วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมีหลายระดับ เป็นขั้นการอบรม ไม่ใช่การตรัสรู้ อบรมตั้งแต่ สติปัฏฐาน เช่น

ลักษณะของปัญญา รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ลักษณะของวิริยะ คือเพียรใน

กุศล เพียรที่จะระลึกรู้ สติปัฏฐานเกิดก็รู้ สติปัฏฐานไม่เกิดก็รู้ และรู้หนทางที่จะดับ

ทุกข์ เป็๋นการค่อย ๆ เจริญขึ้น ตั้งแต่ขั้นสติปัฏฐาน จนถึงการตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ๑. การสอบถาม ๒. การทำวัตถุให้สละสลวย

๓. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน ๔. เว้นบุคคลมีปัญญาทราม

๕. คบหาบุคคลผู้มีปัญญา ๖. พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญา อันลึกซึง

๗. ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น.

บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากไปด้วยการสอบถาม อัน

อาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์มรรค

องค์ฌาน สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าการสอบถาม.


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อรรถกถาโพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๑ แห่งโพชฌังคสังยุต.

บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลังมหาสมุทร

หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเกล้านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัยภูเขาหิมวันต์

ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า โพชฺณงฺเค นี้ ชื่อว่า

โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของนี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะ

เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ . มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร

ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้

ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะหลายอย่างมี ถีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้ง

ซ่าน ปติฎฐานะ ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค

ทำความเพียรในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้

ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง

และอภินิเวส ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรค

ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม

ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ

นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์

แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้

ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า โพชฌงค์

เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น.

เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์

เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี. พึงทราบ อรรถแห่งโพชฌงค์ แม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทา

เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล

ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง



๕. ปีติเจตสิก เป็นเจตสิกที่ปลาบปลื้ม เอิบอิ่ม ร่าเริง จึงเกิดร่วมกับ

โสมนัสเวทนาเท่านั้น ไม่เกิดร่วมกับเวทนาอื่นๆ เลย

ปีติเจตสิก เกิดร่วมกับจิตที่มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๕๑ ดวง คือ กาม

โสมนัสจิต ๑๘ ดวง ปฐมฌานจิต ๑๑ ดวง ทุติยฌานจิต ๑๑ ดวง ตติยฌาน

จิต ๑๑ ดวง

จิตที่มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย แต่ไม่มีปีติเจตสิกเกิดร่วมด้วยนั้น

มี ๑๑ ดวง คือ จตุตถฌานจิต ๑๑ ดวง ทั้งนี้เพราะจตุตถฌานจิตประณีต

กว่าตติยฌานซึ่งมีปีติเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และ วิมุตติมรรค แบ่งปีติเป็น ๕ ประเภท คือ
ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล

ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆเป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ

โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ

ทำให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง

อุพเพคาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟู

แสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น

หรือให้รู้สึกตัวเบา เหมือนลอยขึ้นไปในอากาศ

ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์

ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่ง

เสนา และองค์แห่งรถ เป็นต้น

เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์

เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร?

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพราะ

อรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่า ตรัสรู้

เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี


รูปที่เป็นโนอุปาทา คือ โผฏฐัพพะ และอาโป หมายความว่าอย่างไร

ในอรรถกถาแก้ไว้ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

อรรถกถาโนอุปาทานิสเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง โน อุปาทา ต่อไป

รูปที่ชื่อว่า โน อุปาทา เพราะอรรถว่า โนอุปาทารูปนี้ย่อมไม่

อาศัย เหมือนอุปาทารูปย่อมอาศัยมหาภูตรูปเท่านั้นไม่อาศัยรูปอื่น. ที่ชื่อว่า

โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายพึงถูกต้อง. อธิบายว่า ถูกต้องแล้วจึงรู้.

รูปนั้นเป็นโผฏฐัพพะด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพา-

ยตนะ ก็รูปนั้นเป็นอาโปด้วย เป็นธาตุด้วย ด้วยอรรถว่ามิใช่สัตว์และเป็นสภาวะ

ที่ว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาโปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

[๕๔๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอก

มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายใน

แม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัส

รู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใด ความเลือกสรรใน

ธรรมภายนอก แม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.




อรรถกถาธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ ด้วย

สติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่. คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำ

ไว้นาน ๆ วาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหน.

หลังนั้น. คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญา

ว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญา

ให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.




พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ก็พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌงค์ข้อที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-

ที่ชื่อว่า ธัมมวิจยะ. เพราะอรรถว่า เลือกเฟ้นสัจจธรรมทั้ง ๔

ประการ.

ธัมมวิจยะ นั้น มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีการให้ความสว่าง

เป็นกิจ มีความไม่หลงงมงายเป็นเครื่องปรากฏ.



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ศึกษาการรักษาโรค
ฟังธรรมศึกษาธรรม รักษาอาการป่วยของคุณแม่
และคุณแม่กับผมได้ปฏิบัติธรรมทุกวัน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมบริจาคปัจจัยสบทบสร้างศาลาการเปรียญฯ
โทร. ๐๘-๕๐๓๗-๓๐๗๐

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร