วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 09:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้แล้วคะ ขอบคุณนะค่ะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิบากกรรมเป็นอจินไตย

คนเราเกิดมากี่กัปป์กี่กัลป์ ทำดีทำชั่วมาด้วยกันทั้งนั้น แต่ผลของกรรมหรือวิบากกรรม
ให้ผลช้าเร็วต่างกัน เหมือนปลูกต้นไม้ บางชนิดให้ผลเร็วบางชนิดให้ผลช้า

การให้ผลของกรรมจึงซับซ้อนยิ่งนัก บ้างครั้งเห็นเขาทำชั่วแต่ผลของกรรมดีในชาติก่อนกลับส่งผลอยู่
ทำให้คนที่ขาดการพิจารณา ขาดการไตร่ตรอง ขาดความรู้เรื่องกรรม
จึงถึกทักเอาว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว

ท่านจึงจัดวิบากของกรรมเป็นเรื่อง อจินไตย
อ่านแล้วพิจารณาด้วยนะค่ะ ขอโมทนากับทุกท่านคะ สาธุ :b4: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย นิดหนึ่ง เมื่อ 25 พ.ค. 2010, 19:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งคะ ที่กรุณาให้ความรู้ความกระจ่างนะค่ะ สาธุคะ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องอจินไตย...มิใช่สิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ แต่เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องรู้ หากศรัทธามากพอ :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b42: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม :b48: :b42:
แต่จงอย่ามัวอยู่ตามยถากรรม หรือ ปล่อยไปตามเวรตามกรรม
ที่จน..ก็เพราะกรรม..ที่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้..ก็เพราะกรรม..อย่ามัวโทษแต่ผลของกรรมอยู่เลย..
จริงอยู่ที่เราเสวยวิบากกรรมอยู่ในปัจจุบัน..จากเหตุในอดีต..จะชาติที่แล้ว..หรือสิบชาติก่อนโน้น..หรือปีที่แล้ว..เดือนที่แล้ว หรือ เมื่อวานนี้ กรรมเก่าที่กระทำไว้จะเป็นกุศลหรืออกุศลให้ผลเท่าเทียมยุติธรรมเสมอกันทุกคน..แต่กรรมใหม่หล่ะ..ปัจจุบันเจตนาเราอย่างไร..
....ชีวิตนั้น แม้บางอย่างจะเลือกไม่ได้ เช่นเลือกเกิดนี่เลือกไม่ได้ มันสุดวิสัย แล้วแต่เวรแต่กรรมที่ทำไว้ ทำดีก็เกิดในที่ดีๆ ทำชั่วก็เกิดในที่ชั่วๆ
....แต่บางอย่างนั้นเราเลือกได้เช่น...เลือกเก่ง เลือกดีได้
....อันคนเราเกิดมา จะยากดีมีจนอย่างไร ก็สามารถต่อสู้โชคชะตาให้กลายเป็นคนมั่งมีได้ ไม่ฉลาดเฉลียว ศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้าหาความรู้ ไม่นานนักก็อาจกลายเป็นคนมีสติปัญญาได้
ชีวติต้องมีทางเลือกเสมอ ขอเพียงอย่าโทษแต่เรื่องกรรม..ฝ่ายเดียว ให้รู้จักแสวงหาคุณค่าประโยชน์แก่ตน สร้างกรรมใหม่..กรรมดีขึ้นเรื่อยๆ อย่ารอหวังแต่บุญเก่ากรรมเก่า แล้วชีวิตก็จะดีขึ้นเป็นลำดับๆ
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างที่เข้าใจกันค่ะว่ากรรมคือการกระทำ กรรมกำหนดทุกสิ่งค่ะนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรามาจากกรรมทั้งสิ้น วิบากกรรมก็เป็นผลของการกระทำในอดีตค่ะ กรรมอาจตอบแทนในชาติปัจจุบันหรืออนาคตชาติก็ได้แล้วแต่ความหนักเบา

กรรมกำหนดได้แม้กระทั่งความคิดและความรู้สึกของเรา เช่น อยู่ๆก็เกิดอยากสวดมนต์นั่งสมาธิทั้งที่ไม่เคยคิดมาก่อน นั่นเป็นเพราะในอดีตชาติได้อธิษฐานมาว่าขอให้ได้เข้าถึงธรรม วันนึงเมื่อถึงเวลาที่กรรมกำหนดเราก็ลุกขึ้นมาสะสมบุญ อะไรประมาณนั้นค่ะ

การจะตัดซึ่งกรรมทำได้ด้วยการวางอุเบกขาเท่านั้นค่ะ กล่าวคือยอมรับผลของกรรมหรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเราโดยดุษฎี และไม่กระทำการใดที่เป็นการตอบโต้ผลของกรรมนั้นค่ะ

กรรมเป็นอจินไตยแต่จะไปพระนิพพานได้ต้องหมดกรรมกับทุกผู้ทุกตน เพราะฉะนั้นเกิดเป็นมนุษย์มีโอกาสใช้กรรมและตัดกรรมบวกสร้างบุญ มนุษย์ทั้งหลายก็ควรใช้โอกาสที่กรรมให้มาเกิดเป็นมนุษย์ให้คุ้มค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดากรรม 3 อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

มโนกรรมสำคัญที่สุด และมีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ดังบาลีว่า

“ดูกรตปัสสี บรรดากรรม 3 อย่างเหล่านี้ ที่เราจำแนกไว้แล้วอย่างนี้ แสดงความแตกต่างกันแล้วอยางนี้

เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในความเป็นไปแห่งบาปกรรม หาบัญญัติกายกรรม

อย่างนั้นไม่ หาบัญญัติวจีกรรม อย่างนั้นไม่”


เหตุที่มโนกรรมสำคัญที่สุด ก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้น คนคิดก่อนแล้วจึงพูดจึงกระทำคือแสดงออกทางกาย

และวาจา

ดังนั้น กายกรรม วจีกรรม จึงขยายออกมาจากมโนกรรมนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การให้ผล (วิบาก) ของกรรม แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ


1. ระดับภายในจิตใจ ว่ากรรมทำให้เกิดผลภายในจิตใจ มีการสั่งสมคุณสมบัติ คือ กุศลธรรม

และอกุศลธรรม คุณภาพและสมรรถภาพของจิต มีอิทธิพลปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิด ความโน้มเอียง

ความนิยมชมชอบ และความสุขความทุกข์ เป็นต้น อย่างไรบ้าง

2. ระดับบุคลิกภาพ ว่ากรรมให้ผลในด้านการสร้างเสริมนิสัยปรุงแต่งลักษณะความประพฤติ

การแสดงออก ท่าทีการวางตนปรับตัว อาการตอบสนอง ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และต่อสถานการณ์

หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆไปอย่างไรบ้าง


การให้ผลระดับนี้ ต่อเนื่องออกมาจากระดับที่ 1 นั่นเอง และมีขอบเขตคาบเกี่ยวกัน แต่แยกพิจารณาเพื่อให้

มองเห็นแง่มุมของการให้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น


3. ระดับวิถีชีวิตของบุคคล ว่ากรรมชักนำความเป็นไปในชีวิตของบุคคล ทำให้เขาได้

รับประสบการณ์ ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ประสบผลตอบสนองจากภายนอก พบความเสื่อมความเจริญ

ความล้มเหลว ความสำเร็จ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และความ สูญเสียต่างๆที่ตรงข้าม ซึ่งรวมเรียกว่า โลกธรรม

ทั้งหลาย อย่างไรบ้าง

ผลระดับนี้อาจแยกมองได้สองด้าน คือ

-ผลสนองจากปัจจัยด้านอื่นๆ ของสภาพแวดล้อมที่นอกจากคน

-ผลสนองจากปัจจัยด้านบุคคลอื่นและสังคม


4. ระดับสังคม ว่ากรรมที่บุคคลและคนทั้งหลายกระทำ มีผลต่อความเป็นไป ของสังคมอย่างไรบ้าง

เช่น ทำให้เกิดความเสื่อมความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข ความทุกข์ยากเดือดร้อนร่วมกันของมนุษย์ทั้งหลาย

รวมทั้งผลจากการที่มนุษย์กระทำต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ แล้วย้อนกลับมาหาตัวมนุษย์เอง



จะเห็นได้ชัดว่า ผลในระดับที่ 1 และที่ 2 คือ ผลภายในจิตใจและบุคลิกภาพ เป็นขอบเขตที่กรรมนิยาม

เป็นใหญ่

ระดับที่ 3 เป็นขอบเขตที่กรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์เข้ามาสัมพันธ์กัน และเป็นจุดที่มักเกิดความสับสน

ก่อให้เกิดปัญหา

ส่วนระดับที่ 4 แม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็อยู่นอกขอบเขตของการพิจารณา(ในหัวข้อนี้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนทั่วไป เมื่อมองดูผลของกรรมที่เกิดแก่ตน หรือ เพ่งจ้องติดตามดูผู้อื่นว่าใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

จริงหรือไม่อย่างไร มักมองดูแต่ผลในระดับที่ 3 คือ ความเป็นไปในชีวิตส่วนที่ได้รับผลตอบสนอง

จากภายนอกเท่านั้น

ทำให้มองข้ามผลในระดับที่ 1 และ 2 ไปเสีย ทั้งที่ผลสองระดับต้นนั้นแหละ มีความสำคัญอย่างยิ่ง

สำคัญทั้งในแง่เฉพาะของมันเอง เช่น สุขทุกข์ในใจ ความเข้มแข็งอ่อนแอภายใน ความพร้อมความแก่

หรืออ่อนแห่งอินทรีย์ เป็นต้น และสำคัญทั้งในแง่เป็นที่มาแหล่งใหญ่ของผลในระดับที่ 3 ด้วย


กล่าวคือ ผลในระดับที่สามนั้น ส่วนที่เป็นขอบเขตของกรรมนิยามก็ต่อเนื่องมาจากผลในระดับ ที่ 1 และ 2

นั่นเอง เช่น ด้วยผลในระดับที่ 1 จิตใจของบุคคลผู้นั้นเอง คือ ความสนใจ ความนิยมชมชอบ ความโน้มเอียง

การแสวงสุขหรือระบายทุกข์ภายในของบุคคลนั้นเอง ชักนำให้เขามองสิ่งนั้น เรื่องนั้นในแง่นั้นๆนำเขาเข้าไป

หาสถานการณ์นั้นๆ

ทำการตอบสนองอย่างนั้นๆ จะทำหรือไม่ทำสิ่งนั้นๆ ทำให้เขาดำเนินตามวิถีชีวิตอย่างนั้นๆ ให้ได้พบ

ประสบการณ์ หรือประสบผลอย่างนั้นๆ และให้มีความรู้สึกหรือท่าทีต่อสิ่งที่ประสบอย่างนั้นๆ เป็นต้น


เฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้เกิดผลในระดับที่สอง ซึ่งก็ช่วยเสริมผลในระดับที่ 1 ในการก่อผลระดับที่ 3 อย่างที่กล่าว

มาแล้วนั่นเอง

รวมทั้งการที่ว่า เมื่อเขาจะทำการใดๆ เขาจะทำสิ่งนั้นๆ ตามแนวไหน ลักษณะใด ด้วยอาการใด จะทำไปตลอด

ไหม พบข้อขัดข้องอย่างไหน จะยอมอย่างไหน จะย่ำต่อไป จะทำสำเร็จหรือไม่ จะหยาบประณีต ยิ่งหรือหย่อน

อย่างไร ตลอดถึงว่า ตัวเขาจะปรากฏเป็นภาพในความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นอย่างไร

อันจะเป็นผลย้อนกลับมาหาตัวเขาเองอีก ในรูปของความช่วยเหลือ ร่วมมือ หรือขัดแย้งปฏิเสธ เป็นต้น

อันเป็นส่วนหนึ่ง ที่บุคลิกภาพของเขาชักนำคนอื่นให้ช่วยพาตัวเขาไปสู่ผลสนองที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ

ฯลฯ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

กรรมและวิบาก ค่อนข้างยาว แต่ท่านก็แยกประเด็นไว้ชัด

ศึกษาที่

viewtopic.php?f=4&t=19058&p=86360#p86360

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-343-1181794836.jpg
post-343-1181794836.jpg [ 51.07 KiB | เปิดดู 5014 ครั้ง ]
การได้รับผลตามกรรมนิยาม ย่อมเริ่มดำเนินในทันที เริ่มแต่ตั้งเจตนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เช่น คนที่จะเสพสิ่งเสพติดมึนเมา พอจะเสพเจตนาก็ประกอบด้วยความกระหยิ่มอย่างมัวซัว

เมื่อเสพเป็นนิตย์ ก็สั่งสมสภาพจิตอย่างนั้นเป็นนิสัย

คนที่เคร่งเครียดแข่งหาแข่งเอา จะทำงานแต่ละครั้ง เจตนาก็ประกอบด้วยความเครียดเร่งร้อน

และสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นไว้

คนที่ตั้งหน้า ฆ่าผู้อื่น แม้จะได้รับความยกย่องและรางวัลในสังคมของพวกตน แต่ในการกระทำ คือ การฆ่าแต่

ละครั้งก็ตั้งเจตนาที่ประกอบด้วยความขึ้งเครียดเ หี้ ยมเกรียม หรือ กระเ หี้ ยนกระหือรือ

หากปล่อยใจไปเรื่อยๆ ก็จะมีการสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นจนอาจกลายเป็นบุคลิกภาพทั้งหมดของเขา

คุณภาพของจิตจะเป็นไปในทางที่หยาบมากขึ้น แต่เสื่อมเสียความประณีต ความนุ่มนวลละมุนละไม

และความละเอียดลึกซึ้งเป็นต้น


viewtopic.php?f=4&t=29525&p=177387#p177387

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 14:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักธรรมชาติของเจตนาสักเล็กน้อย


เจตนา เป็นสังขารขันธ์ แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ

มีการริเริ่มเองได้ จำนงต่ออารมณ์ และเป็นฝ่ายกระทำต่ออารมณ์

ต่างจากนามขันธ์อื่นอันได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทำงานกับอารมณ์ที่เข้ามาปรากฏอยู่แล้ว

เป็นสภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดำเนินไปได้และเป็นฝ่ายรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
ขอความรู้หน่อยนะค่ะ เพื่อเป็นวิทยาทานหรือธรรมทาน
สาธุคะ :b8:

กรรม คือ การกระทำโดยเจตนา ท่านเรียกเจตนาว่า เป็นตัวกรรม เป็นตัวเหตุ
ผลของการกระทำ เรียกว่า วิบากกรรม เป็นตัวผล

ต้อยตีวิด เขียน:
โมทนาค่ะ แต่ทำไมวิบากกรรมท่านจึงว่าเป็นอจินตัยละค่ะ
วานท่านผู้รู้ด้วนะค่ะ tongue :b17:

ผลของกรรมหรือวิบากกรรม ท่านจัดไว้เป็น ๑ ใน ๔
ของ อจินไตย เรื่องไม่ควรคิด คือ

- พุทธวิสัย
- ฌานวิสัย
- วิบากกรรม
- เรื่องของโลก

ทำไมจึงว่า วิบากกรรม เป็น อจินไตย..

โดยปกติ คนธรรมดา ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับ หรือผู้อื่นได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ มาจากกรรมอะไร ทำไว้ตั้งแต่เมื่อใด ได้แต่คาดเดาเอาว่า เพราะเคยทำกรรมดีไว้ก่อน หรือเคยทำกรรมชั่วไว้ก่อน จึงได้รับผลของกรรมดังนี้

อาจมีบางท่าน ระลึกชาติได้ ๑๐๐ ชาติ ๕๐๐ ชาติ หรือ ๑๐๐๐ ชาติ แต่ก็รู้ได้แค่นั้น ไม่สามารถรู้ถึงชาติที่ ๑๐๑ ๕๐๑ หรือ ๑๐๐๑ ชาติขึ้นไปได้ ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่า มาจากกรรมไหน ทำไว้ในชาติที่เท่าใด เมื่อใดคิดมากไป อาจเป็นบ้าได้ ท่านจึงจัดว่าเป็นเรื่อง อจินไตย ไม่ควรคิด

มีแต่ พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรม
ได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

อย่างนี้แล..ขอโมทนากับทุกท่านด้วยขอรับ สาธุ.. :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณคะ กับคำตอบดี ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้เกิดปัญญา
โมทนานะค่ะ สาธุ ๆ ๆ :b4: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
...ตัวฉันเองเปงเด็กตจว.คนหนึ่งที่เข้ามาทำงานในกทม. ตั้งแต่เรียนจบ ตอนแรกได้ทำงานที่

บริษัท AAA พี่ๆ ที่ทำงานที่นั้นต่างก้อดูถูกว่าฉันเปงเด็กบ้านนอก ดูถูกสารพัด พร้อมทั้งอวดร่ำอวดรวยใส่ฉัน

ฉันทนไม่ได้จึงลาออกไปทำงานที่ BBB และ CCC

ในที่สุดฉันก้อได้เงินเดือนค่อนข้างสูง ฉันกลับมีอารมณ์อยากจะดูถูกคนอื่นเหมือนกับ

ที่คนอื่นดูถูกฉันบ้าง


ฉันได้แต่พยายามระงับไม่ให้แสดงกริยาแบบนั้นออกมา เพราะฉันรู้ดีว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่...พอจะมีวิธีใดบ้าง

ที่ฉันจะไม่มีอารมณ์อยากเอาคืนนี้บ้างค่ะ



ขออนุญาตข้อความข้างบนด้วยนะครับ

คุณแก้วกัลยาดูตัวอย่างกรรม (มโนกรรม) และวิบากกรรม (ผลของกรรม หรือ กฏแห่งกรรม) ดังตัวอย่าง

ข้างบน

viewtopic.php?f=1&t=32105&p=206747#p206747

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร