วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 12:37
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลุ่มของผมพยายามศึกษาธรรมะกัน อ่านหนังสือธรรมะทุกเล่มที่หามาได้แล้วมาถามกันไม่มีใครตอบได้เรื่องภูมิทั้ง 31 จึงขอถามว่า 31 คือภูมิอะไรบ้างช่วยอธิบายด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาไปทำรายงานหรือครับน้อง ..

ข้อมูลได้จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)ดังนี้...



ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

(*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

อ่านเพิ่มเติมที่..

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=351

............ :b54: :b39: :b54: ...........

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าบอกว่า โลกนี้มี 31 ชั้น
แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. สุขคติภูมิ หรือ ภูมิที่มีแต่ความสุข
ในที่นี้ก็คือ สวรรค์ 16 ชั้น ซึ่งเป็นที่อาศัยของเทวดาทั้งหลาย

2. มนุสภูมิ หรือมนุษย์นี่เอง มี 1 ชั้นเท่านั้น
กล่าวคือมนุษยืทั้งหลาย เป็นภูมิที่มีทั้งสุขและทุกข์ผสมกันไป
ภูมิมนูษย์นี้ จัดเป็นสุขคติภูมิ

3. ทุกคติภูมิ
คือภูมิที่มีแต่ความทุกร้อน ได้แต่ภูมิที่เหลือ (บวกลบเอาเอง)
เช่น เปรต, สัตว์ทั้งหลาย เช่นหมาแมว (เดรัจฉาน), อสุรกาย,สัตว์นรก

ภพภูมิทั้ง 31 ภูมินี้ มีความสำคัญอย่างไร

ท่านสอนว่า ตอนที่เราตาย จิตขณะสุดท้ายนั้นแหละ เป็นตัวกำหนดว่าว่าจะไปเกิดที่ไหน
ถ้าจิตเราเป็นกุศล เราก็จะได้ไปเกิดเป็นคน หรือเทวดาในชั้นต่างๆ
ถ้าจิตสงบมาก ก็จะได้เป็นเทวดาชั้นสูงๆ

ถ้าจิตไม่สงบ และเป็นทุกข์ (อกุศล) ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็นสัตว์นรก
ขึ้นอยู่กับความแรงและชนิดของจิต
เช่นถ้าอาฆาตมากๆ ก็อาจจะเป็นอสุรกาย หรือสัตว์นรก


ทีนี้มีคนคิดลักไก่ บอกว่า งั้นตอนมีชีวิตก็ทำความชั่วให้หนำใจเลย
โกงให้รวยเลย ฆ่าใครก็ฆ่า แล้วตอนจะตาย เราก็ทำใจให้เป็นบุญกุศลเอาไว้
เท่านี้ก็ขึ้นสวรรค์
อันนี้คิดฉลาดแกมโกงเอาเอง มันถูกตามทฤษฏี แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่

ในความเป็นจริง ตอนเราจะตาย เราจะไม่สามารถบังคับจิตใจได้เลย
ถ้าคุณไม่เชื่อ ลองนั่งบังคับจิตใจของคุณสัก 5 นาที
โดยกำหนดให้มันมีความสุขตลอด 5 นาทีเลยนะ
ถ้ามีเรื่องอะไรต่อมิอะไรแว่บเข้ามานี่ ถือว่าใช้ไม่ได้
และในบรรดาเรื่องที่แว่บเข้ามา คุณลองสังเกตดูสิว่า
แม้แต่เรื่องที่จะคิด เอาเข้าจริงๆคุณเลือกเรื่องที่จะคิดยังไม่ได้เลย

หรืออีกตัวอย่าง เช่นตอนคุณฝัน
นี่คือตัวอย่างที่พอจะเทียบเคียงได้ว่า
เวลาคูณกำลังจะตาย มันจะเป็นยังไง
กล่าวคือไร้การควบคุม (ไม่มีสติสัมปชัญะ) ไม่รู้เลยว่านี่ฝัน นี่เรื่องจริง
เลือกเรื่องที่จะฝันก้ไม่ได้ แล้วแต่จิตใต้สำนึกจะพาไป
ถ้าทำชั่วมากๆ จิตใจคุ้นเคยกับเรื่องทุกข์ร้อน เรื่องเครียด เรื่องห่วงอะไรมากๆเข้า
มันก็จะไปโผล่ขึ้นในความฝัน

ในทำนองเดียวกัน คนไหนในใจทำแต่บุญ ใจมันก้มีแต่ความสุข
ถ้าฝัน ก็จะมีแต่เรื่องที่มีความสุขไปแสดงอยู่ในใจ
ถึงตาลงในเวลานั้น ก้ยังมีโอกาสไปเกิดเป้นเทวดา เป็นคน เป้นต้น

ท่านจึงสอนให้ละความชั่ว คือฝึกละความชั่วจนชำนาญ
และให้เจริญความดี หรือทำความดี ให้ชำนาญ ให้ใจมันคุ้นเคยแต่บุญกุศล
เวลาใก็จะตาย ก็จะได้นึกแต่เรื่องดีๆ นึกถึงบุญที่ตนเคยทำบ่อยๆ
ซึ่งจะช่วยให้ได้เกิดในภพภูมิที่สบาย

ถ้าบุญพาวาสนาส่ง ก็จะได้กลับมาเกิดเป็นคนอีก
ก็จะได้มีโอกาสมาทำบุญอีก และที่สำคัญได้มาฟังพระธรรม
ที่เรียกว่า "สติปัฏฐาน" ซึ่งเป็นหลักการและวิธีปฏิบัติ (practical) สู่นิพพาน
เพราะถ้าหลุดไปเป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็นสัตวืนรก ก็จะต้องทนทุกข์อยู่จนกว่าจะหมดกรรม
พอหลุดไปเป็นอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำสมาธิได้ ถือศีลไม่ได้
มีแต่ปล่อยตัวปล่อยใจไปอย่างไร้การควบคุม
อย่างหมาที่เราเลี้ยงนี่ มันไม่รู้จักทำสมาธิ ไม่รู้จักเจริญสติปัฏฐาน
จะสุขจะทุกข์นี่ ไม่สามารถบริหารจัดการจิตใจได้เลย นึกจะเศร้าก็เศร้าไปจนสุดทาง
แต่มนุษย์เรานี้ยังรู้จักหารหักห้ามใจ รู้จักการคิดให้เป็น คิดบวก จึงมีความสุข เป็นต้น


อันนี้ผมอธิบายคร่างๆนะครับ เอาไปอ้างอิงอะไรไม่ได้
คำศัพทืทั้งหลายอาจจะผิดตัวสะกด และพิมพ์
เพียงแต่ต้องการให้ข้อมูลฉบับไวไวควิกพอจะเป็นแนวทางเท่านั้นเอง
คุณต้องไปค้นหาอย่างละเอียดเอาเองนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ จขกท ดูตามที่คุณ -dd- ลงไว้นะ
อันนั้นใช่เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อนุโมทนา สาธุ..ทุกท่าน..กลุ่มเด็ก ม.ต้น ท่าน-dd- ท่านชาติสยาม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...วัฏฏสงสาร 31 ภพภูมิ...
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27452


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร