วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ณ หมู่บ้านนวธานี ๔ ตุลาคม ๒๕๔๒

จิต ของคนมีธรรมอยู่ ๓ อย่าง เป็นธรรมในใจของผู้เวียนว่าย ตายเกิดทั้งหลาย นั่นคือ ธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศลและธรรมที่เป็น อัพยากตะ (หรือ อัพยากฤต- พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์)
เมื่อใดจิตเป็นกุศล เมื่อนั้นก็เกิดความสุข อิ่มเอม ถ้าอกุศลเกิด ก็คิดไม่ดี ทำร้ายกัน และเมื่อไม่มีเหตุ (คือเหตุดีหรือเหตุชั่ว) มากระทบ ใจก็วางเฉยอยู่ เวลาเช่นนี้ก็จะทำอะไรต่ออะไรไปโดยซื่อๆ ไม่มีระเบียบอะไร

พระพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากเท่าเมล็ดทรายในมหาสมุทร แต่ละพระองค์ ต้องสร้างบารมียาวนานมาก นับเป็นอสงไขยกัป แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ที่มาตรัสรู้ที่ทรงสอนเหมือนกันก็คือ ให้ละความชั่ว ให้ทำความดีและให้ทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ ดังนั้น ขอให้คิดให้ดี การได้มาพบพระพุทธศาสนานั้นเป็นลาภอันประเสริฐ บางศาสนาเป็นศาสนาที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า แต่พระพุทธองค์ ได้ตรัสอธิบายการ "บูชายัญ" ในพระพุทธศาสนาว่า การบูชายัญ ให้ได้ผลดีนั้น ต้องเอาเกวียนออกไปหาซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและอาหาร ให้เต็ม แล้วนำไปแจกตามบ้านน้อยบ้านใหญ่ ให้ผู้คนได้ร่างกายอบอุ่น ได้อิ่ม อาหาร เท่านี้คือการบูชายัญที่ให้ผลดี การบูชายัญที่สูงขึ้นไปอีก ก็คือ การไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ผิดศีล ส่วนการบูชายัญที่สูงที่สุดก็คือการเจริญภาวนา เจริญสมาธิ ให้ได้ถึงฌาน ๘ (ไม่แน่ใจนะคะ จดมาตามนี้- deedi) แล้วดำเนินวิปัสสนาต่อ ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

นี่เป็นการบูชายัญที่สูงที่สุด การละชั่ว ก็คือการรักษาศีล การทำความดี ก็คือการให้ทาน การชำระจิตใจให้ผ่องใส ก็คือทำใจให้สะอาด อย่าสะสมความชั่ว ไว้ในใจ ภาวนา พิจารณา ทำใจที่ฟุ้งเลื่อนลอยให้สงบแล้วเจริญวิปัสสนา เพ่งพิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทุกข์หรือสุข เป็นตัวตน หรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วก็จะละวาง บรรเทาทุกข์ในใจไปได้เป็นส่วนใหญ่ สมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเหล่านี้ให้แก่พราหมณ์ พราหมณ์ต่างก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลกันมากมาย ถึงพระพุทธศาสนา เป็นสรณะ กลับไปปล่อยแพะแกะหมูวัวควายที่เลี้ยงไว้ฆ่าบูชายัญ ดัดแปลงโรงบูชายัญเป็นอย่างอื่นต่อไป

พระพุทธศาสนานั้น ตั้งขึ้นเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ที่มีวาสนาบารมีแก่กล้า ให้ได้พ้นทุกข์ ผู้ที่ยังวาสนาบารมีไม่แก่กล้าบริบูรณ์ก็ได้เป็นพระโสดาบันไป และผู้ที่บารมีวาสนายังอ่อนแต่ไม่หลงก็จะมาถูกทาง โลกของเรามีของคู่ ดีชั่ว สุขทุกข์ เกิดตาย บาปบุญ สวรรค์กับพรหมคู่กัน แต่พระนิพพานมี ๑ ไม่มี ๒ พระนิพพาน เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด ทำให้รู้จักทุกข์ ไม่ต้องเกิดแก่เจ็บตายอีก ทำให้ผู้ที่มีปัญญาได้ออกจากทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอีก นี่คือปณิธานของพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นผู้ที่วาสนาบารมียังอ่อนนั้น สวรรค์นรกก็จะไม่เชื่อ สงสัยในนรกสวรรค์ เพราะอวิชชาและตัณหายังครอบงำจิตอยู่ ชีวิตคนเราขึ้นอยู่กับ ปัจจัย ๔ ขาดปัจจัยสี่ไม่ได้ แต่เมื่อแสวงหา โดยสุจริตไม่ได้ ความไม่รู้ก็พาให้แสวงหาในทางทุจริต ถ้าผู้รู้แล้วก็จะไม่เป็น เช่นนั้น ปัจจัยสี่ เป็นเครื่องดำรงชีวิตในโลก แต่ผู้มีปัญญาจะหามาโดยชอบ โดย ไม่ต้องหลอก ลวง คด โกงหรือฆ่าใคร แต่หาด้วยสติปัญญา การงานในโลก มีอยู่ ๒ อย่าง

การงานใดเห็นว่าไม่มีโทษจึงจะเข้าไปจับไปทำ (สัมมา อาชีโว) ขอให้พวกเราเลือกการงานที่ไม่ทำอะไรเบียดเบียนตนและผู้อื่น อะไรที่ไม่เป็นไปเพื่อโทษแก่คนอื่นและตัวเอง ส่วน มิจฉาอาชีโว นั้น ก็คือเลี้ยงชีพในทางทุจริต ขาดสติ ขาดปัญญา สัมมาทิฏฐิ เป็น ทางดับทุกข์ในวัฏสงสาร มิจฉาทิฏฐิ เป็น ทางไปสู่ทุกข์ ในกาลที่ไม่มีพระศาสนา เชื่อกันว่าท้าวมหาพรหมเป็นใหญ่ในมนุษย์และ เทวดาทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะมีผู้ที่เพ่งกสิณ เพ่งอะไรต่ออะไร ไปเห็น พระพรหมเข้า ฤาษีเหล่านั้นก็มาสอนให้คนปฏิบัติตามที่ตัวไปเห็นมา คนในสุญญกัปก็ต้องเชื่อฤาษี เชื่อผู้ออกบวช (เพราะถือว่าประเสริฐ สอนอย่างไรก็ตามหมด) สร้างโรงบูชายัญกันขึ้น ขอให้พวกเราเข้าใจเอาไว้ ทุกวันนี้มีลัทธิต่างๆ มากมาย ให้คิดตามหลัก ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ดีชั่วสุขหรือทุกข์เกิดจากการกระทำของเรา ทั้งนั้น ไม่ใช่จากปัจจัยภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสอนเหมือนกัน ๓ อย่างนี้

คือ ให้ละชั่ว ทำดีและทำจิตใจให้ผ่องใส แม้รายละเอียดอื่นๆ ในคำสอนอาจแตกต่าง กันบ้าง ความชั่วมี ๕ ข้อ (ฆ่าสัตว์ทำร้ายสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในการ ฯลฯ) การละบาปทั้งปวงก็คือการละ ๕ ประการนี้ ให้เข้าใจโทษ ๕ ประการนี้ ให้ดี ถ้าไม่สำรวมระวัง ประพฤติล่วง ตายไปก็ลงนรกลูกเดียว แต่ถ้าสำรวม ระวัง ตายไปก็ไปสวรรค์ลูกเดียว (สีเลนะ สุคติง ยันติ) สวรรค์ เป็น สถานที่มีสุข เพราะไม่มีบาปรบกวน นรก เป็น สถานที่บาป ผู้สร้างบารมียังไม่เต็ม ยังไม่ถึงพระนิพพาน ก็ไปพักผ่อนอยู่บนสวรรค์ สบาย ไม่ต้องดิ้นรน แสวงหา ซื้อขาย กินบุญที่ทำมา (อานิสงส์ของศีล) บุญกุศล จะดลบันดาลวิมาน อาหารการกิน ผ้านุ่งห่มและอายุขัย (ตั้งแต่หนึ่งพันปีจน หกพันปี) แล้วแต่บุญกุศลที่สร้างไว้ตอนอยู่บนโลก สวรรค์จึงมี ๖ ชั้น บุญกุศลมากก็ขึ้นชั้นสูงๆ ขึ้นไป ละเอียดประณีตยิ่งๆ ขึ้นไป พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมด้วยปัญญาวิเศษที่รู้แจ้ง โลกทั้ง ๓ คือกามโลก รูปโลกและอรูปโลก ในกามโลกมีดีชั่วสุขทุกข์ทุกแบบ รูปโลกก็คือผู้ปฏิบัติฌาน ๔ เป็นรูปพรหม พระนิพพาน ไม่ใช่ดิน น้ำ ลม อากาศ ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นามธรรม พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธไว้ทั้งหมด แต่พระนิพพานเป็นดวงจิตที่ละ อาสวะกิเลสให้ขาดจากกันโดยสิ้นเชิง พระนิพพานอยู่ที่จิตดวงเดียวนี้เท่านั้น ถ้าภาวนาและสำรวมจิตอยู่ที่เดียว แล้ว ก็จะไม่เป็นทุกข์ พอมองเห็นทางเข้าพระนิพพานได้รำไร เป็นของรู้ เฉพาะตัว พระนิพพานคือละโลภะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นกิเลส สัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมหมุนไปตามกระแสของโลก โลก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทั้งหลายทั้งสิ้น ไหลเข้าสู่ธรรมอัน เดียวคือ จิต

ดังนั้น ใครห้ามใจตัวไม่ให้ไหลไปตามกระแสโลกได้ ผู้นั้นก็จะมีความสุข รู้ด้วยตนเอง คนอื่นไม่รู้ เมื่อวิปัสสนาญาณเกิด ไตรลักษณ์ก็มีอยู่พร้อมแล้วที่จิต ถ้าปัญญาแก่กล้า ก็จะรู้เรื่อยๆ ไป ถ้าปัญญายังอ่อน ก็จะรู้ๆ หลงๆ ไปอยู่ พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มีความเพียร เพื่อจะได้ไม่หลงและจะได้ รู้จริง การทำจิตให้สงบเป็นการฝึกจิตให้สะอาดและมีปัญญา ถ้าไม่สงบ ปัญญาก็เกิดไม่ได้

สมาธิมี ๓ ขั้น ขณิกสมาธิ อัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ คนส่วนมากจะได้ กันแค่อุปจารสมาธิ คือ สงบเฉียดฌาน คนที่มาเกิดในยุคของพระพุทธองค์ (สมัยทรงมีพระชนม์อยู่) นั้นล้วนวาสนา บารมีแก่กล้า จึงบรรลุมรรคผลได้ง่ายๆ พร้อมกับจตุสัมภิทาญาณ จึงถึง พร้อมทุกอย่าง เมื่อทำสมถะจนจิตนิ่งแล้ว ก็ให้นึกถึงขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อจิตสงบต้องคิด ถ้าไม่คิดปัญญาก็ไม่เกิด ต้องนึก จิตที่สงบไปแล้ว คือ ความรู้อันเดียวเท่านั้นเอง พอจิตสงบ กิเลสก็ดับ (คือสงบ แต่ไม่ใช่ขาดตอน) นิวรณ์ ๕ ดับ จิตก็ผ่องใสสะอาด พอนึกอยากรู้อะไร ปัญญาก็จะสว่างออกมาให้รู้ เช่น ขันธ์ ๕ เป็นอย่างไรหนอ ก็รู้ขึ้นมา เห็นรูป แจกออกเป็นกองๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ไหนตัวตนเราเขากัน เมื่อไม่ใช่ของเราแล้ว จะไปยึด ไปถือไว้ทำไม เมื่อรู้ ก็คลายความยึดถือ ไม่รัก ไม่หลง ไม่โกรธ ไม่หลงใหลไปในลัทธิต่างๆ เมื่อคลาย ปัญญาก็เหมือนถนนหนทางที่ปรับปรุงดีแล้ว ก็เดินทางไปได้ สบายๆ

จบพระธรรมเทศนา

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร