลงสร้างเหตุ สร้างแต่สมุจทัย ที่มันร้อน มันรุ่ม ก็มีแต่สร้างเหตุ คือมุ่งไป แสวงไปเลือกเอา ข้างหนึ่งข้างใด ของปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือความสงบ แล้วปฏิฆะความไม่ สงบ ความวุ่นวาย แต่เนื้อหาสัจธรรม คือความไม่ยึดติด (อนิจจัง) เกาะไม่อยู่ ยึดไม่ติด เลือกเอาไม่ได้ ฉะนั้นจึงควร ระงับที่เหตุ ไม่มุ่งไป เลือกเอา ดับ ตัณหาอุปทาน ตัวตน ที่จะไปอะไรกับอะไร กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซะเอง เตือนใจให้มันชัดๆ ว่ามันยึดไม่ได้ ปลงใจ ไม่ต้องไปอะไรกับอะไร จึงเลิกเอียง เลิกเลือกเอา เย็นใจปลงใจ วางใจนี้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนาในกุศลธรรมทานครับ :b8: :b8: :b8:

อินทรีย์ผมยังอ่อนอยู่มาก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร